คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสถานที่ดี คำสอนของท่านปัญญานันทะภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2551
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 

วิเคราะห์ลูกผสม ตอน miniature Phalaenopsis hybrids

แนวโน้มการสร้างลูกผสม Phalaenopsis hybrids เริ่มจะใช้พ่อแม่พันธุ์ที่ให้ลูกมีขนาดดอกที่เล็กลง แต่ยังคงมีจำนวนดอกต่อช่อมาก และเป็นช่อตั้ง

1. สำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่ให้ดอกขนาดเล็กและเป็นดอกช่อ มักจะใช้ Phal. equestris, Phal. celebensis, Phal. lindenii ซึ่งอยู่ใน section Stauroglottis

2. ส่วนการได้ช่อตั้ง มักจะมีเลือดของ Doritis spp. เป็นส่วนใหญ่ ใน Christenson, 2001 ให้ Doritis spp. ทุกชนิด เป็น Phalaenopsis และอยู่ใน section Esmeralda

3. และที่บทบาทสำคัญเพิ่มขึ้น คือการใช้ subgenus Parishianae ที่ใช้กันนานแล้วคือ Phal. parishii และที่บทบาทมากขึ้นคือการใช้ Phal. lobbii, Phal. appendiculata และอาจจะมีลูกผสมที่เกิดจาก Phal. gibbosa ตามมา

ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ

//www.parishianae.de/spec.html

ตอนนี้เป็นตอน miniature Phalaenopsis hybrids ในบางลูกผสมนะครับ เพื่อจะมีประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์ และผู้สนใจไม่มากก็น้อยนะครับ

A. ลูกผสมที่เกิดจาก Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis (ฝีมือผมเอง)

ปล. หากใครจำได้เมื่อปีที่แล้วมีลูกผสมที่ให้ดอกบางต้นแล้ว และมีข้อสงสัยบางประการในการข่มสีไม่สำเร็จ ในปีนี้ให้ดอกเพิ่มเติม จนสามารถดูแนวโน้มการกระจายตัวของลักษณะบางประการ

ข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเข้าเรื่อง.... หากเข้าไปอ่านจะได้ต่อติดครับ แต่ถ้าใครไม่อยากเข้าไปอ่านก่อน... ก็เริ่มกันได้เลยครับ

//topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2007/09/J5815917/J5815917.html

ให้ดูลูกผสมก่อนเลยนะครับ

Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#1


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#2


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#3


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#4


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#5


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#6


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#7


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#8


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#9


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#10


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#11


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#12


Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#13


มาดูภาพรวมของลูกผสม Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis ทั้ง 13 เบอร์กันก่อนครับ เรียงจากซ้ายไปขวา #1, #2, #3 ในแถวบนสุดและถัดลงไปตามลำดับ



แนวทางการวิเคราะห์ลูกผสม Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis

1. เริ่มจาก Dtps. Anna-larati Soekardi ที่ใช้เป็นแม่พันธุ์ (ถือฝัก)


2. ต้นที่ใช้เป็นพ่อพันธุ์ Doritis pulcherrima var. choompornensis กลีบดอกสีม่วงแดงมี splash


3. แตกสมการการผสมดังนี้ (มี 2 ชั้นการผสม)

3.1

Phal. parishii x Doritis pulcherrima


Dtps. Anna-Larati Soekardi


3.2
Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis


ลูกผสมที่นำมาวิเคราะห์


4. หากดูสมการการผสมในชั้นที่สอง เสมือนการผสมกลับไปยัง Doritis pulcherrima ซึ่งตามหลักปรับปรุงพันธุ์พืชแบบนี้เพื่อปรับปรุงพันธุ์ Dtps. Anna-Larati Soekardi แต่ในครั้งนี้ได้ใช้ลักษณะการมี splash ของ Doritis pulcherrima var. choompornensis และเลือกสีกลีบดอกเป็นสีม่วงแดงเพื่อหวังว่าลูกผสมที่ได้จะมีสีอื่นที่ไม่ใช่สีขาว แต่การผสมกลับแบบนี้จะทำให้เลือดของ Doritis pulcherrima เพิ่มจาก 50 % เป็น 75 % (จึงเห็นภาพรวมของลูกผสมดูคล้าย Doritis เพิ่มขึ้น

5. ลูกผสมทั้งหมดให้สีกลีบดอกเป็นสีขาว (สีของ Doritis pulcherrima var. choompornensis ไม่ถ่ายทอด หรือถูกข่มไว้ไม่แสดงออกในชั้นนี้อีกด้วย)

6. ลักษณะของสีปากและลักษณะของปากแตกต่างกันออกไปและกระจายตัวในลูกผสมชั้นนี้ (ผสมผสานระหว่างปากของ Phal. parishii และ Doritis pulcherrima)

7. ลักษณะของการมี splash และไม่มี splash (#3, #8, #9, #12) สมเหตุสมผล จากการตั้งสมมุติฐานที่ว่า

"ลักษณะ splash ถูกควบคุมด้วยยีนแบบ recessive gene, ยีนด้อย"

สังเกตได้จากลูกผสมชั้นแรก (3.1) มียีน splash แฝงอยู่แบบ heterologus gene (Ss, S_ = ยีนควบคุมลักษณะ splash โดยเป็นยีนข่มแบบสมบูรณ์) เมื่อนำมาผสมในชั้นที่ 2 (3.2 ซึ่งมียีนแบบ homologus gene, genotype เป็น ss, การแสดงออกจึง มี splash ให้เห็น) ลูกผสมที่ได้จึงมีทั้ง splash และไม่มี splash ปรากฏ ตามการจับคู่ของ gene ที่ควบคุมลักษณะ splash นั่นเอง

8. ลักษณะบางประการที่น่าจะเก็บเป็นข้อมูลในการผสมพันธุ์ครั้งต่อๆ ไป ดังนี้

8.1 Dtps. Anna-Larati Soekardi น่าจะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดี ในการให้ miniature Phalenopsis hybrids ในแง่การให้ลูกผสมที่มีสีกลีบดอกเป็นสีขาว (เดาว่าในทุกชั้นการผสมด้วยซ้ำ เนื่องจากการมีเลือดของ Phal. parishii เป็นส่วนผสม) ส่วนกลีบปากจะแตกต่างทั้งในรูปของสีและลักษณะของปาก

ขอเทียบระหว่าง Dtps. Anna-larati Soekardi ที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน และน่าจะใช้เทคนิคการผสมกลับไปยัง Doritis pulcherrima ในหลายชั้นเพื่อคัดลัษณะของปากที่มีสีจัด เทียบกับลูกผสม #8 นะครับ



8.2 ลูกผสมที่มี splash (ความจริงรวมถึงลูกผสมที่ไม่มี splash ด้วย) เกิดจากอิทธิพลของ Doritis pulcherrima var. choompornensis หากนำไปใช้สร้างลูกผสมต่อ จะต้องคำถึงถึงผลที่จะได้ splash และไม่มี splash ในลูกผสมต่อมาด้วย

8.3 ใช้หลัก co-pigmentation, co-factor, pH in vacuole และอื่นๆ มาอธิบายการเกิดสีที่ปากในลูกผสม (ยังไม่ได้พิสูจน์นะครับ)

เป็นอันจบตอน A ลูกผสมที่เกิดจาก Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis

B. ลูกผสมที่เกิดจาก Phalaenopsis chibae x Dtps. Anna-Larati Soekardi (นำเข้าจากประเทศไต้หวัน)

ลูกผสมนี้จดชื่อในนามของ Dtps. Tying Shin Glider

ให้ดูลูกผสมก่อนเลยครับ

Phalaenopsis chibae x Dtps. Anna-Larati Soekardi
#1 ต้นนี้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ในตอนเช้า (กลิ่นมาจากไหน...งงจริงๆ)


Phalaenopsis chibae x Dtps. Anna-Larati Soekardi
#2


Phalaenopsis chibae x Dtps. Anna-Larati Soekardi
#3


Phalaenopsis chibae x Dtps. Anna-Larati Soekardi
#4


Phalaenopsis chibae x Dtps. Anna-Larati Soekardi
#5


แนวทางการวิเคราะห์ลูกผสม Phalaenopsis chibae x Dtps. Anna-Larati Soekardi

1. Phalaenopsis chibae ถูกจัดอยู่ใน section Deliciosa เช่นเดียวกับ Phal. deliciosa และ Phal. mysorensis (ชนิดนี้ผมไม่เคยเห็นมาก่อน) ตามการแบ่งของ Christenson, 2001

เสริมข้อมูล แต่ Phal. minus, Phal. wilsonii, Phal. stobartiana, Phal. hainanensis, Phal. honghenensis จะอยู่ใน subgenus Aphyllae ตามการแบ่งของ Christenson, 2001

ซึ่งทั้งหมดมีขนาดดอกเล็กและลักษณะเป็นดอกช่อทั้งหมด

มาดูดอกของ Phalaenopsis chibae กันครับ


2. แตกสมการการผสมดังนี้

Phalaenopsis chibae x (Phal. parishii x Doritis pulcherrima)


3. จะเห็นได้ว่ากลีบดอกของลูกผสม Phalaenopsis chibae x Dtps. Anna-Larati Soekardi ทั้ง #1, #2, #3, #4, #5 เป็นสีขาวทั้งหมด ถึงแม้ว่า Phal. chibae จะมีกลีบดอกสีเหลืองก็ตาม (สีไม่ถ่ายทอดหรือถูกข่มไว้ในลูกผสมชั้นนี้)

4. มีเพียงลักษณะของปากและสีของปากมีการกระจายตัวผสมผสานระหว่าง Phal. chibae, Phal. parishii และ Doritis pulcherrima

สังเกต #3 จะมีสีปากที่แดงจัดมากกว่าเพื่อน

5. แล้วความหอมใน #1 มาจากไหน เนื่องจากสายเลือดทั้ง 3 ชนิดไม่มีกลิ่นหอมใดๆ เลย (หรือมียีนหอมแฝงอยู่ใน 3 ชนิดนี้....น่าสนใจทีเดียว)

6. ลูกผสมทั้งหมดมีจำนวนดอกต่อช่อจำนวนมาก มีกิ่งแขนง มีช่อดอกแทงพร้อมกันหลายช่อในหนึ่งต้น และเป็นช่อตั้งเสียด้วย

เป็นอันจบตอน B ลูกผสมที่เกิดจาก Phalaenopsis chibae x Dtps. Anna-Larati Soekardi

C. ลูกผสมที่เกิดจาก Phalaenopsis parishii x Sedirea japonica (นำเข้าจากประเทศไต้หวัน)

1. จากลูกผสม A และ B จะพบว่าลูกผสมที่มีสายเลือด Phalaenopsis parishii ในชั้นใดชั้นหนึ่งในการสร้างลูกผสม จะให้ลูกที่มีกลีบดอกสีขาวเสมอ

คำถาม...แล้วจะมีสายเลือดของอะไรที่จะสร้างลูกผสมที่มี Phal. parishii เป็นส่วนผสม และให้ลูกผสมสีอื่นได้หรือไม่... มาดูกันครับ

2. มาดู Phalaenopsis parishii ผีเสื้อน้อย ดอกมีขนาดเล็ก ลักษณะดอกช่อ และสีของปากแตกต่างกันไปแล้วแต่จะเลือกใช้ต้นใด


3. มาดู Sedirea japonica เป็นกล้วยไม้พืชเมืองของประเทศญี่ปุ่น และมีเพียง specie เดียวอีกต่างหาก และที่สำคัญมีกลิ่นหอมเสียด้วย ลูกผสมข้ามสกุลของ Sedirea และ Phalaenopsis เริ่มมีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน


4. และนี้คือลูกผสมของ Phalaenopsis parishii x Sedirea japonica ดอกมีกลิ่นหอมเสียด้วย


5. จะสังเกตว่าลูกผสมที่เกิดจาก Phalaenopsis parishii x Sedirea japonica กลีบดอกไม่เป็นสีขาวทั้งหมดแล้ว เริ่มมีสีชมพูขึ้น และลายขวางของกลีบดอก Sedirea japonica ไม่มีแล้ว แต่ยังคงถ่ายทอดความหอมไปยังลูกผสมได้ และขนาดของดอกมีขนาดใหญ่กว่า Phal. parishii อย่างเห็นได้ชัด

หากเราสร้างลูกผสมต่อไป ความหอมยังคงถ่ายทอดไปได้หรือไม่ ...น่าสนใจทีเดียว (หากไม่เป็นหมันในชั้นนี้เสียก่อนนะครับ)

จบต่อ C ลูกผสมที่เกิดจาก Phalaenopsis parishii x Sedirea japonica

D. ลูกผสมที่เกิดจาก Dtps. Purple Gem x Ascocentrum miniatum (ฝีมือผมเอง)

1. หากใครจำได้ในปีที่แล้ว ได้เห็นดอกไปแล้ว ปีนี้ลูกผสมให้ดอกจากต้นเดิมเป็นปีที่ 2 ที่สมบูรณ์เพียงต้นเดียว จึงไม่มีเปรียบเทียบจากต้นอื่นๆ นะครับ ลองเข้าไปอ่านข้อมูล ซึ่งละเอียดอยู่มากทีเดียว

//topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2007/07/J5626386/J5626386.html

2. มาดูลูกผสม Dtps. Purple Gem x Ascocentrum miniatum กันครับ


3. แตกสมการลูกผสม Dtps. Purple Gem x Ascocentrum miniatum

3.1
Phalaenopsis equestris x Doritis pulcherrima


Dtps. Purple Gem


3.2
Dtps. Purple Gem x Ascocentrum miniatum


4. ให้สังเกตลักษณะของปากที่ได้มาจาก Ascocentrum miniatum และสีของกลีบดอกเปลี่ยนจากม่วงเป็นสีแสดแดง แต่ยังคงเป็น miniature Phalaenopsis hybrid นะครับ

จบตอน D ลูกผสมที่เกิดจาก Dtps. Purple Gem x Ascocentrum miniatum

E. เป็นคำถามนะครับ

1. ถ่ายจากสวนเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีป้ายชื่อ


2. ให้สังเกตว่าลักษณะของปาก น่าจะมีเลือด Ascocentrum miniatum

3. อาจจะเป็น Phalaenopsis parishii x Ascocentrum miniatum

4. หรืออาจเป็น Dtps. Anna-Larati Soekardi x Ascocentrum miniatum

5. หรือเป็นลูกผสมอื่นๆ ลองช่วยกันพิจารณานะครับ

เป็นอันว่าจบทุกตอนของ miniature Phalaenopsis hybrids บางลูกผสม ซึ่งหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อการสร้างลูกผสมของทุกๆ ท่านนะครับ

หากมีคำถาม ข้อเสนอแนะ เชิญตามสบายเลยนะครับ

ขอขอบคุณทุกท่านนะครับ

เสริมย้อนรอยกระทู้ ตอน miniature Phalaenopsis hybrid บางคู่ผสม ตั้งกระทู้เมื่อ 10 มิถุนายน 2551

//topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/06/J6693695/J6693695.html




 

Create Date : 09 มิถุนายน 2551
15 comments
Last Update : 22 สิงหาคม 2551 23:07:40 น.
Counter : 6539 Pageviews.

 

ต้นที่สามแปลกดี สีบลูป่าวครับ
ต้นสิบสองสีสะอาดดี
ต้นแปดก็ปากสวย....
เอาต้นไหนดีล่ะเนี่ย

 

โดย: เสือเจ้าถิ่น 10 มิถุนายน 2551 7:32:54 น.  

 

แสดงว่าคุณเสือเจ้าถิ่นเลือกลูกผสมในกลุ่มที่ไม่มี splash และเลือกลูกผสมที่มีปากที่สวย กลีบดอกที่ขาวสะอาด และชมชอบสีบูล (ปาก) อีกต่างหาก...เข้าเป้า

 

โดย: appendiculata191 10 มิถุนายน 2551 11:49:05 น.  

 

ปรับสีตัวอักษรหน่อยได้ไหมครับ พื้นสีเทาเข้ม ตัวอักษรสีดำ อ่านยากครับ น่าจะป็นตัวอักษรสีขาวนะครับ

 

โดย: หนุ่มสวนผึ้ง IP: 58.48.226.239 11 มิถุนายน 2551 9:26:26 น.  

 

โทษนะครับ เน็ตผมช้า โหลดมาที่แรกพื้นเป็นสีเทาเข้ม แต่ตอนนี้พื้นเป็นสีเทาอ่อน อ่านง่ายแล้วครับ

 

โดย: หนุ่มสวนผึ้ง IP: 58.48.226.239 11 มิถุนายน 2551 9:52:46 น.  

 

ต้น 3 แจ่มครับ แล้วงี้จะเป็น recessive gene ใหมครับ

เพราะพ่อแม่ก็ไม่เห็นออกบลูเลย อย่างนี้ถือได้ว่าสีบลูเป็น

ยีนด้อยใน D.pulcherima ได้ป่าวครับ

 

โดย: พลายจันทร์ 20 มิถุนายน 2551 9:17:28 น.  

 

ตอบคุณพลายจันทร์

ลูกผสม Dtps. Anna-Larati Soekardi x Doritis pulcherrima var. choompornensis
#3 แล้วได้สีบลู (จริงๆ ยังคงไม่บลูมากนัก) น่าจะสนับสนุนว่าสีบลูใน Doritis pulcherrima น่าจะเป็นยีนด้อยได้ครับ

 

โดย: appendiculata191 20 มิถุนายน 2551 10:48:57 น.  

 

เพิ่งเข้ามาเยี่ยมblogค่ะ
การผสมกล้วยไม้นี่ล้ำลึกมากเลยนะคะ
ความรู้แค่หางอึ่ง อ่านแล้วยังไม่เข้าใจเท่าไหร่
แต่ก็ขอศึกษาหน่อยนะคะ ^^

 

โดย: ฟ้าใสทะเลคราม 29 กรกฎาคม 2551 22:53:20 น.  

 

ยินดีครับคุณฟ้าใสทะเลคราม มีคำถามก้อทิ้งไว้ครับ

 

โดย: appendiculata191 30 กรกฎาคม 2551 21:37:34 น.  

 

ชอบหมดเลย ขอซักต้น อิอิ

 

โดย: พ่อหมี (pohmie ) 7 กันยายน 2551 20:43:23 น.  

 

หายไปนานเลยนะครับคุณพ่อหมี

ซำบายดีป่าวครับ

 

โดย: appendiculata191 9 กันยายน 2551 23:30:30 น.  

 

งานยุ่งอะคับ แต่ว่าเขียนต่อเรื่องเอื้องเทียนแล้ว อิอิ

 

โดย: พ่อหมี (pohmie ) 15 กันยายน 2551 8:19:03 น.  

 

มีกล้วยไม้มาถามด้วยครับ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pohmie&month=15-09-2008&group=2&gblog=30

 

โดย: พ่อหมี (pohmie ) 15 กันยายน 2551 20:55:19 น.  

 

เข้าไปเดาแล้วครับคุณพ่อหมีครับผม

 

โดย: appendiculata191 16 กันยายน 2551 12:54:22 น.  

 

ขอบคุณครับ อิอิ

 

โดย: พ่อหมี (pohmie ) 16 กันยายน 2551 20:11:26 น.  

 

อยากได้ มีขายไหมจ๊ะ

 

โดย: koko IP: 58.8.126.145 1 มิถุนายน 2554 9:25:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


appendiculata191
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ไม่เคยชอบกล้วยไม้มาก่อนเลย แต่หน้าที่การงานเข้าไปเกี่ยวข้องกับกล้วยไม้....เลยสนใจบ้าง แล้วมาจับกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis เลยชอบ และได้ทำการสะสมพันธุ์แท้เพื่อทำ DNA fingerprint โดยขณะนี้ เริ่มสะสมกล้วยไม้ดินบางชนิดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ การปลูกเลี้ยงที่ง่ายขึ้น มีสีสรรแปลกใหม่ไปกว่าเดิมและอื่นๆ

ชอบการท่องเที่ยวเดินทางและการถ่ายภาพ
Friends' blogs
[Add appendiculata191's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.