bloggang.com mainmenu search
 

 


นาน ๆ จะมีเหยื่อหลงมาเป็นแบบให้เราถ่ายรูปแบบไม่งอแง ไม่ว่าจะหยิบจะจับไปวางไว้ตรงไหน
เธอก็ไม่หือไม่อือ ยอมแต่โดยดี อิอิ ... เจอเจ้าตัวนี้ที่หลังบ้าน เกาะอยู่ที่ราวผ้า นิ่งเฉยมาก ขนาดเรา
ถ่ายรูปเสร็จแล้ว ไปไหน ๆ กลับมา เจ้านี่ก็ยังอยู่ที่เดิม ... จับย้ายมาหน้าบ้าน เฮ้ย ก็ยังเฉยอีกแน่ะ


 

 
 

ดูหน้าตาบึกบึนไม่บอบบางมีสีสันเหมือนผีเสื้อกลางวันทั่วไป เจ้านี่เป็นผีเสื้อกลางคืนที่เรียกว่า "มอธ"
ดูใกล้ ๆ หน้าตาเหมือนพวกเอเลี่ยน (alien) ถ่ายรูปได้สบายมาก เพราะนางแบบไม่ขยับเขยื้อนไปไหนเลย 555
นิ่งซะจนไม่แน่ใจว่ายังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า ลองเขี่ย ๆ ดู ก็ยังกระดิกได้ ดูหน้าตาแบบนี้ แล้วไปเสิร์ชหาใน
กูเกิ้ล ที่พึ่งตลอดกาลของเรา ได้รายละเอียดอย่างนี้ค่ะ ...


 


https://goo.gl/jgyL4f



 Oleander Hawk-moth or Gardenia Hawk-moth, Daphnis nerii

 มอธเหยี่ยวลายพราง (Daphnis nerii) คือ ผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง มีขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ มีเขต
แพร่กระจายในเอเชียและแอฟริกา ตัวหนอนของผีเสื้อกินใบพืชหลายชนิด ได้แก่ พุด ยี่โถ ลั่นทม
ชวนชม แพงพวยฝรั่ง และ พญาสัตบรรณ เป็นต้น

Moth = ผีเสื้อกลางคืน
 Oleander (โอเลียนเดอร์) = ต้นยี่โถ
 Gardenia = ต้นพุด


 

  




ก่อนจะเป็นผีเสื้อหน้าตาอย่างนี้ ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ ผีเสื้อผสมพันธุ์แล้ววางไข่ ไข่ฟักออกเป็นตัวหนอน
มีสีเขียวอ่อนปนฟ้า ช่วงนี้หนอนจะค่อย ๆ เติบโต ด้วยการกัดกินใบพืชจนอวบอ้วนสีเขียวสวย และสีจะเปลี่ยน
เป็นสีน้ำตาลปนเหลืองเมื่อใกล้เข้าดักแด้ ดักแด้ใช้เศษพืชคลุมตัวมักอยู่ตามพื้นดิน ได้เวลาก็ฟักออกมา
เป็นผีเสื้อตามพ่อแม่ของมัน ... วนเวียนเป็นวัฏจักรของมอธเหยี่ยวลายพราง อยู่เช่นนี้ เป็นนิรันดร์ ... 


 


https://goo.gl/FYyZbo
Caterpillar Oleander Hawk Moth (Daphnis nerii)



ที่เราเห็นเหมือนตาโต ๆ อยู่บนหัวหนอนแก้วนั้น เป็นลายของมัน ไม่ใช่ตาจริง ๆ ...
ธรรมชาติสร้างสรรค์แท้ ๆ ทำให้ดูเหมือนตาที่น่ากลัว กลมใหญ่ เพื่อทำให้ผู้ล่าของมันเข้าใจผิด
 คิดว่ามันเป็นงูหรือสัตว์ที่น่ากลัวในแว็บแรก ลดโอกาสถูกล่า และทำให้ผู้ล่าตกใจ https://goo.gl/y0tTD1


 


https://goo.gl/PkAJYS
 


เคยดูโฆษณาชาเขียวยี่ห้อหนึ่งนานมาแล้ว มีเจ้าหนอนหน้าตาแบบนี้ คนก็เลยเรียกกันมาตลอดว่า
 "หนอนชาเขียว" หรือ "ชินเมโจได๋" ตามท้องเรื่อง (ใครสนใจไปหาดูได้ใน youtube)
ความจริง ไม่ใช่หนอนชาเขียว แต่เป็นหนอนของผีเสื้อลายพราง ...
และนี่เป็นเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เอามาฝากค่ะ


ชินเมะ โจได (新芽 頂戴)
新芽 (しんめ、shinme) = ยอด (ของพืช) ที่แตกใหม่, ต้นอ่อน
頂戴 (ちょうだい、choudai) = กรุณา, ขอ (ร้อง)

แปลรวมกันว่า ขอยอดต้นอ่อนหน่อยสิ 
  https://goo.gl/uUMNFN


 




ผีเสื้อกลางคืนชนิดนี้เมื่อผสมพันธุ์กันแล้วชอบวางไข่ที่ใบของต้นดอกชวนชม ต้นยี่โถ หรือต้นแพงพวยฝรั่ง 
เมื่อไข่ฟักตัวออกมาก็เป็นหนอนกัดกินใบของต้นไม้เหล่านี้ได้เลย ซึ่งใบไม้ของต้นไม้ที่กล่าวมาล้วนแต่มีพิษทั้งนั้น 
มันเป็นความฉลาดของธรรมชาติคือเมื่อมันกินใบไม้มีพิษทำให้ตัวมันเองก็มีพิษเพื่อป้องกันนักล่า เช่น นก
หรือสัตว์บางชนิดจะไม่กินมัน เว้นแต่สัตว์บางชนิดที่มีภูมิต้านทานพิษของมันก็สามารถกินตัวมันได้


 

 
https://goo.gl/OQd9kN - https://goo.gl/XNos2s



ดูความแตกต่างของมอธ ตัวซ้าย = เพศผู้  /  ตัวขวา = เพศเมีย
เห็นอย่างนี้แล้วก็มาดู นางแบบ ที่เราถ่ายรูปมา บอกได้ทันทีว่า เธอเป็น เพศเมีย


 




ผีเสื้อกลางคืน (moth) มีปีกที่ดูแข็งแรง ไม่พลิ้วไหวเหมือนผีเสื้อกลางวันทั่วไป และที่สำคัญมันมีลวดลาย
ที่คล้าย ๆ กับชุดลายพรางของทหาร เจ้ามอธหรือผีเสื้อจรวดชนิดนี้ถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีการ
กระจายพันธุ์มากที่สุดชนิดหนึ่ง

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Daphnis nerii" หรือ "Oleander hawk-moth" ชาวบ้าน หรือคนทั่วไปมักจะเรียกว่า
"ผีเสื้อจรวดลายพราง ผีเสื้อเหยี่ยวโอเลียนเดอร์ ผีเสื้อจรวดเขียวลายทหาร หรือ มอธเหยี่ยวลายทหาร"


 


https://bit.ly/2pWaFPj
 


เนื่องจากขณะที่เป็นตัวหนอน จะพบเจ้านี่หากินอยู่ตามต้นยี่โถ (Oleander) จึงได้ชื่อว่า Oleander Hawk-moth
ถ้าเจอที่ต้นพุด (Gardenia) ก็เรียก Gardenia Hawk-moth  นอกจากต้นยี่โถ และ พุด แล้ว เจ้าหนอนผีเสื้อนี้
ยังชอบกินใบ ชวนชม ลั่นทม แพงพวย และ พญาสัตบรรณ ด้วย เวลากินสะสมพลังงานก่อนเข้าดักแด้
เจ้านี่จะกินเก่งมาก แรงทำลายล้างมหาศาล ต้นไม้หมดเป็นต้น ๆ เลย

  พืชส่วนมากที่หนอนชนิดนี้กิน จะเป็นพืชที่มีพิษและยาง ซึ่งแน่นอนว่าตัวมันเองก็มีพิษด้วย ฉะนั้นหากเจอก็ดูแต่ตา
อย่าไปแหย่ เพราะมันอาจปล่อยพิษใส่ได้ นอกจากนี้ลวดลายและสีของมันยังช่วยให้สามารถพรางตัวได้อีกด้วย


 




มืดแล้ว ยังคงอยู่ที่เดิม วางไว้ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ภาพนี้ถ่ายตอนทุ่มกว่า แสงก็ริบหรี่เต็มที
ได้แสงจากไฟรั้วนิดหน่อย  น้องมอธเปลี่ยนท่าหน่อยนึงแล้ว อิอิ


 




สองทุ่มกว่า ... สีสันยามราตรี ภาพก็เลยออกมาแบบนี้


 




ลาไปด้วยภาพนี้ ภาพสุดท้ายของเธอ ... แต่ราตรีนี้ยังอีกยาวนาน ...
เช้าขึ้นไปดูก็หายไปแล้ว ทิ้งไว้แค่เพียงรอยดำ ๆ เข้าใจว่าเป็นมูลที่ถ่ายออกมา ไว้ดูต่างหน้า 555


ยังมีผีเสื้อกลางคืนหลงมาอีก สนใจคลิกลิงก์สีชมพูข้างล่างจ้า

ผีเสื้อกลางคืน ... มอธเหยี่ยวลายพราง (Daphnis nerii) ตัวที่ 2 (21.12.60)


 

----------------------------------------



Dreaming-Concerto D'Amour-Love
 

Create Date :25 กันยายน 2559 Last Update :19 ธันวาคม 2566 15:26:53 น. Counter : 43455 Pageviews. Comments :29