องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)องค์การเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน การมีองค์การแห่งการเรียนรู้นี้จะทำให้องค์การและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน Learning Organization หรือ การทำให้องค์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นคำที่ใช้เรียกการรวมชุดของความคิดที่เกิดขึ้นมาจากการศึกษาเรื่องขององค์การ Chris Argyris ได้ให้แนวคิดทางด้าน Organization Learning ร่วมกับ Donald Schon ไว้ว่า เป็นกระบวนการที่สมาชิกขององค์การให้การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ด้วยการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ ในองค์การ แนวคิดของ Learning OrganizationChris Argyris และ Donald Schon ได้ให้คำนิยามการเรียนรู้สองรูปแบบที่มีความสำคัญในการสร้าง Learning Organization คือ Single Loop Learning ( First Order / Corrective Learning) หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแก่องค์การเมื่อการทำงานบรรลุผลที่ต้องการลักษณะการเรียนรู้แบบที่สองเรียกว่า Double Loop Learning (Second Oder/Generative Learning)หมายถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับผลการกระทำ Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้ 1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรจึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ 2. MentalModel มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ 3. Shared Vission การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดี คือ กลุ่มมผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มน้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภพบวกต่อองค์การ 4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ 5. System Thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ข้อจำกัดในการปรับใช้แนวคิดของ Learning OrganizationModel ของ Learning Organization ไม่ได้เจาะจงวัฒนธรรมองค์การใดองค์การหนึ่งและไม่ได้วิเคราะห์ถึงข้อจำกัดด้านวัฒนธรรมองค์การทำให้ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง กระบวนการในการนำ Learning Organization ไปใช้ยังไม่ชัดเจนขาดคนที่รู้จริง ขอบเขตของการนำ Learning Organization กว้างมากทำให้ควบคุมได้ยาก ดัชนีที่ใช้วัดองค์การที่มีความเป็น Learning Organization ไม่ชัดเจน และการใช้เวลายาวนานในการมุ่งไปสู่การเป็น Learning Organization ทำให้ขาดกำลังใจ และหากมีการเปลี่ยนผู้นำ ความสนใจที่จะกระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในองค์การจะหายไป องค์ประกอบสำคัญของ Learning Organization จากมุมมองแบบ Capability Perspectiveในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีองค์การจำนวนมากที่พูดถึงแนวคิดของ Learning Organization แต่ยังขาดแนวทางและขั้นตอนที่ชัดเจนที่จะทำให้องค์การสามารถไปสู่ Learning Organization ได้อย่างแท้จริง โดยนักเขียนจำนวนมากได้พยายามคิดค้นหาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ทั่วทั่งองค์การ และสภาปนาองค์ประกอบเหล่านี้ไม่ครบถ้วนก็ยากที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็น Learning Organization ได้อย่างสมบูรณ์ Peter Senge เป็นคนหนึ่งที่กำหนดองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับ Learning Organizationโดยร่วมกับทีมงานสรรหาองค์ประกอบที่จำเป็นจากหลายบริษัทในสหรัฐอเมริกา และค้นพบวินัย 5 ประการ ที่จำเป็นสำหรับการที่จะทำให้องค์การนั้น ๆ กลายเป็น Learning Organization โดยการนำแนวคิดของ Senge ทำให้เขากลายเป็นปรมาจารย์ ด้าน Learning Organization ที่มีผู้รู้จักมากที่สุด ต่อมา Nevis และทีมงาน ได้นำเสนองานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้เปลี่ยนแนวคิดกับการพัฒนา Learning Organization ไปอย่างสิ้นเชิง และได้สรุปพื้นฐานที่สำคัญต่อการ Learning Organization ไว้ 4 ประการ
มุมมองที่สองนี้ได้มององค์การในทางบวกซึ่งตรงข้ามกับมุมมองแรกโดยได้มองว่าสิ่งที่องค์การควรทำเพื่อเสริมสร้างให้เกิด Learning Organization คือ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การ การนำเอาวิธรการเรียนรู้แบบใหม่เข้าสู่องค์การจะต้องมีการพิจารณาว่าเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การหรือไม่ และจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อรูปแบบการเรียนรู้ปัจจุบันไม่สามารถสร้างความได้เปรียบเชิบธุรกิจเหนือคู่แข่งทั้งในปัจจุบันและในอนาคนแล้วเท่านั้น องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ (Learning Base) โดยมีกระบวนการ ดังนี้ 1. กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติการ คือ
2. กำหนดแผนงานให้ชัดเจน ดังนี้ 2.1 ปรับโครงสร้างในการบริหารให้เป็นการทำงานแบบทีม 3. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับรู้กลไกของการพัฒนาและผลกระทบทุก ๆ ด้านที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง 4. พัฒนาพื้นฐานสำคัญขององค์การเรียนรู้ดังนี้ 4.1 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery) เพื่อให้เก่งในทุก ๆ ด้าน เก่งในการเรียนรู้ เก่งคิด เก่งทำ มีไหวพริบปฏิภาณ มีความเพียรพยายามตั้งแต่เยาว์วัยและใฝ่รู้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based) ที่ต้องมีการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต โดยมีการคำนึงถึงประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้
4.2 รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง (Mental Model) ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่ได้สะสมมาตั้งแต่เด็กกับพื้นฐานของวุฒิภาวะทางอารมณ์ของแต่ละบุคคล ทำให้ความคิดและความเข้าใจของแต่ละคนแตกต่างกัน และหากปล่อยให้ต่างคนต่างคิดจะกลายเป็นปัญหาใหญ่เพราะมีการยึดติด กับรูปแบบและวิธีการที่ตนเองคุ้นเคย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว 5. พัฒนาพนักงานในระดับผู้นำองค์การ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าโครงการ หรือหัวหน้าทีมงาน ให้มีความเข้าใจบทบาทของผู้นำในองค์การเรียนรู้จะได้มีการปฏิบัติติให้มีคุณลักษณะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้อื่นในการปฏิบัติงานให้ราบรื่น 6. มอบหมายพันธกิจ (Mision) และกระบวนงานต่าง ๆ แก่ทีมงานเพื่อให้สามารถบริหารและรับผิดชอบด้วยตัวเองได้ เป็นการเพื่ออำนาจให้แก่พนักงาน จะได้เกิดความคล่องตัว 7. สร้างวัฒนธรรมองค์การด้านการพัฒนา และปรับปรุงงานให้ดีขึ้นตลอดเวลา 8. ทำการประเมินผล (Assessment) เพื่อปรับปรุงผลงานเสมอ Learning Organization transformation Process ในการพัฒนา Learning Organization ในเชิง Capability Perspective ในมุมมองของ DI bella&Schein ที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นที่ 1 การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การและประเมินรูปแบบการเรียนรู้ มีหลายองค์การที่ประสบความล้มเหลวจาการนำโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อสร้าง Learning Organization เข้ามาใช้โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การ ทั้งปัญหาการต่อต้านจากพนักงาน หรือการไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ถึงแม้จะจบสิน้นโครงการไปแล้วก็ตาม หาไม่ได้รับการวิเคราะห์ คัดเลือก วางแผน และจัดการอย่างเหมาะสม การปรับเปลี่ยนไปสู่ Learning Organization ที่มีวัฒนธรรรมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน การประเมินสถานะปัจจุบันประกอบด้วย 2 ส่วน คือการวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ และการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ การประเมินรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Orientation Assessment) การพิจารณารูปแบบการเรียนรู้ขององค์การ (Learning Orientation) นับเป็นขึ้นตอนที่สำคัญที่ต้องทำทันทีควบคู่กันไปกับการวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ โดยองค์การจะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสมรรถภาพขององค์การ โดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 7 ประเภท คือ
รูปแบบการเรียนรู้เหล่านี้ไม่มีสูตรสำเร็จว่าอะไรคือรูปแบบที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ช่วยให้ทราบว่าองค์การมีการเรียนรู้อย่างไร (How Organization Learn) การปรับปรุง Facilitating Factors แบ่งเป็น 10 แนวทาง คือ
bt
โดย: bt IP: 203.113.57.70 วันที่: 17 ธันวาคม 2550 เวลา:14:18:53 น.
![]() รู้สึกดี มีประโยชน์ ใช้ได้จริง ทำต่อไป เป็นกำลังใจให้ โดย: nu IP: 202.149.25.241 วันที่: 14 มีนาคม 2551 เวลา:11:20:56 น.
เหมาะสมดีมากเลยครับ
เป็นที่สืบค้นหาข้อมูลได้ดี และมีข้อมูลอย่างครบครัน โดย: NJ_1904 IP: 202.29.6.246 วันที่: 6 มิถุนายน 2551 เวลา:15:44:08 น.
ขอบคุณค่ะ ที่ให้ข้อมูลในการเขียนรายงานนะค่ะ
โดย: Kitty IP: 58.8.52.51 วันที่: 26 มิถุนายน 2551 เวลา:11:51:08 น.
thank U
โดย: nupu IP: 210.86.128.35 วันที่: 4 ตุลาคม 2551 เวลา:17:10:58 น.
วันพรุ่งนี้สอบเรื่องนี้พอดี เหอะ ๆ
ขอบคุณหลายครับ โดย: Solid IP: 117.47.15.85 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:1:23:40 น.
มีนิทานการเรียนรู้ 5 เล่ม มีภาพประกอบน่ารัก แฝงด้วยอารมณ์ขันและอุปมาอุปไมย ที่
* เพนกวิน จะทำให้เรารู้จักการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) และมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ * หนูเลมมิงจ์ จะทำให้เรารู้จักความเป็นเลิศส่วนบุคคล (Personal Mastery) และสะท้อนให้ไตร่ตรองว่าจุดประสงค์และวิสันทัศน์ของเราคืออะไร * มนุษย์ยุคหิน จะสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบความคิด (Mental Model) ที่ฝังแน่นในตัวเรา สร้างความขัดแย้ง และจำกัดความก้าวหน้า * แกะและหมาป่า จะทำให้เราตระหนักถึงการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) และกลับมาคิดว่าเราเป็นแกะประเภทใด * คนในหมู่บ้านภูเขาไฟ ที่ทำให้เราตระหนักถึงการสนทนาที่สร้างสรรค์และสร้างความตระหนักรู้ ที่เรียกว่าไดอะล็อก (Dialogue) หรือ สุนทรียสนทนา นิทานแปลนี้ ได้รับการตีพิมพ์มากกว่า 10 ภาษานะคะ //publishing.eisquare.com โดย: นิทานเพื่อสร้างการเรียนรู้เชิงองค์กร IP: 58.8.83.15 วันที่: 13 มีนาคม 2552 เวลา:7:02:14 น.
เคยได้ข่าวสัมมนาเกี่ยวกับ Learning Organization นะ
ไม่รู้ว่าจัดไปหรือยัง ใครพอจะรู้ข่าวบ้าง โดย: koong IP: 58.8.238.42 วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:21:19:02 น.
ขอบคุณค่า..จะลองเข้าไปดูนะ
โดย: koong IP: 58.8.238.81 วันที่: 15 มีนาคม 2552 เวลา:22:54:20 น.
ลองอ่านหนังสือ Listening to the Volcano แล้ว ผู้แต่งเปรียบเทียบได้เห็นภาพเข้าใจง่ายดีค่ะ ที่สำคัญรูปน่ารักดี หนังสือจะพูดเกี่ยวกับการสนทนาที่เปิดใจรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ แนะนำเกี่ยวกับไดอะล็อก (Dialogue) หรือสุนทรียสนทนาด้วยการเล่าเรื่อง (Storytelling) และอุปมาอุปไมย ที่ชวนให้ผู้อ่านไตร่ตรองตนเองและจุดประกายให้ฝึกฝนการไดอะล็อก ถือเป็นทรัพยากรที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสร้างการเรียนรู้เชิงองค์กร ^_^ ขอบคุณค่า
โดย: koong IP: 58.8.125.71 วันที่: 21 มีนาคม 2552 เวลา:23:35:32 น.
กำลังทำวิจัยเรื่องนี้คะ อยากทราบว่า ข้อมูลตำราของchein ที่เป็นภาษาอ้งกฤษ ใครทราบบ้างว่าจะหาได้จากไหน // ขอบคุณค่ะ
โดย: nutchanat IP: 222.123.221.181 วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:20:45:33 น.
ขอบคุณมากนะค่ะ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ จะใช้ไปสอบพอดีเลย
โดย: moui IP: 114.128.33.218 วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:21:41:10 น.
ขอบคุนค่ะ เข้ามาอ่าน แล้วได้ความรู้ กำลังจาสอบเหมือนกันค่ะ
โดย: สมุทรปราการ IP: 124.120.197.172 วันที่: 4 มิถุนายน 2552 เวลา:11:54:42 น.
ยอดเยี่ยมมากเลยคะ ขอบคุณจริง ๆ
โดย: tpd IP: 61.7.169.172 วันที่: 15 สิงหาคม 2552 เวลา:14:51:26 น.
ขอบคุณมาก ได้ความรู้ดีค่ะ
โดย: พัชรินทร์ IP: 202.28.62.245 วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:14:56:40 น.
ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ดีๆ
โดย: ปกป้อง IP: 10.42.16.111, 202.28.180.202 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:20:33:28 น.
อาจารย์ ให้การ บ้าน มา ครับ ใช้ได้เลย ครับ
โดย: thetem IP: 203.131.211.148 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:14:53:54 น.
ดีมากค่ะ ให้ความรู้ดี
โดย: Palm-Sheep IP: 124.121.22.187 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:19:27 น.
โอยอดเยี่ยมใช้ได้เลย ดีมากๆๆครับ
โดย: suta IP: 180.180.229.218 วันที่: 10 มิถุนายน 2553 เวลา:20:40:33 น.
ได้ประโยชน์ ดีมากครับ
ขอบคุณครับ mbaku27.tk โดย: JIROJ IP: 115.87.208.76 วันที่: 27 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:46:45 น.
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ
โดย: โมโมจัง IP: 58.181.157.122 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา:15:35:48 น.
ถ้าต้องการใส่ไว้ในวิจัยต้องอ้างของใครครับบอกด้วยมีประโยชน์มากครับ
โดย: cue IP: 124.121.61.220 วันที่: 21 มกราคม 2554 เวลา:20:51:37 น.
ผมอยากทราบว่าตอนนี้มีใครเอารูปแบบองค์การแบบนี้ไปปรับใช้บ้างแล้วครับ ขอข้อมูลหน่อยครับ ขอบคุณไว้ ณ ที่นี้...
โดย: Kim IP: 58.9.109.104 วันที่: 14 กันยายน 2554 เวลา:21:52:50 น.
Thanks for the great article. I hope to be back to read it again. Please write to me so I like this article. I feel much better and more knowledgeable. Thank you.
โดย: couples (AIRRO01
![]() ได้ความรู้ดีครับ
โดย: กรกช ชีวโรรส IP: 182.52.97.103 วันที่: 24 พฤษภาคม 2555 เวลา:14:51:07 น.
กำลังอยากได้เลยค่ะ ขอบคุณนะคะ
โดย: จินนี่จัง IP: 115.87.218.172 วันที่: 25 พฤษภาคม 2555 เวลา:14:03:14 น.
|
บทความทั้งหมด
|
ไม่ค่อยได้เข้ามาในบล๊อก กับเขาเท่าไหร่
ขอบคุณที่ ทำบล๊อกนี้ขึ้นมา
จะติดตามผลงานต่อๆไปครับ