คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสถานที่ดี คำสอนของท่านปัญญานันทะภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
2 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
แนวทางการพัฒนากล้วยไม้สกุล Doritis ตอนที่ 2 แดงอุบล

แนวทางการพัฒนากล้วยไม้สกุล Doritis ตอนที่ 2 แดงอุบล

- ใน Christenson, 2001 ได้กล่าวไว้ว่าแต่เดิมมีการแยก Doritis ออกจาก Phalaenopsis เนื่องมาจากลักษณะของ Doritis แตกต่างจาก Phalaenopsis ดังนี้

1. Doritis มีเส้าเกสรที่ยาว (long column foot)
2. Doritis มีปลายเส้าเกสรที่ยาว (long rostellum, long stipe of the pollinarium)



:- ประเด็นของ long column foot ใน Doritis ผมเห็นแย้งนะครับ เพราะใน Phalaenopsis ก็สามารถพบลักษณะ long column foot โดยเฉพาะใน subgenus Polychilos ใน section Polychilos จะพบลักษณะของ long column foot ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งได้แก่ Phal. mannii, Phal. cornu-cervi, Phal. borneensis และ Phal. pantherina และพบลักษณะ long column foot ใน Phal. spp. อื่นๆ อีกด้วย

3. Doritis มีลายเส้นที่ลากยาวมาจากฐานของปากจนถึงปลายปาก (mid lobe) คือ Doritis มีลักษณะ linear "appendages"



:- ประเด็นของ linear "appendage" ผมทั้งเห็นผ้องและเห็นแย้ง ที่เห็นผ้องเพราะใน Doritis (ม้าวิ่ง แดงอุบล ม้าบิน ม้าวิ่งแคระ) มีลายเส้นแบบนี้ทั้งหมด (แต่อาจเห็นชัดหรือไม่ชัดขึ้นกับแต่ละต้น) โดยเฉพาะในแดงอุบล จะเห็นได้ชัด และยังถ่ายทอดลักษณะแบบนี้ไปยังลูกหลานได้อีกด้วย แต่ที่เห็นแย้งเพราะเราสามารถเจอลักษณะลายเส้นแบบนี้ใน Phalaenopsis ได้เช่นเดียวกัน เช่น Phal. celebensis, Phal. lindenii

:- ส่วนที่ผมให้เป็น "X" (ไม่รู้เรียกอะไรนะครับ) อันนี้แหละผมว่า Doritis ทั้งหมด มีลักษณะ "X" เฉพาะ ซึ่งใน Phalaenopsis ทั้งหมดไม่พบลักษณะแบบนี้ (อาจจะใช้แยกความแตกต่างระหว่าง Doritis กับ Phalaenopsis ได้) เราจะสังเกตเห็นเหมือนเป็นส่วนเส้าที่ยื่นออกมา 2 อัน โดยด้านบนจะเหมือนเป็นปุ่มสีเหลือง (ลองสังเกตดูนะครับ)

4. Doritis มีก้อนเกสร 4 ก้อน

:- ประเด็นก้อนเกสร 4 ก้อนที่พบใน Doritis เป็นลักษณะเด่นของกล้วยไม้สกุล Doritis ทั้งหมด และยังสามารถถ่ายถอดไปยังลูกผสมที่มีเลือดของ Doritis อยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ใน Christenson, 2001 ระบุไว้ว่า อันนี้ไม่จริง แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าใน Phalaenopsis spp. ใดที่มีก้อนเกสร 4 ก้อนเหมือน Doritis (หากท่านผู้ใดเคยเห็น Phalaenopsis spp. ใดที่มีก้อนเกสร 4 ก้อน ช่วยบอกด้วยนะครับ)

5. Doritis เป็นพืช terrestrial habit

:- อันนี้ผมเห็นพ้องเพราะ Phalaenopsis เป็น epiphyte habit ทั้งหมด และ ระบบรากของ Doritis ก็แตกต่างจาก Phalaenopsis อย่างสิ้นเชิง รากของ Doritis ออกรอบๆ ต้น แต่ Phalaenopsis จะมีรากยาวๆ ออกมาและเกาะไปตามต้นไม้ที่อาศัยอยู่หรือห้อยลงมาทางด้านล่าง

6. ระบบการแทงช่อดอกของ Doritis เป็น erect inflorescences (ช่อดอกตั้งตรงขึ้นไปข้างบน) ส่วน Phalaenopsis เกือบทั้งหมดระบบช่อดอกจะห้อยลงด้านล่าง ยกเว้น Phal. lowii และ Phal. chibae ที่ระบบการแทงช่อดอกอาจเหมือน Doritis ที่แทงช่อดอกไปด้านบน

7. ใน Christenson, 2001 อ้างการใช้ข้อมูลทางโมเลกุลในการจัดจำแนกกล้วยไม้ในสกุล Phalaenopis โดยใช้ matK gene (เป็นวิธีหาลำดับดีเอ็นเอของ matK gene แล้วนำมาเทียบกัน แล้วใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลเพื่อหาความเหมือน ความต่างแล้วจัดกลุ่มเข้าหากัน) (Jarrell unpubl. ป่านฉะนี้คงเผยแผ่แล้วละครับ) ในเบื้องต้นพบว่า Doritis มีวิฒนาการที่ตกอยู่ตรงกลางของกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis คืออยู่ระหว่าง sungenera Aphyllae และ Polychilos ข้างหนึ่ง กับอีกข้างใน section Phalaenopis

:- เพราะฉะนั้นด้วยเหตุผลข้างต้น Christenson, 2001 จึงให้ Doritis เป็น Phalaenopsis สะงั้น

คราวนี้มาดูลักษณะของแดงอุบลกันนะครับ ผมไม่มีภาพแดงอุบลในธรรมชาติ ขอใช้ภาพแดงอุบลที่นำมาปลูกเลี้ยงในสวนเอกชนแห่งหนึ่งแทนนะครับ













ข้อน่าสังเกตลักษณะของแดงอุบล

1. ใน Christenson, 2001 บอกพบแดงอุบลที่ประเทศไทย (แต่ไม่ได้บอกว่าเจอที่ไหน) และ Indochina ใน Masaaki, 2002 บอกเลยว่าแดงอุบล native อยู่เชียงใหม่ (ต้องหาผู้ยืนยัน) แต่ชื่อแดงอุบล มันน่าจะอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจากการสำรวจครั้งคุณเสือเจ้าถิ่นนำทาง (08/2007) พบว่าแหล่งธรรมชาติของแดงอุบลน่าจะอยู่ภาคอีสานในจังหวัดติดต่อกันระหว่าง อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ตามแนวชายแดนฝั่งไทย-ลาว รวมถึงแผ่นดินลาว ก็น่าพบแดงอุบลได้เช่นเดียวกัน

2. จากการสอบถามผู้รู้และผู้เจอแดงอุบลในธรรมชาติพบว่า ไม่เคยพบแดงอุบลขึ้นปะปนกับม้าวิ่งแต่อย่างใด เป็นเหตุผลหนึ่งที่บ่งบอกว่าแดงอุบลไม่ใช่ชนิดเดียวกับม้าวิ่ง

3. ชุดโครโมโซมของแดงอุบล 2n=4x=76 ส่วนการทำให้ม้าวิ่งที่มีชุดโครโมโซม 2n=2x=38 ให้เพิ่มขึ้นโดยใช้เทคนิคการใช้ cochicine treatment กับ protocorm ของม้าวิ่ง พบว่าเมื่อชุดโครโมโซมเพิ่มเป็น 2n=4x=76 ลักษณะทางกายภาพไม่เป็นแดงอุบล (เป็นที่สังเกตว่า แล้วเราสามารถพบแดงอุบลที่มีชุดโครโมโซม 2n=2x=38 หรือไม่ แล้วมันจะเป็นม้าวิ่งหรือไม่....น่าสนใจทีเดียว)

4. โทนสีของแดงอุบลเป็นสีชมพูอ่อน ชมพูเข้ม เท่านั้น ไม่เคยพบแดงอุบลที่เป็นโทนสีอ่อนในเชิงสีขาว หรือโทนสีแดงแต่อย่างใด หรือการค้นหาแดงอุบลเผือก แดงอุบลบูล ก็ยังไม่มีรายงานการค้นพบ



:- ลักษณะของแดงอุบลหากเทียบกับม้าวิ่งแล้ว จะพบว่ากลีบดอกไม่ลู่ไปด้านหลังมากนัก แต่จะหาฟอร์มของแดงอุบลที่กลมจัดในธรรมชาติค่อนข้างหายาก (แต่มีผู้พบได้บ้างในธรรมชาติและเป็นสิ่งท้าทายที่นักปรับปรุงพันธุ์แดงอุบลให้เป็นไม้ฟอร์ม ......เป็นสิ่งที่น่าท้าทายอย่างยิ่ง)

:- แดงอุบล 2 สี มีการพบได้บ้าง ยกตัวอย่างในภาพคือ ดอกบนซ้ายสุดนะครับ กลีบดอกสีหนึ่ง หู (เขี้ยว=side lobe) เป็นอีกสีหนึ่ง ส่วนการค้นหาแดงอุบล 3 สี คือ กลีบดอก หูและปากเป็นคนละสีเป็นสิ่งที่นักปรับปรุงพันธุ์ต้องการเจอและพัฒนากันต่อไป

:- ส่วนใหญ่จะพบว่าแดงอุบลจะมีลักษณะเด่น เมื่อกลีบดอกเป็นสีหนึ่ง และหาก three-lobulate structure เป็นสีอื่น หรือสีที่เข้มขึ้น จะทำให้แดงอุบลน่าสนใจเพิ่มขึ้น

:- ลักษณะ linear "appendages" ที่ปรากฏบนปากของแดงอุบลเป็นลักษณะเด่นและเห็นได้ชัด และเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้อีกด้วย

:- ยังมีลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ที่มักจะปรากฏบนกลีบดอกแดงอุบลคือ มีลายเส้นสีขาวพาดให้เห็น (ดูที่ภาพกันครับ)

5. ลักษณะของ three-lobulate structure ในแดงอุบลจะแตกต่างจากม้าวิ่งดังต่อไปนี้

:- หู (เขี้ยว = lateral lobules) ในแดงอุบลจะตึงตั้งได้ฉากพอๆ กับม้าวิ่ง แต่ส่วนที่เห็นแตกต่างคือ ส่วนของปากแดงอุบล (mid lobe) จะยกตั้งขึ้นมากกว่า เหมือนจะกระโดกขึ้น และมีลักษณะนูนให้เห็นอย่างเด่นชัด

:- ผู้รู้ ผู้สะสม ผู้คุ้นเคย เซียน และ เทพทั้งหลายจะบอกได้ว่า เนื้อหา (texture) และสีของม้าวิ่งกับแดงอุบลนั้นแตกต่างกันอยู่ เช่น นอกจากสีของม้าวิ่งจะหลากหลายมากกว่าสีของแดงอุบลแล้ว สีของม้าวิ่งยังมีความเนียน วาว และเป็นสีสดใส หากเป็นโทนสีอ่อน จะมีแสงสะท้อนออกมา หากเป็นโทนสีเข้มก็จะไม่ด้านจะสะท้อนแสงของสีออกมาเช่นเดียวกัน แต่สีของแดงอุบล เนื้อหาจะไม่หลากหลายเท่าม้าวิ่ง แล้วเป็นสีด้านๆ ไม่มันวาว (ไม่ waxy)

:- เกือบลืม ขนาดของม้าวิ่งกับแดงอุบล แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง (ดูจากภาพประกอบนะครับ) หากพบขนาดตรงกึ่งกลางๆ อาจเดาได้ว่าเป็นลูกผสมของม้าวิ่ง x แดงอุบล หรือพบแดงอุบลที่มีสีสวยงาม มีความมันวาว หรือเป็น waxy อาจจะ เป็นแดงอุบล x ม้าวิ่ง หรือมีเลือดอื่นๆ ปนอยู่



ถึงตรงนี้หากเราต้องการพัฒนากล้วยไม้แดงอุบล ต้องเริ่มจากอะไรบ้างนะครับ

1. ทำการรวบรวมพันธุ์แดงอุบล ซึ่งต้องกระทำเช่นเดียวกับม้าวิ่ง คือเลือกแดงอุบลที่เราจะพัฒนา(มีต้นเป้าหมายชัดเจน) หากนำมาจากธรรมชาติก็ให้เลือกเฉพาะต้น ไม่ถกมาทั้งหมด(คำนึงถึงการอนุรักษ์และการพัฒนาร่วมกัน)

2. คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ของแดงอุบลเช่นเดียวกับตอนที่ 1 ม้าวิ่งนะครับ (ขั้นตอนการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ที่ดี) แต่มีข้อควรคำนึงถึงคือ ชุดโครโมโซมของแดงอุบลเป็น 2n=4x=76 หากนำไปผสมกับกล้วยไม้ชนิดอื่นที่สามารถปฏิสนธิได้ ตามหลักแล้ว เมื่อ 4x X 2n มักจะได้ชุดโครโมโซมเป็น 2n=3x=57 ซึ่งจะเป็นหมัน แต่อันนี้ไม่เป็นความจริงนัก เห็นได้จากมีผู้ทำ ม้าวิ่ง x แดงอุบล แล้วลูกที่ได้สามารถทำลูกต่อไปได้ (ไม่เป็นหมัน คือได้ลูกที่เป็น 2n หรือเป็น 4n นั่นเอง)

3. ลักษณะดอกผึ่ง หูตึง ฟอร์มดอกกลม กลีบดอกมีสีอื่นนอกเหนือไปจากสีชมพูอ่อนหรือสีชมพูเข้ม และได้ลักษณะปากสีเข้ม แดงอุบลสองสี แดงอุบลสามสี ยังคงเป็นแนวทางที่วางไว้สำหรับการพัฒนาแดงอุบล

4. ลักษณะด้อยของแดงอุบลที่ยังคงมีลายสีขาวปรากฏบนกลีบดอกยังเป็นสิ่งที่นักปรับปรุงพันธุ์แดงอุบลไม่ปรารถนามากนัก (แต่บางคนอาจชอบ....ไม่แน่ใจ)

คราวนี้มาดูภาพที่คาดว่าเป็นลูกผสมของ Doritis นะครับ

ส่วนใหญ่ที่คิดว่ามันไม่น่าจะเป็นแดงอุบลแท้ หรือเป็นม้าวิ่งแท้ๆ เนื่องจากมีเหตุผลดังต่อไปนี้

:- ขนาดของดอกใหญ่กว่าม้าวิ่งมาก บางคู่ผสมมีขนาดกลางๆ ระหว่าง ม้าวิ่งกับแดงอุบล บางคู่ผสมอาจได้ขนาดเท่าแดงอุบลก็ได้ ส่วนขนาดของก้านดอกก็ใหญ่กว่าม้าวิ่งเสียด้วย

:- ฟอร์มของดอกดูมีความกลม ผึ่ง ตึง ได้รูป มากกว่าจะเป็นแดงอุบลแท้

:- กลีบดอกมีความหนากว่าแดงอุบล ยิ่งพิจารณาเนื้อหาของเนื้อสี จะพบว่าเป็นสีที่ไม่เคยเจอในแดงอุบลธรรมชาติ

:- สีของดอกมีความใสมากกว่าที่จะเป็นแดงอุบลแท้ๆ

:- ลักษณะของลายเส้นสีขาวๆ ที่มักจะพบในกลีบดอกของแดงอุบลในธรรมชาติ ยังคงปรากฏให้เห็น

:- และอื่นๆ ที่น่าสงสัย โปรดใช้การพิจารณาในการชม ผมอาจผิดก็ได้นะครับ

1. ขนาดของดอกใหญ่กว่าม้าวิ่ง แต่ขนาดของดอกไม่เท่าแดงอุบล สีแบบนี้มีในม้าวิ่ง แต่ไม่มีในแดงอุบลแน่นอน ในภาพคาดว่าจะเป็น ม้าวิ่ง x แดงอุบล



2. เหตุผลคล้ายข้อ 1 แต่ฟอร์มของกลีบดอกเริ่มกลมแล้ว เป็นที่น่าสังเกตลักษณะของ linear "appendages" ซึ่งมักปรากฏในแดงอุบลหายไป ในภาพจึงไม่น่าเป็นม้าวิ่งแท้ หรือแดงอุบลแท้ และคิดว่าอาจจะเป็น ม้าวิ่ง x แดงอุบล



3. สีแบบนี้ กลีบดอกมีสีชมพูอ่อน พบในแดงอุบลแท้ได้ แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าสีกลีบดอกในภาพจะใสๆ (สีใสๆ น่าจะมาจากม้าวิ่ง) ซึ่งแดงอุบลแท้ๆ ถึงแม้จะเป็นสีชมพูอ่อน จะเป็นสีด้านๆ มากกว่า ภาพที่เห็นจึงน่าจะเป็น ม้าวิ่ง x แดงอุบล



4. ดูอย่างไรก็ไม่ใช่แดงอุบลแท้ มีกลีบดอกฟอร์มกลม ตึง สีกลีบดอกใสไม่ด้าน มันน่าจะมีเลือดม้าวิ่งผสมอยู่ ซึ่งคาดว่าจะเป็น ม้าวิ่ง x แดงอุบล



5. ฟอร์มของดอกกลม ผึ่ง เป็นไม้ฟอร์มได้เลย แต่สีแบบนี้ผสมผสานระหว่างม้าวิ่งกับแดงอุบลเช่นเดียวกัน ในภาพน่าจะเป็น ม้าวิ่ง x แดงอุบล



6. ฟอร์มเป็นแดงอุบล แต่สีแบบนี้ไม่มีในแดงอุบลธรรมชาติแน่นอน คาดว่าจะเป็น ม้าวิ่ง x แดงอุบล เช่นเดียวกัน



7. สีแบบนี้มันได้มาจากม้าวิ่ง (คาดเอาไว้) แต่ก็ไม่ใช่สีของแดงอุบลแท้ๆ ในธรรมชาติ ในภาพก็น่าจะเป็น ม้าวิ่ง x แดงอุบล



8. สุดท้ายผู้ปลูกเลี้ยงยืนยันว่าเป็นลูกผสมระหว่าง ม้าวิ่ง x แดงอุบล สวยหรือปล่าครับ



การบ้านแดงอุบล ใครจะตอบหรือให้เหตุผลได้ แต่ไม่มีเฉลยข้อสอบนะครับ

:- ถ่ายจากเจเจ 2 ราคาหลักพัน เพราะมีเกรียติยศประกอบในนามแดงอุบลพันธุ์แท้



คำถามเกี่ยวกับแดงอุบลที่มักถูกพูดถึง (ขำ ขำ)

1. ทำมัยชื่อแดงอุบล
:- ผมเห็นด้วยนะครับว่าต้องชื่อแดงอุบล เนื่องจากน่าจะเป็นจังหวัดแรกๆ ที่คนไทยค้นพบในจังหวัดอุบลราชธานี เหมือนๆ กับเจอรองเท้านารีเหลืองปราจีน หรือที่ค้นพบหวายเหลืองจันทรบูรณ์ในจังหวัดจันทรบุรี และอื่นๆ

2. เจอแดงอุบลยากปล่าว
:- ง่ายมากที่ลานดินและจัตุจักร (อันนี้ล้อเล่น....คริคริ) จริงๆ พบทางภาคอีสาน ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และเขตแนวชายแดนของจังหวัดอุบลราชธานีและแผ่นดินลาว แต่ปัจจุบันแหล่งธรรมชาติพบได้บ้างแต่ไม่หนาแน่นเสียแล้ว

3. เจอแดงอุบลเผือกหรือปล่าว
:- ยังไม่มีรายงานการค้นพบ ที่คนขายบอกแดงอุบลเผือก ไม่มีในโลกครับ เป็นลูกผสมแน่นอน

4. เจอแดงอุบลบูลหรือปล่าว
:- ยังไม่มีรายงานการค้นพบเช่นเดียวกัน ใครค้นพบน่าจะรวยทีเดียว

5. แดงอุบลแท้ปล่าว
:- น่าจะเป็นคำถามแรกๆ สำหรับแดงอุบลนะครับ แต่เอาไว้ข้อ 5 เพราะมันจะมีคำถามข้อ 6 ตามมา

6. สับขาหลอก
:- เอาไว้ใช้อธิบายลูกผสมที่งงกับพ่อแม่มันคืออะไร กลัวคนรู้ว่ามาจากพ่อแม่อะไรได้อีกด้วย บางทีสับขาหลอกไปสับขาหลอกมา สุดท้ายจำไม่ได้ว่ามันแท้หรือลูกผสมของอะไร (เซ็งป่ะ.....)

ฯลฯ

ถึงตอนนี้ (ตอนที่ 1 และตอนที่ 2) จะเห็นได้ว่าถ้าต้องการพัฒนาม้าวิ่ง หรือแดงอุบล จะมี 2 แนวทางคือ

:- พัฒนาไม้ฟอร์มที่เป็นพันธุ์แท้ระหว่าง ม้าวิ่ง x ม้าวิ่ง หรือ แดงอุบล x แดงอุบล หรือคัดไม้ฟอร์มจากการทำลูกผสมระหว่าง ม้าวิ่ง x แดงอุบล

จบตอนที่ 2 แดงอุบล


Create Date : 02 กันยายน 2550
Last Update : 12 กันยายน 2550 22:40:10 น. 8 comments
Counter : 4195 Pageviews.

 
เข้ามาชมครับ


โดย: ตะวันสุริยา. IP: 58.8.166.41 วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:9:24:59 น.  

 
เชียงใหม่ยังไงก็ไม่มีแดงอุบลในป่า...อันนี้คนแก่แถวนี้ยืนยัน


โดย: เสือเจ้าถิ่น วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:11:26:05 น.  

 
ตามติดๆ


โดย: ปราวตรี วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:11:37:19 น.  

 
:- เอาเป็นว่า Masaaki, 2002 น่าจะผิดที่ให้ native ของแดงอุบลอยู่ที่เชียงใหม่

:- เพิ่มเติมใครอยากดูภาพแดงอุบลในธรรมชาติ และเป็นของแท้ล้านเปอร์เซนต์ ตามไปดูของคุณเสือเจ้าถิ่นได้เลยครับ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=spathoglottis&group=7


โดย: appendiculata191 วันที่: 4 กันยายน 2550 เวลา:8:33:45 น.  

 
ไม่มีคนตอบการบ้านเสียแล้ว เดียวหารูปที่คาดว่าเป็น ม้าวิ่ง X แดงอุบล มาเพื่อโปรดพิจารณาดีกว่า....(หรือปล่าว)


โดย: appendiculata191 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:13:08:26 น.  

 
ตามติดมาเฝ้าชมการวิเคราะห์แบบเจาะลึกซึ้งตลอดครับ รบกวนอย่าลบความรู้แบบนี้ทิ้งเสียล่ะครับ มีอะไรมาเพิ่มก็ใส่ได้เรื่อย ๆ เลยครับ มีหลายคนคอยติดตามตลอดครับ


โดย: บ้านค่าย IP: 202.57.155.137 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2550 เวลา:14:35:02 น.  

 
เจอได้เยอะแถวพราญหินแปดก้อนชายแดนเขมร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษครับ ยืนยัน


โดย: ชิน IP: 182.232.65.173 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:19:39:35 น.  

 
เรามีหมดเลยนะ อีกไม่นานจะโชว์นะ ติดตามนะ เรา


โดย: เรา IP: 180.183.63.23 วันที่: 17 กันยายน 2554 เวลา:11:15:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

appendiculata191
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ไม่เคยชอบกล้วยไม้มาก่อนเลย แต่หน้าที่การงานเข้าไปเกี่ยวข้องกับกล้วยไม้....เลยสนใจบ้าง แล้วมาจับกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis เลยชอบ และได้ทำการสะสมพันธุ์แท้เพื่อทำ DNA fingerprint โดยขณะนี้ เริ่มสะสมกล้วยไม้ดินบางชนิดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ การปลูกเลี้ยงที่ง่ายขึ้น มีสีสรรแปลกใหม่ไปกว่าเดิมและอื่นๆ

ชอบการท่องเที่ยวเดินทางและการถ่ายภาพ
Friends' blogs
[Add appendiculata191's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.