Heaven is no longer!!!
Group Blog
 
All Blogs
 
ปลง...ปล่อยวาง...วางเฉย...เข้าใจ...เป็นอย่างไร

ปลง...ดูแล้วเป็นคำที่ให้ความหมายลบทีเดียว-หมดอาลัย ตายอยากในชีวิตแล้ว
ปล่อยวาง...ดีขึ้นมาหน่อย คือ ดูว่าไม่ได้คิดอะไรกับสิ่งนั้นแล้ว
วางเฉย...ดูแล้วเหมือนเป็นคนเฉยชา ขวางโลก ไม่สนใจโลกไปแล้ว
เข้าใจ...อันนี้น่าจะดูดีสุด เหมือนเป็นผู้ใหญ่ ผ่านอะไรๆ มาเยอะ นะพวกเด็กๆ อิอิ

จริงๆ แล้ว คำเหล่านี้ความหมายในทางดีนั้น คือความหมายเดียวๆ กัน
ตามหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ "อุเบกขา" นั่นเอง
เป็นธรรมที่เราคุ้นเคยดีใน "พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย
เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา"

การที่จะ ปลง...ปล่อยวาง...วางเฉย...เข้าใจ... นั้น จะต้อง
ปลง...ปล่อยวาง...วางเฉย...เข้าใจ... จริงๆ ไม่ใช่แค่แต่คิดเอาเอง
ทึกทักเอาเองว่า ปล่อยวางไปแล้ว เพราะเดี๋ยวมีอะไรมาสะกิดอีกเข้าหน่อย
ก็จะ "เอากลับมาถือ" เป็นว่า ไม่ได้ปล่อยวางจริงๆ ซักที

อุเบกขา ต้นตอมาจาก คำว่า "ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก"
เป็นเจตสิกที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียง ปราศจากอคติ จึงเป็นอาการวางเฉย อุเบกขาในอารมณ์


อุเบกขา การวางเฉยมี ๑๐ อย่าง คือ ...

1. ฉฬังคุเปกขา    ได้แก่   ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก     ซึ่งเป็นสภาพที่วางเฉย
                               ในอารมณ์ ๖ ของพระอรหันต์ผู้ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว

2. พรหมวิหารุเปกขา   ได้แก่  ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก   ซึ่งวางเฉยเป็นกลางใน  
                                   สัตว์ทั้งหลาย

3. โพชฌังคุเปกขา     ได้แก่  ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่เป็นองค์  คือ  ส่วน
                                   ประกอบที่ทำให้ตรัสรู้อริยสัจธรรม

4. วิริยุเปกขา        ได้แก่ วิริยเจตสิกที่เป็นความเพียรถูก ซึ่งไม่ตึงนัก
                              ไม่หย่อนนักในการเจริญภาวนา

5. สังขารุเปกขา    ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่วางเฉย   เมื่อประจักษ์ไตรลักษณะของ
                              สังขารธรรม

6. เวทนุเปกขา      ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือเป็นสุข

7. วิปัสสนูเปกขา   ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่เป็นกลางในการพิจารณาอารมณ์ที่เกิด
                              ตามเหตุปัจจัย

8. ตัตตรมัชฌัตตุเปกขา ได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียง
                                     ด้วยอคติ

9. ฌานุเปกขา       ได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกในฌาน   ซึ่งคลายความฝักใฝ่
                              ในธรรมอื่นที่ทำให้ไม่สงบมั่นคง  โดยเฉพาะ ได้แก่
                              ตติยฌาน(โดยจตุตถนัย) ซึ่งคลายปิติแล้ว

10. ปาริสุทธุเปกขา ได้แก่  ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกในจตุตถฌาน
                              (โดยจตุตถนัย)ซึ่งสงบหมดจดแล้วจากข้าศึก
                              ทั้งปวง ไม่ต้องทำกิจละองค์ฌานใดอีก



การที่จะปล่อยวางได้ คือการเข้าใจ พิจารณาในไตรลักณ์ ได้อย่างถ่องแท้นั่นเอง
เข้าใจว่า โลกนี้ "แปรเปลี่ยน ไม่สามารถคงสภาพเดิมได้ ไม่ใ่ช่ของใคร"
แม้แต่ตัวเราเอง กาย-จิต ของเราเอง ก็ยังไม่ใช่ของเราเลย

ผู้ที่ปล่อยวางได้ คือผู้ที่มีความสุขที่สุด
ไม่มีคำว่าทุกข์ร้อนใดๆ ในโลกนี้ มากล้ำกลายได้อีก






Create Date : 14 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2554 10:58:22 น. 1 comments
Counter : 1372 Pageviews.

 
อนุโมธนาครับ


โดย: Tao IP: 27.130.173.235 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:5:47:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สวรรค์รำไร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สวรรค์รำไร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.