R-ALA สารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังไม่เหมือนใคร
กรดไลโปอิก(LA)หรือที่เรียกว่ากรดอัลฟ่าไลโปอิก(ALA),R-ALA หรือเรียกว่ากรด Thioctic เป็นสารที่ประกอบด้วยซัลไฟด์ พบได้ในเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย

ALA จากธรรมชาติหรือเรียกว่า R-ALA พบในเนื้อเยื่อสัตว์และพืชในปริมาณน้อยมาก ทำหน้าที่เป็นปัจจัยร่วมสำหรับเอนไซม์ไมโตคอนเดรีย(Mitochondria)ในระหว่างการผลิตพลังงาน

เนื่องจากมีความยากลำบากอย่างมากและค่าใช้จ่ายสูงในการแยกส่วนประกอบของ
 R-ALA นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาและยุโรปจึงทำการศึกษาด้วยกรดไลโปอิกสังเคราะห์ 

กรดไลโปอิกสังเคราะห์ประกอบด้วยส่วนประกอบ 50:50 ของสองรูปแบบ(enantiomers)ที่เรียกว่า R-ALA และ S -ALA 
ซึ่งทั้งสอง R-ALAและ S -ALA เป็นรูปแบบของ ALA ที่เรียกว่าไอโซเมอร์

ความแตกต่างของ ALA และ R-ALA คือ ALA เป็นสารต้านอนุมูลอิสระคล้ายวิตามิน ในขณะที่ R-ALA เป็นรูปแบบตามธรรมชาติ มีความคงตัวสูงและดูดซึมได้ดีกว่า ALA

นอกจากนี้ ALA โจมตีอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ ในขณะที่ R-ALA ทำหน้าที่เป็นปัจจัยร่วมสำหรับเอนไซม์

ไมโตคอนเดรีย(Mitochondria)ในระหว่างการผลิตพลังงานจากการหายใจด้วยเซลล์


การวิจัยแสดงให้เห็นว่า R-ALA เป็นรูปแบบทางชีวภาพของ ALA
ที่ให้ประโยชน์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะระบบประสาทมากขึ้นในขนาดที่ต่ำกว่ากรดไลโปอิกสังเคราะห์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ความเข้มข้นของกรดไลโปอิกในพลาสมาโดยทั่วไป จะสูงสุดในหนึ่งชั่วโมงหรือน้อยกว่าและลดลงอย่างรวดเร็ว

อาหารเสริมกรดอัลฟาไลโปอิกสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบ Rและ Sในปริมาณที่เท่ากัน

อย่างไรก็ตามมีเพียง R-ALA เท่านั้น เป็นรูปแบบที่พบตามธรรมชาติในร่างกาย


แม้ว่ากรดไลโปอิกจะถูกผลิตขึ้นตามธรรมชาติในร่างกาย แต่นักวิจัยก็ไม่ได้ตระหนักถึงการมีอยู่ของ ALA จนกระทั่งปี ค.ศ. 1930 

เมื่อตัวอย่างบริสุทธิ์ถูกแยกออกในปี ค.ศ 1950 เป็นครั้งแรกที่เชื่อว่าเป็นวิตามินใหม่ 

ต่อมานักวิจัยค้นพบว่าในความเป็นจริง ALA เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาการขนส่งอิเลคตรอนแบบ

ไมโตคอนเดรีย(Mitochondria)ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนกลูโคสเป็นสารให้พลังงานสูงแก่เซลล์(ATP)

ในปี 1988 นักวิจัยได้เรียนรู้ว่า ALA เป็นสารต้านอนุมูลอิสระทางชีวภาพที่ทรงพลัง เมื่อค้นพบว่า ALA ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมันและละลายน้ำ ซึ่งสามารถข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น ALA จึงสามารถป้องกันอนุมูลอิสระให้กับโครงสร้างเซลล์ทั้งภายในและภายนอก

กรดอัลฟ่าไลโปอิก(ALA) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีลักษณะคล้ายวิตามินซึ่งสามารถต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ซ่อมแซมตับที่เสียหาย บรรเทาโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (polyneuropathy) และป้องกันกระบวนการออกซิเดชั่นที่เร่งให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย

Dr.Lester Packer นักวิทยาศาสตร์อาวุโสที่สถาบันLawrence Berkeley Laboratory และหัวหน้าห้องแล็บที่ University of California ใช้เวลากว่า 35 ปีในการศึกษาว่าสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามิน C, E และกลูตาไธโอนมีปฏิกิริยาอย่างไรในร่างกาย 

ดร. แพคเกอร์ค้นพบครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อนว่า วิตามินอีถูกรีไซเคิลโดยวิตามินซี

แม้จะมีความเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับวัฏจักรการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย เมื่อดร. แพคเกอร์และนักวิจัยคนอื่นทดสอบวิธีการเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระ พวกเขาพบปัญหาเมื่อพยายามเพิ่มระดับกลูตาไธโอนภายในเซลล์ ในขณะที่เพิ่มการบริโภคแหล่งอาหารจากธรรมชาติหรืออาหารเสริม สามารถเพิ่มระดับวิตามินอีและซีได้อย่างง่ายดาย

แต่นอกเหนือจากการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพที่ทรงพลังแล้ว
 ดร.แพคเกอร์ยังค้นพบว่า ALA ยังสามารถเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในเซลล์ได้อีกด้วย


มีประโยชน์อย่างไร

1.ลดความเสียหายของผิวและชะลอริ้วรอยก่อนวัย
กรดไลโปอิกที่เป็นส่วนประกอบในครีมบำรุงช่วยเพิ่มความหนาของชั้นผิว ลดความหยาบกร้านและความเสียหายของผิวที่โดนแสงแดด

2.กรดไลโปอิกอาจมีประโยชน์ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โดยการลดระดับของ cytokines(สารที่หลั่งจากเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกันในภาวะที่ถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนหรือตอบสนองต่อภาวะการอักเสบ)ในเลือด

3.กรดไลโปอิกเมื่อรวมกับ Acetyl-l-carnitine จะช่วยลดความดันโลหิตและส่งเสริมการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย

4.ช่วยยับยั้งการเกิดต้อกระจกและช่วยลดการตายของเซลล์ในจอประสาทตา(พบในสัตว์ทดลอง)

5.ช่วยลดการอักเสบและการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหนูที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

6.กรดไลโปอิกสามารถจับโลหะที่เป็นพิษและทำปฏิกิริยาเป็นกลาง เช่น แคดเมียม ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว จึงป้องกันสารพิษสะสมในตับและกระแสเลือด

7.มีประสิทธิภาพในป้องกันความเสียหายของเซลล์จากอนุมูลอิสระ

8.ช่วยเพิ่มระดับกลูตาไธโอนและเอนไซม์ Superoxide Dismutase(SOD)

9.ช่วยรีไซเคิลวิตามินซี อี ที่ถูกทำลายลงให้นำกลับมาใช้ในร่างกายได้อีกครั้ง

10.ลดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นนานเกินกว่า 5 ปี(คนที่เป็นเบาหวานนานเกิน 5 ปีขึ้นไป มักจะมีอาการชาปลายมือปลายเท้า โดยจะมีอาการเฉพาะบริเวณข้อมือหรือข้อเท้าเท่านั้น)

หมายเหตุ อาหารเสริมกรดไลโปอิกที่วางจำหน่ายในขนาด 600-1800 มิลลิกรัมต่อวัน มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปริมาณที่เพิ่มจะตามด้วยผลข้างเคียงที่มากขึ้น


ผลข้างเคียง : ผื่น ลมพิษ หายใจลำบาก คลื่นไส้ คันที่ผิวหนัง













ที่มา


R-Lipoic Acid - The most active form of alpha-lipoic acid to support healthy nerve and brain function* | Thorne
www .thorne. com › products › r-li...

(R)-Lipoic Acid: Unique 'Mitochondrial Antioxidant' Fights Premature Aging | Nutrition Review

www .selfhacked. com › blog › lipoi...Alpha-Lipoic Acid Benefits + Dietary Sources - SelfHacked

www .everydayhealth. com › a...Alpha-Lipoic Acid - Side Effects, Dosage, Interactions - Drugs - Everyday Health
 



Create Date : 11 ธันวาคม 2562
Last Update : 20 มกราคม 2563 22:25:27 น.
Counter : 4028 Pageviews.

0 comments

Rainny-season.BlogGang.com

แป้งปังปอนด์
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 878 คน [?]

บทความทั้งหมด