คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสถานที่ดี คำสอนของท่านปัญญานันทะภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
7 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
แนวทางการพัฒนากล้วยไม้สกุล Doritis ตอนที่ 3 ม้าบิน

แนวทางการพัฒนากล้วยไม้สกุล Doritis ตอนที่ 3 ม้าบิน

เป็นตอนที่เขียนยากที่สุดเนื่องจาก ดังนี้

1. ไม่เคยเห็นม้าบินแท้ๆ ในธรรมชาติ

2. ข้อมูลของม้าบินมีน้อยมาก

2.1 ใน Gruss, 1995 พูดถึงแต่ Doritis pulcherrima (ม้าวิ่ง) และ Doritis buyssoniana (แดงอุบล) เท่านั้น โดยสมัยนั้นเริ่มมีผู้สนับสนุนให้ทั้งม้าวิ่งและแดงอุบลเป็น Phalaenopsis บ้างแล้ว

2.2 ใน Christenson, 2001 กล่าวถึง Peloric clones ที่อยู่ในภาค Phal. pulcherrima แล้วเป็นที่รู้ในชื่อไม่เป็นทางการว่าเป็นเพียงการแปรปรวน, informal varietal name " champornensis" ของม้าวิ่ง สังเกตนะครับ เจ้า Christenson เขียนว่า champornenesis แทนที่จะเขียนว่า chompornensis หรือ choompornensis (ผมจะใช้ ม้าบิน = Doritis pulcherrima var. choompornensis นะครับ)

2.3 ใน Masaaki, 2002 มีภาพประกอบ 2 รูปที่น่าจะเป็นม้าบิน โดยเขียนกำกับรูปที่ว่า

:- Doritis pulcherrima 'Lake View Yellow Splash'
อีกรูปเป็นม้าบินชัดๆ แต่เขียนใต้รูปว่า Dortis pulcherrima เฉยๆ สะงั้น

3. ข้อมูลในอินเตอร์เนทในเวปซื้อขาย หรือเวปเผยแผ่กล้วยไม้สกุล Phalaenopsis และ Doritis รวมทั้งผู้ผลิตหรือผู้ขายในเมืองไทย ใช้ภาพลูกผสมอย่างน้อย

:- ลูกผสมม้า 2 สายของ ม้าบิน X แดงอุบล

:- หรือลูกผสมม้า 3 สายของ ม้าวิ่ง x แดงอุบล x ม้าบิน

โดยใช้รูปที่มีลักษณะ กลีบดอกขาว มี splash ที่กลีบดอกสีเหลือง และมีหูเหลือง ใช้คำประกอบรูปว่า Doritis pulcherrima var. chompornensis ซึ่งไม่ใช่ม้าบินแท้ๆ แต่เป็นลูกผสมดังที่กล่าวข้างต้น

4. ข้อมูลของม้าบินจึงเป็นข้อมูลด้านเดียวจากการบอกเล่าจากผู้สะสม ผู้รู้ โดยผมพยายามที่จะเข้าไปดูของจริงจากสวนของ พ.อ.อ. สะอาด ใหม่ละมัย และสวนของคุณเย็นออร์คิด และสวนต่างๆ เท่าที่กระทำได้ (ส่วนแหล่งธรรมชาติไม่ได้ทำตามที่ได้ปรารถนาไว้.....เหตุขัดข้องบางประการ) ต้องขอขอบคุณทั้งสองท่านไว้เป็นอย่างสูง และที่ต้องขอขอบคุณจากการให้คำแนะนำของคุณเสือเจ้าถิ่น คุณ Cafe tea คุณยรรยง คุณมนตรีและคุณน้อยที่จังหวัดอุบลราชธานี และตามกระทู้ต่างๆ ที่ได้โฟสไว้ในเรือนกล้วยไม้และที่อื่นๆ อีกมากมาย

มาดูภาพที่ไม่ใช่ม้ามินแท้ๆ ก่อนนะครับ

1. กลีบดอกเป็นสีขาว สแปรสเหลือง หู (เขี้ยว) เหลือง เป็นลักษณะที่มักจะใช้บอกเป็นม้าบิน ทั้งๆ เป็นลูกผสมของม้าสามสาย (ม้าวิ่ง x แดงอุบล x ม้าบิน)



ข้อมูลเพิ่มดูตามนี้เลยครับของคุณ cafe tea

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=my-orchids&group=13

2. หรือมีสีอื่นๆ ก็ไม่ใช่ม้าบินแท้ๆ เป็นม้าสามสายเช่นเดียวกัน สังเกตก้านดอกใหญ่เท่าแดงอุบล มีสแปรสสีส้ม สีแบบนี้น่าจะมีเลือดม้าวิ่ง แดงอุบล และม้าบินผสมอยู่นะครับ



3. หรือเป็นกลีบดอกสีขาว หูเหลือง ไม่มีสแปรส ก็ไม่ใช่ม้าบินแท้ หรือไม่เป็นแดงอุบลเผือกด้วย (แดงอุบลแท้ไม่มีสีแบบนี้ และไม่เคยพบแดงอุบลเผือกในธรรมชาติอีกด้วย) ในภาพยังคงเป็นม้าสามสาย



4. หรือกลีบดอกเป็นสีชมพูหวานๆ ที่ยังคงไม่มีสแปรส ซึ่งไม่ใช่ม้าบินแท้ หรือไม่ใช่แดงอุบลแท้ด้วย ในภาพเป็นม้าสามสายเช่นเดียวกัน



5. ในภาพผู้ปลูกเลี้ยงยืนยันว่าเป็นเพียง ม้าบิน x แดงอุบล เท่านั้น ลองดูนะครับ ก้านดอกใหญ่เหมือนแดงอุบลเลย (เป็นไม้ฟอร์มกลม มีสแปรสส้มได้ใจทีเดียว)



6. อันนี้ผู้ปลูกเลี้ยงยืนยันว่าเป็น ม้าวิ่ง x ม้าบิน เท่านั้น ดูยากหน่อยครับ เพราะก้านดอกเล็กๆ เป็นม้าวิ่ง หรือเหมือนม้าบินแล้ว (ก้านดอกไม่ใหญ่โตเท่าแดงอุบล) แต่มีลักษณะสแปรสเหมือนม้าบิน แต่สีที่กลีบดอกแบบนี้ผู้ปลูกเลี้ยงบอกว่ามันผสมผสานระหว่างม้าวิ่งกับม้าบิน (ดูยากจังครับ)



7. เป็นภาพของม้าสามสาย (ม้าวิ่ง x แดงอุบล x ม้าบิน) ซึ่งผมคาดว่าเป็นม้าสามสาย 2 ต้นผสมกัน หรือทำ self ต้นหนึ่งต้นใด แล้วลูกที่ได้จะมีการกระจายตัวของการเกิดสแปรสและไม่มีสแปรส ส่วนสีมีความหลากหลายมากมาย ขึ้นกับที่ว่าใช้ม้าวิ่ง แดงอุบล หรือม้าบิน จากต้นไหน ถือเสียว่าถ้าเห็นลักษณะแบบนี้ ไม่ใช่ม้าบินแท้แน่นอน

:- ข้อควรระวัง แถวบนทั้งหมดที่มีลักษณะไม่มีลักษณะสแปรสที่กลีบดอก ไม่ใช่แดงอุบลเผือก หรือแดงอุบลแท้นะครับ (ที่ถูกคือ ม้าสามสายที่ไม่มีสแปรส)



8. นำมาเทียบกันระหว่างแดงอุบลกับม้าสามสายนะครับ

:- แถวที่ 1 เป็นม้าสามสาย ที่ไม่มีสแปรส
:- แถวที่ 2, 3, 4 และ 5 เป็นแดงอุบลแท้ๆ
:- แถวที่ 6 เป็นม้าสามสายที่มีสแปรส

:- สังเกตโดยเฉลี่ยแล้ว ม้าสามสายมีขนาดของดอกไม่เท่ากับแดงอุบลแท้ๆ



9. นำเอาม้าวิ่ง เทียบแดงอุบล และม้าสามสายที่ไม่มีสแปรส

:- แถวที่ 1 เป็นม้าวิ่งแท้ๆ
:- แถวที่ 2, 3, 4, 5 เป็นแดงอุบลแท้ๆ
:- แถวที่ 6 เป็นม้าสามสายที่ไม่มีสแปรส

:- สังเกตนะครับ ขนาดของม้าวิ่งเล็กสุด ม้าสามสายขนาดใหญ่กว่าม้าวิ่งแต่ไม่โตเท่าแดงอุบล (ขนาดกลางๆ ชิดไปทางขนาดของแดงอุบล)



ข้อน่าสังเกตลักษณะของม้าบิน

1. ต้องพูดถึงแหล่งกำเนิดเลยครับ จากการที่ใช้คำว่า "ม้าบินชุมพร" และคำบอกเล่าจากผู้ที่เคยเห็นในธรรมชาติ บอกตรงกันว่า แหล่งของม้าบินชุมพร อยู่ที่จังหวัดชุมพรเป็นแหล่งใหญ่สุด แต่ปัจจุบัน หาได้ยากมากแล้วครับ อันเนื่องมาจากการบุกรุกพื้นที่ถิ่นกำเนิดในเขตจังหวัดชุมพร และนำม้าบินชุมพรออกมาจากถิ่นอาศัยจนหมดแล้ว แต่ก็ยังมีผู้เคยเห็นม้าบินบอกว่า สมัยเมื่อ 30 ปีก่อน มีการค้นพบม้าบินจำนวนมากในพื้นที่สนามบินจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบันด้วย จึงคาดว่าอาจเป็นไปได้ที่ว่า ม้าบินอาจจะมีถิ่นอาศัยอย่างน้อย 2 แหล่งถิ่นกำเนิดคือ ที่จังหวัดชุมพรหรือมีม้าบินในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หรือที่อื่นๆ อีกหรือไม่ (อันนี้ผมไม่มีข้อมูลนะครับ)

2. การให้ชื่อของม้าบินชุมพร ตามหลักสากลการให้ชื่อ พบว่าค่อนข้างมีปัญหา

2.1 ใน Christenson, 2001 ที่ย้าย Doritis ทั้งหมด (ม้าวิ่ง แดงอุบล และม้าวิ่งแคระ เท่านั้น) เป็น Phalaenopsis กล่าวถึง ม้าบินชุมพรว่าเป็นแค่ "Peloric clones" ของม้าวิ่งเท่านั้น

2.2 มี 2 แนวทางคือให้ม้าวิ่งชุมพรเป็นแค่ variety ของม้าวิ่งเท่านั้น

:- ให้เขียนระบบชื่อเป็น Doritis pulcherrima var. choompornensis

:- มีบางท่านบอกว่าลักษณะของม้าบินชุมพร ไม่เหมือนกับม้าวิ่ง ควรเป็นชนิดใหม่ที่ไม่ใช่ม้าวิ่ง โดยใช้หลักการ การเป็นพืชเฉพาะถิ่น การมีสแปรสของม้าบินชุมพร และสีที่กลีบดอกที่เจอในม้าบินชุมพรไม่เหมือนในม้าวิ่ง ให้เขียนว่าเป็น Doritis choompornensis ประเด็นนี้ได้มาจากคำบอกเล่าจากผู้สะสมม้าบินชุมพรนะครับ ซึ่งกำลังทำเรื่องเสนอต่อสมาคมสากลต่อไป

:- ประเด็นที่ว่าม้าบินชุมพรน่าจะเป็นคนละชนิดที่ไม่ใช่ ม้าวิ่ง แดงอุบล ม้าวิ่งแคระ ผมเห็นดังนี้

- หากม้าบินชุมพรเป็นพืชเฉพาะถิ่น ก็อาจจะเป็นชนิดอื่นที่ไม่ใช่เป็นแค่ var. ของม้าวิ่ง แต่ผู้ที่เคยพบม้าบินชุมพรในธรรมชาติบอกว่า ม้าบินชุมพรพบขึ้นปะปนกับม้าวิ่งด้วย แสดงให้เห็นว่าแหล่งอาศัยไม่ได้แยกชัดเจนออกจากกัน (ไม่เหมือนกับกรณีของแดงอุบล ซึ่งนอกจากมีลักษณะของดอกของแดงอุบลจะแตกต่างจากม้าวิ่งอย่างชัดเจนแล้ว ยังไม่เคยพบม้าวิ่งขึ้นปะปนกับแดงอุบลแต่อย่างไร)

ในที่นี้ผมจึงให้ "ม้าบินชุมพร" เป็นแค่ var. ของม้าวิ่งเท่านั้น (อาจผิดได้)

ม้าบินชุมพร = Doritis pulcherrima var. choompornensis นะครับ

คราวนี้มาดูม้าบินแท้ๆ ที่ผู้ปลูกเลี้ยงเป็นผู้ยืนยันว่าเป็นม้าบินชุมพรนะครับ

10. ให้สังเกตสีที่กลีบดอกของม้าบินที่เป็นสีแดง อันนี้ผู้แยกบอกว่าม้าบินชุมพรน่าจะเป็นคนละชนิดกับม้าวิ่ง เนื่องจากในธรรมชาติ ไม่เคยพบม้าวิ่งที่มีสีแดง ลองดูนะครับ ลักษณะสแปรสสีแดงไม่เป็นระเบียบ และยังมีลักษณะการลู่เหมือนม้าวิ่ง ก้านดอกเล็กๆ ของม้าบินจะเล็กเหมือนม้าวิ่ง ถ้าดูลักษณะใบ ทรงต้น ทรงดอก จะแยกกันไม่ออกระหว่างม้าวิ่งกับม้าบิน ต้องดูลักษณะดอกเป็นสำคัญ



11. ยังคงเป็นม้าบินแท้สแปรสสีแดงอีกต้น



12. ผู้รู้บอกอีกว่าม้าบินแตกต่างจากม้าวิ่งตรงที่ปาก โดยที่ปากของม้าบินจะกระดกลง (ในม้าวิ่งปากจะเป็นแนวนอน ในแดงอุบลปากจะกระดกขึ้นและนูนเห็นได้ชัด ในม้าบินปากจะกระดกลง) (สังเกตดูนะครับ) ในภาพยังคงเป็นม้าบินแท้ ที่มีสแปรสสีแดง ฟอร์มกลมตึงพอใช้



13. ม้าบินสแปรสสีแดง ดูเพื่อโปรดพิจารณานะครับ



14. ต้นนี้ม้าบินแท้ๆ ที่มีสแปรสสีแดงมากๆ สีแบบนี้ไม่มีในม้าวิ่งแน่นอน



15. มาดูม้าบินสีอื่นที่ดูเหมือนสีของม้าวิ่งนะครับ เป็นม้าบินสแปรสสีชมพู ถ้าสังเกตให้ดี สีชมพูของม้าบินแบบนี้ ไม่เหมือนสีชมพูของม้าวิ่งอีกครับท่าน



16. ยังคงเป็นม้าบินสแปรสสีชมพูอีกต้นนะครับ



17. ม้าบินสแปรสสีชมพู ต้นเดียวกับภาพ 16 นะครับแต่คนละมุม เพื่อโปรดพิจารณา



18. มาดูม้าบินสแปรสสีม่วง อันนี้ดูยากนะครับ ดูมีความหนาผิดปกติ เป็นผมจะบอกเป็น ม้าวิ่ง x ม้าบิน แต่ถ้ามันเป็นม้าบินแท้ๆ ดูให้ดีจะเห็นว่าสีม่วงแบบนี้ ไม่เคยเจอในม้าวิ่ง (เริ่มยากแล้ว)



19. มาดูม้าบินสแปรสสีเหลือง แต่ต้นนี้ไม่เหลืองใสเท่าไรมีสีน้ำตาลปนเล็กน้อย ฟอร์มกลม สังเกตปากไม่กระดกลงแต่ยังคงเป็นม้าบินแท้ (ยากจัง) (เจ้าม้าบินสแปรสเหลืองเป็นต้นตำนานม้าสามสาย....ต่อมา)



20. ในภาพเป็นม้าบินสแปรสสีน้ำตาล สีแบบนี้ไม่เคยเจอในม้าวิ่งเช่นเดียวกัน



21. เป็นม้าบินสแปรสสีน้ำตาลเข้มนะครับ



22. เป็นต้นที่ยากที่สุด เพราะผู้ปลูกเลี้ยงบอกว่าเป็นม้าบินที่ไม่มีสแปรส และปากของต้นนี้ก็ไม่กระดกลง (ยากจัง....ตามเคย) เป็นผมจะบอกว่ามันคือม้าวิ่งแน่นอน แล้วผู้ปลูกเลี้ยงยังให้เหตุผลเพิ่มเติมที่ว่า ลักษณะสแปรสที่แฝงอยู่ปรากฏให้เห็นในรุ่นลูก (ยากมาก...ถึงยากที่สุด)



ถึงตรงนี้หากเราต้องการพัฒนากล้วยไม้ม้าบิน ต้องเริ่มจากอะไรบ้างนะครับ

1. ในปัจจุบันการหาม้าบินแท้ๆ ในแหล่งธรรมชาติ ค่อนข้างเป็นไปได้น้อย ในแง่การรวบรวมสายพันธุ์ ซึ่งเราจะคำนึงถึงและกระทำเป็นกรณีแรกๆ เพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมของม้าบิน เช่นเดียวกับม้าวิ่ง (ตอนที่ 1) และแดงอุบล (ตอนที่ 2) ฉะนั้นการหาไม้ฟอร์มม้าบินที่มีฟอร์มตึง หูตั้ง ดอกกลม จึงเป็นเรื่องยากมาก แต่หากเราต้องการรวบรวมสายพันธุ์ม้าบินจริงๆ เราจะต้องหาม้าบินแท้ๆ ที่ได้มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

2. ลักษณะที่ต้องพูดถึงเป็นอันดับสอง คือ ลักษณะการมีสแปรสของม้าบิน ซึ่งคาดว่าจะถูกควบคุมด้วยยีนเด่นแบบข่มสมบูรณ์

:- โดยตั้งสมมุติฐานให้ลักษณะมีสแปรส (splash= pleoric form) ถูกควบคุมด้วยยีน S ส่วนยีนไม่มีสแปรสสมมุติให้เป็น s เพราะฉะนั้น การทำม้า 2 สาย ไม่ว่า ม้าวิ่ง x ม้าบิน หรือ แดงอุบล x ม้าบิน จะพบลูกผสมชั้นนี้จะมีลักษณะสแปรสและไม่มีสแปรสอย่างละครึ่งโดยจะมี genotype = Ss และ ss

:- ใช้อธิบายการทำลูกผสมม้าสามสาย (ม้าวิ่ง x แดงอุบล x ม้าบิน) ซึ่งจะถ่ายทอดลักษณะการมีสแปรส และไม่มีสแปรส ตามหลักข้างต้น

:- ปัญหาคือนักปรับปรุงพันธุ์กลัวยไม้ Phalaenopsis โดยเอาเลือด Doritis เข้าไปผสม ได้ลูกผสมใหม่เป็น Doritaenopsis ในกรณีนี้ คือเอาเลือดม้าบินเข้าไปผสม จะต้องคำนึงถึงการมีลักษณะสแปรสในลูกผสม หากต้องการลักษณะสแปรสให้คงอยู่ (ถ่ายทอดลักษณะมีสแปรส และคัดเลือกลักษณะมีสแปรสเอาไว้) ก็ต้องใช้ม้าบินที่คัดเลือกให้เป็นไม้ฟอร์มเสียก่อน (คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ดีนั่นเอง) หรือเราต้องการคัดเลือกการไม่มีสแปรสในการสร้างลูกผสม จะต้องคำนึงถึง โอกาสที่จะได้ลูกผสมที่มี genotype = ss เป็นสำคัญอีกด้วย

22. เป็นภาพลูกผสม Doritaenopsis ที่มีเลือดม้าสามสาย (ใช้ต้นม้าสามสายที่มีสแปรสเป็นพ่อ) โดยลูกผสมที่ได้มีลักษณะมีสแปรสและไม่มีสแปรสด้วย




23. เป็นภาพลูกผสม Doritaenopsis อีกคู่ผสมนะครับ (แม่ที่ใช้เป็นคนละตัวกับแม่ในภาพที่ 22) แต่ใช้ม้าสามสายที่ไม่มีสแปรสเป็นพ่อ โดยลูกผสมที่ได้มีลักษณะไม่มีสแปรสให้เห็นทั้งหมด



คำถามเกี่ยวกับม้าบินที่มักถูกพูดถึง (ขำขำ)

1. ทำมัยชื่อม้าบิน
นั้นนะเดะ ม้าบิน น่าจะหมายถึง ลักษณะการมีสแปรส แบบนกมีปีกกำลังบินกระมัง แต่ถ้าไปถามแม่ค้าลานดินจะพบว่าใช้คำว่า ม้าบิน กับม้าวิ่งแถบอีสานที่มีลักษณะสีขาวหรือสีเกือบขาว ส่วนสีอื่นให้เป็นม้าวิ่ง สะงั้น

2. เจอม้าบินยากปล่าว
ม้าบินในแหล่งธรรมชาติ ท่าทางจะไม่เจอแน่ๆ ตอบคำเดียวว่ายากม๊ากมาก

3. เจอม้าบินเผือกหรือปล่าว
ใช้ภาพเพื่อโปรดพิจารณากันเอาเองนะครับ



4. เจอม้าบินบูลปล่าว
ไม่น่าเจอหรือไม่แน่ใจ

5. ม้าบินแท้ป่าว
เป็นคำถามยากมากถึงยากที่สุด........โปรดพิจารณาด้วยความรอบครอบด้วยนะครับ

ฯลฯ

จบตอนที่ 3 ม้าบิน


Create Date : 07 กันยายน 2550
Last Update : 17 กันยายน 2550 12:54:26 น. 18 comments
Counter : 6057 Pageviews.

 
มาดูคนแรกเลย....


โดย: เสือเจ้าถิ่น วันที่: 8 กันยายน 2550 เวลา:21:45:33 น.  

 
คุณเสือเจ้าถิ่นมาดู แล้วแก้ไขให้ด้วยซิครับ มีอะไรแนะนำก็ว่ามาเลยนะครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 9 กันยายน 2550 เวลา:1:32:08 น.  

 
สวยงามมากเลยครับ แวะมาเยี่ยมครับ


โดย: เจ้าป่าทาร์จัง วันที่: 9 กันยายน 2550 เวลา:16:57:09 น.  

 
ตามมาชม 3 ครับ


โดย: ตะวันสุริยา. IP: 58.8.167.12 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:11:40:46 น.  

 
ตามมาชมด้วยคนครับ....สวยจัง


โดย: doyngam วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:16:11:12 น.  

 
- ผมขอเสริมในแง่ genetic ของม้าบิน โดยตั้งสมมุติฐานว่า ม้าบินอาจเกิดจากม้าวิ่งที่กลายพันธุ์ โดยเกิดการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งเดียวบนโครโมโซมข้างเดียว (poin mutation) บนยีนที่ควบคุมลักษณะการเกิดสแปรส (splash=peloric form)

- โดยม้าวิ่งเกิด poin mutation ที่ยีน s (ตัวเล็ก) เปลี่ยนเป็น ยีน S (ตัวใหญ่)

- ยีน S (ตัวใหญ่) จะทำให้เกิดลักษณะสแปรส และเป็นยีนแบบข่มสมบูรณ์

- genotype ของม้าบินควรจะเป็น Ss = มีสแปรส
genotype ของม้าวิ่งควรจะเป็น ss = ไม่มีสแปรส

- ในตอนแรก ม้าบินน่าจะมี genotype เป็น Ss เท่านั้น

- แต่เมื่อม้าบินเกิดการผสมเปิด ไม่ว่าจะเกิดการผสมตัวเอง (self pollination) หรือ ผสมข้ามต้น (sib pollination) จะพบว่าเกิดลักษณะไม่มีสแปรสปรากฏด้วย จึงพบม้าวิ่งขึ้นปะปนกับม้าบินในธรรมชาติ

Ss (ม้าบิน) x Ss (ม้าบิน)

ได้ลูกที่มี genotype เป็น SS (ม้าบินที่เป็น homologus)
Ss (ม้าบินที่เป็น heterologus)
ss (ม้าบินไม่มีสแปรส = ม้าวิ่ง)

- จึงเป็นไปได้ที่ว่า ม้าบินเป็นเพียงการเกิด poin mutation ของม้าวิ่งเท่านั้น

- ในที่นี้ผมถึงให้ม้าบินเป็นเพียง variety ของม้าวิ่ง

ม้าบิน = Doritis pulcherrima var. choompornensis

- ถูกผิดอย่างไรก็เสริมกันได้นะครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:16:30:17 น.  

 
เขียน point mutation ผิดไงพี่...คริคริคริ


โดย: ฝ่ายพิสูจน์อักษร (เสือเจ้าถิ่น ) วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:20:11:31 น.  

 
ขอบคุณหลายๆๆ เด้อ คุณเสือเจ้าถิ่น


โดย: appendiculata191 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:21:01:28 น.  

 
ขอบคุณมากๆครับที่ไปแนะนำชื่อกล้วยไม้ให้ ผมเพิ่งจะเริ่มปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ใหม่ครับ ยังไม่แตกฉานในเรื่องนี้เท่าใดนัก ถ้ามีอะไรที่จะแนะนำก็สามารถแนะนำผมได้อีกนะครับ ยินดีรับฟังครับ...

ขอบคุณอีกครั้งครับ


โดย: doyngam วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:13:29:07 น.  

 
ตามมาเก็บเกี่ยวภาค 3


โดย: ปราวตรี... IP: 124.120.245.38 วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:17:28:51 น.  

 
ข้อมูลแบบนี้ น่าติดตามครับ


โดย: กาฝากไร้ใบ IP: 125.25.34.217 วันที่: 23 ตุลาคม 2550 เวลา:0:31:45 น.  

 
ขอบคุณครับคุณกาฝากไร้ใบที่เข้ามาชมมาอ่าน มีหลายหัวข้อนะครับ ลองเข้าไปเสริมข้อมูลได้ครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 23 ตุลาคม 2550 เวลา:9:32:08 น.  

 
มาตามติด อย่างเมามันในความรู้ที่ได้รับ


โดย: บ้านค่าย IP: 202.57.155.137 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:14:21 น.  

 
splash ถ้าถาษาอังกฤษเขียนแบบนี้ภาษาไทยต้องถอดว่า "สแปลช" นะคะไม่ใช่ "สแปรส"


โดย: 026 IP: 118.172.39.12 วันที่: 6 พฤษภาคม 2551 เวลา:23:33:33 น.  

 
ขอบคุณคุณ 026 เรื่องภาษาไทยของคำว่า "splash" ครับผม


โดย: appendiculata191 วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:0:16:17 น.  

 
20-25 ปีที่แล้วพบได้จำนวนมากตามป่าพรุ ตอนนี้ไม่เหลือแล้วสมัยเด็กๆชอบเก็บมาทำพิธีไหว้ครูในวันไหว้ครูเพาะเก็บมารวมๆกันแล้วก้อสวยดี(คิดได้แค่นั้นจิงๆ) ปัจจุบันเป็นสวนปาล์มหมดแล้วอีกอย่างไม่มีใครสนใจและดูแลอย่างจิงจัง แต่ยังโชคดีที่บ้านรักษาไว้ได้ประมาณ 30 กอ ม้าวิ่งก้อมีอยู่พอประมาณ ม้าบินมีสองสี ขาวปากเหลืองกับม่วงปากม่วง ส่วนม้าวิ่งมีหลายสี เก็บไว้ให้เด็กๆรุ่นหลังได้ดู ว่านี่คือสิ่งที่ธรรมชาติสร้างให้มาแต่เรากลับทำลายมันเอง หากใครสนใจข้อมูลก้อติดต่อ chumphon2537@hotmail.com แต่ไม่มีขายครับ


โดย: ม้าวิ่ง-ม้าบินชุมพร IP: 10.239.23.152, 203.149.16.33 วันที่: 17 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:35:03 น.  

 
It is bad that I cannot understand what you ave written, but it is a really good documentation of the variability of, so I think, one species

Best greetings

Olaf


โดย: pulcherrima IP: 79.192.123.140 วันที่: 8 กันยายน 2555 เวลา:1:21:41 น.  

 
แล้วอย่างนี้เรียกว่าม้าบินเผือกได้ไหมครับ
ต้นนี้ผมได้มาจากในกองกล้วยไม้ที่คนเก็บจากป่ามาขาย


โดย: ปัญญา IP: 171.99.156.37 วันที่: 7 พฤษภาคม 2565 เวลา:20:08:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

appendiculata191
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ไม่เคยชอบกล้วยไม้มาก่อนเลย แต่หน้าที่การงานเข้าไปเกี่ยวข้องกับกล้วยไม้....เลยสนใจบ้าง แล้วมาจับกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis เลยชอบ และได้ทำการสะสมพันธุ์แท้เพื่อทำ DNA fingerprint โดยขณะนี้ เริ่มสะสมกล้วยไม้ดินบางชนิดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ การปลูกเลี้ยงที่ง่ายขึ้น มีสีสรรแปลกใหม่ไปกว่าเดิมและอื่นๆ

ชอบการท่องเที่ยวเดินทางและการถ่ายภาพ
Friends' blogs
[Add appendiculata191's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.