แนวทางการเลือกใช้ routing protocol ภายในองค์กร (IGP) ในมุมมองของ โก้-ชัยวัฒน์
เนื่องจากมีคำถามที่ว่า "จะใช้ OSPF ดีไหม" 

เบื้องต้น เรามาดู routing protocol ประเภท IGP ในปัจจุบันกันว่ามี IGP routing protocol อะไรให้เราเลือกใช้บ้าง  

IGP: ที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ RIPv2, OSPF, EIGRP และ IS-IS

- สำหรับ RIPv2 หากใช้ในองค์กรใหญ่ๆ แล้ว ท่านสามารถตัดทิ้งออกจากตัวเลือกได้เลยครับ เพราะไม่เหมาะกับ network ขนาดใหญ่ ซึ่งถึงแม้ว่า RIPv2 จะเป็น routing protocol ที่กิน resource หรือทรัพยากร (RAM และ CPU) ของ router น้อยที่สุดก็ตาม แต่ด้วย algorithm ที่มันใช้ในการทำ routing update แล้ว มันจะมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถใช้กับ network ที่มีขนาดใหญ่ได้ แต่มันจะเหมาะกับ network ขนาดเล็ก เช่น network ที่ใช้ภายในบ้าน โดย router ที่ใช้ภายในบ้านอย่างเช่น ADSL router ราคาถูกๆ ซึ่งมันจะลองรับ routing protocol RIPv2 ได้อย่างลงตัว เพราะ ADSL router จะมี performance ที่ต่ำ และมีการใช้งานกับ network เล็กๆ ภายในบ้าน

- สำหรับ IS-IS เป็น IGP ที่ stable ที่สุด (มันมีเหตุมีผลซึ่งผมได้กล่าวไว้คร่าวๆ ตาม link นี้ครับ) 


แต่เนื่องด้วย IS-IS เป็น routing protocol ที่ไม่ได้ทำงานอยู่บน IP โดยตรง แต่ไปทำงานอยู่บน CLNP protocol ดังนั้นมันจึงเป็น protocol ที่คนไม่นิยมใช้กัน (แต่ใช้ใน network ของ service provider) แนะนำว่าถ้าไม่ได้ศึกษาจริง อย่าใช้เลยครับ เพราะคนรู้จักน้อย หาคนปรึกษายาก ดังนั้น IS-IS จึงตัดทิ้งไป

ดังนั้นเราจะเหลือ routing protocol ที่เป็นทางเลือกแค่ 2 ตัวคือ OSPF และ EIGRP

ผมขอสรุปโดยเปรียบเทียบระหว่าง OSPF กับ EIGRP  ดังนี้ครับ

1. EIGRP จะเป็น network แบบ flat network แต่ OSPF จะเป็น network แบบ hierarchical โดยมี Area 0 เป็น Backbone Area

2. EIGRP จะ convergence ได้เร็วกว่า OSPF ในกรณีที่ Topology Database ของ EIGRP มี Backup Path (หรือที่เราเรียกอย่างเป็นทางการว่า Feasible Successor) 
แต่ถ้า EIGRP มีเส้นทางสำรอง แต่ไม่ได้เข้าเงื่อนไขของ Feasible Successor แล้ว ก็จะไม่สามารถเป็น Backup Path ได้ ซึ่งในกรณีนี้ การ convergence จะไม่ได้ต่างอะไรกับ OSPF หรืออาจจะช้ากว่า OSPF ในกรณีที่ EIGRP มีการส่ง query message เพื่อหา best path ใหม่  --> ดังนั้นการใช้ EIGRP จึงควรต้องมีการ tuning เส้นทางสำรองให้เป็น Feasible Successor

NOTE:
Convergence คือ การเลือก และสร้าง best path ใหม่ใน routing table ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงใน network เช่น เกิดเหตุการณ์ link failure ใน network

3. EIGRP เป็น Proprietary ของ Cisco ส่วน OSPF เป็น standard 100% ดังนั้น ถ้าในระบบมีอุปกรณ์ยี่ห้ออื่นผสมอยู่ด้วย เช่น Firewall ใช้ยี่ห้ออื่นแล้ว และอยากให้ network ทั้งระบบ run Routing Protocol เดียวกันแล้วล่ะก็ ก็คงต้องใช้ OSPF จึงจะเหมาะสมกว่า

NOTE: ปัจจุบัน EIGRP มีแนวโน้มที่จะกลายเป็น standard ซึ่งในตอนนี้ได้มี draft ออกมาแล้วตามเอกสารของ  IETF (draft-savage-eigrp-00.txt) ตาม link นี้ครับ https://tools.ietf.org/html/draft-savage-eigrp-00

ดังนั้นสรุป ระหว่าง OSPF กับ EIGRP คือ 
1. หากเราไม่ได้ศึกษา EIGRP ในรายละเอียดที่แท้จริงของมันแล้ว และไม่ได้ tuning เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดแล้ว มันก็จะไม่ต่างไปจาก OSPF ครับ
2. หาก network เรามีอุปกรณ์หลากยี่ห้อแล้ว แนะนำให้ใช้ OSPF ดีกว่าครับ เพราะการ รัน 2 routing protocol จะนำไปสู่ปัญหาหลายๆ อย่าง เช่น routing loop และการเกิด suboptimal path (การเลือก the best path ที่ไม่เหมาะสม) ในกรณีที่เรามี router มากกว่าหนึ่งตัว ระหว่าง routing protocol domain สอง domain (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในวิชา CCNP-ROUTE นะครับ)

สำหรับผมแล้ว หากเราไม่ได้ใช้ VoIP แนะนำให้ใช้ OSPF ครับ แต่หากใช้ VoIP เราอาจจะต้องใช้ประโยชน์ Rapid Convergence ของ EIGRP (แต่จะต้อง tuning นะครับ)

ขอบคุณอาจารย์ Weerachai Yaemvachi สำหรับคำแนะนำในเรื่องของ EIGRP draft มากครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์



Create Date : 31 สิงหาคม 2558
Last Update : 8 กันยายน 2558 23:08:41 น.
Counter : 12174 Pageviews.

3 comments
  
ขอยคุณครับอาจารย์
โดย: Ironmini IP: 171.101.138.193 วันที่: 3 กันยายน 2558 เวลา:14:47:35 น.
  
ขอบคุณมากเลยครับสำหรับบทความดีๆ
โดย: อุดมเดข IP: 49.237.39.139 วันที่: 4 กันยายน 2558 เวลา:21:43:08 น.
  
ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ
โดย: Arnat IP: 27.55.144.6 วันที่: 5 กันยายน 2558 เวลา:19:28:48 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Likecisco.BlogGang.com

kochaiwat
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]

บทความทั้งหมด