Theravadans in the World Today ..........and........ Buddhism For Dummies : Beliefs of Buddhism, Teachings of the Buddha, World Buddhism
Group Blog
 
All Blogs
 

When quantum physics meets Buddhism



A comprehensive discussion between scientist-turned-monk Matthieu Ricard and Vietnamese scientist Trinh Xuan Thuan

The Quantum and the Lotus: A Journey to the Frontiers Where Science and Buddhism Meet is a colourful exploration of existing knowledge on the mind and the universe that seeks to stretch its boundary by another notch. Here, French scientist-turned-monk Matthieu Ricard engages in an in-depth conversation with Vietnamese scientist Trinh Xuan Thuan on a wide range of crucial scientific issues, from the origin of the universe, the particles phenomena, the matter of time and the chaos theory to the emergence idea, artificial intelligence and even the paradigms of how to realise beauty and truth.

In one respect, the book is a product of its time. Recent years have witnessed a proliferation of works on the themes of "science and religion" or "science and spirituality" in both European and North American markets. Of note is a well-known series under the Mind and Life Institute, which, since 1987, has released several cross-cultural dialogues between His Holiness the Dalai Lama and a handful of leading Western scientists.

The translation of this book into Thai is one of the first steps to enable Thai readers to experience the beautiful dialogue between science and spirituality. Praises should go in part to the two translators - Kulsiri Charoensupakul, a professional translator, and Buncha Thanaboonsombat, a well-known scientist - for having rendered a highly complex subject into mostly clear and readable Thai prose. Their impressive translation of William Blake's famous poem To See a World in the Grain of Sand, printed on the back cover, is likely to become a classic in its own right.

A former molecular biologist, Matthieu Ricard worked at a prominent research institute in collaboration with top scientists in Paris before taking up Tibetan Buddhism and becoming a personal translator for His Holiness the Dalai Lama. Thais have already been familiar with him from two outstanding books: The Monk and the Philosopher (Orchid, 1999) and Happiness: A Guide to Developing Life's Most Important Skill (Suan Ngern Mee Ma, 2008).

Trinh Xuan Thuan was born in a Buddhist Vietnamese family, and spent his formative years in Europe and in the US. An active astrophysicist at the California Institute of Technology, his research interests are galactic astronomy and galaxy formation. A few of Thuan's scientific books catered for people with non-scientific background have become best-sellers and have been translated into over 20 languages.

The first chapter tackles head-on the differences between science and religion, albeit their ultimate goal of seeking the truth. Both Ricard and Thuan concur that the limitation of science is in its narrow focus, on knowledge, and not enough on the human quality such as happiness, ethics, and so on. Nonetheless, science is not evil by itself (can one say that the evil is rather latent in human nature?). Religion, on the other hand, is concerned about the practice of compassion and spiritual development. Complementary study of science and religion could thus pave the way toward greater realisation of truth.

Quantum and Lotus does raise hard questions - and lots of them. Did the universe have a beginning or is it merely a part of an infinite wheel with neither beginning nor end? How did quantum physics change our world view and the way of our life? What is the concept of truth and time? Is the perception of time only an illusion? What are the differences between worldly and ultimate realities? How did life and consciousness emerge from the complexity of vastly unknown relationships following the rule of interconnectedness? Is the consciousness study that reduces everything to brain basically unsound? If you are interested in such kinds of metaphysical questions, then this book is for you.

Through their energetic dialogue, the two writers give us an overview of knowledge map of both Buddhism and modern science before bringing us deep down to the new ocean of understanding where two streams of thought are intertwined. The enthusiastic Thuan sheds light on the modern scientific questions with adventurous examples drawn from lab experiments, whereas the calm and steady Ricard exchanges his ideas based on strong Buddhist practices and principles - the rule of interconnectedness and the logic chain of cause-effect. Their debate style is more constructive than competitive.

In the last chapter, Ricard argues how meditation goes beyond preoccupation with inner change, but also involves self-sacrifice for other beings. Meditation, says the monk, is more than leading a solitary existence in the midst of nature like birds or wild animals. Practitioners can help nobody if they do not understand the mechanisms of their own happiness and suffering. Last but not least, he affirms that being a good human is more important than being a devout follower. Spiritual development that emphasises ethics is thus of utmost importance and should not be restricted only to meditators.

The Thai version of this book is quite dense at times. Some chapters are admittedly difficult, especially for those without a scientific background. Of interest is the disagreement between the two authors about the beginning of the universe, which provides a good example of the differences in the two strands of thoughts. While the Western scientific mind is a result of Western philosophy based on the linear idea of the divine Creator, the Buddhist concept is built on the Eastern philosophy of the non-linear, cyclical Wheel of Birth and Death, which has neither a beginning nor an end.

Another intriguing investigation concerns the consciousness study. What is consciousness? How does consciousness evolve? Is consciousness a separate part of the brain? It seems that Thuan the scientist has few explanations to this question compared to the Buddhist monk Ricard. However, scientific researches cannot provide sufficient grounds to prove and/or support the consciousness theory from the Buddhist viewpoint, either. Perhaps, the non-conformity of this issue is the distinction of the methodologies - objectivity among the scientific community and subjectivity for those pursuing the meditation path.

Reading this dialogue-style book, one should be aware that the religious perspectives here are the viewpoints of Madhyamaka Tibetan Buddhism, and not Buddhism in its entirety. The scientific world views presented here are also a standpoint of an astrophysicist, and not the whole corpus of scientific knowledge. In the Western context, this book might be sceptically perceived as another Buddhist propaganda. Still, each topic of in-depth discussions could be verified rationally. The humility of both writers provides a cordial atmosphere for readers from either scientific or Buddhism fields to peruse at their own discretion.

One clear conclusion that emerges from reading this book is how to accept the "differences" and try to seek clarification as best as one can. Then one will be able to avoid the pitfalls of uncompromisable chasm or overt reconciliation of the basic principles that results in an impractical theory of everything.





หนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ

An Introduction to the Study of Buddhism: A Sane Way to Live

Most Popular Books on Buddhism

Theravada Buddhism Recommended Reading








 

Create Date : 13 ตุลาคม 2552    
Last Update : 13 ตุลาคม 2552 0:24:14 น.
Counter : 1141 Pageviews.  

กฐิน

กฐิน (Kathina) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่ากฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด1 ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท

การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน

กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน


ความหมายและความสำคัญของการถวายกฐิน

ความหมายของกฐิน
กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ "กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ" สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ)

กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้

กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น
กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)
กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆืเพื่อกรานกฐิน
กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์

ความสำคัญพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น
การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้

จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้

จำกัดเวลา คือกฐินเป็นกาลทานอย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป

จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน

จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้

จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป

จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระประสงค์โดยตรง


ความเป็นมาของกฐิน

ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ

ไปไหนไม่ต้องบอกลา
ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน
ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงกันฉันภัตตาหารได้)
เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ
จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว



การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย
สำเนาศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลเข้าพรรษาในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ด้านที่ 2) ดังนี้

... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทังสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจี่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้นเท้าหัวลาน ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...
— คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒

ในศิลาจารึกดังกล่าว ปรากฏทั้งคำว่า กรานกฐิน, บริวารกฐิน (บริพานกฐิน), สวดญัตติกฐิน (สูดญัตกฐิน) ซึ่งคำดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า เทศกาลทอดกฐินมีคู่กับสังคมไทยทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนมาช้านาน ดังปรากฏว่าชาวพุทธในประเทศไทยให้ความสำคัญกับงานทอดกฐินที่จัดในวัดต่าง ๆ มาก โดยถือว่าเป็นงานบุญสำคัญที่สุดงานหนึ่งในรอบปี บางวัดที่มีผู้ศรัทธามาก อาจมีผู้จองเป็นเจ้าภาพทอดกฐินล่วงหน้ายาวเป็นสิบ ๆ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวพุทธในประเทศไทยที่ได้ร่วมใจกันสืบทอดประเพณีนี้มาจนปัจจุบัน


ชนิดของกฐินในประเทศไทย

ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็นสองคือ


จุลกฐิน
จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)

เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย

สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี


มหากฐิน
มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)


การทอดกฐินในประเทศไทย

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงประทับบนเรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ทอดบัลลังก์บุษบก เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค

กฐินหลวง
กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น)

กฐินหลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นต้น


กฐินต้น
กฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์


กฐินพระราชทาน
กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกบินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)


กฐินราษฎร์
ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ "บริวารกฐิน" มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐินกฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย


คำถวายผ้ากฐิน

คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบเก่า
ตั้งนะโมสามจบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินวีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ทุติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ตติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ หิตาย สุขาย
กล่าวคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สอง
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สาม
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐิน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ


คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบใหม่
ตั้งนะโมสามจบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม,
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ,
ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ, อมฺหากํ
ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
กล่าวคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน กับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.


เกร็ดความรู้เรื่องกฐิน

การทำผ้าจีวรในสมัยโบราณต้องใช้เวลาและความร่วมมือในการทำมาก การที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตกฐินเพื่อให้คณะสงฆ์ทั้งหมดที่จำพรรษามาด้วยกันในอาวาสเดียวกันมาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ (องค์ (วัตถุ) กฐินตามพระวินัยนั้นมีผ้าไตรจีวรเพียงชุดเดียวก็สามารถประกอบสังฆกรรมนี้ได้)

โดยพระวินัยนั้นพระภิกษุมีหน้าที่ต้องรักษาผ้าครองไตรจีวรของตน หากไม่สามารถรักษาไว้ได้ตลอดคืนหนึ่งย่อมต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ ดังนั้นการที่พระพุทธองค์ทรงผ่อนปรนพระวินัยให้ภิกษุผู้กรานกฐิน ไม่จำต้องรักษาไตรจีวรของตนครบสำรับดังกล่าว จึงเป็นการผ่อนปรนเพื่อเป็นอานิสงส์ให้พระสงฆ์ผู้กรานกฐิน

ในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์จะนั่งฉันภัตตาหารเป็นแถวตามลำดับหรือแยกฉัน การนั่งล้อมวงฉันภัตตาหารนั้นเป็นสิ่งที่ดูไม่สำรวมในสมัยนั้น ดังนั้นการที่พระพุทธองค์อนุญาตให้ฉันล้อมวงเช่นนี้ จึงเป็นการผ่อนปรนเพื่อเป็นอานิสงส์ให้พระสงฆ์ผู้กรานกฐินแล้ว




หนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ

An Introduction to the Study of Buddhism: A Sane Way to Live

Most Popular Books on Buddhism

Theravada Buddhism Recommended Reading












 

Create Date : 17 กันยายน 2552    
Last Update : 17 กันยายน 2552 11:01:33 น.
Counter : 658 Pageviews.  

หนังสือที่พระบวชใหม่พึงอ่าน



ก่อนเข้าพรรษา กุลบุตรที่อายุครบบวช คงได้มีโอกาสบวชเป็นพระภิกษุเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยตามประเพณีนิยม หลายท่านลาราชการมาบวช คงไม่ได้รับอนุญาตให้บวชถึงสามเดือน (สมัยก่อนราชการใจป้ำอนุญาตให้ลาสามเดือน) ก็คงลาสิกขา (คำนี้คนที่บวชเรียนแล้วยังเรียกผิดเป็น “ลาสิขาบท” ซึ่งผิดที่สุดในโลก !) ก่อนออกพรรษา ก็ยังดีมีโอกาสได้บวช

บวชเป็นพระเวลาน้อย ไม่รู้จะศึกษาอะไรตรงไหน จึงจะคุ้มค่าที่บวชเรียน บางวัดก็ไม่ได้ใส่ใจให้การฝึกฝนอบรมเท่าที่ควร ปล่อยให้วันเวลาล่วงไปวันๆ น่าเสียดาย ทางหนึ่งที่จะช่วยได้คือหาหนังสือมาอ่านมาศึกษา

ผมมีหนังสือที่จะแนะนำให้พระบวชใหม่หามาอ่าน (ญาติโยมช่วยหามาให้พระบวชใหม่อ่านด้วย จะได้บุญกุศลมหาศาล) ดังต่อไปนี้คือ

1. คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่ โดย พุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์) สำนักพิมพ์ธรรมสภา โทร. 0-2434-4267 หนังสือปกเข็งราคา 250 บาท เนื้อหาเป็นเรื่องที่พระบวชใหม่จะพึงศึกษา แบ่งเป็น 5 ตอน คือ

(1) การบวชคืออะไร มีผลอย่างไร ความมุ่งหมายของการบวชเป็นอย่างไร เป็นต้น

(2) กิจวัตรที่พระบวชใหม่จะพึงทำมีอะไรบ้าง เช่น การบิณฑบาต การปลงอาบัติ การสวดมนต์ การพิจารณา “ปัจจเวขณ์” การภาวนา รวมถึงอุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร การขบฉัน อิริยาบถ

(3) ความดับทุกข์ สอนวิธีลดทุกข์หรือดับทุกข์ที่จะพึงใช้ในชีวิตประจำวันขณะบวช หรือออกจากเพศบรรพชิตไปแล้วก็นำไปใช้ ว่าด้วยการดับทุกข์กับพระรัตนตรัย การดับทุกข์กับพระไตรปิฎก การดับทุกข์กับไตรสิกขา การดับทุกข์ “3 ส.” (สะอาด-สว่าง-สงบ) เป็นต้น

(4) พหุลานุสาสนี (คำสอนที่ทรงสั่งสอนมากและบ่อย) คือ ปัญจขันธ์ ไตรลักษณ์ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักขณะ (สามอย่างหลังนี้ก็มีอยู่ในไตรลักษณ์นั่นแหละ แต่ขยายให้ละเอียด) ความดับทุกข์ด้วยปัญจขันธ์

(5) การสึก เมื่อบวชศึกษาพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็จะต้องสึก หรือลาสิกขากลับสู่ความเป็นคฤหัสถ์ ภาษาพระว่า “เวียนมาสู่หินเพศ = เพศที่มีโอกาสบรรลุธรรมช้า เพราะมัวแต่วุ่นวายในการทำมาหาเลี้ยงชีพ” ในหนังสือเล่มนี้ให้ข้อคิดดี ว่าผู้ที่จะสึกนั้นต้องมีการตัดสินใจครั้งสุดท้ายอย่างไร สิ่งที่ศึกษาชั่วระยะเวลาสามเดือน เช่น ศีล จะนำไปปรับใช้กับชีวิตอย่างไร เป็น “ฑิต” (บัณฑิต) แล้วควรวางตัวอย่างไรให้สมกับคนบวชเรียนมา และเตือนว่าออกจากวัดแล้ว “อย่าห่างวัด” ตอนทำพิธีสึกพึงเตือนสติครั้งสุดท้ายอย่างไร วิธีสึกจะต้องทำอย่างไร สึกไปแล้วควรมีความสัมพันธ์กับอุปัชฌาย์ อาจารย์อย่างไร ไม่ใช่สึกไปแล้วก็ลืมแม้กระทั่งชื่ออุปัชฌาย์ อาจารย์

เป็นหนังสือที่ควรอ่านอย่างยิ่ง อย่างน้อยถ้าไม่ได้อยู่ในวัดที่เขาเข้มงวดฝึกฝนอบรม ก็จะได้หนังสือเล่มนี้แหละเป็นประทีปส่องทางชีวิต ไม่เสียทีที่บวชเรียน

2. ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี โดย พุทธทาสภิกขุ เช่นกัน สำนักพิมพ์สุขภาพใจ โทร. 0-2415-6797 ราคา 65 บาท เนื้อหาสาระเน้นอธิบายตามหลักสูตรสำหรับพระบวชใหม่ คือ “นวโกวาท” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แบ่งเป็น

(1) ภาคว่าด้วยหลักธรรมฝ่ายความทุกข์ แบ่งเป็น 5 ตอน คือ 1. หมวดที่แสดงถึงทฤษฎีทั่วไป 2. หมวดว่าด้วยการจำแนกลักษณะของกิเลส 3. หมวดว่าด้วยการประพฤติปฏิบัติตามอำนาจกิเลสจนกระทั่งเกิดทุกข์ 4. หมวดว่าด้วยฐานที่ตั้งของทุกข์ และ 5. หมวดว่าด้วยบุคลาธิษฐาน อันว่าด้วยความทุกข์

(2) ภาคว่าด้วยหลักธรรมฝ่ายความดับทุกข์ แบ่งเป็น 5 ตอน คือ 1. หมวดธรรมว่าด้วยประเภททฤษฎีฝ่ายความดับทุกข์ เช่น อริยสัจ เป็นต้น 2. หมวดธรรมว่าด้วยวิชชาแดนแห่งความดับทุกข์ 3. ประเภทเกี่ยวกับอุปกรณ์การปฏิบัติ และหลักการปฏิบัติดับทุกข์ มีอิทธิบาทสี่ หลักการตัดสินธรรมวินัยแปดประการ หลักความเชื่อสิบประการ หลักธรรมที่ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ มีบุญกิริยาวัตถุสาม สิกขาสาม อปัณณกปฏิปทาสาม มรรคมีองค์แปด กุศลกรรมบถสิบ 4. ว่าด้วยลักษณะแห่งความดับทุกข์ เช่นประโยชน์สาม โลกุตตรธรรมเก้า มรรคสี่ ผลสี่ นิพพานหนึ่ง และ 5. ว่าด้วยบุคลาธิษฐานแห่งความดับทุกข์ อันขยายออกเป็นกลุ่มธรรม หรือ “ธรรมาธิษฐาน” และกลุ่มบุคคล หรือ “บุคลาธิษฐาน”

หนังสือเล่มนี้บรรยายได้ชัดเจน ละเอียด ลึกซึ้ง ตามสไตล์ของหลวงพ่อพุทธทาสผู้ล่วงลับ สมควรซื้อหาไปถวายพระบวชใหม่จริงๆ ครับ

3. พุทธธรรมฉบับเดิม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ฉบับนี้เป็นฉบับย่อ มีเนื้อหาประมาณสามร้อยหน้า อธิบายหลักธรรมที่ครอบคลุมที่สุด แบ่งเป็น 1. ภาคว่าด้วยมัชเฌนธรรมเทศนา (หลักธรรมที่เป็นกลาง) เช่น ว่าด้วยชีวิตคืออะไร ชีวิตเป็นอย่างไร และ 2. ภาคว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นกลางหรือทางสายกลาง) ว่าด้วยอริยมรรคมีองค์แปดโดยละเอียด

เล่มนี้อ่านแล้วยกระดับความเข้าใจธรรมะขึ้นอย่างมีระดับและมีภูมิคุ้มกันได้อย่างดีครับ อ่านช้าๆ แล้วจะค่อยๆ เข้าใจซึมซับอย่างน่าประหลาด

4. หนังสือแถมท้าย หลังจากเสนอหนังสือที่เป็นหลักให้อ่านแล้ว ขอเสนอหนังสือแถม ถ้าเป็นอาหารก็ประเภทกาแฟล้างปากหลังจากฉันเสร็จแล้ว 2 เล่ม คือ

(4.1) สองทศวรรษในดงขมิ้น เป็นเรื่องสารคดีศาสนากึ่งอัตชีวประวัติของสามเณรบ้านนอกรูปหนึ่ง ที่สมภารเรียกว่า เณรเขียด เพื่อนเณรด้วยกันเรียกว่า เณรต้ม บรรยายบรรยากาศทางศาสนาในบ้านนอกอย่างเห็นภาพ มีสามตอนคือ 1. ชีวิตในดงขมิ้น 2. แสงไต้กลางกรุง บรรยากาศตอนเณรเขียดมากรุงเทพฯ ใหม่ๆ พบเห็นปฏิปทาของพระเณรในกรุงจนตกใจ และ 3. แสงไต้กลางหิมะ บรรยายตอนเณรเขียด (ตอนนี้เป็นพระเขียดแล้ว) ไปศึกษายังมหาวิทยาลัยเก่าแก่ระดับไดโนเสาร์ที่ประเทศอังกฤษ

ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า “ท่านจ้างให้ลูกชายตอนนั้นเรียนมัธยมอ่าน โดยให้เหตุผลว่าหนังสือเล่มนี้บรรยายบรรยากาศชนบทได้กินใจ ภาพอย่างที่ปรากฏในหนังสือนี้นับวันจะหายไปจากสังคมไทย” ลาวคำหอม เขียนชมว่า “เล่าเรื่องเก่งมาก” เก่งเพราะเล่าไปแทรกอารมณ์ขันไปด้วย ผมถามเจ้าตัวคนเขียนคือ นายไต้ ตามทาง ว่าหนังสือนี้ดีอย่างไร เจ้าตัวโม้ว่า “ใครอ่านแล้วไม่หัวเราะ ให้เอาหนังสือมาคืนได้เลย” ปานนั้นเชียว

พระใหม่ควรอ่านอย่างยิ่ง ชีวิตสนุกสนานในโลกิยวิสัยจนเคย พอมาอยู่ในบรรยากาศสงบ มันคงวังเวงไม่น้อย เผลอๆ อาจเป็นโรค homesick เอาง่ายๆ คิดถึงบ้าน คิดถึงสีกาเมื่อไร นิมนต์อ่านสองทศวรรษในดงขมิ้น ก็แล้วกัน อ้อ เกือบลืม สำนักพิมพ์มติชน จัดพิมพ์ ราคา 200 บาท (ประมาณนั้น) โทร. 0-2580-0021 ครับ

(4.2) พระไตรปิฎกศึกษา ธรรมะนอกธรรมาสน์ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก สำนักพิมพ์มติชนจัดพิมพ์ 150 บาท เล่มนี้ยกเอาเรื่องน่าสนใจ น่าศึกษามาเล่าให้ฟังย่อๆ พร้อมเขียนทรรศนะส่วนตัวเพิ่มเติม เช่น สูตรว่าด้วยทางตันและทางพ้นทุกข์, พระงามที่จนคนงามที่มี, พัฒนาการแห่งชีวิต, คดีคนเก่งมักถ่อมตัว, คนดุจดุ้นฟืนเปื้อนคูถ, หลักความเชื่อชาวพุทธ, ทำอย่างไรเมื่อถูกด่า, พระ “หมาขี้เรื้อน”, คู่เวรคู่กรรม-คู่สร้างคู่สม, รักร้อยก็ทุกข์ร้อย, ความสุขเพราะเกาที่คันต่างจากความสุขที่ไม่ต้องเกา, สุขของผู้ครองเรือน...และที่น่าสนใจมากมาย

ควรหาซื้อไปถวายพระบวชใหม่ได้อ่านก่อนลาสิกขา เพราะสึกแล้วไม่แน่ว่าจะมีเวลาอ่านหนังสือธรรมะหรือไม่


โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก








หนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ


An Introduction to the Study of Buddhism: A Sane Way to Live

Theravada Buddhism Recommended Reading






 

Create Date : 12 กันยายน 2552    
Last Update : 12 กันยายน 2552 22:04:15 น.
Counter : 993 Pageviews.  

ความงามของพระพุทธวจนะ ความลาดลุ่มลึกแห่งพุทธธรรม

หลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพัมพุทธเจ้านั้นมีความลาดลุ่มลึกเป็นอัศจรรย์ดุจห้วงมหาสมุทร เหมาะสมแก่สติปัญญาของคนทุกระดับ ยิ่งผู้ที่มีพื้นความรู้และจิตใจสูงส่ง ยิ่งสามารถเข้าใจพระพระพุทธศาสนาได้มากเป็นอัศจรรย์ เพราะหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้นเป็น "สัจธรรม" ที่เที่ยงแท้ทนต่อการพิสูจน์ เป็นสัจธรรมที่ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เพราะความจริงโดยทั่ว ๆ ไปนั้น อาจเป็นความจริงเพียงเฉพาะกาลเวลาเท่านั้น พอเวลาล่วงไปเพียง ๑๐๐ ปี หรือ ๒๐๐ ปี เท่านั้น สิ่งที่เราเคยคิดว่าจริงก็กลายเป็นเท็จไป เพราะนั่นมิใช่ "ความจริงแท้" หากเป็นความจริงโดยสมมติเท่านั้น ตราบใดที่เรายังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า "เท็จ" เราก็ต้องยอมรับว่า "จริง" อยู่ตราบนั้น แต่เมื่อใดเราสามารถพิสูจน์ได้ว่า "ไม่จริง" เมื่อนั้นความจริงนั้นก็กลายเป็น "เท็จ" ไป ที่ว่าคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีลักษณะลาดลุ่มลึกดุจห้วงมหาสมุทรนั้น พระพุทธองค์ได้เคยตรัสกับอสูรชื่อ "ปหาราทะ" ดังปรากฏอยู่ใน "ปหาราทสูตร" ในอัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย ดังนี้

"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเรฬุยักษ์สิงสถิตอยู่ ใกล้เมืองเวรัญชา ครั้งนั้น ท้าวปหาราทะจอมอสูรได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท้าวปหาราทะจอมอสูรว่า "ปหาราทะ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทรบ้างหรือ?" ท้าวปหาสาทะจอมอสูรกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทร" พระผู้มีพระภาค..."ปหาราทะ ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏสักเท่าไรที่พวกอสูรเห็นแล้วย่อมภิรมย์" ปหาราทะ... "มี ๘ ประการ พระพุทธเจ้าข้า ๘ ประการอะไรบ้าง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึก ลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ นี้เป็นธรรมที่นำอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๑ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่

"อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรเต็มเปี่ยมเสมอ ไม่ล้นฝั่งนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่ง ให้ขึ้นบกทันที ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ และในมหาสมุทรคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่ง ให้ขึ้นบกทันทีนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"อีกประการหนึ่ง แม่น้ำสายใหญ่ ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหึ แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม้น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหึ แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่า มหาสมุทรนั่นเอง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"อีกประการหนึ่ง แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทรและสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้น ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่แม่น้ำทุกสายในโลกย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทรและสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้นๆ นี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็มนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่

"อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรมีรัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แกวไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรมีรัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกตนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของพวกสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ และสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของพวกสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ และสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่นี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือ?" พระผู้มีพระภาค ... "ปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในพระธรรมวินัยนี้" ปหาราทะ... "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่"
พระผู้มีพระภาค "มีอยู่ ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน? ปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึก ลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหวฉันใด ในพระธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่า จะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรง ปหาราทะ ข้อที่ในพระธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่จะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรงนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในพระธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"ปหาราทะ มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่งฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ปหาราทะ ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ในพระธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"ปหาราทะ มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทรคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบกฉันใด ปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีสมาจารไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอ เสียแล้วทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่าหางไกลจากสงฆ์ พระสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา ปหาราทะ ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีสมาจารไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิดความชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียแล้วทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้นเขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขานี้เป็นธรรมที่น่า อัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ในพระธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"ปหาราทะ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ บางสาย คือแม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหึ แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่า มหาสมุทรนั่นเอง ฉันใด ปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าเป็นสมณะศากยบุตรทั้งนั้น ปหาราทะ ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าเป็นสมณะศากยบุตรทั้งนั้นนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ในพระธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"ปหาราทะ แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทรและสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็ม เพราะน้ำนั้น ๆ ฉันใด ปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น ปหาราทะ ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็ม ด้วยภิกษุนั้นนี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ในพระธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"ปหาราทะ มหาสมุทรมีรสเดียว คือรสเค็ม ฉันใด ปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน พระธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส ปหาราทะ ข้อที่พระธรรมวินัยมีรสเดียว คือ วิมุตติรสนี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ในพระธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"ปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใด ปหาราทะ ฉันนั้นเหมอนกัน พระธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในพระธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ปหาราทะ ข้อที่พระธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในพระธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นธรรมนี้น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในพระธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

"ปหาราทะ มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ และสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ มีอยู่ฉันใด ปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน พระธรรมวินัยนี้ก็เป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ สิ่งมีชีวิตในพระธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ปหาราทะ ข้อที่พระธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ สิ่งที่มีชีวิตในพระธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์นี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในพระธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่"

จากการสนทนาระหว่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับปหาราทะ จอมอสูรนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเห็น "คล้อยตาม" มิใช่ "ขัดแย้ง" ต่อความคิดเห็นของคู่สนทนาเลย เป็นการสนทนาอย่างมี "มิตรภาพ" ที่เปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาอันล้นพ้น พระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ปหาราทะ จอมอสูรได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความอัศจรรย์ของมหาสมุทรก่อน ซึ่งปหาราทะจอมอสูรได้กราบทูลว่า มหาสมุทรมีความน่าอัศจรรย์รวม ๘ ประการด้วยกัน และเมื่อปหาราทะจอมอสูรทูลถามพระองค์บ้างว่า ในพระธรรมวินัยนี้มีอะไรที่น่าอัศจรรย์บ้าง พระพุทธองค์ก็ตรัสตอบว่าในพระธรรมวินัยนี้ก็มีความน่าอัศจรรย์ ๘ ประการเช่นนั้น พระองค์มิได้ทรง "กล่าวข่ม" ว่าในพระธรรมวินัยนี้ มีความน่าอัศจรรย์ ๙-๑๐ ประการ ให้มากไปกว่าความน่าอัศจรรย์ ๘ ประการของมหาสมุทรที่ปหาราทะจอมอสูรได้กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถึงความน่าอัศจรรย์ของพระธรรมวินัยว่า ก็มี ๘ ประการเหมือนกัน และทรงเปรียบเทียบกับความน่าอัศจรรย์ของมหาสมุทรในลักษณะคล้าย ๆ กันเป็นคู่ไป นับว่าพระพุทธองค์ทรงใช้จิตวิทยาและทรงมีพระพุทธปฏิภาณ ที่ยากจะหาผู้ใดในโลกเสมอเหมือน การที่จะเป็นนักประกาศพุทธธรรมที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะต้องมีความรอบรู้ใน "พุทธธรรม" อย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องมีปฏิภาณ ไหวพริบที่เฉียบแหลม สามารถโต้ตอบคู่สนทนาได้อย่างฉับพลันด้วย และที่นับว่าสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือต้องพยายามก่อให้เกิดความรู้สึกฉันมิตรแก่คู่สนทนาด้วย



หนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ

An Introduction to the Study of Buddhism: A Sane Way to Live

Theravada Buddhism Recommended Reading








 

Create Date : 06 กันยายน 2552    
Last Update : 12 กันยายน 2552 19:51:46 น.
Counter : 442 Pageviews.  


Inquirer
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Loading
ร้านหนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ Bestsellers Buddhism General Buddha's Nirvana Theravada Sutra Mahayana Dalai Lama Vajrayana Zen Buddha Dhammapada Dharma History Karma Rituals & Practice Sacred Writings Sutras Zen Philosophy Tibetan Religion & Spirituality Kindle Books Bestsellers in Kindle Store Hot New Releases Most Gifted Most Wished For Audiobooks Audiobook Downloads
free counters
Web-Stat
Friends' blogs
[Add Inquirer's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.