ข้อชวนคิด ป่าไม้กับการบริหารจัดการน้ำ

ปัจจุบันมีการตื่นตัวของการอนุรักษ์ป่าไม้ค่อนข้างมาก จนบางครั้งทำให้การพัฒนาในด้านต่าง ๆ สะดุด โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ต่างเข้ามาส่งผลกระทบต่อโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางหลายโครงการ ขณะที่ความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วนกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ เชื่อว่าอีกไม่นานจุดวิกฤติในเรื่องน้ำของประเทศจะมาเยือนแน่นอน

สำหรับสาเหตุที่มีการคัดค้านการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำนั้น มีเหตุผลหลัก ๆ ก็คือ เขื่อนทำลายป่าไม้ ทำลายธรรมชาติ ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ก็ยังมีเหตุผลสนับสนุนอื่น ๆ อีก เช่น เขื่อนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง หรือน้ำท่วม มีผลประโยชน์แอบแฝง ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ตั้งอยู่ในแนวเลื่อนของเปลือกโลก เป็นต้น พร้อมกับให้คำแนะนำว่า การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การอนุรักษ์ป่า และการปลูกป่า เป็นแนวทางแก้ปัญหาเรื่องน้ำดีที่สุด

อย่างไรก็ตามจากเอกสารในงานสัมมนาของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตด้านทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ระบุว่า สถานการณ์ป่าไม้เมื่อปี 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าประมาณ 171 ล้านไร่ หรือร้อยละ 53 ของพื้นที่ทั้งประเทศ แต่ในปี 2549 ประเทศไทยพื้นที่ป่าลดลงเหลือเพียง 99 ล้านไร่ หรือร้อยละ 31 ของพื้นที่ทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่า ในช่วงเพียง 45 ปี ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าไปถึง 72 ล้านไร่ หรือประมาณปีละ 1.6 ล้านไร่

สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อปี 2543 โดยอ้างข้อมูลจากกรมป่าไม้ ระบุว่า มีพื้นที่ป่าที่ขอใช้เพื่อการชลประทาน ซึ่งรวมถึงการสร้างเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำ ระบบคลองส่งน้ำ อาคารชลประทานต่าง ๆ เป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 535,620 ไร่

เมื่อประเมินแล้วประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าไปถึง 72 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นการสูญเสียเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำเพียงประมาณ 1 ล้านไร่ ที่เหลือเป็นสูญเสียไปเพราะเรื่องอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวข้างต้น ได้ระบุว่า ได้มีการขอใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมกันทั้งหมดประมาณ 2.8 ล้านไร่เท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย ขอใช้ในการปลูกสร้างสวนป่า การเกษตร ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ ระเบิดหิน ทำเหมืองแร่ ก่อสร้างทาง ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง การชลประทาน การศึกษา ศาสนา เป็นต้น

ดังนั้นพื้นที่ป่าเกือบ 70 ล้านไร่ที่สูญเสียไปส่วนใหญ่ จึงน่าจะมาจากการบุกรุกที่ผิดกฎหมายมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญการสูญเสียป่าเนื่องจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นมีจำนวนน้อยมาก

จึงไม่น่าจะเป็นตัวการใหญ่ และสาเหตุสำคัญในการทำลายป่า ที่สำคัญปัจจุบัน มีการยอมรับกันเป็นสากลแล้วว่าโครงการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นสร้างประโยชน์อย่างเหลือคณานับ เพราะน้ำคือชีวิต ฉะนั้นจึงน่าจะมีการกำหนดมาตรฐานใหม่ในการแก้ไขปัญหาเรื่องของป่าไม้เมื่อพื้นฐานปัญหาไม่ได้มาจากการบริหารจัดการน้ำ ดังที่กล่าวมาข้างต้น.
cr.dailynews



Create Date : 27 มกราคม 2558
Last Update : 27 มกราคม 2558 8:23:46 น. 0 comments
Counter : 666 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1556306
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]










เครื่องปั่นไฟ เครื่องพ่นยา
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1556306's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.