มาพร้อมกับสาระ ความสนุก บันเทิง ลับเฉพาะ และครอบครัวสุดที่รักครับท่าน....
Group Blog
 
All blogs
 
วิชาเตาฮีด

วิชาเตาฮีดนั้น คือ ใจความจากประมวลการยึดมั่น (เอี๊ยะติกอด) ทางศาสนาที่นำมาจากหลักฐานที่แน่นอน
วิชานี้เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องซ๊าตของอัลลอฮ์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ (วาญิบ) สิ่งที่จำเป็นต้องมีและ (มุสต้าฮี้ล) สิ่งที่ปัญญาไม่ยอมรับว่ามีตลอดจนสิ่งที่อาจมีหรือไม่มี(ฮาโรส) ณ เบื้องอัลลอฮ์ และร่อซูลของพระองค์ ตลอดจนว่าด้วยคำสอนต่าง ๆ ที่ร่อซูลนำมาสั่งสอน เช่น เรื่องของวันกิยามะฮ์ และอื่น ๆ

ประโยชน์ของวิชานี้ คือ ผู้ศึกษาจะมีความสุขประสบโชคดีตลอดกาล

ศาสนานั้น คือ ใจความจากประมวล (หุ่ก่ม) หลักการของอัลเลาะฮ์ที่พระองค์ได้ทรงส่งผ่านร่อซูลมายังปวงบ่าวของพระองค์ อันทำให้เขาเหล่านั้นประสบแต่คุณงามความดีอันถาวรสืบไป

เครื่องหมายของศาสนานั้น มี 4 ประการ

1. การเชื่อที่ถูกต้อง กล่าวคือ การเชื่อมั่นอย่างเด็ดขาดต่อสิ่งที่ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เชื่อมั่น

2. มีเจตนาที่ถูกต้อง กล่าวคือ ทำอิบาดะฮ์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

3. ปฏิบัติตามสัญญาในสมบูรณ์ กล่าวคือ ทำในสิ่งที่ใช้

4. ไม่ล่วงละเมิดขอบเขต กล่าวคือ ละทิ้งสิ่งที่ห้าม

คือการทำอิบาดะฮ์โดยความอิคลาศต่ออัลเลาะฮ์ไม่ทำอิบาดะฮ์ด้วยการมีหุ้นในสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์ อัลกุรอานกล่าวว่า

فمن كان يرجو لقاء ربه فليعمل عملا صالحا ولا يشرك بعبادة ربه أحدا

"ใครก็ตามหวังที่จะพบกับผู้อภิบาลของเขา ก็จงทำอะมั้ลที่ดีโดยไม่ห้นส่วนสิ่งใด ๆ กับผู้อภิบาลของเขาในการทำอิบาดะฮ์"

บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะต่างกันเกี่ยวกับผู้ทำอิบาดะฮ์ที่กระทำเพื่ออัลเลาะฮ์และดุนยาด้วย อิหม่ามอิบนุอับอิสสลาม และท่านอื่น ๆ มีทัศนะว่าผู้ทำอิบาดะฮ์ที่มีเจตนาเช่นนี้จะไม่ได้รับกุศลเลย อิมามฆอซาลีมีทัศนะว่า ต้องพิจารณาเหตุที่เป็นสิ่งจูงใจให้ทำอิบาดะฮ์นั้น กล่าวคือ หากแรงจูงใจทางอาคิเราะฮ์มีมากกว่า ก็จะได้รับผลบุญตามจำนวนที่มี แต่ถ้าหากแรงจูงใจ ดุนยามีมากกว่าก็จะไม่ได้รับผลบุญเลย และหากมีเท่า ๆ กัน ก็จะไม่ได้รับผลบุญอะไรเลยเช่นกัน ทัศนะของท่านอิบนุหะญันในชัรหฺอีดอฮ์ให้ความเข้าใจว่า จะได้รับผลบุญตามที่จะมีเจตนา เนื่องจากมีโองการจากอัล-กุรอานว่า...

من يعمل مثقال ذرة خيرا يره

ความว่า " ใครที่ทำดีเท่าผงธุลีเดียว เขาก็จะได้เห็นมัน"

ศาสนานั้นมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ อิสลาม อีหม่าน และเอี๊ยะหฺซาน

อิสลามนั้นคือ การตามและยอมรับโดยภายนอกของบุคคลต่อสิ่งที่ร่อซูล ศ๊อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นำมา ได้แก่ สิ่งที่พึงรับรู้จากศาสนาในทางด่อรูเราะฮ์ กล่าวคือ โดยไม่ต้องพิจารณา เช่น สองกะลีมะฮ์ชะฮาดะฮ์ ละหมาด เป็นต้น

จุดมุ่งหมายของคำว่า ตามและยอมรับ นั้นคือ การยอมรับโดยวาจา โดยไม่ปฏิเสธ แม้จะไม่ได้ทำก็ตาม เช่น ไม่ละหมาด และอื่น ๆ เป็นเนืองนิจ

รู่ก่นอิสลามนั้น มี 5 ประการ

1. ปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้านอกจากอัลเลาะฮ์ และมูฮัมมัดเป็นร่อซูลของพระองค์ สำหรับรู่ก่นนี้บังคับเฉพาะกาเฟรที่ต้องการเข้ารับนับถืออิสลาม

2. ละหมาดห้าเวลา

3. บริจาคซะกาต

4. ถือบวชเดือนรอมดอน

5. บำเพ็ญฮัจย์ ณ ไบตุลลอฮ์ สำหรับผู้ที่สามารถจะเดินทางไปได้

อีหม่านนั้นคือ ใจเชื่อในสิ่งต่าง ๆ ที่ร่อซูลนำมาได้แก่ สิ่งที่พึงรับรู้จากศาสนาในทางด่อรูเราะฮ์
จุดมุ่งหมายของคำว่า "เชื่อ" นั้นคือ ใจคล้อยตามและยอมรับในสิ่งที่ต่าง ๆ ข้างต้น ซึ่งมิใช่แต่เพียงรู้ว่านะบีเป็นนะบีที่แท้จริงโดยไม่ตามและยอมรับ ด้วยเหตุนี้จึงไม่เรียกส่วนใหญ่ของกาเฟรที่รู้และเชื่อว่ามูฮัมมัดเป็นนะบีและร่อซูลว่าเป็นผู้ที่มีอีหม่าน เพราะใจพวกเขามิได้เชื่อ และยอมรับในสิ่งต่าง ๆ ที่นะบีนำมาเผยแพร่

รู่ก่นอีหม่านนั้นมี 6 ประการ

1. มีอีหม่าน คือ เชื่อมั่นในอัลลอฮ์

2. มีอีหม่านในมะลาอีกะฮ์

3. มีอีหม่านในบรรดาคัมภีร์

4. มีอีหม่านในบรรดาร่อซูล

5. มีอีหม่านในวันสุดท้าย

6. มีอีหม่านในกอดัร ไม่ว่าดีหรือชั่ว กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าดี เช่น ภักดี (ตออัต) หรือไม่ดี เช่น ความชั่ว (ม๊ะซิยัต) เกิดขึ้น โดยการกระทำของอัลลอฮ์ที่สอดคล้องกับเจตนาของพระองค์ที่มีอยู่แล้วตั้งแต่บรรพกาล (อะซัลลีย์)

เอี๊ยะหฺซาน (คุณธรรม) คือ การทำดีด้วยความอิคลาศ (บริสุทธิ์ใจ) กล่าวคือ เราทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ประหนึ่งเราเห็นอัลเลาะฮ์ จึงไม่ควรที่จะผินไปอื่นจากพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นทางใจ (บาเต็น) หรือทางอวัยวะส่วนนอก (ซอเฮร) โดยที่เราก็รู้ว่าพระองค์ทรงเห็นเรา เราจึงเกิดความละอายขึ้น ในขณะนั้น หากเราขาดความสนใจในการทำอิบาดะฮ์

เอี๊ยะห์ซานนั้นเป็นเงื่อนไขที่ทำให้อสิลามและอีหม่านสมบูรณ์ ดังนั้น อิสลามหรืออีหม่านจะสมบูรณ์ไม่ได้ หากไม่มีเอียะห์ซาน

ที่มา //www.sunnahstudent.com


Create Date : 20 กรกฎาคม 2550
Last Update : 20 กรกฎาคม 2550 20:03:48 น. 14 comments
Counter : 10325 Pageviews.

 
สิ่งที่แรกที่ศาสนากำหนดเป็นความจำเป็นสำหรับมุกัลลัฟ คือ ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะ ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง นั้นคือ การรู้จักอัลลอฮ์ กล่าวคือ รู้บรรดาหู่กุ่มซีฟัตและบรรดาหุก่ม การเป็นพระเจ้าของพระองค์ พร้อมทั้งรู้บรรดาสิ่งที่ทำให้รู้จักสิ่งต่าง ๆ ดังได้กล่าวแล้ว และรู้ถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบรรดาร่อซูล ดังนั้น ความหมายของคำว่า รู้จักอัลลอฮ์นั้น มิได้หมายความว่า รู้จักรูปร่างของพระองค์ ทั้งนี้ เพราะของใหม่ไม่อาจรู้ถึงแก่นแท้ (หะกีกัต) ของเก่า ๆ (ก่อดีม) ได้

ดังนั้น คำว่า "รู้จัก" และ "รู้" นั้น จึงหมายถึง รู้ที่ตรงกับความจริงที่ก่อให้เดความรู้นั้น อันเป็นความรู้ที่มีหลักฐาน กล่าวคือ การยึดมั่น (เอี๊ยะติกอด) ที่เด็ดขาด ที่ตรงกับความจริง ซึ่งการเอี๊ยะติกอดนั้น เกิดขึ้น จากเครื่องหมายสิ่งแสดงว่าเป็นการเอี๊ยะติกอดที่ถูกต้อง

จำเป็นสำหรับมุกัลลัฟต้องรู้ถึงบรรดาสิ่งที่วาญิบทางปัญญา ในเรื่องที่เกี่ยวกับพระเจ้าของเรา ตลอดจนสิ่งที่มุสตะฮี้ลบนพระองค์ และฮาโรสสำหรับพระองค์ด้วย

และจำเป็นต้องรู้ถึงสิ่งที่เป็นวาญิบสำหรับบรรดาร่อซูลอะลัยฮิมุซซอลาตุวัสลาม และมุสตะฮี้ล ตลอดจนฮาโรสสำหรับท่านเหล่านั้นด้วย

คำนิยามของศัพท์ที่ใช้ในหนังสือนี้

1.วาญิบทางศาสนา หมายถึง สิงที่เป็นผลบุญแก่ผู้กระทำ และการลงโทษผู้ที่ไม่กระทำ เช่น รู้ว่าอัลลอฮ์ทรงมี ผู้รู้ก็จะได้รับผลบุญ ส่วนผู้ไม่รู้ก็จะต้องได้รับโทษ

2. วาญิบทางปัญญา หมายถึง สิ่งที่ปัญญาไม่ยอมรับว่า ไม่มี เช่น สสารเอาที่อยู่

3. มุสตะฮี้ล หมายถึง สิ่งที่ปัญญาไม่ยอมรับว่ามี เช่น สสารนั้นไม่นิ่งและไม่กระดิก (ในเวลาเดียวกัน)

4. ยาอิสนั้นคือ สิ่งที่ปัญญาเชื่อว่าอาจมีหรืออาจไม่มีก็ได้ เช่น สสารนิ่งและกระดิก (หมายถึง ไม่นิ่งก็กระดิก กล่าวคือ จะมีทั้งนิ่งและกระดิกในเวลาเดียวกันหรือ ไม่มีทั้งนิ่งและกระดิกในเวลาเดียวกันไม่ได้)

ผู้ที่เป็นมุกัลลัฟแล้ว ทุกคนจำเป็น (ฟัรดูอีน) ต้องรู้หลักฐานของสิ่งที่วาญิบ มุสตะฮี้ลและยาอิสด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องมุกอลลิด คือ ผู้ที่เชื่อคำพูดของคนอื่นโดยไม่รู้ว่ามีหลักฐานอย่างไร

บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะแตกต่างกันว่า บุคคลที่เป็นมุกอลลิดนั้น เป็นกาเฟรหรือไม่? ทัศนะที่ซอเฮี๊ยะหฺกล่าวว่า เป็นมุมินพร้อมกับมีโทษ เพราะไม่เรียน ไม่พิจารณาหาเหตุผล ทั้งนี้หากเขาเป็นคนที่สามารถเรียน และหาเหตุผลได้

ความมุ่งหมายของคำว่า หลักฐาน นั้นคือ หลักฐานอิจมาลี คือ หลักฐานที่ไม่อาจโต้ตอบหรือชี้แจงความสงสัยที่เกิดขึ้นได้ เช่น มีความสงสัยตั้งเป็นคำถามขึ้นว่า อะไรคือหลักฐานทำให้ท่านเชื่อว่ามีอัลลอฮ์ เขาก็จะตอบว่าโลกนี้ แต่ก็ไม่อาจชี้แจง แนวทางที่ชี้ว่าโลกนี้เป็นหลักฐานได้ หรือว่าสามารถชี้แจงได้ แต่หากมีคำคัดค้านเกิดขึ้น เขาก็ไม่อาจชี้แจงเพื่อแก้ปัญหาตามที่ผู้คัดค้านหรือสงสัยต้องการได้ ก็ถือว่า เขาผู้นั้นพ้นไปจากสภาพการเป็นตักลีด (ผู้ตาม) โดยการที่เขารู้หลักฐานอิจมาลีย์ดังได้กล่าวแล้ว

สำหรับหลักฐานตัฟซีลีย์นั้น คือ หลักฐานที่สามารถยืนยันและชี้แจงบรรดาความสงสัยที่เกิดขึ้นได้
ที่มา //www.sunnahstudent.com


โดย: หะกีม (bonzai_s ) วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:06:08 น.  

 
การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ

นั้นคือ การศรัทธา ในรุก่นอีหม่าน 6 ข้อ

ความเชื่อในเรื่อง พระเจ้า
1. ทุกสิ่งต้องมีผู้สร้าง
2. ทุกสิ่งต้องมีผู้ควบคุม
พระเจ้า คือ ผู้ทรงอยู่เหนือกฎเกณฑ์ต่างๆ และแตกต่างจากสติปัญญาของมนุษย์ที่จะพึงทราบได้

รุก่นอีหม่านข้อแรก คือ การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. การศรัทธาแบบสรุปความ เช่น พระองค์ทรงมีองค์เดียว ทรงบันดาล และทรงบริหารทุกสิ่ง โดยจะกล่าวว่า พระองค์มิทรงมีข้อบกพร่องใดๆ ทั้งสิ้น
2. การศรัทธาแบบคุณลักษณะ ( ซีฟัต ) ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 3 จำพวก คือ
- ซีฟัตวายิบ (คุณลักษณะของอัลลอฮฺ ที่พึงมี ที่เราจำเป็นต้องรู้)
- ซีฟัตมุสตะฮีล (คุณลักษณะของอัลลอฮฺ ที่พึงมีไม่ได้)
- ซีฟัตยาอีส หรือ ซีฟัตฮาโรส (คุณลักษณะของอัลลอฮฺ ที่พึงมี หรือไม่มีก็ได้) เช่น การประสงค์ของพระองค์ ซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ที่จะห้ามมันได้

ที่มา //www.sunnahstudent.com


โดย: หะกีม (bonzai_s ) วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:07:49 น.  

 
ต่อไปนี้ เราจะได้อธิบายถึงบรรดาสิ่งที่ต้องเชื่อ عقائد ตามที่ศาสนากำหนดไว้ มีทั้งบรรดาสิ่งที่วาญิบ และสิ่งที่มุสตะฮีล และสิ่งที่ฮาโรส ทั้งที่อัลเลาะฮ์และร่อซู้ลฯ พร้อมกันนั้น จะได้นำหลักฐานมาประกอบในทุก ๆ สิ่งที่จำเป็นต้องเชื่อ عقيدة ซึ่งหลักฐานทั้งหมดที่จะนำมานั้น เป็นหลักฐานที่ยืนยันสิ่งที่วาญิบ และปฏิเสธสิ่งที่มุสตะฮีลไปในตัว

อัลเลาะฮ์นั้น พระองค์ต้องทรงคุณลักษณะที่สมบูรณ์ ที่คู่ควรกับพระองค์ซึ่งมีมากมาย ไม่มีใครรู้ได้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ นอกจากพระองค์ ดังนั้นจำเป็น (วาญิบ) ในทางอิจมาลีย์ที่ทุกคนจะต้องยอมรับในความบริสุทธิ์ปราศจากคุณลักษณะที่บกพร่องทั้งปวง

สำหรับหลักฐานเพื่อยืนยันและปฏิเสธคุณลักษณะต่าง ๆ ตามที่กล่าวนั้น คือ.

หากพระองค์มิได้ทรงคุณลักษณะที่สมบูรณ์ พระองค์ก็ต้องทรงคุณลักษณะที่บกพร่อง และการบกพร่องที่อัลเลาะฮ์นั้น เป็นเรื่องมุสตะฮี้ล เพราะหากอัลลอฮทรงคุณลักษณะที่บกพร่องอัลลอฮ์ก็มิสามารถให้บังเกิดสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ได้ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะโลกนี้มีแล้วโดยสายตาที่สัมผัสได้

ส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะที่สมบุรณ์ที่จำเป็นต้องรู้ในรายละเอียดนั้น มีอยู่ 13 ประการหรือ 20 ประการ ตามความขัดแย้งของนักวิชาการดังจได้กล่าวต่อไป ซึ่งตามทัศนะที่รอแญะฮ์ (ชัดเจน) นั้นคือ ทัศนะแรก (อันได้แก่ 13 ประการ) สำหรับอีก 7 ประการนั้นถือว่า จำเป็นต้องรู้โดยอิจมาลีย์ (สรุป) ไม่อนุญาตให้ปฏิเสธคุณลักษณะเหล่านั้นโดยมติของนักวิชาการ เพราะนั่นเป็นส่วนหนึ่งจากความสมบูรณ์แห่งพระองค์ ใครปฏิเสธก็เป็นกาเฟร (วัลอิยาซุบิลลาฮิตะอาลา) สรุปแล้วก็คือ ไม่จำเป็นต้องรู้ในทางตัฟซีล (แบบรายละเอียด) เท่านั้น

พึงรู้ว่า ที่จำเป็นต้องรู้ในทางตัฟซีลีย์นั้น คือ ในทุก ๆ ท้องถิ่นต้องรู้ในทางฟัรดูกิฟายะฮ์ กล่าวคือ เมื่อมีคนหนึ่งคนใดรู้ คนอื่น ๆ ในท้องถิ่นนั้นก็พ้นโทษ ดังนั้น ในระยะทางที่สามารถก่อศอรได้ จำต้องมีผู้รู้ในทางตัฟซีลีย์ นอกจากนี้ ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นอื่น ๆ ก็เช่นกัน เช่น ต้องมีผู้พิพากษาในท้องถิ่นที่มีปัญหาขัดแย้ง เป็นต้น

ที่มา //www.sunnahstudent.com


โดย: หะกีม (bonzai_s ) วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:09:13 น.  

 
เป็นที่ทราบดีว่า สิ่งที่เราต้องยอมรับและปฏิเสธในขณะเดียวกันนั้น หมายถึง ต้องยอมรับในซีฟัตวาญิบสำหรับอัลเลาะฮ์และปฏิเสธซีฟัตมุสตะฮีลสำหรับพระองค์ ซีฟัตวาญิบนั้น เช่น อัลเลาะฮ์ทรงมี อัลเลาะฮ์ทรงแตกต่างกับของใหม่ เป็นต้น ย่อมเป็นซีฟัต ก่อดีม คือเป็นคุณลักษณะของพระองค์ตั้งแต่เดิม ๆ แล้ว หากมีคำถามถูกตั้งขึ้นแก่เราว่า แล้ว "ซีฟัตมุสตะฮีล" ล่ะครับ "กอดีม" หรือเปล่า?

ตอบ

ซีฟัต มุสตะฮีล สำหรับอัลเลาะฮ์นั้น "กอดีม" เช่นกันครับ

อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสว่า

ليس كمثله شيء وهو السميع البصير

"พระองค์ทรงไม่เหมือนคล้ายกับสิ่งใด พระองค์ทรงได้ยินยิ่งอีกทั้งทรงเห็นยิ่ง"

พระองค์ทรงตรัสอีกว่า

لم يكن له كفوا أحد

"ไม่มีผู้ใดมาเสมอเหมือนกับพระองค์"

จากคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ นี้ เราจะพบว่า อัลกุรอานที่เป็นคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ที่ "กอดีม" ในสองอายะฮ์ดังกล่าวนั้น พระองค์ทรงปฏิเสธ คุณลักษณะที่มุสตะฮีลสำหรับพระองค์ กล่าวคือ พระองค์ทรงปฏิเสธการเหมือนกับสิ่งที่ถูกสิ่ง(มัคโลค)ไว้ในอัลกุรอาน(ที่กอดีม) ดังนั้น การที่พระองค์ทรงแตกต่างหรือไม่เหมือนกับของใหม่นั้น จึงมีมาแต่เดิม(กอดีม) ฉะนั้น คุณลักษณะ(ซีฟัต) มุสตะฮีล (เช่นพระองค์ทรงเหมือนกับของใหม่) จึงถูกปฏิเสธมาตั้งแต่กอดีม เพราะฉะนั้น ซีฟัตมุสตะฮีล จึงกอดีม หรือถูกปฏิเสธมาตั้งแต่กอดีมแล้ว

หรืออีกสำนวนหนึ่ง คือ ซีฟัตมุสตะฮีล(เช่นอัลเลาะฮ์ทรงเหมือนกับของใหม่)นี้ อัลเลาะฮ์ได้ปฏิเสธมาตั้งแต่ กอดีม แล้ว โดยพระองค์ได้ตรัสระบุปฏิเสธไว้ในอัลกุรอาน(ที่กอดีม) เพราะถ้าหากซีฟัตมุสตะฮีลไม่กอดีมแล้ว แน่นอน พระองค์ก็จะไม่ทรงตรัสปฏิเสธมันในอัลกุรอานที่เป็นคำตรัสของพระองค์ที่กอดีม

ที่มา //www.sunnahstudent.com


โดย: หะกีม (bonzai_s ) วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:10:15 น.  

 
م

قال المصنف رحمه الله تعالي ونفعنا بعلومه فى الدارين

2. "กิดัม" القدم แปลว่า "เดิม" จุดมุ่งหมายของคำว่า "เดิม" ณ ที่นี้คือ เดิมที่เกี่ยวกับซ๊าต หมายถึง ไม่มีจุดเริ่มต้นแห่งการมี กล่าวคือ อัลลอฮ์ ไม่มี ไม่มีมาก่อน คำว่าเดิมที่เกี่ยวกับซ๊าต ทำให้เข้าใจว่า มิใช่เดิมที่เกี่ยวกับเวลา คือเวลานานพร้อม ๆ กับเคยไม่มีมาก่อนซึ่งนั่นมิใช่ความมุ่งหมาย ณ ที่นี้

และซีฟัตมุสตะฮี้ล ซึ่งเป็นซีฟัตตรงกันข้ามกับ "กิดัม" นั้นคือ "หุดูษ" الحدوث แปลว่า "ใหม่"

สำหรับหลักฐานที่ว่า อัลลอฮ์ทรงคุณลักษณะกิดัมนั้นคือ หากอัลลอฮ์ทรงเป็นของใหม่ อัลลอฮ์ท่านก็จำเป็นต้องมีสิ่งที่ทำให้พระองค์ใหม่ ซึ่งดังกล่าวนั้นเป็นมุสตะฮีล เพราะเป็น..."โด๊ร" คือ วนเวียนหรือต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีจุดจบ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นมุสตะฮีล ดังนั้นเมื่อเป็นที่แน่นอนว่า พระองค์ทรงมีคุณลักษณะกิดัม ก็เป็นไปไม่ได้ (มุสตะฮีล) ที่พระองค์จะเป็นของใหม่
ที่มา //www.sunnahstudent.com


โดย: หะกีม (bonzai_s ) วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:27:41 น.  

 
เป็นเนื้อหาที่มีสาระต่อปวงชนทุกคน ทั้งอิสลาม และ ชาวพุทธ


โดย: สุธิดา พิทักษ์ปฐมพงศ์ IP: 222.123.241.176 วันที่: 16 ธันวาคม 2550 เวลา:13:53:38 น.  

 


โดย: ดดัอดะ IP: 222.123.47.35 วันที่: 28 มกราคม 2551 เวลา:18:22:40 น.  

 
เขียนภาษาอาหรับยังไงค่ะ หนูอยากดูซีฟัตวาญิบสำหรับอัลเลาะห์(ซ.บ.) คือหนูจะสอบปฎิบัติ วันที่ 23/04/51ค่ะ


โดย: อัสมาอู้ IP: 124.120.67.245 วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:19:45:15 น.  

 
หนูรีบจริงๆค่ะ สอบไม่ผ่านแน่เลย


โดย: อัสมาอู้ IP: 124.120.67.245 วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:19:47:02 น.  

 
:P :) :O :Q


โดย: -- IP: 222.123.42.69 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:57:41 น.  

 
ขอบคุงมากคร๊า จาส่งรายงานพอดี

หาตั้งตาย แต่ม่ายรุจิช้ายด้ายป่าว งะ หัวข้อเน้


โดย: นู่ฝน IP: 118.173.88.206 วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:20:27:26 น.  

 
หากไม่รู้จักคุณลักษณะของ อัลลอฮแบบคุณลักษณะซีฟัต
สามารถทำอิบาดะห์ได้ไมครับเช่นละหมาดจะได้บุญไม
ช่วยตอบให้หายค่องใจด้วยครับหากเป็นไปได้ขอแบบละเอียด..จะขอบคุณมากเลยครับ


โดย: อามีน IP: 10.239.30.150, 203.146.104.35 วันที่: 25 สิงหาคม 2553 เวลา:18:03:16 น.  

 
สุดอยด


โดย: ดีน่า IP: 27.55.9.175 วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:17:44:53 น.  

 
สิ่งที่มุสตาฮีลแกท่านรอซูลมีอะไรบ้างค่ะ


โดย: บี IP: 182.232.134.33 วันที่: 4 กรกฎาคม 2564 เวลา:9:30:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bonzai_s
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Hakeem Saiwaree

Create Your Badge : Online รวมทั้งหมด คน <
Friends' blogs
[Add bonzai_s's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.