images by free.in.th
"
Group Blog
 
All blogs
 
การพัฒนาบุคลากรในโรงงานแบบ Monozukuri

เป็นอย่างไรกันบ้าง ผ่านปีใหม่มาได้เกือบเดือนแล้ว ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ แต่ตอนนี้เราก็ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มาได้จะครบ 1 เดือนแล้วเช่นกัน 

เมื่อพูดถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เรามักจะนึกถึงศักยภาพในการแข่งขันระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะหากมองในด้านอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจทั้งประเทศแล้ว  แม้ว่า ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยจะยังมีจุดแข็งที่ค่อนข้างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีแรงงานมีฝีมือเป็นที่ยอมรับเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ จึงทำให้ไทยยังคงครองแชมป์เป็นฐานการผลิตรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอันดับ 1 ในอาเซียน

แต่ประเทศอย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งมีความได้เปรียบในด้านอื่น ๆ อาทิ มาตรการส่งเสริมการลงทุนและโลจิสติกส์ ก็กำลังรอจังหวะที่จะกวดแซงหน้าไทยชนิดหายใจรดต้นคอเช่นกัน 

ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมของไทยจึงต้องเร่งเดินหน้าพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้ล้ำหน้ากว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นจริงได้ก็คือแรงงาน หรือบุคลากรที่อยู่ในภาคการผลิต  

แม้ว่าที่ผ่านมา ผู้ประกอบการส่วนมากก็ตระหนักถึงเรื่องนี้ดี จึงพยายามยกระดับความสามารถและคุณภาพของบุคลากร ด้วยการฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานโดยตรง รวมถึงให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการและการควบคุมคุณภาพทั้งหลาย เช่น กิจกรรม 5ส, กิจกรรมไคเซ็น, TPM (กิจกรรมการบำรุงรักษาแบบทุกคนมีส่วนร่วม), กิจกรรมควบคุมคุณภาพ QCC เป็นต้น 

แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะการพัฒนาบุคลากรส่วนใหญ่ที่ทำอยู่เป็นการจัดการโดยฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งไม่มีความเข้าใจลักษณะงานในภาคการผลิตอย่างแท้จริง ว่ามีความแตกต่างจากงานในสำนักงานทั่วไปมาก ผลที่ได้จึงเป็นการจัดฝึกอบรมแบบทำตาม ๆ กัน ขาดการวางแผนพัฒนาอย่างเป็นระบบ เป็นการให้ความรู้แบบแยกส่วน และขาดการส่งเสริมให้นำไปใช้จริง อีกทั้งไม่มีเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรแต่ละระดับอย่างชัดเจน สุดท้ายจึงไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีทั้งจากตัวพนักงานเองและผู้เกี่ยวข้อง

หากคุณเองก็อยู่ในแวดวงโรงงานหรือสถานประกอบการ และกำลังปวดหัวกับแนวทางการพัฒนาบุคลากรที่ไม่สัมฤทธิ์ผลเช่นนี้  อยากให้ลองนำประสบการณ์จริงของคุณ Toshimichi  Hata ที่เขียนแนะนำไว้ในหนังสือ “การพัฒนาบุคลากรในโรงงานแบบ Monozukuri” ไปใช้ดู



การพัฒนาบุคลากรในโรงงานแบบ Monozukuri

เขียนโดย Toshimichi Hata           

แปลโดย ดร.บัณฑิต โรจน์อารยานนท์

ขนาด 17 x 23 cm

จำนวนหน้า 216 หน้า

ดูตัวอย่างเนื้อหา


เนื้อหาในเล่มจะอธิบาย วิธีวางแผนพัฒนาบุคลากรที่หน้างานการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม มีรายละเอียดการสอนงาน และแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นลำดับขั้น ตลอดจนการปลูกฝังจิตสำนึกของคนทำงานที่หน้างาน ตั้งแต่ระดับพนักงานใหม่ สูงขึ้นมาเป็นหัวหน้าหน่วย หัวหน้างาน และผู้จัดการแผนก

ครอบคลุมทั้งเรื่องการพัฒนาทักษะฝีมือที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานแต่ละระดับรวมถึงการบ่มเพาะให้มีจิตวิญญาณที่คำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัย และปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมการผลิตของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “Monozukuri (โมโนซุคุริ)” 

Monozukuri (โมโนซุคุริมีวิธีบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ใส่ใจในทุกกระบวนการผลิตตั้งแต่การออกแบบจนถึงหลังการขาย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เป็นที่พอใจของลูกค้า อันเป็นจุดแข็งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตของญี่ปุ่นมีความสามารถสูงในการดำเนินการผลิตเชิงอุตสาหกรรมสมัยใหม่ องค์กรมีความแข็งแกร่ง และประสบความสำเร็จในเวทีโลก


เชื่อว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับสถานประกอบการไทย ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ เพิ่มอัตราการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้า และลดต้นทุนอย่างได้ผล ทำให้มีศักยภาพหนีห่างคู่แข่งทั้งภายในและภายนอกประเทศในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญความท้าทายหลายด้านได้เป็นอย่างดี


สอบถามเพิ่มเติม: book4u@tpa.or.th

ติดตามหนังสือออกใหม่และกิจกรรม

หรือหนังสือหมวดเทคโนโลยีเครื่องยนต์ วิศวกรรม และอื่น ๆ ได้ที่นี่




Create Date : 27 มกราคม 2559
Last Update : 28 มกราคม 2559 8:37:34 น. 0 comments
Counter : 3323 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

textbook
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สรรค์สร้างสาระสู่สังคม
มุ่งมั่นผลิตตำราวิชาการและหนังสือเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ การบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมการศึกษา เพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร สำหรับภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม
Friends' blogs
[Add textbook's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.