วัดป่าโนนจิก สถานที่ปฏิบัติธรรม - ธรรมะ - ธรรมชาติ อีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ฝากประสปการณ์ปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าโนนจิก(สวนจำปางาม) สาขาที่ 191 วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ![]() ไม่ได้มีพิธีรีตรอง ไม่ต้องกรอกใบสมัคร ไม่ต้องจองวันที่จะเข้าปฏิบัติ อะไรใดๆทั้งสิ้น เพียงแค่เตรียมชุดขาว เตรียมของใช้ส่วนตัวติดไปด้วยก็พอ ![]() ทางรถวิ่ง ![]() บรรยากาศที่สุดแสนจะธรรมชาติ ![]() เราอดที่จะชื่นชมธรรมชาติไม่ได้จริง เก็บภาพมาได้นิดหน่อย ![]() ชื่มชมธรรมชาติ พร้อมสูดลมหายใจเข้าลึก ลืกกกกกกกก ![]() ทางเดินเพื่อสักการะพระประธาน ห้อมล้อมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ![]() พระพุทธองค์ขาว ![]() ลานปฏิบัติธรรม ทุกวันพระเราจะร่วมกันขึ้นมาปฏิบัติกันที่นี่ ![]() รอบๆบริเวณทางเดินขึ้นไปเพื่อนไปลานปฏิบัติ ![]() หันกลับมามองอีกที เราเดินมาไกลเหมือนกันแต่ไม่มีใครรู้สึกเหนื่อย ![]() บรรยากาศทางเดินยามค่ำคืน ![]() ในยามค่ำคืนที่มิใช่วันพระ เราต้องอยู่กับตัวเราเองและไฟฉาย ปฏิบัติเองตามธรรมชาติ ในวันธรรมดา (แต่หากในวันพระ จะมีญาติธรรมมาปฏิบัติร่วมกันบนลานปฏิบัติ) ![]() อยู่ที่ใจและวินัยของตัวเราเอง ![]() นอนให้น้อย ปฏิบัติให้มาก ![]() คู่มือ ทำวัตร สวดมนต์แปล และอ่านบ่อยๆอ่านดีๆ อ่านทุกตัวหนังสือ จะรู้ว่ามีอะไรมากมาย อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ตีสามตื่นทำวัตรเช้า และ หนึ่งทุ่มทำวัตรเย็น ตลอดทั้งวันและทั้งคืนมีอะไรๆทำมากมาย นอนให้น้อย กินให้น้อย ปฏิบัติให้มาก ![]() อาหาร 1 มื้อ ต่อวัน รับได้เท่าไหร่รับ กินได้เท่าไหร่กิน ! ส่วนเวลาหลังเที่ยงขึ้นไป รับไม่ได้แล้ว จนกว่าจะรุ่งเช้า อีกวัน กินอาหารหลังจากพระรับเสร็จ และเริ่มกิจกรรมของวัน "เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง" ![]() เช่น ง่ายๆ คือจัดดอกไม้ขึ้นถวายพระ ปกติที่วัดจะไม่มีดอกไม้บูชาพระ หรือถ้ามีก็จะเป็นดอกดาวเรืองตามรั้วบ้านที่ญาติโยมเก็บมาถวายในวันพระ แต่วันปกติจะไม่มี ส่วนในภาพนี้ เราประสงค์จัดถวายเอง ![]() ทางเดิน และทางรถเข็น ![]() แวะจัดบูชาเป็นจุดๆไป อยู่ที่นี่เวลาจะเดินเร็วอย่างไม่ทันตั้งตัว แต่ละวันทำอะไรๆแทบไม่ทัน "รู้สึกว่าตัวเองและเวลาของตัวเองมีค่ามากมายสำหรับที่นี่" อาทิ กวาดลานวัด ก็เช่นกัน ![]() กวาดไปด้วย ภาวนาไปด้วย ดูลมหายใจตัวเองไปด้วย จนเวลา 13.00 น. มาปฏิบัติ ในช่วงบ่ายกัน ![]() สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรมร่วมกัน ตลอดบ่าย หรือจะแยกก็มิได้มีใครว่า หลังจากเวลา 15.00 น. ไปจนถึง 19.00 น. เป็นเวลาพักผ่อนเพื่อเตรียมทำวัตรเย็น แต่งานของเรายังมี อาทิเช่น ![]() เตรียมผลไม้ ล้างให้สะอาด ![]() ลำดับตามภาพ ![]() น้ำปานะ ง่ายๆคือ น้ำที่ไม่ใหญ่กว่าผลมะตูม ไร้กาก ไร้เมล็ด ![]() กรองกาก กรองเมล็ด และต้องสะอาด พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือ องุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑ . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด. [พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๙๘ หัวข้อที่ ๘๖] ![]() ![]() ![]() จนพลบค่ำเป็นเวลาเตรียมตัวให้แล้วเสร็จกิจธุระส่วนตัว เพื่อทำวัตรและปฏิบัติเย็น ต่อไป เป็นเช่นนี้ทุกๆวันไป อาจมีบางวันที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่อาจมีกิจกรรม เพิ่มขึ้นมา ตามวาระก็ว่าไป ![]() ล่าสุดกำลังร่วมจัดสร้างศาลาปฏิบัติ ![]() ![]() ![]() ![]() เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สืบไป เป็นอีก 1 ประสปการณ์ และ อีก 1 สถานที่ที่อยากแนะนำ เพราะได้ไปสัมผัสมาด้วยตัวเอง ปฏิบัติธรรมกลับมาแล้วได้อะไร? ถามว่า ได้อะไรในการมาปฏิบัติธรรมครั้งนี้ ตอบว่า ก็ไม่ได้เอาอะไรออกมานะ แต่ที่ระลึกถึงได้คือความทรงจำในการไปปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง ได้อยู่กับตัวกับใจของตัวเองอย่างมีสมาธิ มีสติมากขึ้น รู้พื้นฐานของสมาธิคือการดูลมหายใจนั้นสำคัญ "ลมหายใจก็อยู่กับเราทุกที่ แต่ตัวเราไม่เคยสนใจมันมาก่อนจนมานั่งอยู่ที่นี่ ท่านบอกให้ดูลมหายใจทุกขณะ" อันนี้สำคัญจริง ควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น ขยันเพิ่มมากขึ้น ปล่อยวางมากขึ้น บ่นน้อยลง ความอยากมีอยากได้น้อยลง ความกลัวน้อยลง ความกังวลกับอนาคตน้อยลง ความกลัวตายน้อยลง บวกลบแล้วคือไม่ได้เอาอะไรออกมาเลยก็ถูกแล้ว และ นี่คงเป็นคำตอบของคำถามกระมัง ! "โชคดีหนักหนา เกิดมาเป็นคน" ถ้าไม่ใช่วันพระ จะมีการปฏิบัติธรรมตามปกติมั้ยคะ
โดย: หลิว IP: 165.225.112.69 วันที่: 3 กรกฎาคม 2567 เวลา:14:19:44 น.
|
บทความทั้งหมด
|