Love is All Around.
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
27 กุมภาพันธ์ 2558
 
All Blogs
 
มารู้จักรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain)

//www.thailand-ticket.de/Bangkok-Hotel-Buchen/bts.jpg


รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain)หรือ รถไฟฟ้าเฉลิม พระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 และเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย มี 2 เส้นทาง คือสายสุขุมวิท และสายสีลม  โดยเก็บค่าโดยสารตามระยะการเดินทางจริงของผู้โดยสารใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการ ขับเคลื่อน และมีรางป้อนกระแสไฟฟ้าอยู่ด้านข้าง ตัวถังผลิตจากเหล็กปลอดสนิมถือว่าเป็น ระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยอีกประเภทหนึ่ง

    **   มารู้จักรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain) **

รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ใน 2 เส้นทาง คือสายสุขุมวิท ซึ่งได้รับชื่อพระราชทานว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ  6 รอบ พระชนมพรรษา สาย 1" และสายสีลม ซึ่งได้รับชื่อพระราชทานว่า "รถไฟฟ้าเฉลิม พระเกียรติ  6 รอบ พระชนมพรรษา สาย 2" ให้บริการทุกวันระหว่าง เวลา 06.00 - 24.00 น. โดยเก็บค่าโดยสารตามระยะการเดินทางจริงของผู้โดยสาร 



ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain)
          เป็นระบบขนส่งมวลชนความจุสูงแบบมาตรฐาน ที่ใช้กันแพร่หลายในเมืองใหญ่ทั่วไป ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน วิ่งบนรางคู่ยกระดับ แยกทิศทางไป และกลับ โดยมีรางป้อนกระแสไฟฟ้าอยู่ด้านข้าง (Third Rail System) 
          สามารถให้บริการแก่ผู้โดยสารได้มากกว่า 1,000 คน ต่อขบวน ในขณะที่การเดินทางโดยรถยนต์ ต้องใช้รถยนต์จำนวนมากถึง 800 คัน เพื่อขนส่งผู้โดยสารในจำนวนที่เท่ากัน นับได้ว่าการให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นการพลิกโฉมรูปแบบการเดินทาง และเป็นการปฏิวัติมาตรฐานการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน


ข้อมูลเกี่ยวกับตัวรถบีทีเอส (BTS Skytrain)
          ขบวนรถไฟฟ้า 1 ขบวน ประกอบด้วยตู้โดยสาร จำนวน 3 ตู้ หรือ 3 ตู้ พ่วงต่อกัน 2 ขบวน สามารถวิ่งกลับทิศทางได้ โดยรถที่ใช้มีอยู่ 2 ประเภทหลักคือ รถชนิดที่มีห้องคนขับ และมีระบบขับเคลื่อน กับรถที่ไม่มีห้องคนขับ หรือรถพ่วง ซึ่งมีทั้งชนิดที่มี และไม่มีระบบขับเคลื่อน ตัวถังของรถไฟฟ้า บีทีเอส ผลิตจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศ พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง รถแต่ละขบวนมีความกว้างประมาณ 3.20 เมตร ยาว ประมาณ 21.8 เมตร จุผู้โดยสารได้กว่า 1,000 คน ในปัจจุบันมีขบวนรถอยู่ในระบบทั้งหมด 35 ขบวนและได้จัดให้มีการตรวจสอบ และบำรุงรักษาตามกำหนดทั้งตัวรถ อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงรางรถไฟฟ้า อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะให้บริการแก่ผู้โดยสาร และเพื่อให้การซ่อมบำรุงมีประสิทธิภาพ รถไฟฟ้า บีทีเอส ได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารงานซ่อมบำรุงโดยระบบดังกล่าวใช้สำหรับ การแจ้งข้อบกพร่องของระบบรถไฟฟ้า ออกใบสั่งซ่อมตามกำหนดระยะเวลา หรือเมื่อมีเหตุขัดข้อง เก็บข้อมูลการซ่อมบำรุง เก็บรายการอะไหล่สำรอง และคอยตรวจสอบระดับของอะไหล่สำรอง

ระบบรางรถไฟฟ้า (Track Work)
        รางของรถไฟฟ้ามีความยาวทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร (ณ ปัจจุบัน) รองรับการให้บริการรถไฟฟ้า 480 เที่ยว คิดเป็นระยะทาง 1,100 กิโลเมตรต่อวัน โดยตัวรางรถไฟฟ้า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัย และความต่อเนื่องของการให้บริการ การตรวจสอบต้องทำ อย่างสม่ำเสมอโดยจะมีการตรวจสอบรางทุกคืนหลังการให้บริการ ในกรณีเกิดความบกพร่องขึ้นที่รางรถไฟฟ้า หน่วยงานซ่อมบำรุงจะต้องดำเนินการซ่อมให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ชั่วโมง (01.00-04.00 น.) หลังจากชั่วโมงการให้บริการปกติเพื่อให้ทันเวลาเปิดให้บริการปกติ (06.00 น.) ในวันรุ่งขึ้น

ระบบตัวรถไฟฟ้า (Rolling Stock)


         รถไฟฟ้าบีทีเอส มีรถไฟฟ้าอยู่ในระบบทั้งสิ้น 35 ขบวน ในการซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าเหล่า นี้จะถูกเรียกเข้าตรวจสอบ และซ่อมบำรุงตามระยะเวลาที่กำหนด และจะทำการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ ทุกๆ 6 ปี นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เลือกใช้เทคโนโลยี และระบบรถไฟฟ้าที่ทันสมัยมาใช้ในระบบ และได้มีการพิสูจน์ และทดสอบแล้วว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  
       1. ระบบรางปราศจากรอยต่อ โดยใช้วิธีเชื่อมแล้วปรับแต่งรางให้เรียบทำให้ไม่เกิดเสียงเมื่อรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน
       2. ระบบรองรับราง ใช้วัสดุซับเสียง และแรงสั่นสะเทือน 
       3. ระบบล้อ ใช้ล้อชนิดที่มีอุปกรณ์ช่วยลดเสียงอันเกิดจากการเสียดสีระหว่างล้อกับรางได้ 
       4. ช่วงทางโค้ง มีการออกแบบให้รางถ่างออกเล็กน้อยเพื่อลดการเสียดสีระหว่างราง กับล้อเหล็ก และที่ล้อมีระบบหล่อลื่นช่วยไม่ให้เกิดเสียงดัง 
       5. ระบบเบรค ใช้เบรคไฟฟ้าในการหยุดรถ ใช้หลักการ เปลี่ยนสภาพมอเตอร์เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะช่วยหยุดรถไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ โดยไฟฟ้าจะถูกป้อนกลับเข้าสู่ระบบ และเมื่อรถไฟฟ้ามีความเร็วต่ำกว่า 8 กม./ชม. จึงจะใช้เบรคกลเพื่อให้รถหยุดสนิทตามตำแหน่งที่ต้องการซึ่งเบรคกลนี้จะเป็น เบรคชนิดจาน ที่มีประสิทธิภาพสูงและเงียบ รวมทั้งมีระบบป้องกันล้อลื่นไถล และยังได้จัดให้มีกำแพงกันเสียง (Noise Barrier) เพื่อลดเสียงด้านข้าง และ เพิ่มความสวยงามตลอดเส้นทางที่รถวิ่งอีกด้วย 

โครงสร้างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส


        สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้รับการออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งใต้ดิน และบนดิน โดยที่ยังคงรักษาผิวการจราจรบนถนนไว้มากที่สุด ตัวสถานีได้รับการออก แบบให้มีโครงสร้างแบบเสาเดียว มีความยาวประมาณ 150 เมตร มี 2 ลักษณะ คือ
        1. มีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (Side Platform Station) โดยรถไฟฟ้าวิ่งอยู่ตรงกลาง ซึ่งสถานีทั่วไปจะมีลักษณะดังกล่าวเนื่องจากก่อสร้างได้รวดเร็ว และใช้เนื้อที่น้อย 
        2. มีชานชาลาอยู่ตรงกลาง (Center Platform Station) รถไฟฟ้าจะวิ่งอยู่ 2 ข้าง สถานีแบบนี้มีประสิทธิภาพสูง แต่มีความยุ่งยากในการก่อสร้าง เหมาะสำหรับการเปลี่ยนขบวนรถระหว่าง 2 สาย  

นอกจากนี้รถไฟฟ้าบีทีเอส ยังได้แบ่งโครงสร้างของสถานีออกเป็น 3 ชั้น ด้วยกัน คือ
       1.
ชั้นพื้นถนน เป็น ชั้นล่างสุดของสถานีอยู่ระดับเดียวกับพื้นถนน เป็นที่ตั้งของอุปกรณ์ ต่างๆ ได้แก่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ปั๊มการส่งจ่ายน้ำ และถังเก็บน้ำ เป็นต้น  
       2. ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร พื้นที่ ส่วนนี้จะมีเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติ ร้านค้า ตู้เอทีเอ็ม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้บริการอยู่ สำหรับสถานีทั่วไป ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่สาธารณะ เป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารที่ยังไม่ได้ชำระค่าโดยสาร (รถไฟฟ้าบีทีเอส ถือว่าผู้โดยสารที่ยังไม่ได้ผ่านเครื่องตรวจสอบบัตรโดยสารอัตโนมัติ คือผู้โดยสารที่ยังไม่ได้ชำระค่าโดยสาร) และพื้นที่บริษัทฯ ในส่วนนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารแล้ว รวมถึงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านเทคนิคของบริษัทฯ เช่นห้องควบคุมสถานี  
      3. ชั้นชานชาลา สถานี ทั่วไปจะมีชานชาลาอยู่ด้านข้าง และมีทางวิ่งของรถไฟฟ้าอยู่ตรงกลาง ยกเว้นสถานีสยาม (สถานีร่วม)จะมีชานชาลา 2 ชั้น ชานชาลาแต่ละชั้นจะอยู่ตรงกลางระหว่างทางวิ่งทั้งสองชั้น 



สิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบัน

       1. ลิฟต์โดยสารสำหรับผู้พิการ หรือผู้ที่มีปัญหาในการขึ้น-ลงบันไดของสถานีหากท่านมีความประสงค์จะใช้ลิฟต์ กรุณากดปุ่มสัญญาณเพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ประจำสถานี โดยท่านสามารถใช้บริการลิฟต์โดยสารได้ที่สถานีหมอชิต สถานีสยาม สถานีอโศก สถานีอ่อนนุชและสถานีช่องนนทรี  
      2. ทางเดินเชื่อม จากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เข้าสู่อาคาร หรือห้างสรรพสินค้า ข้างเคียง ให้บริการแล้วที่
          สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - แฟชั่นมอลล์ อาคารอุทุมพร เซ็นจูรี่ เดอะ มูฟวี่ พลาซ่า
          สถานีราชเทวี - โรงแรมเอเชีย
          สถานีสยาม     - สยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ดิ ออฟฟิสเซส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ 
                                    ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ดิจิตอล เกตเวย์
         สถานีชิดลม    - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม ศูนย์การค้าเกษร ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ดิ 
                                  ออฟฟิสเซสแอท เซ็นทรัลเวิลด์ อาคารมณียา เซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าอัมรินทร์ 
                                  พลาซ่า เอราวัณ บางกอก โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ
         สถานีเพลินจิต  - อาคารเวฟ เพลส (โฮม โปร พลัส)
         สถานีเอกมัย     - ณุศาสิริ แกรนด์ คอนโด เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สุขุมวิท บลูโอ ริทึ่ม แอนด์ โบว์ล
         สถานีอโศก      - โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท อาคารไทม์ สแควร์ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 
                                     สุขุมวิท อาคารเอ็กเชน ทาวเวอร์ 
        สถานีพร้อมพงษ์  - ดิ เอ็มโพเรี่ยม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์
        สถานีอ่อนนุช     - เทสโก้ โลตัส 
        สถานีศาลาแดง   - อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ อาคารธนิยะ เจ-ซิตี้
        สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โตคิว ดีพาร์ตเมนต์ สโตร์ สยามดิส
                                 คัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร



สิ่งอำนวยความสะดวกในอนาคต

         1. ผู้โดยสารสามารถใช้บัตรบีทีเอส สมาร์ทพาส ร่วมกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ร้านค้ารวมทั้งบริการอื่นๆ ได้ในอนาคต  
         2. ทางเดินเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าสู่อาคารข้างเคียง ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการเพิ่มเติมสถานีศาลาแดง - อาคารสีลม 64

ข้อมูลด้านความปลอดภัย

รถไฟฟ้าบีทีเอส ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในระบบขนส่งมวลชนที่มีความปลอดภัยสูงโดยนับตั้งแต่วันแรก ที่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานอุบัติเหตุร้ายแรงที่มีผลกระทบ กับผู้โดยสารแต่อย่างใด และเพื่อให้แน่ใจว่าระบบและตัวรถไฟฟ้ามีความปลอดภัยอยู่เสมอ รถไฟฟ้าบีทีเอสได้ เตรียมมาตรการตรวจสอบ การบำรุงรักษาและมีการปรับปรุงพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องและยังได้จัดเตรียม อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับ  กรณีฉุกเฉินไว้ในรถไฟฟ้าทุกขบวน และในทุกสถานี นอกจากขั้นตอนปฏิบัติข้างต้นแล้วยังได้จัดทำคู่มือความปลอดภัยรวมถึงข้อห้าม ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมและรับทราบข้อควรปฏิบัติในภาวะปกตและในภาวะฉุก เฉิน ความพร้อมและเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารเมื่อใช้บริการระบบรถไฟฟ้า นอกจากนั้นในปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้พัฒนาเข้าสู่ระบบการจัดการความปลอดภัย (Safety Management System) ตามมาตรฐานของLloyd Register Rail ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ด้านการขนส่งระบบรางเพื่อให้รถไฟฟ้าบีทีเอส มีความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยกับผู้โดยสารยิ่งขึ้น 

ระบบความปลอดภัย
          ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่และมีขีดความสามารถในการให้บริการสูง ในแต่ละวันจึงมีผู้โดยสารจำนวนมากมาใช้บริการ ด้วยเหตุนี้ทางรถไฟฟ้าบีทีเอส จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดโดยคำนึงถึง ความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นหลัก ได้มีการจัดเตรียมมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมถึงความพร้อมของบุคลากรและมาตรฐานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้อยู่ในระบบรถไฟฟ้าให้มีความพร้อมและปลอดภัยที่สุด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกำหนดมาตรฐานใหม่ให้กับระบบขนส่งมวลชน

ระบบขบวนรถไฟฟ้า
        ในการเดินรถปกติ รถทุกขบวนจะอยู่ภายใต้ระบบการเดินรถไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automatic Train Protection) ซึ่งช่วยควบคุมระยะห่างระหว่างขบวนรถให้อยู่ในระยะที่ปลอดภัย รวมถึงการกำหนดความเร็วและควบคุมระบบเปิด - ปิดประตู ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้โดยสารสามารถติดต่อกับพนักงานขับรถได้โดยผ่านระบบ Passenger Intercom เพื่อการแจ้งเหตุและแก้ไขปัญหาขั้นต้นและยังได้ติดตั้งถังดับเพลิงชนิดมือ ถือไว้ในรถไฟฟ้าทุกขบวน ในส่วนของตัวรถไฟฟ้าได้ รับการออกแบบโดยใช้วัสดุที่ช่วยควบคุมไม่ให้เกิดการลุกลามของเพลิงและไม่ก่อ ให้เกิดควันพิษจากการเผาไหม้ การโอนถ่ายผู้โดยสารสู่สถานีสามารถทำได้โดยใชประตูฉุกเฉินที่อยู่บริเวณส่วน หัวและส่วนท้ายของขบวน นอกจากนี้ยังมีระบบ Train Radio เพื่อให้พนักงานขับรถสามารถติดต่อกับศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าได้ตลอดเวลา


สถานีรถไฟฟ้า
      โครงสร้างของสถานีได้รับการออกแบบภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคารและมีการ จัดเส้นทางเพื่อใช้เป็นทางออกฉุกเฉินในทุกสถานีรวมถึงระบบแจ้งเตือนต่างๆ เช่น ระบบประกาศสาธารณะ ระบบเตือน ป้องกันและระงับอัคคีภัยตามมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากระบบโทรทัศน์วงจรปิดระบบสายดินสายล่อฟ้าที่มีประจำ อยู่ทุกสถานีแล้วยังมีระบบควบคุมประตูอัตโนมัติบันไดเลื่อนและ ปุ่มหยุดขบวนรถที่บริเวณชานชาลา เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน

ระบบและการเตรียมการด้านความปลอดภัยอื่น ๆ
      ในขั้นตอนก่อนการเปิดใช้บริการได้มีการทดลองการเดินรถตลอดเส้นทางเป็นเวลา มากกว่า 6 เดือนและภายหลัง จากเปิดให้บริการแล้ว ทางรถไฟฟ้าบีทีเอสยังได้จัดให้มีการฝึกฝนทบทวนในส่วนของพนักงานอยู่เสมอ ซึ่งมีทั้งการฝึกซ้อมแผนการเดินรถแบบปกติ (Normal Operations) และแผนการเดินรถไม่เต็มรูปแบบ (Degraded Operation) รวมถึงแผนการเดินรถฉุกเฉิน (Emergency Operations)ที่ทำการฝึกซ้อมร่วมกับหน่วยงานภายนอกด้วย เช่น ตำรวจท้องที่ ตำรวจดับเพลิง และโรงพยาบาล เป็นต้น 

การดูแลความปลอดภัยในบริเวณต่าง ๆ

       1. ชั้นพื้นถนน จะมีระบบโทรทัศน์วงจรปิดติดตั้งอยู่ ใช้ในการตรวจสอบการจราจรและดูปริมาณผู้โดยสารที่อยู่บริเวณด้านล่าง 
       2. ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร 
            - กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ติดตั้งอยู่บริเวณบันไดเลื่อนทุกตัวใช้เพื่อตรวจสอบดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารที่กำลังขึ้น
            - ลงบันไดหรือบันไดเลื่อน 
            - มีการติดตั้งระบบดับเพลิงและสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ โดยสามารถครอบคลุมทั่วพื้นที่ของชั้น จำหน่ายตั๋วและชั้นชานชาลา 
            - ระบบดับเพลิง สัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และระบบน้ำดับเพลิง  
            - ระบบกระจายเสียงสาธารณะจะใช้ในการประกาศเพื่อให้ข้อมูลกับผู้โดยสารในกรณีต่างๆ 
            - ห้องปฐมพยาบาล บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ทุกสถานีได้จัดเตรียมห้องปฐมพยาบาลพร้อมด้วย อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาทิ เวชภัณฑ์ เปล และเตียงนอน ไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
            - บริเวณชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยสอดส่องดูแลผู้มาใช้บริการตลอดเวลา 
            - ทางออกฉุกเฉิน ได้ถูกจัดเตรียมไว้สำหรับอพยพผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน 
         3. ชั้นชานชาลา
            - กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ใช้เพื่อดูแลและตรวจสอบความปลอดภัยของผู้โดยสารบริเวณชานชาลา 
            - ระบบดับเพลิง เตรียมพร้อมสำหรับกรณีฉุกเฉิน มีทั้งแบบชนิดสารเคมี และสายฉีดน้ำ 
            - ระบบกระจายเสียง ใช้ในการประกาศเพื่อให้ข้อมูลกับผู้โดยสารในกรณีต่างๆ 
            - โทรศัพท์ ติดตั้งไว้บริเวณเสาติดกับระบบกระจายเสียงสำหรับเจ้าหน้าที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน 
            - พนักงานรักษาความปลอดภัย จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอด 24 ชั่วโมง 
            - เส้นเหลืองเป็นเส้นที่กำหนดขอบเขตความปลอดภัยบนชานชาลา ผู้โดยสารจะต้องอยู่หลังเส้นเหลืองในขณะที่ยืนรอรถไฟฟ้า 
         4. ในขบวนรถ
            - มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหมุนเวียนเพื่อดูแลรักษา ความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารตลอดเวลาการเดินรถ

ข้อแนะนำการโดยสารรถไฟฟ้า

       1. ห้ามสูบบุหรี่ หรือจุดไฟรวมถึงห้ามนำวัตถุไวไฟ วัตถุเคมีอันตรายหรือสัตว์เลี้ยงทุกชนิดทุกชนิดเข้ามาในระบบรถไฟฟ้า 
       2. กรุณางดนำอาหารและเครื่องดื่มเข้ามารับประทานในบริเวณสถานีหรือในขบวนรถไฟฟ้าโดยเด็ดขาด และโปรดช่วยกันรักษาความสะอาดโดยทิ้งขยะลงในภาชนะที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ 
       3. ห้ามขีดเขียนหรือทำความเสียหายแก่ขบวนรถไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่างๆ ของสถานี 
       4. ในขณะที่ใช้บริการอยู่ในระบบรถไฟฟ้า โปรดระวังทรัพย์สินหรือสิ่งของมีค่า และหากพบเห็นการกระทำที่ผิดกฎหมายกรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหรือ เจ้าหน้าที่ประจำสถานีทันที 
      5. รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้จัดเตรียมห้องปฐมพยาบาลไว้สำหรับบริการผู้โดยสารในทุกสถานีหากท่านรู้สึกไม่สบายโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือ

      6. เด็กที่มีความสูงไม่เกิน 90 เซนติเมตร ผู้ปกครองควรอุ้มขณะผ่านเข้า - ออก สำหรับเด็กที่มีความสูงเกินกว่า 90 เซนติเมตร ต้องซื้อบัตรโดยสาร และผ่านเข้า - ออก ทางประตูตรวจสอบบัตรโดยสารอัตโนมัติตามปกติ 
      7. สตรีมีครรภ์ หรือผู้โดยสารที่มีสัมภาระขนาดใหญ่กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอใช้ประตูพิเศษ (Flush Gate) 
      8. กรณีที่ถือสัมภาระติดตัว ควรยกสัมภาระขึ้นเหนือประตู 
      9. ผู้พิการสามารถขอใช้ลิฟต์โดยสารสำหรับผู้พิการได้ที่สถานีหมอชิต สถานีสยาม สถานีอโศก สถานอ่อนนุช และสถานีช่องนนทรีโดยติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำสถานีเพื่อขอความช่วยเหลือ 
     10. เมื่อได้ยินสัญญาณปิดประตู กรุณาหยุดรอรถไฟฟ้าขบวนต่อไปอยู่หลังเส้นเหลือง อย่าพยายามวิ่งเข้าสู่ขบวนรถไฟฟ้า และห้ามยื่นอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไปยังประตูขณะประตูกำลังปิดโดย เด็ดขาด  
     11. เมื่อเข้าสู่ขบวนรถไฟฟ้ากรุณาเดินเข้าข้างในตอนกลางของตัวรถ ไม่ยืนกีดขวางและไม่วางสิ่งของ หรือสัมภาระกีดขวางทางเดินภายในตัวรถเพื่อเปิดทางให้ผู้โดยสารท่านอื่น สามารถก้าวเข้าสู่ตัวรถได้อย่างรวดเร็ว  
     12. ไม่ยืนพิงประตูรถไฟฟ้าและควรจับยึดห่วง หรือราวไว้เสมอ 
     13. อย่ายึด หรือจับบริเวณยางที่เป็นรอยต่อระหว่างขบวนของรถไฟฟ้าเพราะอาจเกิดอันตราย 
     14. โปรดเอื้อเฟื้อที่นั่งให้แก่เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ 

ระบบ BTS SmartPass

        ระบบ BTS SmartPass เป็นการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติของระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่ง เดิมรองรับได้เพียงบัตรโดยสารชนิดแถบแม่เหล็ก ให้สามารถรองรับการใช้งานบัตรโดยสาร BTS  Smart Pass ควบคู่กัน โดยระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเป็นระบบที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลการใช้งาน ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสของผู้โดยสารแต่ละ ท่าน ซึ่งผู้โดยสารแต่ละท่านจำเป็นต้องมีบัตรโดยสารที่มีสถานะของบัตรที่ถูกต้อง และพร้อมใช้งานเพื่อใช้ในการเดินทางเข้าออกระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส จากการปรับปรุงระบบเดิม ทำให้ต้องมีการปรับปรุงอุปกรณ์เดิมของระบบให้สามารถรองรับบัตรโดยสาร BTS SmartPassซึ่ง ได้แก่ อุปกรณ์ประตูโดยสารอัตโนมัติและมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ใหม่ที่ใช้สำหรับบัตร โดยสาร  BTS SmartPass โดยเฉพาะได้แก่ Card Initialization Device, Card Personalization Device, Point Of Sale Terminal, Station Data Concentrator และ Central Computerจากการปรับปรุงและพัฒนาดังกล่าว ทำให้ระบบสามารถเพิ่มเติมโปรโมชั่นที่หลากหลาย พร้อมทั้งสามารถออกบัตรโดยสารประเภทบุคคลที่สามารถบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และภาพถ่ายของผู้ถือบัตรโดยสาร BTS SmartPass ได้

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

        1. Card Initialization Device (CID) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการฟอร์แมตบัตรโดยสาร BTS SmartPass
        2. Card Personalization Device (CPD) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการฟอร์แมตบัตรโดยสารBTS SmartPass พร้อมทั้งทำการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือบัตร และพิมพ์ภาพลงบนบัตรโดยสาร BTS SmartPass 
       3. Point Of Sale Terminal (POS) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการออกบัตร เติมมูลค่า เติมเที่ยวการเดินทาง และวิเคราะห์สถานะของบัตรโดยสาร 
       4. Automatic Gate (AG) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลการเดินทางเข้าออกระบบของบัตรโดยสาร
        5. Station Data Concentrator (SDC) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ บนสถานีเพื่อส่งต่อเข้าไปประมวลผลที่ Central Computer และรับข้อมูลต่างๆ จาก Central Computerเพื่อทำการส่งต่อข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ต่อไป
       6. Central Computer (CC) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวบข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากอุปกรณ์

รูปแบบและคุณสมบัติของบัตรที่นำมาใช้งาน

      บัตรโดยสาร BTS SmartPass ที่นำมาใช้งานเป็นบัตรโดยสารที่ใช้เทคโนโลยีแบบไร้สัมผัส โดยปัจจุบัน บัตรโดยสาร BTS SmartPass สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ

      1.  บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน (BTS SKY SmartPass) ซึ่งหักค่าโดยสารตามระยะทาง 
      2. บัตรโดยสารประเภท 30 วัน (BTS 30-DAY SmartPass) ใช้เดินทางได้ตามจำนวนเที่ยวที่ซื้อหรือเติมเดินทางได้ไม่จำกัดระยะทาง มีอายุ 30 วัน นับจากการใชเดินทางครั้งแรก  

     ข้อดีของบัตรโดยสาร BTS SmartPass 

       1. เพิ่มความรวดเร็วในการประมวลผลสูงกว่าบัตรโดยสารแบบแถบแม่เหล็ก 
       2. เพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายในบัตรโดยสาร ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้น และสามารถรองรับกับรูปแบบของโปรโมชั่นต่างๆ ที่ทางบริษัทจะได้จัดทำขึ้นให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของผู้โดยสาร
       3. จากความสามารถในการประมวลผลที่มีมากกว่า ทำให้เพิ่มความสะดวกรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
      4. สำหรับบัตรโดยสารประเภท 30 วัน ผู้โดยสารสามารถเติมเที่ยวการเดินทางล่วงหน้าได้ ลดการรอคิวในช่วงที่มีผู้โดยสารใช้งานหนาแน่นที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร
      5. จากพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลที่มีมากขึ้นและความสามารถในการประมวลผลที่รวด เร็วขึ้น ทำให้สามารถใช้งานบัตรโดยสาร BTS SmartPass ร่วมกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ หรือสามารถใช้ร่วมกับธนาคาร หรือร้านค้าและบริการอื่นๆ ได้ในอนาคต

    ***  รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นอีกทางเลือกในการเดินทางที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูงด้วยระบบ เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่ง และนอกจากนี้ยังสะดวกสบายในการเดินทางทำให้รวดเร็วไม่ต้องแออัดกับรถที่ติด บนท้องถนน และที่สำคัญสำหรับท่านที่มองหาคอนโดติดแนวรถไฟฟ้าถือว่าเป็นโอกาสและเป็นทางเลือกที่ดีเพราะการใช้ชีวิตติดรถไฟฟ้าถือเป็นการมองถึงอนาคตที่ล้ำกว่าใครๆ สะดวกสบายกว่าใครแน่นอน ***



บทความอื่นๆน่าสนใจ

- มารู้จักรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain)
- แต่งคอนโดสไตล์ลอฟท์
- 12 เคล็ดลับเนรมิตกระจกคอนโดให้ใสปิ๊ง
- สร้างบรรยากาศในคอนโด ด้วยกลิ่นของเทียนหอม
- อาหารกับชื่อมงคลที่ต้องรู้สำหรับคนไทยเชื้อสายจีน
- เบื่อไหมกับการอยู่คอนโดและต้องทำความสะอาดเครื่องดูดควัน ในห้องครัว
- เพิ่มสีสันในคอนโด ด้วยดอกไม้แสนสวย
- 20 ไอเดียชั้นวางหนังสือติดผนังในคอนโด
- ทำไมถึงควรซื้อ “คอนโดแบบสตูดิโอ”
- เคล็ดไม่ลับที่ดูแลรักษาที่นอนของเราในคอนโดให้มีอายุการใช้งานยืนยาว
- หิ้งพระ โต๊ะหมู่บูชา ดีไซน์ที่ทันสมัยเหมาะกับผู้อาศัยในคอนโดมิเนียม
- ตู้ปลา กับ ฮวงจุ้ย
- อย่ามองข้าม เมื่อมีเด็กเล็กอาศัยอยู่ในคอนโด
- ภาพวาดตกแต่งคอนโดมิเนียมที่เสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตได้
- รูปปั้นสัตว์มงคล เสริมฮวงจุ้ย
- ลักษณะที่ดี ลักษณะอับโชค และ การจัดห้องครัวที่ดี
- การจัดแสงไฟในห้อง  (Lighting Design)  (ตอนที่ 3)
- การจัดแสงไฟในห้อง (Lighting Design) (ตอนที่ 2)
- การจัดแสงไฟในห้อง (Lighting Design) (ตอนที่ 1)
- วิธีเลือกซื้อพรมปูพื้น
- ฝ้าหลุมกับฮวงจุ้ย
- มารู้จักเฟอร์นิเจอร์ไม้ MDF และไม้ Particle board (ตอนที่ 2)
- มารู้จักเฟอร์นิเจอร์ไม้ MDF และไม้ Particle board (ตอนที่ 1)
- เคล็ดลับวิธีกำจัดกลิ่นอับภายในคอนโด
- ผนังภายในคอนโดแตกร้าว สาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง
- 8 เหตุผลทำไมต้องเลือกใช้ไม้ลามิเนตปูพื้นคอนโด
- เคล็ดลับการจัดคอนโด ให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย
- วิธีซ่อมยาแนวห้องน้ำในคอนโด
- เคล็ดลับดูแลห้องน้ำ ให้ใหม่เสมอ
- ฮวงจุ้ยต้นไม้รอบบ้าน
- 7ข้อควรรู้ ก่อนจัดสวน ริมระเบียงคอนโด
- ไอเดียแต่งคอนโดเก๋ๆ แบบราคาสบายกระเป๋า
- เคล็ดลับเลือกซื้อบ้านและอาคารชุดคอนโด
- ฮวงจุ้ย 10 ประการ บั่นทอนโชคลาภ
- ค่าใช้จ่าย กรณีเปลี่ยนสัญญาคอนโด
- ไอเดียที่ตากผ้า สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่คอนโด 




Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2558 17:56:35 น. 0 comments
Counter : 2428 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

poprockcool
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




พื้นที่โฆษณาพิเศษ
Friends' blogs
[Add poprockcool's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.