รีวิวHTC One X+ การปรับปรุงอีกขั้นของสมาร์ทโฟนรุ่นท้อป

หากยังจำกันได้ไตรมาสแรกของปี 2012 ทีมงานไซเบอร์บิซ เคยนำเสนอสมาร์ทโฟนจากค่ายเอชทีซี ที่มีการเปิดซับแบรนด์ขึ้นใหม่ภายใต้ชื่อ ‘One’ ประกอบไปด้วย HTC One X, HTC One S และ HTC One V

       และเมื่อกาลเวลาที่ผ่านไป ทางเอชทีซีมองว่า ตัวท้อปอย่าง HTC One X ยังมีจุดบกพร่องบางส่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข จึงส่งรุ่นท้อปตัวใหม่ ที่มีการเปลี่ยนระดับ ‘ไมเนอร์เชนจ์’ มา ซึ่งนั่นก็คือรุ่นที่จะรีวิวกันในครั้งนี้อย่าง HTC One X+

เปรียบเทียบ One X และ One X+





       ความแตกต่างภายนอกของ 2 รุ่นนี้ ว่ากันตามตรงแล้ว แทบไม่มีใครแตกต่างกันเลย ทั้งรูปร่าง หน้าตา วัสดุด้านหลังเครื่อง โดย One X+ วัสดุด้านหลังจะเป็นยาง ส่วน One X จะเป็นวัสดุมันๆ



       ปุ่ม Capacitive ของ One X+ จะใช้เป็นสีแดงตัดกับพื้นหลังที่เป็นสีดำ ส่วน One X จะเป็นสีขาว ซึ่งก็ตัดกับพื้นสีดำได้ดีเช่นกัน

       นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในแง่ของกระจกกันรอยด้วย โดย One X+ จะเป็นกระจกกอริลลาเวอร์ชัน 2 หรือ Gorilla Glass 2 ส่วนปุ่มต่างๆ ยังคงจัดวางเหมือนเดิม

ICS w/ Sense 4 VS. Jelly Bean w/ Sense 4+

       ในฐานะที่เคยได้สัมผัสการใช้งานทั้ง HTC One X และ HTC One X+ สิ่งที่เห็นได้ชัดจริงๆ นั่นคือ HTC One X+ ถือว่าเป็นสมาร์ทโฟนที่มีการประมวลผลได้ไว และตอบสนองการใช้งาน สำหรับคนใจร้อนที่ต้องการความฉับไวในการใช้สมาร์ทโฟนได้ดีที่สุดรุ่นหนึ่งเลยทีเดียว

       ทั้งนี้ ความดีความชอบคงต้องยกให้กับการเป็นแอนดรอยด์ระบบปฏิบัติการ 4.1 Jelly Bean ที่มีสิ่งที่เรียกว่า Project Butter ทำให้การทำงานของ HTC One X+ ทำได้เร็ว และเหนือกว่า HTC One X



       นอกเหนือจากความเร็วในแง่ของการใช้งาน ที่ดูโดดเด่นแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของอินเตอร์เฟส แต่เดิม One X จะมาพร้อมกับอินเตอร์เฟสที่มีชื่อว่า Sense 4 แต่ One X+ นั้นจะเป็น Sense 4+ (แน่นอนเครื่องหมาย + ย่อมมาจากตัวชื่อรุ่น) ความแตกต่างของอินเตอร์เฟสทั้ง 2 ตัวนี้ ก็น่าสนใจ โดย Sense 4+ จะทำให้หน้าจอ Homescreen กลับมาหมุนได้รอบทิศทางอีกครั้ง



       Beats Audio แต่เดิมที่จะสถิตย์อยู่ในแอปพลิเคชัน Music คราวนี้ จะถูกโยกมาอยู่ในหน้า Setting เลย



       Gallery มีการแยกหมวดหมู่ชัดเจนขึ้น โดยรองรับภาพที่มาจาก Social Network ทั้งจากเฟซบุ๊ก, ฟลิกเกอร์, ดรอปบ๊อกซ์, พิกาซา, สกายไดร์ฟ และภาพที่ถ่ายจากตัวเครื่อง



       นอกจากนี้แล้วใน Sense 4+ จะเป็นการต้อนรับการกลับมาอีกครั้งของโหมด Power Saver ที่จะเป็นโหมดพิเศษ สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประหยัดแบตเตอรี่เครื่องเผื่อใช้ในยามจำเป็น โดย Power Saver จะอยู่ใน notification bar

การออกแบบและสเปกเครื่อง





       ด้านหน้า - ขนาดหน้าจอ 4.7 นิ้ว มาพร้อมกล้องหน้า 1.6 ล้านพิกเซล ข้างๆ เป็นลำโพงสนทนา ถัดลงไปโลโก้ hTC ส่วนด้านล่างสุดเป็นปุ่มสัมผัส Capacitive 3 ปุ่ม (Back, Home และ Recent)



       ด้านซ้าย - ช่องสำหรับเสียบไมโครยูเอสบี



       ด้านขวา - ปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง



       ด้านล่าง - ไมโครโฟน



       ด้านบน - ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง









       ด้านหลัง - มีเพียบ ตั้งแต่กล้องความละเอียด 8 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลช พอร์ทสำหรับใส่ไมโครซิม แจ็คหูฟัง ตรงกลางโลโก้ hTC แบบเห็นเด่นชัด ด้านล่างมีโลโก้ Beats Audio พร้อมกันนั้นมีแม่เหล็กสำหรับต่อเป็นด็อคอยู่

ฟีเจอร์เด่น 





       โดยปกติแล้ว การใช้งานสมาร์ทโฟนโดยทั่วไปของผู้เขียนนั้น จะใช้งานในแอปพลิเคชัน Social Network (Facebook, Twitter, Instagram) เข้าท่องเว็บไซต์ผ่านทางแอปพลิเคชันเบราว์เซอร์ อ่านฟีดผ่านแอปฯ Flipboard รวมไปถึงการโทรผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP) อ่านไฟล์เอกสาร พบว่า ตัวเครื่อง One X+ แบตเตอรีค่อนข้างอึด การใช้งานสามารถอยู่ได้เกือบ 1 วันเต็มๆ

       แต่ว่า....การระบายความร้อนของ One X+ ส่วนตัวมองว่ายังไม่ดี ถ้าถามว่ารุ่นนี้ ร้อนไหม ? ก็คงต้องบอกว่าร้อน แต่อยู่ในระดับที่พอทนได้





       กล้อง - ฟีเจอร์กล้อง เอชทีซี ยังคงใช้คอนเซปต์ Image Sense เหมือนเช่นเคย แต่จากการเทสต์เครื่อง ยอมรับเลยว่า การเปิดแอปฯกล้องทำได้ไว ชัตเตอร์ตอบสนองก็ถือว่าเร็ว ภาพที่ออกมากดูคม แต่ถ้าสังเกตดีๆ สีของภาพที่ออกมาดูจะเกินจริงสักหน่อยอยู่เหมือนกัน

       กล้องหน้า ถือว่าคมชัดระดับหนึ่งเลยทีเดียว แต่ถ้าเทียบกับสมาร์ทโฟนตัวท้อปรุ่นอื่นในตลาดอย่าง Windows Phone 8x by HTC และ iPhone 5 แล้ว ผลที่ได้จะเป็นแบบนี้ 8X > iPhone 5 > One X+



       Google Now - แอปฯนี้มาพร้อมกับ Jelly Bean ซึ่งเราก็เคยนำเสนอผ่าน Nexus 7 ไปแล้ว ซึ่งส่วนตัวยังรู้สึกว่า Google Now คือ Voice Assistant ที่ดีกว่า Siri และ S Voice







สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพด้วยแอปพลิเคชัน เริ่มต้นด้วย Quadrant Benchmark ได้ผลทดสอบสูงสุด 7162 ต่อมาทดสอบด้วย AnTuTu ได้ 12944 ทดสอบด้วย Vellamo ได้คะแนน HTML5 และ Metal 1185, 538 ตามลำดับ และสุดท้ายทดสอบผ่าน nenaMark และ nenaMark 2 ได้ไป 57.4fps และ 57.1 ตามลำดับ

จุดเด่น

       - ใส่ซิมไม่ต้อง Reboot เครื่อง
       - ตัวเครื่องลื่นไหล ต้องยกความดีความชอบให้ Project Butter ของแอนดรอยด์ 4.2
       - แบตเตอรีเข้าขั้นอึด
       - วัสดุประกอบงานดีเยี่ยม ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดเด่นแต่ไหนแต่ไรของเอชทีซีมานานแล้ว
       - จอสวย

ข้อสังเกต

       - ตัวเครื่องค่อนข้างร้อนง่าย
       - ตัวเครื่องแม้ว่าจะมีขนาดความจุถึง 64GB แต่ใช้งานได้จริง 55GB ที่เหลือต้องใช้ผ่านบริการของ - Dropbox แต่ถ้ามีช่องสำหรับใส่ไมโครเอสดี คงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก
       - ตัวเครื่องไม่มีลูกเล่นให้ชวนว้าวหากเทียบกับคู่แข่งตัวท้อปของค่ายอื่น

ความคุ้มค่า

       การมาของ HTC One X+ นั่นหมายถึงว่า HTC One X รุ่นที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้จะตกจากบัลลังก์สมาร์ทโฟนระดับท้อปของเอชทีซีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง One X+ เป็นสมาร์ทโฟนที่ออกมาเพื่อปิดช่องโหว่ที่เคยเกิดขึ้นกับ One X

       ความไหลลื่นของตัวเครื่อง ทั้งในแง่ของการใช้งานแอปพลิเคชัน การตอบสนองที่ว่องไวของฟีเจอร์กล้อง แบตเตอรีมีความอึดสามารถใช้งานได้ระดับ 1 วันเต็มๆ อีกทั้งยังมีการเพิ่มความจุเครื่องให้เป็น 64GB (แต่น่าเสียดายว่าไม่มีช่องสำหรับเพิ่มไมโครเอสดี) จุดนี้จึงทำให้ HTC One X+ กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่งในตลาดเลยทีเดียว

       แต่ทั้งนี้ถ้าหากผู้บริโภคกำลังมองหาสมาร์ทโฟนที่มีฟีเจอร์แปลกๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ HTC One X+ อาจไม่ใช่คำตอบที่คุณกำลังมองหาอยู่

* manager.co.th *


Create Date : 20 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2555 8:58:18 น. 0 comments
Counter : 1434 Pageviews.

angelica0819
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add angelica0819's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.