UPGRADE YOUR VOICE TO BE PROFESSIONAL SINGER.....
 
 

ร้องเพลงอย่างไรให้ตัวสะกดชัดเจนแบบไทยไทย (เวชศาสตร์การขับร้อง)

ร้องเพลงอย่างไรให้ตัวสะกดชัดเจน แบบไทยไทย

***ตัวสะกดในภาษาไทยถือว่ามีการใช้ตัวสะกดที่ครบสมบูรณ์และทุกตัวสะกดมีความแตกต่างและให้ความหมายต่างกันชัดเจน ต่างจากในบางภาษาที่มีตัวสะกดน้อย เช่น ภาษาญี่ปุ่น
***ดังนั้นในการขับร้องความชัดของตัวสะกดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สารที่สื่อผิดความหมายได้ ซึ่งในทางการขับร้องเราแบ่งความผิดปกติของตัวสะกดเป็นสองประเภท คือ
  1. ตัวสะกดไม่ชัดในระหว่างท่อน
  2. ตัวสะกดไม่ชัดท้ายท่อน
ปัญหานี้เกิดได้ทุกคนแม้คุณจะพูดชัด แต่ใช่ว่าจะร้องเพลงได้ชัด หลังจากเรามีความรู้ตัวสะกดแล้วเราจะมาสรุปการแก้ปัญหากันอีกที

ความรู้พิ้นฐานด้านตัวสะกดในภาษาไทย
***จริงๆเราจะเรียนกันด้วย IPA ก็ได้ครับ แต่หมอได้สรุปรูปแบบการร้องเพื่อสอนให้คนไทยเข้าใจง่ายๆ เอาไว้ อยากนำเสนอมากกว่าการสอนแบบฝรั่ง ลองติดตามอ่านดู อันดับแรก เรามาดูตัวอักษรทั้ง 5 วรรคของไทยก่อนนะครับ 

พยัญชนะวรรค

วรรค ฐานที่เกิด

แถวที่ ๑

แถวที่ ๒

แถวที่ ๓

แถวที่ ๔

แถวที่ ๕

กะ ฐานเพดานอ่อน

ข(ฅ)

ค(ฅ)

จะ ฐานเพดาน

ฏะ ฐานปุ่มเหงือก

ฏ(ฎ)

ตะ ฐานฟัน

ต(ด)

ปะ ฐานริมผีปาก

ป(บ)

พยัญชนะเศษวรรค มี ๘ ตัว คือ ย ร ล ว ส(ซ) ห(ฮ) ฬ (นิคหิต) และเสียงเสียดฟันกับริมฝีปาก ฟ ฝ

***ตัวที่จะเป็นตัวสะกดแท้ได้ คือ แถวที่ 1 และ  5 ของวรรค กะ ตะ ปะ ครับ รวมทั้งหมด 6 ตัว คือ แม่ กก กด กบ กง กน กม โดย แถวที่ 1 จะเป็นตัวสะกดคำตาย และ แถวที่ 5 จะเป็นตัวสะกดคำเป็น หากว่าเราใช้วรรค จะ ฏะ สะกด จะอ่านเป็นเสียง แม่กด ทั้งหมด เช่น ช สะกด เว้น ญ ตัวเดียว ที่จะออกเป็น แม่กน อ่านเป็นแม่ กด และในวรรคที่มีตัวสะกด หากเป็น แถว 2-3-4 ให้อ่านตามตัวสะกดแถวที่ 1 ของวรรคนั้นๆ เช่น พ สะกด อ่านเป็นแม่ กบ ส่วน แม่เกย แม่เกว ไม่ใช่ตัวสะกดแท้ เหมือนเอาคำมาต่อด้วยสระอิ กับสระอุเท่านั้น

ทำไมพูดชัดแต่ร้องเพลงไม่ชัด

***เพราะการร้องเพลงคำแต่ละคำถูกจำกัดด้วยจังหวะ ดังนั้นจึงเกิดปัญหา คือ

1. ออกเสียงตัวสะกดไม่ชัดท้ายประโยคร้อง เกิดจาก ตัวะกดเสียงตายจะให้ลากเสียงยาว  คำที่เจอบ่อยคือคำว่ารัก เป็นคำจบที่ท้ายท่อนมักจะทำให้ฟังได้เสียงแม่กด

2. ออกเสียงตัวสะกดไม่ชัดในระหว่างท่อน เกิดจาก ตัวสะกดเสียงยาวจะให้ออกสั้นๆ พบในเพลงที่ต้องร้องเร็วๆ

แนวทางการแก้ปัญหา

1. ตัวสะกดเสียงตายท้ายประโยค ถ้าจะให้ชัดต้องส่งเป็นเสียงลากยาวที่อยู่ในวรรคเดียวกัน คือ จะให้คำว่า รัก ลากยาวๆได้ชัด ก็ต้องลากเป็น รัก อึ๊งงงงง คำว่ารัด ลากท้ายเป็น รัด อี๊นนนนนนนนน คำว่า รับ ลากท้ายเป็น รับ อึ๊มมมมมมม

2. ตัวสะกดเสียงยาวระหว่างประโยค ณะตรงนี่ไม่ต้องสนใจมากเพราะอย่างไรก็ไม่ทัน ดังนั้นให้ได้วรรณยุกต์ตรงกันก็พอ


จบเป็นเบื้องต้น ให้พออภิปรายกัน อันนี้เป็น Original article




 

Create Date : 05 มกราคม 2557   
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2557 21:28:06 น.   
Counter : 3204 Pageviews.  


ระดับการใช้เสียงเป็นอาชีพ

ระดับการใช้เสียงเป็นอาชีพ































 ระดับการใช้เสียงเป็นอาชีพ  คำอธิบายและตัวอย่าง ผลกระทบต่ออาชีพ
 I  ใช้เสียงในการประกอบอาชีพชั้นสูง มีการแสดงอารมณ์ทางเสียง ได้แก่ นักร้อง นักแสดง นักพากย์ ผู้ประกาศ
 ความผิดปกติของเสียงเล็กน้อย อาจทำให้ต้องหยุดงาน
 II  ใช้เสียงในการประกอบอาชีพชั้นกลาง ต้องใช้เสียงสื่อสารข้อมูลปริมาณมากในอาชีพ ได้แก่ ครูอาจารย์ เลขานุการ พนักงานต้อนรับ
 ความผิดปกติระดับปานกลาง อาจทำให้ต้องหยุดงาน
 III  ใช้เสียงในการประกอบอาชีพ ได้แก่ นักธุรกิจ แพทย์ ทนาย
 ความผิดปกติรุนแรง อาจทำให้ต้องหยุดงาน
 IV  ไม่ต้องใช้เสียงในการประกอบอาชีพ ได้แก่ เสมียน ช่างเครื่อง คนงานก่อสร้าง
 ควมผิดปกติของเสียงไม่มีผลต่อการทำงาน






Free TextEditor




 

Create Date : 09 ตุลาคม 2554   
Last Update : 9 ตุลาคม 2554 13:27:43 น.   
Counter : 1506 Pageviews.  


ปิดทำการบล็อกนี้แล้วครับ

คือ ผมไม่อยากเข้ามาดู เข้ามาเพิ่มใดๆ อีกต่อไปในนี้ จะให้มันคงที่ไว้อย่างนี้ตลอดไป ถ้าทาง bloggang จะปิดไปก็ให้เป็นตามที่สมควร อย่างไรก็ดี บทความที่ผมเขียนขึ้นยังเป็นลิขสิทธื์ของผม กรุณาอย่านำไปทำอะไรโดยไม่ได้ขออนุญาต จะใช้ทำอะไรให้เมล์มา ที่ kiment@gmail.com สำหรับผู้ที่ติดต่อผมโดยตรงทั้งเมล์และ MSN ก็จะส่งบทความใหม่ตามบทเรียนไปเรื่อยๆ อีกที

ขอบคุณทุกท่านที่เห็นว่าเป็นบทความที่มีประโยชน์





Free TextEditor




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2552   
Last Update : 4 ตุลาคม 2552 1:01:40 น.   
Counter : 1057 Pageviews.  


ความหมายของคำว่า Professional voice

Professional voice แปลว่า เสียงของมืออาชีพ
คนที่จะมี เสียงของมืออาชีพ มีความหมายได้สองนัย ได้แก่ 



  • นัยยะแรก--เป็นการกล่าวถึงการใช้เสียงของผู้ใช้เสียงเป็นอาชีพ ได้แก่ นักร้อง ครู นักพูด โฆษก 

  • นัยยะที่สอง--ได้แก่ผู้ที่มีการฝึกฝนการใช้เสียงมาอย่างดี อาจไม่ได้มีอาชีพเฉพาะ มักทำงานเป็นนักร้อง ครูสอนร้องเพลง


รูปแบบการสร้างมืออาชีพทางเสียงที่มีในปัจจุบัน



  1. เรียนในระบบ มีถึงระดับปริญญาโท--ในกรณีของผู้ใช้เสียง และมีถึงระดับ Post-docteral (เหนือกว่าปริญญาเอกอีก 1 ระดับ) สำหรับแพทย์เฉพาะของเฉพาะทาง

  2. เรียนนอกระบบ  เรียนตามโรงเรียนสอนร้องเพลง เรียนตัวต่อตัวกับอาจารย์สอนร้องเพลง เรียนการใช้เสียงเพื่อการพูดในที่ชุมชน เป็นต้น


เส้นทางชีวิตของการเป็นมืออาชีพในการใช้เสียง



  1. อยู่เฉยๆ พอร้องได้ หน้าตาดี==>เจอแมวมองเอาไปทำเพลง==>เรียนร้องเพลงก่อนหรือหลังออกอัลบั้ม==>professional voice

  2. ร้องเพลงดีโดยไม่ต้องฝึก==>ประกวดร้องเพลงชนะ==>ได้ทำเพลง==>เรียนเพิ่มเติม==>professional voice

  3. เรียนร้องเพลงทั้งในระบบและนอกระบบ==>มีทักษะการสอนที่ดีหรือสามารถเป็นศิลปินได้จนมีชื่อเสียง ==> professional voice

  4. พอมีทักษะในการใช้เสียง==>เรียน speech pathologist ==> ต่อ voice coacher ในต่างประเทศ

  5. พอมีทักษะในการใช้เสียง==>เรียน แพทย์ ==> เรียนเฉพาะทางหูคอจมูก ==> เรียนเฉพาะของเฉพาะ vocal art medicine (ได้เป็น voice coacher ไปในตัว)






Free TextEditor




 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2552   
Last Update : 31 พฤษภาคม 2552 22:49:26 น.   
Counter : 1198 Pageviews.  


laryngo-acoustic interaction, occlusion effect และการร้องเพลง


Laryngo-acoustic interaction and singing performance

laryngo-acoustic interaction คือปรากฏการพิเศษที่เกิดระหว่างหูกับกล่องเสียงตอนเรา เพราะหูคนเราเนี่ยจะทนฟังเสียงได้แค่ระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น มิฉะนั้นจะเป็นปัญหากับหู จนทำให้หูหนวก ดังนั้นมนุษย์เราแม้จะแปล่งเสียงได้ดังสุดๆ ก็จะถูกจำกัดระดับเสียงไว้ที่ระดับหนึ่ง

ถ้าเราพูดหรือร้องปกติจะไม่มีปัญหาอะไรครับ
แต่ปัญหาจะเกิดเมื่อมี 3 สิ่งเปลี่ยนแปลงไป

1.การได้ยิน คือ ถ้าการได้ยินที่หูเราเปลี่ยนไป การเปล่งเสียงก็จะต่างไปจากเดิมด้วย

1.1 กรณีหูเสียจากประสาทหู จะทำให้เราออกเสียงดังขึ้นเพราะเราจะได้ยินเสียงตัวเองน้อยลง เช่น คนหูหนวกจะพูดดังมาก
1.2 กรณีหูเสียจากมีสิ่งอุดกั้นในหู (occlusion effect ) เช่น ขึ้หูอุดตันรูหู จะทำให้มีเสียงก้องเกิดในหู ทำให้ได้ยินเสียงตัวเองมากกว่าปกติ ก็จะทำให้พูดเสียงเบาลง เปรียบได้กับการเอานิ้วอุดหูตัวเอง ซึ่งเราจะได้ยินเสียงตัวเองมากขึ้นนั้นเอง


2.เสียงพื้นหลัง เสียงจากสิ่งแวดล้อมเป็นอีกอันหนึ่งที่ทำให้การเปล่งเสียงของเราผิดแปลกไป เราเรียกว่า background noise

2.1 เสียงพื้นหลังรอบตัวดัง จะทำให้เราพูดหรือร้องเสียงดังขึ้น ในประเด็นนี้ต้องระวังเพราะจะทำให้เราเส้นเสียงเสีย และความดังที่มากขึ้นจะทำให้ร้องผิดคีย์ และผิดทะเบียนเสียง(register)เลยทีเดียว
ประเด็นนี้ผมจะเน้นตอนไปบรรยายกับพวกกรีนพีชมากเพราะเขาไปพูดเรี่ยไรอยู่ริมถนนที่มีระดับเสียงเฉลี่ยที่ 80 dB ในขณะที่เวลาจะพูดกันให้ได้ยินในระยะ 80 cm(1 ช่วงแขน) นั้นอยู่ที่ 60 dB ดังนั้นจะต้องพูดที่ระดับ 140 db จึงจะคุยกันรู้เรื่อง
ดังนั้นไปร้อง karaoke ก็ควรปรับเสียงในระดับที่พอดีนะครับมิฉะนั้นจะร้องดังเกินไป ร้องได้แค่ไม่ถึง 10 เพลงก็แหบแล้ว (มาตรฐานคือร้องได้ 50 นาทีต่อเนื่อง ถ้าเพลงละ 5 นาทีก็ 10 เพลง)

2.2 เสียงพื้นหลังเบาเกินไป อันนี้เกิดเฉพาะกับนักร้องนะครับ เนื่องจากเพลง backing tract เบาเกินไปก็จะทำให้เราใช้พลังไม่เต็มปอด ทะเบียนเสียงที่ออกมาก็จะเปลี่ยนไปซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้ได้อีก (เป็น occlusion effect อีกแบบหนึ่ง แต่ไม่มีการถูกอุดหูตรงๆ)
2.2.1 ปัญหากับคนชอบร้องเพลงในห้องน้ำ เพราะจะรู้สึกว่าเวลาร้องในห้องน้ำจะเพราะมาก แต่พอไปร้องจริงไม่ได้อย่างคิด ก็เพราะเสียงสะท้อนกลับในห้องน้ำทำให้เราร้องเสียงเบานะครับ พอร้องเสียงเต็มจึงทำไม่ได้
2.2.2 ปัญหาของคนฝึกร้องหน้าคอมหรือที่แคบอื่นๆ อธิบายคล้ายร้องในห้องน้ำ แต่เกิดจากเสียงที่สะท้อนกลับตรงๆ
2.2.3 ปัญหาของคนร้องเพลงกับหูฟังแบบอุดหูทุกประเภท การร้องในขณะอุดหูอยู่เราจะร้องเบาลง ได้ยินเสียงตัวเองทุ้มกว่าปกติซึ่งเกิดจากการสั่นของกระโหลก จะทำให้เวลาร้องจริงทำได้ไม่ดี

อย่างไรก็ดีการอัดเสียงในห้องอัดอาจต้องใช้เพราะต้องแยกแทรคของเสียงร้องออกจากเสียงดนตรี แต่เสียงที่จะเข้าหูเขาจะใส่เสียงร้องที่ร้องออกมาให้ได้ยินด้วย ซึ่งจะทำให้ตรวจสอบเสียงร้องของตัวเองได้ดีขึ้น

ดังนั้นการซ้อมร้องเพลงที่ดีควรทำในห้องที่ไม่มีเสียงก้อง ไม่มีสิ่งขวางกั้นที่สะท้อนเสียงได้ในระยะ 2 เมตร (อาจมีแต่ต้องเป็นวัสดุอะไรที่ไม่สะท้อนเสียงได้ เช่น ม่านผ้า หรือบุกันเสียงสะท้อน) โดยเปิดเพลงแบบรอบทิศหรืออย่างน้อยสเตอริโอ โดยไม่ต้องใส่อะไรกับหู


2.3 Front sound effect ปัญหาของเสียงพื้นหน้านั้นจะเกิดเวลาที่เราขึ้นไปร้องบนเวทีที่มีลำโพงอยู่ล้ำหน้าคนร้องและไม่มี backing tract จริงๆ อยู่ข้างหลัง ซึ่งจะทำให้เราไม่ได้ยินเสียงร้องของตัวเอง อีกทั้งเสียงด้านหน้ายังมีการสะท้อนกลับซึ่งเสียงที่ส่งไปแล้วค่อยสะท้อนกับมาจะ delayed กว่าปกตินิดหน่อย
ดังนั้นในสถานที่ปิดที่นับจากหน้าเวทีที่มีลำโพงไกลตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไปนักร้องจะเกิดปัญหาจากการสะท้อนด้วยทันที โดยที่นอกจากไม่ได้ยินเสียงตัวเองแล้ว เสียงที่พอจะได้ยินก็จะผิดไปจากคีย์เดิมเนื่องจากการกำธรของเสียงทำให้ความถี่เปลี่ยนไป ทำให้ทั้งร้องเพี้ยน-ร้องตะเบ็ง-หรือร้องผิดท่อนผิดตอนไปเลยเพราะมันไม่ได้ยิน ความมั่นใจจะหายไปมากเลยครับ


วิธีแก้ก็คงจะเคยเห็นอยู่ โดยมีการแก้ไขโดยคำแนะนำสมาคมนักร้องอาวุโสในสหรัฐอเมริกา (โอเปร่าอยู่ยุโรป แต่ลำโพงมันเกิดในสหรัฐนิ) เริ่มจาก
วิธีที่ 1 การเอานิ้วอุดหูตัวเอง อันนี้ไม่ได้ เสียบุคลิก เสียงที่ได้ยินก็ทุ้มกว่าเสียงจริง จะทำให้เสียงจริงออกเป็ดๆ (hyponasality)ไปนิดได้ แล้วใครมันจะอุดหูได้ทั้งเพลง
วิธีที่ 2 เอาของมาอุดหู อันนี้พอได้เพราะไม่เสียบุคลิก แต่เหมาะเฉพาะในคนที่เชื่อมั่นตัวเองว่าคุมเสียงได้ดีเท่านั้นนะครับ ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ดีที่สุด คือ ฟองน้ำอุดหูประเภทที่ไม่มี wax ครับ ในห้องตลาดมีขายอยู่ ห้ามใช้แบบมี wax กับแบบพลาสติกนะครับเพราะจะอุดกั้นเกินไปทำให้เราร้องเบาและเสียงเป็ดมากขึ้นด้วย
วิธีที่ 3 เอาหูฟังมาอุดหู อันนี้ต้องเป็นหูฟังไร้สายที่เอาเสียงที่เราร้องจริงกลับเข้ามาในหูด้วยนะครับ ซึ่งเป็นมาตรฐานการขึ้นคอนเสิร์ตในระดับโลกในปัจจุบัน
ตอนดู AF ที่ผ่านมาผมก็ขำมากเพราะช่วงแรกเห็นเอากระดาษชำระมาอุดหูกันใหญ่ พวก voice trainer ก็ไม่สอนกันเลย


3.การอัดเสียงร้อง อันนี้สุดท้ายครับเพราะบางคนอาจจะไม่รู้ว่าเสียงที่เราร้องไปกับเสียงที่คนอื่นได้ยินไม่เหมือนกัน วิธีการให้รู้แน่ชัดว่าเสียงจริงๆตัวเราเป็นอย่างไรก็ให้เอากระดาษแข็ง A4 ตัดครึ่งบังไว้ที่หน้าใบหูตัวเองทั้งสองข้างแล้วฟังเสียงที่ร้องนั่นแหละครับเสียงที่คนอื่นจะได้ยิน และจะเป็นเสียงที่อัดลงคอมลงเครื่องเสียงด้วย เผื่อจะได้ปรับปรุงเสียงเดิมให้ดีขึ้นได้ครับ

(ซึ่งเวลาเราจะปรับเสียงตัวเองก็มีวิชาว่าด้วย Fach of voice ที่น่ารู้อีกวิชานึงนะครับ เอาไว้ใช้เวลาต้องการร้องเพลงหลายๆ fach หลายๆ timbre ได้ในคนเดียว โดยเรียนรู้การปรับอวัยวะในช่องคอเป็นหลักซึ่งในที่นี้คงสอนไม่ทัน ไว้วันหลังครับ)

สุดท้ายของคุณ ฮาทซึ ที่กระผม 'ment ว่ามีปัญหา occlusion effect เนื่องจากผมพบว่ามี delayed การออกโน้ตเล็กน้อยในระดับเท่าๆกันทั้งเพลง ซึ่งจะเกิดจากการร้องในที่ก้อง/มีสิ่งกั้น/หรือใส่หูฟังขณะร้องครับ แต่ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัยด้วย


อีกอย่างผมก็จะเข้าฟังและอ่านบล็อกคุณ ฮาทซึเรื่อยๆ เพราะผมเองก็สอบได้แค่ระดับสาม ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น สอบสองไม่ผ่าน เผื่ออ่านของคุณฮาทซึทุกๆวันไปเรื่อยๆ อาจจะฮึดไปสอบตอนแก่แล้วก็ได้ครับ เพื่อเป้าหมายอิคคิวนะครับ




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2551   
Last Update : 31 พฤษภาคม 2552 22:53:27 น.   
Counter : 1726 Pageviews.  


1  2  3  4  

kimanatomy
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Blog นี่สำหรับคนรักการร้องเพลงครับ โดยเฉพาะคนที่อยากรู้แบบเป็นวิชาการ
โดยอิงทฤษฎีการร้องเพลงคลาสสิกร่วมกับเวชศาสตร์การใช้เสียง
ถ้ายากไปแต่อยากเข้าใจก็ถามมาได้ครับ(e-mail,MSN)
zorroporn@hotmail.com

PRODUCED AND COPYRIGHT BY
SURAPORN KORNTONG,MD,FRCOT

ฺBEST VIEW BY INTERNET EXPLORER


ThaiBlog.info
[Add kimanatomy's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com