εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ 510831

ธรรมะOn M. เรื่อง การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์
(วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร


เป้ says:
นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ

พระเอกชัยEmptiness  does  not  mean  Nothingness says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านเอกชัยเช่นกันครับ

เชิญน้องเก๋ค่ะ
Kae (Kitty) says:
กราบนมัสการพระอาจารย์ และสวัสดีค่ะทุกคน
กราบนมัสการพระเอกชัยด้วยค่ะ
เชิญคุณอภิชาตค่ะ
API- เรียนรู้ใจตนเอง says:
สวัสดีครับ

เชิญน้องก้อยค่ะ
น่ากลัวที่สุด----คือตัวเราเอง--- says:
สวัสดีค่ะ ทุกคน
นมัสการหลวงพี่ทุกรูปค่ะ

เชิญน้องปิ๊กค่ะ
๑๐ ตุลาคม Vie Trio Live In Concert says:
นมัสการพระอาจารย์ค่ะ

เจริญพร ญาติโยมทุกคน ค่ำคืนนี้ใครมีคำถามหรือข้อสงสัยที่อยากจะยกขึ้นมาสนทนากันบ้างหรือเปล่า
เชิญน้องอ้อค่ะ
นฤพนธ์ : ขอให้ท่านไปสู่สวรรค์ says:
นมัสการพระคุณเจ้าครับ

เชิญคุณนัฐค่ะ
น.น้ำใจดี (FM๘๙.๒๕Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์ปิฯ นมัสการพระเอกชัย  
และสวัสดีญาติธรรมทุกท่านครับ

โห คุณนัฐ
เชิญคุณเทิดเกียรติค่ะ

dutycompleted says:
นมัสการท่านพระอาจารย์ทุกท่าน และสวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนครับ

สวัสดีค่ะทุกๆ คน วันนี้มีใครมีคำถามมาถามบ้างเอ่ย
ในฐานะที่ปิ๊กเป็นนักเรียนขอถามว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรคะ ถ้าช่วงนี้ใกล้สอบแล้ว อยากให้ได้คะแนนดีๆ แต่เวลาอ่านหนังสือมีน้อยเหลือเกิน
ก็ต้องตั้งใจอ่านหนังสือสิ ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
กราบนมัสการพระอาจารย์ กราบนมัสการพระเอกชัย และสวัสดีค่ะทุกคน
วันนี้เราจะสนทนาธรรมเรื่องอะไรครับ
อยากรู้เรื่อง ทศบารมีธรรม น่ะคะ
เรื่องความสามัคคี
ดีครับ ที่ผมอยู่ก็กำลังแตกความสามัคคีอยู่พอดี
อยากรู้เรื่องใกล้ตัว ที่เราเห็นตัวอย่างได้ในขณะนี้
โดยเฉพาะตัวผมเอง คงเป็นเพราะยึดมั่นถือมั่นเกินไป
โยมเก๋ อยากทราบเรื่องทศบารมีในแง่ไหนล่ะ
ค่ะ อยากทราบรายละเอียดคร่าวๆ ค่ะ เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น
อยากทราบรายละเอียดคร่าวๆ  มันเป็นยังไงอ่ะคะ
Pinto says:
เห็นแล้วครับ

เชิญพี่ปุ๊กค่ะ
pooklook says:
มีใครบ้างอ่ะคะ
นมัสการพระอาจารย์ปิฯ ค่ะ

เชิญน้องส้มค่ะ
ส้ม says:
สวัสดีทุกท่านค่ะ

การสร้างบารมีธรรม ถ้าเราต้องการบรรลุนิพพาน ต้องบำเพ็ญทศบารมีไหมค่ะ
“ทศบารมี” คืออะไรค่ะ
ทศ มาจากภาษาบาลีว่า “ทส” แปลว่า สิบ, คำว่า ทศบารมี จึงแปลว่า บารมี ๑๐ ประการ
บารมี ๑๐ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา

ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับ "จิต" เพียงอย่างเดียว says:
เหอๆ คำว่า "บารมี" รากศัพท์ที่แท้ แปลว่าอะไรคับ

คำว่า บารมี มาจากศัพท์ว่า “ปรมะ” ซึ่งแปลว่า คุณสมบัติหรือปฏิปทาอันยอดยิ่ง ซึ่งท่านวิเคราะห์ศัพท์ว่า “ปรมํ ปาเปตีติ ปารมี” ซึ่งแปลว่า ปฏิปทาใดยังผู้ปฏิบัติให้ถึงความเป็นผู้ยอด (ผู้เลิศ ผู้ยิ่งใหญ่) ปฏิปทานั้น ชื่อว่า “บารมี”
และในคัมภีร์ฏีกา
ท่านวิเคราะห์ศัพท์ว่า คุณชาติทั้งหลายเหล่าใดย่อมไปถึงซึ่งฝั่ง(อื่น) คือ พระนิพพาน คุณชาติทั้งหลายเหล่านั้นย่อมชื่อว่า “ปารมิโย”
หรือโดยศัพท์ “บารมี” แปลว่า ความเต็มเปี่ยม ความเป็นเลิศ ความรู้จบ ภาวะหรือการกระทำของผู้เป็นเลิศ ชื่อว่า บารมี

อ๋อครับ ขอบพระคุณครับ
งั้น ถ้าแม้จะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ต้องมีทศบารมีมาจนเต็มเหมือนกันเหรอเจ้าคะ
ถูกแล้ว คำว่า บารมี นี้เป็นสิ่งซึ่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์ เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (ไม่ว่าพระพุทธเจ้าประเภทใด)
บารมี นี่ต้องอาศัยการตั้งใจไว้ก่อนหรือป่าวค่ะ
ต้องสิ อาศัยการตั้งอธิษฐานจิต เรียกว่า การตั้งปณิธาน
มันเป็นเหมือนกับพอถึงเวลาแล้ว เราก็จะมาตั้งใจที่จะทำสิ่งต่างๆ พวกนี้ใช่ไม๊เจ้าคะ
ต้องเรียงตามนี้หรือเปล่าเจ้าคะ ที่เห็นเรียงทานเป็นอันแรกเลย แต่ชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้ากลับเป็นทานบารมี

การเรียงลำดับ โดยเริ่มจาก ทานบารมีก่อนนั้น เรียงลำดับตามการใคร่ครวญของพระโพธิสัตว์ ซึ่งระลึกไปตามลำดับแห่ง "พุทธการกธรรม ๑๐ ประการ" แต่การบำเพ็ญบารมีในละชาตินั้น สลับกันไปมา ไม่ได้เรียงลำดับก่อนหลัง
แล้วจำเป็นต้องบำเพ็ญบารมีด้วยเหรอ หรือว่ามีเฉพาะบุคคลที่ตั้งใจเป็นพระพุทธเจ้า
ผู้ใดก็ตามที่ปรารถนาพระนิพพาน แม้จะมิได้ปรารถนาความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า แม้พระอรหันตสาวกทั่วไป ก็ต้องบำเพ็ญบารมี เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์ คือต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ เช่นเดียวกัน มิได้แตกต่างกัน เพื่อการบรรลุถึงพระโพธิญาณ
พระสัมโพธิ(การตรัสรู้พร้อม)นั้น มีด้วยกัน ๓ ประเภท คือ

๑ สัมมาสัมโพธิ คือ การตรัสรู้ธรรมโดยชอบด้วยพระองค์เอง ของพระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์
๒ ปัจเจกสัมโพธิ คือ การตรัสรู้ธรรมโดยชอบด้วยพระองค์เองเป็นส่วนพระองค์ ของพระปัจเจกโพธิสัตว์
๓ สาวกสัมโพธิ คือ การตรัสรู้ธรรมด้วยเหตุแห่งการฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ของพระสาวกโพธิสัตว์
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า พระโพธิสัตว์ นั้นแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑ พระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดั่งเช่น พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง แล้วประดิษฐานพระศาสนา
๒ พระปัจเจกโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ผู้จะมาตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง แต่มิได้ประดิษฐานพระศาสนา
๓ พระสาวกโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ผู้จะมาตรัสรู้เป็นพระอรหันตสาวกทั่วๆ ไป ดั่งเช่น พระสารีบุตร พระอานนท์ เป็นต้น

เชิญคุณท๊อปค่ะ
You4lucky ทำดีเข้าไว้หัวใจติดปีก says:
สวัสดีค่ะ นมัสการพระอาจารย์ค่ะ

เชิญน้องอุ้ยค่ะ
ไร้ความคิด ไร้ตัวตน ไร้หัวใจ says:
นมัสการพระอาจารย์นะครับ

เชิญคุณก้อยค่ะ
Koi-ก้อย says:
นมัสการพระอาจารย์ค่ะ สวัสดีค่ะ

โดยมีคำขยายความต่อไปว่า
อนึ่ง สัตว์ผู้ปรารถนาซึ่งโพธิ กล่าวคือ ญาณในมรรค ๔ ปฏิบัติอยู่ เหตุนั้น ผู้ที่ยังติดอยู่ในโพธิ จึงชื่อว่า “โพธิสัตว์”

.. ชื่อว่า “โพธิสัตตะ” เพราะอรรถว่า เป็นผู้บำเพ็ญ (ปรมะ) และเป็นผู้รักษาคุณทั้งหลายมีทานเป็นต้น คุณดังกล่าวนี้ เป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ ภาวะก็ดี, กรรมก็ดีเป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ. กรรมมีการบำเพ็ญทานเป็นต้น    ก็เป็นบารมีของพระโพธิสัตว์
บารมี คือ คุณธรรมทั้งหลาย มีทานเป็นต้น, พระมหาสัตว์พระโพธิสัตว์เป็นผู้ยอดยิ่งเพราะสูงกว่าสัตว์ด้วยการประกอบคุณวิเศษมีทานและศีลเป็นต้น  ความเป็นหรือการกระทำของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเป็นบารมี กรรมมีการบำเพ็ญเป็นต้น ก็เป็นบารมี.  
สัตว์เหล่าใดประกอบด้วย “ปรมะ” ดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่า “มหาสัตว์”, บุรุษใดบำเพ็ญบารมีดังกล่าวมานี้ บุรุษนั้นชื่อว่า “มหาบุรุษ” ความเป็นหรือการกระทำของมหาบุรุษนั้น ชื่อว่าความเป็นผู้มีบารมี.

เอาล่ะ ว่ามาเสียยืดยาว ฉะนั้น พอสรุปได้ว่า ผู้ที่ปรารถนาบรรลุถึงซึ่งพระนิพพานไม่ว่าจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์ หรือพระสาวกโพธิสัตว์ ต่างก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ เช่นเดียวกัน จะแตกต่างกันก็แต่ความยิ่งหย่อนแห่งระยะเวลาของการสั่งสมบุญ

ขอถามได้ไหมคะ
คนธรรมดาต้องบำเพ็ญด้วยหรือเปล่าคะ จึงจะเข้านิพพานได้ค่ะ

ไม่ว่าใครก็ตาม หากปรารถนาพระนิพพาน ก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ด้วยกันทั้งนั้น
แล้วทศบารมีธรรม ทั้ง ๑๐ เราต้องปฏิบัติกันอย่างไรบ้างค่ะ อย่างนี้หนึ่งชาติคงไม่พอที่จะปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์หรือป่าวค่ะ
ระยะเวลาของการสั่งสมบุญ(บำเพ็ญบารมี) มีดังนี้คือ
๑ ผู้ปรารถนาความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมีอย่างน้อย ๔ อสงไขย ๑ แสนมหากัป
๒ ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมีอย่างน้อย ๒ อสงไขย ๑ แสนมหากัป
๓ ผู้ปรารถนาความเป็นพระอนุพุทธเจ้า (พระอรหันตสาวก) ต้องบำเพ็ญบารมี อย่างน้อย ๑ แสนมหากัป

อ๋อ งั้นก็ไวขึ้น
โอ้ยากๆ ทั้งนั้นเลยนะนี่ เเสนมหากัปนี่ไม่น้อยเลยนา
นั่นซิเจ้าค่ะ รู้สึกว่าแต่ละชาติแต่ละภพของพระพุทธเจ้า ท่านบำเพ็ญแต่ละบารมีมาอย่างยากลำบากมากมาย
แค่โลกกัปป์นึงนี่ ก็ยาวซะไม่มีแล้วนะน้องอุ้ย คงมีความตั้งใจที่เปลี่ยนไปบ้างไม๊น้อ
      ไม่หรอกครับ ผมน่ะถือว่าน้ำหยดลงหินซักวันมันก็กร่อน ถ้าไม่นอกลู่นอกทางซะก่อนก็ได้เป็นเเน่ๆ ครับ ^^
คำว่า กัปป์ นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงระยะเวลาไว้ว่า
“ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้น ว่าเท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี”
ภิกษุกล่าวว่า “ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ ยาว*กว้าง*สูง โยชน์หนึ่ง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินใหญ่นั้นพึงถึงการหมดสิ้นไปเพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดสิ้นไป”

“(หรือ) เหมือนอย่างว่า นครที่ทำด้วยเหล็ก ยาว*กว้าง*สูง โยชน์หนึ่ง เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้น โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อหนึ่งเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้น เมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นพึงถึงความหมดสิ้นไปเพราะความพยายามนั้น ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล”

“(หรือ) เหมือนอย่างว่า กองเมล็ดผักกาดโดยความยาว*กว้าง*สูง โยชน์หนึ่ง เมื่อล่วงไปร้อยปี พันปี ผู้วิเศษเก็บเมล็ดผักกาดไปเมล็ดหนึ่งๆ เมล็ดผักกาดหมด ก็ยังไม่สิ้นกัป”
๑๐
ส่วนกาลเวลาในคำว่า อสงไขย นั้น มีอุปมาดังนี้ว่า
“ฝนตกใหญ่มโหฬารทั้งกลางวันกลางคืนเป็นเวลานานถึง ๓ ปีติดต่อกันมิได้หยุดมิได้ขาดสายเม็ดฝน จนน้ำเจิ่งนองท่วมท้นเต็มขอบเขาจักรวาล อันมีระดับความสูงได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ที่นี้ ถ้าสามารถนับเม็ดฝนและหยาดฝนที่กระจายเป็นฟองใหญ่น้อยในขณะที่ฝนตกใหญ่ ๓ ปีติดต่อกันนั้น นับได้จำนวน (เม็ดฝน) เท่าใด อสงไขยหนึ่งก็เป็นจำนวนปีเท่ากับเม็ดฝนและหยาดฝนที่นับได้นั้น”
๑๑
และในส่วนแห่งการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ต้องการบรรลุซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ยังมีข้อแตกต่างในด้านระยะเวลาในอีกด้านหนึ่งคือ
๑ พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญากล้าศรัทธาอ่อน ย่อมมีแก่ผู้เป็น “ปัญญาธิกะ” ทั้งหลาย โดยกำหนดระยะเวลาบำเพ็ญ ๔ อสงไขย กับแสนมหากัป
๒ พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาปานกลาง ย่อมมีแก่ผู้เป็น “สัทธาธิกะ” ทั้งหลาย โดยกำหนดระยะเวลาบำเพ็ญ ๘ อสงไขย กับแสนมหากัป
๓ พระโพธิสัตว์มีผู้ปัญญาอ่อน ย่อมมีแก่ผู้เป็น “วีริยาธิกะ” ทั้งหลาย โดยกำหนดระยะเวลาบำเพ็ญ ๑๖ อสงไขย กับแสนมหากัป
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระยะเวลาแห่งการบำเพ็ญบารมียิ่งจักยาวนานออกไปอีก หากแม้นไม่ใช่พระพุทธเจ้าผู้เด่นด้านปัญญา (ปัญญาธิกพุทธเจ้า) ต้องบำเพ็ญบารมีถึง ๘ อสงไขย หรือ ๑๖ อสงไขยเลยทีเดียว ซึ่งต้องอาศัยความพากเพียรอย่างมากมาย ผ่านระยะเวลาอันยาวนานออกไปอีก ซึ่งต้องอาศัยความอดทนและพากเพียรอย่างสูงสุด กว่าที่จะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ผมอยากเป็นวิริยะจัง อิอิ ยาวนานที่สุดเเต่ว่าก็ได้โปรดสัตว์โลกนานเช่นกันครับ
Ann... says:
       พระโพธิสัตว์  คือ ผู้ที่มีเมตตามากๆ หรือถ้ามองโดยสายตาของปุถุชนทั่วๆ ไป  คือคนที่ยอมคนอื่นตลอด ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ

ไม่ใช่อย่างนั้น ที่แท้ท่านกระทำทุกอย่างที่เป็นความดีและละเว้นจากความชั่วทั้งปวง มิได้หมายถึงท่านจะต้องยอมใคร แต่หมายถึง ท่านไม่ยอมเสียสละความดี หรือกระทำความชั่ว ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามต่างหากล่ะ
เชิญพี่ชุค่ะ
หนูนิด says:
กราบนมัสการท่านปิยะลักษณ์ และพระคุณเจ้าทุกรูปค่ะ  สวัสดีทุกท่านค่ะ

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าพระโพธิสัตว์ทั้ง ๓ ประเภทนั้น มีระยะเวลาการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกัน หากเป็นพระปัญญาธิกะ (ยิ่งด้วยปัญญา) ก็เร็วที่สุด หากเป็นพระสัทธาธิกะ (ยิ่งด้วยศรัทธา) ก็รองลงมา และหากเป็นพระวีริยาธิกะ (ยิ่งด้วยความเพียร) ก็จะต้องบำเพ็ญบารมียาวนานที่สุด
ยิ่งด้วยความเพียรนี่เเหละผมว่าดีที่สุดละ ^^
ซึ่งในกรณีนี้ สำหรับเราท่านทั้งหลายหากได้พิจารณา ก็จะพึงเห็นแนวการปฏิบัติของตน ว่าเราเด่นชัดในด้านใด เราเด่นด้านปัญญา ด้านศรัทธา หรือความเพียร
มันจะต้องเด่นด้านนั้นตลอดไปเหรอ
      อยู่ที่จริตของเเต่ละคนมากกว่านะครับ ว่าเราถนัดเเบบไหน เหมือนการนั่งสมาธิครับ มีหลายเเบบหลายกอง เเท้ที่สุดก็ลงที่เดียวกัน
ทำไมปัญญาถึงเร็วที่สุด ทำไมวิริยะถึงนานที่สุดคะ ปัญญาน่าจะนานกว่าเนาะ
ธรรมดา พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญากล้า ย่อมตรัสรู้เร็วที่สุด เพราะกำลังแห่งปัญญาเจตสิกที่มีบริบูรณ์ยิ่งนี่เอง
สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้มีศรัทธากล้า มีปัญญาปานกลาง เพราะเหตุที่มีสัทธาจริต อันยังจิตให้ผ่องใสในกุศลทุกเมื่อ ย่อมโน้มน้อมไปตามกระแสธรรม จึงได้ตรัสรู้เร็วรองลงมา
แต่สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้มีวิริยะกล้า ปัญญาอ่อนนั้น เพราะเหตุที่ปัญญามีน้อยกว่า และไม่อาศัยศรัทธาอันยังจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ และมิได้โน้มน้อมจิตไปในกระแสธรรมเช่นผู้มีศรัทธา จึงทำให้ต้องอาศัยความพากเพียรพยายามมากเพื่อยังปัญญาให้บริบูรณ์ จึงต้องใช้เวลานานที่สุด

อ๋อ  เข้าใจแล้วค่ะท่าน
คนที่เป็นโพธิสัตว์นี่ เป็นแล้วจะเป็นตลอดไป หรือว่ามีการเปลี่ยนความคิดได้บ้างไม๊เจ้าคะ
      ตรงนี้เคยได้ยินท่านๆ หนึ่งว่า อยู่ที่กำลังด้วยนะครับ หากเบื่อหน่ายซะก่อนก็อาจจะเข้านิพพานก่อนก็ได้
ความตั้งใจใช่ไม๊คะน้องอุ้ย
การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น แบ่งออกเป็น ๓ ช่วงระยะเวลา ๑๒ คือ
๑ พระบารมีตอนต้น นับแต่ตั้งความปรารถนาว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า (มโนปณิธาน) ยังไม่เปล่งวาจาปรารถนา (ยังไม่มีการบำเพ็ญบารมี ๑๐)
๒ พระบารมีตอนกลาง นับแต่พระโพธิสัตว์นั้นเปล่งวาจาปรารถนาว่า “จักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลให้จงได้” แล้วก็บำเพ็ญบารมี ๑๐ พร้อมกับเปล่งวาจา (วจีปณิธาน) ปรารถนาพุทธภูมิในทุกๆ ชาติที่เกิด (ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์)
๓ พระบารมีตอนปลาย นับแต่พระโพธิสัตว์นั้นได้รับพระพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่า “จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน” จึงชื่อว่า “นิยตโพธิสัตว์”
ดังที่โยมถามว่า “พระโพธิสัตว์มีโอกาสเปลี่ยนใจหรือไม่” นั้น ตอบว่า ถ้าพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ในระหว่างการบำเพ็ญบารมีตอนต้นหรือตอนกลาง ก็ยังสามารถเปลี่ยนใจ กลับใจไม่ปรารถนาพุทธภูมิได้ ซึ่งรวม ๒ ประการแรกเรียกว่า “อนิยตโพธิสัตว์” ซึ่งแปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้ยังไม่แน่ว่าจะได้ตรัสรู้
แต่หากเข้าสู่พระบารมีตอนปลาย ภายหลังได้รับพระพุทธพยากรณ์แล้ว จะไม่เปลี่ยนความตั้งใจอีก ย่อมมุ่งหน้าสู่พุทธภูมิถ่ายเดียว เรียกว่า “นิยตโพธิสัตว์” ซึ่งแปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้มุ่งหน้าต่อการตรัสรู้อย่างแน่นอน
ซึ่งที่เรากล่าวว่าพระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยบ้าง ๘ อสงไขยบ้าง หรือ ๑๖ อสงไขยบ้างนั้น เราหมายถึงเฉพาะส่วนแห่งการบำเพ็ญพระบารมีตอนปลาย ภายหลังได้รับพุทธพยากรณ์เท่านั้น
ซึ่งในที่นี้จะได้ขยายความเพื่อความเข้าใจต่อไปดังนี้
๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะ ย่อมตั้งความปรารถนาด้วยใจ (มโนปณิธาน) ๗ อสงไขย เปล่งวาจาปรารถนา ๙ อสงไขย และบำเพ็ญบารมีภายหลังได้รับพุทธพยากรณ์แล้วอีก ๔ อสงไขย รวม ๒๐ อสงไขย
๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะ ย่อมตั้งความปรารถนาด้วยใจ ๑๔ อสงไขย เปล่งวาจาปรารถนา ๑๘ อสงไขย และบำเพ็ญบารมีภายหลังได้รับพุทธพยากรณ์แล้วอีก ๘ อสงไขย รวม ๔๐ อสงไขย
๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทวีริยาธิกะ ย่อมตั้งความปรารถนาด้วยใจ ๒๘ อสงไขย เปล่งวาจาปรารถนา ๓๖ อสงไขย และบำเพ็ญบารมีภายหลังได้รับพุทธพยากรณ์แล้วอีก ๑๖ อสงไขย รวม ๘๐ อสงไขย

แล้วการเป็นโพธิสัตว์นี่ อย่างไรว่าเป็นโพธิสัตว์ได้ล่ะเจ้าคะ
เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในที่นี้จะได้ยกเอาพระพุทธพจน์ในเรื่องว่าด้วยทักษิณาประกอบด้วยองค์ ๖ มาอธิบาย ๑๓ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ทักษิณาประกอบด้วยองค์ ๖ ประกอบ โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงบุญห้วงกุศลที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่ทีเดียว เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า เท่านี้อาฬหกะ เท่านี้ร้อยอาฬหกะ เท่านี้พันอาฬหกะ หรือเท่านี้แสนอาฬหกะไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ น้ำในมหาสมุทรย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงน้ำที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นห้วงน้ำใหญ่ทีเดียวฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก 
องค์ ๓ ของทายกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกก่อนให้ทานเป็นผู้ดีใจ ๑ กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑ ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ ๑ นี้องค์ ๓ ของทายก
องค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกในศาสนานี้เป็นผู้ปราศจากราคะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโทสะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ  ๑ เป็นผู้ปราศจากโมหะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ๑ นี้องค์ ๓ ของปฏิคาหก

ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้ขยายความว่า
บทว่า วีตราคา ได้แก่ พระขีณาสพผู้ปราศจากราคะ. บทว่า ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา  ความว่า ดำเนินปฏิปทาที่เป็นเหตุนำราคะออกไป. และเทศนานี้ เป็นเทศนาอย่างอุกฤษฏ์ แต่มิใช่สำหรับพระขีณาสพอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน โดยที่สุดแม้สามเณรผู้ถือภัณฑะบวชแล้วในวันนั้น ทักษิณาที่ถวายแล้วย่อมชื่อว่าประกอบไปด้วยองค์ ๖ ทั้งนั้น. เพราะว่า แม้สามเณรก็บวชเพื่อโสดาปัตติมรรคเหมือนกัน.
จากคำอรรถกถาจารย์ซึ่งขยายความพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใดก็ตามแม้ตั้งจิตเพื่อการบรรลุอริยคุณ มีโสดาปัตติผล เป็นต้น ก็ย่อมเป็นเหตุให้ทักษิณามีผลบริบูรณ์ได้ ในที่นี้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ปรารถนากระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ย่อมกระทำให้ทานของทายกบริบูรณ์ด้วยว่าตั้งอยู่ในฐานแห่งพระโพธิสัตว์ (ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่) นั่นเอง
พูดง่ายๆ ว่า พระภิกษุ สามเณร อุบาสก หรืออุบาสิกาใดตั้งปณิธานอย่างมุ่งมั่นอยู่ ว่าจักกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานอยู่ตราบใด ตราบนั้นภิกษุฯ รูปนั้น ก็ชื่อว่าตั้งอยู่ในฐานะแห่งพระโพธิสัตว์ผู้สมควรแก่ทักษิณาทาน

พระศรีอริยะเมตไตรย บำเพ็ญแบบไหนเจ้าคะ?
พระศรีอาริยะเมตตรัยบำเพ็ญเเบบวิริยะครับ
       เคยอ่านว่า  พระศรีฯ ทรงตัดเศียรบูชาพระพุทธองค์ น่าจะเป็นแบบศรัทธานะคะ  ว่าไหมคะ?
อาตมาไม่แน่ใจว่าเป็น “วีริยาธิกะ” หรือ “สัทธาธิกะ” นะ
เจ้าค่ะ
จำได้ว่าศรัทธาค่ะ
ไว้ผมจะลองไปค้นๆ มาให้อีกรอบละกาน (นานมากเเล้วความรู้นี้)
แต่พระองค์ก็บำเพ็ญนานมาก ๑๖ อสงไขย
แบบนานมากกกก กว่าจะได้
ผมจำได้ว่าวิริยะอ่าครับ ^^
เจอแล้วค่ะ "พระอนาคตวงศ์ กัณฑ์ที่ ๑
- พระศรีอาริยเมตไตร(พระอชิตเถระ)
//www.๘๔๐๐๐.org/anakot/kan๑.html#๑

ถ้าเป็น ๑๖ อสงไขย ก็ทรงเป็น “วีริยาธิกะ” นะ ๑๔
เชิญน้องเจมส์ ครับ
...N@n_n@N... says:
สวัสดีท่านอาจารย์ และพี่พี่ทุกท่านครับ

สวัสดีจ้า
เชิญคุณซุงค่ะ

ฑิตซุง says:
นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคนครับ

       หมายถึงว่า ถ้าเป็นพระปัญญาธิกะ(ยิ่งด้วยปัญญา) ถึงนิพพานเร็วที่สุด ก็จริตมีปัญญาอยู่แล้ว
เอ...แล้ว ปัญญา ในที่นี่ หมายความว่าอย่างไรค่ะ เหมือนกับทางโลกไหมค่ะ
       คำว่า ปัญญา ในที่นี้ ก็หมายถึง ความเข้าใจต่อชีวิต (ขันธ์ ๕ หรือนามรูป) นี่เอง มิได้หมายถึง ความรอบรู้ หรือความเฉลียวฉลาดแต่อย่างใด
ขอบพระคุณค่ะ
อย่างเนกขัมมะบารมี ถ้าเราไม่ได้ออกบวช เราก็อดบำเพ็ญบารมีนี้หรือค่ะ
ทำไมโพธิสัตว์จึงมีจิตที่คิดชอบการออกบวชล่ะเจ้าคะ
      ไม่ใช่หรอก การบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การที่เราปลีกตนออกมาจากกาม จากอำนาจครอบงำของกามคุณอารมณ์
      เช่น ไม่ไหลไปตามกระแสบริโภคนิยม ความหรูหราฟุ่มเฟือย ไม่ติดในลาภสักการะ จะดู ฟัง บริโภคสิ่งใด ก็พิจารณาเห็นคุณ-โทษด้วยปัญญา ไม่หลงติดเพลิดเพลินไปกับสิ่งนั้น นี่ก็เรียกว่า เป็นเนกขัมมะ การหลีกออกจากกามแล้ว

ดังนั้น เนกขัมมะ=ประพฤติพรหมจรรย์รึเปล่าครับ
คำว่า เนกขัมมะ แปลว่า การปลีก หรือการหลีกออกจากกาม
ขอบพระคุณ พระคุณเจ้า ขอรับ
ค่ะ
กาม=?
คำว่ากาม มี ๒ ความหมาย คือ ๑ วัตถุกาม และ ๒ กิเลสกาม
       คำว่า วัตถุกาม หมายถึง สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ความปรารถนาทั้งปวง อันได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันใด อันเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ความปรารถนา เหล่านี้ล้วนเรียกว่า วัตถุกาม ทั้งสิ้น
      ส่วนกิเลสกาม หมายถึง กิเลสในใจเราที่มีความยึดมั่นต่อกามคุณอารมณ์นั้นนั่นเอง

ขอบพระคุณพระอาจารย์ค่ะ
       ฉะนั้น การปลีกออกจากกาม ก็หมายถึง การออกไปจากสิ่งที่เรามีความหลงใหล ติดใจรักใคร่ เมื่อเราหลงใหลต่อสิ่งใด สิ่งนั้นนั่นล่ะ ก็เป็นวัตถุกามสำหรับเรา ที่เราต้องหลีกห่าง จนกว่าจิตใจของเราจะมีความเข้มแข็งเพียงพอต่อสิ่งนั้น สามารถคลายความติดหลงต่อสิ่งนั้นเสียได้นั่นล่ะ เราก็ไม่จำต้องหลีกออกจากสิ่งนั้นอีก เพราะมันไม่ใช่วัตถุกามสำหรับเราอีกต่อไป เพราะเราไม่มีกิเลสกามต่อมันอีกนั่นเอง
ค่ะ
กิเลสทำให้เกิดโมหะ ความหลง นั้นเอง
ห้องสนทนา นี่เขาจำกัดจำนวนสมาชิกกี่คนคะเนี่ย  ใครพอทราบบ้าง
ข้างบนเขียน ๑๙ ค่ะ
ตอนนี้มี ๑๙ คนค่ะ
มีจำกัดด้วยเหรอ
ตอนนี้ ดึงสมาชิกไม่เข้าอ่ะ สงสัยได้ ๑๙ คน เท่านั้นเหรอ
ห้องสนทนาจำกัดจำนวนสมาชิกด้วยล่ะคะ ได้ ๒๐ คน

แล้วการช่วยเหลือคนอื่น ไม่ได้เป็นการก่อเวรก่อกรรมกันขึ้นอีกหรอค่ะ
       การช่วยผู้อื่น ก็เป็นบารมีอย่างหนึ่งที่ต้องบำเพ็ญ เพื่อละกิเลส และความเห็นแก่ตัวทั้งปวงที่ตนมีอยู่
      คือ กำลังงงๆ ว่า พอเราช่วยเขา เขาก็อยากจะช่วยเราในภายหน้าเช่นกัน ก็เหมือนเราไปผูกพันธ์อะไรกับเขาไว้แล้ว อย่างนี้น่ะคะ
คือ ต้องไม่ทำกรรมดำกรรมขาว ถึงจะหลุดพ้นได้เท่านั้น เช่นนั้นเหรอคะ
       เราช่วยเขา เขาก็อาจมีจิตคิดที่จะช่วยเรา แต่เมื่อเราเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว ใครจะตามไปผูกพันธ์เราหรือช่วยเราอยู่ได้ล่ะ
       อีกนิดหนึ่งนะ
       และการบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ นั้นจะต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ขั้นคือ บารมีขั้นสามัญ ขั้นอุปบารมี และขั้นปรมัตถบารมี เป็นเหตุให้บารมีที่ต้องบำเพ็ญทั้งสิ้น รวมแล้วมี ๓๐ ถ้วน
๑๕
       คนไทยนิยมเรียกว่า บารมี ๓๐ ทัศ แต่ที่จริงแล้ว ใช้คำไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะคำว่า ทัศ มาจากภาษาบาลีว่า "ทสะ" ซึ่งแปลว่า ๑๐ ควรกล่าวว่าบารมี ๓๐ ถ้วนมากกว่า

เชิญน้องเก่งค่ะ
อุเบกขา เถอะพี่น้อง ทั้งสอง พบกันครึ่งทางดีกว่า says:
สวัสดีคับ ผมชื่อเก่งนะครับ

       เรื่องเมื่อกี้จบกันหรือยังเอ่ย ใครมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโพธิสัตว์ และทศบารมีอีกบ้าง
        นมัสการลาพระคุณเจ้า ผมไปก่อนนะครับ พอดีที่นี่ดึกมากแล้ว ลาท่านอื่นๆ ด้วยนะครับ ขอบคุณคับพี่เป้
หวัดดีจ้า
แถวบ้านยังเช้าอยู่เลย ดึกไงอ่ะ
เอ่อ ที่ผมอยู่จะตีหนึ่งแล้วครับ
อ้อ  เมลเบิร์นแน่ะ
ใครทำเมล์ไหม้ (เมล์เบิร์น)
๕๕๕๕ เป้?????
       ในการแบ่งระดับของบารมีว่าจะเป็นบารมีชั้นสามัญ อุปบารมี(บารมีอย่างยิ่ง) หรือปรมัตถบารมี(บารมีชั้นสูงสุด)นั้น ในอรรถกถาท่านอธิบายไว้หลายนัย ๑๖ แต่นัยหนึ่งที่นิยมกันก็คือ
       หากเป็นการบำเพ็ญบารมีโดยเป็นเหตุแห่งการเสียสละ เช่น การบริจาคบุตรภรรยาหรือทรัพย์เป็นต้น ก็เป็นทานบารมีชั้นสามัญ
       ถ้าเป็นอุปบารมี ก็คือการบำเพ็ญบารมีโดยเป็นเหตุแห่งการเสียสละ หรือบริจาคอวัยวะของตน ก็เป็นทานอุปบารมี
       ถ้าเป็นปรมัตถบารมี ก็เป็นการบำเพ็ญบารมีโดยเป็นเหตุแห่งการเสียสละซึ่งชีวิตของตนได้ อย่างนี้ก็เป็นทานปรมัตถบารมี เป็นต้น นั่นเอง

คือ ยอมตายแทนใครก็ได้ ใช่ไหมค่ะ
หมายถึง อวัยวะนั้นต้องใช้งานอยู่ใช่ไม๊เจ้าคะ แล้วอย่างบริจาคเลือดล่ะ
ต้องสม่ำเสมอด้วย ไม่ใช่บริจาคชั่วครั้งชั่วคราวนะคะ
สุขใดไม่เท่าสุขที่ใจสงบ says:
ถ้าบริจาคเลือดไม่ได้ล่ะคะ น้ำหนักและอายุไม่ถึงควรทำอะไรแทน

       การบริจาคโลหิต ถือเป็นบุญมหาศาล ในชั้นทานอุปบารมีเลยทีเดียว เพราะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา
โห ทำไปได้แค่ ๔ ครั้งเอง แล้วเลือดไม่ถึง เสียดายจัง
แล้วถ้าช่วยงานบริจาคโลหิต เช่น ช่วยเสริฟน้ำให้ผู้มาบริจาคโลหิตได้บุญไหมคะ
       ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจในการจำแนกระดับแห่งบารมีทั้ง ๓ นี้อีกครั้ง เช่นว่า ในด้านศีลบารมี ถ้ายอมสละทรัพย์เพื่อรักษาศีลของตนไว้ ก็เป็นบารมีชั้นสามัญ ถ้ายอมสละอวัยวะน้อยใหญ่เพื่อรักษาศีลไว้ ก็เป็นอุปบารมี ถ้ายอมสละชีวิตของตนได้เพื่อรักษาศีลไว้ให้บริสุทธิ์ ก็เป็นปรมัตถบารมี
      เช่น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่าย ให้ชีวิตเป็นทานเป็นอาหารแก่พราหมณ์ผู้มาขอได้ อย่างนี้เป็นทานปรมัตถบารมี เป็นต้น
๑๗
ค่ะ
เอ แล้วสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อกินเนื้อล่ะ เราจะรู้ได้ไงว่าเขากำลังบำเพ็ญอยู่
        แล้วการที่คนอิสลามระเบิดพลีชีพ โดยการคิดว่าทำเพื่อพระเจ้าล่ะคะ ในนี้ ถือว่าเป็นทาน หรือเป็นบาป
นั้นเขาทำเพื่อฆ่าคน บาปมหันต์
        แต่ว่าในความเข้าใจของเขา คือการคิดว่าสิ่งนั้นเป็นการทำดี แบบนี้เขาบาปไหมอ่ะคะ
อิสลามเป็นบาปหรือบุญ ขึ้นอยู่กับแนวคิดของศาสนา
อ้าว
เอ แล้วที่เขาคิดว่าเป็นบุญ ก็เป็นบุญงั้นเหรอ  เอาอะไรมาวัด
ใช่  ถ้าคิดแบบเราก็บาป แต่เขาก็นับถือศาสนาของเขา เขาว่าเขาทำถูก
หรอคะ
       ฆ่าคน ก็บาปทั้งสิ้นนะคะ  ไม่ว่าจะศาสนาไหนๆ  เป็นการตัดรอนชีวิต เบียดเบียนคน  นั้นเพราะความเชื่อของศาสนาของเขา
        ค่ะ แต่ถ้านั่นเป็นการเข้าใจผิด ก้อถือว่ามีอวิชชาครอบงำอยู่  เราจะเรียกเช่นนี้ได้ไหมค่ะ
       การจะเป็นบารมีได้นั้น ต้องมีเป้าหมายเพื่อการเกื้อกูล ไม่เบียดเบียนบุคคลใด และมีเจตนาเพื่อการชำะล้างจิตใจของตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสเท่านั้น
      เป็นไปเพื่อรักษาศีล และให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังสิ่งใดใดตอบแทน ให้ด้วยความละแล้วซึ่งตัวตนของเรา และแลเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
เชิญน้องปรุงค์ค่ะ
[c=#๐๐๘๐FF] Pagorn says:
ครับ

กราบนมัสการพระอาจารย์ทั้งหลายครับ วันนี้สนทนากันเรื่องใดหนอ
      วันนี้เรากำลังสนทนากันเรื่อง ทศบารมีธรรม มี ๑๐ ประการ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา และเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ ใครสงสัยอะไรก็สอบถามพระอาจารย์ได้นะคะ
ครับผม
ครับผม
เช่นนั้น says:
สวัสดีครับ สหายธรรมทุกท่าน

      มีใครอยากถามอะไรเพิ่มเติมในเรื่องเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์และบารมีบ้างหรือเปล่าคะ
      ค่ะ คือถ้าเราช่วยคนหนึ่ง แล้วมีผลต่ออีกคนหนึ่งในทางไม่น่าพอใจสำหรับเขา อย่างนี้ควรอุเบกขาไม่ช่วยดีไหมค่ะ 
       ต้องดูว่า การกระทำนั้นเป็นกุศลหรือไม่ เช่นว่า ไม่มีโทษ และเป็นสิ่งมีประโยชน์ใช่หรือไม่
การอุเบกขานี่ คืออย่างไรหรือเจ้าค่ะ ไม่ใช่นิ่งดูดาย แต่ให้ปล่อยวาง
       การวางอุเบกขา หมายถึง การวางเฉยเนื่องด้วยปัญญาพิจารณาแล้วว่า เราควรวางเฉยเพื่อให้สิ่งทั้งหลายดำเนินไปตามกรอบหรือแนวทางแห่งธรรม คือ ความถูกต้องดีงาม
       เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจจับ เราก็ไม่เข้าไปติดสินบน เพื่อให้เขาพ้นจากโทษ เป็นต้น แม้จะเป็นญาติของเรา อย่างนี้เรียกว่า อุเบกขา หรือการวางเฉยด้วยปัญญา

อ๋อครับ
ค่ะ
เราควรวางเฉยใช่ไหมคะ พระอาจารย์
       เราควรอนุเคราะห์ต่อทุกคน เท่าที่จะเกิดประโยชน์และเป็นไปได้ ซึ่งไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ใครๆ แม้แก่ตัวเราเอง และไม่ละเมิดต่อธรรม
ครับ
       อันนี้ผมขอนอกเรื่องอีกเรื่องนะครับ *หากตำรวจไปฆ่าคนร้ายที่ไปฆ่าคนมาอีกทีหนึ่ง ถามว่าตำรวจจะได้กุศลหรือไม่ครับ หรือจะได้บาปรึป่าวครับ

ตำรวจไม่บาป  แต่เป็นกรรมต่อเนื่องกัน
       การฆ่าไม่ว่าจะฆ่าใครหรือสัตว์ใดก็บาปทั้งสิ้น แต่ในส่วนแห่งเจตนาที่หวังดี เช่น ต่อประชาชน อันนั้นก็เป็นส่วนแห่งบุญประการหนึ่ง ซึ่งแยกกันออกไป ไม่ปะปนกัน
งั้นบุญก็ส่วนบุญ บาปก็ส่วนบาปสิเจ้าคะ
แล้วตำรวจจะมีบาปติดตัวหรือไม่ครับ
คุณปรุง การฆ่าไม่ว่าจะฆ่าใครหรือสัตว์ใดก็บาปทั้งนั้น
อ๋อครับ เข้าใจแล้วครับ
ขอนอกเรื่องนิดนึงนะคะ การที่มีอคติกับครูบาอาจารย์ที่ไม่ดี(คนชั่ว) บาปไหมคะ
การมีอคติก็เป็นอกุศลอยู่แล้ว บาปอยู่แล้ว
       คำว่า อคติ หมายถึง การกระทำทุจริต ไม่ตรงไปตรงมา เพราะความลำเอียงที่มีในใจ ๑๘ แต่ถ้าในคำที่โยมใช้เป็นคำถาม น่าจะหมายถึง การมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อครูอาจารย์บางคนมากกว่า ซึ่งการมีความรู้สึกที่ไม่ดี ไม่ว่าต่อใคร ก็ถือเป็นโทสะด้วยกันทั้งสิ้น
อ๋อโทสะจริตนี่เอง
      การมีอคติ ไม่ดีกับตัวเราอยู่แล้ว ให้เรารู้ตัวค่ะ และไม่ควรตัดสินว่าใครดี ไม่ดี ด้วยบรรทัดฐานของเรา
      อาจารย์คนนั้นที่ว่าไม่ดี เขาอาจดีในสายตาคนอื่นก็เป็นได้ ตัวเรานี่แหละสำคัญ ต้องระงับโทสะไม่ให้เกิดขึ้นจากผัสสะที่มากระทบให้ดี จะดีที่สุดค่ะ ตามที่พระอาจารย์บอกว่าเป็นโทสะน่ะคะ
หมดเวลาชีวิตฉันให้เธอ....  +  ก้อนหิน กับ ตะวัน  says:
ครับ กิเลส ถ้าเราตัดได้คือสิ่งที่ดีที่สุดปะครับ

ใช่สิ
       การตั้งจิตอธิษฐาน เช่นว่า อยากให้ชาติหน้ามีปัญญา จะได้ตามที่ตั้งไว้ แน่นอนหรือเปล่าเจ้าคะ หรือว่าเราต้องสั่งสมอุปนิสัย ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญาด้วย
       ขึ้นอยู่กับผลแห่งกรรมนั้นว่า จะให้ผลทันทีในชาติหน้าหรือไม่ ซึ่งไม่แน่เสมอไป
      อย่างนี้ ถ้าดูในแต่ละข้อ อย่างอยากให้มีปัญญา เราควรสะสมอะไรไว้ให้เป็นเหตุปัจจัยบ้างเจ้าคะ
อยากมีปัญญา ก็ต้องหมั่นพิจารณาธรรม ศึกษาธรรมจากนักปราชญ์ท่านผู้รู้
สะสมนิสัยเพื่อเป็นเหตุของนิสัยที่จะเป็นในชาติหน้า ใช่ไม๊เจ้าคะ
ไม่ต้องชาติหน้าหรอก เริ่มตั้งแต่บัดนี้เลย
งั้นคือ ทำเมื่อใดก็ได้เมื่อนั้นเลย
ใช่แล้ว
เอาล่ะนะสำหรับค่ำคืนนี้ คงจะพอได้ประโยชน์พอสมควร
ในที่สุดนี้ อาตมาขอฝากพระพุทธศาสนสุภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
สพฺเพสํสหิโตโหติ
คนดี (ย่อม) บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน

ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
สาธุค่ะ
และพระพุทธภาษิตว่า


จเชธนํองฺควรสฺสเหตุองฺคํจเชชีวิตํรกฺขมาโน ๑๙
องฺคํธนํชีวิตญฺจาปิสพฺพํจเชนโรธมฺมมนุสฺสรนฺโต
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
และเมื่อระลึกถึงความถูกต้อง ก็พึงสละทั้งทรัพย์อวัยวะชีวิตหมดสิ้นเพื่อรักษาธรรมไว้


ค่ะ
ลาญาติโยมทุกคนล่ะนะ
กราบลาพระอาจารย์ค่ะ
กราบลาพระอาจารย์และทุกๆ ท่านค่ะ
นมัสการท่านเอกชัย และขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคนที่ได้เข้าร่วมสนทนาธรรมกันในคืนนี้
กราบลาพระอาจารย์ครับ
      พึงสละทั้งทรัพย์อวัยวะชีวิตหมดสิ้น เพื่อรักษาธรรมไว้ ก็คือรักษาจิตที่ดีงามไว้ใช่ไม๊เจ้าคะ
รักษาจิตได้ ก็ชื่อว่ารักษาได้แล้วทุกอย่างทุกประการ
กราบลาพระอาจารย์ค่ะ
กราบขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ    
กราบนมัสการพระคุณเจ้าทุกรูป
ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
สวัสดีทุกท่านค่ะ
นมัสการลาพระอาจารย์ครับ
สวัสดีทุกท่านเช่นกันครับ กราบนมัสการพระอาจารย์ด้วยครับ
กราบนมัสการครับ
เจอกันอาทิตย์หน้านะคะ
......................................



๑   พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
๒ ฎีกาของพระคัมภีร์ชินาลังการ
๓   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ [ปณิธาน แปลว่า การตั้งความปรารถนา]
๔   ขุ.ชา.อ.๕๕ หน้า ๓๓-๔๒, อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๙๖-๑๐๓ (ทูเรนิทาน) พุทธการกธรรม ๑๐
๕   ขุ.เถร.อ.๕๐ หน้า ๑๔-๑๘
๖   สํ.นิ.อ.๒๖ หน้า ๔๒-๔๓
๗   ขุ.จริยา.อ.๓๔ หน้า ๕๗๐-๕๗๑
๘   สํ.นิ.๑๖/๔๓๐/๑๘๐ ปัพพตสูตร
๙   สํ.นิ.๑๖/๔๓๒/๑๘๑
๑๐     ขุ.จริยา.อ.๓๔ หน้า ๒๑
๑๑     มุนีนาถทีปนี
๑๒ ชินกาลมาลีปกรณ์
๑๓ องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๐๘/๓๐๖-องฺ.ฉกฺก.อ.๓๖ หน้า ๖๓๐
๑๔ เค้าเรื่องจาก ม.อุ.๑๔/๗๐๗/๓๔๒, ม.อุ.อ.๒๓ หน้า ๓๙๘ (อรรถกถาทักษิณาวิภังคสูตร) ปรากฏเรื่องใน ปฐมสมโพธิกถา
๑๕     ขุ.จริยา.๓๓/๓๖/๔๐๖-ขุ.จริยา.อ.๗๔ หน้า ๕๕๙-๕๖๙, ขุ.ธ.อ.๔๐ หน้า ๑๑๗, ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๑๓
๑๖     ขุ.จริยา.อ.๗๔ หน้า ๖๔๖-๖๔๘, ขุ.ชา.อ.๕๕ หน้า ๗๖-๗๙, อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๑๓๘-๑๔๒
๑๗     ขุ.อป.๓๓/๑๐๑/๔๐๖-ขุ.อป.อ.๓๔ หน้า ๒๑๙ สสบัณฑิตจริยา (ว่าด้วยประวัติครั้งเกิดเป็นกระต่าย)
๑๘     ที.ปา.๑๑/๑๗๖/๑๓๙ , มาติกาโชติกะ ธัมมสังคณีรูปัตถนิสสยะ(ทสฺสนติก)
[อคติ ๔ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติเหล่านี้ พึงประหาณโดยโสดาปัตติมรรคนั่นเอง (พึงสังเกตว่าอคติเหล่านี้ไม่ได้มุ่งหมายเอาองค์ธรรมที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ โดยตรง คงมุ่งหมายแต่เพียงได้ปฏิบัติกายวาจาผิดจากศีลธรรมโดยอาศัย โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูลเท่านั้น แต่การปฏิบัติผิดเหล่านี้นำไปสู่อบายได้ ฉะนั้นพึงประหาณโดยโสดาปัตติมรรค)]
๑๙     ขุ.ชา.๒๘/๓๘๒/๙๙




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2551 15:14:23 น.
Counter : 956 Pageviews.  

นิยาม ๕ ตอนที่ ๓ สาระสำคัญของกรรมนิยาม 510824 ตอนจบ

ธรรมะOn M. เรื่อง นิยาม ๕ ตอนที่ ๓ สาระสำคัญของกรรมนิยาม
(วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๑) ตอนจบ

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร

เป้ says:
นิมนต์ท่านมหาสุเทพเจ้าค่ะ

Moon says:
อือๆๆๆ เอาพอประมาณนะ และก็ถามแบบธรรมดาๆ สามัญ อย่าให้ลึกจนต้องขุดหลุมตอบ และอย่าให้สูงจนต้องปีนกะไดตอบ

เดี๋ยวขอแนะนำพระอาจารย์วิทยากรก่อนเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโรเจ้าค่ะ

ถวายคารวะครับ พระมหาสุเทพ อุปสมบท ๑๔/๕/๒๕๔๐
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านมหาสุเทพครับ กระผม พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร วัดญาณเวศกวัน อุปสมบท ๒๖ ธ.ค.๒๕๔๒ ครับ

แต่เกิดปีเดียวกัน ๒๕๑๖
งั้นเรียกหลวงน้อง โดยพรรษา
นิมนต์ครับ เรียกอย่างไรก็ได้
เรียกท่านปิยะลักษณ์ดีกว่าครับ
จะเริ่มดึงสมาชิกเข้าร่วมสนทนานะเจ้าคะ
อ้าวๆ
ร้อนเหรอ
พระใหม่ยังไม่พร้อม
เอาล่ะ โยมเป้ พร้อมแล้ว

เชิญน้องแอมค่ะ
walk says:
นมัสการค่ะ พูดไม่ถูกนะค่ะ ขออภัย

เชิญพี่ปานค่ะ นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
นมัสการท่านเอกชัยครับ
พระเอกชัยEmptiness does not mean Nothingness says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

เชิญคุณคนขับช้าค่ะ
คนขับช้า-preephas@hotmail.com says:
ครับ

วันนี้คุยเรื่องอะไรดี
นิมนต์เรียนถามท่านพระอาจารย์มหาสุเทพ ขยายความคำว่า “กรรมนิยาม” ครับ
หมัดหนักนะท่านอาจารย์
การกระทำ/ผลของการกระทำกำหนดให้เป็นไปครับ

แล้วมันจะให้ผลได้อย่างไรครับ
เชิญคุณต่ายค่ะ
RaBbIt:ความรู้เจ้ายังด้อย เร่งศึกษา says:
ค่ะ
เย้ วันนี้มีบุญ ได้เห็นพระคุยกัน
ผมว่านะ เราใช้คำว่า "ให้ผล" จนเคยชิน ถ้าจะให้ตรงๆ ควรใช้คำว่า "เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้..." ดีกว่า
งั้นก็ต้องมีเหตุปัจจัยอื่นร่วมด้วยสิเจ้าคะถึงจะเกิด
แม่นแล้ว
งั้น ถ้าไม่อยากให้สิ่งไม่ดีเกิดขึ้น ก็พยายามตัดเหตุปัจจัยร่วม (ของเหตุการณ์ที่ไม่ต้องการ)
ยากนะโยม เพราะเราอยู่ร่วมกับคน สิ่ง สัตว์ อื่นๆ อีกมาก
อย่างเช่นว่า คนชอบตกปลา วันหนึ่งเขาถูกเหล็กเกี่ยวที่ปาก ทำให้ปากแหว่งไป เขาก็บอกว่าเป็นกรรมเก่าที่เขาชอบตกปลา อย่างนี้จะอธิบายอย่างไรครับ
ถ้าถือตามพระว่า ก็ต้อง "ไม่ประมาท" ถ้าถามกระผม กระผมจะตอบว่า ไม่ทราบหรอกว่าเป็นวิบากของกรรมเก่าหรือเปล่า เพราะไม่ได้บรรลุ “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ”
แต่เอาแค่กรรมปัจจุบันที่เขาประมาท หรือประสบเหตุการณ์เช่นนั้นโดยการกระทำของใครอื่น ก็สามารถอธิบายความได้เข้าใจแล้ว สรุปคือ ถึงไม่โทษกรรมเก่า ก็พอจะเข้าใจกันได้

อย่างนี้ถ้าบอกว่า พระเจ้าทำ ก็เข้าใจได้เหมือนกันสิ
เข้าใจได้ แต่ผิด-ถูก อีกเรื่องนะ
แล้วอย่างไรจึงจะถูกล่ะเจ้าคะ หลักความคิดน่ะเจ้าค่ะ
คนส่วนใหญ่ที่เขาสงสัย เขาสงสัยว่าการที่เขาชอบตกปลา มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เขาต้องถูกเหล็กเกี่ยวปากได้หรือไม่ หรือกรรมนั้นส่งผลให้เขาถูกเกี่ยวปากจริงหรือไม่
กรรมนั้นส่งผลให้เขาถูกเกี่ยวปากจริงหรือไม่ อืมม.. จริงหรือเปล่า
ก็เป็นความสงสัยที่ต้องอธิบายกันอีกนาน เพราะคน (ไทยส่วนใหญ่) ชอบสงสัย คือมีนิสัยสงสัย แต่ไม่ชอบศึกษา
ผมแรงไปเปล่าเนี่ยะ

เป็นเพราะต้องการจะศึกษาเลยสงสัย ถ้าไม่สงสัยก็คงหลงเชื่อไปเลย ไม่ถามอีก
เอ เราแรงไปป่าวเนี่ย

บางคนเขาก็เชื่อว่า เป็นเพราะกรรมอันนั้นอันนี้ให้ผล อย่างนี้เราจะอธิบายแก่ตัวเราอย่างไร
ตอบแบบเจาะจงว่ากรรมนั้นกรรมนี้คงไม่ถูกครับ ผิดหลักพระพุทธศาสนา
ถ้ารวมกรรม ก็แยกแยะกันไม่ถูกซิค่ะ
....
เชิญน้องปรุงค่ะ

[c=#๐๐๘๐FF] Pagorn[/c] says:
ครับ

เมือ่กี้ถึงไหนกันแล้วเอ่ย
กรรมค่ะ พี่เป้
การส่งผลของกรรม
ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วรึป่าวครับ?
ถ้าสามารถเสริมความเข้าใจในสัปดาห์ที่แล้วได้ ก็จะเป็นการดี เมื่อสักครู่สอบถามท่านมหาสุเทพ เรื่องเกี่ยวกับการให้ผลของกรรม ว่ากรรมให้ผลได้อย่างไร
ครับ
บางคนพึ่งเคยเข้ามานะค่ะ เลยไม่ทราบเรื่องสัปดาห์ที่แล้ว ขออนุญาติร่วมฟังค่ะ
เช่นกันครับ โชคดีที่ผมอ่านมาแล้วบ้าง
ท่านมหาสุเทพเงียบไปเลย สงสัยหลับไปแล้วมั้ง
สนทนากันถึงกี่โมงครับ
ประมาณสี่ทุ่มค่ะ
ครับ
มีใครมีคำถามอื่น ที่อยากถามไม๊คะ ถามได้เลยนะ
งั้นผมขอถามเลยแล้วกัน ....เราสามารถล้างบาปได้หรือไม่ครับ
ล้างบาปที่ทำมาแล้วไม่ได้ แต่สามารถแก้ไขกรรมในปัจจุบันได้
แก้ไขการกระทำที่กำลังทำใช่ไม๊เจ้าคะ
การแก้ไขกรรมในปัจจุบัน เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขผลของกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ทุกขณะให้แปรรูป หรือเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นได้
เช่น กรรมเก่าทำให้เราเจ็บป่วย เราก็แก้ไขกรรม คือ การกระทำในปัจจุบันด้วยการทานยาให้หายจากอาการที่เป็นอยู่ เป็นต้น

มันเป็นวิทยาศาสตร์จ๋า จังเลยเจ้าค่ะ เอาแนวจิตใจ
เชิญคุณนัฐค่ะ
น.น้ำใจดี (FM๘๙.๒๕Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

แล้วความผิดเก่าหล่ะค่ะ
แล้วเราสามารถทำให้กรรมเก่าที่ทำไปแล้วพอทุเลาลงได้หรือไม่ครับ
กรรมเก่าที่ทำไปแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ผ่านไปหมดแล้ว จะย้อนกลับไปแก้ไขกรรมในอดีตได้อย่างไร
ที่ต้องทนทุกข์เพราะการกระทำของตัวเองน่าจะเป็นตัวอย่าง เพราะแก้ไม่ได้ เลยมีความผิดติดตัวเจ้าค่ะ
อืมมม ต้องเมตตาตนเองก่อนนะ ให้อภัยตัวเองก่อน
สิ่งที่บุคคลจะสามารถกระทำได้อยู่ทุกขณะ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขการใช้ชีวิตในปัจจุบันเท่านั้น และการกระทำในปัจจุบันนี้เองที่เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว ย่อมจะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ แม้ว่ากรรมในอดีตจะส่งผลอยู่ก็ตาม แต่กรรมที่ทำในปัจจุบันย่อมจะให้ผลประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่างๆ ไปในทางที่ดีขึ้น
ขอบพระคุณเจ้าค่ะ
ขอบพระคุณครับ
แต่กรรมที่เราทำบางอย่าง ให้ผลให้รู้ซึ้งถึงสัจธรรมและมันทิ้งเวลา ปะปนกับการงานเสียหายไปทั่วกัน
และต้องเข้าใจว่า การให้ผลของกรรมนั้น มิใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ลอยๆ แต่ก็อาศัยเหตุปัจจัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนี่เอง เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อบุคคลนั้นอยู่ทุกขณะ
เช่น มาในอุปนิสัยใจคอของเรา ความเป็นตัวเรา ความรู้ความสามารถ ทัศนคติที่เรามีต่อโลก ระดับสติปัญญา หรืออะไรต่างๆ เหล่านี้ที่ติดตัวเรามา ย่อมเป็นภาพสะท้อนอันเป็นผลที่เกิดจากอดีตกรรม ไม่ว่าจากภพนี้หรือภพก่อนๆ ก็ตาม ซึ่งจะสั่งสมความเป็นอัตตลักษณ์ของบุคคลๆ นั้น และแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ เป็นเหตุให้วิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป
การที่คนเรามีแนวทางการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ล้วนขึ้นต่อโอกาส ความรู้ความสามารถ และการตัดสินใจของแต่ละบุคคลที่จะเลือกกระทำการต่างๆ ตอบสนองต่อสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องในรูปแบบที่แตกต่างกัน นั่นเพราะอะไร ?
ก็ด้วยเหตุว่าความเป็นตัวตนของบุคคลนั้นนั่นเอง ที่ผ่านประสบการณ์และอดีตกรรมมาไม่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงวิถีชีวิตและความเจริญของบุคคล ที่นับวันจะยิ่งแสดงตัวออกมาเป็นภาพลักษณ์ในความเป็นบุคคลๆ นั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
ฉะนั้นบุคคลใดผ่านอดีตกรรมที่ดีมา สร้างเหตุปัจจัยแห่งความเจริญมา ลักษณะอุปนิสัยที่นำไปสู่การดำเนินชีวิต ก็ย่อมชักพาบุคคลนั้นไปสู่สังคมที่ดี มีมิตรดี มีแนวความคิดทัศนคติที่ดี มองโลกอย่างชาญฉลาด สามารถอาศัยเหตุปัจจัยที่มีอยู่เกื้อหนุนชีวิตให้ได้รับความสุขได้
การที่เราเลือกปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล ย่อมจะมีผลต่อชีวิตของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้น ดังนี้แล้วเราจะกล่าวว่า ตัวเราจะเป็นไปอย่างไร ล้วนขึ้นต่ออดีตกรรมที่เคยกระทำมาอย่างนั้นหรือ ?

ก็ปัจจุบันด้วยสิ ที่เรียกว่าเป็นปัจจัย
โดยแท้ตัวเรานี่ล่ะ ที่เป็นผลรวมของอดีตกรรมที่เรากำลังเป็นอยู่ทุกขณะ ศักยภาพที่เรามีอย่างเต็มเปี่ยมนั่นล่ะคือวิบากขันธ์อันเป็นผลจากอดีตกรรมที่สร้างสมขึ้นเป็นตัวเรา
ฉะนั้น การกระทำการแสดงออกที่เรากำลังกระทำอยู่ทุกขณะในขณะนี้ ก็กำลังจะเป็นอดีตกรรมที่จะส่งผลแก่เราต่อไปในอนาคต
ฉะนั้น เราทุกคนจึงมีหน้าที่และศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่างๆ ในชีวิตได้ด้วยตัวเราเอง เมื่อเราอาศัยสติปัญญาที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างสิ่งดีๆ ให้แก่ชีวิตของเราอยู่เสมอ

หากจะกล่าวว่า ตัวเราเลือกกระทำสิ่งใดๆ เผชิญสิ่งใดๆ ล้วนเป็นผลที่มาจากอดีตกรรม ก็พอจะบอกได้ว่าเป็นความจริงเช่นนั้นหากเราเข้าใจความหมายของอดีตกรรมที่กำลังส่งผลอยู่ทุกขณะว่า คือ ความเป็นตัวเรา ความเคยชิน(วาสนา)ของเรา
วิธีการตัดสินแก้ไขปัญหาของเรา เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากอดีตกรรม คือการสั่งสมอุปนิสัยใจคอ และวิถีการดำเนินชีวิตที่แต่ละคนก็ไม่ทราบว่า ทำไม ? เราจึงต้องเลือกปฏิบัติเช่นนั้น
อืมม แล้วทำไมล่ะ เราถึงทำสิ่งที่เราทำนี้
นั่นสิครับ
แต่นั่นล่ะ ก็คืออดีตกรรมที่ส่งผล คือ ตัวเราที่กระทำต่อสิ่งต่างๆ จนเคยชิน กลายอุปนิสัยใจคอเป็นเหตุให้ดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่แตกต่างกัน มีชีวิตที่แตกต่าง มีสังคมที่แตกต่าง มีการตัดสินใจที่แตกต่าง นี่ล่ะ อดีตกรรมที่ส่งผลอยู่ทุกขณะ คือความเป็นตัวของตัวเรานี่เอง ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข หากแม้นไม่ใช้ความพากเพียรพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะควบคุมความประพฤติหรืออุปนิสัยของตน (ให้อยู่ในศีลในธรรม)
คนโดยมากไม่เข้าใจต่ออดีตกรรม คือ การกระทำในอดีตที่สั่งสมมา จึงเข้าใจไปว่า ชีวิตที่ดำเนินเป็นไปอยู่นี้ เป็นเพราะสิ่งนั้นสิ่งนี้กระทำต่อเรา
เช่น โทษกรรมในชาติแต่ปางก่อนบ้าง โทษผีสางนางไม้บ้าง โทษโชคเคราะห์บ้าง
แต่โดยแท้จริงแล้ว สิ่งที่ควบคุมความเป็นไปของชีวิตเรา ก็คือกรรมของเรานี่เอง และกรรมที่ว่าก็คือ ผลรวมของการกระทำทั้งสิ้นที่ประมวลเข้ามาเป็นตัวเรา ทั้งนิสัยใจคอ ความคิดอ่าน และวิถีการดำเนินชีวิต
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนตกแก่ผู้กระทำทั้งสิ้น คือ ผู้สร้างกรรมให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น และจะส่งผลเช่นนี้เรื่อยไปต่อชีวิตของบุคคลๆ นั้น ตราบเท่าที่บุคคลๆ นั้นไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติที่มีต่อโลก

งั้นต้องปรับความคิด แล้วทำไงถึงจะรู้ว่าควรปรับล่ะเจ้าคะ
มีคนมาใหม่ครับ
ใครเอ่ย แนะนำตัวด้วยค่ะ
เว๊บช่างภาพ-วีดีโอเข้ามาดูกันน่ะ //thanbadee.multiply.com says:
อืม ธนบดีครับผม สนทนาธรรมกันเหรอครับ

ครับ
ใช่ค่ะ เรื่องการให้ผลของกรรม
คุณธนบดี เป็นเพื่อนใครเหรอคะ

มีคนพาผมมา ในๆ ที่ผมควรจะมาครับ
ใครล่ะ
ใครพาผมมาแนะนำด้วยครับ ผมยังไม่รู้จักเขาเลย
ผมปรุงครับ
ดังตัวอย่างข้างต้น ที่ถามถึงเรื่องการตกปลา โดยแท้แล้วผู้ที่มีนิสัยดำเนินชีวิตด้วยความประมาทอยู่เสมอ ไม่เห็นในทุกข์สุขของบุคคลอื่นสัตว์อื่นจนเคยตัว การกระทำด้วยความประมาทขาดสติเช่นนั้นเป็นประจำ ก็ย่อมส่งผลให้เขาเหล่านั้นมีความประมาทเลินเล่อ ไม่อาจยับยั้งชั่งใจตนให้ตั้งอยู่ในศีลในธรรม อีกทั้งต้องข้องเกี่ยวอยู่กับวัสดุอุปกรณ์ที่อันตราย
เช่น ตะขอ ฉมวก มีด ปืน เป็นต้น รวมถึงหมู่พาลชนที่มีนิสัยใจคอโหดร้าย ไม่มีความยับยั้งชั่งใจเช่นกัน ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สิ่งที่ไม่ดีมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยิ่งกว่าบุคคลทั่วๆ ไป ที่ไม่มีโอกาสเกี่ยวข้องด้วยสิ่งของและบุคคลเหล่านี้

เขาเอาเข้าไปอยู่ในความเสี่ยงนั้นด้วย เข้าไปในเหตุการณ์ที่มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดได้
รวมถึงสภาพของจิตใจที่หยาบกระด้าง เช่น ความเป็นคนใจร้อน เป็นคนดุ เป็นต้น ก็ทำให้อะไรๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ไม่มีการยั้งคิดที่ดี ก็เป็นเหตุให้เกิดสิ่งที่ไม่ดี และความผิดพลาดพลั้งไปได้มากมาย
เรื่องกรรม เป็นเรื่องที่มันไม่จบสิ้น จนกว่าจะได้อริยมรรคใช่ป่ะครับ
ฉะนั้น หากเราพิจารณากรรมดังกล่าวมาข้างต้น ก็พอจะเข้าใจได้ว่ากรรมนั้นให้ผลได้อย่างไร วิบากและผลของกรรมนั้นให้ผลต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายได้อย่างไร
อืมม ถ้ามองเรื่องของการตกปลาแล้วโดนเบ็ดเกี่ยว คนที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมก็บอกว่า เราทำตัวเราให้ไปอยู่ในเหตุการณ์ที่เสี่ยงเองได้สิเจ้าคะ คือไม่เกี่ยวกับที่เราเคยทำผู้อื่นมาก่อนหรอก (เถียงได้)
มีคนเป็นโรคเรื้อรังแล้วรักษาไม่หาย น่าจะเป้นกรรมจากอะไรน่ะครับ
เราจะเข้าใจในเรื่องของกรรมและการให้ผลของกรรมได้ เราต้องเข้าใจเป็นพื้นฐานก่อนซึ่งย้ำแล้วย้ำอีกว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆ ได้ ต้องมีเหตุมีปัจจัยส่งทอดถึงกันเสมอ
เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ เราจะเริ่มเปิดตาของเราให้กว้าง เพื่อเรียนรู้ต่อกฏแห่งธรรม คือ ความเป็นเหตุและปัจจัย ซึ่งมีกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อชีวิตเรา และพร้อมที่จะยอมรับและแก้ไขสิ่งต่างๆ ไปในแนวทางที่ดีงามถูกต้อง
มิใช่โทษแต่เพียงว่า "เป็นกรรมเก่า เป็นกรรมเก่า" เท่านั้น
อย่างผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาเชื่อกันเช่นนั้น โดยมิได้คิดทำความเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบและถี่ถ้วนเพียงพอ เป็นเหตุให้มิได้พัฒนาสติปัญญา และแก้ไขพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้ดียิ่งขึ้น สมกับที่ตนเป็นพุทธศาสนิกชนผู้มีความเจริญ
ฐานความคิด ความเข้าใจต่างกัน เช่น มีฐานความคิดว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากกรรมเก่า ก็จะอธิบายทุกอย่างว่าเป็นผลของกรรมเก่า หรือมีฐานความคิดว่ามีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ดลให้เป็น ก็อธิบายตามฐานความเชื่อว่าเทพเจ้าดลให้เป็น ฯลฯ
แต่คำอธิบายทั้งสองด้าน ก็สามารถทำให้คนคิดว่าเป็นเหตุผลได้
ใช่ คิดได้ และก็คิดกันมานานแล้ว เชื่อกันมานานแล้ว ทีนี้มันต้องมีจุดเริ่มอย่างท่านปิฯ ว่า เริ่มที่จะศึกษา
เชื่อแต่ผลของกรรมเก่า กลายเป็นว่าเกิดมาเพื่อใช้กรรม หรือว่ามีความทุกข์เพื่อใช้กรรม
ครับพอเข้าใจแล้วครับ
บางคนก็ไม่ได้โทษกรรมอย่างเดียวด้วยครับ ยังโทษคนอื่นว่าเป็นคนมาทำร้ายเขาด้วย
ผมเองก็เคยคิดเช่นนั้นครับ
โทษไปทั่วอ่ะดิ อย่างนี้แสดงว่า คิดว่าตนเองไม่ผิด
ผมก็เคยเป็นเหมือนกัน กว่าจะใช้สติปัญญาข้ามพ้นมาได้ ก็ไม่ได้ง่ายเลยนะครับ
ผมเพิ่งรู้สึกตัวตอนนี้ล่ะครับ
หนังสือที่ดีกับมิครที่ดี..สำคัญที่คุณภาพมิใช่ปริมาณ says:
ขวัญต้องขอตัวก่อนนะ ขอโทษด้วยจริงๆ

การทำร้ายจากบุคคลอื่นก็อาศัยทั้งปัจจัยที่ตัวเราและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อโอกาส เช่น เราเข้าไปสมาคมกับคนพาล เราเข้าไปสู่สถานที่อโคจร (ที่ไม่ควรเข้าไป) เช่น บ่อน ร้านสุรา ดิสโก้เทค คลับบาร์ เป็นต้น ซึ่งก็อาศัยเหตุปัจจัยจากตัวเราที่เข้าไปข้องเกี่ยว และอาจรวมถึงบุคลิกภาพของตัวเราที่ประพฤติไม่เหมาะสมบางประการ เช่น การใช้สายตา การพูดจาโผงผาง
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยภายใน ที่เมื่อรวมกับปัจจัยภายนอกที่เราให้โอกาส หรือเปิดโอกาสให้กับสิ่งที่ไม่ดีเข้ามา เช่น การไปสู่สถานที่ๆ ไม่ดี ก็ทำให้ผลร้ายต่างๆ มีโอกาสเกิดขึ้นได้
จะเห็นได้ว่า การให้ผลของกรรมนั้นดำเนินอยู่ทุกขณะ เป็นวิบากแห่งกรรมที่ให้ผลโดยสัมพันธ์กับความประพฤติของเรา เมื่อเราเลือกตัดสินใจต่อผลของกรรมที่เกิดขึ้นอยู่ทุกขณะอย่างไร ก็จะสั่งสมเป็นตัวเรา เป็นอุปนิสัยใจคอที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราเลือกที่จะกระทำกรรมนั้นต่อๆ ไป และต่อไปไม่สิ้นสุด

ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า วัฏฏะ ๓
ดำเนินไปไม่สิ้นสุด คือ วิบาก-->กิเลส-->กรรม และหมุนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป ตราบเท่าที่บุคคลไม่มีความเข้าใจว่า กรรมและการให้ผลแห่งกรรมนั้นดำเนินไปอย่างไร ตราบนั้น บุคคลก็ย่อมจักดำเนินชีวิตไปตามความเคยชินที่สะสมมา ด้วยการยึดมั่นถือมั่น (ต่อกิเลสอาสวะที่ฝังรากลึกในจิตใจ) ว่าเป็นเราเป็นของๆ เรา โดยแสดงออกมาในพฤติกรรมและการตอบสนองสิ่งทั้งหลายอย่างไม่รู้เท่าทันว่าสภาพธรรม หรือชีวิตที่ดำเนินไปเช่นนั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ๑๐
ครับ
ฉะนั้น ขอให้เราได้เข้าใจถึงกรรมที่บุคคลกระทำและการให้ผลแห่งกรรมที่ดำเนินไปอยู่เช่นนี้ เป็นเหตุให้เกิดความสุขความทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยเรามิอาจเลี่ยงหนีได้ตราบเท่าที่เรายังคงยึดมั่นในกรรมอยู่เช่นนั้น
สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม”
๑๑ นั่นเอง
ส่วนบุคคลใดต้องการพ้นจากอำนาจแห่งอดีตกรรม หรือพูดง่ายๆ ว่า พ้นจากวิบากแห่งกรรมหรือพ้นจากกรรมเก่า ก็ต้องพ้นไปเสียจากอุปาทานความยึดมั่นต่อวิบากแห่งกรรมที่เกิดขึ้น พ้นจากอำนาจความเคยชินที่สั่งสมมาและไม่สร้างกรรมใหม่ที่ประพฤติจากวาสนาเดิม แต่กลับกระทำกิจด้วยปัญญาที่ไม่เอนเอียงไปตามความรู้สืกที่เคยยึดถือมาแต่อดีต เลือกตัดสินใจบนฐานของความรู้ซึ่งจะเปลี่ยนแนวการดำเนินชิวิตไป ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ที่รู้เข้าใจต่อสภาพธรรมอย่างแท้จริง

อย่างไรเจ้าคะ ที่จะรู้ได้ว่าที่ทำนี่ไม่ใช่ตัวตน
รู้แบบทฤษฎีไปก่อนสิว่า อะไรๆ มันก็ไม่คงทนถาวร
ทำอะไรไปงั้นๆ อย่างนั้นเหรอ
อันนี้ก็นะ
พอทำ มันก็ต้องมีเจตนา ก็ต้องเป็นกรรมแล้วล่ะ
ทำแบบมีเป้าหมายดิ ที่พระท่านเรียกว่า มีเจตนาน่ะ ตั้งเจตนาเป็นกุศล, กุศล แปลว่า ฉลาด ประกอบด้วยปัญญา ความรู้ความเข้าใจ
อย่างไหนจึงจะเรียกว่าเจตนากุศลล่ะครับ
งง
ถ้ามีเจตนาที่เป็นกุศล ก็จะได้รับกุศลวิบาก

โยมเป้ อย่ากล่าวเช่นนั้น ต้องกล่าวเป็นกรณีๆไปนะ
แต่เราก็ไม่พ้นจากกรรม คือ กุศลวิบากกรรมอยู่ดี เป้นึกถึงกิริยาจิตของพระอรหันต์น่ะเจ้าค่ะ
ต้องเข้าใจว่า ตราบเท่าที่ยังมี "ชีวิต" หนีไม่พ้นกรรม และการได้รับผลของกรรม (ตามหลักพุทธฯ)
คือ จากเดิม เสวยวิบากแห่งกรรม-->ยึดถือ(มีอุปาทาน)ในวิบากแห่งกรรมนั้น แล้วปรุงแต่งด้วยตัณหาอันเกิดจากอวิชชาความไม่รู้เข้าใจ-->แล้วสร้างกรรมใหม่โดยอาศัยความยึดถือนั้น-->เป็นเหตุให้เกิดวิบากแห่งกรรมเป็นผลอีกครั้งหนึ่ง
เปลี่ยนเป็น เสวยวิบากแห่งกรรมด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจในเหตุและปัจจัยทั้งปวงว่าดำเนินไปอย่างไร-->ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานว่าเป็นเราเป็นของๆ เรา สักว่าธรรมเท่านั้นที่ดำเนินไปตามเหตุและปัจจัย-->แล้วกระทำกิจทั้งหลายด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจในสภาพความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายว่าไม่ใช่ตัวตน

เพียงแต่ "ท่าที" ที่มีต่อกรรมและผลกรรมของคนธรรมดา กะพระอรหันต์ท่านต่างกัน
อืมม งั้นอรหันต์ทำกรรมใดๆ ก็เป็นผลส่งต่อ ตราบที่ยังไม่ปรินิพพาน แต่ท่านไม่ทำอกุศลกรรมเท่านั้น
เช่น พระพุทธเจ้า ยังคงเสวยวิบากแต่อดีตชาติหลายอย่างเลย ลองอ่านพระไตรปิฎกดูสิ จะพบเลยว่าพระองค์ตรัสไว้มากเลยถึงกรรม (บุรพกรรม) ของพระองค์
ใช่เจ้าค่ะ
แต่ท่านไม่ยึดติด (อุปาทาน) พูดภาษาบ้านๆ ก็คือ ท่านไม่ตีโพยตีพาย ประยุกต์ใช้กะเราท่านในปัจจุบันนะ
ถ้าเราทำใจได้ อาจเกิดจากอุปนิสัยหรือจากการศึกษาอบรมก็ได้ ในยามที่เผชิญสุขหรือทุกข์ ? ก็ถือว่าประคองจิตผ่านวิกฤติไปได้ช่วงหนึ่ง ให้มันเป็นกลางๆ ไว้ สภาพจิตไม่บวกหรือลบ

งั้นก็คือ การมองสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราให้ถูก ตรงกับธรรมใช่ไม๊เจ้าคะ
เหมือนน้ำที่มีสถานะเป็๋นกลาง ไม่เป็นด่างหรือกรดคอยกัดกร่อนจิตใจ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในทุกๆ เรื่อง
การวางใจกับสิ่งที่เกิดไม่ว่าอะไรก็ตาม
ไม่มีผู้กระทำ ไม่มีผู้รับผลของการกระทำ มีเพียงสักว่าธรรมเท่านั้นที่ดำเนินอยู่ ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้น ธรรมเท่านั้นที่ดับไป มีจิตเป็นอิสระจากความยึดถือทั้งปวงว่าเป็นเรา เป็นของๆ เรา จึงไม่มีผู้กระทำกรรมแต่ที่ไหนๆ
กลับ “วัฏฏะ ๓” สู่ “วิวัฏฏะ” คือ จากวิบาก-->กิเลส-->กรรม เป็น วิบาก-->ญาณปัญญา-->กิริยา ไม่มีกรรมและผู้กระทำกรรม มีเพียงกิริยาและธรรมเท่านั้นที่ดำเนินไป ดังนี้ แม้เสวยวิบากก็เป็นเพียงแต่ในภพนี้เท่านั้นไม่สืบเนื่องไปสู่ภพอื่นนั่นเอง

วิบาก-ญาณปัญญา-กิริยา แต่เมื่อเราทำกรรม(ที่เป็นกุศล) เราก็ยังได้รับผลอยู่ดี
ท่านปิฯ สอนปรมัตถ์ ก็เป็นเรื่องธรรมดาของมันเช่นนั้นเองนี่นา
งั้นก็เหมือนว่า ได้แต่เสวยวิบาก(สิ่งที่เคยทำมาเท่านั้น) ไม่ไปต่อมัน
อันนี้แหละสุดยอดเลย เสวยและรู้ เพียงแต่รู้ "รู้" ไม่ปรุงแต่งต่อ ตรงกับการปฏิบัติธรรมที่ท่านพุทธทาสสอนไว้ว่า หยุดแค่ผัสสะ สัมผัสรู้แล้วหยุด
๑. ความอยากได้ใคร่ดีร้อยแปดพันประการ

การไปต่อความยาวสาวความยีดเหรอเจ้าคะ
๒. ความไม่อยากได้ไม่อยากดีร้อยแปด
๓. ความโง่เขลาที่สะสมอบรมมาในสังสารวัฏ

ก็คือพฤติกรรมเดิมๆ สิ
พระท่านเรียกว่า "อกุสลมูล" รากเง่าของการกระทำอกุศล
ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้น ธรรมเท่านั้นที่ดำเนินอยู่ และธรรมเท่านั้นที่ดับไป และธรรมที่ว่านั้นก็คือ สภาวทุกข์ นั่นเองที่ดำเนินอยู่และเป็นไป ดังพุทธภาษิตว่า
“ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นที่ดับไป อย่างอื่นนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด อย่างอื่นนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ เป็นคนควรทำทุกข์ให้สิ้นไปให้ได้”
๑๒
ท่านปิฯ ปรมัตถ์อีกแล้ว
ในที่สุดนี้ ขอกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มหาสุเทพ นมัสการท่านเอกชัย และขอเจริญพรญาติโยมทุกท่านที่ได้ร่วมสนทนาธรรมกันในคืนนี้
ท่านปิให้ดูธรรม อีกท่านให้ดูความคิด
อ้าว ลากันซะแล้ว
ครับ
จบแล้วเหรอเจ้าคะ
ท่านปิฯ สอนดีครับ เป็นสาระ
งง (ตามฟอร์ม)
แต่ท่านสุเทพอยู่ต่อ
ใครท่านคือ สุเทพครับ
พระมหาสุเทพค่ะ
โยมเป้ สาธยายสรรพคุณด้วย เชียร์ดีๆ
เออ กินมะด้าย ทาก็มะด้าย ดมก็มะด้าย ฟังได้อย่างเดียว
ใช่ท่าน Moon รึป่าว
ใช่ค่ะ
ถะถะถะถะถะถะถะถะถูกต้องจ๊ะ
อ๋อครับ
ขอฝากพระพุทธศาสนสุภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
นกมฺมุนากิญฺจนโมฆมตฺถิ
๑๓
กรรมแม้จะเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นไม่มี

ทิ้งหมัดเข้ามุ้งได้ดีนะท่านปิฯ
แล้วทำกรรมอย่างไร จะไม่ส่งผลได้เจ้าคะ
ไม่มีทางโยมเป้ No way
กราบนมัสการท่านพระมหาสุเทพ และนมัสการท่านเอกชัยอีกครั้งหนึ่ง และขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคน ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
สาธุครับท่านปิฯ ฝากกราบหลวงพ่อเจ้าคุณด้วยฯ
ท่านปิจะไปท่าเดียวเลย
นั่นสิ
นมัสการลาครับท่านอาจารย์ปิฯ นมัสการลาพระมหาสุเทพ
คงง่วงแล้วน่ะ สี่ทุ่ม ท่านเลยงอแง
พี่เป้ ต้องลาท่านพระปิยะ ยังไงค่ะ
นมัสการลาพระเอกชัยด้วยครับ
เจริญศรี เจริญสุขทุกคนที่ร่ำลา
นมัสการลาเช่นกันครับ
นมัสการลา ท่านปิยะ ค่ะ
กราบนมัสการพระอาจารย์ทุกรูปเจ้าค่ะ
และลาเพื่อนๆ ญาติธรรมทุกท่านครับ
อ้าวววววววววววววววววว ไปนอนกันหมดแล้ว
เหอะๆ
อ่อ คุยกันต่อก็ได้
นิมนต์เรามาปล่อยเกาะนี่โยมเป้ อะดรีนาลีนหลั่งแล้ว หนีกันเกลี้ยงเลย วันหลังไม่มาแล้ว

……………………………………………………




๑. องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๓๔/๓๖๘ (นิพเพธิกสูตร)
[ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ..]
๒. อภิ.ป.๔๐/๑๔/๘
กัมมปัจจัย คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป (รูปเกิดแต่กรรม)โดยกัมมปัจจัย. และเป็นปัจจัยแก่ธรรมอันสัมปยุตด้วยเจตนา และรูปซึ่งมีธรรมอันสัมปยุตด้วยเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน โดยกัมมปัจจัย
๓. องฺ.ติก.๒๐/๕๔๐/๒๓๗ (โลณกสูตร)
๔. ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๓๔
[เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละโทษทุกอย่างพร้อมทั้งวาสนา (ความเคยชิน) ไว้แล้ว มีครรลองแห่งคำพูดไม่ผิดพลาดจึงไม่มีคำพูดที่ไม่ดีแม้ในกาลไหนๆ เพราะพระองค์ทรงมีวจีกรรมอันคล้อยตามพระญาณอยู่ตลอดเวลา.]
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
วาสนา=อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็วหรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้นไม่ต้องละ
แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
๕. องฺ.ติก.๒๐/๕๐๑/๑๖๗ (ติตถสูตร) ว่าด้วยอกิริยทิฏฐิ ๓
๖. สํ.สฬ.๑๘/๔๒๗/๒๔๓ (สิวกสูตร)
ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชก.. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ก็ในข้อนี้ท่านพระโคดมตรัสอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรสิวกะ เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานก็มี.. มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ มี(เหตุ)ร่วมกันเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดแต่เปลี่ยนฤดูก็มี ฯลฯ เกิดแต่รักษาตัวไม่สม่ำเสมอก็มี ฯลฯ เกิดจากการถูกทำร้ายก็มี ฯลฯ เกิดแต่ผลของกรรมก็มี .. ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ย่อมแล่นไป(ล่วงเลย)สู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไป(ล่วงเลย)สู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลก เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ฯ
๗. อภิ.ป.อ.๘๕ หน้า ๘๐
บทว่า กมฺมํ ได้แก่ เจตนาธรรม. สองบทว่า กฏตฺตา จ รูปานํ แปลว่า รูปที่เกิดขึ้นเพราะถูกกรรมทำ (กรรมสร้าง). บทว่า กมฺมปจฺจเยน ความว่า ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย ที่สามารถให้ผลของตนเกิดขึ้นได้ในที่สุดแห่งโกฏิกัป มิใช่น้อย. จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมไม่ให้ผลในขณะที่ตนเป็นไป ถ้าจะพึงให้ผล (ในขณะนั้น) ไซร้ คนทำกุศลกรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงเทวโลกอันใดไว้ ก็จะพึงกลายเป็นเทวดาในขณะนั้นทีเดียว ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้น.
ก็กรรมนั้นที่บุคคลทำไว้ในขณะใด แม้จะไม่มีอยู่ในขณะอื่นจากนั้น ย่อมยังผลให้เกิดขึ้นในกาลที่บุคคลพึงเข้าถึงปัจจุบัน หรือต่อจากนั้น ในเมื่อมีการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือ เพราะเป็นสภาพที่กรรมทำไว้เสร็จแล้ว เปรียบเหมือนการหัดทำศิลปะครั้งแรก แม้จะสิ้นสุดไปแล้ว ก็ให้เกิดการทำศิลปะครั้งหลังๆ ในกาลอื่นได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า นานากขณิกกัมมปัจจัย.
สองบทว่า เจตนาสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ความว่า เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน.
ด้วยบทว่า ตํ สมุฏฺ€านานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอากัมมชรูปในปฏิสนธิขณะด้วย.
.. ส่วนเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตนและกัมมชรูปโดยนานากขณิกกัมมปัจจัย. ก็แลเจตนานั้นเป็นปัจจัยเฉพาะในปัญจโวการภพเท่านั้น หาเป็นในภพอื่นไม่.
๘. วิสุทธิ, วิ.ม.อ.๑ หน้า ๑๘๖, อภิ.วิ.อ.๗๗ หน้า ๕๖๔
[วัฏฏะ (วงกลม) ๓] ส่วนในข้อว่า 'ภวจักรมีวัฏฏะ ๓ หมุนไปไม่หยุด' นี้มีอรรถาธิบายว่า ภวจักรนี้มีวัฏฏะ ๓ โดยวัฏฏะ ๓ นี้ คือ สังขารและภพ เป็นกรรมวัฏ อวิชชาตัณหาอุปาทานเป็นกิเลสวัฏ วิญญาณนามรูป สฬายตนะผัสสะเวทนาเป็นวิปากวัฏ พึงทราบเถิดว่ากิเลสวัฏยังไม่ขาดลงตราบใด ก็ชื่อว่าหมุน เพราะเป็นไปรอบแล้วรอบเล่า ชื่อว่าไม่หยุด เพราะมีปัจจัยยังไม่ขาดลงตราบนั้นอยู่นั่นเอง …]
๙. อภิ.วิ.๓๕/๙๖๑/๕๐๔
อาสวะ ๔ เป็นไฉน กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ บรรดาอาสวะ ๔ นั้น
กามาสวะ เป็นไฉน ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า กามาสวะ
ภวาสวะ เป็นไฉน ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน ความเห็นว่าโลกเที่ยง ฯลฯ ความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วจะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ทิฏฐาสวะ
อวิชชาสวะ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่าอวิชชาสวะ
๑๐. อภิ.วิ.อ.๗๗ หน้า ๕๕๖
จริงอยู่ อวิชชาเป็นประธานแห่งวัฏฏะ ๓* เพราะว่า ด้วยการยึดถืออวิชชา กิเลสวัฏฏะที่เหลือ และกรรมวัฏฏะเป็นต้น ย่อมผูกพันคนพาลไว้เหมือนการจับศีรษะงู สรีระงูที่เหลือก็จะพันแขนอยู่ แต่เมื่อตัดอวิชชาขาดแล้วย่อมหลุดพ้นจากวัฏฏะเหล่านั้น เหมือนบุคคลตัดศีรษะงูแล้วก็จะพ้นจากการถูกพันแขน ฉะนั้น
เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "เพราะสำรอกอวิชชาโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ" ดังนี้เป็นต้น. เมื่อบุคคลยึดธรรมใด ความผูกพันย่อมมีและเมื่อปล่อยธรรมใด ความหลุดพ้นย่อมมี การกล่าวนี้เป็นการกล่าวธรรมที่เป็นประธาน (คืออวิชชา) นั้น มิใช่การกล่าวธรรมสักว่าเป็นเบื้องต้น พึงทราบภวจักรนี้ว่า "มีเบื้องต้นมิได้ปรากฏ ด้วยประการฉะนี้. * คือ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ และวิปากวัฏ
ภวจักรนี้นั้น เพราะเหตุทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่ธรรมมีสังขารเป็นต้น ฉะนั้น จึงเว้นจากผู้สร้างสังสารนอกจากอวิชชาเป็นต้นนั้นเช่นพรหมเป็นต้นที่เขาคาดคะเนเอาอย่างนี้ว่า "พรหม มหาพรหมเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้จัดสรร ดังนี้ หรือว่า เว้นจากอัตตาผู้เสวยสุขและทุกข์ ที่เขาสมมติกันอย่างนี้ว่า "ก็อัตตาของเรานี้แลเป็นผู้กล่าว เป็นผู้เสวย" บัณฑิตพึงทราบว่า "เว้นจากผู้สร้างและผู้เสวย" ด้วยประการฉะนี้.
๑๑. ม.ม.๑๓/๗๐๗/๔๘๙
๑๒. ขุ.ม.๒๙/๘๖๕/๔๑๙, สํ.ส.๑๕/๕๕๔/๑๖๗ (วชิราสูตร)
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปเสียเถิด รูปนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขตลอดกาลนาน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มี ..
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? หญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้ในวิหารเชตวันนี้คนพึงนำไป เผาเสีย หรือว่าทำตามปัจจัย ท่านทั้งหลายพึงมีความดำริอย่างนี้หรือว่า คนย่อมนำไปเผาเสียซึ่งเราทั้งหลาย หรือทำตามปัจจัย.]
ความดำรินั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตนหรือของเนื่องด้วยตนแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ..
[ดูกรคามณี เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมล้วนและความสืบต่อแห่งสังขารล้วนตามเป็นจริง ภัยก็ไม่มี เมื่อใด บุคคลเห็นขันธโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่ปรารถนาอะไรๆ อื่น นอกจากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.]
นางวชิราภิกษุณีได้กล่าวคาถานี้กะมารผู้ถามกว่า
[ดูกรมาร ทิฏฐิของท่านย่อมเชื่อสิ่งอะไรหนอว่าสัตว์ ร่างกายนี้เป็นกองแห่งสังขารล้วน บัณฑิตย่อมไม่ได้ที่จะเรียกว่าเป็นสัตว์ในกองสังขารล้วนนี้ เสียงว่ารถย่อมมีเพราะคุมกันเข้าแห่งส่วนประกอบ ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ ความสมมติว่าสัตว์ก็มี ฉันนั้น ก็ทุกข์อย่างเดียวย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และย่อมแปรไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ. ฯ]
๑๓. ขุ.ชา.๒๗/๒๐๕๔/๓๕๘ จิตตสัมภูตชาดก




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2551    
Last Update : 30 ตุลาคม 2551 20:49:20 น.
Counter : 381 Pageviews.  

นิยาม ๕ ตอนที่ ๒ กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม 510817

ธรรมะOn M. เรื่อง นิยาม ๕ ตอนที่ ๒ กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม
(วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๑)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร

เป้ says:
นิมนต์ท่านเอกเจ้าค่ะ

พระเอกชัยEmptiness  does  not  mean  Nothingness says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ
md_๒๕๓๐@hotmail.com says:
นมัสการพระอาจารย์ค่ะ

duangrutai says:
นมัสการค่ะ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านเอกชัย และเจริญพรโยมญาติมิตรทุกท่าน

น.น้ำใจดี (FM๘๙.๒๕Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์ปิฯ และพระอาจารย์เอกชัย

Kiak.. There is no phychiatrist in the world like a puppy says:
กราบพระอาจารย์ครับ สวัสดีครับ

Koi-ก้อย says:
สวัสดีค่ะ นมัสการ พระอาจารย์

สวัสดีจ๊ะ
วันนี้ขอนมัสการให้พระอาจารย์บรรยายต่อจากเรื่องเมื่อครั้งที่แล้วค่ะ เรื่องที่ว่า เหตุการณ์ต่างๆ เกิดจากกรรมหรือว่าเป็นธรรมชาติค่ะ
ในครั้งที่แล้ว ได้กล่าวถึงนิยาม ๕ ไว้ว่า คำว่า นิยาม หมายถึง กำหนดอันแน่นอน ความเป็นไปอันมีระเบียบที่แน่นอนในธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่า กฏธรรมชาติ ซึ่งคัมภีร์ในชั้นอรรถกถา ได้จำแนกออกมาเป็น ๕ ประเภท คือ
๑ อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล)
๒ พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช)
๓ จิตตนิยาม (ความแน่นอนของจิต)
๔ กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม)
๕ ธรรมนิยาม (ความแน่นอนของธรรม)
และในครั้งที่แล้วได้อธิบายถึงนิยามไว้แล้วด้วยกัน ๓ ข้อ คือ
๑.อุตุนิยาม ๒.พีชนิยาม และ ๓.จิตตนิยาม โดยในครั้งนี้จะได้มาอธิบายความหมายในอีก ๒ ข้อ คือ กรรมนิยามและธรรมนิยาม
๔. กรรมนิยาม กฏแห่งกรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติอันเนื่องด้วยการกระทำของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย และ
๕. ธรรมนิยาม คือ กฏแห่งธรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติ คือความเป็นไปแห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติ ว่าด้วยการที่สิ่งทั้งหลายจักต้องเป็นไปตามธรรม ตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆ หรือโดยบังเอิญ ทุกอย่างต้องอาศัยเหตุและปัจจัยให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น

งั้นข้อสุดท้าย ธรรมนิยาม ก็เป็นกฏของความสัมพันธ์ของ ๔ ข้อแรกสิ
ถูกแล้ว
*^o^* Kae (Kitty) ....... says:
กราบนมัสการท่านค่ะ สวัสดีค่ะ
คำว่า กรรมนิยาม ก็หมายถึง การกระทำใดๆ อันเกิดขึ้นแต่เจตนา ย่อมมีผลเกิดขึ้นแก่ชีวิตของบุคคลนั้นอย่างแน่นอน
งั้นในนิยาม ๓ ข้อ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม จะเกิดขึ้นกับเรา มีผลกับเรา ก็เพราะกรรมนิยามใช่ไม๊เจ้าคะ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมทั้งหลายที่บุคคลได้กระทำไว้ ด้วยกาย วาจา และใจย่อมจะมีผลเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นเอง โดยไม่จำกัดด้วยกาลเวลา
หมายถึง กรรมที่ได้กระทำแล้ว ย่อมส่งผลต่อบุคคลนั้นทันที เช่น คิดดี พูดดี ทำดี ก็ให้ผลเป็นความสุขแก่ผู้นั้นทันที แต่หากคิดร้าย พูดร้าย ทำร้าย ก็ให้ผลเป็นความทุกข์แก่ผู้นั้นทันทีเช่นกัน

เช่น โดยกฏแห่งจิตตนิยาม ว่าด้วยธรรมชาติของจิต เมื่อจิตประกอบไปด้วยเจตสิก มีการปรุงแต่งคิดนึกด้วยอกุศลเจตนา ก็ย่อมจะให้ผลเป็นอกุศลวิบาก ทำจิตของบุคคลนั้นให้เศร้าหมองทันทีนั่นเอง

ในข้อว่าด้วยกรรมนิยาม เราจะต้องเข้าใจความหมายพื้นฐานก่อนว่า  กรรมที่จักปรากฏผลเป็นวิบากแก่มนุษย์และสัตว์นั้น หมายถึง การกระทำที่ประกอบอยู่ด้วยเจตนาเท่านั้น

หมายถึงทั้งในอดีตและปัจจุบันด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ ไม่ใช่เฉพาะแค่กรรมที่ทำในปัจจุบันเท่านั้น
ใช่ ทั้งกรรมในอดีตและในปัจจุบันภพที่ได้กระทำ
ถ้าไม่เจตนา แต่เป็นการกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ล่ะคะ หรือว่าโดยประมาท อย่างนี้ถือเป็นกรรมนิยามไหมค่ะ
อืมม การกระทำโดยไม่ได้เจตนา แต่เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นทั้งดีและไม่ดี อย่างนี้เป็นกรรมนิยามที่ผู้ที่ได้รับผลนั้น (ได้เคย)ทำไว้ใช่ไม๊เจ้าคะ
ถ้าไม่มีเจตนากระทำ และไม่ได้กระทำโดยมีเจตนาประมาท ก็ไม่เป็นกรรม เช่นว่า เกิดความเสียหายโดยมิได้ตั้งใจให้เกิดผลเช่นนั้นขึ้น และการกระทำนั้นได้พิจารณาอย่างรอบคอบตามปกติวิสัยที่บุคคลจะพึงมี อย่างนี้ก็ไม่เป็นกรรม
ไม่ถือว่าเป็นกรรมของบุคคลผู้กระทำ แต่ผลดีหรือไม่ดีสำหรับผู้ได้รับผล นี่คือกรรมของเขาใช่ไม๊เจ้าคะ
แต่อย่างนี้ ผู้ที่ได้รับผลของการกระทำของเรา เกิดไม่พอใจ แล้วกลับมาทำร้ายเราด้วยวิธิใดได้ก็ตาม นั่นคืออะไรหรือค่ะ
ถ้าเราไม่ตั้งใจกระทำกรรมชั่ว แต่ผู้ที่ได้รับผลของการกระทำนั้น กลับมาทำร้ายเรา อย่างนี้ถือว่า เป็นอกุศลวิบากของเรา ที่เกิดจากอกุศลกรรมที่เคยทำไว้
แต่ในข้อนี้มีความซับซ้อนนะ มิใช่ว่าผลที่เกิดขึ้นจะสามารถเกิดขึ้นได้ลอยๆ แต่จะต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน เช่น เราสมาคมกับคนพาล หรือเราเข้าไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี หรือประมาทเลินเล่อไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนที่จะกระทำ อย่างนี้เป็นต้น

ผมเคยได้ยินที่เขาเรียกกันว่า 'กรรมจัดสรร' อย่างนั้นใช่ไหมครับ?
ใช่ ส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมจัดสรร
ค่ะ ขอบพระคุณมากนะคะ
ส้ม says:
สวัสดีค่ะ

..แล้วอย่างการถูกหวยล่ะ

การถูกหวยก็เกิดจากกรรม คือ การซื้อหวย และเกิดจากกุศลกรรมบางประการในอดีตให้ผลเป็นเหตุให้ถูกหวย
งั้นก็ไม่ใช่แค่ความน่าจะเป็นเท่านั้น
แต่ส่วนใหญ่จะถูกหวยกินซะมากกว่านะครับ

ความน่าจะเป็น ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง เช่น เราซื้อล๊อคเตอรี่ไว้เบอร์หนึ่ง แต่แล้วถูกล๊อคเลขไว้อีกเบอร์หนึ่ง อย่างนี้ความน่าจะเป็นก็เป็นศูนย์ ไม่มีโอกาสถูกอย่างนี้ก็ได้
คนที่ถูกก็คือผู้ออกหมายเลขน่ะสิ
การถูกหวย เกิดจากกุศลกรรมในอดีตประกอบเป็นเหตุให้ถูกหวย อย่างนี้การไม่ถูกหวย ต้องมีกรรมอะไรในอดีตประกอบหรือเปล่าครับ
การไม่ถูกหวย ก็ต้องมีอดีตกรรมประกอบเช่นกัน เช่น เราไม่ซื้อหวย เรามีความโลภจัด หรือไม่ใช่กาลไม่ใช่เวลาที่เราจะได้รับผลแห่งกุศลกรรมในอดีตในขณะนั้น หรือในลักษณะเช่นนั้น
เราสามารถหนีกรรมชั่ว ด้วยการใช้อุตุนิยาม พีชนิยาม ไปในทางที่ทำให้หนีกรรมก็ได้ใช่ไม๊เจ้าคะ (เหมือนว่าตรงข้ามกับคุณนัฐ)
การหลีกเลี่ยงอกุศลวิบากที่จะเกิดขึ้น ด้วยกุศลกรรมที่ได้กระทำในปัจจุบันอย่างชาญฉลาด นี้ก็เป็นไปได้
ต้องเข้าใจว่า อกุศลกรรมในอดีตที่กระทำไว้มีมากมายหลายประการ ซึ่งกุศลกรรมที่ดีงามก็เช่นเดียวกัน ใช่ว่าเราจะต้องรับผลแห่งอกุศลกรรม      หรือกุศลกรรมที่กระทำไว้ในอดีตเสมอไป ขึ้นกับว่าเรามีสติปัญญาและความสามารถเพียงใดที่จะจัดการ หรือป้องกันแก้ไขสิ่งทั้งหลายที่จะเกิดแก่ชีวิตเราไปในทางที่ดีหรือร้ายอย่างไรประกอบไปด้วย

เข้าใจมากขึ้นเลยค่ะ ทำให้เข้าใจด้วยว่าทำไมเราต้องดูแลจิตใจเราให้นิ่ง ให้สงบอยู่เสมอ เมื่อมีอะไรมากระทบก็ไม่หวั่นไหว เพื่อยุติกงกรรมกงเกวียนเหล่านี้นี่เอง
แล้วอย่างฝรั่งล่ะเจ้าคะ ที่จัดการธรรมชาติ ประดิษฐ์สิ่งของเพื่อให้คนได้รับความสุข(ก็ถือว่าได้รับกุศลกรรม) นี่เป็นบุญหรือเปล่าเจ้าคะ
เก๋ว่า การประดิษฐ์สิ่งของเพื่อให้คนได้รับความสุข เป็นการเพิ่มกิเลสให้มนุษย์เท่านั้น
งั้นเป็นการทำอุกศลที่ทำให้ได้รับผลเป็นกุศล
ถ้าอย่างนั้น ในการทำหน้าที่ตัดสินการกระทำของผู้อื่น หรือการชี้เป็นชี้ตายโดยกฏที่มนุษย์สร้างขึ้น ก็เป็นการเพิ่มวิบากกรรมให้กับคนที่ทำหน้านั้นด้วยหรือเปล่า
เช่นการที่ตำรวจจับคนร้าย คนร้ายต่อสู้เกิดการวิสามัญ แต่คนร้ายนั้น ร้ายเพราะได้รับความกดดันจากสังคม และต้องการทำให้คนที่ตนรักมีสุข ดังจะเห็นมากมาย เช่น ที่ออกในรายการตีสิบ อย่างนี้แปลว่า ตำรวจสร้างวิบากกรรมหรือไม่ แต่เขาทำโดยเจตนาบริสุทธิ์ คือทำตามหน้าที่ที่สังคมมอบหมาย

ผมขอโอกาสอนุญาต แจมความเห็นนี้ ด้วยบทโคลงสี่สุภาพที่ผมได้แต่งไว้นะครับ


   ทำดีดีก่อให้             ส่งผล
ทำชั่วชั่วก็ดล              ทุกข์ให้
อันดีชั่วตัวผล              เกิดก่อ ใจนา
ใจผ่องใสสงบไซร้       ชั่วนั้น จักมี
อตีตาล่วงแล้ว          เหมือนฝัน
อนาคตก็มองกัน         บ่ได้
ลุมาล่วงปัจจุบัน          อาจเอ่ย กันนา
กำเนิดก่อกระทำให้    ล่วงพ้น เกิดมี
มัวหลงสุขเพ้อพร่ำ ของเก่า
คิดว่าเป็นสุขเรา         อยู่ได้
หมดสุขไม่มีเค้า          แปรเปลี่ยน ไปเฮย
มองไป่เห็นอะไรได้    ที่แท้ ไหนเรา

กลอนดีมากๆ เลยค่ะ ขอบคุณนะคะ
สาธุ
อันนี้เคยให้คุณเป้ดูแล้ว ดูอีกทีละกันครับ
แหม งวดนี้ออกเลขท้ายสองตัว ๓๖ ถ้าเราซื้อตามอายุก็ถูกแล้วสิ นี่ไม่ซื้อเพราะไม่มีกุศลกรรม เอ.. หรือว่าซื้อแล้วจะเป็นการสร้างอกุศลให้กับจิต(คือโลภะ) เอ ไงดีเนี่ย
โคลงของคุณ น.น้ำใจดี ก็ให้ข้อคิดที่ดี แต่อย่างความสงสัยเมื่อกี้ว่า ก็ตำรวจทำดี จับคนร้ายได้ ยิงถูกคนร้ายคนสำคัญ ได้ทั้งเงินและของตอบแทน แปลว่า การกระทำนั้นดีแล้วตามหลักพุทธศาสนาใช่หรือไม่

การกระทำของผู้กระทำผิด ก็เป็นผลสะท้อนอย่างหนึ่งให้เห็นถึงสภาพความบีบรัดของสังคม แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำของบุคคลก็ประกอบอยู่ด้วยกุศลเจตนาหรืออกุศลเจตนาเป็นเหตุผลักดันให้บุคคลนั้นกระทำกรรมดีบ้าง กรรมชั่วบ้าง ซึ่งเมื่อกระทำกรรมเช่นว่านั้นแล้ว ก็ย่อมจักมีผลเป็นวิบากตามมา ไม่ว่าบุคคลจะอ้างถึงการกระทำความผิดนั้นว่า เกิดจากความบีบรัดหรือความจำเป็นใดก็ตาม
ผมว่าคำถามของคุณดวงฤทัย อยู่ที่การกระทำของตำรวจมากกว่า เช่นว่า การยิงคนร้ายด้วยหน้าที่ โดยเจตนาเพื่อรักษาความถูกต้อง เป็นการเพิ่มวิบากกรรมให้ตัวเองหรือเปล่า ใช่หรือเปล่าครับ
ในส่วนของผู้ที่ทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ว่าถึงกุศลเจตนาที่กระทำเพื่อรักษาความดีงามเอาไว้ก็เป็นกุศลกรรม แต่การกระทำที่ต้องเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ต้องฆ่าสัตว์ เป็นต้น ก็เป็นอกุศลกรรม ซึ่งจะให้ผลเช่นเดียวกัน ทั้งในส่วนแห่งบุญและบาป
แต่ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาที่กระทำด้วยว่ามุ่งผลอย่างไร เช่น ทำด้วยความจำเป็นหรือเพื่อรักษาความดีงาม รักษาส่วนรวมหรือสังคมไว้ให้เกิดประโยชน์สุข กุศลเจตนาที่มีกำลังเช่นนี้ก็มีผลเป็นวิบากที่มีกำลังมาก แต่อกุศลกรรมที่กระทำไป ก็จักให้ผลเช่นกัน เพียงแต่ว่าเมื่อทำด้วยความจำเป็น หรือมิได้กระทำด้วยอำนาจโลภะ โทสะ โมหะที่มีกำลัง ก็จักส่งผลให้น้อยกว่า

แต่อย่างในกรณีที่เกิดเหตุที่ “อากิฮาบารา” คนร้ายใช้มีดแทงคนตายตั้งหลายชีวิต แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุ แปลว่าคนที่เสียชีวิตได้เคยสร้างวิบากกรรมไว้กับคนร้ายเลยต้องมารับเคราะห์ใช่หรือไม่
ที่ญี่ปุ่นใช่ไม๊คะ ที่ว่ามีคนบ้าการ์ตูนเที่ยวเอามีดไล่แทงคนในที่สาธารณะ
ใช่ค่ะ แต่ไม่ได้บ้าการ์ตูน คือเกิดจากสังคมกดดัน เลยอยากดัง
คงคล้ายๆ กับเด็กไทยที่เล่นเกมส์แล้วฆ่าแท๊กซี่ตายใช่ไม๊คะ

ในกรณีที่มีการทำร้ายกัน มิใช่หมายความว่า ผู้ถูกทำร้ายจะต้องเคยทำร้ายผู้กระทำมาก่อน แต่เป็นความจริงที่ว่า ผู้ถูกทำร้ายอาจได้เคยสร้างอกุศลกรรมดังกล่าวไว้กับผู้ใดผู้หนึ่ง แต่มิใช่หมายถึงจะต้องเคยกระทำต่อผู้ที่ทำร้ายตน
ถ้าอย่างนั้น แปลว่า .. การเลี้ยงหมู เลี้ยงกุ้ง จับปลา.. เราทราบแล้วว่าอาชีพเหล่านี้เป็นอกุศลกรรมแต่ทำไมเจ้าของธุรกิจประเภทนี้กลับเจริญรุ่งเรืองดี แปลว่ากรรมนั้นยังไม่ส่งผล เพราะเคยได้ยินว่าที่เรากำจัดไก่ เพื่อป้องกันหวัดนก เป็นการสร้างกรรมมาก แต่ที่รัฐบาลทำเพราะป้องกันประชาชนป่วย มันต่างจากเลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่าจำหน่ายอย่างไรเจ้าค่ะ
      อนาคตข้างหน้า เราก็จะเห็นเหตุการณ์ที่แปลก ไม่คาดคิดว่าในสังคมเราจะมีได้มากกว่านี้อีก
จริงอย่างที่คุณ น.ว่า ต่อไปเราจะเห็นอะไรแปลกๆ เยอะ

ในที่นี้จะขอยกเรื่องราวในคาถาธรรมบทมาประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ดังนี้
      เรื่องที่ ๑ ในครั้งนั้นพระศาสดาประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ภิกษุหลายรูปเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ชาวบ้านรับบาตรของภิกษุเหล่านั้นแล้ว นิมนต์ให้นั่งในโรงฉัน ถวายข้าวยาคูและของเคี้ยว ในขณะนั้น เปลวไฟลุกขึ้นจากเตาของหญิงคนหนึ่งผู้หุงข้าวแล้วปรุงสูปะและพยัญชนะอยู่ ติดชายคา. เสวียนหญ้าอันหนึ่งปลิวขึ้นจากชายคานั้น อันไฟไหม้อยู่ลอยไปสู่อากาศ. ในขณะนั้น กาตัวหนึ่งบินมาทางอากาศ สอดคอเข้าไปในเสวียนหญ้านั้น อันเกลียวหญ้าพันแล้ว ไหม้ตกลงที่กลางบ้าน.
พวกภิกษุเห็นเหตุนั้นคิดว่า "โอ กรรมหนัก, ผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายจงดูอาการแปลกที่กาถึงแล้ว, เว้นพระศาสดาเสีย ใครจักรู้กรรมที่กานี้ทำแล้ว พวกเราจักทูลถามกรรมของกานั้นกะพระศาสดา" ดังนี้แล้ว ก็พากันหลีกไป.
      เรื่องที่ ๒ ภิกษุอีกพวกหนึ่ง โดยสารเรือไปเพื่อต้องการจะเฝ้าพระศาสดา เรือได้หยุดนิ่งเฉยในกลางสมุทร. พวกมนุษย์พากันคิดว่า "คนกาลกรรณีพึงมีในเรือนี้." ดังนี้แล้ว จึงแจกสลาก (ให้จับ). ก็ภรรยาของนายเรือ ตั้งอยู่ในปฐมวัย (กำลัง) น่าดู สลากถึงแก่นางนั้น. พวกมนุษย์พากันกล่าวว่า "จงแจกสลากอีก." แล้วให้เเจกถึง ๓ ครั้ง. สลากถึงแก่นางนั้นคนเดียวถึง ๓ ครั้ง. พวกมนุษย์แลดูหน้านายเรือ (เป็นทีจะพูดว่า) “อย่างไรกัน ? นายครับ”
นายเรือกล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่อาจให้มหาชนฉิบหาย เพื่อประโยชน์แก่นางนี้. พวกท่านจงทิ้งนางในน้ำเถิด." นางนั้น เมื่อพวกมนุษย์จับจะทิ้งน้ำ กลัวต่อมรณภัย ได้ร้องใหญ่แล้ว นายเรือได้ยินเสียงร้องนั้น จึงกล่าวว่า "ประโยชน์อะไร ด้วยอาภรณ์ของนางนี้ (จะ) ฉิบหายเสีย (เปล่าๆ). พวกท่านจงเปลื้องเครื่องอาภรณ์ทั้งหมด ให้นางนุ่งผ้าเก่าผืนหนึ่งแล้วจงทิ้งนางนั้น. ก็ข้าพเจ้าไม่อาจดูนางนั้น ผู้ลอยอยู่เหนือหลังน้ำได้, เพราะฉะนั้น พวกท่านจงเอากระออมที่เต็มด้วยทรายผูกไว้ที่คอแล้ว โยนลงไปเสียในสมุทรเถิด (ทำ) โดยประการที่ข้าพเจ้าจะไม่เห็นเขาได้." พวกมนุษย์เหล่านั้น ได้กระทำตามนั้นเเล้ว. ปลาและเต่ารุมกินนางแม้นั้นในที่ตกนั่นเอง. พวกภิกษุฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็คิดว่า “ใครคนอื่น เว้นพระศาสดาเสีย จักรู้กรรมของหญิงนั้นได้. พวกเราจะทูลถามกรรมของหญิงนั้นกะพระศาสดา” ถึงถิ่นที่ประสงค์แล้ว จึงพากันลงจากเรือหลีกไป.
      เรื่องที่ ๓ ภิกษุ ๗ รูปอีกพวกหนึ่ง ไปจากปัจจันตชนบท เพื่อต้องการจะเฝ้าพระศาสดา เวลาเย็นเข้าไปสู่วัดแห่งหนึ่ง แล้วถามถึงที่พัก. ก็ในถ้ำแห่งหนึ่ง มีเตียงอยู่ ๗ เตียง, เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้ถ้ำนั้นแล นอนบนเตียงนั้นแล้ว. ตอนกลางคืนแผ่นหินเท่าเรือนยอดกลิ้งลงมาปิดประตูถ้ำไว้ พวกภิกษุเจ้าของถิ่นกล่าวว่า "พวกเราให้ถ้ำนี้ถึงแก่ภิกษุอาคันตุกะ, ก็แผ่นหินใหญ่นี้ ได้ตั้งปิดประตูถ้ำเสียแล้ว. พวกเราจักนำแผ่นหินนั้นออก" แล้วให้ประชุมพวกมนุษย์จากบ้าน ๗ ตำบลโดยรอบ แม้พยายามอยู่ ก็ไม่อาจยังแผ่นหินนั้นให้เขยื้อนจากที่ได้. แม้พวกภิกษุผู้เข้าไป (อยู่) ในภายใน ก็พยายามเหมือนกัน. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังไม่อาจให้เเผ่นหินนั้นเขยื้อนได้ตลอด ๗ วัน, พวกภิกษุอาคันตุกะ อันความหิวแผดเผาแล้วตลอด ๗ วัน ได้เสวยทุกข์ใหญ่แล้ว. ในวันที่ ๗ แผ่นหินก็ได้กลับกลิ้งออกไปเอง. พวกภิกษุออกไปแล้ว คิดว่า "บาปของพวกเรานี้ เว้นพระศาสดาเสียแล้วใครเล่าจักรู้ได้ พวกเราจักทูลถามพระศาสดา" ดังนี้แล้ว ก็พากันหลีกไป.
พวกภิกษุกราบทูลเรื่องทั้ง ๓ นี้ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับนั่งแสดงธรรมในพระเชตวันคราวเดียวกันทั้งหมด พระศาสดาตรัสว่า นั่นมิใช่ผู้อื่นกระทำ นั่นเป็นกรรมอันเขานั่นแหละทำแล้วดังนี้ เมื่อจะทรงนำเรื่องอดีตมาแสดงธรรม จึงตรัสว่า 
กาเป็นมนุษย์ในอัตภาพก่อน ไม่อาจเพื่อฝึกโคโกงตัวหนึ่ง จึงได้ผูกเขน็ดฟางสวมคอโคจุดไฟ โคนั้นตายด้วยเหตุนั้นแหละ บัดนี้ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยกานั้นแม้บินอยู่ทางอากาศ.
แม้หญิงนี้ก็เป็นหญิงคนหนึ่งนั่นแหละในอัตภาพก่อน สุนัขตัวหนึ่งคุ้นเคยกัน เมื่อเธอไปป่าก็ไปด้วย เมื่อมาก็มาด้วย พวกมนุษย์ทั้งหลายผู้ออกไปย่อมเยาะเย้ยเธอว่า บัดนี้ พรานสุนัขออกแล้ว ดังนี้ นางอึดอัดอยู่ด้วยสุนัขนั้น เมื่อไม่อาจห้ามสุนัขได้ จึงเอาหม้อใส่ทรายผูกคอแล้วเหวี่ยงไปในน้ำ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยเธอในท่ามกลางสมุทร.
ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเธอก็เสวยกรรมอันตนกระทำแล้วเหมือนกัน. ก็ในอดีตกาล เด็กเลี้ยงโค ๗ คน วันหนึ่งเที่ยวเลี้ยงโคแล้วกลับมาพบเหี้ยใหญ่ตัวหนึ่ง จึงไล่ตาม. เหี้ยหนีเข้าไปสู่จอมปลวกแห่งหนึ่ง. ก็ช่องแห่งจอมปลวกนั้นมี ๗ ช่อง. พวกเด็กปรึกษากันว่า บัดนี้ พวกเราจักไม่อาจจับได้ พรุ่งนี้จึงจักมาจับดังนี้แล้ว จึงต่างคนต่างก็ถือเอากิ่งไม้ที่หักได้คนละกำๆ แม้ทั้ง ๗ คนพากันปิดช่องทั้ง ๗ ช่องแล้วหลีกไป.
ในวันรุ่งขึ้นเด็กเหล่านั้นมิได้คำนึงถึงเหี้ยนั้น ต้อนโคไปในประเทศอื่น ครั้นในวันที่ ๗ พาโคกลับมา พบจอมปลวกนั้น กลับได้สติ คิดกันว่า 'เหี้ยนั้นเป็นอย่างไรหนอ' จึงเปิดช่องที่ตนๆ ปิดไว้เเล้ว. เหี้ยหมดอาลัยในชีวิต เหลือแต่กระดูกและหนังสั่นคลานออกมา. เด็กเหล่านั้นเห็นดังนั้นแล้ว จึงทำความเอ็นดูพูดกันว่า “พวกเราอย่าฆ่ามันเลย. มันอดเหยื่อตลอด ๗ วัน” จึงลูบหลังเหี้ยนั้นแล้วปล่อยไป ด้วยกล่าวว่า ‘จงไปตามสบายเถิด.’ เด็กเหล่านั้นไม่ต้องไหม้ในนรกก่อน เพราะไม่ได้ฆ่าเหี้ย. แต่ชนทั้ง ๗ นั้น ได้เป็นผู้อดข้าวร่วมกันตลอด ๗ วัน ๆ ใน ๑๔ อัตภาพ ภิกษุทั้งหลาย กรรมนั้นพวกเธอเป็นเด็กเลี้ยงโค ๗ คนทำไว้แล้วในกาลนั้น." พระศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาอันภิกษุเหล่านั้นทูลถามแล้ว ๆ ด้วยประการฉะนี้. "
เมื่อทรงประชุมเรื่องทั้ง ๓ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า 
“นอนฺตลิกฺเขนสมุทฺทมชฺเฌนปพฺพตานํวิวรํปวิสฺสนวิชฺชเตโสชคติปฺปเทโส
ยตฺรฏฺฐิโตมุจฺเจยฺยปาปกมฺมา”
“บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้,
หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้,
หนีเข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้,
(เพราะ) เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้,
ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.”

งั้นการเกิดเหตุการณ์ใดๆ ที่เป็นธรรมชาติที่เป็นอุตุนิยามแต่เกิดกับสิ่งมีชีวิตก็เป็นเพราะกรรมนิยามสิ เช่น แผ่นดินไหวแล้วมีผู้บาดเจ็บล้มตาย สำหรับคนนั้นหรือสิ่งมีชีวิตนั้น ก็เพราะกรรมของเขาใช่ไม๊เจ้าคะ
ใช่ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากกรรม
งั้นกรรมก็เป็นตัวใช้นิยามต่างๆ ให้เกิดเพื่อชดใช้กรรมนั้นสิ
ให้เข้าใจว่า ผู้ถูกบุคคลอื่นทำร้าย ก็เป็นอกุศลวิบากของตนเองที่เคยกระทำไว้ แต่ผู้ที่ทำร้ายนั้น เป็นการสร้าง(อกุศล)กรรมใหม่ให้แก่ตนเอง ซึ่งจะต้องได้รับผลต่อไปในภายภาคหน้าเช่นกัน
@--InTaNiA--@ says:
กราบนมัสการค่ะ

[c=๓๗][b]Pang##@## Cs'๒๗&๗๕๖ >>>จริงใจ... แต่ไม่จริงจัง...}{[/b][/c] says:
สวัสดีค่ะ หวัดดีทุกคนค่ะ

กงกรรมในวัฏวน คงไม่จบไม่สิ้น หากเราไม่ยอมออกหนีไป

กรรมใหม่กับกรรมเก่าจะเกิดร่วมกันเสมอ เราจึงต้องระวังการกระทำของเรา ไม่ให้เกิดกรรมใหม่ที่ไม่ดีขึ้นมา
งั้นข้ออ้างต่างๆ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ถ้ากรรมนั้นได้มีเจตนาสำเร็จไปแล้ว และกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะแปลกพิสดารขนาดไหน ก็เพราะกรรมที่ได้เคยทำมา (เช่น เมื่อก่อนมีข่าวเด็กตกในเสาเข็ม)
บางกรณีก็เป็นเช่นนั้น เรียกว่า กรรมที่เคยกระทำไว้ ก็อาศัยทั้งอุตุ  ทั้งพีชะ ทั้งจิตตะ และทั้งกรรมะ เป็นอุปกรณ์ในการให้ผลแห่งกรรมนั้นปรากฏขึ้น ซึ่งรวมเรียกว่า ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นก็อยู่ภายใต้ธรรมนิยาม คือ ความเป็นไปตามเหตุและปัจจัยส่งผลให้สภาพธรรมนั้นปรากฏขึ้นนั่นเอง
แล้วเราจะทำให้กรรมมันเบาลงได้ด้วยวิธีไหนบ้างล่ะคะ เรื่องตรวจกรรม แก้กรรมที่เป็นกระแสอยู่บ่อยๆ นั้น ถ้ารู้แล้วแก้ได้จริงหรือคะ
       การแก้ไขวิบากกรรมที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตเรา ก็ด้วยการกระทำความดีต่างๆ ละกรรมชั่ว และการทำจิตให้ผ่องใสนั่นเอง นี่ล่ะ คือวิธีการแก้กรรมตามหลักพระพุทธศาสนา
       ต้องเข้าใจว่า การแก้กรรมก็คือ การแก้ไขความประพฤติและการกระทำของเราเองให้ดียิ่งขึ้น เมื่อเราประพฤติในทางที่ดีขึ้น ชีวิตเราก็ย่อมจะดีขึ้น อดีตกรรมบางอย่างที่ไม่ดี บางกรณีก็ไม่ต้องรับผลแห่งกรรมนั้นสืบเนื่องไป
       เช่น เราเคยด่าว่าผู้อื่น เราก็แก้กรรมด้วยการไปขอโทษเขา ความเคืองแค้น ผูกโทษ ก็อาจหมดสิ้นไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย ผลที่เราอาจถูกต่อว่า ทำร้าย ก็เป็นอันได้แก้ไขสำเร็จลุล่วงไป อย่างนี้ล่ะ การแก้กรรรม

      ก็เป็นการปรับเปลี่ยนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ดีขึ้น ไม่ใช่การลบล้าง น่ะสิเจ้าคะ
       หรือเรามีอดีตกรรมที่ไม่ดี เช่น เป็นคนเกียจคร้านเป็นเหตุให้ไม่มีทรัพย์ เราก็แก้ไขด้วยการขยันขันแข็ง ไม่เลือกงาน กระทำความดีต่างๆ ต่อบุคคลทั้งหลาย เป็นเหตุให้มีผู้ช่วยเหลือยินดีสนับสนุน และมีทรัพย์ขึ้นมา อย่างนี้ก็เรียกว่าการแก้กรรมเช่นกันตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา
       สำหรับกรรมที่เราสร้างในภพภูมิก่อนหน้า เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ใช่มั้ยเจ้าคะ
       ให้เข้าใจว่า กรรมที่กระทำไปแล้ว ก็ชื่อว่าได้กระทำไปแล้ว ใครจะย้อนกลับไปลบล้าง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขให้เป็นไม่ได้กระทำ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ทุกคนย่อมสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในชีวิตได้ด้วยการกระทำที่จักปรากฏผลในปัจจุบันทั้งสิ้น
       เรียนถามพระคุณเจ้า ในการดำรงชีวิตแบบคนทำงานเราก็มิอาจหลีกเลี่ยงที่จะสร้างกรรมได้ บางครั้งเป็นด้วยหน้าที่การงาน บางครั้งเพื่อให้คนอื่นสบายใจ มันก็เท่ากับเราสร้างกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิเจ้าคะ
       เช่น บางครั้งเราก็จำเป็นต้องโกหกลูกค้าเพื่อรักษาภาพพจน์ของบริษัทน่ะเจ้าค่ะ เราจะกลับไปขอโทษเขาก็ไม่ได้

       การสร้างกรรมในปัจจุบันนั้นย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ต้องเป็นไปอยู่ แต่เราจะเลือกสร้างอะไร ระหว่างกรรมดีและกรรมชั่ว ระหว่างกรรมที่ให้ผลเป็นความสุข และให้ผลเป็นความทุกข์ อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องพิจารณา
       เมื่อเราโกหก ก็เป็นอันว่าเราได้มุสาวาทไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็ไม่ดีทั้งสิ้น เพราะเริ่มแต่ใจของเราที่ย่อมเกิดความไม่สบายใจ ทุกครั้งที่เราต้องกล่าวเท็จออกไป

       คุณก้อย ลองเปลี่ยนเป็นไม่บอกดีไหมค่ะ พูดแต่เรื่องดีดีของบริษัท เรื่องไม่ดีก็ไม่พูด เลี่ยงไม่ได้ก็บอกว่าทราบหรือไม่ทราบไปตรงๆในเรื่องนี้ แล้วก็บอกเขาว่าทางบริษัทจะพิจารณาเรื่องนี้
       เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องตอบด้วยสิคะ ส่วนตัวรับผิดชอบงานด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ค่ะ ถ้ามีปัญหากับสินค้าเราจำเป็นต้องตอบเพื่อความพอใจของลูกค้า แต่บางครั้งความจริงนั้นอาจส่งผลกระทบกับการเกิดค่าใช้จ่ายมหาศาล และทางผู้ใหญ่ไม่ให้เปิดเผย ทำให้เราจำเป็นต้องโกหกค่ะ
พระอาจารย์ครับ แล้วเทวดาปัจจัย นี่ถืออยู่ส่วนไหนของนิยามทั้ง ๕ ครับ
กรรมนิยาม
       คำว่า กรรมนิยาม หมายถึง การกระทำของคนและสัตว์ทั้งหลาย (รวมทั้งเทวดาด้วย) ย่อมส่งผลต่อบุคคลผู้นั้นและสิ่งทั้งหลายเป็นธรรมดา

       ขอบพระคุณครับ เพราะในการปฏิบัติธรรมของผม ครูอาจารย์ท่านแนะนำให้จบลงด้วยการแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศลแก่เทวดา ก็เป็นอีกอย่างที่ต้องอุทิศส่วนกุศลให้เขาด้วยเสมอ โดยผมมีการอุทิศทั้งแบบเจาะจงและไม่เจาะจงด้วยครับ
กรรมนิยามนี่ กฏคือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วใช่ไม๊เจ้าคะ
ถูกต้อง
แล้วไตรลักษณ์อยู่ในนิยามไหนเหรอเจ้าคะ
ใช่ธรรมนิยามไหมค่ะ
ใช่แล้ว
       ในข้อว่าด้วยธรรมนิยามก็ได้แก่ ความที่สิ่งทั้งหลายต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยนั่นเอง ไม่สามารถเกิดขึ้นลอยๆ ได้ โดยกฏหนึ่งที่เห็นได้ชัด ซึ่งเป็นธรรมนิยาม สรุปลงได้ด้วยพุทธพจน์ที่ว่า
      “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง .. สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ .. ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง .. สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ .. ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ”

      นิยามต่างๆ เกิดขึ้นก็เนื่องด้วยอีกนิยามนึง งั้นก็เป็นลักษณะของการเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นสังขารธรรมสิเจ้าคะ
       แล้วจิตวิญญาณที่ลงมาจุติ คือ กรรมนิยาม หรือว่าธรรมนิยามค่ะ หรือว่า พีชนิยามเกี่ยวไหมค่ะ เริ่มสับสนค่ะ
       จิตที่ลงมาจุติก็ด้วยจิตตนิยาม โดยอาศัยเหตุคือกรรมนิยาม โดยเป็นไปตามหลักธรรมดาแห่งสังขารของสัตว์ที่ยังมีอุปธิ(คือกิเลส) เรียกว่า ธรรมนิยาม โดยอาศัยองค์ประกอบแห่งพืชพันธุ์ให้เกิดขึ้น เรียกว่า พีชนิยาม และการสนับสนุนจากสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล เช่น อาหารและอุณหภูมิ เรียกว่า อุตุนิยาม
ไม่งงนะ

ไม่งงค่ะ
คล้องกันเป็นเหมือนห่วงหรือเปล่า ห่วง ๕ ห่วง
เห็นภาพรวมเลยถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลยครับ

แบบโอลิมปิค
ใช่ค่ะ เห็นภาพเลยค่ะ ขอบพระคุณนะคะ
หนูอยากรู้ว่าสัตว์เดียรัจฉานสามารถเกิดเป็นคนได้ไหมค่ะ
ได้สิ
       สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิดไปในภพภูมิต่างๆ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจากภพนี้สู่ภพโน้น ขึ้นอยู่ต่อกรรมใดจะให้ผล ฉะนั้น ไม่ว่าสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา เปรต อสูรกาย หรือสัตว์นรก ก็ล้วนแต่เวียนว่ายตายเกิดไปในวัฏฏะสงสารไม่รู้สิ้นสุด เป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นเทวดาบ้าง หรือพลาดพลั้งก็เกิดในนรกบ้าง

ผมขอแสดงความคิดเห็นนะครับ สัตว์เดียรัจฉานสามารถเกิดเป็นคนได้ไหม?
       ก่อนที่เขาจะเป็นสัตว์เดียรัจฉาน เขาต้องเป็นคนมาก่อน บางช่วงเขาก็มีศีล ๕ ครบ (ธรรมของการเกิดเป็นมนุษย์) บางช่วงก็ต้องทำกรรมที่ส่งผลให้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน

อ่อ

       ดังคำที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า
      “อนึ่ง ... จิตที่เป็นไปในภายในต่างโดยกรรม เพศ สัญญา และโวหารเป็นต้นในคติทั้งหลายอันต่างโดยความเป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉานทั้งหมดนั่นแหละ พึงทราบว่าอันจิตนั้นเองกระทำแล้ว”
      “ความต่างกันแห่งคติของสัตว์ทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ความต่างกันแห่งความอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย คือความสูงต่ำ เลวประณีต ไปสู่สุคติและทุคติ ย่อมปรากฏเพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม
      ความต่างกันในอัตภาพของสัตว์ทั้งหลาย คือความเป็นผู้มีผิวพรรณดีและผิวพรรณทราม ความเป็นผู้มีชาติดีและไม่ดี ความเป็นผู้ที่ทรวดทรงดีและไม่ดีย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม ความต่างกันในโลกธรรมของสัตว์ทั้งหลายในความมีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ ย่อมปรากฏเพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรมดังนี้” 

      เหมือนว่านิยามทั้งหลายจะเกิดปรากฏแต่ผู้ใด เพราะกรรมนิยามเท่านั้นนะเจ้าคะ
ดังพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “เพศย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัญญา ย่อมเป็นไปเพราะเพศ สัตว์ทั้งหลายย่อมลงความต่างกันเพราะสัญญาว่า นี้เป็นหญิงหรือเป็นชาย สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ดุจลิ่มสลักเพลารถ ที่ไปอยู่ บุคคลย่อมได้เกียรติ ได้การสรรเสริญก็เพราะกรรม ย่อมได้ความเสื่อม การถูกประหาร และการจองจำก็เพราะกรรม บุคคลรู้ความต่างกันแห่งกรรมนั้นแล้ว ไฉนเล่าจึงพูดว่ากรรมไม่มีในโลก”

      “ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น..
      ดูกรมาณพ .. ส่วนบุคคล.. ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน..
            .. บุคคล.. เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือ  ศาตรา เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีโรคมาก..
      .. บุคคล.. เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์.. เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีโรคน้อย..
      .. บุคคล.. เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม..
      .. บุคคล.. เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนน่าเลื่อมใส..
      .. บุคคล.. มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีศักดาน้อย..
      บุคคล.. เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีศักดามาก..
      .. บุคคล.. ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีโภคะน้อย..
      .. บุคคล.. ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีโภคะมาก..
      .. บุคคล.. เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ..
      .. บุคคล.. เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป.. ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง..
      .. บุคคล.. ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล  อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีปัญญาทราม..
      .. บุคคล.. ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล  อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีปัญญามาก 
๑๐
กรรมอะไรทำให้เกิดเป็นเพศหญิง และกรรมอะไรทำให้เกิดเป็นเพศชายค่ะ
       กรรมให้เกิดเป็นชายหรือแม้ปรารถนาเป็นหญิง ก็อาศัยจิตที่ตั้งไว้ ปรารถนาความเป็นชายและความเป็นหญิงนั่นล่ะ และการประกอบกุศลกรรมเนืองๆ เพื่อการได้ซึ่งเหตุนั้น โดยมากจิตยินดีในเพศใด ก็ให้กลายเป็นเพศนั้น
คงพอสมควรนะ สำหรับคืนนี้

ค่ะ  ค่ะ 
ขอบคุณค่ะ
      ส่วนมากเขาว่าเกิดเป็นหญิงเพราะทำกรรมไม่ดีไว้มาก แต่นางวิสาขาล่ะ หรือท่านอื่นๆ ที่เป็นหญิงมาแล้วหลายชาติ ก็คงเพราะความติดในเพศหญิงมากกว่า

ขอฝากพุทธภาษิตไว้ว่า
กมฺมุนาวตฺตตีโลโกกมฺมุนาวตฺตตีปชา
๑๑
โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม
กมฺมนิพนฺธนาสตฺตารถสฺสาณีวยายโต
สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรม เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไปฉะนั้น
กมฺมสฺสกามาณวสตฺตากมฺมทายาทากมฺมโยนีกมฺมพนฺธูกมฺมปฏิสรณา
๑๐
ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กมฺมํสตฺเตวิภชติยทิทํหีนปฺปณีตตาย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้

API- เรียนรู้ใจตนเอง says:
ครับ

และขอฝากพุทธสุภาษิตเตือนใจไว้ว่า
สุกรานิอสาธูนิอตฺตโนอหิตานิจยํเวหิตญฺจสาธุญฺจตํเวปรมทุกฺกรํ
๑๒
กรรมใดที่ไม่ดี ไม่มีประโยชน์แก่ตน คนทำง่าย
กรรมใดที่ดี และมีประโยชน์แก่ตน ทำได้ยากอย่างยิ่ง

คืนนี้อาตมาขอลาล่ะนะ
นมัสการท่านเอกชัย และขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคนที่ร่วมสนทนากันในคืนนี้ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง และมีจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน

ขอบพระคุณครับ นมัสการครับ  ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ 
กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ
ก่อนจาก ผมขอแสดงความคิดเห็น ปิดท้ายนิดหน่อยนะครับ
       การที่เราได้รู้ได้เห็นข่าวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ และการที่เราได้มาร่วมกันฟังธรรมะจากท่านพระอาจารย์ รวมถึงการได้ศึกษาเรื่องราวของนิยาม กรรมและเหตุปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งอาจจะตอบข้อสงสัยในใจได้มากน้อยก็ดี
       แต่พวกเราทั้งหลาย ก็อย่าได้ลืมจุดประสงค์หลักที่พระอาจารย์ และองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้กล่าวธรรมะต่าง ๆ เกี่ยวกับในเรื่องกรรม กฏแห่งกรรมเอาไว้ ก็เพื่อพวกเราชาวพุทธศาสนิกชนได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ให้เห็นความทุกข์ ที่หมู่สัตว์ต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารด้วยอำนาจกรรม ที่เราไม่อาจหลีกหนีพ้น แม้ว่าจะไปอยู่ ณ ที่ใดๆ
       ศึกษาและปฏิบัติทั้งในเบื้องต้นก็เพื่อให้พวกเราเป็นคนดีของสังคม ในเบื้องปลายก็เพื่อให้เห็นแจ้งประจักษ์ชัด และเกิดความสลดสังเวช เบื่อหน่าย และต้องการหาทางออกจากทุกข์ 
       และเมื่อออกจากทุกข์ได้แล้ว ก็จะได้รับความสงบสุขภายในจิตใจ แล้วก็จะแผ่ความสงบสุขร่มเย็นอันนั้น ไปยังหมู่มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ขอบคุณคับ

สาธุจ๊ะ คุณนัฐพล
RaBbIt::ไม่อยากไปทำงาน เจอหัวหน้าเจ้าอารมณ์เลย says:
ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ที่ช่วยให้ข้าพเจ้ารู้สึกดีขึ้น พร้อมต่อสู้กับปัญหาในวันพรุ่งนี้ ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณพระอาจารย์ และ ขอขอบคุณทุกท่านครับ
กราบนมัสการลาพระอาจารย์ครับ

ขอบพระคุณพระอาจารย์ และขอขอบคุณทุกๆ ท่านเช่นกันค่ะ
กราบนมัสการพระอาจารย์เอกชัยด้วยครับ
อาทิตย์หน้าเจอกันนะคะ ใครมีคำถามก็เมล์มาบอกไว้ก่อนได้นะคะ
กราบลาเพื่อนๆ ญาติธรรมทุกๆ คนเลยนะครับ
อาทิตย์ที่ ๒๔  เวลา ๒ ทุ่ม เจอกันค่ะ
Ning says:
กราบนมัสการ และลาทุกคนค่ะ

ค่ะ ขอบคุณทุกๆ ท่านมากนะคะ กราบนมัสการพระเอกชัยด้วยค่ะ
ข อ บ คุ ณ ผู้ จัด ด้วย คับ ป๋ม
บ๊ายบาย
นมัสการลาค่ะ
นมัสการลาพระอาจารย์ทั้งสองครับ และลาทุกท่านด้วยครับ ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณพระอาจารย์ค่ะ
ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านคับ


๑. ที.ม.อ.๑๓ หน้า ๑๐๐, อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๘๑
๒. ม.มู.๑๒/๙๕/๔๙, องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๕๒๙ พระธรรมคุณ ๖-อกาลิโก
๓. สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๒๓
๔. อตฺตโนมติ-ผู้บรรยาย
[ธรรมดาธรรมชาติของจิตย่อมเหนี่ยวนำให้เกิดสิ่งที่ดีและไม่ดีขึ้น เมื่อใดอกุศลจิตมีกำลังกล้า เช่น มีความโลภจัด เป็นต้น ย่อมเป็นหตุแก่อกุศลวิบาก(บาป)ให้ผลเป็น “ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม” คือ ให้ผลทันตา เป็นเหตุให้ต้องประสบกับสิ่งร้ายๆ แม้ว่าโอกาสของกุศลวิบาก(บุญ)ในอดีตจะมีอยู่ก็ตาม ก็ถูกปิดกั้นไว้ด้วยอกุศลวิบากที่มีกำลัง เป็นเหตุให้กุศลวิบากไม่อาจส่งผลได้]
๕. ขุ.ชา.อ.๖๓ หน้า ๒๒ (เตมิยชาดก)
๖. ขุ.ธ.อ.เล่ม ๔๒ หน้าที่ ๕๔ เรื่องชน ๓ คน [๑๐๕]
๗. องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖/๒๗๓ (อุปปาทสูตร)
๘. องฺ.จตุก.๒๑/๙/๙ (ตัณหาสูตร)
[ผู้ที่มีตัณหาเป็นเพื่อน ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ภพอื่นๆ จากภพนี้สู่ภพโน้น แล้วไม่สามารถก้าวพ้นไปจากสังสารวัฏฏ์อันยืดยาวนาน เพราะเป็นผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน, ภิกษุผู้มีสติสัมปชัญญะรู้โทษนี้ และรู้ตัณหาเป็นที่เกิดแห่งทุกข์ พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น ย่อมเว้นรอบ ฯ]
๙. อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๒๓๑
๑๐. ม.อุ.๑๔/๕๘๑/๒๘๗ (จูฬกัมมวิภังคสูตร)
๑๑. ม.ม.๑๓/๗๐๗/๔๘๙
๑๒. ขุ.ธ.อ.๔๒ หน้า ๒๑๖ เรื่องกระเสือกกระสนเพื่อจะทำลายสงฆ์ [๑๓๓]




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2551    
Last Update : 29 ตุลาคม 2551 15:38:51 น.
Counter : 756 Pageviews.  

นิยาม ๕ ตอนที่ ๑ ความหมายของชีวิต 510810

ธรรมะOn M. เรื่อง นิยาม ๕ ตอนที่ ๑ ความหมายของชีวิต
(วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๑)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร


เป้ says:
ออนเครื่องท่านมหานิพลเหรอเจ้าคะ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
ใช่ คอมฯ ของอาตมาเสีย ยังซ่อมไม่ได้เลย

ตอนนี้มีสมาชิกทักเข้ามาเพื่อจะสนทนาด้วย ๒ คนเจ้าค่ะ อยู่เยอรมัน ไปศึกษาที่นั่น
เปิดห้องเลยไม๊เจ้าคะ วันนี้คุยเรื่องนิยาม ๕ นะเจ้าคะ
พร้อมหรือยังเจ้าคะ

พร้อมแล้ว
เชิญน้องเก๋ค่ะ เชิญน้องอภิชาตค่ะเชิญคุณนัฐค่ะ เชิญคุณหมีค่ะ
*^o^* Kae (Kitty) ….... says:
กราบนมัสการท่านค่ะ สวัสดีค่ะ
API- เรียนรู้ใจตนเอง says:
ครับผม กราบนมัสการท่านด้วยครับ

นัฐพล-น.น้ำใจดี (FM๘๙.๒๕Mhz) says:
กราบนมัสการ พระอาจารย์ปิฯ และสวัสดีเพื่อน ๆ ทุกท่านครับ

เจริญพรโยมทุกๆ คนจ๊ะ
Daystar says:
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ

สวัสดีจ๊ะ
นิมนต์พระอาจารย์แสดงธรรมด้วยค่ะ วันนี้ว่าจะถามเรื่องนิยาม ๕ ว่าแต่ละนิยามคืออะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ทำไมคุณเป้ถึงถามเรื่องนี้ล่ะ
ได้อ่านหนังสือมาเล่มนึง เขาบอกว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น นั้นเป็นเพราะกรรมหรือปัจจัยอย่างอื่นที่ทำให้เกิด
อย่างเช่น การได้รับรางวัลที่หนึ่ง นั้นเป็นเพราะความน่าจะเป็น หรือเพราะว่ากรรมดี การที่คนหนึ่งจะถูกปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นฟ้าผ่า นี่เพราะว่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดฟ้าผ่าตรงนั้น หรือว่าเพราะอกุศลกรรมที่เขาเคยทำมา
คือ กฏธรรมชาติ มีอะไรบ้างเจ้าคะ แล้วสิ่งที่จะเกิดกับเรานี่เพราะกรรมเท่านั้นเหรอ

กรรมของสิ่งต่างๆ มาบรรจบกัน จึงเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นหรือป่าวค่ะ แต่ละสิ่งมีกฏของมันอยู่
แล้วถ้าฟ้าผ่าลงต้นไม้ นี่เป็นกรรมของต้นไม้ หรือเพียงแค่ธรรมชาติของฟ้าผ่า การที่เราจะถูกล๊อตตารี่ นี่เพราะมีโชคหรือเปล่า เพราะบางคนก็ได้รางวัลเสมอๆ บางคนก็ไม่เคย หรือว่าซื้อคอมมาสักเครื่อง เสีย ต้องไปซ่อมเป็นประจำ แต่บางคนไม่เคยมีปัญหา
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมอะครับ

การที่ฟ้าผ่าลงต้นไม้นั้นเป็นอุตุนิยาม หรือเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้น ต้นไม้นั้นไม่มีกรรม หรือไม่ได้สร้างกรรมอะไร
คำว่า กรรม หรือ กฏแห่งกรรม ใช้กับคนและสัตว์เท่านั้นนะ ต้นไม้ไม่มีชีวิต จึงไม่อาจเรียกได้ว่า เป็นกรรมของต้นไม้

กฎที่ว่าคือกรรมเก่าใช่ไหมครับ
แต่ควรที่จะคิดแก้ไขกรรมปัจจุบันด้วย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม เสมอไป ใช่ไหมครับท่านอาจารย์
ทำไมต้นไม้ไม่มีชีวิตค่ะ
เข้าเรื่องของพืชและต้นไม้พอดีเลยครับ
แล้วถ้าต้นไม้ต้นนั้นเราได้พึ่งพามัน เกิดกุดด้วนไป ทำให้เราไม่ได้พึ่งพา เป็นผลกระทบต่อเรา นี่กลายเป็นว่าเป็นกรรมของเราด้วยหรือเปล่า
ถ้าอย่างนั้น ก็ใช่
ทุกอย่างที่เกิดกับเรานั้นเพราะกรรมเก่าของเราเท่านั้นเหรอเจ้าคะ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรา จะให้เป็นเพราะกรรมนิยามเท่านั้นเหรอเจ้าคะ
เคยฟังการบรรยายของ ดร.อาจอง ว่าท่านเคยทดลองให้นิสิตแผ่เมตตาให้ต้นไม้ กับอีกกลุ่มไม่ได้แผ่เมตตาให้
กลุ่มที่ได้รับการแผ่เมตตาเติบโตได้ดี แต่ต้นไม้เมื่อไม่ได้รับการแผ่เมตตาก็เติบโตได้ไม่ดี มันดูเหมือนต้นไม้เขารับรู้ได้น่ะคะ
เรื่องของว่าต้นไม้มีชีวิตหรือไม่ใช่ไม๊คะ
ใช่ครับ อยากทราบว่าต้นไม้มีชีวิตหรือไม่ครับ
คำว่า ชีวิต ในความหมายนี้ หมายถึง การมีจิตใจ หรือสภาพการรู้อารมณ์และการมีวิญญาณการรับรู้ซึ่งต่างกับคำว่า ชีวิต ในความหมายทั่วๆ ไปที่ใช้ในปัจจุบัน (ในทางวิทยาศาสตร์)
คำว่า วิญญาณ
หรือการทำหน้าที่ของจิต ได้แก่ การเกิดจักขุวิญญาณ การเห็นทางตา โสตวิญญาณ การได้ยินทางหู .. กายวิญญาณ การรู้สัมผัสทางกาย เหล่านี้เป็นต้น
มีนิสิตท่านหนี่งลองแช่ง ทั้งๆ ที่ห้ามแล้ว ต้นไม้ก็เหี่ยวเฉาเลยค่ะ ต่อมาน้องคนนั้นก็ป่วย
จิตของน้องเขาเศร้าสิ
มีใครทราบบ้างว่า ชีวิตในทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีอะไรบ้างคะ

ชีวิตในทางวิทยาศาสตร์?
ครับ ท่านอาจารย์ ผมรออ่านอยู่ครับ
ในทางวิทยาศาสตร์นั้น คำว่า ชีวิต หมายถึง สิ่งที่ยังไม่ตาย คือ ยังมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ หรือองค์ประกอบทางด้านพืชพันธุ์หรือทางเคมีของสิ่งเหล่านั้นไปตามสิ่งแวดล้อม
เช่น ต้นไม้ ก็มีชีวิตในแบบของวิทยาศาสตร์ คือ มีองค์ประกอบทางเคมีทางพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อม และสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง หรือแสดงออกต่อความสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่รอบตัวมัน เช่น แสงแดดอยู่ทางใด ก็หันเหกิ่งใบไปทางนั้น
ซึ่งในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช้คำว่า ชีวิต เพียงเพราะปฏิกิริยาที่สนองตอบเช่นนั้น ด้วยความหมายเพียงว่ามีปฏิกิริยาทางเคมีหรือโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะการกระทบ หรือมีการเคลื่อนไหวไปตามสิ่งแวดล้อมที่เข้ามากระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ในทางวิทย์ สิ่งมีชีวิต มีสัตว์ชั้นต่ำ สัตว์ชั้นสูง สัตว์เซลล์เดียว สัตว์หลายเซลล์ แต่ในทางธรรม พืชไม่มีชีวิตเพราะอะไรค่ะ อะไรคือนิยามในทางธรรมค่ะ
ในทางพระพุทธศาสนามีการใช้คำว่า ชีวิต ในความหมายที่กว้างบ้างแคบบ้าง คือ
ความหมายในลักษณะที่ ๑ หมายถึง อายุของอุปาทินนกธรรม (ธรรมชาติที่กรรมแต่งขึ้น)
หรือช่วงเวลาแห่งการตั้งอยู่ของสังขารที่มีใจครอง เช่นในคำว่า “ชีวิตนาม”
คำว่า ชีวิตนาม
หมายถึง อายุของนามธรรม หรือองค์ประกอบด้านจิตใจซึ่งประกอบอยู่ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่เรียกว่า เจตสิก ซึ่งนามธรรมนี้มีอายุสั้นมากเพียงเสี้ยววินาที ตั้งแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มีการเกิดดับติดต่อกันเรื่อยไป เป็นความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงและเกิดดับตลอดเวลาซึ่งมีในสัตว์ทั้งหลาย
เช่นเดียวกับอายุของรูปธรรม ซึ่งก็มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน มีความเสื่อมสิ้นสลายไปอยู่ทุกขณะ ซึ่งอายุของรูปธรรมทั้งปวงย่อมมีระยะเวลาแห่งการดำรงอยู่ ตั้งแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (อุปาทขณะ ฐีติขณะ และภังคขณะ) มีความยาวหรือช่วงเวลาเท่ากับจิตเกิดดับไปแล้ว ๑๗ ขณะจิตหรือ ๑๗ ดวง นั่นเอง
(แต่คัมภีร์บาลีและอรรถกถา มิได้ใช้คำว่า “ชีวิตรูป” ในความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ชีวิตนาม” แต่กลับใช้ในความหมายอื่น และมีคำที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอีกหลายคำ เช่นในคำว่า รูปชีวิตินทรีย์๑๐ ซึ่งก็ใช้ในความหมายที่แตกต่างกันไป)
สรุปว่า คำว่า ชีวิต ในความหมายกว้างๆ อาจหมายถึง อายุหรือระยะเวลาแห่งการตั้งอยู่แห่งอุปาทินนกธรรม ที่มีการเกิดดับตลอดเวลาในช่วงเวลาหนึ่งๆ นั่นเอง

นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
นมัสการพระเอกชัยครับ

กราบนมัสการ พระเอกชัย ครับ
กราบนมัสการ พระเอกชัยครับ
นมัสการพระอาจารย์ครับ นมัสการพระอาจารย์ค่ะ
นมัสการท่านเอกชัยครับ
พระเอกชัยEmptiness does not mean Nothingness says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

จิต ๑๗ ดวง คืออะไรหรือเจ้าค่ะ
เป็นการเปรียบเทียบ ระหว่าง รูปธรรมกับจิตในแกนของเวลาใช่ไหมครับพระอาจารย์ โดย ๑ หน่วยของการเกิดดับของรูปธรรม มีค่าเท่ากับ การเกิดดับของจิตถึง ๑๗ ขณะจิต หมายความว่า จิตมีความเร็วมาก ๑๗ เท่าของรูปธรรม ถูกต้องหรือไม่ครับ
ถูกต้องแล้ว คำว่าจิต ๑๗ ดวง ก็หมายถึง จิตเกิดดับไปแล้ว ๑๗ ครั้ง
ซึ่งท่านอุปมาไว้ว่า จำนวนของจิตที่มีการเกิดดับตลอดเวลาอย่างรวดเร็วนั้น ในหนึ่งชั่วลัดนิ้วมือ จิตเกิดดับไปแล้วแสนโกฏิขณะ หรือแสนโกฏิดวงนั่นเอง
๑๑
โอ...
แล้วทำไมต้นไม้ไม่มีชีวิตล่ะเจ้าคะ

ก็เพราะต้นไม้ไม่มีจิตน่ะสิ
๑ หน่วยของการเกิดดับของรูปธรรม นับเป็น ๑ เซลล์ได้ไหมค่ะ
น้องเก๋ ตอนนี้ หน่วยของพลังงานที่เล็กที่สุดเรียกว่าอะไรนะคะ คว๊าก หรือเปล่า อ่านเหมือน ว๊าก แหะ
ฮ่าๆ ค่ะ คิดว่าใช่นะคะ
เขาเป็นพลังงานใช่ไม๊คะ ไม่รู้ว่าคุณสมบัติเป็นอย่างไรบ้าง
๑ หน่วยของการเกิดดับของรูปธรรม หมายถึง รูปธรรมเกิดดับไปแล้วครั้งหนึ่งๆ ซึ่งอาจจะเกิดดับมากมายไปพร้อมๆ กันทีละแสนๆ เซลล์ก็ได้
ตอนนี้ มาดูความหมายของคำว่า ชีวิต อย่างแคบบ้าง หรือจะกล่าวว่า หมายถึงคำว่า ชีวิต ในความหมายอย่างในภาษาไทยที่เราเข้าใจกัน ซึ่งหมายถึง การมีชีวิตที่มีจิตใจหรือยังคงมีลมหายใจอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย
๑๒ ที่เราเรียกกันว่า คนนั้นหรือสัตว์นั้นยังไม่ตาย นั่นเอง
อันนี้เป็นความหมายของคำว่า ชีวิต ที่เราหมายความกัน คือ สัตว์ที่ยังเป็นๆ อยู่ ที่สามารถประกอบกรรมได้ หรือกระทำสิ่งต่างๆ ได้ตามจิตปรารถนา

เล็กลงไปถึงระดับไหนเหรอเจ้าคะ แล้วพวกเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือโตขึ้นมาก็โปรโตซัว ล่ะ
พวกเชื้อโรค แบคทีเรีย เป็นสัตว์เซลล์เดียวค่ะ เรียกว่าโปรคาลิโอต แต่ไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิต ไวรัสน่าจะเป็นโมเลกุลน่ะคะ
ซึ่งตรงนี้นี่เอง ที่เราจะใช้เป็นตัววัดว่า ธรรมชาตินั้นๆ หรือสิ่งนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตในความหมายนี้หรือไม่ คือมีจิตหรือไม่นั่นเอง อย่างต้นไม้นี่นะ แม้ว่าจะยังไม่ตาย แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นชีวิตในความหมายนี้ คือ ไม่เป็นสัตว์ หรือไม่ใช่สัตว์ เพราะไม่มีจิตใจที่สามารถตั้งเจตนาในการกระทำกรรมต่างๆ ขึ้นได้นั่นเอง
ชีวิตตามความเข้าใจของมนุษย์ เป็นชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลก(โลกิยะ) ประกอบด้วยการรับรู้ และการแสดงออก
เอาล่ะ ได้ตอบคำถามเรื่องเกี่ยวกับคำว่าชีวิตและสัตว์(ธรรมชาติที่มีใจครอง) มาพอสมควรแล้ว

ค่ะ
กลุ่มของเซลล์ที่มีนามครอง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งไหนมีใจครองล่ะเจ้าคะ
การจะรู้ได้ว่า สิ่งใดเป็นสัตว์ (ธรรมชาติที่มีใจครอง) หรือสิ่งใดเป็นพืช (ธรรมชาติที่ไม่มีใจครอง) นั้น ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ก็ดูได้ง่าย เช่น สัตว์ต่างๆ ที่เราเห็นอยู่ แต่การจะรู้ถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก
แม้ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จะอาศัยกล้องจุลทรรศน์เพื่อให้เห็นสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดก็ตาม ซึ่งบางชนิดก็อาจเป็นพืช บางชนิดอาจเป็นสัตว์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ยังรู้ได้ยาก หรือแยกได้ยากว่าสิ่งนั้นๆ มีจิตหรือไม่
แม้ว่ากล้องจุลทรรศน์จะช่วยให้เห็นได้ว่า สิ่งนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นพืชหรือสัตว์ก็ตาม มีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ไป แต่โดยแท้เป็นสิ่งยากมากที่จะจำแนกลงไปถึงสิ่งเหล่านั้นว่ามีจิตหรือไม่ ซึ่งจะเป็นเกณฑ์วินิจฉัยที่แน่นอนต่อความเป็นสัตว์นั่นเอง

ทางวิทยาศาสตร์ ชีวิตคือเซลล์ที่ประกอบด้วยกรดนิวคลิอิก(nucleic acids)ชนิดต่างๆ และคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตมีดังนี้คือ สามารถรับความรู้สึก สามารถสืบพันธ์ เจริญเติบโต และสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
งั้นแสดงว่า ก็มีสิ่งซับซ้อนบางสิ่งตามธรรมชาติที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่มีจิตมาควบคุม
ตามหลักของพระพุทธศาสนานั้น การมีจิตหรือมีวิญญาณธาตุ (การมีธาตุรู้) นั้น ก็หมายถึง สิ่งมีชีวิตนั้นสามารถตั้งเจตนาได้นั่นเอง ที่เรียกว่ามี “มโนสัญเจตนา”๑๓
เช่นว่า ต้องการไปทางซ้าย ต้องการไปทางขวา ต้องการขึ้นข้างบน ต้องการดู ต้องการฟัง ต้องการแพร่พันธุ์ ต้องการขับถ่าย ต้องการกิน ต้องการนอน อย่างนี้เป็นต้น

ต้นไม้ก็ทำได้นี่นา ต้องการแสงก็ไปหา ต้องการน้ำก็ไปหา แต่ช้าหน่อย
ใช่ครับ คิดอย่างนั้นเหมือนกัน
เข้าใจแล้วค่ะ คือวิทยาศาสตร์จะวัดหรือนิยามสิ่งต่างๆ จากการรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ใช่ไหมค่ะ ดังนั้นวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถรับรู้จิตได้ จึงยังไม่พบข้อแตกต่างระหว่างพืชกับสัตว์ได้เท่ากับผู้มีจิตละเอียดแล้วก็จะรู้ว่าต้นไม้ไม่มีจิต หรือป่าวค่ะ
ตัวอย่างที่จะช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น เช่น ต้นทานตะวัน ย่อมหันเหดอกเข้าหาแสงในยามเช้าเสมอ ตอนนี้ถ้าหากว่าต้นทานตะวันหรือต้นไม้มีจิต ก็หมายถึง ต้นไม้นั้นๆ ก็ควรมีความสามารถที่จะตั้งเจตนาได้ว่า วันนี้ไม่อยากหันไปหาแสงก็ไม่หัน วันนี้อยากหันไปหาแสงก็หันดอกไป วันนี้อยากดูดน้ำและแร่ธาตุจากดินก็ดูด วันนี้ไม่อยากดูดน้ำและแร่ธาตุก็ไม่ดูด วันนี้เจอแสงอยากบานก็บาน วันนี้เจอแสงแดดแต่ไม่มีอารมณ์(ในภาษาไทย) ไม่อยากบานก็ไม่บาน
ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ย่อมยืนยันได้ว่าต้นไม้นี้มีชีวิต เพราะมีมโนสัญเจตนา คือ การตั้งเจตนากระทำสิ่งต่างๆ ได้ ก็ย่อมสามารถยืนยันได้ว่าต้นไม้นั้นมีจิตนั่นเอง

อืมม การดูว่ามีปฏิกิริยาต่อสิ่งรอบข้าง ไม่ใช่การไปหากระทำอย่างเดียว ต้องมีการเลือก
ค่ะ เข้าใจอะไรขึ้นมากเลยค่ะ
แล้วพวกหุ่นยนต์ ที่มีการถูกโปรแกรมให้เหมือนมนุษย์อย่างมากล่ะเจ้าคะ เราจะเอาอะไรมาพิจารณาได้ นอกจากดูเจตนาในการเลือก
ถ้าธรรมชาติต้องเป็นไปตามกระบวนการในรูปแบบเดียว ขึ้นต่อการกระทบ เรียกว่า มีปฏิกิริยาตอบโต้ในทางเดียว และเป็นเช่นเดิมเสมอ เช่น ดอกไม้ก็ต้องบานตามฤดูกาล หันเหไปตามสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ มีการเจริญเติบโต เปลี่ยนแปลงรูปร่าง หรือแสดงลักษณะเช่นเดิมตามสิ่งที่เข้ามากระทบ อย่างนี้คงจะสันนิษฐานได้ว่า สิ่งมีชีวิตนั้นย่อมจะไม่มีจิตใจ (เว้นแต่สัตว์พิการนะ เช่น คนเป็นอัมพาต เป็นต้น)
ชีวิตคือกายกับจิต แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกว่า ขันธ์ ๕ ประกอบด้วยกาย(รูป) กับจิต(นาม).เวทนา-สัญญา–สังขาร-วิญญาณ, เวทนา คือ อารมณ์ ความรู้สึก หุ่นยนต์ไม่มี
เอ แล้วการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสล่ะ
เชื้อไวรัสจะเปลี่ยนแปลงของมันเองโดยธรรมชาติ น่าจะเป็นต้นไม้น่ะคะ ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ถือว่าไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตน่ะคะ
มันมีเจตนาในการปรับปรุงสายพันธุ์หรือเปล่า เช่นให้ติดได้มากขึ้น ขยายตัวเองได้มากขึ้น
มันเป็นโมเลกุลโปรตีนที่หอหุ้มหน่วยโปรตีนรหัสพันธุกรรมต่างๆ แล้วดำเนินไปตามปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเซลล์โดยธรรมชาติ
ไวรัสโปรตีนมันมาเกาะดีเอ็นเอเรา แล้วก็หลอกให้กระบวนการถอดรหัสของเราก๊อบบี้ตัวมันด้วยน่ะคะ น่าจะเป็นไปโดยกิริยาธรรมชาติ หรือปฏิกิริยาธรรมชาติ
อย่างที่ว่านั่นล่ะ องค์ประกอบทางธรรมชาติ เช่น สารเคมีของสิ่งหนึ่งๆ หรือของเชื้อโรคต่างๆ นั้น เราจะรู้ได้ว่าเป็นสัตว์หรือมีจิตหรือไม่นั้น ก็ต้องดูว่ามีมโนสัญเจตนาหรือไม่ เว้นแต่สัตว์บางประเภทเท่านั้น ที่แม้ไม่มีจิตแต่ก็มีชีวิต เช่น อสัญญสัตตพรหม๑๔ อันนี้ลึกซึ้งหน่อยนะ เรื่องของภพภูมิต่างๆ ในสังสารวัฏ
กลับมาว่ากันต่อเรื่อง นิยาม ๕ และความสัมพันธ์ ดีไหมค่ะ
กะลังรออยู่เนี่ย
จะเริ่มเรื่อง นิยาม ๕ แล้วใช่ไหม
ค่ะ

....................................


คำว่า นิยาม หมายถึง กำหนดอันแน่นอน ความเป็นไปอันมีระเบียบที่แน่นอนของธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่า กฏธรรมชาติ นั่นเอง
ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ได้จำแนกนิยามออกมาเป็น ๕ ประเภท
๑๕ คือ
๑. อุตุนิยาม คือ ความเป็นไปของอุตุ คือ ดินฟ้าอากาศ ที่เกี่ยวด้วยอุณหภูมิ และสภาพทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น อาจเรียกว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติก็ได้
เช่น ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล คลื่น ลม ความเย็นความร้อนของอากาศ แสงแดด หมู่เมฆ เหล่านี้เป็นต้น

รวมถึงทางธรณีวิทยาด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ แผ่นดินไหว ดวงดาวหมุนไป แสงอาทิตย์
อันนั้นก็เช่นเดียวกัน การเกิดแผ่นดินไหว คลื่นลมในมหาสมุทร เป็นต้น เรียกง่ายๆ ว่า เรื่องที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นล่ะ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทางด้านวัตถุรอบตัวมนุษย์นั่นเอง
เจ้าค่ะ
ครับผม
งั้นคอมพิวเตอร์ก็เป็นไปตามอุตุนิยาม พังไปตามธรรมชาติได้
ใช่แล้ว
๒. พีชนิยาม กฏแห่งพืชพันธุ์ หรือกฏว่าด้วยระบบพันธุกรรม

การสืบทอด
เช่น คนผิวขาว ก็มีลูกผิวขาว คนสูงใหญ่ ก็มีลูกสูงใหญ่ สุนัขก็ออกลูกเป็นสุนัข ปลาทองก็ออกลูกเป็นปลาทอง ต้นกล้วยก็ออกลูกเป็นกล้วย หรือคนเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม ก็ติดต่อไปสู่บุตรหลาน อย่างนี้เป็นต้น
พอเข้าใจนะ

ครับผม
ค่ะ
เจ้าค่ะ แล้วถ้าเซลโดนรังสี แล้วกลายพันธุ์ล่ะ พีชนิยามเปลี่ยนไปเพราะอุตุนิยาม
ก็นั่นล่ะ พีชนิยามก็มีการแปรสภาพไปตามสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบทางเคมีที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง ซึ่งถูกแล้วตามที่คุณว่า คือแปรไปได้ตามอุตุนิยามนั่นเอง
สองนิยามแรกก็สัมพันธ์กันได้ ใช่ไม๊เจ้าคะ
ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด มีผลกระทบต่อกันได้
เหมือนว่า วิทยาศาสตร์ ก็รู้จักแค่สองข้อแรกนี้เท่านั้น
น่าจะใช่ แค่สิ่งแวดล้อมกับเผ่าพันธุ์
ต่อไป ๓. จิตตนิยาม กฏแห่งกระบวนการทำงานของจิตใจ เช่นว่า จิตใจทำงานได้อย่างไร มีขั้นตอนหรือองค์ประกอบในการทำงานอย่างไร ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนและกระบวนการที่แน่นอน
จิตนิยาม มีความสัมพันธ์อย่างไรกับสองข้อแรกน้า
เช่นว่า ในขณะที่จิตไม่รับรู้ต่อโลก เช่น ขณะหลับสนิท จิตก็ลงสู่ภวังค์ หรือเป็นภวังคจิต คือ ไม่รับรู้อารมณ์ และเมื่อจิตเริ่มขึ้นสู่วิถีการรับรู้อารมณ์ เช่น เริ่มมีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น จิตก็ขึ้นสู่วิถีตามลำดับ
เริ่มตั้งแต่ อตีตภวังค์->แล้วไปสู่ภวังคจลนะ->ภวังคุปปเฉทะ->แล้วเข้าสู่ปัญจทวาราวัชชนะ เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต->เป็นปัญจวิญญาณจิต อย่างนี้เป็นต้น เป็นไปตามลำดับแห่งกระบวนการทำงานของจิตใจ
๑๖
ซึ่งเป็นธรรมดาของจิต ที่ต้องเป็นเช่นนั้น ไปตามลำดับๆ เป็นเช่นนี้กับสัตว์ทั้งปวงที่อยู่ในปัญจโวการภูมิ (ต้องขออภัยที่ต้องใช้ศัพท์ที่เข้าใจยากในทางอภิธรรมประกอบบ้าง)

อ่ะดิ แต่ละอันหมายความว่าอะไรอ่ะ
พูดง่ายๆ ก็คือ จิตใจของคนเรา ก็มีระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ซึ่งหมายถึง มีกระบวนการทำงานตามธรรมชาติของมันเองที่ไม่เปลี่ยนแปลงไป เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่เข้ามากระทบและปรุงแต่งด้วยกระบวนการเช่นว่านั้นอยู่เสมอนั่นเอง
ก็ต้องมีช่องทางติดต่อกับโลกภายนอกด้วย ก็ต้องไปกระทบต่ออุตุนิยามและพีชนิยามด้วยสิ
จิตเป็นพลังงานหรือป่าวค่ะ
จิตไม่ใช่พลังงานในความหมายอย่างวิทยาศาสตร์ แต่จิตสามารถสร้างพลังงานขึ้นมาได้ เช่น สร้างพลังควบคุมขึ้นมา ที่เรียกว่า มีพลังจิต สามารถบังคับควบคุมวัตถุต่างๆ ได้ เป็นต้น
เหรอ จิตเป็นตัวสร้างขึ้นมาเหรอ นึกว่าเป็นพลังของจิตซะเอง
ยกตัวอย่างเช่น เราเคยคิดหรือไม่ ว่าเรายกแขนยกขาของเราได้อย่างไร ทั้งที่เพียงแต่ใจนึกเท่านั้น ว่าต้องการเดินไป ต้องการพูดคุย ร่างกายก็แสดงอาการเป็นไปต่างๆ ตามแต่จิตปรารถนา เช่นนี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่า จิตมีอำนาจเพียงใดในการควบคุมสรีระร่างกาย ทั้งที่จิตก็มิได้มีรูปร่างปรากฏแต่อย่างใด
เคยอ่านเจอว่า จิตยังแบ่งเป็นจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าอะไรหรือค่ะ แบ่งแค่นี้ถูกไหมค่ะ หรือว่าหยาบไปค่ะ
ถ้าจำไม่ผิด จะมีจิตไร้สำนึก อีก ๑ อันครับ
ที่เข้าใจเหมือนๆ ว่าจิตใต้สำนึก กับจิตไร้สำนึกจะเป็นอันเดียวกันน่ะคะ
ในคัมภีร์ธรรมบท๑๗ พระพุทธเจ้าตรัสถึงลักษณะของจิตไว้ว่า "ทูรํคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตตํ" เป็นต้น ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ธรรมชาติของจิตนี้
"ทูรํคมํ" คือ ไปได้ไกล หมายถึง คิดไปได้ไกล คือ คิดเรื่องต่างๆ ได้มาก แม้ในเรื่องหรือในสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่น คิดถึงเมืองนอกเมืองนาได้เป็นต้น

เอ ตรงนี้ จิตไปถึงนั่นเลยอย่างที่เขาว่ากัน หรือว่าเพียงแค่สัญญาที่เคยมี เท่านั้นเจ้าคะ หรือว่าเป็นไปได้ทั้งสอง อย่างที่เขาเรียกว่าถอดจิต
การคิดไปไกลๆ นั้นให้เข้าใจว่า หมายถึง การคิดไปถึงเรื่องที่ทรงจำไว้ในใจ หรือจินตนาการในใจเท่านั้น ดังเรื่องที่มาในธรรมบท ซึ่งเป็นเหตุแห่งการกล่าวถึงเรื่องนี้
คือ พระภิกษุท่านคิดปรุงแต่งถึงเรื่องอนาคตว่าจะสึกไปมีลูกมีเมียอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสคาถานี้ว่า "ทูรํคมํ" คือ คิดไปไกล เป็นต้น

สี่ทุ่มแล้ว สมาชิกยังไหวกันอยู่หรือเปล่าคะ
ไหวครับผม

ไหวครับ ขึ้นอยู่กับพระอาจารย์และเพื่อนสมาชิกครับ
ที่นี่เพิ่งห้าโมงเย็นค่ะ ไหวขอรับ
เอกจรํ คือ ไปดวงเดียว หมายถึง เกิดขึ้นได้ทีละหนึ่งดวง หรือรับรู้ได้ทีละหนึ่งอย่าง ทีละหนึ่งสิ่ง หนึ่งเรื่อง หรือหนึ่งอารมณ์ และรวมหมายถึง เวลาคิดก็คิดไปคนเดียว คนอื่นไม่เกี่ยวด้วย คือ ไม่มีใครคิดไปกับเราด้วย เราคิดของเราอยู่คนเดียว
อย่างนั้นเรียกว่าคิดไปเรื่อยไม่ใช่เหรอเจ้าคะ แต่ไม่ได้มีอยู่จริง เรากำลังคิดเรื่องนี้อยู่ แล้วอีกคนอยู่ๆ ก็บอกว่ากำลังคิดเรื่องนี้(เรื่องเดียวกัน)
จิตนี่เข้าใจยากนะคะ ถ้าฝึกกรรมฐานจะรับรุ้ได้ใช่ไหมค่ะ
อสรีรํ คือ ไม่มีรูปร่างปรากฏ หมายถึง จิตนี้ไม่อาจเห็นได้ ที่ท่านเรียกว่า “อนิทสฺสนา ธมฺมา” คือ เห็นไม่ได้ นั่นเอง
ซึ่งตรงนี้ต่างกับความเชื่อของศาสนาโบราณ เช่น ศาสนาพราหมณ์ฮินดู ที่เชื่อว่า เราสามารถเห็นจิตได้ หรือเวลาคนตายไปแล้วจะมีจิตล่องลอยขึ้นมาให้เห็นได้

ฝรั่งเขายังเอาคนที่กำลังจะตายมาชั่งน้ำหนักหาว่าเมื่อตายแล้วจิตที่ออกไปทำให้น้ำหนักลดไปเท่าไหร่ คือหาน้ำหนักของดวงจิต
แต่ในหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตนั้นเห็นไม่ได้ แต่รับรู้ได้ คือ สามารถรับรู้ได้ด้วยอายตนะทั้ง ๖ ว่าบุคคลนั้นมีจิต หรือปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ขึ้นได้ด้วยอำนาจแห่งจิตของบุคคลนั้น
เช่น เรารู้ว่าคนๆ นี้ใจดีหรือจิตปรุงแต่งดี คนๆ นี้ใจร้ายหรือปรุงแต่งร้าย คนๆ นี้ใจเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล เป็นต้น

รู้ได้ด้วยการแสดงออกเหรอเจ้าคะ
เหมือนกับสัมผัสรังสีแห่งความดี รังสีอำมหิตได้จากคนคนหนึ่งหรือป่าวค่ะ อิอิ
นี่ล่ะ เรียกว่า "อสรีรํ" คือ ไม่มีรูปร่างให้เห็นได้ เพียงแต่รู้ได้ว่ามีจิตหรือไม่มีจิตเท่านั้น เช่น คนตายก็ไม่มีจิต เป็นต้น
สุดท้าย "คุหาสยํ" คือ อาศัยถ้ำอยู่ ซึ่งหมายถึง อาศัยอยู่กับอายตนะนี้ หรือร่างกายนี้นั่นเอง เช่น เราสัมผัสส่วนใดในร่างกายของเรา ก็รู้สึกได้ถึงอวัยวะส่วนนั้น เราไม่สามารถรู้สึกไปถึงสิ่งที่อยู่นอกถ้ำ คือ ร่างกายนี้ได้
เช่น เราไม่อาจรู้ได้ว่า คนอื่นเขามีความรู้สึกอย่างไร เป็นต้น เพราะธรรมดาจิตของคนเรานั้นต้องเกิดดับอยู่ที่ร่างกายของตนเท่านั้น ไม่ออกไปภายนอก

รู้ได้แค่สัมผัสทั้ง ๕ ที่กายที่อยู่อาศัย สามารถมีได้เท่านั้นเหรอเจ้าคะ
จิตรู้ได้ที่กาย (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และที่ความนึกคิดภายในจิตใจ
อยู่ได้ด้วยตัวเองไม่ได้เหรอเจ้าคะ ต้องมีที่อาศัยอยู่เสมอเหรอเจ้าคะ
แต่ในกรณีนี้ เว้นไว้แต่อรูปพรหมซึ่งมีจิตแต่ไม่มีรูปให้อาศัย ซึ่งในกรณีนี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คุหาสยํ” นั้นหมายถึง ในปัญจโวการภูมิ คือ ในภูมิของสัตว์ที่ประกอบอยู่ด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่รวมถึงใน “จตุโวการภูมิ” คือ ภูมิของสัตว์ที่ประกอบอยู่ด้วยขันธ์ ๔ คือมีแต่เพียงนามขันธ์ทั้ง ๔ คือมีแต่เพียงนามธรรม ไม่มีรูปธรรมให้อาศัย
ไม่มีรูป ก็ไม่มีปริมาตรสิ ไม่มีสิ่งแวดล้อม (สวรรค์ชั้นพรหมชั้นนั้น)
แล้วการถอดจิตล่ะคะ
คำว่า การถอดจิต นั้น เป็นความเข้าใจที่ไขว้เขวของผู้ปฏิบัติซึ่งยังมิได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเพียงพอ หรือเป็นเพียงสำนวนพูดเท่านั้น ซึ่งโดยแท้คำว่า การถอดจิต นั้นไม่มี
แล้วที่เขาว่าเขาเป็น มันคืออะไรอ่ะ
ค่ะ บ้างก็ว่าถอดจิตจากกายหยาบอย่างนี้น่ะคะ
ในพระไตรปิฎก พระพุทธตรัสสิ่งที่เราเข้าใจกันว่า การถอดจิต นั้น โดยตรัสเรียกว่า "มโนมยิทธิ"๑๘ คือ การแสดงฤทธิ์ด้วยใจ หรือการแสดงฤทธิ์ทางใจ เช่น ตรัสว่า "ภิกษุย่อมน้อมจิตไปเพื่อเนรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ เนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปอันเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง ถอดดาบออกจากฝัก หรือดั่งงูลอกคราบ"
ซึ่งในกรณีนี้หมายถึง บุคคลนั้นอาศัยจิตที่เป็นสมาธิขั้นสูง แล้วเนรมิตกายอื่นออกไป โดยมีจิตที่รูปเดิมนั่นแหละ บังคับควบคุมอาการของรูปที่ออกไปนั้น ซึ่งมิได้หมายถึงการถอดจิตออกไปดั่งเช่นเราเข้าใจ หรือผู้ปฏิบัติพระกรรมฐานโดยมากเข้าใจผิดกัน

เป็นการแยกร่างเหมือนที่เราเห็นในหนังนินจาสิ
โดยแท้ ถ้ารูปนี้ หมายถึง ถ้าร่างกายนี้ไม่มีใจครองเมื่อใด รูปนั้นก็จะตายลง ดังเช่นคนตายแล้วนั่นเอง (เว้นแต่การเข้านิโรธสมาบัติของพระอริยบุคคล) ถ้าร่างกายนี้ไม่มีใจครองเมื่อใด รูปนั้นก็จะตายลง ดังนั้น จึงไม่มีการถอดจิต
ยกตัวอย่างเช่น ขณะกำลังนั่งอยู่ คนที่เข้าใจไปว่าตนถอดจิตนั้น ความจริงก็หมายถึง บุคคลผู้นั้นได้เนรมิตกายใหม่ขึ้นมาให้ตั้งอยู่ในที่เดิมที่ตนอยู่แทนรูปแท้ แล้วตนเองนั้น (ทั้งกายทั้งใจ) ก็เหาะไป หรือดำดินไปในที่ต่างๆ ด้วยอำนาจฤทธิ์ทางใจของตน ซึ่งกรณีนี้เรียกว่า การแสดง “อิทธิวิธี”
๑๙
พูดง่ายๆ ว่า ไปทั้งตัวและหัวใจนั่นล่ะ ไม่ใช่ว่าถอดไปแต่จิตได้ เข้าใจไหมล่ะ

เชิญคุณกระต่ายค่ะ
RaBbIt:ทึ่เดิม says:
โห้ว ดีจัง ออนกันเวลานี้ประจำหรือป่าวค่ะ

เริ่มสองทุ่มค่ะ ทุกวันอาทิตย์ ในช่วงเข้าพรรษาค่ะ
เอาล่ะ เวลาก็ได้ล่วงเลยมามากแล้ว จะขอกล่าวถึงนิยามอีก ๒ ข้อที่เหลือไว้แต่เพียงหัวข้อก่อนให้ครบถ้วน
ต่อครั้งหน้านะเจ้าคะ และมาคุยกันก่อนว่า ๓ นิยามแรก มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
๔. กรรมนิยาม กฏแห่งกรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติอันเกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำของมนุษย์ซึ่งจะเป็นกรรมได้ ก็อาศัยเจตนาของบุคคลนั้น คือ การกระทำที่ประกอบอยู่ด้วยเจตนาของบุคคลนั่นเอง
และสุดท้าย ๕. ธรรมนิยาม คือ กฏแห่งธรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติ
คือความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย ว่าสิ่งทั้งหลายจักต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยในธรรมชาติอย่างแน่นอน ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นได้ลอยๆ หรือโดยบังเอิญ ทุกอย่างต้องอาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ซึ่งก็หมายถึงเหตุปัจจัยทั้ง ๔ นิยามข้างต้น หรือ ๔ ประการข้างต้นนั่นเอง
ฉะนั้น คำว่า ธรรมนิยาม จึงหมายถึง กฏแห่งความเป็นไปตามธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย ที่ต้องเป็นไปอย่างนั้นๆ ตามเหตุตามปัจจัยทั้งอุตุ พีช จิตต และกรรม นั่นเอง

ขอบคุณค่ะ
จบแล้วสิเนี่ย เรื่องนี้ในวันนี้
เวลาก็ได้ล่วงเลยมามากแล้ว
ขอบคุณมากๆ นะคะ
ต่อสัปดาห์หน้าไหมค่ะ หรือว่าเรื่องใหม่ดีค่ะ สัปดาห์หน้า
สุดท้ายสำหรับค่ำคืนนี้ ขอฝากพระพุทธศาสนสุภาษิตไว้ว่า
คืนนี้ขอฝากไว้ยาวหน่อยนะ

ครับผม
“อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตาน อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ
ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา ...”
๒๐
ง่า แปลว่าอะไรอ่ะ
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตจะอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็ยังคงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้น(ดังนี้)ว่า...
“สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ...สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ...สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ”
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นแล้ว .. จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย.. ดังนี้”
เอาล่ะนะ สำหรับคืนนี้

กราบขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
ขอให้ญาติโยมทุกคนเจริญในธรรมยิ่งขึ้นไป
ขอบพระคุณ ท่านพระอาจารย์ปิฯ และ พระอาจารย์เอกชัยด้วยครับ
ที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ครับ ขอนมัสการลาครับ
กราบขอบพระคุณมากค่ะ อนุโมทนาธรรมด้วยค่ะ
กราบขอบพระคุณมากครับ
แล้วสัปดาห์หน้าคงจะได้มาต่อเนื้อหาให้บริบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง เจริญพร
สาธุ
ลา ญาติธรรมทุกท่านด้วยครับ สวัสดีครับ
สวัสดีครับ
สวัสดีค่ะ
นมัสการลา ท่านเอกชัย ด้วยครับ
แล้วเจอกันวันอาทิตย์หน้าค่ะ
ไปลองคิดในเรื่องความสัมพันธ์ของทั้ง ๕ ข้อ กันดูก่อนนะคะ ครั้งหน้าจะได้มาต่อ และคุยวิเคราะห์กัน

นมัสการพระอาจารย์ครับ


๑ สํ.ส.อ.๒๔ หน้า ๔๗ (อรรถกถาอุปเนยยสูตร)
“อนิพฺพตฺเตน น ชาโต ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ จิตฺตภงฺคมโต โลโก ปญฺญตฺติ ปรมตฺถิยา.”
[เพราะจิตไม่เกิด สัตว์โลกก็ชื่อว่าไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์โลกก็ชื่อว่าเป็นอยู่ เพราะความแตกดับแห่งจิต สัตว์โลกจึงชื่อว่าตายแล้ว นี้เป็นบัญญัติเนื่องด้วยปรมัตถ์.]
๒ ที.ปา.๑๑/๓๐๖/๒๐๗; อภิ.วิ.๓๕/๑๒๐/๗๕. วิญญาณธาตุ ๖
๓ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต [ชีวิต น. ความเป็นอยู่, ตรงข้ามกับ ความตาย. (ป., ส.).]
๔ อภิ.สํ.๓๔/๙๕๕/๓๒๘ อุปาทินนกธรรม
[๙๕๕] อุปาทินนธรรม เป็นไฉน? วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทินนธรรม.
สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๖๐
อุปาทินนกรูป แปลว่า รูปที่กรรมยึดครอง คือรูปที่เป็นผลเกิดจากกรรมได้แก่กรรมชรูป คือรูปเกิดแต่กรรมนั้นเอง รูปนี้มี ๑๘ ชนิด คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ เหล่านี้เรียกว่าอุปาทินนกรูป ส่วนรูปที่เหลืออีก ๑๐ ชนิด คือสัททรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔ เรียกว่าอนุปาทินนกรูป แปลว่ารูปที่ไม่ถูกกรรมยึดครอง คือรูปที่ไม่เป็นผลเกิดจากกรรม
๕ สํ.ส.อ.๒๔ หน้า ๔๕ ชีวิตนาม
ก็เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยมาก (เกินเปรียบ) คือสักว่าเป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น (ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะมี ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ) จึงชื่อว่า น้อย เพราะความที่ชีวิตนามนั้นเป็นของเป็นไปกับด้วยขณะ. อุปมาด้วยล้อแห่งรถ แม้เมื่อหมุนไป ย่อมหมุนไปโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อหยุดอยู่ ก็ย่อมหยุดโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งนั่นแหละ ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นเมื่อจิตดวงนั้นสักว่าแตกดับแล้ว ท่านก็เรียกว่า สัตว์ตายแล้ว
๖ ขุ.ปฏิ.อ.๖๘ หน้า ๒๓๕
สหชาตธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า ชีวิต, ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ เพราะทำชีวิตินทรีย์นั้นให้เป็นใหญ่ ในลักษณะแห่งการอนุบาลรักษาสหชาตธรรม.
ชีวิตินทรีย์นั้นมี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ๑. อรูปชีวิตินทรีย์ (นามชีวิตินทรีย์) ๑. ธรรมชาติที่เกิดร่วมกับกัมมชรูปทั้งหมด อนุบาลรักษาสหชาตรูปไว้ ชื่อว่า รูปชีวิตินทรีย์, เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทั้งหมด อนุบาลรักษาสหชาตนามธรรมไว้ ชื่อว่า อรูปชีวิตินทรีย์.
๗ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๕ เจตสิก
สิ่งที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุ (คือที่อาศัยเกิด) ร่วมกับจิตเป็นสิ่งที่ประกอบอยู่กับจิตเท่านั้น เรียกว่า เจตสิก ได้แก่นามขันธ์ ๓ คือเวทนาขันธ์ ๓ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในเบญจขันธ์นั่นเอง กล่าวคือขันธ์ทั้ง ๓ นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ประกอบกับใจเท่านั้น เช่น เวทนาขันธ์อันได้แก่สุข ทุกข์ อุเบกขา โสมนัส และโทมนัส เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ประกอบกับจิตเท่านั้น ถ้าไม่มีจิต เวทนาก็เกิดขึ้นไม่ได้ สัญญา และสังขารก็เช่นเดียวกัน ล้วนแต่เกิดขึ้นในจิต ประกอบกับจิตใจทั้งสิ้น
๘ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๔ หน้า ๘
ขณะ คือจิตเกิดขึ้นดวงหนึ่งก็นับเป็นขณะหนึ่ง เรียกว่า ขณะจิต บางที่ก็เรียกว่า ขณะเฉยๆ แต่ว่าจิตที่เกิดขึ้นดวงหนึ่งที่เรียกว่าขณะหนึ่งนั้นยังแบ่งได้เป็น ๓ อนุขณะ หรือ ๓ ขณะเล็กคือ
อุปาทขณะ หมายถึง ขณะที่จิตเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ ฐิติขณะ หมายถึงขณะที่จิตที่ตั้งอยู่ ๑ อนุขณะ และภังขณะ หมายถึง ขณะที่จิตนั้นดับไป ๑ อนุขณะหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าขณะจิตหรือจิตแต่ละดวงนั้นมีอยู่ ๓ อนุขณะ คือ อุปาทขณะ ๑ ฐิติขณะ ๑ ภังคขณะ ๑ อนึ่ง จิต ๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปธรรมรูป ๑ กล่าวคือจิตเกิดดับไป ๑๗ หน รูปจึงดับไปหนหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแต่ละรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับไป ๑๗ ขณะหรือ ๑๗ หน ดังนั้นรูปแต่ละรูปจึงมีอายุเท่ากับ ๕๑ อนุขณะ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เป็นอุปาทขณะ คือ ขณะที่รูปเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, เป็นฐิติขณะ คือ ขณะที่รูปตั้งอยู่ ๔๙ อนุขณะ และเป็ยภังคขณะ คือขณะที่รูปดับไป ๑ อนุขณะ
โดยนัยนี้จึงเห็นว่า อุปาทขณะของจิตกับอุปาทขณะของรูปมี ๑ อนุขณะเท่ากัน ภังคขณะของจิตกับภังคขณะของรูปก็มี ๑ อนุขณะเท่ากันอีก, ส่วนฐิติขณะของจิตก็มี ๑ อนุขณะ แต่ฐิติขณะของรูปนั้นมีถึง ๔๙ อนุขณะ รูปจึงมีอายุยาวกว่าจิตมาก รูปที่มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า สตตรสายุกรูป คือรูปที่มีอายุชั่ว ๑๗ ขณะจิต
รูปธรรมทั้งหมดมี ๒๘ รูป แต่เป็น สตตรสายุกรูป คือรูปที่มีอายุ ๑๗ ขณะจิตเพียง ๒๒ รูปเท่านั้น ส่วนอีก ๖ รูปคือ วิญญัติรูป ๒ และลักขณะรูป ๔, หามีอายุถึง ๑๗ ขณะจิตไม่ เพราะวิญญัติรูป ๒ เป็นรูปที่เกิดพร้อมกับจิตและดับไปพร้อมกับจิต จึงมีอายุเท่ากับอายุของจิตดวงเดียวคือ ๓ อนุขณะเท่านั้น ส่วนลักขณะรูป ๔ นั้น อุปจยรูปกับสันตติรูป เป็นรูปที่ขณะแรกเกิด คือ อุปาทขณะ มีอายุเพียง ๑ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ, ชรตารูป เป็นรูปที่ตั้งอยู่คือฐิติขณะ มีอายุ ๔๙ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ, และอนิจจตารูปที่กำลังดับไป คือภังคขณะ ก็มีอายุเพียง ๑ อนุขณะ ไม่ถึง ๕๑ ขณะ เป็นอันว่าลักขณะรูปทั้ง ๔ นี้ แต่ละรูปก็หามีอายุไม่ถึง ๕๑ อนุขณะแต่สักรูปหนึ่งไม่
๙ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๑๑
ชีวิตรูป แปลว่า รูปที่ทำให้ดำรงอยู่ ทำให้เป็นอยู่ได้ หมายความว่า ทำให้กรรมชรูป (รูปเกิดจากกรรม เช่น ปสาทรูป และภาวรูป เป็นต้น) ดำรงอยู่ได้ โดยชีวิตรูปนี้ทำหน้าที่ธำรงสหชาตรูป (รูปที่เกิดร่วมกับตน คือกรรมชรูป) มิได้สลายไป กล่าวคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น ที่สามารถทำหน้าที่ได้อยู่ ยังเป็นอยู่ได้ ก็เพราะมีชีวิตรูปรักษาไว้ ธำรงไว้ตลอดอายุ
๑๐ อภิ.วิ.๓๕/๒๓๘/๑๑๗
ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ? ชีวิตินทรีย์มี ๒ อย่างคือ รูปชีวิตินทรีย์ อรูปชีวิตินทรีย์ ในชีวิตินทรีย์ ๒ อย่างนั้น
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ? อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของรูปธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า รูปชีวิตินทรีย์.
อรูปชีวิตินทรีย์ (นามชีวิตินทรีย์) เป็นไฉน ? อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของนามธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อรูปชีวิตินทรีย์.
อภิ.ธา.อ.๗๙ หน้า ๒๔
คำว่า "ชีวิตินฺทฺริยฺ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ" ความว่า รูปชีวิตินทรีย์นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์
อรูปชีวิตินทรีย์นับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์.
วิ.ม.อ.๒ หน้า ๓๘๒
ในบทว่า อินทรีย์คือชีวิต นั้น อินทรีย์คือชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์๑ อรูปชีวิตินทรีย์๑. ใน ๒ อย่างนั้น ในอรูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีความพยายาม ใครๆ ไม่สามารถปลงอรูปชีวิตินทรีย์นั้นได้. แต่ในรูปชีวิตินทรีย์ มีบุคคลอาจปลงได้. ก็เมื่อปลงรูปชีวิตินทรีย์นั้น ชื่อว่า ปลงอรูปชีวิตินทรีย์ด้วย. จริงอยู่ อรูปชีวิตินทรีย์นั้น ย่อมดับพร้อมกับรูปชีวิตินทรีย์นั้นนั่นเอง เพราะมีพฤติการณ์เนื่องด้วยรูปชีวิตินทรีย์นั้น.
อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๒๔๔ (อรรถกถาชีวิตินทริยนิทเทส)
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์..
สหชาตรูปานุปาลนลกฺขณํ ชีวิตินฺทริยํ ชีวิตินทรีย์มีการตามรักษารูปที่เกิดพร้อมกันเป็นลักษณะ (สภาวะ)
เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความเป็นไปของรูปธรรมเหล่านั้นเป็นรส (กิจ หน้าที่ ความถึงพร้อม)
เตสฺเยว €ปนปจฺจุปฏฺ€านํ มีความดำรงอยู่ซึ่งรูปธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน (อาการปรากฏ)
ยาจยิตพฺพภูตปทฏฺ€านํ มีภูตรูปอันยังรูปธรรมให้ดำเนินไปเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด) ดังนี้แล.
๑๑ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๕๗
ตามปกตินั้น จิตเป็นสิ่งที่รับรู้อารมณ์ ต้องมีอารมณ์จึงจะเกิดขึ้นได้ และจิตนั้นก็มีการเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา การเกิด-ดับนี้กำหนดเป็น ๓ ขณะ คือ อุปปาทะ (ขณะเกิด) ฐิติ (ขณะตั้งอยู่) และภังคะ (ขณะดับ) การเกิด-ดับของจิตนี้เป็นไปรวดเร็วมาก มีคำกล่าวว่า ชั่วลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น จิตจะเกิด-ดับถึงแสนโกฏิขณะ แม้จิตจะเกิด-ดับรวดเร็วอย่างนี้ จิตก็คิดอ่านหาอารมณ์อยู่เสมอ คิดปล่อยอารมณ์หนึ่งไปอารมณ์หนึ่งอยู่ตลอดเวลา
สงฺคห ปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๖๔
เรื่องกิจและฐานของจิตที่กล่าวมานี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะการทำงานของจิตนั้นกำหนดตามขณะจิตที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ ๆ ไป การเกิดดับของจิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขนาดที่กำหนดกันว่าชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตก็เกิดดับนับได้ถึงแสนโกฏิครั้ง ดังนั้น การทำงานของจิตจึงเป็นไปโดยรวดเร็ว ยากที่จะเห็นได้ กำหนดได้แต่เพียงว่าจิตนั้นทำงานทุก ๆ ขณะจิต ตามลำดับกิจนั้น ๆ นับแต่ปฏิสนธิกิจเป็นต้นไป
๑๒ ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๔๔๓
อธิบายว่า การฆ่าสัตว์มีชีวิต อนึ่งขันธสันดานที่เรียกกันว่าสัตว์ ชื่อว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ ขันธสันดานนั้นโดยปรมัตถ์ ได้แก่รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์. แท้จริงเมื่อรูปชีวิตินทรีย์ที่บุคคลให้พินาศแล้ว อรูปชีวิตินทรีย์นอกนี้ก็พินาศไป เพราะอรูปชีวิตินทรีย์เนื่องกับรูปชีวิตินทรีย์นั้น.
เจตนาคิดจะฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้น ว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ที่ยังความพยายาม อันเข้าไปตัดขาดชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้นเป็นไปแล้ว ทางกายทวาร และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่าปาณาติบาต.
๑๓ ม.มู.อ.๑๗ หน้า ๕๗๐
เจตนานั้นเอง ท่านเรียกว่า มโนสัญเจตนา....อธิบายว่า กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยพิเศษของรูปกายของสัตว์ทั้งหลายผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ผัสสาหารเป็นปัจจัยพิเศษของเวทนา ในหมวดนาม มโนสัญเจตนาหารเป็นปัจจัยพิเศษของวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยพิเศษของนามรูป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้อาศัยอาหารจึงดำรง (ชีพ) อยู่ได้ ไม่มีอาหาร ดำรง (ชีพ) อยู่ไม่ได้ ฉันใด. เหมือนอย่างเวทนาเกิดมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.
ถามว่า ก็ในอาหารวาระนี้ อาหารอะไร นำอะไรมาให้ ?
ตอบว่า กวฬิงการาหาร นำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้ (อวินิพโภครูป ๘) ผัสสาหารนำเวทนา ๓ มาให้ มโนสัญเจตนาหาร นำภพทั้ง ๓ มาให้ วิญญาณาหาร นำนามรูปในปฏิสนธิมาให้… มโนสัญเจตนาหาร คือกรรมที่จะให้เข้าถึงกามภพ จะนำกามภพมาให้. ที่จะให้เข้าถึงรูปภพและอรูปภพ ก็จะนำรูปภพและอรูปภพมาให้.
๑๔ อภิ.วิ.๓๕/๑๐๙๙/๕๑๒
[๑๐๙๙] ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไรย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรย่อมปรากฏ แก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ?
ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๑ คือ รูปขันธ์ ย่อมเกิดปรากฏแก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์. อายตนะ ๒ คือ รูปายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏ. ธาตุ ๒ คือ รูปธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏ. สัจจะ ๑ คือ ทุกขสัจจะ ย่อมเกิดปรากฏ.
อภิ.วิ.อ.๗๘ หน้า ๙๙๕
อินทรีย์ ๑ คือ รูปชีวิตินทรีย์ย่อมเกิดปรากฏ. เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิต ย่อมเกิดปรากฏ.
๑๕ อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๘๑
๑๖ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๔ หน้า ๘
๑๗ ขุ.ธ.อ.๔๐ หน้า ๔๑๒ เรื่องพระภาคิไนยสังฆรักขิตเถระ [๒๗]
“ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.”
[ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.]
๑๘ ที.สี.๙/๑๓๒/๗๒ มโนมยิทธิญาณ
[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตรกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝักดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง..
๑๙ ที.สี.๙/๑๓๓/๗๓ อิทธิวิธญาณ
[๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้...
๒๐ องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖/๒๗๓ (อุปปาทสูตร)




 

Create Date : 20 ตุลาคม 2551    
Last Update : 29 ตุลาคม 2551 15:09:34 น.
Counter : 1287 Pageviews.  

ความดีที่เป็นสากล และทำลายวัตถุเพื่ออะไร สร้างความเข้าใจดีกว่า 510727

ธรรมะOn M. เรื่อง ความดีที่เป็นสากล และทำลายวัตถุเพื่ออะไร สร้างความเข้าใจดีกว่า (วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร


เป้ says:
เชิญพี่กลม .. น้องแพน .. คุณจอย .. คุณก้อย .. พี่ปานค่ะ
นิมนต์พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ค่ะ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
เจริญพรญาติโยมทุกคน

วันนี้ใครมีคำถามอยากถามบ้างคะ
ปาน says:
ถ้าความรุนแรงเกิดขึ้นต่อหน้าเรา ควรทำอย่างไรครับ
๑.วิ่งหนี  ๒.ยอมให้ถูกทำร้าย (เพื่อคนที่ทำจะสำนึก)
๓.ตอบโต้ด้วยความรุนแรง (ตามสมควร) ....กรณีที่การพูดคุยไม่สามารถทำได้ (เข้ากับสถานการณ์หน่อยนะครับ)
ที่อุดรเหรอคะพี่ปาน
ครับ...อาจจะมีที่อื่นด้วยตามมาแน่ๆ
ถ้าความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น การทำร้ายกันเป็นต้น เราควรพิจารณาก่อนว่า สถานการณ์นั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เกิดขึ้นจากอะไร มีความถูกต้องหรือไม่ สมควรหรือไม่อย่างไรที่เราจะเข้าไปช่วยเหลือ และเราควรจะช่วยเหลืออย่างไร รวมถึงเรามีความสามารถหรือไม่ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ
ถ้าเป็นสิ่งที่เราสมควรเข้าไปช่วยเหลือ และเราก็อยู่ในสถานะที่สามารถช่วยเหลือได้ ก็ควรทำ

งั้นเข้าไปยุ่งก็ต่อเมื่อต้องการที่จะช่วยเหลือ แต่การตอบโต้ล่ะ หรือการป้องกันตนเอง.. สู้กลับ
คงจำกัดอยู่แค่การป้องกันตัวและช่วยเหลือผู้อื่นเท่านั้นครับ


………………………………………


duangrutai says:
คำถามค่ะ คำว่าการทำบุญ คือ การทำบุญกับพระ หรือคนที่มีศีลบริสุทธิ์ กับการเจริญวิปัสสนา(เท่านั้น)หรือค่ะ ถ้าคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ เขาก็จะไม่รู้จักศีลและการเจริญวิปัสสนาเท่าคนที่นับถือศาสนาพุทธ แล้วเขาจะได้บุญหรือเปล่าค่ะ

ได้สิ ไม่แตกต่างกัน ขึ้นต่อเจตนาและความตั้งใจ รวมถึงศรัทธาที่มีในระหว่างการกระทำบุญว่ามีมาก-น้อยเพียงใด ซึ่งการทำบุญมี ๑๐ วิธีด้วยกัน
บุญ ๑๐ วิธีที่ทางกรมศาสนาให้คำจำกัดความไว้ ใช่หรือไม่ค่ะ
วิธีการทำบุญหรือที่ตั้งแห่งบุญที่เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุนั้นมี ๑๐ ประการ คือ
๑   ทานมัย  ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ
๒   สีลมัย  ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี
๓   ภาวนามัย  ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตใจเจริญปัญญา
๔   อปจายนมัย  ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
๕   เวยยาวัจจมัย  ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
๖   ปัตติทานมัย  ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น
๗   ปัตตานุโมทนามัย  ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น
๘   ธัมมัสสวนมัย  ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้
๙   ธัมมเทสนามัย  ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ 
๑๐ ทิฏฐุชุกัมม์  ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง

อย่างข้อที่ ๑๐ การทำความเห็นให้ถูกต้อง คนเราจะทำความเห็นออกไปในทำนองใดนั้น ขึ้นกับศรัทธาและความเชื่อ ถ้าเขาเชื่ออะไรสักอย่าง แต่มันอาจจะขัดแย้งกับศาสนาพุทธ แล้วเขาจะได้บุญหรือเปล่าค่ะ
บุญ คงไม่แบ่งศาสนามั้งคะ
ความเชื่อที่ถูกต้องนั้น มิได้มีความหมายของการบัญญัติในศาสนาใดศาสนาหนึ่ง มิใช่หมายความว่าจะต้องตรงตามหลักการของศาสนาใด หรือจะต้องอ้างอิงบทบัญญัติในศาสนาใด
แต่การมีความเห็นที่ถูกต้อง หรือการกระทำความเห็นให้ตรงนั้น ขึ้นต่อความเข้าใจในเหตุผลและกระบวนการอันนำไปสู่การปฏิบัติ อันเป็นสาระสำคัญที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
การมีความเห็นที่ถูกต้อง คำว่า ถูกต้อง นั้น หมายถึง สิ่งนั้นจะต้องมีเหตุมีผลในตัวเอง มีความประสานสอดคล้องกับเหตุปัจจัยในธรรมชาติ เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่มีความเสมอภาคกันไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดหรือลัทธินิกายใดก็ตาม หากประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นก็ย่อมให้ผลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่ว่าจะประพฤติเช่นนั้นกับใครหรือกับสิ่งใดก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น การฆ่าสัตว์ เราอาจเข้าใจในเหตุผลได้ว่าไม่ดี ด้วยเหตุว่า เมื่อเราก็รักชีวิต ผู้อื่นก็ย่อมรักและหวงแหนในชีวิตเช่นกัน เมื่อเราปรารถนาความสุขและเกลียดกลัวความทุกข์ ผู้อื่นก็ย่อมจะปรารถนาความสุขเช่นเดียวกัน ฉะนั้น เราจึงไม่ควรทำร้ายใครหรือบุคคลใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานก็ตาม อย่างนี้เป็นต้น

อันนี้เข้าใจค่ะ
จะเห็นได้ว่า สัจธรรมเป็นสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล เข้าใจได้ และเป็นสากล คือมีความเสมอภาคกัน ไม่ว่ากับบุคคลใดหรือแม้แต่สัตว์ประเภทใด โดยไม่ยกเว้นว่า บุคคลนั้นเป็นศาสนิกของตนหรือไม่ เป็นคนในชนชาติของตนหรือไม่ เป็นสัตว์ที่มีโครงสร้างทางพันธุกรรมอย่างเดียวกัน หรือแม้แต่มีความคิดความเห็นที่แตกต่างกันกับตนหรือไม่ นั่นย่อมไม่ใช่สาเหตุที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อเบียดเบียนบุคคลอื่นเพียงเพราะความแตกต่างทางด้านความคิด ความเชื่อ หรือวิถีการดำเนินชีวิต
ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการกระทำที่ดีไม่ว่าจะกระทำต่อบุคคลใด ก็ล้วนแต่เป็นความดี เช่นเดียวกับความชั่วซึ่งไม่ว่าจะกระทำต่อบุคคลใด ก็ล้วนแต่เป็นความชั่ว ส่วนความรู้ความเข้าใจและการยึดถือที่แตกต่างกัน ก็ย่อมจะมีผลโดยธรรมชาติ ต่อสภาพของจิตใจของบุคคลนั้น ความเป็นอิสระ ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนกระทำอันประกอบไปด้วยเหตุผลและปัญญา ย่อมให้ความสงบแก่จิตใจที่ไม่เหมือนกัน
ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญอันบูรณาการที่จะนำชีวิตไปสู่ทางดำเนินที่ถูกต้อง จึงอาศัยองค์ประกอบทั้ง ๓ ผสานสอดคล้องไปด้วยกัน คือ ความประพฤติที่ดีงาม ภาวะจิตที่มีความเบิกบานผ่องใส และปัญญาความรู้อย่างถูกต้องในสิ่งที่ตนกระทำ ที่เรียกรวมว่า สิกขา ๓ คือการฝึกหัดพัฒนาไปพร้อมกันทั้ง ๓ ด้าน คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
นั่นเอง
อย่างเช่น คนเราสมัยปัจจุบันสอนให้ระมัดระวังตนเอง เวลาเกิดเหตุอะไรขึ้น เช่น มีคนร้ายเข้าทำร้ายร่างกายคนอื่น แต่ทุกคนก็ต้องระวังความปลอดภัยของตนเองก่อน คือวิ่งหนีไป แล้วอย่างนี้เขาทำความเห็นไม่ถูกต้องหรือเปล่า เพราะถ้าเขาช่วยเขาอาจได้รับอันตราย ทำให้คนข้างหลังเดือดร้อน  แต่ถ้าไม่ช่วยก็จะไม่มีน้ำใจ
เช่น เวลายุงมากัดเรา ยุงทำร้ายร่างกายเรา เราป้องกันตัว คือ ตบมัน เผอิญมันตาย แปลว่า ยุงถึงคาดเองหรือเปล่าค่ะ

ตบมัน แล้วเผอิญมันตาย ?
การตบยุง ขึ้นต่อเจตนา ถ้าเรามีเจตนาทำร้ายสัตว์ก็เป็นบาป ถ้าเรามีเจตนาจะฆ่ามัน ก็เป็นบาปที่เกิดจากเจตนาในการฆ่า
คำว่า “เผอิญมันตาย” นั้น ต้องมาดูว่า เรามีเจตนาตั้งแต่ต้นอย่างไร เราหวังผลจากการกระทำนั้นอย่างไร เช่น ต้องการให้มันบินหนีไป หรือต้องการให้มันตาย เป็นต้น

เราปัดป้อง แปลว่า ต้องการไล่ แต่เรามือใหญ่ ตัวใหญ่ แรงเลยเยอะ ทำให้ยุงตายค่ะ
เชิญคุณพิ้งค์ .. คุณซุง .. เชิญคุณนอร์ธค่ะ
พิ้ง-P*^~ I +N~^*K :กินอาหารหลากหลายมีผักผลไม้ ๕ ชนิดต่อวัน says:
นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ ขออ่านนะคะ

ฑิตซุง says:
นมัสการพระคุณเจ้าครับ
นอร์ทthe-wealth-societyความมั่งคั่งไม่ใช่เงินตรา says:
นมัสการพระคุณเจ้า และธรรมะสวัสดีพี่ๆ ทุกท่านครับ

กำลังคุยกันถึงเรื่อง บาปเกิดขึ้นที่ใด ขึ้นต่อความคิด และแบ่งแยกศาสนาหรือไม่
การพิจารณาถึงสิ่งที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำนั้น เราพึงพิจารณาถึงสภาพความเป็นกุศลหรืออกุศลประกอบไปด้วย
สิ่งที่เรียกว่ากุศลกรรมหรือการกระทำความดีนั้น หมายถึง การกระทำที่ไม่มีโทษ และสิ่งนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลประกอบกันนั่นล่ะ จึงจะเรียกว่าเป็นความดี หรือเป็นกุศลกรรม

แต่การเจตนาฆ่า คือเราตั้งใจตบให้ตาย แต่เมื่อป้องกันตัว คือ การปัดป้อง แต่เผอิญยุ่งโชคร้ายเลยตาย นั้นเป็นเพราะเรารักชีวิต ยุงก็ต้องการเลือดเราไปเลี้ยงชีวิต ถ้าเราเสียสละเลือดให้ยุง แล้วเราเป็นไข้เลือดออกเสียชีวิต เราสร้างความลำบากให้กับคนข้างหลัง เราก็ไม่ได้บุญจากการสละเลือดให้ยุงอยู่ดี อย่างนี้ เส้นแบ่งระหว่างกุศลกับอกุศล พิจารณาลำบากใช่หรือไม่ค่ะ
ในกรณีนี้เช่นว่า เราคิดว่าจะตบยุงให้ตาย เพื่อไม่ให้กัดเรา เพราะถ้ากัดเราๆ จะต้องเป็นไปต่างๆ มากมาย และอาจเกิดผลร้ายต่างๆ ตามมาอย่างที่โยมยกตัวอย่างนั่นล่ะ ตรงนี้เราอาจสงสัยว่า ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ
ข้อนี้พิจารณาไม่ยาก คือ เราลองพิจารณากลับกัน ว่าถ้าเราไปทำร้ายบุคคลอื่น (มิใช่หมายถึงว่าเราต้องเป็นยุงเท่านั้นนะ) เช่น เราไปกัดใครสักคนหนึ่ง หรือเราไปตีใครสักคน แล้วคนนั้นก็คิดว่า ต้องตีเราให้ตาย เขาจะได้ไม่เดือดร้อนหรือปลอดภัย อย่างนี้เราย่อมเห็นว่าไม่สมควรแก่เราฉันใด
กรณีนี้ก็ฉันนั้น เราพอจะเข้าใจได้ว่า การกระทำของเรานี้สมควรหรือไม่ หรือเราพอใจหรือไม่ต่อเหตุผลที่เขามีให้แก่เราเช่นนั้น วิธีการหนึ่ง คือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือคิดกลับกันว่าเราเป็นเขา หรือเขาเป็นเรา แล้วเขาทำเช่นนั้นกับเราบ้าง หรือใครสักคนทำเช่นนั้นกับเราบ้าง เราจะคิดอย่างไร เราจะพอใจหรือไม่ จะยินดีหรือไม่ ถ้าเรายินดีพอใจ เห็นว่าสมควรแล้วดีแล้ว อย่างนี้ก็อาจพิจารณาได้ว่า สิ่งนั้นน่าจะกระทำได้
ที่กล่าวว่า "น่าจะ" เท่านั้น เพราะเหตุว่า จะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นประกอบไปด้วยเช่นกัน อย่างที่ได้กล่าวเบื้องต้นว่า การกระทำนั้นไม่มีโทษต่อบุคคลใดใช่หรือไม่ และการกระทำนั้นก่อให้เกิดประโยชน์โดยส่วนเดียวใช่หรือไม่ และรวมถึงการกระทำนั้นเป็นธรรมแล้วใช่หรือไม่ คือ ยุติธรรมแล้วใช่หรือไม่ ดังนี้ ก็พอสรุปได้ว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือเป็นกุศลกรรมอย่างแน่นอนนั่นเอง

แล้วการฆ่า เพื่อกำจัดพาหะของโรคล่ะเจ้าคะ
ก็ใช้เกณฑ์ข้างต้นนั่นล่ะพิจารณา
๑ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
๒ ไม่มีโทษใช่หรือไม่
๓ มีประโยชน์ใช่หรือไม่
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๓ ก็มั่นใจได้ว่าสมควรกระทำได้

มีประโยชน์มากกว่าโทษ อย่างนี้ก็ฆ่าได้สิ ไม่บาป สามข้อข้างต้น ไม่น่าเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าบาปหรือไม่นะ
คำว่า "มีประโยชน์มากกว่าโทษ" ก็หมายความว่า ยังเป็นโทษอยู่นั่นเอง เช่นนี้ก็เรียกว่ามีทั้งส่วนที่เป็นกุศลและอกุศลปะปนกันไป
ขอขอบพระคุณค่ะ สำหรับหลักในการพิจารณาการกระทำค่ะ
duangrutai has left the conversation.

ไปซะแล้ว พี่กลมอยู่ญี่ปุ่นค่ะ เวลาตอนนี้ก็คงสี่ทุ่มครึ่งที่โน่น ไปศึกษาต่อ ต้องออนที่ทำงาน ที่หอไม่มีเน็ท
เชิญพี่ชุค่ะ

หนูนิด says:
กราบนมัสการเจ้าค่ะ  สวัสดีทุกๆ ท่านค่ะ


………………………………………


มีใครเคยได้เห็นข่าว ที่เจ้าอาวาสรูปหนึ่งเอากระดาษไปปิดหน้าพระพุทธรูป ว่าไม่ไห้กราบบ้างคะ
อย่า::อยู่::อย่าง::อยาก says:
ไม่เคยค่ะพี่เป้

ไม่เคยค่ะ
ไม่เคยครับ ปิดทำไมเหรอ?
เขาเขียนว่า "ทองเหลืองหล่อนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแน่ ไม่ต้องกราบมัน"
เวร-กรรม
ข่าวเพิ่งวันสองวันนี้ค่ะ
แล้วท่านเจ้าอาวาสทำเพื่อจุดประสงค์อะไรคะ
ท่านว่าเจตนาไม่ให้เคารพรูปเหมือน ให้เคารพแต่พระพุทธที่ไม่ใช่รูปเหมือน
อ้าว
อย่างไรคะ ต้องกระทำยังไง อ่านแล้วสับสน
แปลกดี อาจจะต้องการให้คนเลิกเคารพวัตถุ แล้วหันมองพระธรรมคำสอนแทน?
เหมือนว่า ท่านพยายามรณรงค์ไม่ให้คนนับถือเครื่องราง วัตถุมงคลต่างๆ
หืม.. อย่างนี้ก็เจตนาดีสิ เป็นกรรมดีหรอคะ
แต่ก็รวมไปถึงพระพุทธรูปด้วย ทำไมเป็นอย่างนั้น อย่างนี้หรือเปล่าที่เรียกว่าตึงเกินไป
ความจริงแล้ว พระพุทธรูปทั้งหลายก็เป็นสิ่งสมมติให้เราระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม เช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น จริงอยู่ พระพุทธรูปนั้นไม่ใช่พระพุทธเจ้า ก็เช่นเดียวกับธงชาติไม่ใช่ประเทศชาติ เครื่องแบบทหารตำรวจหรือเหรียญตราเชิดชูเกียรติ์ ก็มิใช่บุคคลๆ นั้น สถานที่นั้น หรือตำแหน่งหน้าที่นั้น ภาพถ่ายของคนที่เราเคารพรัก ก็ไม่ใช่บุคคลๆ นั้น แม้แต่ข้าวของเครื่องใช้ หรือห้องหับบ้านช่อง เช่น สถานที่ๆ พ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเคยอยู่อาศัย หรือของใช้ส่วนตัวบางอย่าง ก็ย่อมไม่ใช่บุคคลๆ นั้นเช่นเดียวกัน อย่างนี้เป็นต้น
เชิญน้องส้มค่ะ
ส้ม says:
สวัสดีค่ะ

แต่เมื่อเราเห็นสิ่งเหล่านี้ ย่อมเตือนใจให้ระลึกถึงสิ่งที่ดีงามต่างๆ ความทรงจำที่ดีงาม รวมถึงความหมายและคุณค่าของการมีสิ่งเหล่านั้น ช่วยให้เราระลึกถึงบุคคลๆ นั้น เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเตือนใจเราให้ระลึกถึงความดีงามที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์แก่ชีวิตเรา ว่าสิ่งเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร ช่วยให้เกิดกำลังใจ ความเข้มแข็ง และแรงผลักดันในการกระทำความดีเพียงใด นี่ล่ะคือประโยชน์ของการมีสิ่งเตือนใจให้ระลึกถึงสิ่งต่างๆ ที่มีคุณค่า ควรแก่การระลึกถึง ดังเช่น พระพุทธรูป เป็นต้น
ในเวปไทยรัฐ ยังมีอยู่หรือเปล่านะ
//www.thairath.co.th/chksearch.php?newspage=offline.php@section= = hotnews--content ๙๘๓๑๑
ข่าวเขาบอกว่า เจ้าอาวาสองค์นี้ เคยทุบทำลายพระพุทธรูปที่ชาวบ้านนำมาถวาย ทิ้ง ขุดหลุม ราดน้ำกรดกลบทับ คนที่แขวนพระเครื่องก็เข้าวัดไม่ได้
เจ้าอาวาสบอกว่า คนที่พึ่งสิ่งเหล่านี้ ถือเป็นชาวพุทธสกปรก การศึกษาธรรมะถึงแก่นแท้ต้องไม่ติดยึดกับวัตถุใดๆ
ต้องทำถึงขนาดนั้นเหรอ ห้ามกราบไหว้พระพุทธรูป

ความจริงพระพุทธรูป หรือพระพุทธปฎิมา ก็เป็นหนึ่งในเจดีย์ ที่เรียกว่า อุเทสิกเจดีย์ อันเป็นที่ควรแก่การเคารพเช่นเดียวกัน
เอ.. ตกลงบุญหรือบาปนะที่ทำแบบนี้ เราถูกสอนมาว่าไม่สมควรค่ะ
สิ่งที่ควรแก่การสักการบูชา เป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึง ซึ่งในที่นี้หมายถึง สถานที่หรือสิ่งที่ควรแก่การสักการบูชาอันเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธศาสนา เรียกว่า “เจติยะ” หรือเรียกเต็มๆ ว่า สัมมาสัมพุทธเจดีย์ หรือ พุทธเจดีย์ มี ๔ ประเภท คือ
๑. ธาตุเจดีย์ ได้แก่ เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
๒. บริโภคเจดีย์ ได้แก่ สิ่งของหรือสถานที่ๆ พระพุทธเจ้าได้เคยใช้สอย อย่างแคบหมายถึงต้นโพธิ์ อย่างกว้างหมายถึงสังเวชนียสถาน ๔ ตลอดจนสิ่งทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าเคยทรงบริโภค เช่น บาตร จีวร และบริขารอื่นๆ เป็นต้น
๓. ธรรมเจดีย์ ได้แก่ เจดีย์บรรจุพระธรรม หรือเจดีย์ที่จารึกพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เช่น บรรจุใบลานจารึกพุทธพจน์แสดงหลักปฏิจจสมุปบาท หรือแม้แต่หอพระไตรปิฎก หรือส่วนที่เป็นพระไตรปิฎกเอง ไม่ว่าจะจารึกในรูปแบบใด
๔. อุทเทสิกเจดีย์ ได้แก่ เจดีย์สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า หรือเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา เช่น พระพุทธรูป พุทธบัลลังก์ พระแท่นพระพุทธเจ้า พระพุทธฉาย ซึ่งพระพุทธรูปก็เป็นหนึ่งในพุทธเจดีย์ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั่นเอง

ค่ะ
แสดงว่า เราก็สามารถบูชาในสิ่งที่แทนตัวพระพุทธเจ้าได้ ไม่ได้ห้ามไว้ แสดงว่าพระรูปนี้ทำเกินไป
@ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเป็นไฉน คือ
๑. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ
๒. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ
๓. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่าพระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ
๔. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้
สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

ข้อ ๓  สมัยพุทธกาล มีบันทึกไว้แล้วเหรอเจ้าคะ
ธรรมเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระธรรม เช่น คำบันทึกพระพุทธพจน์แม้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเพียงประโยคใดประโยคหนึ่ง ก็เป็นธรรมเจดีย์ได้แล้ว
ในที่นี้ บางท่านเข้าใจว่า ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการบันทึก หรือไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่ความจริงแล้ว การบันทึกเรื่องราวหรือข้อความเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีมาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว เพียงแต่ว่าไม่ได้ใช้เป็นหลักในการทรงจำสืบต่อพระพุทธพจน์เท่านั้น

แบบนี้จะเรียกว่า พระรูปนี้หลง หรือว่าโทสะเจ้าคะ?
โทสะน่ะ มีโทสะแน่ แต่ทว่า ท่านหลงหรือไม่ ก็ต้องฟังเหตุฟังผลของท่านก่อน และดูที่ความเข้าใจของท่าน ว่าท่านเข้าใจสมมติหรือไม่ ว่าพระพุทธรูปนั้นมีไว้เพื่ออะไร มีประโยชน์หรือมีโทษอย่างไร
โยมว่า ทั้ง ๒ อย่างเลยนะค่ะ
หรือองค์พระพุทธรูปนั้นก็มิได้มีผลเสียกับใคร เพียงแต่ผู้คนส่วนใหญ่หลงไหลกันไปเองถึงความขลังความศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
ถ้าเป็นเช่นว่านี้ ก็ต้องไปแก้ที่ความเข้าใจผิดของคน หรือของพุทธบริษัทเหล่านั้น จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าการไปทำลายวัตถุซึ่งเป็นสิ่งชักจูงจิตใจไปสู่คุณธรรมความดีงามที่ภายใน
เพราะแม้จะทำลายวัตถุไปแล้ว ก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงความเข้าใจหรือจิตใจของคนได้ หากเขาไม่เกิดปัญญาเข้าใจความหมายและประโยชน์อันจะเกิดขึ้นจากการมีพระพุทธรูปหรือวัตถุใดก็ตามอันจะสื่อไปถึงธรรม

หรือว่าท่านคิดว่า ทำอย่างนี้ง่ายดี ปฏิเสธ(ทั้งหมด) ให้ดูเป็นตัวอย่าง มีอีกอันที่เจ้าอาวาสรูปนี้ทำ คือ โอนบุญให้เชื้อโรค
เพราะหากเราใช้วิธีการทำลายรูปวัตถุที่คนหลงไหลเข้าใจผิดยึดถือผิดอย่างนี้ ถ้ามีคนเขาไปวัดแล้วเขาไปไหว้ใบสีมา โบสถ์วิหาร ไหว้ศาลาการเปรียญ หรือสถูปเจดีย์ใดโดยเข้าใจไปว่าขลังศักดิ์สิทธิ์
เช่นว่า โบสถ์นี้ศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้นี้ศักดิ์สิทธิ์มีเทวดาอารักษ์อาศัยอยู่ อย่างนี้ท่านเจ้าอาวาสมิต้องไปทุบโบสถ์ หรือตัดต้นไม้ให้หมดอย่างนั้นหรือ?

พระพุทธองค์แม้จะเห็นความเชื่อหรือยึดถือวัตถุเทพเจ้าของลัทธิอื่น ก็ไม่เคยทำลายสิ่งเหล่านั้นด้วยการประทุษร้าย หรือทำรุนแรงกับวัตถุ แต่จะค่อยๆ ให้ธรรมะ
ท่านทำลายอย่างนี้ คนส่วนมากที่เห็นท่านทำ ก็คงจะเกิดโทสะหรือไม่ก็โมหะ เพราะไม่ได้ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่าไปแล้วจะบูชาพระพุทธเจ้าได้อย่างไรที่วัดนี้ แม้แต่ตัวท่านเอง กราบที่ไหน คงพระไตรปิฎกมั้ง
เรียกว่า คนติดอะไรก็ไปทุบอันนั้น อย่างนี้ก็เหนื่อยตายและสิ้นเปลืองเปล่าๆ ฉะนั้น แทนที่เราจะไปทำลายวัตถุซึ่งเป็นได้ทั้งคุณและโทษ ขึ้นต่อบุคคลว่าจะยึดถือถูกหรือยึดถือผิด อย่างนี้เรากลับมาแก้ที่ความเห็นผิดของคนด้วยการให้ปัญญาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องไม่ดีกว่าหรือ?
พระไตรปิฎกก็เป็นวัตถุก็ไม่ต่างกันหรอกค่ะ นั้นเป็นความคิดของพระรูปนี้ (ถ้าคิดอยางนั้นนะ) แบบนี้.. การปฏิบัติการประพฤติธรรมยังต้องอาศัยรูป อาศัยนิมิตก่อนเลย แล้วจึงพิจารณาไตรลักษณ์จึงละ แต่นี่ไปทำลายนิมิตเครื่องหมาย รูปที่ศรัทธา นี้ก็หลงในความคิดตัวเองแล้ว.. ทำลายข้าวของ ก็ประกอบด้วยโทสะแล้ว

………………………………………


ขออนุญาตดึงคุณจ๋ามาร่วมด้วยนะครับ
ค่ะคุณนอร์ธ สวัสดีค่ะคุณจ๋า
jaja says:
สวัสดีทุกท่านค่า กราบนมัสการหลวงพี่ค่ะ

เจริญพรจ๊ะ
คงจำคุณจ๋าได้นะครับ ไม่ได้เข้าวงสนทนาธรรมนานแล้ว
อยากสอบถามเกี่ยวกับเรื่องของการดำเนินธุรกิจนะเจ้าค่ะ คือว่าภาวะเศรฐกิจช่วงนี้ค่อนข้างลง มีบริษัทนึงอาสาช่วยในการไปกู้แบงค์ โดยมีการสร้าง Book Bank สวยๆ กำลังชั่งใจว่า ระหว่างความรับผิดชอบต่อบริษัท ที่ต้องนำพาไปให้รอด กับการไปกู้เงินด้วยวิธีนี้ มันรู้สึกผิดๆ ยังไงๆ อยู่นะเจ้าค่ะ ไม่ทราบว่าหลวงพี่มีความเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้บ้างเจ้าค่ะ
ยังไม่ค่อยเข้าใจวิธีการดำเนินงานนะ ว่าทำอย่างไรให้ Book Bank สวย
ขอถามแบบในทางโลกนะครับ -> ทำไมไม่ยื่นกู้เองครับ?
คือคนทำเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารค่ะ หลักเกณในการปล่อยสินเชื่อตอนนี้ปล่อยยากค่ะ
คือการปรับข้อมูลเพื่อ...  
เป็นการโกหกล่ะสิ

ขอตั้งข้อสังเกตนะคะ น่าจะเป็นการหลอกลวง ไม่น่าไว้ใจค่ะ
เข้าใจว่าอย่างนั้น คือ เค้าเป็นพนักงานธนาคาร ที่โกงธนาคารนะค่ะ
ขอให้ความเห็นในทางโลกนะครับ -> การปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ธนาคารจะดูศักยภาพของบริษัท ความน่าเชื่อถือของบริษัท และหลักทรัพย์ค้ำประกันของบริษัท การที่เราไม่ผ่านแสดงว่าคุณค่าของบริษัทเรายังมีไม่มากพอ หากปล่อยสินเชื่อไป อาจเกิดปัญหาในภายหลัง ก่อให้เกิด NPL ในระบบได้
ช่ายค่ะ ถูกต้องที่คุณนอร์ทว่า บริษัที่อายุไม่เกิน ๒ ปี หลักฐานทางบัญชี การเงินไม่สวย กู้ไม่ได้แน่นอน
ดังนั้น ถึงแม้เราสามารถโกงการปล่อยสินเชื่อได้ แต่เราไม่มีศักยภาพในการผ่อนชำระ ก็จะเกิดปัญหาต่อทั้งบริษัทของเรา ธนาคาร และสังคมส่วนรวมได้ครับ ไม่ควรทำอย่างยิ่งครับ -> ขอฟังในทางธรรมจากหลวงพี่ปิต่อครับ
ในทางหลักธรรม ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเสนอออกไปว่าเป็นความจริงหรือไม่ ถ้าเป็นความจริงตรงตามนั้นก็เรียกว่าถือสัจจะ คือ มิได้มุสาวาท
เค้าบอกว่าคือการที่เค้าเอาเงินของเค้าโอนมาใส่ใน Book bank ของเรา สักระยะเพื่อทำให้น่าเชื่อถือขึ้น ซึ่งก็ตีความแล้วคือสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จนะค่ะ
พนักงานคนนี้ มีพฤติกรรมน่าสงสัยมากนะคะ 
เค้าเป็นบริษํทนะค่ะ มาเปิดอยู่ข้างๆ กัน และมาจ้างทำเว็บ เลยได้รับทราบข้อมูลนะคะ
ในกรณีนี้ต้องพิจารณาว่า เรามีทรัพย์เช่นนั้นจริงหรือไม่ในการถ่ายโอนสินทรัพย์ หรือเรามีปกติกระทำเช่นนั้นหรือไม่ หรือเป็นเพียงการตบตา
ที่ธนาคารต้องการทราบ Book Bank เพราะต้องการดูความเคลื่อนไหวของ Cashflow ของบริษัทครับ หากทำเช่นนี้ในทางปฏิบัติสามารถทำได้ แต่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง แล้วยิ่ง Cashflow ของเรายังติดลบด้วยเนี่ย ยิ่งแย่ใหญ่ครับ
มีใครสงสัยอะไรอีกบ้างคะ
.....
สี่ทุ่มแล้วค่ะ

อาตมาจะขอตัวแล้วล่ะนะ ได้เวลาพักแล้ว สำหรับในวันนี้ขอฝากพุทธศาสนสุภาษิตไว้ว่า
ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ

คนโกรธจะทำลายสิ่งใด สิ่งนั้นแม้จะทำยาก ก็ดูทำง่ายไปหมด

กราบนมัสการเจ้าค่ะ  สวัสดีทุกท่านค่ะ
เจ้าค่ะ กราบนมัสการเจ้าค่ะ ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณพระอาจารย์มากครับ
กราบพระกันด่วน
ขออนุโมทนาทุกคนที่ร่วมสนทนากันในค่ำคืนนี้ แล้วพบกันใหม่วันอาทิตย์หน้าเวลา ๒ ทุ่มเช่นเดิม เจริญพรทุกคนจ๊ะ
กราบนมัสการค่ะ
Daystar says:
กราบนมัสการครับ







๑    ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๑๗๐(ปุญญกิริยาวัตถุ ๓), ที.ปา.อ.๑๖ หน้า ๓๑๒-๔ (ปุญญกิริยาวัตถุ ๑๐)
๒    ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๑๗๒ ขยาย ที.ปา.อ.๑๖ หน้า ๓๑๘, องฺ.ติก.๒๐/๕๒๑/๒๑๘ (สิกขา ๓)
๓    องฺ.ปญฺจ.๒๒/๓๓๔/๓๖๘ นิพเพธิกสูตร
“ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ”
๔    อภิ.สํ.๓๔/๑/๑; อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๑๕๒-๓
[กุศลศัพท์ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ ความฉลาด และมีสุขเป็นวิบาก ....
(ข้าแต่ท่านพระอานนท์ กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ).... (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสมาทานธรรมทั้งหลายที่เป็นสุขวิบาก และคำว่า เพราะทำกรรมที่เป็นสุขวิบาก)
น   หิ  ธมฺโม  อธมฺโม  จ  อุโภ  สมวิปากิโน
อธมฺโม   นิรยํ  เนติ          ธมฺโม  ปาเปติ  สุคตึ.
ธรรมและอธรรม ทั้งสองมีวิบากเสมอกันหามิได้
อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ .



      “พบวัดพิลึก ห้ามไหว้พุทธรูป (๒๖ ก.ค. ๕๑) อ้างเป็นแค่วัตถุ เขียนป้ายโชว์หรา “ทองเหลืองหล่อนี้ไม่ใช่ พุทธเจ้าแน่ ไม่ต้องกราบมัน” เคยทุบทำลายพระพุทธรูปที่ชาวบ้านมาถวาย แถมห้ามคนแขวนพระเครื่องเข้าวัด...”
เมื่อวันที่ ๒๕ ก.ค. ภายหลัง นสพ.ไทยรัฐ ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่ไปทำบุญที่วัดสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ว่า ทางวัดห้ามชาวบ้านกราบไหว้ พระพุทธรูปแถมยังติดป้ายข้อความไว้หน้าองค์พระอย่างไม่เหมาะสม กลายเป็นที่ฮือฮาของชาวบ้านทั้งในและพื้นที่ใกล้เคียง จ.เพชรบูรณ์
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ... หน้าศาลาการเปรียญมีป้ายข้อความเขียนอย่างเด่นชัดว่า “ตามที่ข้าฯ สอนคำพุทธองค์ ยังพึ่งมนต์ การปลุกเสกเครื่องรางฯ รูปเคารพ ถ้าอยากฟังสิ่งที่ข้าฯ พูดให้ได้ประโยชน์ ควรนำสิ่งเหล่านั้นออกให้พ้นจากความคิด แล้วมาฟังถามปัญหากับข้าฯ ใครทำไม่ได้อย่ามา เสียเวลาเหนื่อยเปล่าๆ ทั้งคนพูดและคนฟัง ขอยืนยันคำพุทธแท้ท่านไม่ให้พึ่งสิ่งเหล่านั้น ใครพึ่งถือว่าเป็นชาวพุทธสกปรก” ลงชื่อ พระเกษม อาจิณณสีโล
อีกป้าย มีข้อความว่า “เมื่อข้าฯ เทศน์ให้ผู้พึ่งมนต์ เครื่องรางของขลังฟัง ข้าฯเหนื่อย หงุดหงิด ไม่สบายใจ รู้สึกไม่ดี เมื่อไม่พึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริง ไม่ต้องมาฟังข้าฯเทศน์ ข้าฯเหนื่อยโดยเปล่าประโยชน์ เพราะผู้มีเครื่องรางของขลัง ของอย่างนี้ฟังไม่เข้าใจ”
นอกจากนี้ ในศาลาการเปรียญยังมีข้อความคำสอนที่อ้างอิงจากพระไตรปิฎกติดไว้ตามเสาศาลา การเปรียญจำนวนมาก และพบพระพุทธรูปทองเหลืองคล้ายพระพุทธชินราช สูงประมาณ ๑๕๐ ซม. หน้าตักกว้าง ๙๐ ซม.ตั้งอยู่บนแท่นมีป้ายข้อความ ๒ แผ่นวางไว้หน้าองค์พระ ป้ายแรกวางระบุว่า “ห้ามนำดอกไม้และเครื่องบูชามาวางไว้บริเวณนี้” ส่วนอีกป้ายวางไว้ตรงฐานพระเขียนว่า “ ทองเหลืองหล่อนี้ ไม่ใช่พุทธเจ้าแน่ ไม่ต้องกราบมัน ”
สอบถามทราบว่า เจ้าอาวาสวัดนี้ชื่อ พระเกษม อาจิณณสีโล อายุ ๔๘ ปี ถึงเหตุผลที่ต้องปิดป้ายห้ามกราบไหว้พระพุทธรูปจนกลายเป็นเรื่องฮือฮาในหมู่ชาวพุทธ ได้รับการชี้แจงว่า หากใครไม่ยินดีที่จะรับฟังคำสอนก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางมา เพราะวัดนี้ได้ยึดตามแนวพระไตรปิฎกทั้งสิ้น โดยไม่ยึดถือตำราใดๆ และการมีวัตถุมงคลนั้นถือเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา หากผู้ใดไม่นำสิ่งของวัตถุมงคลทั้งพระพุทธรูป ตะกรุด พระห้อยคอต่างๆ ออกจากตัวและบ้านพักเคหสถาน แล้วก็ไม่ต้องเข้ามาที่วัดแห่งนี้ เพราะที่วัดสอนอย่างมีหลักการและเหตุผลสำหรับคนที่เปิดประตูรับเท่านั้น และจะต้องไม่ติดยึดกับวัตถุมงคลเพราะเป็นพุทธพาณิชย์
พระเกษมยังกล่าวอีกด้วยว่า การสอนธรรมะก็เช่นกัน ในพระไตรปิฎกได้บัญญัติไว้ว่าให้สอนธรรมะด้วยภาษาท้องถิ่น การสวดเป็นภาษาบาลีให้คนไทยฟังโดยไม่มีความเข้าใจในความหมายนั้นจะไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก่อนหน้านั้นผู้ที่มีความรู้หรือการศึกษาระดับสูงเคยเข้ามาที่วัดครั้งแรกก็ไม่เข้าใจในแนวทางนี้ แต่เมื่อได้รับหนังสือของวัดไปศึกษาก็บังเกิดความเข้าใจและกลับไปนำพระพุทธรูปออกจากบ้าน นำพระเครื่องออกจากคอและหันกลับมาศึกษาในพระไตรปิฎกซึ่งเป็นแก่นแท้ของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง “อาตมาไม่ได้มุ่งหวังจะให้ทุกคนต้องเข้ามาตามแนวทางนี้ หากมา ๑๐ คนสามารถเข้าถึง ๑ คน หรือหากมา ๑๐๐ เข้าถึง ๕ คน ก็ไม่เป็นไร ได้เท่าไรก็เท่านั้นเพราะขึ้นอยู่กับการเปิดรับของแต่ละบุคคล แม้มีเพียง ๕ คนที่เข้าใจก็จะสอนให้ เท่านั้น” พระเกษมกล่าว
๖       จากการสอบถามลูกศิษย์คนหนึ่งของพระเกษม กล่าวว่า คำสอนของพระเกษมไม่ให้ติดยึดกับเครื่องรางของขลัง ก่อนหน้านั้นที่บ้านของตนมีพระพุทธรูปและพระเครื่องที่ได้มาจากบรรพบุรุษ แต่พอได้ฟังธรรมจากพระเกษมที่สอนว่าในพระไตรปิฎก ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างวัตถุมงคลหรือพระพุทธรูป ถือเป็นสิ่งงมงายกับวัตถุที่อุปโลกน์กันขึ้นมา แถมยังทำให้จิตใจผูกติดอยู่กับสิ่งนั้น ไม่เข้าใจถึงแก่นของพระธรรมคำสอนของพุทธเจ้าได้
พระอาจารย์สอนว่า ที่ผ่านมาเราเชื่อและกราบไหว้พระพุทธรูป ก่อนตายให้นึกถึงคุณพระเอาไว้ ทำให้จิตของคนที่กำลังจะตายติดอยู่ในพระพุทธรูปองค์แล้วเราก็นำมากราบไหว้โดยที่ไม่รู้ว่ากำลังไหว้วิญญาณของคนที่ตายไป ที่ถูกควรระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่มายึดถือกราบไหว้พระพุทธรูป
ลูกศิษย์พระเกษมกล่าวอีกว่า วัดสามแยกเคยได้รับบริจาคพระพุทธรูป วัตถุมงคลจำนวนมาก หลังรับมาแล้วพระอาจารย์จะขุดหลุมนำพระพุทธรูปและวัตถุมงคลต่างๆ วางในหลุมแล้วราดด้วยน้ำกรดผสมเกลือเพื่อให้ผุพังและฝังกลบทิ้งทันที เหลือแต่พระพุทธรูปทองเหลืองเพียงองค์เดียวที่ทางวัดเก็บไว้ให้เป็นการเตือนสติ ไม่ให้ยึดถือโดยเขียนป้ายห้ามกราบไหว้ไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งคำสอนไม่ให้ติดยึดกับวัตถุมงคลอาจจะแตกต่างจากวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชนทั่วไป แต่ที่จริงแล้วก็เหมือนกัน เพราะดำเนินการไปตามแนวทางของพระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด

ออกหมายจับพระ ห้ามกราบพุทธรูป [๕ ส.ค. ๕๑ - ๑๐:๕๓]
กรณีมีผู้ร้องเรียนเข้ามายัง “ไทยรัฐ” ว่าภายในที่พักสงฆ์สามแยก บ้านห้วยยางทอง หมู่ ๙ ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ มีการเขียนป้ายติดไว้ด้านหน้าองค์พระพุทธชินราช (จำลอง) ว่า “ทองเหลืองหล่อนี้ไม่ใช่พุทธเจ้าแน่ ไม่ต้องกราบมัน” และ “ห้ามนำดอกไม้และเครื่องบูชามาวางไว้บริเวณนี้” รวมทั้งการใช้เท้าเหยียบพระพุทธรูป โดยพระเกษม อาจิณณสีโล ผู้ดูแลที่พักสงฆ์สามแยก ชี้แจงว่าเป็นกุศโลบายในการสั่งสอนไม่ให้ชาวพุทธยึดติดกับวัตถุที่เป็นพุทธพาณิชย์ แต่เน้นให้ยึดถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามพระไตรปิฎก...

สมภารห้ามไหว้ 'พระพุทธรูป' เข้ามอบตัวกับตำรวจ [๗ ส.ค. ๕๑ - ๐๑:๕๖]
ผู้สื่อข่าวรายงานวานนี้ (๖ ส.ค.) ว่า พระเกษม อาจิณณสีโล สมภารแห่งที่พักสงฆ์ สามแยก ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ พร้อมทนายความ เข้ามอบตัวกับตำรวจ สภ.น้ำหนาว ตามหมายจับข้อหาเหยียดหยามดูหมิ่นศาสนวัตถุ โดยมีพระลูกวัด และญาติโยม จำนวนหนึ่ง ติดตามไปให้กำลังใจ
          ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากับพระเกษม พร้อมกับพิมพ์ลายนิ้วมือ ก่อนที่จะนำตัวไปสอบปากคำนาน ๔ ชั่วโมง พระเกษมให้การปฏิเสธ ไม่ได้ดูหมิ่นเหยียดหยามศาสนวัตถุ แต่ยอมรับว่า การใช้เท้าเหยียบฐานพระพุทธรูป และใช้มือตบเศียรพระพุทธรูป เป็นความตั้งใจ ที่ต้องการสอนประชาชนไม่ให้ลุ่มหลงในวัตถุ ตามหลักคำสอนของพระไตรปิฏก
จากนั้นพระเกษม ได้ใช้หลักทรัพย์โฉนดที่ดินมูลค่า ๒๑๐,๐๐๐ บาท ประกันตัวไป โดยพระเกษม และพระลูกวัด ยืนยันว่า จะไม่ออกจากวัดอย่างเด็ดขาด ตามที่คณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์ขีดเส้นตายให้ออกจากวัดในวันนี้ (๗ ส.ค.)

๗    ขุ.ขุ.อ. เล่ม ๓๙ หน้า ๓๑๓ (อรรถกถานิธิกัณฑสูตร)

[ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา ชื่อว่า เจจิยะ เพราะวิจิตรแล้ว. เจดีย์นั้นมี ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์ อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์.
บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า บริโภคเจดีย์ พระพุทธปฎิมา ชื่อว่า อุทิสสกเจดีย์ พระสถูปที่มีห้องบรรลุพระธาตุ ชื่อว่า ธาตุกเจดีย์.์]

๘    ขุ.ชา.อ. เล่ม ๖๐ หน้า ๒๖๗ (อรรถกถากาลิงคชาดก)

       ความพิสดารว่า พระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปตามชนบท เพื่อประโยชน์จะทรงสงเคราะห์เวไนยสัตว์ ชาวกรุงสาวัตถีต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปยังพระเชตวัน ไม่ได้ปูชนียสถานอย่างอื่นไปวางไว้ที่ประตูพระคันธกุฎี ด้วยเหตุนั้น เขาก็มีความปราโมทย์กันอย่างยิ่ง.
ท่านอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีทราบเหตุนั้นแล้ว จึงไปยังสำนักพระอานนท์เถระ ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จมาพระเชตวัน กล่าวว่า  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อพระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไป พระวิหารนี้ไม่มีปัจจัย มนุษย์ทั้งหลายไม่มีสถานที่บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น   ขอโอกาสเถิดท่านเจ้าข้า ขอท่านจงกราบทูลความเรื่องนี้แด่พระตถาคต แล้วจงรู้ที่ที่ควรบูชาสักแห่งหนึ่ง.                
พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง . พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์. พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้างพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑ .
พระอานนทเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์ได้หรือ. พระศาสดาตรัสว่า  อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะธาตุเจดีย์นั้น จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าอาศัยเป็นที่ตรัสรู้ ถึงพระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้วก็ตาม เป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน. พระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จหลีกไป พระมหาวิหารเชตวันหมดที่พึ่งอาศัย มนุษย์ทั้งหลายไม่ได้สถานที่เป็นที่บูชา ข้าพระองค์จักนำพืชจากต้นมหาโพธิมาปลูกที่ประตูพระเชตวัน พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดีแล้วอานนท์ เธอจงปลูกเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น ในพระเชตวันก็จักเป็นดังตถาคตอยู่เป็นนิตย์.
พระอานนท์เถระบอกแก่พระเจ้าโกศล อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นต้น ให้ขุดหลุม ณ ที่เป็นที่ปลูกต้นโพธิที่ประตูพระเชตวัน แล้วกล่าวกะพระมหาโมคคัลลานเถระว่า ท่านขอรับ กระผมจักปลูกต้นโพธิที่ประตูพระเชตวัน ท่านช่วยนำเอาลูกโพธิสุกจากต้นมหาโพธิให้กระผมทีเถิด.             

ขุ.ธ.อ.เล่ม ๔๒ หน้า ๓๕๕ (เรื่องพระจดีย์ทองของพระกัสสปทสพล [๑๕๖]), วินย.ฎีกา.๑/๒๖๓

[ลำดับนั้น พระตถาคตเจ้า เพื่อทรงปลดเปลื้องความสงสัยของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสเทศนา ฆฏิการสูตร ในมัชฌิมนิกาย แล้วทรงนิรมิตพระเจดีย์ทองของพระกัสสปทศพล สูงหนึ่งโยชน์ และพระเจดีย์ทองอีกหนึ่งองค์ไว้ในอากาศ ทรงแสดงให้มหาชนเห็นแล้วตรัสว่า ตรัสว่า "ดูก่อนพราหมณ์ การบูชาซึ่งบุคคลควรบูชาชนิดเช่นนี้ ย่อมสมควรกว่าแท้" ดังนี้แล้ว จึงทรงประกาศปูชารหบุคคล ๔ จำพวก มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น โดยนัยดังที่ตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรนั้นเอง แล้วทรงแสดงโดยพิเศษถึง พระเจดีย์ ๓ ประเภทคือ สรีรเจดีย์ ๑ อุททิสเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ (ครั้นแล้ว) ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า.
ปูชารเห ปูชยโต พุทฺเธ ยทิ จ สาวเก
ปปญฺจสมติกฺกนฺเต ติณฺณโสกปริทฺทเว
เต ตาทิเส ปูชยโต นิพฺพุเต อกุโตภเย
น สกฺกา ปุญฺญํ สงฺขาตุํ อิเมตฺตมปิ เกนจิ.
"ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควรบูชา คือพระพุทธเจ้า หรือว่าพระสาวกทั้งหลายด้วย ผู้ก้าวล่วงปปัญจธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้มีความเศร้าโศก และความคร่ำครวญ อันข้ามพ้นแล้ว (หรือว่า) ของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควร
บูชาเช่นนั้นเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยเเต่ที่ไหนๆ ด้วยการนับแม้วิธีไรๆ ก็ตาม ว่าบุญนี้มีประมาณเท่านี้ " ดังนี้.     
แก้อรรถ

บุคคลผู้ควรเพื่อบูชา อธิบายว่า ผู้ควรแล้วเพื่อบูชา ชื่อว่าปูชารหบุคคลในพระคาถานั้น. คำว่าของบุคคลผู้บูชาอยู่ซึ่งท่านผู้ควรบูชา  ความว่า ผู้บูชาอยู่ด้วยการนอบน้อมมีกราบไหว้เป็นต้นและด้วยปัจจัย ๔. .. ผลทานของผู้บูชาในสถานะทั้งสอง เป็นอย่างไรกัน ? บุญของผู้บูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่ ใครๆ ไม่อาจนับได้ก็พอทำเนา. บุญของผู้บูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้เช่นนั้นแม้นิพพานแล้วด้วยขันธปรินิพพาน อันมีกิเลสปรินิพพานเป็นนิมิต ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้อีกเล่า เพราะฉะนั้น ควรจะแตกต่างกันบ้าง. เพราะเหตุ (ที่จะมีข้อสงสัย) นั้นแหละ ท้าวสักกะจึงกล่าวไว้ในวิมานวัตถุว่า
"เมื่อพระสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ยังทรงพระชนม์อยู่ก็ดี นิพพานแล้วก็ดี เมื่อจิตเสมอกัน ผลก็ย่อมเท่ากัน ในเพราะเหตุคือความเลื่อมใสแห่งใจ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสู่สุคติ" ดังนี้.

๙    อง.สตฺต.๒๓/๖๑/๘๑





 

Create Date : 27 กันยายน 2551    
Last Update : 28 กันยายน 2551 19:32:56 น.
Counter : 456 Pageviews.  

1  2  

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.