εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 
นิยาม ๕ ตอนที่ ๓ สาระสำคัญของกรรมนิยาม 510824 ตอนจบ

ธรรมะOn M. เรื่อง นิยาม ๕ ตอนที่ ๓ สาระสำคัญของกรรมนิยาม
(วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๑) ตอนจบ

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร

เป้ says:
นิมนต์ท่านมหาสุเทพเจ้าค่ะ

Moon says:
อือๆๆๆ เอาพอประมาณนะ และก็ถามแบบธรรมดาๆ สามัญ อย่าให้ลึกจนต้องขุดหลุมตอบ และอย่าให้สูงจนต้องปีนกะไดตอบ

เดี๋ยวขอแนะนำพระอาจารย์วิทยากรก่อนเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโรเจ้าค่ะ

ถวายคารวะครับ พระมหาสุเทพ อุปสมบท ๑๔/๕/๒๕๔๐
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านมหาสุเทพครับ กระผม พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร วัดญาณเวศกวัน อุปสมบท ๒๖ ธ.ค.๒๕๔๒ ครับ

แต่เกิดปีเดียวกัน ๒๕๑๖
งั้นเรียกหลวงน้อง โดยพรรษา
นิมนต์ครับ เรียกอย่างไรก็ได้
เรียกท่านปิยะลักษณ์ดีกว่าครับ
จะเริ่มดึงสมาชิกเข้าร่วมสนทนานะเจ้าคะ
อ้าวๆ
ร้อนเหรอ
พระใหม่ยังไม่พร้อม
เอาล่ะ โยมเป้ พร้อมแล้ว

เชิญน้องแอมค่ะ
walk says:
นมัสการค่ะ พูดไม่ถูกนะค่ะ ขออภัย

เชิญพี่ปานค่ะ นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
นมัสการท่านเอกชัยครับ
พระเอกชัยEmptiness does not mean Nothingness says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

เชิญคุณคนขับช้าค่ะ
คนขับช้า-preephas@hotmail.com says:
ครับ

วันนี้คุยเรื่องอะไรดี
นิมนต์เรียนถามท่านพระอาจารย์มหาสุเทพ ขยายความคำว่า “กรรมนิยาม” ครับ
หมัดหนักนะท่านอาจารย์
การกระทำ/ผลของการกระทำกำหนดให้เป็นไปครับ

แล้วมันจะให้ผลได้อย่างไรครับ
เชิญคุณต่ายค่ะ
RaBbIt:ความรู้เจ้ายังด้อย เร่งศึกษา says:
ค่ะ
เย้ วันนี้มีบุญ ได้เห็นพระคุยกัน
ผมว่านะ เราใช้คำว่า "ให้ผล" จนเคยชิน ถ้าจะให้ตรงๆ ควรใช้คำว่า "เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้..." ดีกว่า
งั้นก็ต้องมีเหตุปัจจัยอื่นร่วมด้วยสิเจ้าคะถึงจะเกิด
แม่นแล้ว
งั้น ถ้าไม่อยากให้สิ่งไม่ดีเกิดขึ้น ก็พยายามตัดเหตุปัจจัยร่วม (ของเหตุการณ์ที่ไม่ต้องการ)
ยากนะโยม เพราะเราอยู่ร่วมกับคน สิ่ง สัตว์ อื่นๆ อีกมาก
อย่างเช่นว่า คนชอบตกปลา วันหนึ่งเขาถูกเหล็กเกี่ยวที่ปาก ทำให้ปากแหว่งไป เขาก็บอกว่าเป็นกรรมเก่าที่เขาชอบตกปลา อย่างนี้จะอธิบายอย่างไรครับ
ถ้าถือตามพระว่า ก็ต้อง "ไม่ประมาท" ถ้าถามกระผม กระผมจะตอบว่า ไม่ทราบหรอกว่าเป็นวิบากของกรรมเก่าหรือเปล่า เพราะไม่ได้บรรลุ “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ”
แต่เอาแค่กรรมปัจจุบันที่เขาประมาท หรือประสบเหตุการณ์เช่นนั้นโดยการกระทำของใครอื่น ก็สามารถอธิบายความได้เข้าใจแล้ว สรุปคือ ถึงไม่โทษกรรมเก่า ก็พอจะเข้าใจกันได้

อย่างนี้ถ้าบอกว่า พระเจ้าทำ ก็เข้าใจได้เหมือนกันสิ
เข้าใจได้ แต่ผิด-ถูก อีกเรื่องนะ
แล้วอย่างไรจึงจะถูกล่ะเจ้าคะ หลักความคิดน่ะเจ้าค่ะ
คนส่วนใหญ่ที่เขาสงสัย เขาสงสัยว่าการที่เขาชอบตกปลา มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เขาต้องถูกเหล็กเกี่ยวปากได้หรือไม่ หรือกรรมนั้นส่งผลให้เขาถูกเกี่ยวปากจริงหรือไม่
กรรมนั้นส่งผลให้เขาถูกเกี่ยวปากจริงหรือไม่ อืมม.. จริงหรือเปล่า
ก็เป็นความสงสัยที่ต้องอธิบายกันอีกนาน เพราะคน (ไทยส่วนใหญ่) ชอบสงสัย คือมีนิสัยสงสัย แต่ไม่ชอบศึกษา
ผมแรงไปเปล่าเนี่ยะ

เป็นเพราะต้องการจะศึกษาเลยสงสัย ถ้าไม่สงสัยก็คงหลงเชื่อไปเลย ไม่ถามอีก
เอ เราแรงไปป่าวเนี่ย

บางคนเขาก็เชื่อว่า เป็นเพราะกรรมอันนั้นอันนี้ให้ผล อย่างนี้เราจะอธิบายแก่ตัวเราอย่างไร
ตอบแบบเจาะจงว่ากรรมนั้นกรรมนี้คงไม่ถูกครับ ผิดหลักพระพุทธศาสนา
ถ้ารวมกรรม ก็แยกแยะกันไม่ถูกซิค่ะ
....
เชิญน้องปรุงค่ะ

[c=#๐๐๘๐FF] Pagorn[/c] says:
ครับ

เมือ่กี้ถึงไหนกันแล้วเอ่ย
กรรมค่ะ พี่เป้
การส่งผลของกรรม
ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วรึป่าวครับ?
ถ้าสามารถเสริมความเข้าใจในสัปดาห์ที่แล้วได้ ก็จะเป็นการดี เมื่อสักครู่สอบถามท่านมหาสุเทพ เรื่องเกี่ยวกับการให้ผลของกรรม ว่ากรรมให้ผลได้อย่างไร
ครับ
บางคนพึ่งเคยเข้ามานะค่ะ เลยไม่ทราบเรื่องสัปดาห์ที่แล้ว ขออนุญาติร่วมฟังค่ะ
เช่นกันครับ โชคดีที่ผมอ่านมาแล้วบ้าง
ท่านมหาสุเทพเงียบไปเลย สงสัยหลับไปแล้วมั้ง
สนทนากันถึงกี่โมงครับ
ประมาณสี่ทุ่มค่ะ
ครับ
มีใครมีคำถามอื่น ที่อยากถามไม๊คะ ถามได้เลยนะ
งั้นผมขอถามเลยแล้วกัน ....เราสามารถล้างบาปได้หรือไม่ครับ
ล้างบาปที่ทำมาแล้วไม่ได้ แต่สามารถแก้ไขกรรมในปัจจุบันได้
แก้ไขการกระทำที่กำลังทำใช่ไม๊เจ้าคะ
การแก้ไขกรรมในปัจจุบัน เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขผลของกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ทุกขณะให้แปรรูป หรือเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นได้
เช่น กรรมเก่าทำให้เราเจ็บป่วย เราก็แก้ไขกรรม คือ การกระทำในปัจจุบันด้วยการทานยาให้หายจากอาการที่เป็นอยู่ เป็นต้น

มันเป็นวิทยาศาสตร์จ๋า จังเลยเจ้าค่ะ เอาแนวจิตใจ
เชิญคุณนัฐค่ะ
น.น้ำใจดี (FM๘๙.๒๕Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

แล้วความผิดเก่าหล่ะค่ะ
แล้วเราสามารถทำให้กรรมเก่าที่ทำไปแล้วพอทุเลาลงได้หรือไม่ครับ
กรรมเก่าที่ทำไปแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ผ่านไปหมดแล้ว จะย้อนกลับไปแก้ไขกรรมในอดีตได้อย่างไร
ที่ต้องทนทุกข์เพราะการกระทำของตัวเองน่าจะเป็นตัวอย่าง เพราะแก้ไม่ได้ เลยมีความผิดติดตัวเจ้าค่ะ
อืมมม ต้องเมตตาตนเองก่อนนะ ให้อภัยตัวเองก่อน
สิ่งที่บุคคลจะสามารถกระทำได้อยู่ทุกขณะ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขการใช้ชีวิตในปัจจุบันเท่านั้น และการกระทำในปัจจุบันนี้เองที่เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว ย่อมจะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ แม้ว่ากรรมในอดีตจะส่งผลอยู่ก็ตาม แต่กรรมที่ทำในปัจจุบันย่อมจะให้ผลประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่างๆ ไปในทางที่ดีขึ้น
ขอบพระคุณเจ้าค่ะ
ขอบพระคุณครับ
แต่กรรมที่เราทำบางอย่าง ให้ผลให้รู้ซึ้งถึงสัจธรรมและมันทิ้งเวลา ปะปนกับการงานเสียหายไปทั่วกัน
และต้องเข้าใจว่า การให้ผลของกรรมนั้น มิใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ลอยๆ แต่ก็อาศัยเหตุปัจจัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนี่เอง เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อบุคคลนั้นอยู่ทุกขณะ
เช่น มาในอุปนิสัยใจคอของเรา ความเป็นตัวเรา ความรู้ความสามารถ ทัศนคติที่เรามีต่อโลก ระดับสติปัญญา หรืออะไรต่างๆ เหล่านี้ที่ติดตัวเรามา ย่อมเป็นภาพสะท้อนอันเป็นผลที่เกิดจากอดีตกรรม ไม่ว่าจากภพนี้หรือภพก่อนๆ ก็ตาม ซึ่งจะสั่งสมความเป็นอัตตลักษณ์ของบุคคลๆ นั้น และแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ เป็นเหตุให้วิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป
การที่คนเรามีแนวทางการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ล้วนขึ้นต่อโอกาส ความรู้ความสามารถ และการตัดสินใจของแต่ละบุคคลที่จะเลือกกระทำการต่างๆ ตอบสนองต่อสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องในรูปแบบที่แตกต่างกัน นั่นเพราะอะไร ?
ก็ด้วยเหตุว่าความเป็นตัวตนของบุคคลนั้นนั่นเอง ที่ผ่านประสบการณ์และอดีตกรรมมาไม่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงวิถีชีวิตและความเจริญของบุคคล ที่นับวันจะยิ่งแสดงตัวออกมาเป็นภาพลักษณ์ในความเป็นบุคคลๆ นั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
ฉะนั้นบุคคลใดผ่านอดีตกรรมที่ดีมา สร้างเหตุปัจจัยแห่งความเจริญมา ลักษณะอุปนิสัยที่นำไปสู่การดำเนินชีวิต ก็ย่อมชักพาบุคคลนั้นไปสู่สังคมที่ดี มีมิตรดี มีแนวความคิดทัศนคติที่ดี มองโลกอย่างชาญฉลาด สามารถอาศัยเหตุปัจจัยที่มีอยู่เกื้อหนุนชีวิตให้ได้รับความสุขได้
การที่เราเลือกปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล ย่อมจะมีผลต่อชีวิตของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้น ดังนี้แล้วเราจะกล่าวว่า ตัวเราจะเป็นไปอย่างไร ล้วนขึ้นต่ออดีตกรรมที่เคยกระทำมาอย่างนั้นหรือ ?

ก็ปัจจุบันด้วยสิ ที่เรียกว่าเป็นปัจจัย
โดยแท้ตัวเรานี่ล่ะ ที่เป็นผลรวมของอดีตกรรมที่เรากำลังเป็นอยู่ทุกขณะ ศักยภาพที่เรามีอย่างเต็มเปี่ยมนั่นล่ะคือวิบากขันธ์อันเป็นผลจากอดีตกรรมที่สร้างสมขึ้นเป็นตัวเรา
ฉะนั้น การกระทำการแสดงออกที่เรากำลังกระทำอยู่ทุกขณะในขณะนี้ ก็กำลังจะเป็นอดีตกรรมที่จะส่งผลแก่เราต่อไปในอนาคต
ฉะนั้น เราทุกคนจึงมีหน้าที่และศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่างๆ ในชีวิตได้ด้วยตัวเราเอง เมื่อเราอาศัยสติปัญญาที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างสิ่งดีๆ ให้แก่ชีวิตของเราอยู่เสมอ

หากจะกล่าวว่า ตัวเราเลือกกระทำสิ่งใดๆ เผชิญสิ่งใดๆ ล้วนเป็นผลที่มาจากอดีตกรรม ก็พอจะบอกได้ว่าเป็นความจริงเช่นนั้นหากเราเข้าใจความหมายของอดีตกรรมที่กำลังส่งผลอยู่ทุกขณะว่า คือ ความเป็นตัวเรา ความเคยชิน(วาสนา)ของเรา
วิธีการตัดสินแก้ไขปัญหาของเรา เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากอดีตกรรม คือการสั่งสมอุปนิสัยใจคอ และวิถีการดำเนินชีวิตที่แต่ละคนก็ไม่ทราบว่า ทำไม ? เราจึงต้องเลือกปฏิบัติเช่นนั้น
อืมม แล้วทำไมล่ะ เราถึงทำสิ่งที่เราทำนี้
นั่นสิครับ
แต่นั่นล่ะ ก็คืออดีตกรรมที่ส่งผล คือ ตัวเราที่กระทำต่อสิ่งต่างๆ จนเคยชิน กลายอุปนิสัยใจคอเป็นเหตุให้ดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่แตกต่างกัน มีชีวิตที่แตกต่าง มีสังคมที่แตกต่าง มีการตัดสินใจที่แตกต่าง นี่ล่ะ อดีตกรรมที่ส่งผลอยู่ทุกขณะ คือความเป็นตัวของตัวเรานี่เอง ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข หากแม้นไม่ใช้ความพากเพียรพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะควบคุมความประพฤติหรืออุปนิสัยของตน (ให้อยู่ในศีลในธรรม)
คนโดยมากไม่เข้าใจต่ออดีตกรรม คือ การกระทำในอดีตที่สั่งสมมา จึงเข้าใจไปว่า ชีวิตที่ดำเนินเป็นไปอยู่นี้ เป็นเพราะสิ่งนั้นสิ่งนี้กระทำต่อเรา
เช่น โทษกรรมในชาติแต่ปางก่อนบ้าง โทษผีสางนางไม้บ้าง โทษโชคเคราะห์บ้าง
แต่โดยแท้จริงแล้ว สิ่งที่ควบคุมความเป็นไปของชีวิตเรา ก็คือกรรมของเรานี่เอง และกรรมที่ว่าก็คือ ผลรวมของการกระทำทั้งสิ้นที่ประมวลเข้ามาเป็นตัวเรา ทั้งนิสัยใจคอ ความคิดอ่าน และวิถีการดำเนินชีวิต
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนตกแก่ผู้กระทำทั้งสิ้น คือ ผู้สร้างกรรมให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น และจะส่งผลเช่นนี้เรื่อยไปต่อชีวิตของบุคคลๆ นั้น ตราบเท่าที่บุคคลๆ นั้นไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติที่มีต่อโลก

งั้นต้องปรับความคิด แล้วทำไงถึงจะรู้ว่าควรปรับล่ะเจ้าคะ
มีคนมาใหม่ครับ
ใครเอ่ย แนะนำตัวด้วยค่ะ
เว๊บช่างภาพ-วีดีโอเข้ามาดูกันน่ะ //thanbadee.multiply.com says:
อืม ธนบดีครับผม สนทนาธรรมกันเหรอครับ

ครับ
ใช่ค่ะ เรื่องการให้ผลของกรรม
คุณธนบดี เป็นเพื่อนใครเหรอคะ

มีคนพาผมมา ในๆ ที่ผมควรจะมาครับ
ใครล่ะ
ใครพาผมมาแนะนำด้วยครับ ผมยังไม่รู้จักเขาเลย
ผมปรุงครับ
ดังตัวอย่างข้างต้น ที่ถามถึงเรื่องการตกปลา โดยแท้แล้วผู้ที่มีนิสัยดำเนินชีวิตด้วยความประมาทอยู่เสมอ ไม่เห็นในทุกข์สุขของบุคคลอื่นสัตว์อื่นจนเคยตัว การกระทำด้วยความประมาทขาดสติเช่นนั้นเป็นประจำ ก็ย่อมส่งผลให้เขาเหล่านั้นมีความประมาทเลินเล่อ ไม่อาจยับยั้งชั่งใจตนให้ตั้งอยู่ในศีลในธรรม อีกทั้งต้องข้องเกี่ยวอยู่กับวัสดุอุปกรณ์ที่อันตราย
เช่น ตะขอ ฉมวก มีด ปืน เป็นต้น รวมถึงหมู่พาลชนที่มีนิสัยใจคอโหดร้าย ไม่มีความยับยั้งชั่งใจเช่นกัน ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สิ่งที่ไม่ดีมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยิ่งกว่าบุคคลทั่วๆ ไป ที่ไม่มีโอกาสเกี่ยวข้องด้วยสิ่งของและบุคคลเหล่านี้

เขาเอาเข้าไปอยู่ในความเสี่ยงนั้นด้วย เข้าไปในเหตุการณ์ที่มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดได้
รวมถึงสภาพของจิตใจที่หยาบกระด้าง เช่น ความเป็นคนใจร้อน เป็นคนดุ เป็นต้น ก็ทำให้อะไรๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ไม่มีการยั้งคิดที่ดี ก็เป็นเหตุให้เกิดสิ่งที่ไม่ดี และความผิดพลาดพลั้งไปได้มากมาย
เรื่องกรรม เป็นเรื่องที่มันไม่จบสิ้น จนกว่าจะได้อริยมรรคใช่ป่ะครับ
ฉะนั้น หากเราพิจารณากรรมดังกล่าวมาข้างต้น ก็พอจะเข้าใจได้ว่ากรรมนั้นให้ผลได้อย่างไร วิบากและผลของกรรมนั้นให้ผลต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายได้อย่างไร
อืมม ถ้ามองเรื่องของการตกปลาแล้วโดนเบ็ดเกี่ยว คนที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมก็บอกว่า เราทำตัวเราให้ไปอยู่ในเหตุการณ์ที่เสี่ยงเองได้สิเจ้าคะ คือไม่เกี่ยวกับที่เราเคยทำผู้อื่นมาก่อนหรอก (เถียงได้)
มีคนเป็นโรคเรื้อรังแล้วรักษาไม่หาย น่าจะเป้นกรรมจากอะไรน่ะครับ
เราจะเข้าใจในเรื่องของกรรมและการให้ผลของกรรมได้ เราต้องเข้าใจเป็นพื้นฐานก่อนซึ่งย้ำแล้วย้ำอีกว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆ ได้ ต้องมีเหตุมีปัจจัยส่งทอดถึงกันเสมอ
เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ เราจะเริ่มเปิดตาของเราให้กว้าง เพื่อเรียนรู้ต่อกฏแห่งธรรม คือ ความเป็นเหตุและปัจจัย ซึ่งมีกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อชีวิตเรา และพร้อมที่จะยอมรับและแก้ไขสิ่งต่างๆ ไปในแนวทางที่ดีงามถูกต้อง
มิใช่โทษแต่เพียงว่า "เป็นกรรมเก่า เป็นกรรมเก่า" เท่านั้น
อย่างผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาเชื่อกันเช่นนั้น โดยมิได้คิดทำความเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบและถี่ถ้วนเพียงพอ เป็นเหตุให้มิได้พัฒนาสติปัญญา และแก้ไขพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้ดียิ่งขึ้น สมกับที่ตนเป็นพุทธศาสนิกชนผู้มีความเจริญ
ฐานความคิด ความเข้าใจต่างกัน เช่น มีฐานความคิดว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากกรรมเก่า ก็จะอธิบายทุกอย่างว่าเป็นผลของกรรมเก่า หรือมีฐานความคิดว่ามีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ดลให้เป็น ก็อธิบายตามฐานความเชื่อว่าเทพเจ้าดลให้เป็น ฯลฯ
แต่คำอธิบายทั้งสองด้าน ก็สามารถทำให้คนคิดว่าเป็นเหตุผลได้
ใช่ คิดได้ และก็คิดกันมานานแล้ว เชื่อกันมานานแล้ว ทีนี้มันต้องมีจุดเริ่มอย่างท่านปิฯ ว่า เริ่มที่จะศึกษา
เชื่อแต่ผลของกรรมเก่า กลายเป็นว่าเกิดมาเพื่อใช้กรรม หรือว่ามีความทุกข์เพื่อใช้กรรม
ครับพอเข้าใจแล้วครับ
บางคนก็ไม่ได้โทษกรรมอย่างเดียวด้วยครับ ยังโทษคนอื่นว่าเป็นคนมาทำร้ายเขาด้วย
ผมเองก็เคยคิดเช่นนั้นครับ
โทษไปทั่วอ่ะดิ อย่างนี้แสดงว่า คิดว่าตนเองไม่ผิด
ผมก็เคยเป็นเหมือนกัน กว่าจะใช้สติปัญญาข้ามพ้นมาได้ ก็ไม่ได้ง่ายเลยนะครับ
ผมเพิ่งรู้สึกตัวตอนนี้ล่ะครับ
หนังสือที่ดีกับมิครที่ดี..สำคัญที่คุณภาพมิใช่ปริมาณ says:
ขวัญต้องขอตัวก่อนนะ ขอโทษด้วยจริงๆ

การทำร้ายจากบุคคลอื่นก็อาศัยทั้งปัจจัยที่ตัวเราและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อโอกาส เช่น เราเข้าไปสมาคมกับคนพาล เราเข้าไปสู่สถานที่อโคจร (ที่ไม่ควรเข้าไป) เช่น บ่อน ร้านสุรา ดิสโก้เทค คลับบาร์ เป็นต้น ซึ่งก็อาศัยเหตุปัจจัยจากตัวเราที่เข้าไปข้องเกี่ยว และอาจรวมถึงบุคลิกภาพของตัวเราที่ประพฤติไม่เหมาะสมบางประการ เช่น การใช้สายตา การพูดจาโผงผาง
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยภายใน ที่เมื่อรวมกับปัจจัยภายนอกที่เราให้โอกาส หรือเปิดโอกาสให้กับสิ่งที่ไม่ดีเข้ามา เช่น การไปสู่สถานที่ๆ ไม่ดี ก็ทำให้ผลร้ายต่างๆ มีโอกาสเกิดขึ้นได้
จะเห็นได้ว่า การให้ผลของกรรมนั้นดำเนินอยู่ทุกขณะ เป็นวิบากแห่งกรรมที่ให้ผลโดยสัมพันธ์กับความประพฤติของเรา เมื่อเราเลือกตัดสินใจต่อผลของกรรมที่เกิดขึ้นอยู่ทุกขณะอย่างไร ก็จะสั่งสมเป็นตัวเรา เป็นอุปนิสัยใจคอที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราเลือกที่จะกระทำกรรมนั้นต่อๆ ไป และต่อไปไม่สิ้นสุด

ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า วัฏฏะ ๓
ดำเนินไปไม่สิ้นสุด คือ วิบาก-->กิเลส-->กรรม และหมุนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป ตราบเท่าที่บุคคลไม่มีความเข้าใจว่า กรรมและการให้ผลแห่งกรรมนั้นดำเนินไปอย่างไร ตราบนั้น บุคคลก็ย่อมจักดำเนินชีวิตไปตามความเคยชินที่สะสมมา ด้วยการยึดมั่นถือมั่น (ต่อกิเลสอาสวะที่ฝังรากลึกในจิตใจ) ว่าเป็นเราเป็นของๆ เรา โดยแสดงออกมาในพฤติกรรมและการตอบสนองสิ่งทั้งหลายอย่างไม่รู้เท่าทันว่าสภาพธรรม หรือชีวิตที่ดำเนินไปเช่นนั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ๑๐
ครับ
ฉะนั้น ขอให้เราได้เข้าใจถึงกรรมที่บุคคลกระทำและการให้ผลแห่งกรรมที่ดำเนินไปอยู่เช่นนี้ เป็นเหตุให้เกิดความสุขความทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยเรามิอาจเลี่ยงหนีได้ตราบเท่าที่เรายังคงยึดมั่นในกรรมอยู่เช่นนั้น
สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม”
๑๑ นั่นเอง
ส่วนบุคคลใดต้องการพ้นจากอำนาจแห่งอดีตกรรม หรือพูดง่ายๆ ว่า พ้นจากวิบากแห่งกรรมหรือพ้นจากกรรมเก่า ก็ต้องพ้นไปเสียจากอุปาทานความยึดมั่นต่อวิบากแห่งกรรมที่เกิดขึ้น พ้นจากอำนาจความเคยชินที่สั่งสมมาและไม่สร้างกรรมใหม่ที่ประพฤติจากวาสนาเดิม แต่กลับกระทำกิจด้วยปัญญาที่ไม่เอนเอียงไปตามความรู้สืกที่เคยยึดถือมาแต่อดีต เลือกตัดสินใจบนฐานของความรู้ซึ่งจะเปลี่ยนแนวการดำเนินชิวิตไป ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ที่รู้เข้าใจต่อสภาพธรรมอย่างแท้จริง

อย่างไรเจ้าคะ ที่จะรู้ได้ว่าที่ทำนี่ไม่ใช่ตัวตน
รู้แบบทฤษฎีไปก่อนสิว่า อะไรๆ มันก็ไม่คงทนถาวร
ทำอะไรไปงั้นๆ อย่างนั้นเหรอ
อันนี้ก็นะ
พอทำ มันก็ต้องมีเจตนา ก็ต้องเป็นกรรมแล้วล่ะ
ทำแบบมีเป้าหมายดิ ที่พระท่านเรียกว่า มีเจตนาน่ะ ตั้งเจตนาเป็นกุศล, กุศล แปลว่า ฉลาด ประกอบด้วยปัญญา ความรู้ความเข้าใจ
อย่างไหนจึงจะเรียกว่าเจตนากุศลล่ะครับ
งง
ถ้ามีเจตนาที่เป็นกุศล ก็จะได้รับกุศลวิบาก

โยมเป้ อย่ากล่าวเช่นนั้น ต้องกล่าวเป็นกรณีๆไปนะ
แต่เราก็ไม่พ้นจากกรรม คือ กุศลวิบากกรรมอยู่ดี เป้นึกถึงกิริยาจิตของพระอรหันต์น่ะเจ้าค่ะ
ต้องเข้าใจว่า ตราบเท่าที่ยังมี "ชีวิต" หนีไม่พ้นกรรม และการได้รับผลของกรรม (ตามหลักพุทธฯ)
คือ จากเดิม เสวยวิบากแห่งกรรม-->ยึดถือ(มีอุปาทาน)ในวิบากแห่งกรรมนั้น แล้วปรุงแต่งด้วยตัณหาอันเกิดจากอวิชชาความไม่รู้เข้าใจ-->แล้วสร้างกรรมใหม่โดยอาศัยความยึดถือนั้น-->เป็นเหตุให้เกิดวิบากแห่งกรรมเป็นผลอีกครั้งหนึ่ง
เปลี่ยนเป็น เสวยวิบากแห่งกรรมด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจในเหตุและปัจจัยทั้งปวงว่าดำเนินไปอย่างไร-->ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานว่าเป็นเราเป็นของๆ เรา สักว่าธรรมเท่านั้นที่ดำเนินไปตามเหตุและปัจจัย-->แล้วกระทำกิจทั้งหลายด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจในสภาพความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายว่าไม่ใช่ตัวตน

เพียงแต่ "ท่าที" ที่มีต่อกรรมและผลกรรมของคนธรรมดา กะพระอรหันต์ท่านต่างกัน
อืมม งั้นอรหันต์ทำกรรมใดๆ ก็เป็นผลส่งต่อ ตราบที่ยังไม่ปรินิพพาน แต่ท่านไม่ทำอกุศลกรรมเท่านั้น
เช่น พระพุทธเจ้า ยังคงเสวยวิบากแต่อดีตชาติหลายอย่างเลย ลองอ่านพระไตรปิฎกดูสิ จะพบเลยว่าพระองค์ตรัสไว้มากเลยถึงกรรม (บุรพกรรม) ของพระองค์
ใช่เจ้าค่ะ
แต่ท่านไม่ยึดติด (อุปาทาน) พูดภาษาบ้านๆ ก็คือ ท่านไม่ตีโพยตีพาย ประยุกต์ใช้กะเราท่านในปัจจุบันนะ
ถ้าเราทำใจได้ อาจเกิดจากอุปนิสัยหรือจากการศึกษาอบรมก็ได้ ในยามที่เผชิญสุขหรือทุกข์ ? ก็ถือว่าประคองจิตผ่านวิกฤติไปได้ช่วงหนึ่ง ให้มันเป็นกลางๆ ไว้ สภาพจิตไม่บวกหรือลบ

งั้นก็คือ การมองสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราให้ถูก ตรงกับธรรมใช่ไม๊เจ้าคะ
เหมือนน้ำที่มีสถานะเป็๋นกลาง ไม่เป็นด่างหรือกรดคอยกัดกร่อนจิตใจ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในทุกๆ เรื่อง
การวางใจกับสิ่งที่เกิดไม่ว่าอะไรก็ตาม
ไม่มีผู้กระทำ ไม่มีผู้รับผลของการกระทำ มีเพียงสักว่าธรรมเท่านั้นที่ดำเนินอยู่ ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้น ธรรมเท่านั้นที่ดับไป มีจิตเป็นอิสระจากความยึดถือทั้งปวงว่าเป็นเรา เป็นของๆ เรา จึงไม่มีผู้กระทำกรรมแต่ที่ไหนๆ
กลับ “วัฏฏะ ๓” สู่ “วิวัฏฏะ” คือ จากวิบาก-->กิเลส-->กรรม เป็น วิบาก-->ญาณปัญญา-->กิริยา ไม่มีกรรมและผู้กระทำกรรม มีเพียงกิริยาและธรรมเท่านั้นที่ดำเนินไป ดังนี้ แม้เสวยวิบากก็เป็นเพียงแต่ในภพนี้เท่านั้นไม่สืบเนื่องไปสู่ภพอื่นนั่นเอง

วิบาก-ญาณปัญญา-กิริยา แต่เมื่อเราทำกรรม(ที่เป็นกุศล) เราก็ยังได้รับผลอยู่ดี
ท่านปิฯ สอนปรมัตถ์ ก็เป็นเรื่องธรรมดาของมันเช่นนั้นเองนี่นา
งั้นก็เหมือนว่า ได้แต่เสวยวิบาก(สิ่งที่เคยทำมาเท่านั้น) ไม่ไปต่อมัน
อันนี้แหละสุดยอดเลย เสวยและรู้ เพียงแต่รู้ "รู้" ไม่ปรุงแต่งต่อ ตรงกับการปฏิบัติธรรมที่ท่านพุทธทาสสอนไว้ว่า หยุดแค่ผัสสะ สัมผัสรู้แล้วหยุด
๑. ความอยากได้ใคร่ดีร้อยแปดพันประการ

การไปต่อความยาวสาวความยีดเหรอเจ้าคะ
๒. ความไม่อยากได้ไม่อยากดีร้อยแปด
๓. ความโง่เขลาที่สะสมอบรมมาในสังสารวัฏ

ก็คือพฤติกรรมเดิมๆ สิ
พระท่านเรียกว่า "อกุสลมูล" รากเง่าของการกระทำอกุศล
ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้น ธรรมเท่านั้นที่ดำเนินอยู่ และธรรมเท่านั้นที่ดับไป และธรรมที่ว่านั้นก็คือ สภาวทุกข์ นั่นเองที่ดำเนินอยู่และเป็นไป ดังพุทธภาษิตว่า
“ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นที่ดับไป อย่างอื่นนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด อย่างอื่นนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ เป็นคนควรทำทุกข์ให้สิ้นไปให้ได้”
๑๒
ท่านปิฯ ปรมัตถ์อีกแล้ว
ในที่สุดนี้ ขอกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มหาสุเทพ นมัสการท่านเอกชัย และขอเจริญพรญาติโยมทุกท่านที่ได้ร่วมสนทนาธรรมกันในคืนนี้
ท่านปิให้ดูธรรม อีกท่านให้ดูความคิด
อ้าว ลากันซะแล้ว
ครับ
จบแล้วเหรอเจ้าคะ
ท่านปิฯ สอนดีครับ เป็นสาระ
งง (ตามฟอร์ม)
แต่ท่านสุเทพอยู่ต่อ
ใครท่านคือ สุเทพครับ
พระมหาสุเทพค่ะ
โยมเป้ สาธยายสรรพคุณด้วย เชียร์ดีๆ
เออ กินมะด้าย ทาก็มะด้าย ดมก็มะด้าย ฟังได้อย่างเดียว
ใช่ท่าน Moon รึป่าว
ใช่ค่ะ
ถะถะถะถะถะถะถะถะถูกต้องจ๊ะ
อ๋อครับ
ขอฝากพระพุทธศาสนสุภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
นกมฺมุนากิญฺจนโมฆมตฺถิ
๑๓
กรรมแม้จะเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นไม่มี

ทิ้งหมัดเข้ามุ้งได้ดีนะท่านปิฯ
แล้วทำกรรมอย่างไร จะไม่ส่งผลได้เจ้าคะ
ไม่มีทางโยมเป้ No way
กราบนมัสการท่านพระมหาสุเทพ และนมัสการท่านเอกชัยอีกครั้งหนึ่ง และขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคน ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
สาธุครับท่านปิฯ ฝากกราบหลวงพ่อเจ้าคุณด้วยฯ
ท่านปิจะไปท่าเดียวเลย
นั่นสิ
นมัสการลาครับท่านอาจารย์ปิฯ นมัสการลาพระมหาสุเทพ
คงง่วงแล้วน่ะ สี่ทุ่ม ท่านเลยงอแง
พี่เป้ ต้องลาท่านพระปิยะ ยังไงค่ะ
นมัสการลาพระเอกชัยด้วยครับ
เจริญศรี เจริญสุขทุกคนที่ร่ำลา
นมัสการลาเช่นกันครับ
นมัสการลา ท่านปิยะ ค่ะ
กราบนมัสการพระอาจารย์ทุกรูปเจ้าค่ะ
และลาเพื่อนๆ ญาติธรรมทุกท่านครับ
อ้าวววววววววววววววววว ไปนอนกันหมดแล้ว
เหอะๆ
อ่อ คุยกันต่อก็ได้
นิมนต์เรามาปล่อยเกาะนี่โยมเป้ อะดรีนาลีนหลั่งแล้ว หนีกันเกลี้ยงเลย วันหลังไม่มาแล้ว

……………………………………………………




๑. องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๓๔/๓๖๘ (นิพเพธิกสูตร)
[ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ..]
๒. อภิ.ป.๔๐/๑๔/๘
กัมมปัจจัย คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป (รูปเกิดแต่กรรม)โดยกัมมปัจจัย. และเป็นปัจจัยแก่ธรรมอันสัมปยุตด้วยเจตนา และรูปซึ่งมีธรรมอันสัมปยุตด้วยเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน โดยกัมมปัจจัย
๓. องฺ.ติก.๒๐/๕๔๐/๒๓๗ (โลณกสูตร)
๔. ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๓๔
[เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละโทษทุกอย่างพร้อมทั้งวาสนา (ความเคยชิน) ไว้แล้ว มีครรลองแห่งคำพูดไม่ผิดพลาดจึงไม่มีคำพูดที่ไม่ดีแม้ในกาลไหนๆ เพราะพระองค์ทรงมีวจีกรรมอันคล้อยตามพระญาณอยู่ตลอดเวลา.]
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
วาสนา=อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็วหรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้นไม่ต้องละ
แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
๕. องฺ.ติก.๒๐/๕๐๑/๑๖๗ (ติตถสูตร) ว่าด้วยอกิริยทิฏฐิ ๓
๖. สํ.สฬ.๑๘/๔๒๗/๒๔๓ (สิวกสูตร)
ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชก.. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ก็ในข้อนี้ท่านพระโคดมตรัสอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรสิวกะ เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานก็มี.. มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ มี(เหตุ)ร่วมกันเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดแต่เปลี่ยนฤดูก็มี ฯลฯ เกิดแต่รักษาตัวไม่สม่ำเสมอก็มี ฯลฯ เกิดจากการถูกทำร้ายก็มี ฯลฯ เกิดแต่ผลของกรรมก็มี .. ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ย่อมแล่นไป(ล่วงเลย)สู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไป(ล่วงเลย)สู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลก เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ฯ
๗. อภิ.ป.อ.๘๕ หน้า ๘๐
บทว่า กมฺมํ ได้แก่ เจตนาธรรม. สองบทว่า กฏตฺตา จ รูปานํ แปลว่า รูปที่เกิดขึ้นเพราะถูกกรรมทำ (กรรมสร้าง). บทว่า กมฺมปจฺจเยน ความว่า ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย ที่สามารถให้ผลของตนเกิดขึ้นได้ในที่สุดแห่งโกฏิกัป มิใช่น้อย. จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมไม่ให้ผลในขณะที่ตนเป็นไป ถ้าจะพึงให้ผล (ในขณะนั้น) ไซร้ คนทำกุศลกรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงเทวโลกอันใดไว้ ก็จะพึงกลายเป็นเทวดาในขณะนั้นทีเดียว ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้น.
ก็กรรมนั้นที่บุคคลทำไว้ในขณะใด แม้จะไม่มีอยู่ในขณะอื่นจากนั้น ย่อมยังผลให้เกิดขึ้นในกาลที่บุคคลพึงเข้าถึงปัจจุบัน หรือต่อจากนั้น ในเมื่อมีการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือ เพราะเป็นสภาพที่กรรมทำไว้เสร็จแล้ว เปรียบเหมือนการหัดทำศิลปะครั้งแรก แม้จะสิ้นสุดไปแล้ว ก็ให้เกิดการทำศิลปะครั้งหลังๆ ในกาลอื่นได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า นานากขณิกกัมมปัจจัย.
สองบทว่า เจตนาสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ความว่า เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน.
ด้วยบทว่า ตํ สมุฏฺ€านานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอากัมมชรูปในปฏิสนธิขณะด้วย.
.. ส่วนเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตนและกัมมชรูปโดยนานากขณิกกัมมปัจจัย. ก็แลเจตนานั้นเป็นปัจจัยเฉพาะในปัญจโวการภพเท่านั้น หาเป็นในภพอื่นไม่.
๘. วิสุทธิ, วิ.ม.อ.๑ หน้า ๑๘๖, อภิ.วิ.อ.๗๗ หน้า ๕๖๔
[วัฏฏะ (วงกลม) ๓] ส่วนในข้อว่า 'ภวจักรมีวัฏฏะ ๓ หมุนไปไม่หยุด' นี้มีอรรถาธิบายว่า ภวจักรนี้มีวัฏฏะ ๓ โดยวัฏฏะ ๓ นี้ คือ สังขารและภพ เป็นกรรมวัฏ อวิชชาตัณหาอุปาทานเป็นกิเลสวัฏ วิญญาณนามรูป สฬายตนะผัสสะเวทนาเป็นวิปากวัฏ พึงทราบเถิดว่ากิเลสวัฏยังไม่ขาดลงตราบใด ก็ชื่อว่าหมุน เพราะเป็นไปรอบแล้วรอบเล่า ชื่อว่าไม่หยุด เพราะมีปัจจัยยังไม่ขาดลงตราบนั้นอยู่นั่นเอง …]
๙. อภิ.วิ.๓๕/๙๖๑/๕๐๔
อาสวะ ๔ เป็นไฉน กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ บรรดาอาสวะ ๔ นั้น
กามาสวะ เป็นไฉน ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า กามาสวะ
ภวาสวะ เป็นไฉน ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน ความเห็นว่าโลกเที่ยง ฯลฯ ความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วจะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ทิฏฐาสวะ
อวิชชาสวะ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่าอวิชชาสวะ
๑๐. อภิ.วิ.อ.๗๗ หน้า ๕๕๖
จริงอยู่ อวิชชาเป็นประธานแห่งวัฏฏะ ๓* เพราะว่า ด้วยการยึดถืออวิชชา กิเลสวัฏฏะที่เหลือ และกรรมวัฏฏะเป็นต้น ย่อมผูกพันคนพาลไว้เหมือนการจับศีรษะงู สรีระงูที่เหลือก็จะพันแขนอยู่ แต่เมื่อตัดอวิชชาขาดแล้วย่อมหลุดพ้นจากวัฏฏะเหล่านั้น เหมือนบุคคลตัดศีรษะงูแล้วก็จะพ้นจากการถูกพันแขน ฉะนั้น
เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "เพราะสำรอกอวิชชาโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ" ดังนี้เป็นต้น. เมื่อบุคคลยึดธรรมใด ความผูกพันย่อมมีและเมื่อปล่อยธรรมใด ความหลุดพ้นย่อมมี การกล่าวนี้เป็นการกล่าวธรรมที่เป็นประธาน (คืออวิชชา) นั้น มิใช่การกล่าวธรรมสักว่าเป็นเบื้องต้น พึงทราบภวจักรนี้ว่า "มีเบื้องต้นมิได้ปรากฏ ด้วยประการฉะนี้. * คือ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ และวิปากวัฏ
ภวจักรนี้นั้น เพราะเหตุทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่ธรรมมีสังขารเป็นต้น ฉะนั้น จึงเว้นจากผู้สร้างสังสารนอกจากอวิชชาเป็นต้นนั้นเช่นพรหมเป็นต้นที่เขาคาดคะเนเอาอย่างนี้ว่า "พรหม มหาพรหมเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้จัดสรร ดังนี้ หรือว่า เว้นจากอัตตาผู้เสวยสุขและทุกข์ ที่เขาสมมติกันอย่างนี้ว่า "ก็อัตตาของเรานี้แลเป็นผู้กล่าว เป็นผู้เสวย" บัณฑิตพึงทราบว่า "เว้นจากผู้สร้างและผู้เสวย" ด้วยประการฉะนี้.
๑๑. ม.ม.๑๓/๗๐๗/๔๘๙
๑๒. ขุ.ม.๒๙/๘๖๕/๔๑๙, สํ.ส.๑๕/๕๕๔/๑๖๗ (วชิราสูตร)
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปเสียเถิด รูปนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขตลอดกาลนาน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มี ..
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? หญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้ในวิหารเชตวันนี้คนพึงนำไป เผาเสีย หรือว่าทำตามปัจจัย ท่านทั้งหลายพึงมีความดำริอย่างนี้หรือว่า คนย่อมนำไปเผาเสียซึ่งเราทั้งหลาย หรือทำตามปัจจัย.]
ความดำรินั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตนหรือของเนื่องด้วยตนแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ..
[ดูกรคามณี เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมล้วนและความสืบต่อแห่งสังขารล้วนตามเป็นจริง ภัยก็ไม่มี เมื่อใด บุคคลเห็นขันธโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่ปรารถนาอะไรๆ อื่น นอกจากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.]
นางวชิราภิกษุณีได้กล่าวคาถานี้กะมารผู้ถามกว่า
[ดูกรมาร ทิฏฐิของท่านย่อมเชื่อสิ่งอะไรหนอว่าสัตว์ ร่างกายนี้เป็นกองแห่งสังขารล้วน บัณฑิตย่อมไม่ได้ที่จะเรียกว่าเป็นสัตว์ในกองสังขารล้วนนี้ เสียงว่ารถย่อมมีเพราะคุมกันเข้าแห่งส่วนประกอบ ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ ความสมมติว่าสัตว์ก็มี ฉันนั้น ก็ทุกข์อย่างเดียวย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และย่อมแปรไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ. ฯ]
๑๓. ขุ.ชา.๒๗/๒๐๕๔/๓๕๘ จิตตสัมภูตชาดก



Create Date : 29 ตุลาคม 2551
Last Update : 30 ตุลาคม 2551 20:49:20 น. 0 comments
Counter : 381 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.