Group Blog
 
All Blogs
 
โรคมะเร็งตับ และมะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับ (liver cancer) เป็น
มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชายและอันดับ 2 ในเพศหญิง
และเป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคเร็วมาก มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน
คนที่มีไวรัสตับอักเสบมาก่อน เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี
ไวรัสตับอักเสบชนิดซี เป็นมาระยะหนึ่งจะเป็นตับแข็ง และพัฒนาเป็นมะเร็งได้
คนที่ดื่มสุรา การกินอาหารที่มีอัลฟาท๊อกซินบ่อยๆ วิธีการที่จะติด
อาจจะเกิดจากการคลอด การได้รับเลือด การร่วมเพศ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

ตับ

เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย
ทำหน้าที่ในการจัดการกับสารอาหารที่ดูดซึมเข้าจากลำไส้ สร้างสารต่างๆ เช่น
สารประกอบที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือด
และทำลายสารพิษที่รับประทานเข้าไป

ประเภทของมะเร็งตับ

1.ชนิดที่เกิดกับตับโดยตรง (มะเร็งปฐมภูมิ) ในประเทศไทยพบมากมี 2 ชนิด คือ

    * มะเร็งชนิดเซลล์ตับ เป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วทุกภาค
    * มะเร็งชนิดเซลล์ท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2.ชนิดที่ลุกลามมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น (มะเร็งทุติยภูมิ) เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ทวารหนักที่กระจายไปยังตับ

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับ

   1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี จะพบในอัตรา 0.4–0.6 % ของผู้ป่วยดังกล่าว
   2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี
  

3. ผู้ ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส
จากการใช้ยา จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากธาตุเหล็กและแคลเซี่ยม
   4. ผู้ป่วยที่ได้รับสารอะฟลาทอกซิน
   5. ผู้ป่วยที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ หรือโรคไวรัสตับอักเสบบี
   6. อัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งตับ เฉลี่ยระหว่างผู้ชายและผู้หญิงคือ 4.6 : 1 คือพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  
7. ปัจจัย เสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค เช่น โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี
พยาธิใบไม้ในตับ สารเคมีต่างๆ ยารักษาโรคบางชนิด ยาฆ่าแมลง
สารพิษที่เกิดจากเชื้อรา สารเคมีที่เกิด จากอาหารหมักดอง สุรา ฯลฯ
ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะทางระบบอิมมูน คุณสมบัติ ทางพันธุกรรม และปัจจัยอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุช่วยในการเกิดโรค

อาการ
    * เบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องผูก
    * อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และมีไข้ต่ำๆ
    * ปวดหรือเสียดชายโครงด้านขวา อาจคลำก้อนได้
    * ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตและบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง
   

* มะเร็ง ที่มีขนาดเล็กหรือมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
ผู้ป่วยในระยะนี้มักจะไม่มีอาการทางกายที่ชัดเจนมากนัก
อาจเรียกว่าไม่มีอาการเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้นแล้ว
อาจส่งผลแสดงอาการต่างๆ ได้ เช่น ปวด แน่นท้องบริเวณด้านขวาบน
หรือหากเป็นก้อนตรงตับกลีบซ้าย อาจมีอาการบริเวณลิ้นปี่
อาจมีอาการเหม็นเบื่ออาหาร ทานไม่ค่อยได้
ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักลดลงโดยไม่รู้ตัว บางคนอาจมีอาการเกี่ยวการย่อยอาหาร
ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เพราะเคมีน้ำดีในตับบกพร่อง คนที่ก้อนโตมากขึ้น
อาจคลำก้อนได้บริเวณใต้ชายโครงขวา รู้สึกท้องโต แน่นตึง
บางคนอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีน้ำไปที่ช่องท้องที่เรียกว่า
ท้องมาน เกิดขึ้นได้หากก้อนลุกลามมาก แต่อาการเหล่านี้บางครั้ง
อาจเกิดจากภาวะตับแข็งเฉยๆ โดยที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งก็ได้

การตรวจวินิจฉัย
การตรวจและรักษามะเร็งตับในระยะแรกเริ่มมักได้ผลดี แต่มะเร็งตับระยะแรกเริ่มมักไม่มีอาการ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์
   1. การตรวจโดยเจาะเลือดหาระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีน ซึ่งเป็นสารที่มะเร็งตับ ชนิดเซลล์ตับผลิตออกมา
   2. การตรวจดูก้อนในตับโดยใช้อุลตราซาวด์ คอมพิวเตอร์เอ็กซเรย์ คลื่นแม่เหล็ก MRI หรือฉีดสีเข้าเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับ 

mthai.com


Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2553 8:21:35 น. 2 comments
Counter : 264 Pageviews.

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:54:48 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ


โดย: นุนิก วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:34:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

DeWalt
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add DeWalt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.