bloggang.com mainmenu search
                 พบวิธีการรับมือกับความเศร้าโศกและความสูญเสียที่ช่วยให้คุณสามารถฟื้นตัวและก้าวผ่านพ้นความเจ็บปวดได้อย่างมั่นใจ แล้วเริ่มต้นใหม่ไปพร้อมกัน “ความเศร้าโศก” เป็นกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางธรรมชาติของมนุษย์เมื่อต้องเผชิญกับการสูญเสีย โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นมีปฏิกิริยาตอบสนองในหลายด้านทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด ด้านร่างกาย และด้านพฤติกรรม อาการของโรคจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า คือไม่อยากเข้าสังคม หงุดหงิด เศร้า เบื่อหน่าย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หรือถึงขั้นรู้สึกผิดหรือรู้สึกโกรธกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง หากอยู่ในสภาวะปกติเมื่อรับรู้ได้ถึงการสูญเสีย จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการทำความเข้าใจ เริ่มปรับตัว และยอมรับได้ กลับกันหากมีอาการโศกเศร้าผิดปกติและไม่สามารถยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ จะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ไปอย่างสิ้นเชิง หากปล่อยไว้อาจพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้า ดังนั้นใครที่คิดว่าตนเองน่าจะกำลังเข้าข่ายหรืออยู่ใกล้คนที่เสี่ยงเกิดภาวะเศร้าโศกหรือเสียใจที่เกิดจากการสูญเสีย แต่ไม่รู้จะรับมืออย่างไร วันนี้อูก้ามีกลยุทธเยียวยาความเศร้าโศกสำหรับการฟื้นฟูจิตใจมาฝากก่อนอื่นมาดูปัจจัยที่ส่งผลให้ความโศกเศร้ารุนแรงไม่เท่ากัน

สาเหตุที่ความรู้สึกเศร้าโศกของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน นอกเหนือจากปัจจัยภายในแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลไม่ต่างกัน ดังนี้

1. ความสัมพันธ์กับผู้เสียชีวิต

กรณีที่พบว่าความรู้สึกด้านบวกมากกว่าด้านลบ จะก่อให้เกิดความรู้สึกเศร้าเสียใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ไม่ถึงขั้นรุนแรง ส่วนกรณีที่พบว่าความรู้สึกด้านบวกและด้านลบมีความใกล้เคียงกันจะก่อให้เกิดความรู้สึกโศกเศร้าแบบผิดปกติ และตามมาด้วยความสงสัยว่าความพยายามของตัวเองเพียงพอแล้วหรือยัง ที่ผ่านมาได้พยายามอย่างถึงที่สุดแล้วหรือไม่ จนกลายเป็นความรู้สึกกล่าวโทษตัวเอง

2. ลักษณะการเสียชีวิต

เช่น เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เสียชีวิตตามธรรมชาติ เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม ล้วนส่งผลกระทบต่อความรู้สึกแตกต่างกันไปตามความเชื่อของบุคคลนั้น ๆ เช่น เสียชีวิตตามธรรมชาติ หากคนผู้นั้นมีความเชื่อเรื่องพระเจ้าหรือมีศาสนาเป็นที่พึ่งก็จะมีความรู้สึกด้านบวกมากกว่าด้านลบ พร้อมกับการทำความเข้าใจว่านี่เป็นเรื่องปกติของชีวิตคนเรา ทุกคนเกิดมาต้องตายการเสียชีวิตเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่หากเป็นการเสียชีวิตจากการฆาตกรรมมุมมองก็จะเปลี่ยนไป เช่น รู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมและตามมาด้วยความโกรธเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าดังกล่าว 

เคล็ดลับเยียวยาความโศกเศร้าที่สำคัญประการฟื้นฟูจิตใจ

หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ต้องพบเจอกับการสูญเสีย และกลัวว่าไม่สามารถเอาชนะความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นได้ อูก้ามีกลยุทธ์ในการย้ำเตือนตัวเองให้มีสติเพื่อรับมือกับการสูญเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1. ปล่อยให้ตัวเองได้อ่อนแอบ้าง

ความอ่อนแอไม่ใช่เรื่องผิด แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่ควรเก็บไว้คนเดียว เพราะยิ่งทำให้สิ่งที่เก็บเอาไว้กลายเป็นปัญหาสะสม หากวันหนึ่งทนไม่ไหวอาจเผลอระเบิดออกมาจนกลายเป็นความรู้สึกแย่มากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นเลิกโทษตัวเอง ยอมรับความอ่อนแอ และก้าวข้ามความเจ็บปวดไปให้ได้ เพราะนั่นคือการใช้ชีวิตอย่างแท้จริง

2. ไม่สนใจ ไม่นึกถึงไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา

ถึงแม้บางครั้งความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นยากเกินกว่าจะยอมรับได้ แต่การพยายามปฏิเสธสุดท้ายแล้วเราก็ต้องกลับมาจมอยู่กับความรู้สึกเสียใจเหมือนเดิมอยู่ดี ดังนั้นจงคอยเตือนตัวเองไว้ทุกครั้งว่าความสูญเสียเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ทุกคนต้องพบเจอ

3. หากไม่ไหวก็แค่ขอความช่วยเหลือ

อย่ามองว่าการขอความช่วยเหลือเป็นเรื่องน่าอาย หากจัดการกับความรู้สึกของตัวเองไม่ได้ลองหาคนที่ไว้ใจได้ร่วมพูดคุยหรือแบ่งปันเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้มีกำลังใจต่อสู้กับความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไร

4. หมั่นเติมพลังบวกให้กับตนเอง

ด้วยการทำกิจกรรมเพิ่มความผ่อนคลาย เช่น เล่นกับสุนัข เล่นกับแมว เดินเล่น ทักทายผู้คน วาดรูป อ่านหนังสือ เล่นดนตรี พร้อม ๆ กับการใส่ใจดูแลสุขภาพอย่างการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย ๆ ก็มั่นใจว่าวันที่จิตใจไม่ไหวร่างกายยังสู้ต่อได้

วิธีรับมือเมื่อพบว่าคนใกล้ตัวตกอยู่ในความโสกเศร้า
หากพบคนใกล้ตัวต้องเผชิญกับความโศกเศร้าจากการสูญเสีย ควรให้ความช่วยเหลือตามระยะอาการ ดังนี้  

ระยะปฏิเสธ Stage of Denial หลังจากได้รับรู้ถึงการสูญเสียปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้น คือ การไม่ยอมรับความจริงหรือรู้สึกช็อกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ภายในใจยังเต็มไปด้วยความสับสนมึนงงยากจะหาทางออกได้ด้วยตัวเอง คนที่อยู่ข้าง ๆ จึงต้องพยายามสร้างความไว้วางใจเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ระบายความรู้สึกออกมาอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นหรือคำพูดใด ๆ แค่รับฟังอย่างตั้งใจและคอยอยู่ข้าง ๆ ก็เพียงพอ
ระยะโกรธ Stage of Anger และระยะต่อรอง Stage of Bargaining เมื่อรับรู้ได้ว่าไม่สามารถปฏิเสธการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้จะก่อให้เกิดความรู้สึกโกรธที่ตนต้องเผชิญกับการสูญเสียนี้ พร้อมกับเกิดคำถามว่าทำไมเหตุการณ์นี้ต้องเกิดขึ้นกับตัวเอง และกล่าวโทษสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อให้ตัวเองรู้สึกสบายใจ วิธีการรับมือ คือ ห้ามตอบโต้ด้วยความโกรธ แต่ควรแสดงออกถึงความเป็นมิตรให้พวกเขารู้สึกว่าคุณให้เกียรติและเคารพในตัวพวกเขา
ระยะซึมเศร้า Stage of Depression เป็นช่วงที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการสูญเสียอย่างรุนแรงและมีผลกระทบต่อความรู้สึกมากที่สุด โดยจะแสดงออกผ่านอาการหรือพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น หดหู่ สิ้นหวัง ไม่มีเรี่ยวแรง นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย และชอบแยกตัวอยู่คนเดียว บางคนอาจร้ายแรงถึงขั้นคิดอยากตายหรือฆ่าตัวตายตาม สำหรับวิธีการรับมือต้องสร้างบรรยากาศรอบตัวให้ให้พวกเขาสามารถไว้วางใจคุณได้ และควรขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์
ระยะยอมรับ Stage of Acceptance ผู้สูญเสียสามารถยอมรับและเข้าใจการสูญเสียที่เกิดขึ้น พร้อมกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับระยะนี้ค่อนข้างต้องเฝ้าระวัง หากพบว่าตั้งแต่ช่วงที่เผชิญสถานการณ์การสูญเสียจนถึงระยะยอมรับนานเกินกว่า 6 – 12 สัปดาห์ อาจพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้า ดังนั้นคนรอบข้างจึงควรให้กำลังใจและผลักดันให้ผู้สูญเสียกลับมาดำเนินชีวิตได้อีกครั้งด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้สูญเสียได้ทำในสิ่งที่อยากทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ฯลฯ รวมถึงให้กำลังใจบ่อย ๆ
ไม่มีใครอยากให้การสูญเสียหรือการพบเจอกับความโศกเศร้าเกิดขึ้น แต่นี่เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นอูก้าจึงหวังว่าคนที่ต้องเจอกับเหตุการณ์ดังกล่าวจะมีแรงกายแรงใจสู้และมีชีวิตอยู่ต่อในเส้นทางของตัวเอง แน่นอนว่าแค่คำพูดว่าอย่าเสียใจคงช่วยอะไรมากไม่ได้ แต่ก็อยากให้เข้าใจไว้ว่าทุกอย่างแก้ไขได้ตราบใดที่คุณยังตัดสินใจสู้

https://goatbet456.com/

Create Date :24 เมษายน 2567 Last Update :24 เมษายน 2567 13:12:57 น. Counter : 38 Pageviews. Comments :0