คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสถานที่ดี คำสอนของท่านปัญญานันทะภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
8 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
อิทธิพลการแสดงออกของ Doritis ต่อการสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis

บทนำ

นักปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกที่ดี นอกจากจะใช้ประสบการณ์การเรียนรู้ การทำตาม (จากการรู้สายเลือดคู่ผสม) การลองผิดลองถูก และมีการสร้างภาพลูกผสมที่ได้ในหัวแบบทะลุปุโปร่งไว้แล้ว โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่หลายประการด้วยกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่นักปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกต้องการคือการได้สีใหม่ในลูกผสม โดยเฉพาะสีฟ้า ที่ไม่เคยพบในธรรมชาติ

ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอก โดยการใช้ DNA technology (ทั้งแบบตัดต่อยีน และการใช้ DNA marker assisted selection เพื่อคัดเลือกลักษณะที่ต้องการร่วมกับการผสมเกสรตามปกติ) และเราก็ได้เห็น blue carnations, blue roses และที่ตามมาคือ blue lilies จาก florigene

//www.florigene.com/products/index.php

ย้อนรอยลูกผสม blue Phalaenopsis

All pictures posted herein are taken from various internet sources without owner's permission and are for viewing pleasure and breeding discussion.

(ขอลอกข้อความจากคุณ Magnificum ในเรื่องการเอาภาพจากเนทมาเล่าสู่กันฟังนะครับ)

ได้มีความพยายามของนักปรับปรุงพันธุ์ Phalaenopsis โดยการผสมเกสร เพื่อสร้างลูกผสมที่ให้สีฟ้าจากต้นพ่อต้นแม่ที่มีสีฟ้าในธรรมชาติ (var. coerulea) โดยยังไม่ต้องพึ่งการตัดต่อยีนเพื่อให้ได้ blue Phalaenopsis และส่วนหนึ่งเป็นการนำ Doritis pulcherrima var. coerulea (ม้าวิ่งบูล) นำมาผสมเข้ากับ Phalaenopsis เพื่อให้ได้ลูกผสม blue Phalaenopsis เสียด้วยครับ

1. ดูจาก sapphiredragroorchid ก่อนนะครับ
//www.sapphiredragonorchids.com/SDOgallery.htm



a. Phalaenopsis violacea var. coerulea
นักปรับปรุงพันธุ์ใช้ Phal. violacea var. coerulea ในการสร้างลูกผสมสีฟ้าเป็นอันดับต้นๆ ทั้งนี้ sapphire ได้ใช้วิธีต่อยอดโดยการซื้อเมล็ดลูกผสม 2 สายเข้าหากัน (จาก krullsmith)

//krullsmith.com/alliance/phalaenopsis.htm

แล้วมาตั้งชื่อเอง A, B, C = Phal. violacea 'Krull's Navy Blue' AM/AOS
x Phal. violacea 'Crystelle' HCC/AOS

A = Phal. violacea 'Dainiji Airo'

B = Phal. violacea 'Sapphire Navy'

C = Phal. violacea 'Ruby Dragon' ต้นนี้ได้สี dark pink จากสี pink ของ Phal. violacea 'Crystelle'

D = Phal. violacea 'Joy's Blue' ซึ่ง sapphire ไม่ได้ให้รายละเอียดว่ามาจากไหนครับ

E = Phal. violacea 'SDO Violet' (Phal. violacea var. coerulea x sib)

F = เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง Phal. violacea 'Joy's Blue' ซ้าย และ Phal. violacea 'Sapphire Navy' ขวา

b. มาดู var. coerulea ชนิดอื่นๆ ที่ sapphire ใช้ในการสร้าง blue phalaenopsis


A = Phal. parishii ที่บอกว่าเป็น blue lip

B = Phal. equestris var. cyanochilus 'Martel's Blue' ต้นนี้ต้นกำเนิดน่าจะมาจากไต้หวัน

C = Dor. pulcherrima var. coerulea 'Indigo Dragon'

D = Dor. pulcherrima var. coerulea 'Violet Dragon'

E = Dor. pulcherrima var. coerulea 'Flame'

F = Dor. pulcherrima var. coerulea 'Little Blue'

และที่แน่ๆ Dor. pulcherrima var. coerulea มาจากประเทศไทยแน่นอน (น่าภูมิใจปล่าวครับ)

c. มาดู blue Phalaenopsis ที่ sapphire สร้างขึ้นนะครับ


A = Dtps. Kenneth Schubert 'Blue'
(Phal. violacea var. coerulea x Dor. pulcherrima var. coerulea)

B = Dtps. Kenneth Schubert 'Fangtastic'
(Phal. violacea var. coerulea x Dor. pulcherrima var. coerulea)

จริงๆ Dtps. Kenneth Schubert สมัยจดทะเบียนชื่อใหม่ๆ ยังไม่ได้ลูกผสมสีบลู เนื่องจากใช้ Phal. violacea และ Dor. pulcherrima ที่ไม่เป็น var. coerulea แต่จะได้ลูกผสมสีชมพูเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีสีบลูออกมาจำนวนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าสีบลูเป็นลักษณะยีนด้อยและน่าจะเป็น homologus recessive gene

C = Dtps. Purple Martin 'KS'
(Dtps. Kenneth Schubert x Phal. violacea var. coerulea) เป็นการผสมกลับไปยังPhal. violacea var. coerulea

D = Dtps. Siam Treasure 'Blue'
(Phal. lowii var. coerulea x Dor. pulcherrima var. coerulea)

จริงๆ Dtps. Siam Treasure ในการจดทะเบียนชื่อครั้งแรก ยังไม่ได้ใช้ var. coerulea ทั้งพ่อและแม่ ได้ลูกครั้งแรกเป็นสีชมพู

E = Dtps. Fire Cracker 'Blue Martini'
( Dtps. Red Coral x Dor. pulcherrima var. coerulea)

F = Dtps. Joy Green Bee
(Phal. Timothy Christopher x Dor. pulcherrima var. coerulea)

สรุปของ sapphire จะเห็นได้ว่าลูกผสม blue Phalaenopsis มีเลือด Dor. pulcherrima var. coerulea) อยู่ด้วยอย่างน้อย 1 ชั้น

น่าสนใจทีเดียว.....


2. มาดูของ bigleaforchids นะครับ
//www.bigleaforchids.com/photos/p5_blue.htm

a. var. coerulea ที่ bigleaforchids นำมาเสนอ


A = Phal. violacea 'Blue Sea'

B = Phal. violacea var. coerulea

C = Phal. modesta
(เป็นสีที่พบโดยทั่วไป)

D = Phal. modesta x sib จะพบว่า

ซ้ายสุด Phal. modesta var. alba
กลาง Phal. modesta ได้สีชมพูเข้มต้นนี้
ขวาสุด Phal. modesta var. coerulea

b. มาดู blue Phalaenopsis ที่ bigleaforchids สร้างขึ้น


A = Dtps. Kenneth Schubert 'Blue Ribbon' BM/JOGA

B = Dtps. Purple Martin 'KS'

C = Dtps. Little Blue Bird'
(Dtps. Kenneth Schubert x Dor. pulcherrima var. coerulea) เป็นการผสมกลับไปยัง Dor. pulcherrima var. coerulea

D = Dtps. Tzu Chiang Sapphire 'C1'
(Dtps. Tzu Chiang Lilac x Dor. pulcherrima)

E = Dtps. Tzu Chiang Lilac 'C#1 Blue'
(Dtps. Kenneth Schubert x Phal. Tzu Chiang Tetralitz)

F = Dtps. Joy Green Bee
(Phal. Timothy Christopher x Dor. pulcherrima var. coerulea) (ตัวนี้ทำเช่นเดียวกับ sapphire แต่ bigleaforchids ทำได้สวยกว่า)

สรุปของ bigleaforchids จะเห็นได้ว่าลูกผสม blue Phalaenopsis มีเลือด Dor. pulcherrima var. coerulea) (บางคู่ผสมไม่ได้บอกว่าใช้ Dor. pulcherrima var. coerulea) อยู่ด้วยอย่างน้อย 1 ชั้น

น่าสนใจอีกแล้วครับท่าน.....


3. มาดูต้นพ่อแม่พันธุ์ของ orchidview นะครับ
//orchidview.com/Phal_violacea_and_Phal_bellina_gallery.htm



A = Phal. violacea (Dean Stock)

B = Phal. violacea 'Blue Fin Tuna'

C = Phal. violacea 'Gaston Blen'

D = Phal. violacea 'Peek-a-Blue'

E = Phal. violacea 'Gulftream Blue' JC/AOC

F = Phal. violacea 'Gulftream Blue' JC/AOC

และมีจากเวปอื่นๆ อีกมากมายที่พยายามจะสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis โดยมีเลือด Doritis pulcherrima var. coerulea เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ชั้น

สรุปในเบื้องต้นพ่อแม่พันธุ์ที่จะใช้ในการสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis ได้แก่

1. Phal. violacea var. coerulea

2. Phal. equestris var. cyanochilus

3. Phal. lowii var. coerulea

4. Phal. parishii (blue lip)

5. Phal. modesta var. coerulea

และพระเอก Dor. pulcherrima var. coerulea

ดูความงามของ Phal. lowii Rchb.f ที่ใช้ในการสร้าง Dtps. Siam Treasure กันนะครับ


Phal. lowii Rchb.f มีชื่อไทยว่า ผีเสื้อชมพูหรือเอื้องจงอยปากนก ดูดอกแล้วเหมือนจริงๆ ครับ


สีของผีเสื้อชมพูอาจพบเป็นสีชมพูเข้มได้


หรืออาจพบผีเสื้อชมพูมีทรงของดอกกลมๆ ก็ได้


Phal. lowii Rchb.f เคยเป็นตำนานของการสาบสูญจากโลกเลยก็ว่าได้ แต่ก็ได้ถูกค้นพบอีกครั้งในประเทศไทย (น่าภูมิใจมากๆ) และยังเป็นส่วนที่นำไปใช้ในการสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis อีกต่างหาก (ภูมิใจ 2 ต่อ เพราะเอาไปผสมกับ Dor. pulcherrima var. coerulea ม้าวิ่งบลู ที่มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทยอีกด้วย)


ดูความงามของ Dtps. Siam Treasure
Dtps. Siam Treasure จดทะเบียนชื่อโดย S. Wannakrairoj (T.Lusup-anan) 1997 ได้ลูกผสมสีชมพู (คนผสมน่าจะเป็นคุณตี๋อ้วน..ขอข้อมูลยืนยันนะครับ)

//www.phals.net/doritis/pulcherrima/SiamsTreasure_e.html

แต่ถ้าใช้ Phal. lowii var. coerulea x Dor. pulcherrima var. coerulea จะได้ลูกผสมสี blue Phalaenopsis ที่ชื่อ Dtps. Siam Treasure น่าภูมิใจนะครับ


Dtps. Siam Treasure ยังคงเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีในการสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis ต่อไป


เป็นภาพเปรียบเทียบระหว่าง Dtps. Siam Treasure (ซ้าย) และ Dor. pulcherrima var. coerulea (ขวา)


เป็นภาพเปรียบเทียบระหว่าง Phal. lowii Rchb.f (บน) และ Dtps. Siam Treasure (ล่าง)


เป็นภาพเปรียบเทียบระหว่าง Dtps. Siam Treasure (บน) และ Dtps. Anna-Larati Soekardi x Dor. pulcherrima var. choompornensis (ล่าง)


วิเคราะห์อิทธิพลการแสดงออกของ Doritis ต่อการสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis

1. ลูกผสมที่มีเลือด Doritis pulcherrima มียีน blue แฝงอยู่

ลองมาดู primary hybrid ที่ได้จดทะเบียนชื่อไว้ ผมใช้ข้อมูลของ phals.net นะครับ (เฉพาะที่มีรูปประกอบนะครับ)
//www.phals.net/doritis/pulcherrima/index_e.html

primary hybrid ชุดที่ 1


A = Dtps. Anna-Larati Soekardi
(Dor. pulcherrima x Phal. parishii)

B = Dtps. Purple Passion
(Phal. shilleriana x Dor. pulcherrima)

C = Dtps. Kelsey's Blush
(Phal. tetraspis x Dor. pulcherrima)

D = Dtps. Jim
(Dor. pulcherrima x Phal. venosa)

E = Dtps. Kenneth Schubert
(Dor. pulcherrima x Phal. violacea)

F = Dtps. Myriam-Esther
(Phal. modesta x Dor. pulcherrima)

primary hybrid ชุดที่ 2


A = Dtps. Purple Gem
(Dor. pulcherrima x Phal. equestris) ที่มีสีชมพู

B = Dtps. Purple Gem
(Dor. pulcherrima x Phal. equestris) ที่มีสีม่วง

C = Dtps. Musick Surprise
(Dor. pulcherrima x Phal. chibae) ที่มีสีขาวปากเหลือง

D = Dtps. Musick Surprise
(Dor. pulcherrima x Phal. chibae) ที่มีสีชมพู

E = Dtps. Tarina
(Phal. javanica x Dor. pulcherrima)

F = Dtps. Purple Sum
(Dor. pulcherrima x Phal. sumatrana)

สังเกตที่ spp. กันก่อนนะครับ

จะเห็นได้ว่ามีการค้นพบ var. coerulea ใน Phalaenopsis และใน Doritis ใน spp. ที่เพิ่มขึ้น และประกอบกับกล้วยไม้เป็นพืชผสมข้ามโดยธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ รวมถึง genus Phalaenopsis และ Doritis ที่เป็นพืชผสมข้ามแบบผสมเปิด (หรือมนุษย์ช่วยผสมก็ถือว่าเป็นพืชผสมข้ามเช่นกัน) เพราะฉะนั้น spp. ที่ทำการ self หรือ sib จะมีโอกาสที่ยีนจะมาเข้าคู่กันโดยบังเอิญแบบ homologus recessive gene ที่ทำให้การทำงานของ anthocyanin pathway ทำงานให้ได้สีบลูนั่นเอง

เขียนแทนได้ดังนี้ (หากการทำงานของ blue ยีน ถูกควบคุมด้วยยีนเพียงคู่เดียว)

Bb x Bb = 1 BB, 2 Bb ,1 bb

B_ = genotype เป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีบลู (ขึ้นกับว่าเป็นยีนข่มสมบูรณ์, ข่มไม่สมบูรณ์, ข่มร่วม หรือเป็นแบบ epistasis ฯลฯ)

bb = genotype เป็นสีบลู

การใช้ var. coerulea จากพ่อหรือจากแม่ หรือทั้งพ่อและแม่ (Phalaenopsis x Doritis)

โอกาสที่จะได้ลูกผสม blue Phalaenopsis จึงมีโอกาสที่เพิ่มขึ้น

ยกตัวอย่าง การสร้าง Dtps. Siam Treasure

Phal. lowii (สีชมพู) (Bb) x Dor. pulcherrima var. coerulea (ม้าวิ่งบลู) (bb)

F1 = Dtps. Siam Treasure (สีชมพู) (Bb) และ Dtps. Siam Treasure (สีบลู) (bb) อย่างละครึ่ง

แล้วเราก็เลือก Dtps. Siam Treasure (สีบลู) 2 ต้นผสมกัน เพื่อเพิ่มทุกตำแหน่งของยีนบลู (หากการทำงานของยีนบลูควบคุมด้วยยีนมากกว่า 1 คู่)

F2 = Dtps. Siam Treasure ที่เป็นสีบลู (bb) ทั้งหมด

แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิดครับท่าน......

2. สมมุติฐานที่ว่า Doritis มีอิทธิพลต่อการแสดงออกของยีนสีในลูกผสม Phalaenopsis

//www.ars.usda.gov/research/publications/publications.htm?SEQ_NO_115=178793

ในเวปที่ประกอบ Griesbach, 2005 พบว่า สีบลูที่เกิดขึ้น เป็น anthocyanin interaction with co-pigment (ร่วมกับ flavonone หรือ flavonol) ที่ pH ในแวคคิวโอเป็นด่าง

โดยสภาพ pH เป็นกรด acid pH (pH 3-4) จะพบการทำงานของ anthocyanin:co-pigment complex จะให้สีไปทางแดง

แต่สภาพ pH เป็นด่าง alkaline pH (pH 5-6) จาก Doritis pulcherrima ทำให้การทำงานของ anthocyanin:co-pigment complex ให้สีไปทางบลูเพิ่มขึ้นอีกด้วย (แบบ single co-dominantly inherited gene อีกต่างหาก หมายความว่าอิทธิพลแบบนี้สามารถถ่ายทอดได้)

ขอเอวังด้วยประการเช่นนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย

หากมีข้อสงสัย.... เพิ่มเติม..... ขอความกรุณาด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ




Create Date : 08 ตุลาคม 2550
Last Update : 12 ตุลาคม 2550 23:23:43 น. 73 comments
Counter : 5912 Pageviews.

 
ได้ความรู้จริงๆblog นี้

ขอบคุณเจ้าของที่นำสิ่งดีๆมาฝาก


โดย: ปราวตรี วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:12:53:05 น.  

 
ตามมาชมครับ

แต่ขอเวลาอ่านก่อนครับ เผื่อจะมีคำถาม


โดย: ตะวันสุริยา. IP: 58.8.169.60 วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:17:10:42 น.  

 
ตามมาเข้าเล็คเชอร์อีกครับ


โดย: พ่อหมี (pohmie ) วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:19:55:23 น.  

 
เจ๋งมากๆครับพี่ ในที่สุดของไทยๆ ก็กำลังฉายแวว เพชรจะได้

รับการเจียระไนอีกครั้ง หลังจากที่ ฟ้ามุ่ยไปเป็นเพชรน้ำเอก

ของโลกมาแล้ว ต่อไปก็จะมีเพิ่มอีก เราคนไทยควรที่จะ

หวงแหน รัก และรักษ์ อย่างถึงที่สุด ว่าใหมครับพี่

รู้สึกภูมิใจจริงๆเวลารู้ว่าสิ่งดีๆมาจากไทย


โดย: พลายจันทร์ วันที่: 10 ตุลาคม 2550 เวลา:9:30:33 น.  

 
เยี่ยมคับจาน......หาววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว..........................


โดย: เสือเจ้าถิ่น วันที่: 10 ตุลาคม 2550 เวลา:12:53:11 น.  

 
อ่านแล้วครับ จึงเกิดคำถามว่า

เราใช้สีบลู จากแวนด้าฟ้ามุ่ยได้ไหมครับ ในเมื่อฟ้ามุ่ยมีความโดดเด่นในการถ่ายทอดลายและสี เช่น

1. Vandoritis -> ฟ้ามุ่ย x Doritis x Doritis x Doritis x ...
2. Vandaenopsis -> ฟ้ามุ่ย x Phal. x Phal. x Phal. x ...
3. Hagerara -> ฟ้ามุ่ย x Doritis x Phal. x Doritis x Phal. x ...


โดย: ตะวันสุริยา. IP: 58.8.176.4 วันที่: 10 ตุลาคม 2550 เวลา:13:39:59 น.  

 
เพิ่งจะเห็นบลีอกนี้นะนอนดึกเหมือนกัน

วันหลังจะเข้ามาบ่อยๆนะคะ

ชอบมาก สวยๆทั้งนั้นและน่าสนใจ

เรื่องการขยายพันธุ์โดยวิธีต่างๆ

ได้อะไรที่แปลกและสวยงาม

น่าสนใจจริงๆ ขอลิงค์ชื่อหน่อยนะคะจะได้มาเยี่ยมง่ายๆ

ชอบพรรณไม้มากมาก


โดย: botanichuman วันที่: 11 ตุลาคม 2550 เวลา:0:18:59 น.  

 
ยินดีครับคุณ botanichuman


โดย: appendiculata191 วันที่: 11 ตุลาคม 2550 เวลา:0:29:11 น.  

 
สีจากฟ้ามุ๋ยอาจถ่ายทอดไปยังลูกผสม blue Phalaenopsis ได้ครับ

แต่ปัญหาที่ติดตามมาจากการสร้างลูกผสมตามที่คุณตะวันสุริยาถาม

1. Vandoritis -> ฟ้ามุ่ย x Doritis x Doritis x Doritis x ...
2. Vandaenopsis -> ฟ้ามุ่ย x Phal. x Phal. x Phal. x ...
3. Hagerara -> ฟ้ามุ่ย x Doritis x Phal. x Doritis x Phal. x ...

สีบลูได้.....แต่ยีนร่วมจากฟ้ามุ๋ยในลักษณะอื่นๆ อาจติดมาด้วย เช่นลักษณะการเจริญเติบโตแบบเจริญไปข้างบนแบบฟ้ามุ๋ย การต้องการอุณหภูมิต่ำในการกระตุ้นให้เกิดตุ่มดอกแบบฟ้ามุ๋ย ระบบรากเปลี่ยนแปลง รูปร่างใบเปลี่ยนแปลง และอื่นๆ อีกมากมายครับ

ผมจึงคิดว่าเอาสีบลูจาก Doritis pulcherrima var. coerulea ผสม Phalanopsis แล้วปรับปรุงในลักษณะอื่นๆ เช่นดอกใหญ่ขึ้น ดอกเป็นดอกช่อ และอื่นๆ ที่หาได้จาก Phalaenopsis แล้วใช้วิธี gene pool ตามหลักพันธุศาสตร์น่าจะง่ายกว่าครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 11 ตุลาคม 2550 เวลา:22:57:42 น.  

 
เรียกโบตานิ..ได้คะ
ชื่อภาษาอังกฤษไม่ได้มีความหมายพ้องเฉยๆ
จริงๆเอาชื่อเล่นชื่อจริงคนในบ้านมาผสมเป็นชื่อนี้พอดีค่ะ
ได้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบ้างไหมคะ


โดย: botanichuman วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:19:25:30 น.  

 
คุณโบตานิ ผมสร้างลูกผสม Phalaenopsis แบบผสมเกสร แล้วเพาะฝักอ่อนแบบเนื้อเยื่อครับ แล้วปลูกทดสอบลูกผสม เพื่อติดตามยีนบางลักษณะที่สนใจครับ ดูลูกผสมของผมในหัวข้ออื่นๆ ได้ครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:20:57:17 น.  

 
สวยมากเลยค่ะ กิ๊ฟเป็นคนชอบดอกไม้สีออกฟ้าๆ ม่วงๆ พอดีเลยด้วย เห็นแล้วอยากได้ๆๆๆๆๆ


โดย: grippini วันที่: 13 ตุลาคม 2550 เวลา:1:46:01 น.  

 
น่าสนใจจัง....แล้วนายจะต้องหาลายพิมพ์ดีเอ็นเอทุกอันหรือเปล่าลายออกมาสวยไหม..เทคนิคชำนาญแล้วคงได้ออกมาสวยๆนะทำทุกอันจะได้เทียบกะที่อื่นว่าเขาทำกันมาหรือยังและเป็นหลักฐานผลงานวิจัยของเราเนอะ..ขยันจริงๆ...




โดย: botanichuman วันที่: 13 ตุลาคม 2550 เวลา:8:05:39 น.  

 
มาถามการบ้านค่ะ

แล้วพืชที่มียางทำไมหาดีเด็นเอไม่ออกเลย

แก้ไขยังไงค่ะหรือมีวิธีการยังไง




โดย: botanichuman วันที่: 13 ตุลาคม 2550 เวลา:21:14:13 น.  

 
พิมพ์ผิดอ่ะ ดีเอ็นเอ จ้า


โดย: botanichuman วันที่: 13 ตุลาคม 2550 เวลา:21:15:14 น.  

 
ตอบคุณ โบตานิ ต้องถามว่าที่มียางนี้....เป็นพืชชนิดใดครับ

1. ส่วนใหญ่แล้วพืชทุกชนิดสามารถนำมาสกัด DNA ได้ทุกส่วน แต่ที่นิยมนำมาใช้คือใบอ่อน

2. DNA extraction มีหลายชนิด ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบคล้ายๆ กัน แล้วแต่ว่าเป็นบริษัทอะไรผลิต ชุด kit จากหน่วยงานในเมืองไทยมีหลายเจ้า ราคาไม่แพง

3. ส่วนคุณภาพของ DNA ที่ได้ ขึ้นกับว่าจะนำไปใช้ต่ออะไรมากกว่า อย่างกรณีจะทำ PCR คุณภาพของ DNA อาจไม่จำเป็นต้องให้มี intact DNA หรือมีคุณภาพของ DNA ที่ดีเยี่ยม แต่หากต้องการคุณภาพของ DNA เพื่อไปทำ southern hybridization, DNA fingerprint อาจจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพของ DNA เป็นสำคัญด้วย

4. พืชบางชนิดมีปัญหาปนเปื้อน polysaccharide หรือมี ยางมาก ก็อาจเจอปัญหาว่าเวลาตรวจสอบ intact DNA ในการ run gel หรือวัด OD ของ DNA อาจไม่ได้ DNA ครับ

5. เลยอยากรู้ว่าที่ทำเป็นพืชชนิดใดครับ แนะนำว่าอาจลองเปลี่ยนวิธีสกัด DNA หรือใช้ส่วนของใบอ่อน

ลองดูนะครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 13 ตุลาคม 2550 เวลา:23:01:07 น.  

 
โห้ ดูง่ายๆนะนี่ อ่านแล้วต้องอ่านใหม่ แต่อย่าว่าผมน่ะที่เห็นเป็นดอกกล้วยไม้ ที่บ้านมี ฟาแลนสองต้น กับหวาย อีก สี่ ห้าต้น แฮ่ะๆ ไม่ค่อยมีดอก แต่สวนใหญ่เป็นเฟิรน์ข้าหลวงจ้า ก็ไม่ค่อยได้ดูแลอีก ฮิฮิ


โดย: กบเมืองชล วันที่: 14 ตุลาคม 2550 เวลา:14:58:18 น.  

 
ดอกสีม่วงสวยเชียวค่ะ (พอดีชอบสีม่วงน่ะค่ะ)

ขอบคุณที่แวะเยี่ยมบล็อกนะคะ


โดย: BelovedArt IP: 203.154.83.46 วันที่: 14 ตุลาคม 2550 เวลา:18:50:14 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมคะ
ชอบดอกสีม่วงขาวคะ

สวยมากๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: พิมาน วันที่: 14 ตุลาคม 2550 เวลา:23:01:27 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับ


โดย: skyteam วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:0:24:53 น.  

 



ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมบ้านค่ะ

ชอบดอกไม้ธรรมดาๆ มากกว่า
กล้วยไม้เคยเลี้ยงแล้วตายหมด
เพราะเปลี่ยนกระถางไม่เป็นค่ะ

สอนบ้างซีคะ



โดย: ป้าเเอ๊ด (addsiripun ) วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:1:06:23 น.  

 
ชอบสีม่วงครามถึงฟ้าครับ เป็นสีหายากในหมู่กล้วยไม้หลายสกุล คงต้องทำกันนาน กว่าจะได้น้ำเงินฟ้าจริงๆ อิอิ


โดย: พ่อหมี (pohmie ) วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:18:14:03 น.  

 
ขอบคุณนะค่ะที่มาเยี่ยมอะค่ะ + ได้ความรู้ดีๆอีกด้วย


โดย: chuchuchu วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:21:17:11 น.  

 
งานของท่านเป็นงานละเอียอ่อนมากเลยนะเจ้าค่ะ

ข้าน้อยลองทำเท่านั้น ปกติก็ใช้ยอดทั้งนั้น

ทำของทองกวาวออกมาลายพิมพ์สวยมาก

ทำพีซีอาร์ แต่ของกุหลาบทำไมไม่ออกล่ะ

อาจจะเป็นเพราะด้อยประสบการณ์เอามากๆก็ได้






โดย: botanichuman วันที่: 16 ตุลาคม 2550 เวลา:18:38:56 น.  

 
คุณโบตานิ

1. กุหลาบไม่มียางนี้ครับ ไม่น่าจะไม่ได้ DNA

2. ทำลายพิมพ์ทองกวาว ด้วยวิธีอะไรครับ มีหลายวิธีมาก แต่ทำเพื่ออะไรครับ ขอขยายความหน่อยได้ป่าวครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 16 ตุลาคม 2550 เวลา:21:03:31 น.  

 
ใช้เทคนิคพีซีอาร์ :ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส ค่ะ
และแยกขนาดโดยวิธีอีเลคโตรโฟริซิส
ปล่อยกระแสไฟมันก็จะเคลื่อนไปบนเมมเบรน
อาจารย์เขารวบรวมลายพิมพ์ดีเอ็นเอในงานของ
อาจารย์นักศึกษาก็ช่วยกันพรรณไม้คนละชนิด
ค่ะ ก็เลยไม่ได้ทำประจำ


โดย: botanichuman วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:19:05:53 น.  

 
1. เดาเอาว่าเป็น RAPD ใช่ปล่าวครับ และน่าจะ run บน agarose gel หากใช้เทคนิคอื่นๆ เช่น AFLP หรือ microsatellite จะต้อง run แถบดีเอ็นเอบน acrylamide gel

2. ตกลงเป็นการทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยเทคนิคอะไรครับคุณโบตานิ


โดย: appendiculata191 วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:19:18:27 น.  

 
ใช่ค่ะ Random amplified polymorphic DNAค่ะ
เป็นDAF ค่ะ


โดย: botanichuman วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:20:03:20 น.  

 
ต้องออกตัวนะคะว่าไม่ได้เรียนสาขานี้โดยตรงแต่รู้จักอาจารย์ก็ไปช่วยกัน และสนใจงานด้านพืชพรรณไม้เก็บข้อมูลพรรณไม้มากกว่าไม่ได้ลึกเหมือนท่าน


โดย: botanichuman วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:20:04:51 น.  

 
แล้วเก็บพันธุ์กล้วยไม้ด้วยป่าวครับ แล้วไปเดินป่าที่ไหนครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:22:07:17 น.  

 
อุทยานแห่งชาติสิริกิติ์ป่าด้านใน
ที่ขึ้นเขาลงเขาหลายลูกมีพืชน่าสนใจเยอะค่ะ
แจ้ซ้อน ก็มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก
ขุนตาล ก็น่าสนใจ
ส่วนใหญ่เป็นเขาภาคเหนือ
แล้วท่านไปหากล้วยไม้ป่าที่ไหนล่ะ
เคยเห็นคนมาขายที่ตลาดเยอะเลย
ของป่าไม่อยากซื้อเพราะจะเป็นการสนับสนุนให้เอามาจากป่า แต่ที่มีที่บ้านมาจากป่าจริงๆไม่รู้จักชื่ออ่ะ
ดอกสีม่วงแดงเล็กๆและสีเหลืองแต่ออกดอกช่วงสั้นมากเลยแผลบเดียวไม่เห็นแล้ว



โดย: botanichuman วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:0:18:38 น.  

 
วันหลังคุณโบตานิถ่ายรูปพันธุ์พืชมาให้ชมหน่อยนะครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:11:18:40 น.  

 
ตามมาทักทายค่ะ มือใหม่อย่าเราเลยได้ความรู้เรื่องกล้วยไม้กลับไปแยะเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: cybern วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:13:31:19 น.  

 
ภาพที่ 1 พืชชนิดนี้คือต้นอะไรคะ
คล้ายมะม่วงหัวแมงวันเม็ดจะกลมรีหน่อยสีเขียว
บีบเปลือกจะเจอเยื่อสีแดงหุ้มเมล็ดอีกที

ภาพที่2-3 มะกั๊กใช่หรือเปล่าหรือต้นอะไรเรียกลำใยป่าได้ไหม






โดย: botanichuman วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:15:14:02 น.  

 
ขอโทษค่ะภาพที่หนึ่งไม่ขึ้นข้างบนเป็นภาพที่สองค่ะ

ภาพนี้ 3 และสุดท้ายคือ 1





โดย: botanichuman วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:15:16:39 น.  

 
เอ๋ งง จัง
เมื่อตะกี้มะเห็นมันจะขึ้นเลยภาพหนึ่ง
ดูอีกทีขึ้นแล้ว ข้าน้อยเป็นงง ขอโทษถ้ามันรก
ก็ลบไปเลยนะท่าน
ก็เป็น 1 2 3 1 นะเจ้าคะ


โดย: botanichuman วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:15:19:02 น.  

 
สารภาพไม่รู้จักสักต้นครับ แสดงว่างานที่ทำคือการรวบรวมพรรณไม้ใช่ปล่าวครับ เก็บตัวอย่างแล้วทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอ....ถูกต้องปล่าวครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:17:02:11 น.  

 
เข้ามาดู ..... อิอิ


โดย: Cafe`tea วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:20:47:54 น.  

 
ดอกไม้สวยดีนะคะ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะคะ


โดย: กระพรวนน้อยเสียงใส วันที่: 20 ตุลาคม 2550 เวลา:15:47:57 น.  

 
ภาพสวยจริงเลย


โดย: korranid วันที่: 20 ตุลาคม 2550 เวลา:15:59:04 น.  

 
ขอบคุณค่ะที่แวะมา
ชอบดอกกล้วยไม้เหมือนกันค่ะ ไม่ค่อยจิงจังสักเท่าไหร่
ส่วนใหญ่แค่ไว้ดูเล่นเพลิน ๆ หน่ะค่ะ เวลาเห็นมันดอกแล้วก็มีความสุขหน่ะค่ะ มองไปเพลินดีนะคะ
โลกนี้ช่างสร้างสรรค์สิ่งสวยงามให้มนุษย์อย่างเราได้เชยชมกันนะค่ะ


โดย: atit (atit_amo ) วันที่: 22 ตุลาคม 2550 เวลา:16:25:26 น.  

 
เคยเข้าป่ามั่งไหมค่ะ
หรือว่าอยู่แต่ศูนย์เพาะพันธุ์และวิจัย
เพื่อทำงาน ข้างล่างนี้ดอกอะไรค่ะ
>
>
>
>
>แหะ แหะ ล้อเล่นนะคะ ทำงานผ่อนคลายมั่งนะคะ




โดย: botanichuman วันที่: 22 ตุลาคม 2550 เวลา:18:00:10 น.  

 
ดอกข้างบนที่หมุ่นๆ ถ้าให้ลองตอบผมคงตอบว่าอยู่ใน Compositae ประเภทดอกเบญจมาศ ดอกทานตะวัน ดอกบานชื่น ประมาณนี้กระมั้ง คุณโบตานิ


โดย: appendiculata191 วันที่: 22 ตุลาคม 2550 เวลา:18:38:04 น.  

 
ทานตะวัน
วงศ์ Compositae
สกุล Helianthus

กล้วยไม้อะไรที่ราคาแพงค่ะ
ทำไมฟาแลนฯกว่าจะเลี้ยงโตช้ามากเลย
ถ้าเอามาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นเล็กๆ
แต่ถ้าโตดอกออกสวยสมใจเลยบานทนนานมากด้วย
แต่กลิ่นหอมสู้เอื้องผึ้งบ้านเราไม่ได้





โดย: botanichuman วันที่: 22 ตุลาคม 2550 เวลา:23:23:17 น.  

 
เข้ามาอ่านครับ เรื่องดีทั้งนั้นเลย


โดย: basbas วันที่: 24 ตุลาคม 2550 เวลา:12:05:37 น.  

 
ราตรีสวัสดิ์นะคะ

หลับฝันดีคะ


พักบ้างนะคะ



โดย: botanichuman วันที่: 24 ตุลาคม 2550 เวลา:21:08:44 น.  

 
มาเยี่ยมคะ



โดย: botanichuman วันที่: 25 ตุลาคม 2550 เวลา:18:23:58 น.  

 
ได้ความรู้มากมายเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ


โดย: นกหวาน IP: 158.108.161.47 วันที่: 26 ตุลาคม 2550 เวลา:8:19:32 น.  

 
วันนี้ไปลงนามถวายพระพรพระองค์ท่านมา

ผู้คนแน่นขนัดไปหมด ใส่เสื้อสีเหลืองกันหมดเลย

น่าปลึ้มจังที่ประชาชนช่างรักพระองค์อย่างมากมาย


โดย: botanichuman วันที่: 27 ตุลาคม 2550 เวลา:18:16:15 น.  

 
กล้วยไม้น่ารักมากค่ะ ขอบคุณที่แวะไปที่ blog นะคะ


โดย: RadBit วันที่: 27 ตุลาคม 2550 เวลา:22:13:18 น.  

 
ชอบกล้วยไม้ค่ะ โชคดีที่มาเจอบล็อกนี้ ขอบคุณมากนะคะ


โดย: ไม่รู้หนูไม่ได้ทำ (ไม่รู้หนูไม่ได้ทำ ) วันที่: 28 ตุลาคม 2550 เวลา:19:14:40 น.  

 
ชอบกล้วยไม้คะ เวลาไปร้านต้นไม้มักอดใจไม่ไหว เห็นดอกสวยๆแล้วอยากพากลับบ้าน แต่ไม่มีความรู้ลึกๆแบบนี้เลย ขอบคุณนะคะ แล้วจะแวะมาบ่อยๆ


โดย: nana (dokmainana ) วันที่: 1 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:31:13 น.  

 
แม่ผมชอบกล้วยไม้มาก สวยดีครับ

ละเอียดดีจริงๆ


โดย: งามหน้า วันที่: 3 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:41:20 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปลงชื่อนะคะ


โดย: yoja วันที่: 7 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:16:46 น.  

 
ได้ความรู้เยอะเลย สวยๆทุกต้นเลยอ่ะ เห็นแล้วได้แต่อยากเลี้ยง


โดย: ST.Exsodus วันที่: 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:57:48 น.  

 
มาอ่านความรู้ดีๆค่ะ กำลังจะลองอาชีพเสริมเรื่องเกี่ยวกับต้นไม้ แต่เราไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการเพาะ การปรับปรุงพันธุ์ คงต้องมาหาความรู้ที่นี่บ่อยๆแล้วค่ะ



โดย: เยี่ยมรุ้ง วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:0:09:43 น.  

 
สวย ๆ ๆ ๆ
อยากได้ไวโอ เนวี่บลูอ่ะ.....


โดย: บ้านค่าย IP: 202.57.155.137 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:05:33 น.  

 
กล้วยไม้สวยจังเลย


โดย: โซบะคุง วันที่: 22 พฤศจิกายน 2550 เวลา:8:36:07 น.  

 
แวะมาดูอีกรอบ อิอิ


โดย: พ่อหมี (pohmie ) วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:22:53 น.  

 
แวะมาเยี่ยมค่ะ ว่างๆ ก็ไปคุยกันบ้างนะคะอาจารย์


โดย: sunnyorchids วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:50:49 น.  

 
อยากถามอาจารย์ว่า การทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอต้องใช้กล้วยไม้ species ด้วยหรือเปล่าคะ พวกลูกผสมจะทได้หรือไม่


โดย: sunnyorchids วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:52:29 น.  

 
สวัสดีครับ แวะมาเยี่ยม
ตอบคำถามของคุณ
คือ ที่ผมไปดูแสงศตวรรษ ที่สมาคมฝรั่งเศษมา
เป็นฉบับเต็มครับ ไม่มีตัด ฉากที่ว่าเลย
(สงสัยถือสิทธิของสมาคมต่างชาติมั้งครับไม่แน่ใจ)


โดย: คนสวน IP: 58.9.203.128 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:13:49:09 น.  

 
ตอบคุณ sunnyorchids นะครับ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ใช้ species ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการหาความสัมพันธ์ใกล้ชิดในความเหมือนหรือความต่าง ซึ่งก็คือการทำ phylogeny tree นั้นเอง เพื่อใช้ข้อมูลระดับโมเลกุลมาจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อนุกรมวิธานที่ใช้แบ่งได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น

ส่วนลูกผสม ก็ใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอได้ด้วยครับเพื่อหาความสัมพันธ์ทางสายเลือด ความเป็นพ่อแม่ลูกได้นั้นเอง


โดย: appendiculata191 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:20:27 น.  

 
ชอบไม้สีบลูมากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะอ่านแล้วทำให้มีความรู้เพิ่มอีกเยอะเลย


โดย: noojew วันที่: 26 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:24:28 น.  

 
มาชื่นชม คนรักดอกไม้++


โดย: rfu วันที่: 13 ธันวาคม 2550 เวลา:0:32:20 น.  

 
ขอบคุณนะค้าที่แวะไปเยี่ยม ข้อมูล Blog นี้เยอะดีนะค่ะกำลังศึกษา Phalaenopsis อยู่พอดีเลยค่ะ


โดย: แหม่ม (kamonorchids ) วันที่: 16 ธันวาคม 2550 เวลา:15:22:28 น.  

 
สวัสดีปีใหม่คับ


โดย: พ่อหมี (pohmie ) วันที่: 24 ธันวาคม 2550 เวลา:19:49:28 น.  

 
ดีจัง มาถึงได้ชมกล้วยไม้สวยๆ
ขอบคุณนะคะ ที่ไปร่วมดูดอกไม้และเฉลยชื่อ ดอกสาละให้แม่อ้วนทราบ
ยินดีที่ได้รู้จักจ่ะ


โดย: แม่อ้วนคนสวย วันที่: 8 มกราคม 2551 เวลา:13:55:38 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับ มาช้าหน่อย แต่จริงใจนะครับ


โดย: พลายจันทร์ วันที่: 15 มกราคม 2551 เวลา:11:48:28 น.  

 
พวกลูกครึ่งเนี่ยนะ ไม่ว่าพืชพันธุ์หรือมนุษย์ อิอิ ก็สวยน่ารักแหละครับ


โดย: เขาพนม วันที่: 30 มกราคม 2551 เวลา:20:34:02 น.  

 
สวยๆค่ะ


โดย: Hana* วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:48:45 น.  

 
ดูเพลินดีครับ ได้ความรู้ด้วย


โดย: jra IP: 58.8.169.70 วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:1:29:40 น.  

 
เห็นความตั้งใจแล้ว ต้องขอนับถือ
เยี่ยมมากค่ะ


โดย: ดา ดา วันที่: 13 มีนาคม 2551 เวลา:11:12:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

appendiculata191
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ไม่เคยชอบกล้วยไม้มาก่อนเลย แต่หน้าที่การงานเข้าไปเกี่ยวข้องกับกล้วยไม้....เลยสนใจบ้าง แล้วมาจับกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis เลยชอบ และได้ทำการสะสมพันธุ์แท้เพื่อทำ DNA fingerprint โดยขณะนี้ เริ่มสะสมกล้วยไม้ดินบางชนิดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ การปลูกเลี้ยงที่ง่ายขึ้น มีสีสรรแปลกใหม่ไปกว่าเดิมและอื่นๆ

ชอบการท่องเที่ยวเดินทางและการถ่ายภาพ
Friends' blogs
[Add appendiculata191's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.