ปัญญากับวิญญาณ...มหาเวทัลลสูตร
มหาเวทัลลสูตร
เรื่อง ปัญญากับวิญญาณ

[๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม
ไม่รู้ชัดอะไร
ไม่รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม

ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า
ถูกละ ท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา?

สา.ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญา
รู้ชัดอะไร
รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา

ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า วิญญาณ?

สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า วิญญาณ
รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์มิใช่สุข

ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า วิญญาณ.

ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?

สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้

เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด
ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น


ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
แต่มีกิจที่จะพึงทำต่างกันบ้างหรือไม่?

สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน

แต่ปัญญาควรเจริญ
วิญญาณควรกำหนดรู้

นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.

จบเรื่อง ปัญญากับวิญญาณ

◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆

● สรุปเรื่อง ปัญญากับวิญญาณ

บุคคลไม่รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เรียกว่า บุคคลมีปัญญาทราม

บุคคลรู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เรียกว่า บุคคลมีปัญญา

วิญญาณ คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้ง
รู้แจ้งว่า
นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์มิใช่สุข

ปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด
ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น

ปัญญาควรเจริญ

วิญญาณควรกำหนดรู้
นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้

◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆

● บุคคลมีปัญญา คือ จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง
คือ จิตที่ได้รับการอบรมโดยการปฏิบัติอริยมรรค ๘
รู้ชัด อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง (รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)


● วิญญาณ คือ จิตรู้แจ้งอารมณ์ ว่าสุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข
คือ จิตรู้รับอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์เมื่อเกิดผัสสะ
และทำให้เกิดเวทนา สัญญา สังขาร ตามมา


● โดยอธิบาย
วิญญาณ เป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕

วิญญาณมี ๖
จักษุวิญญาณ
วิญญาณทางตา จิตรับรู้ อารมณ์(รูป) ที่เข้ามากระทบจิตทาง ตา
โสตวิญญาณ วิญญาณทางหู จิตรับรู้ อารมณ์(เสียง) ที่เข้ามากระทบจิตทาง หู
ฆานวิญญาณ วิญญาณทางจมูก จิตรับรู้ อารมณ์(กลิ่น) ที่เข้ามากระทบจิตทาง จมูก
ชิวหาวิญญาณ วิญญาณทางลิ้น จิตรับรู้ อารมณ์(รส) ที่เข้ามากระทบจิตทาง ลิ้น
กายวิญญาณ วิญญาณทางกาย จิตรับรู้ อารมณ์(กายสัมผัส) ที่เข้ามากระทบจิตทาง กาย
มโนวิญญาณ วิญญาณทางใจ จิตรับรู้ อารมณ์(ธัมมารมณ์) ที่เข้ามากระทบจิตทาง ใจ

เมื่ออารมณ์ ๖ หรืออายตนะภายนอก ๖ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์)
เข้ามากระทบจิตทางอายตนะภายใน ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นคู่ตามลำดับ
จิตรับรู้อารมณ์นั้นๆ ทางอายตนะนั้นๆ เกิด วิญญาณ ๖ ขึ้น(การรับรู้อารมณ์)
ทำให้เกิด เวทนา (สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข) สัญญา สังขาร ตามมา

▼ ▼ ▼
ดังมีพระพุทธพจน์รับรอง ดังนี้คือ

บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา


จากฉฉักกสูตร

ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา...
ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา…
ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดงอทุกขมสุขเวทนา


จากธาตุวิภังคสูตร
▲ ▲ ▲

● ปัญญา ควรเจริญ
เพราะปัญญาเป็นองค์มรรค
มรรคเป็นภาเวตัพพะ ควรเจริญ


● วิญญาณควรกำหนดรู้
เพราะวิญญาณเป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ทุกข์เป็นปริญเญยยะ ควรกำหนดรู้



● วิญญาณ ฝ่ายยึด คือ อาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ (รู้แล้วปรุงแต่งไปตามอารมณ์)
● ปัญญา ฝ่ายปล่อย คือ ความสามารถของจิตในการปล่อยวางอารมณ์ (รู้แต่ไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์)


ทั้งวิญญาณและปัญญา ต้องมีจิตผู้รู้อยู่ (รู้ผิด หรือ รู้ถูก)
● จิตรู้ผิดจากการเป็นจริง จิตยังยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์(วิญญาณ)
● จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง จิตปล่อยวางการยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ ไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ (ปัญญา)


● จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง คือ จิตไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
เพราะยังไม่ได้อบรมจิต โดยการปฏิบัติอริยมรรค ๘
จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง จิตยังยึดถืออารมณ์อยู่
คือ จิตของสามัญสัตว์โลก จิตรู้รับอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์


● จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง คือ จิตรู้จักอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
เพราะได้อบรมจิต โดยการปฏิบัติอริยมรรค ๘
จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง จิตปล่อยวางการยึดถืออารมณ์
คือ จิตของพระอริยะ จิตรู้แต่ไม่รับอารมณ์และไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์



เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวให้ชัดเจนได้ว่า
● รู้ของปุถุชน รู้รับและยึดถืออารมณ์ จึงเกิดวิญญาณ ๖
เพราะจิตของปุถุชน มีตัณหาและมิจฉาทิฐิกำกับอยู่


● แต่รู้ของพระอริยะ รู้สักแต่ว่ารู้ ระลึกสักแต่ว่าระลึก
จิตของพระอริยะ ไม่มีตัณหาและมิจฉาทิฐิปรุงแต่งอยู่ด้วย
เพราะจิตของพระอริยะ รู้จักอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง




ยินดีในธรรมทุกๆท่านครับ







Create Date : 08 ธันวาคม 2552
Last Update : 10 ธันวาคม 2552 5:27:05 น.
Counter : 788 Pageviews.

0 comments
วลีธรรม สมาชิกหมายเลข 7582876
(27 มิ.ย. 2568 13:34:21 น.)
ธรรมะวันนี้ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๖๘ **mp5**
(25 มิ.ย. 2568 08:32:21 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - หล่นไปในสมมุติ : กะว่าก๋า
(24 มิ.ย. 2568 04:11:57 น.)
ไม่เปลี่ยนใจ ไม่โลภ รู้จักพอ แทนคุณ การอยู่ ทำผิด ความถูก ความดี ปัญญา Dh
(2 ก.ค. 2568 07:37:44 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Nulek.BlogGang.com

หนูเล็กนิดเดียว
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด