การบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM : Total Quality Management) การบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM : Total Quality Management)การตื่นตัวด้านการดำเนินงานคุณภาพ ทำให้ผู้บริหารองค์การต่างให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์การ TQM เป็นหลักการบริหารที่มีความหมายบูรณาการเข้ากับทุกส่วนขององค์การ เพื่อแก้ปัญหา สร้างคุณค่าเพิ่ม การควบคุมต้นทุน การปรับโครงสร้างองค์การ และมีคุณประโยชน์ต่อองค์การอย่างมหาศาล TQM เป็นทางเลือกและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ธุรกิจได้เปรียบในการแข่งขันและ ก้าวไปข้างหน้า ความหมายของ TQMTotal Quality Management หรือ TQM หรือการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ และการบริหารคุณภาพแบบองค์รวม เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า TQM หมายถึง การบริหารคุณภาพโดยรวม ความหมายของ TQM มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ คุณภาพ หมายถึงการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือข้อกำหนดที่ต้องการ โดยสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำที่สุด โดยสามารถอธิบายพัฒนาการของแนวคิดด้านคุณภาพของนักคิดด้านการจัดการคุณภาพดังนี้โดยสรุปพัฒนาการของแนวคิดด้านคุณภาพสามารถ แบ่งได้ 4 ระดับ ได้แก่
โดยที่เราสามารถจะแยกพิจารณาคุณสมบัติของคุณภาพออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.คุณภาพของผลิตภัณฑ์ สามารถพิจารณาคุณสมบัติสำคัญ 8 ด้าน คือ
2.คุณภาพของงานบริการ ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 10 ด้านคือ
นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณา แนวคิดที่สำคัญของนักวิชาการด้านคุณภาพที่มีชื่อเสียง ได้แก่ แนวความคิดของ Walter A. Schewhart แนวความคิดของ Josheph M. Juran แนวความคิดของ Willium Edwards Deming
แนวคิดของ Phillip B. Crosby แนวคิดของ Armand V. Feigenbaum แนวความคิดของ Kaoru Ishikawa
นอกจากนี้ Ishikawa ยังมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ การควบคุมคุณภาพเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะต้องร่วมกันปฏิบัติ โดยให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงผลงานแก่องค์การ ซึ่งแตกต่างจากแนวความคิดของผู้บริหารในชาติตะวันตก ที่นิยมมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานด้านคุณภาพขององค์การ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพ ซึ่งมักจะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานอื่น ๆ และยังปล่อยให้เกิดผลงานที่ด้อยคุณภาพออกไปสู่มือของลูกค้า (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:39-40) หลักการสำคัญของการจัดการคุณภาพการจัดการคุณภาพ (Quality Management) ประกอบไปด้วยงานที่สำคัญ ดังนี้ คือ 2.การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) เป็นการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพขององค์การ จะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้วยความรอบคอบและความเข้าใจในข้อจำกัดของสถานการณ์ โดยผู้พัฒนาคุณภาพจะต้องศึกษา วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามหลักเหตุผล และหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามหาวิธีการที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพที่สุด (Simple but Efficient) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาผลงาน ซึ่งต้องดำเนินงานผ่านการบริหาร การฝึกอบรม และการเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีจิตสำนึก มีความมุ่งมั่น และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพในทุกระดับ เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุความเป็นเลิศ (Excellence) ของคุณภาพและการดำเนินงาน 3. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นกระบวนการจัดระบบการทำงาน และการปฏิบัติการ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ผลิตขึ้น มีคุณสมบัติสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ ซึ่งจะดำเนินการโดยกำหนดมาตรฐาน เกณฑ์ และวิธีการติดตามตรวจสอบคุณภาพ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับมาตรฐาน โดยปรับการดำเนินงานและผลลัพธ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน โดยผู้ควบคุมคุณภาพจะตัดสินใจแก้ไขปัญหาตามความเหมาะสม การควบคุมคุณภาพจะเป็นทั้งงานพื้นฐาน และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดการคุณภาพ เพื่อสร้างความแน่ใจว่าธุรกิจสามารถดำเนินงานอย่างคงเส้นคงวา และส่งมอบผลงานที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าได้ตรงตามที่ตกลง และอย่างสม่ำเสมอ การนำหลักการ Deming มาใช้กับ TQM 1. การวางแผน (Plan) ขั้นตอนการวางแผนถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจุดเริ่มต้นจะต้องมีการตระหนักถึงปัญหาและกำหนดปัญหาที่จะแก้ไข มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกทางเลือก และวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อเลือกวิธีที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา 2. การปฏิบัติ (Do) นำทางเลือกที่ตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติโดยมั่นใจว่าผู้รับผิดชอบได้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ และความจำเป็นอย่างถ่องแท้แล้ว และให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานตามแผน รู้ถึงรายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ มีการจัดอบรมเพื่อดำเนินงานตามแผน และมีการจัดทรัพยากรที่จำเป็น 3. การตรวจสอบ (Check) มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินควรประเมินการดำเนินงานขององค์การว่าสามารถดำเนินงานได้ตามแผนหรือไม่ และเนื้อหาสาระของแผนมีความครบถ้วนหรือไม่ หากการประเมินพบว่าผลงานออกมาได้ถูกต้องตรงตามเป้าหมายก็สามารถนำไปจัดทำเป็นมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานในครั้งต่อไปได้ 4. การปรับปรุงแก้ไข (Act) ในการปฏิบัติงานมีการกำหนดมาตรฐานจากผลการดำเนินงานเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคต และทำการแก้ไขในส่วนที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อผลลัพธ์ที่ได้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายแล้วจัดทำเป็นรายงานเพื่อให้ผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การทราบ สิ่งที่สำคัญถ้าหากพบว่าการไม่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นเกิดจากการวางแผนที่ไม่ดีตั้งแต่ต้น องค์การจะต้องหาสาเหตุของการวางแผนที่ไม่ดีก่อน แล้วจึงทำการปรับปรุงคุณภาพการวางแผน และปรับปรุงเนื้อหาของแผนด้วย ถ้าโซ่ห่วงใดมีความพกพร่อง ก็จะทำให้การส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพขาดความสมบูรณ์ และสร้างปัญหาขึ้น ดังนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องมีสำนึกแห่งคุณภาพ และความเป็นเลิศ ไม่ทำงานให้เสร็จแบบขอไปที แต่ต้องระลึกเสมอว่าผลงานของเขาจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้า หรือบริการที่ธุรกิจส่งมอบให้แก่ลูกค้า ถ้าผลงานของเขามีปัญหาก็จะส่งผลให้การดำเนินงานในขั้นต่อไปมีอุปสรรค และทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะมีผลกระทบในด้านลบย้อนกลับมาที่เขาในที่สุด 2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์การต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดโมเมนตัม (Momentum) ซึ่งจะทำให้การก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจสะดวก คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาระบบงานที่ซับซ้อนและครอบคลุมทั้งองค์การ โดยองค์การที่ทำ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้
3. การมีส่วนร่วมจากพนักงาน (Employees Inovation) พนักงานทุกคนทั้งพนักงานระดับ 1. การลดต้นทุนและการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการจะเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการดำเนินงานด้านคุณภาพ เพื่อการดำรงอยู่ และการแข่งขันขององค์การ 2. สร้างความพอใจและความซื่อสัตย์ของลูกค้า เพราะลูกค้าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับปัจจุบันและอนาคต ซึ่งธุรกิจจะต้องดำเนินงานในเชิงรุก เพื่อให้ได้และธำรงรักษาลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง 3. สร้างความพึงพอใจในงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานให้เขามีความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการทำงานของธุรกิจ 4. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างองค์การคุณภาพโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะสอดคล้องกับปรัชญาขององค์การเรียนรู้ ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ และพัฒนาการ เพื่อความอยู่รอดขององค์การ ซึ่งเราอาจจะกล่าวได้ว่า TQM เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างองค์การเรียนรู้ (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:66-67) ประโยชน์ของTQM 1.ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของตลาด เพื่อให้การผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้า 2.ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ 3.พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ แก้ไขง่าย ไม่เสียเวลากับงานที่ไม่เพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ 4.พนักงานมีส่วนร่วมในการดินเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในงาน 5.มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:67-68) การนำ TQM ไปประยุกต์ปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์การคุณภาพ องค์การคุณภาพ (Quality Organization) นั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเนื่องจากคุณภาพเป็นพลวัต ดังนั้นในการประเมินรูปธรรมขององค์การคุณภาพนั้นจึงค่อนข้างทำได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติโดยทั่วไปขององค์การคุณภาพสามารถพิจารณาได้ตามเกณฑ์การพิจารณาให้รางวัลคุณภาพ Malcolm Baldrige (Malcolm Baldrige Quality Award) หรือ MBQA ของสหรัฐอเมริกา ดังนี้คือ
การนำ TQM ไปประยุกต์ใช้ในองค์การให้เกิดผลนั้น ต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากหากองค์การสามารถดำเนินงานเพื่อสร้าง TQM ให้เกิดขึ้นในองค์การได้ ขั้นตอนในการนำ TQM ไปสู่การปฏิบัติมีดังนี้
ขอบคุณมากๆเลยนะคับ
โดย: อมรชัย IP: 61.19.227.2 วันที่: 29 มกราคม 2551 เวลา:10:04:46 น.
ขอบคุณค่ะ
![]() ![]() โดย: นิสิต มก. IP: 158.108.231.132 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:57:35 น.
ขอบคุณมากเลย เกี่ยวกับการเรียนผมเลย
โดย: บอยส์ IP: 202.28.12.8 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:27:46 น.
เนื้อหาดีมากๆครับ อยากขอความรู้เพิ่มครับ ตรงความแตกต่างของ QC,QM,cและ TQM ครับจักขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
![]() โดย: สามารถ IP: 158.108.2.6 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:58:04 น.
ต้องการข้อมูล ISO 9000 TQM QA ด่วนคะใครมีขอหน่อยนะคะ kun_fa@hotmail.com ขอบคุณคะ
โดย: ปรอย IP: 203.172.199.254 วันที่: 30 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:08:55 น.
ขอบคุณในข้อมูล ช่วยได้มากในการทำรายงานค่ะ
โดย: jay IP: 58.9.41.141 วันที่: 4 ตุลาคม 2551 เวลา:1:07:09 น.
อยากรู้ความสำเร็จ14ขั้นของjuran ขอบคุณค่ะ
โดย: jikkee IP: 58.181.143.60 วันที่: 26 มกราคม 2552 เวลา:19:40:28 น.
เนื้อหาดีมากเลยค่ะ
สอบเรื่องนี้พอดีเลย ขอบคุณมากค่ะ โดย: kookza IP: 202.29.38.245 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:10:30:27 น.
เนื้อหาเป็นที่ต้องการมาก เพราะจะเอาไปรายงานขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ
โดย: puppydoll44 IP: 203.146.118.140 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:15:37:17 น.
กำลังหาข้อมูลอยู่พอดี ขอบคุณมากครับ โดย: ชินจัง IP: 202.29.16.253 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:10:37:20 น.
ขอขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลวิชาการ ผมจะนำไปประกอบทำวิทยานิพนธ์ ขอให้อาจารย์Wiboon Joongประสบความสำเร็จด้านชีวิต การงานและครอบครัวครับ
โดย: เอวัง IP: 113.53.162.238 วันที่: 12 พฤษภาคม 2552 เวลา:7:08:52 น.
ขอขอบคุณอาจารย์Wiboon Joongครับ
โดย: otto75 IP: 117.121.220.52, 117.121.208.2 วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:20:46 น.
ขอบคุณค่ะช่วยได้มากเลย
โดย: angie IP: 172.16.3.218, 119.160.218.135 วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:15:39:35 น.
ขอบคุณมากครับ โดย: นักศึกษา IP: 58.8.110.208 วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:23:18:33 น.
เพิ่งมีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชม blog นี้ ดีมากๆ เลยค่ะ ได้ประโยชน์จริง หลายๆอย่างลืมไปหมดแล้ว ก็ได้มาฟื้นค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ โดย: โนเน่ IP: 202.29.109.54 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:10:47:48 น.
ขอขอบคุรมาก ๆ น่ะค่ะ สำหรับเนื้อหา
เป็นประโยชน์มาก ๆ ค่ะ โดย: เด็กดี IP: 118.172.7.222 วันที่: 24 มกราคม 2553 เวลา:12:16:31 น.
ขอบคุณครับผม
โดย: นัสนัย IP: 125.26.186.107 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:10:16 น.
ขอบคุณมากค่ะ เหมาะกับการสอบ final พอดีเลย ขอให้อาจารย์มีปัญญาปราชญ์เปรื่องอย่างนี้ตลอดไปค่ะ
โดย: อร IP: 118.173.5.53 วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:19:36:36 น.
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ
สงสัยต้องเข้ามาเป็นขาประจำเรื่อยๆ ค่ะ ^^ โดย: เจ้าหมีเน่า
![]() ขอบคุณครับ สำหรับคำตอบดีๆ
โดย: ปรีชา IP: 125.26.186.5 วันที่: 11 มิถุนายน 2553 เวลา:13:21:58 น.
อยากได้เนื้อหาเกี่ยวกับ bmk ขอบคุณล่วงหน้าครับ
โดย: ปรีชา IP: 125.26.186.5 วันที่: 11 มิถุนายน 2553 เวลา:13:26:43 น.
ขอบคุณที่เป็นคลังความรู้ที่ดีมาก ขอบคุณที่สร้างทานโดยการให้ความรู้
โดย: อำภา SS IP: 202.28.180.202 วันที่: 8 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:47:14 น.
ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์มากๆ เลย
หัวข้อเรื่องตรงตามที่ต้องการเลยค่ะ โดย: J_P-k IP: 183.88.92.23 วันที่: 10 เมษายน 2555 เวลา:15:56:31 น.
like
โดย: lamngern IP: 202.137.156.79 วันที่: 27 พฤษภาคม 2555 เวลา:0:41:07 น.
สวดยวดดด
โดย: *-* IP: 171.7.179.157 วันที่: 26 กรกฎาคม 2555 เวลา:12:05:10 น.
ขอบคุณมากนะคะ ตรงกับหัวข้อต้องการทำรายงานพอดีเลยค่ะ
ขอบคุณความรู้ดีๆ ที่แบ่งปัน.... โดย: khemmarak IP: 118.174.126.27 วันที่: 11 สิงหาคม 2555 เวลา:20:22:53 น.
ขอบคุณมากค่ะ
โดย: GM IP: 101.108.43.58 วันที่: 30 กันยายน 2555 เวลา:13:44:42 น.
เป็นข้อมูลที่ดีมากเลย เข้าใจง่ายด้วยค่ะ
โดย: หทัยกาญจน์ IP: 115.87.4.171 วันที่: 13 พฤษภาคม 2556 เวลา:14:33:11 น.
ผมขอขอบคุณท่านมาก เป็นข้อมูลที่หลายๆคนอยากรู้ในเนื้อหานี้
จึงเป็นประโยชน์ที่ได้มอบให้ โดย: Ruddy IP: 124.122.157.163 วันที่: 24 พฤษภาคม 2556 เวลา:19:11:32 น.
thank you very much so much
โดย: AmwaY IP: 171.5.58.195 วันที่: 4 กรกฎาคม 2556 เวลา:18:31:06 น.
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูล จะขอนำไปใช้ประกอบการสอน และจะอ้างอิงคุณวิบูลย์และwebsiteด้วยค่ะ
โดย: Yaliz IP: 171.96.172.75 วันที่: 16 เมษายน 2558 เวลา:23:02:00 น.
ขอบพระคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลที่สรุปมา
โดย: พรรรัศม์ IP: 159.192.228.151 วันที่: 26 เมษายน 2566 เวลา:12:31:46 น.
|
บทความทั้งหมด
|
รีบมาอ่าน
เดี๋ยวสอบตก