การกำหนด “ไม้เนื้อแข็ง” ตามมาตรฐานของกรมป่าไม้


ในการผลิตโต๊ะ ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ต่างๆ นั้น มีการนำไม้ในหลายลักษณะมาใช้ในการผลิต ซึ่งหนึ่งในนั้นที่ยังคงได้รับความนิยมเสมอมานั่นก็คือ ไม้เนื้อแข็ง

ผู้ที่รับผลิตโต๊ะเก้าอี้ไม้ต่างทราบดีว่าการใช้ไม้เนื้อแข็งในการผลิตจะต้องพิถีพิถัน และเลือกรูปแบบให้เหมาะสม อีกทั้งราคาก็ยังค่อนข้างสูงอีกด้วย ซึ่งไม้เนื้อแข็งที่นำมาใช้ จะต้องเป็นไม้เนื้อแข็งจริงๆ และตรงตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ด้วย

ไม้เนื้อแข็งตามาตรฐานของกรมป่าไม้นั้น การกำหนดว่าไม้ชนิดหนึ่งชนิดใดเป็นไม้เนื้อแข็งนั้น มีได้คำนึงถึงเฉพาะในความแข็งแรงในการรับน้ำหนักอย่างเดียว หากได้พิจารณาตามความเป็นจริงและความนิยมยอมรับนับถือโดยทั่วๆ ไปว่า นอกจากความแข็งแรงแล้ว ต้องมีความทนทานอีกด้วย เช่นเดียวกันรุ่นคุณปู่คุณย่ายอมรับว่า ไม้เต็ง รัง ประดู่ แดง มะค่าโมง ตะเคียนทอง เคี่ยม หลุมพอ บุนนาค และกรันเกรา เป็นต้น ว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง

ชนิดไม้ที่กล่าวเมื่อนำมาทดลองตามหลักวิชาการเพื่อหาค่าความแข็งแรงก็ปรากฏว่า เป็นไม้ที่มี่ความแข็งแรงสูงกว่า 1,000 กก./ตร.ซม. ขึ้นไปทั้งสิ้น และเมื่อพิจารณาด้านความทนทานตามธรรมชาติจากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้ชนิดดังกล่าวไปทดลองปักดิน ปรากฏว่ามีความทนทานตามธรรมชาติโดยเฉลี่ยสูงกว่า 10 ปีทั้งสิ้น ยกเว้นไม้ตะเคียนทองที่มีค่าความทนทานตามธรรมชาติโดยเฉลี่ย 7.7 ปี

จะเห็นว่าความยอมรับนับถือของคนสมัยก่อนที่ว่าเป็นไม่เนื้อแข็งนั้น มีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนข้อเท็จจริงนี้ คนในสมัยก่อนได้ความรู้จากประสบการณ์ที่นำไม้ไปใช้จนยอมรับกันว่าเป็นไม้ดี
ในปัจจุบันไม้ที่ยอมรับและนิยมนำไปใช้กันว่าเป็นไม้เนื้อแข็งที่ดีหาได้ค่อนข้างยาก ส่วนมากจะพบแต่ไม้ชนิดใหม่ๆที่ยังไม่รู้จักมาก่อน จึงยังไม่ทราบว่าเป็นไม้เนื้อแข็งหรือไม่ บางคนที่คาดคะเนเอาว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะมีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับไม้ที่นิยมใช้กันโดยเฉพาะไม้ตะเคียนทอง ซึ่งตามข้อมูลทางวิชาการแล้วไม่เป็นจริงเสมอไป บางคนก็นำข้อสงสัยนี้มาปรึกษาหารือกับกองวิจัยผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีงานในหน้าที่เกี่ยวข้องกันการนำไม้ไปใช้ประโยชน์

ในอดีตกองวิจัยผลิตผลป่าไม้เองก็มิได้กำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้เป็นบรรทัดฐานว่าไม้ชนิดใดจัดเป็นไม้เนื้อแข็ง ดังนั้น เพื่อเป็นการตัดปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปและเพื่อให้มีหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่แน่ชัดเป็นอย่างเดียวกันในการกำหนดชนิดไม้ว่าเป็นไม้เนื้อแข็งหรือไม้เนื้ออ่อน กองวิจัยผลิตผลป่าไม้จึงได้เสนอหลักเกณฑ์การกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็งต่อกรมป่าไม้ ซึ่งกรมป่าไม้เห็นชอบด้วย และได้มีหนังสือกรมป่าไม้ที่ กส. 0702/6679 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2517 เรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างในส่วนราชการกรมป่าไม้ เวียนให้หน่วยราชการในสังกัดกรมป่าไม้ได้ยึดถือปฏิบัติ และกองวิจัยผลิตผลป่าไม้ก็ถือเอาหลักเกณฑ์ตามหนังสือกรมป่าไม้ดังกล่าวในการตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับความแข็งแรงของไม้ว่าเป็นไม้เนื้อแข็งหรือไม่

หากเราต้องการโต๊ะ หรือเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้อแข็ง ก็จะต้องเลือกผู้รับผลิตหรือ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ที่มีฝีมือ และมีความรู้ในเรื่องการเลือก การคัดสรรไม้อย่างถูกต้องด้วย เพื่อให้ได้เฟอร์นิเจอร์ที่ถูกใจ และมีคุณภาพ ตรงตามที่ต้องการที่สุด



Create Date : 03 มกราคม 2562
Last Update : 3 มกราคม 2562 8:38:42 น.
Counter : 578 Pageviews.


pongpun143
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ยินดีต้อนรับสู่สาระบทความน่ารู้ทั้งเรื่อง ความงาม สุขภาพ แฟชั่น และเรื่องเกี่ยวกับ ผู้สูงอายุ เพื่อความเข้าใจในครอบครัวครับ