Heaven is no longer!!!
Group Blog
 
All Blogs
 

สัทธรรม&สัทธรรมปฏิรูป

ผู้ที่เดินทางเข้ามาสู่การศึกษาพระธรรม สัทธรรมแท้นั้น
ย่อมมีหลากหลายเหตุที่นำพาเข้ามา

บางคนแค่อยากหาวิธีปลดทุกข์ได้ทันที เฉพาะเรื่อง
บางคนอาจจะอยากเรียนรู้เพื่อเปรียบเทียบ กับสิ่งที่เคยเรียนรู้มาในทางโลก


พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เป็นจริงไม่จำกัดกาล ไม่มีล้าสมัย
ใช้ได้กับทุกๆ เรื่อง!!!

แต่ด้วยยุคสมัยผ่านไป การนำเสนอในยุคนั้นๆ ก็พยายาม "นำเสนอ"
สัทธรรม ให้ดูดี ดูทันสมัยในยุคนั้น ทำเป็นทำนองสรภัญญะ...
แต่งเป็นเพลง ทำนองร่วมสมัย...
เพลงแหล่...
ป๊อป...แรพ...ฮิปฮอป...dance..R&B???


ถ้ามุ่งหมายในทางบันเทิงแล้ว
ความหมายที่สื่อออกมาย่อมผิดเพี้ยน
กลายเป็น สัทธรรมปฏิรูปไป

หรือแม้แต่ "พระบางท่าน" เองด้วยซ้ำ ที่ทำให้ พระสัทธรรม ผิดเพี้ยนไป
แก้กรรม สืบชะตา ต่ออายุบ้าง...
บูชาวัตถุ สร้างวัตถุ เพื่อ สิริมงคล ความร่ำรวยบ้าง...
สอนบุญเพื่อไม่ตกนรก???
หรือไป สวรรค์... (วนเวียนว่ายตายเกิดในวัฐสงสาร)
สอบหรือเรียนแต่ปริยัติแตกฉาน แต่ไม่ได้ทำการปฏิบัติให้บรรลุแจ้งโดยไว
กิเลสมนุษย์นี่ละหนอ ทำให้ท่านออกตัว ออกสื่อ
พัวพันกับทางโลก เกินไปแล้ว...ประเด็นก็เลยเน้นไปแต่ในทางโลก!!!!

เนื้อแท้ของธรรมจริงๆ คืออะไร???
เนื้อหาสาระแก่นแท้ที่ไม่จำกัดกาลนั้นคืออะไร???
จะรู้ได้อย่างไร ว่าเป็น "ทองแท้" หรือ "เทียม"

รูปแบบแผนในการนำเสนอนั้น
จะมาโดยแบบใดก็ตาม ศาสนิกชนผู้มีปัญญา
ย่อมพิจารณาแก่นสารที่นำเสนอมานั้น
โดยไปในทางนี้...

ท่าน withorn_saab เคยยกมาในกระทู้ผม ว่า

//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=23&item=80&items=2&preline=1
" ดูก่อนอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไป
- เพื่อความเบื่อหน่าย
- เพื่อคลายกำหนัด
- เพื่อความดับ
- เพื่อความสงบ
- เพื่อความรู้ยิ่ง
- เพื่อตรัสรู้
- เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว
เธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่เป็นคำสั่งสอนของพระศาสนา

ส่วนธรรมเหล่าใด....
- เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
- เพื่อคลายกำหนัด
- เพื่อความดับ
- เพื่อความสงบ
- เพื่อความรู้ยิ่ง
- เพื่อตรัสรู้
- เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว

เธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนหนึ่งว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา”


แก่นแท้ก็คือ ทางนำไปสู่การหลุดพ้น การละกิเลสที่เกาะกินในใจมานมนาน
ไม่รู้กี่ชั่วมหากัลป์ ทางแห่งปัญญา ทางแห่ง "นิพพาน" นั่นเอง




 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2554 19:24:03 น.
Counter : 733 Pageviews.  

ปลง...ปล่อยวาง...วางเฉย...เข้าใจ...เป็นอย่างไร

ปลง...ดูแล้วเป็นคำที่ให้ความหมายลบทีเดียว-หมดอาลัย ตายอยากในชีวิตแล้ว
ปล่อยวาง...ดีขึ้นมาหน่อย คือ ดูว่าไม่ได้คิดอะไรกับสิ่งนั้นแล้ว
วางเฉย...ดูแล้วเหมือนเป็นคนเฉยชา ขวางโลก ไม่สนใจโลกไปแล้ว
เข้าใจ...อันนี้น่าจะดูดีสุด เหมือนเป็นผู้ใหญ่ ผ่านอะไรๆ มาเยอะ นะพวกเด็กๆ อิอิ

จริงๆ แล้ว คำเหล่านี้ความหมายในทางดีนั้น คือความหมายเดียวๆ กัน
ตามหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ "อุเบกขา" นั่นเอง
เป็นธรรมที่เราคุ้นเคยดีใน "พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย
เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา"

การที่จะ ปลง...ปล่อยวาง...วางเฉย...เข้าใจ... นั้น จะต้อง
ปลง...ปล่อยวาง...วางเฉย...เข้าใจ... จริงๆ ไม่ใช่แค่แต่คิดเอาเอง
ทึกทักเอาเองว่า ปล่อยวางไปแล้ว เพราะเดี๋ยวมีอะไรมาสะกิดอีกเข้าหน่อย
ก็จะ "เอากลับมาถือ" เป็นว่า ไม่ได้ปล่อยวางจริงๆ ซักที

อุเบกขา ต้นตอมาจาก คำว่า "ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก"
เป็นเจตสิกที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียง ปราศจากอคติ จึงเป็นอาการวางเฉย อุเบกขาในอารมณ์


อุเบกขา การวางเฉยมี ๑๐ อย่าง คือ ...

1. ฉฬังคุเปกขา    ได้แก่   ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก     ซึ่งเป็นสภาพที่วางเฉย
                               ในอารมณ์ ๖ ของพระอรหันต์ผู้ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว

2. พรหมวิหารุเปกขา   ได้แก่  ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก   ซึ่งวางเฉยเป็นกลางใน  
                                   สัตว์ทั้งหลาย

3. โพชฌังคุเปกขา     ได้แก่  ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่เป็นองค์  คือ  ส่วน
                                   ประกอบที่ทำให้ตรัสรู้อริยสัจธรรม

4. วิริยุเปกขา        ได้แก่ วิริยเจตสิกที่เป็นความเพียรถูก ซึ่งไม่ตึงนัก
                              ไม่หย่อนนักในการเจริญภาวนา

5. สังขารุเปกขา    ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่วางเฉย   เมื่อประจักษ์ไตรลักษณะของ
                              สังขารธรรม

6. เวทนุเปกขา      ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือเป็นสุข

7. วิปัสสนูเปกขา   ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่เป็นกลางในการพิจารณาอารมณ์ที่เกิด
                              ตามเหตุปัจจัย

8. ตัตตรมัชฌัตตุเปกขา ได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียง
                                     ด้วยอคติ

9. ฌานุเปกขา       ได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกในฌาน   ซึ่งคลายความฝักใฝ่
                              ในธรรมอื่นที่ทำให้ไม่สงบมั่นคง  โดยเฉพาะ ได้แก่
                              ตติยฌาน(โดยจตุตถนัย) ซึ่งคลายปิติแล้ว

10. ปาริสุทธุเปกขา ได้แก่  ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกในจตุตถฌาน
                              (โดยจตุตถนัย)ซึ่งสงบหมดจดแล้วจากข้าศึก
                              ทั้งปวง ไม่ต้องทำกิจละองค์ฌานใดอีก



การที่จะปล่อยวางได้ คือการเข้าใจ พิจารณาในไตรลักณ์ ได้อย่างถ่องแท้นั่นเอง
เข้าใจว่า โลกนี้ "แปรเปลี่ยน ไม่สามารถคงสภาพเดิมได้ ไม่ใ่ช่ของใคร"
แม้แต่ตัวเราเอง กาย-จิต ของเราเอง ก็ยังไม่ใช่ของเราเลย

ผู้ที่ปล่อยวางได้ คือผู้ที่มีความสุขที่สุด
ไม่มีคำว่าทุกข์ร้อนใดๆ ในโลกนี้ มากล้ำกลายได้อีก






 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2554 10:58:22 น.
Counter : 1371 Pageviews.  

กิเลสๆๆๆ มาดูตัวกิเลสกัน

กรรมกิเลส 4 (กรรมเครื่องเศร้าหมอง, ข้อเสื่อมเสียของความประพฤติ - defiling actions; contaminating acts; vices of conduct)
1. ปาณาติบาต (การตัดรอนชีวิต - destruction of life)
2. อทินนาทาน (ถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้, ลักขโมย - taking what is not given)
3. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม - sexual misconduct)
4. มุสาวาท (พูดเท็จ - false speech)


กิเลส 10 (สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง — defilements)
1. โลภะ (ความอยากได้ — greed)
2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย — hatred)
3. โมหะ (ความหลง, ความไม่รู้, ความเขลา — delusion)
4. มานะ (ความถือตัว — conceit)
5. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด — wrong view)
6. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย, ความเคลือบแคลง — doubt; uncertainty)
7. ถีนะ (ความหดหู่, ความท้อแท้ถดถอย — sloth)
8. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน — restlessness)
9. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อความชั่ว — shamelessness)
10. อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว — lack of moral dread)


อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส 16 (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี — mental defilements)
1. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร — greed and covetousness; covetousness and unrighteous greed)
2. พยาบาท (คิดร้ายเขา — malevolence; illwill)
3. โกธะ (ความโกรธ — anger)
4. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ — grudge; spite)
5. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น — detraction; depreciation; denigration)
6. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน — domineering; rivalry; envious rivalry)
7. อิสสา (ความริษยา — envy; jealousy)
8. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ — stinginess; meanness)
9. มายา (มารยา — deceit)
10. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด — hypocrisy)
11. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง — obstinacy; rigidity)
12. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน — presumption; competing contention; contentiousness; contentious rivalry; vying; strife)
13. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน — conceit)
14. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา — excessive conceit; contempt)
15. มทะ (ความมัวเมา — vanity)
16. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ — heedlessness; negligence; indolence)


กิเลสวัตถุ (สิ่งก่อความเศร้าหมอง) 10
วิปัสสนูปกิเลส 10 (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ — im-perfection or defilements of insight)
1. โอภาส (แสงสว่าง — illumination; luminous aura)
2. ญาณ (ความหยั่งรู้ — knowledge)
3. ปีติ (ความอิ่มใจ — rapture; unprecedented joy)
4. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น — tranquillity)
5. สุข (ความสุขสบายใจ — bliss; pleasure)
6. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ, ศรัทธาแก่กล้า, ความปลงใจ — favor; resolution; determination)
7. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี — exertion; strenuousness)
8. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด — established mindfulness)
9. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง — equanimity)
10. นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ — delight)


สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;


พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;
ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ
๑. กามราคะ
๒. ปฏิฆะ
๓. มานะ
๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
๕. วิจิกิจฉา
๖. สีลัพพตปรามาส
๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)
๘. อิสสา (ความริษยา)
๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
๑๐. อวิชชา




 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 22 ธันวาคม 2554 0:49:30 น.
Counter : 636 Pageviews.  

มองกระจก เห็นอะไร?

1.เห็นคนหน้าตาดีที่สุดในโลก หล่อสวยไม่มีใครเกิน
2.เห็นคนหน้าตาธรรมดาที่คุ้นเคย เอ๊ะ เริ่มมีผมหงอกมา 1 เส้น
3.เห็นเนื้อหนังมังสา รอยเหี่ยวย่น กระ ห่อหุ้ม เนื้อ กระดูก เลือด ไขมันฯลฯ
4.เห็นกระจกเก่าๆ ไม่ได้เช็ดมาหลายวัน มัวๆ มีคราบน้ำเป็นดวงๆ
พอจะทำให้มองเห็นเงาสะท้อนบ้าง

เมื่อมองกระจกวันนี้ ยังเห็นอะไรอยู่????

และสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา 10 อย่าง
1. อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต
2. โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ
3. โมหะ ความหลงใหล ความโง่
4. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา
5. ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ
6. วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ
7. โลภะ ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ
8. ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา
9. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต
10. มานะ ความ ทะนงตน ถือตัว เย่อหยิ่ง

วันนี้เราเห็นอะไรบ้าง....

นักปฏิบัติธรรม ย่อมพูดน้อย ปฏิบัติมาก มองย้อนกลับมาดูตัวเองบ่อยๆ
ว่าตัวไหน "โต" "หนา" หรือ กำลัง "บาง" ลง

ไม่ต้องถามใคร ไม่ต้องไปสอบใคร
สอบกับกระจก ถามตัวเราเองนี่ล่ะ


//www.84000.org/true/590.html
หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์

ปัญหา ภิกษุปฏิบัติอย่างไรบ้าง จึงจะชื่อว่าปฏิบัติถูกต้องเพื่อความพ้นทุกข์ ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าอบรมปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑
เป็นผู้ประกอบความเพียร ๑....”


อปัณณกสูตร ติก. อํ. (๔๕๕)
ตบ. ๒๐ : ๑๔๒-๑๔๓ ตท. ๒๐ : ๑๒๙
ตอ. G.S. ๑ : ๙๗-๙๘






 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2554 10:09:19 น.
Counter : 468 Pageviews.  

ปัจจุบันเป็นเวลาประเสริฐสุด.....

แต่...บางที หรือหลายๆ ที เราก็คิดว่าเรามีสติดีครบถ้วนสมบูรณ์
เป็นบุคคลที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่ได้ "บ้า" (เพราะถ้าบ้าคงถูกจับส่ง รพ.ไปแล้ว :D)

แต่! สงสัยหรือไม่ ว่าทำไม บางที ก็มีปัญหาที่มาทำให้เราคิด ป่วน กวน
จนเราไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน อยู่เรื่อยๆ (บางทีอาจจะทำให้บ้าได้) เป็นเพราะ...
-เราแก้ปัญหาไม่ได้...
-ปัญหานั้นแก้ไม่ได้...
-ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร...
-ปัญหาๆๆๆๆ ฯลฯ

"อนาคต"
เราคิดแต่จะแก้ปัญหาในอนาคตที่ยังไม่เกิด ใช้วิธีแก้ปัญหาโดยทำสิ่งที่ "น่าจะ" แก้ได้...
ไม่มีเงินจ่ายหนี้ตอนสิ้นเดือนจะทำอย่างไร...
อยากได้บ้าน อยากได้รถ จะต้องหา ต้องทำยังไง...
โรคร้ายที่เป็นอยู่ ต้องหาวิธีรักษายังไง...
ลูกหลาน ญาติที่ลำบาก จะช่วยเค้ายังไง...
ปัญหาๆๆๆๆ ฯลฯ
สรุป.คิดถึงแต่ปัญหาที่จะแก้ในอนาคต หรือ "รอให้เกิดปัญหาก่อน" แล้วค่อยแก้!


"อดีต"
แต่เราไม่เคยลองฉุดคิด หรือคิดน้อยมากถึงอดีตที่ดำเนินมาถึงปัจจุบัน
เพราะเวลาสิ้นปีทีไรเราก็จะพูดว่า
"สิ่งที่ไม่ดีในปีเก่าก็ปล่อยไป เริ่มต้นทำปีใหม่ให้ดี" คิดแบบนี้ทุกปีๆ แล้วผลเป็นอย่างไร...
สรุป."คิดถึงความผิดพลาดในอดีตน้อยมาก" เผลอเรอ...จนทำพลาด ซ้ำแล้ว-ซ้ำเล่า



การที่จะคิดถึงและทำสิ่งที่ดีในปัจจุบันได้ คือ....
"คิดอดีตให้จบ"---คิดถึงตั้งแต่อดีตเราเกิดมา จนถึงตอนนี้ เรา..."ทำ" "มี" "เป็น" อะไรมาบ้าง
"คิดอนาคตให้จบ"---คิดว่าในอนาคตของเราสิ้นชีวิต เราจะต้อง..."ทำ" "มี" "เป็น" อะไรได้บ้าง


หาเวลาว่างๆ คิดอย่างถี่ถ้วนอย่างมี "สติ"
(ยิ่งเวลานี้ประเทศไทยคนไทย เหมาะที่สุดเลยครับที่จะได้ลองใช้ "สติ" พิจารณาทั้ง
อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ของเราเอง)



แล้วเราก็จะได้มาอยู่ใน "ปัจจุบัน" ได้อย่างมีความสุขที่สุดเลยครับ

อนุโมทนาแก่ดวงจิตที่เป็นกุศลทุกดวงครับ




 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2554 16:06:11 น.
Counter : 564 Pageviews.  

1  2  

สวรรค์รำไร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สวรรค์รำไร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.