bloggang.com mainmenu search
ประเพณีลากพระประเพณีลากพระหรือประเพณีชักพระ จ.ตรัง ครั้งที่ 14


1

กำเนิดประเพณีลากพระประเพณีลากพระหรือประเพณีชักพระ

จัดขึ้นหลังวันปวารณาออกพรรษา 1 วัน ตามความเชื่อตามพุทธประวัติที่ว่า 
"เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธพุทธเจ้าเสด็จแสดงธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 
หรือดุสิตเทพพิภพนั้น พระองค์ได้เสด็จกลับมายังมนุษย์โลกทางบันไดแก้วถึงที่ประตูเมืองสังกัสสะในตอนเช้าตรู่ 
วันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ตรงกับวันออกพรรษาพุทธบริษัทต่างยินดี จึงอันเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบก 
ที่ได้จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนกลับไปยังที่ประทับ "

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในจดหมายเหตุของพระภิกษุจีน ชื่อ "อี้จิง" 
ทำให้ทราบว่า ประเพณีลากพระในภาคใต้มีมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย โดยได้บันทึกไว้เมื่อครั้ง
ที่ท่านได้จาริกผ่านคาบสมุทรมาลายูเพื่อไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียช่วงปี พ.ศ. 1214-1238 
ซึ่งมีประเพณีลากพระของชาวเมือง "โฮลิง" ซึ่งเป็นชื่อเดิมเมือนครศรีธรรมราชว่า "พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง
มีคนแห่แหนนำมาจากวัด โดยประดิษฐานบนรถหรือบนแคร่ มีพระสงฆ์และคราวาสหมู่ใหญ่แวดล้อม 
มีการตีกลองและบรรเลงดนตรีต่างๆ มีการถวายของหอม ดอกไม้ และถือธงชนิดต่างๆ 
ที่ทอแสงในกลางแดด พระพุทธรูปเสด็จสู่หมู่บ้านด้วยวิธีดั้งกล่าวนี้ภายใต้เพดานกว้างขวาง"

นอกจากนี้ ประเพณีลากพระ ก่อให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมอื่นๆ ที่สืบเนื่องอีกหลายประการ 
เช่น ประเพณีชันโพนหรือแข่งโพน ประเพณีชัดต้ม และการเล่นเพลงแข่งเรือ เป็นต้น 
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่า จะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล การลากพระในหลายท้องถิ่น
มักอันเชิญพระพุทธรูปปางคันธาราษฏร์ (ปางขอฝน) ประดิษฐานบนเรือ และตกแต่งเรือพระ
เป็นรูปพญานาคตามคติความเชื่อที่ว่า พญานาคเป็นผู้ให้น้ำแก่มนุษย์โลก


2


3


4


5


6


7


8


9


10


11


12


13


14


15


16


17


18


19


20


21


22


23


24


25


26


27


28


29


30


31


32


33


34



35


36

Smiley ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ Smiley
Create Date :20 ตุลาคม 2557 Last Update :20 ตุลาคม 2557 11:27:34 น. Counter : 2796 Pageviews. Comments :3