bloggang.com mainmenu search



ที่มา: https://goo.gl/aAMRO3

จุดชี้ขาดความเป็นชาวพุทธเถรวาท คืออะไร?
 เมื่อประมาณเดือนพ.ค. 59 ที่ผ่านมา มีบางท่านตั้งคำถามต่อประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่า ทำไมต้องกำหนดไว้ด้วยว่า "รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแพร่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท" พร้อมแสดงความกังวลว่า การกำหนดเนื้อหาดังกล่าวไว้จะทำเพิ่มความขัดแย้งให้สังคมไทย
โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้เหตุผลว่า


“ที่ต้องกำหนดลงไปว่า เป็นพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะต้องการให้เกิดความชัดเจน เพราะเป็นนิกายที่คนไทยนับถือ เวลานี้ศาสนาพุทธมีหลายนิกายและนับวันจะมีนิกาย มีลัทธิใหม่ๆ ลัทธิแผลงๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องการให้กำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า ศาสนาพุทธที่รัฐพึงสนับสนุน คือเถรวาท เพื่อรักษาพุทธแท้ตามพระไตรปิฎก ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชน ทุกคนยังสามารถเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้...”  (//www.komchadluek.net/news/politic/228583)

  คำถามที่เกิดขึ้นในใจของชาวพุทธอย่างเราๆ ที่ไม่ได้อ่านมาก รู้มากเหมือนพระเปรียญหรือนักวิชาการศาสนา อยากรู้ว่าพระพุทธศาสนาเถรวาทมีลักษณะอย่างไร? ความรู้นี้ชาวพุทธเราควรรู้ไว้ไม่เสียหลาย...รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม....รู้ดีกว่าไม่รู้จริงไหมค่ะ?


ที่มา: https://goo.gl/C2Sf7U

พระพุทธศาสนา เถรวาท ~ Theravada หรือหินยาน

    นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในไทย พม่า เขมร ลาว ศรีลังกา

คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา

 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด

เนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  นั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้

"พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แบ่งเป็น 3 หมวด คือ

1. พระสุตตันตปิฎก รวมคำสอนของพระพุทธเจ้า และพระสาวก
2. พระวินัยปิฎก ศีลของพระภิกษุ และพิธีกรรมทางศาสนา
3. พระอภิธรรมปิฎก รวมหลักธรรมชั้นสูง





พระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทเป็นภาษามคธ ฝ่ายมหายานเป็นภาษาสันสกฤต

หลักธรรมที่สำคัญ ได้แก่
Create Date :20 กันยายน 2559 Last Update :20 กันยายน 2559 22:35:18 น. Counter : 1567 Pageviews. Comments :18