Group Blog All Blog
|
"สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ"
"สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ" มีชื่อหนังสือเล่มหนึ่งของ น.พ.เทอดศักดิ์ เดชคง ที่ผมชอบมาก "สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ" เป็นหนังสือแนวจิตวิทยาที่สอนคนให้มองโลกในแง่ดีและมีความสุข ในภาวะที่ "น้ำมันแพง-ดอกเบี้ยสูง-การเมืองสับสน" ที่หลายคนเชื่อว่าจะเป็นมรสุมระลอกใหญ่ที่ทำให้ เศรษฐกิจไทยเกิดภาวะกระตุก ผมนึกถึงชื่อหนังสือของหมอเทอดศักดิ์ขึ้น มาทันที "สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ" ในวันนี้การสร้าง "กำลังใจ" เพื่อเดิน หน้าต่อไปเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้ามัวคิดว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเลวร้าย และเสียเวลากับการตั้งคำถามในทำนองที่ว่าถ้าทำอย่างนี้ ปัญหาคงไม่เกิด ถ้าทำอย่างนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคงจะดีกว่านี้ เสียเวลากับ "อดีต" มากกว่า "ปัจจุบัน" และ "อนาคต" แต่หลักคิดที่ว่า "สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ" เป็นหลักคิดเพื่อไม่ให้เราเสียเวลากับการฟื้นฝอยหาตะเข็บมากเกินไป เดินหน้าสู่อนาคตดีกว่า เหมือนที่ "อนันต์ อัศวโภคิน" แห่งแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ บอกหลักคิดในเรื่องที่ดินกับเพื่อนร่วมงานเสมอ "ที่ดินแปลงไหนที่เราซื้อแล้ว ดีเสมอ" คือ ถ้าซื้อแพงกว่าคู่แข่ง เราก็ไม่สามารถย้อนหลังกลับไปต่อราคาใหม่ได้ หรือพอซื้อไปแล้ว หน่วยงานรัฐกลับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเป็นแบบ "วันเวย์" เราก็จะเปลี่ยนให้เป็น "ทูเวย์" ก็ไม่ได้ การคิดแบบทำร้ายตัวเองด้วยการบอกตัวเองว่า "ไม่น่าซื้อที่ดินแปลงนี้เลย" คิดแบบนี้ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น สู้คิดแบบมองไปข้างหน้า ทำให้ที่ดินแปลงนี้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้มากที่สุด ทำให้ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่เป็นอยู่ "เงื่อนไข" หรือ "ปัจจัย" บางอย่างเป็นเรื่องที่นอกเหนือการควบคุม อย่างเช่น ราคาน้ำมัน หรืออัตราดอกเบี้ยของแบงก์ที่เราไปกำหนดอะไรไม่ได้เลย เวลาที่เอาไปคิดว่า ทำไมน้ำมันถึงขึ้นราคา ทำอย่างไรให้ราคาน้ำมันลดลง สู้นำเวลานั้นไปคิดว่าทำอย่างไรให้ต้นทุนการขนส่งเราเพิ่มขึ้นให้น้อยที่สุด หรือคิดในเกม "ลดต้นทุน" ไม่ได้ก็ต้องคิดในเกม "เพิ่มรายได้" ทำอย่างไรจะเพิ่มรายได้ให้มากกว่ารายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ในการต่อสู้ไม่ว่าจะเป็นเกมชีวิตหรือเกมเศรษฐกิจ "ขวัญ" และ "กำลังใจ" เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เคยได้ยินหลัก "6 ไม่" ของคุณบุญเกียรติ โชควัฒนา ของ "ไอซีซี" ในเครือสหพัฒน์ไหมครับ "ไม่เหนื่อย ไม่กลัว ไม่ท้อ ไม่มีปัญหา ไม่ยาก ไม่เครียด" หลัก "6 ไม่" เกิดขึ้นตอนวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ตอนนั้นมีแต่ "ข่าวร้าย" เต็มบ้านเต็มเมือง คุณบุญเกียรติจึงใช้การ "สั่งจิตใต้สำนึก" ด้วยหลัก "6 ไม่" บอกตัวเองเป็นประจำ บอกลูกน้องตลอดเวลา ให้คิดทุกเรื่องในทางบวก งานหนักก็ไม่เหนื่อย งานยากก็ไม่กลัว และไม่ท้อ งานมีอุปสรรคมากมาย ก็คิดว่าไม่มีปัญหา ไม่ยาก ที่สำคัญคือ ต้องไม่เครียด เรื่องนี้สำคัญนะครับ ผมเชื่อเสมอว่า "เราคือสิ่งแวดล้อมของคนอื่น" ใครก็ตามที่มีนิสัย "ขี้วีน" หรือ "หน้าตาบอกบุญไม่รับ" และคิดเสมอว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของเรา ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น คนนั้นคิดผิด เพราะรังสีอำมหิตของเราจะแผ่กระจายให้คนรอบข้างที่สัมผัสรู้สึกได้ และก่อให้เกิดบรรยากาศที่อึดอัดในที่ทำงาน ดังนั้น ถ้าเจ้านายระดับสูงสุดอย่าง "บุญเกียรติ" สั่งจิตตัวเองให้ "ไม่เครียด" ลูกน้องย่อมทำงานอย่างสบายใจ ด้วยความเชื่อในหลักจิตวิทยาแบบ "คิดทางบวก" นี้เอง ทำให้เวลาใครถามคุณบุญเกียรติ ว่าทำอย่างไร "ไอซีซี" จึงฝ่าวิกฤตปี 2540 มาได้ หนึ่งในคำตอบของ "บุญเกียรติ" ก็คือ หลัก "6 ไม่" อย่าลืมนะครับ ...ไม่เหนื่อย ไม่กลัว ไม่ท้อ ไม่มีปัญหา ไม่ยาก ไม่เครียด ...ที่ดินแปลงไหนที่เราซื้อแล้ว ดีเสมอ และ...สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ "สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ" หากผิดพลาดมาบ่อยครั้ง หากพลาดพลั้งมาหลายหน แต่ถ้าสู้ด้วยใจที่อดทน จะข้ามพ้นอุปสรรคที่มากมาย
จงเรียนรู้สิ่งที่พลาดในอดีต ทำใจดีๆ เข้าไว้ หนึ่งหยดน้ำร่วงหล่นบนพื้นหญ้า ขอให้เราอย่าหมดหวัง แม้จะล้มสักกี่ครั้ง ก็ต้องลุกขึ้นยืนหยัดสู้ต่อไปอย่าได้ถอย ไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่าความท้อแท้และสิ้นหวัง… จงเชื่อมั่นไว้ในใจเสมอเถิดว่า "สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ" https://swhappinessss.blogspot.com/ เขาร่ำรวยเพราะช่วยคนอื่น
เอ็ดเวิร์ โชต
เขาร่ำรวยเพราะช่วยคนอื่น เขาร่ำรวยเพราะมีจิตเมตตรต่อคนทุกข์ยาก ช่วยทุกคนโดยไม่ได้หวังผลตอบแทน "ภาพชีวิต" ของคนที่ประสบความสำเร็จในโลกนี้ มักจะมีอะไรแปลกๆ เสมอ ทำให้เรามองดูด้วยความทึ่งอย่าง เช่น นายเอ็ดเวิรณด โชต ห่งแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา คนนี้ เป็นต้น เขากลับกลายเป็นนักหาประกันชีวิตมือหนึ่ง และร่ำรวยขึ้นมาเพราะการช่วยเหลือคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนทางการเงินแต่อย่างใด ในตอนแรกโชตประสบความยากแค้นต่ออาชีพนี้ของเขา เขาไม่เคยขายกรมธรรม์ประกันชีวิตได้จำนวนมาก ชีวิตของเขาล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงแต่เขาก็ไม่ท้อทอย ความล้มเหลวและความลำบากยากแค้นนี้เองทำให้เขาเห็ฯอกเห็นใจบุคคลที่ประสบสภาพชีวิตเช่นเดียวกับเขา เมื่อโชตเลิกห่วงใยและไม่แคร์ต่อว่าเขาจะหาเงินประกันชีวิตได้มากน้อยเท่าใด แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เริ่มทำตัวที่จะทำประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ที่ประสบ ความเดือดร้อนเช่นเดียวกับเขา วันหนึ่งโชตได้พบชายหนุ่มคนหนึ่ง ในทะเลทรายแห่งแคริฟอร์เนีย ชายหนุ่มผุ้นี้พบความล้มเหลวในการทำเหมือง และกำลังเผชิญกับความอดอยาก โชตพาชายหน่มไปยังบ้าน ให้อาหารกิจ ให้ที่อยู่อาศัย และเขาช่วยเหลือชายหนุ่มคนนั้นจนกระทั้งหางานใหม่ที่ดีให้ทำ เขาช่วยเหลือโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนในทางการเงินแต่อย่างใดแต่ตรงกันข้ามเห็น ชายหนุ่มคนนั้นเห็นว่ายังมีมนุษย์อีกคนหนึ่งในโลกที่เห็นใจในความสูญเสียและ พยายามที่จะช่วยดึงให้พ้นจากห้วงเหวแห่งความสูญเสียนั้น โชตได้พยายามช่วยเหลือคนอื่นๆ แบบชายหนุ่มนั้นอีกหลายคนทั้งๆ ที่การหาประกันชีวิตของเขาก็มิได้ทำเงินมากมายแต่ประการใด และพบแต่ความล้มเหลว แต่เมื่อเวลาผ่านไป แม้แต่โชตเองก็ไม่เคยคาดคิดมาก่อน การหาประกันเงินของเขากลับคล่องขึ้นและขายได้เงินจำนวนสูงขึ้น และการขายกรมธรรม์ครั้งสุดท้าย เขาสามารถทำเงินได้สูงกว่าที่เขาเคยขายกรมธรรม์ทั้งหมดรวมกันตั้งแต่เขาเริ่มอาชีพนี้ คนที่ซื้อกรมธรรม์ด้วยเงินจำนวนสูงนี้คือ ชายหนุ่มที่เขาพบในทะเลทรายนั่นเอง โดยเขาไม่ได้ชักชวนให้มาซื้อแต่ประการใดเลย หลังจากนั้นโชตกลับหาประกันชีวิตได้เงินสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่เขาไม่ต้องบากบั่นเหมือนก่อน การขายกรมธรรม์ได้เงินก้อนใหญ่ ทำให้อาชีพของเขาเป็นปึกแผ่นและมีชื่อเสียง นักธุรกิจใหญ่และมหาเศรษฐีต่างๆ ก็เรียกเขามาพบ และซื้อกรมธรรม์จากเขา จนกระทั้ง "สมาคมโต๊ะกลมหนึ่งล้านเหร๊ยญ" เชิญเขาเข้าเป็นสมาชิกตลอดชีพในฐานะที่สามารถหาประกันชีวิตได้ปีหนึ่งไม่ต่ำ กว่าล้านเหรียญ และติดต่อกัน 3 ปี สมาชิกนี้เป็นที่ใฝ่ฝันของนักหาประกันชีวิตอเมริกันทุกคน โชตนึกแปลกใจตัวเอง เขามีความร่ำรวยในทางจิตใจโดยช่วยเหลือผู้อื่น แต่กลับมาพบความร่ำรวยทางวัตถุเข้าอีก หลังจากนั้นเขาได้เริ่มทุ่มตัวเองในการช่วยเหลือผู้อื่น ความสำเร็จของเขาได้ทำให้ชื่อเสียงของโชตขจรขจายไปทั่วสหรัฐเขาได้รับเชิญ ให้ไปกล่าวคำปราศรัยในที่ประชุมของพนักงานหาประกันชีวิตทั่วประเทศ เพราะนักหาประกันเหล่นั้นอยากรู้ว่าเขาประสบความสำเร็จมาไดอย่างไร โชตได้บอกกับคนเหล่านั้นว่า ชีวิตเขาประสบความสำเร็จก็คือ "ปรัชญาเอาใจเขามาใส่ใจเรา" บุคคลอย่างโชตนี้มีอยู่ไม่ใช่น้อยในโลกนี้ ที่เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์และช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน หรือทำบุญเอาหน้า จริงอยู่บางคนอาจไม่ร่ำรวยอย่างโชต แต่เขาก็ร่ำรวยความศรัทธาและความนับถือจากบุคคลอื่น ในเมืองไทย ถ้ามีคนอย่างโชต อย่างเพิ่มด่วนประณามเขา แต่จงเข้าใจว่าเขาเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจในความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ด้วย กันและพยายามที่จะดึงให้พ้นจากห้วงเหวแห่งความทุกข์ยากนั้น :o แหล่งที่มา : //www.richdadthai.com/rdtboard/viewtopic.php?f=4&t=4957 ทำอย่างไรดีคะ กับเด็กที่ด่าแม่ด้วยคำหยาบคาย
ไปเจอในลานธรรมมาครับ เผื่อจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ
สอนก็แล้ว เตือนก็แล้วว่ามันบาป เป็นวัยรุ่นหญิงที่เจ้าอารมณ์
เชื่อหรือเปล่าครับ
Free TextEditor จุดต่ำสุดคือจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด..
ในยามที่ใครก็ตามต้องประสบกับความผิดหวังอย่างหนัก
ชีวิตเหมือนกำลังดิ่งสู่ก้นเหวลึกเบื้องล่าง.. ไม่รู้ชะตากรรมแม้ในเสี้ยววินาทีถัดไป ความคิดความรู้สึกในวูบนั้นก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก ความสับสนวกวน..ไม่มีจุดเริ่มต้นและหาจุดสิ้นสุดไม่ได้ ไม่มีคำอธิบายและไร้ซึ่งคำตอบ... ส่วนในใจมักจะพร่ำถามตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าว่า "ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?..." ความรู้สึกของการไม่มีใครในยามที่ต้องประสบปัญหาร้ายแรง(ที่สุด)ในชีวิต แม้ใยามยืนอยู่ท่ามกลางฝูงชน... แต่ก็ดูเหมือนจะไม่มีใครรับรู้ถึงความรู้สึกภายในใจเราแม้แต่คนเดียว นั่นเองที่ถือว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของการพบใครบางคน ที่สำคัญที่สุดในชีวิต..ซึ่งก็คือ "ตัวเราเอง..." มนุษย์ทุกคนต่างต่อสู้เพื่อการมีชีวิตอยู่ตามสัญชาตญาณ นอกเสียจากผู้ที่หมดสิ้นแล้วซึ่งความหวัง และเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง เขาอาจจะต้องกลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง หากคิดให้ดีนี่แหละคือจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของคนเรา การมองเห็นสัจธรรมที่ว่า... "เมื่อตอนเกิดมาก็ไม่มีอะไร ตอนตายก็ไม่มีอะไร หากตอนนี้เราไม่มีอะไรก็ถือว่าเราไม่ได้เสียอะไรไป แค่เท่าทุนเท่านั้น..." ไม่ใช่ว่าเราจะต้องทิ้งทุกอย่างเพื่อกลับไปสู่จุดเริ่มต้น แต่ถ้าจะมีใครสักคนที่คิดว่า.. การที่ตัวเองไม่มีอะไรแล้วถือว่าเป็นความโชคร้ายที่สุดในชีวิต ก็ขอเพียงแต่ให้ลองกลับไปมองในมุมตรงข้ามที่ไม่เคยมองดูบ้าง อาจจะเจออะไรดีๆ ที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้... มันเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนที่เคยคิดว่าตัวเองไม่มี แล้วบังเอิญวันนี้ไม่มีอะไรอีก.. ก็มักคิดว่าตัวเองได้สูญเสียทุกอย่างไปแล้วโดยที่ลืมคิดไปว่า ไม่มีอะไรที่เป็นของเราเลย..มีเพียงสิ่งเดียวที่ใช่ ซึ่งก็คือความคิดและจิตใจของเราเองเท่านั้น.. ดังนั้น..การได้ลิ้มลองรสชาติของการไม่มีอะไร นั่นคือจุดเริ่มต้นของการมีทุกสิ่ง..อย่าได้ยึดติดอะไรให้มากนักเลย ทุกอย่างมีได้มีเสีย..มีขึ้นมีลง มีเข้ามีออก มีทุกข์มีสุข มีบวกมีลบ เพียงแต่ตอนนี้เรากำลังยืนอยู่บนด้านลบของชีวิต แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่แสดงว่า.. อีกไม่นานด้านบวกของชีวิตกำลังจะมุ่งตรงมาที่เรา ทำไมไม่ทำใจให้สบายรอรับมันเสียเล่า ?... //novakaty.blog.mthai.com/2008/11/26/public-1 === รถเข็นนิทานรพ.เด็กสิ่งบันเทิง ญาติ-ผู้ป่วย ==
![]()
รถเข็นนิทานรพ.เด็กสิ่งบันเทิง ญาติ-ผู้ป่วยโดย ชุลีพร อร่ามเนตร ขอบคุณที่มา //www.budpage.com/forum/view.php?id=5628 Free TextEditor |
naizeezaa
![]() ![]() ![]() ![]() Link |