OSPF process id บน Cisco router ตอนที่ 2: ตอน OSPF process id VS. EIGRP AS number
ก่อนที่เราจะไปศึกษาเรื่อง 1 router ต่อ OSPF process 2 id เรามาเปรียบเทียบ OSPF process id กับ EIGRP Autonomous-System-Number กันก่อนะครับ เพื่อที่จะให้เข้าใจอย่างแท้จริง และไม่เกิดความสับสนในการใช้งาน รวมถึงเป็นการนำไปใช้อ้างอิงเรื่อง 1 router ต่อ OSPF process 2 id ในตอนต่อๆ ไป

เอาล่ะ! เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
โดยปกติแล้วการ configure routing protocol ต่างบน Cisco router จะใช้ command ว่า

router ตามด้วย routing protocol (บน global configuration mode) เช่น

การ enable หรือการ configure routing protocol RIP
Router(config)# router rip

การ enable หรือการ configure routing protocol EIGRP
Router(config)# router eigrp 100

เมื่อ 100 คือ Autonomous-System-Number (AS number) ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อทำการ configure หรือ enable routing protocol eigrp บน Cisco router แล้วเราจำเป็นที่จะต้องใส่หมายเลข AS number ต่อท้าย command router eigrp ด้วยทุกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (เรื่อง AS number นี้เป็นประเด็นที่จะอธิบายเทียบกับ process id ของ OSPF ในภายหลังครับ)

การ enable หรือการ configure routing protocol OSPF
Router(config)# router ospf 200

เมื่อ 200 คือ process id ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อทำการ configure หรือ enable routing protocol ospf บน Cisco router แล้วเราจำเป็นที่จะต้องใส่หมายเลข process id ต่อท้าย command router ospf ด้วยทุกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

OSPF process id กับ EIGRP AS number ต่างกันยังไง?

1. OSPF process id
จากที่ได้เคยกล่าวมาแล้วในหัวข้อ "OSPFprocess id บน Cisco router ตอนที่ 1: ตอน 1 router 1 OSPF process id" ซึ่งผมจะขอกล่าวโดยสรุปดังนี้ครับ (ถ้าต้องการดูรายละเอียดให้ไปดูหัวข้อดังกล่าวนะครับ)
OSPF process id เป็นหมายเลข process ที่มีไว้ใช้ในตัวเอง โดย router 1 ตัวสามารถมีได้หลาย OSPF process id (เปรียบเทียบได้กับ processes id บน computer ที่เราใช้งานอยู่ครับ) ซึ่ง process id เหล่านี้จะไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการ update หรือแลกเปลี่ยน routing information กันนะครับ ดังนั้นหาก router 2 ตัวที่ต่อกันอยู่มีการ configure OSPF process id คนละค่ากัน ก็จะยังคงสามารถใช้งานได้เป็นปกตินะครับ คือ router ยังคงสามารถแลกเปลี่ยน routing information กันได้อยู่ แม้ process id ไม่ตรงกันก็ตาม (สำหรับการอธิบายในตอนนี้ ผมขอให้นึกเป็น router 1 ตัว run OSPF process id เดียวก่อนนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย ส่วนเรื่อง router 1 ตัว run 2 OSPF process id จะอยู่ตอนท้ายๆ ครับ)
หมายเหตุ routing information คือ IP subnet ต่างๆ ที่มีใช้กันอยู่ใน network

ตัวอย่างของ OSPF process id ดูได้ดังภาพข้างล่างครับ
(ให้คลิก mouse ที่ภาพ และขยาย Window ให้เต็มจอ จะเห็นได้ชัดครับ)




2. EIGRP AS number
EIGRP AS number เป็นกลุ่ม หรือขอบเขตของการ update routing information (ของ routing protocol eigrp) ที่อยู่ภายใน Autonomous-System เดียวกัน
หรือกล่าวอีกอย่าง คือ EIGRP จะเป็น routing protocol ที่มีการอ้างถึงความเป็นพวกเดียวกัน หรือการอยู่ในกลุ่มเดียวกัน (อยู่ใน Autonomous-System เดียวกัน) โดยมีเงื่อนไขว่า

- หาก router ใดๆ ที่อยู่ใน AS number เดียวกัน จะมีการแลกเปลี่ยน routing information กัน (เนื่องจากการแลกเปลี่ยน routing information กันจะมีการส่ง AS number ที่ตัวเองสังกัดอยู่ออกไปด้วย)
- หาก router ใดๆ อยู่คนละ AS number แล้ว router เหล่านั้นจะไม่มีการแลกเปลี่ยน routing information กัน

รูปข้างล่างเป็นการแสดงตัวอย่างของการ enable routing protocol EIGRP AS 100 บน router R1, R2 และ R3



จากรูปข้างบน จะเห็นได้ว่า router ทั้งสามตัว (R1, R2, และ R3) มีการใช้ command ที่เหมือนกัน คือ router eigrp 100 ซึ่งนั่นก็หมายความว่า router ทั้งสามตัวอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรืออยู่ใน AS เดียวกันนั่นเอง (มีการใช้ AS number ที่เหมือนกัน นั่นคือ AS 100)

ซึ่งถ้าหาก router R1, R2 หรือ R3 ตัวใดตัวหนึ่งมีการ configure ค่า AS number ค่าใดๆ ที่ไม่ใช่ 100 แล้ว การแลกเปลี่ยน routing information ก็จะไม่สมบูรณ์ (คือจะไม่ได้ผลการ show ip route ดังภาพข้างบนนั่นเอง)

สรุปจากที่กล่าวมาทั้งหมดได้ว่า (ให้นึกถึง router สองตัวกำลังต่อกันอยู่)
- OSPF process id (เป็นหมายเลขที่ตามหลังคำสั่ง router ospf) ระหว่าง router ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
- EIGRP AS number (เป็นหมายเลขที่ตามหลังคำสั่ง router eigrp) ระหว่าง router จะต้องเหมือนกัน

เอาล่ะครับ สำหรับตอนนี้ขอพอแค่นี้ก่อนครับ สำหรับตอนที่ 3 ตั้งใจว่าจะกล่าวถึงการ configure routing protocol OSPF กับ EIGRP ใน network เดียวกัน เพื่อนำไปอ้างอิงในตอนที่ 4 และในตอนที่ 4 ก็จะกล่าวถึง High Light ของเรา คือ router 1 ตัว run OSPF process id 2 process id ครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์



Create Date : 19 มิถุนายน 2554
Last Update : 20 มกราคม 2559 0:38:39 น.
Counter : 11454 Pageviews.

5 comments
  
เขียนบล็อกได้ดีมากเลยครับ
payday laons
โดย: lavenderbreeze999 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2554 เวลา:12:02:14 น.
  
ขอบคุณพี่โก้มากครับสำหรับความรู้ดีๆแบบนี้ ผมก็อยากเก่งเหมือนพี่บ้างจังครับ ผมก็จะพยายามหาความรู้และทำมันให้เต็มที่ครับ ผมขอเป็นกำลังใจให้พี่ด้วยนะครับ สู้ๆคับ ^_^
โดย: Show-AoF IP: 61.90.71.4 วันที่: 28 ธันวาคม 2554 เวลา:21:33:28 น.
  
@น้อง Show-AoF
ขอบคุณมากๆ ครับ กำลังใจสำคัญมากครับ มันเป็นแรงให้ผมอยากจะขับเคลื่อนบทความต่อไปครับ แต่ขอเวลาสักนิดนะครับ ขอเคลียร์ตัวเองนิดนึง (re-cer) คิดว่าจะพยายามสอบให้เสร็จภายในมกราคม แล้วเริ่มเขียนบทความดีๆ ต่อไปครับ

ปล. พี่มั่นใจว่าน้องต้องเก่งกว่าพี่แน่นอนครับ ทำไมเหรอครับ น้องยังอายุน้อย (ตอนนี้พี่ 37 แล้ว) และตอนนี้ Internet boom มาก ข้อมูลหาได้มากมาย (แต่ต้องฝึกภาษาสักนิดนะครับ) ถ้าน้องมุ่งมั่นเหมือนพี่ น้องต้องทำได้ครับ อย่าทิ้งความฝัน และความมุ่งมั่นนะครับ ไม่มีอะไรยากครับ กัดมัน อย่าปล่อย (แต่อย่ากัดจนตัวเองป่วยล่ะ)

ขอให้น้องประสบความสำเร็จ และขอให้เก่งกว่าพี่นะ ยินดีจริงๆ ครับที่มีเพื่อนร่วมอุดมการณ์

พี่โก้
โดย: kochaiwat วันที่: 29 ธันวาคม 2554 เวลา:19:06:29 น.
  
ผมสงสัยว่า หาก R1 มีการรัน routing แบบ EIGRP และ R3 เป็น OSFP จะทำยังไงให้เร้าเตอร์ R1 R3 ติดต่อกันได้โดยไม่ต้องแก้ config เร้าเตอร์ใหม่ ให้มีการรัน routing เหมือนกัน ผมยังสงสัยในข้อนี้อยู่ครับ

อ้างอิงจากตอนที่ 3............................

แน่นอนครับวิธีที่ดูเหมือนง่ายที่สุดก็คือ ทำให้ network ทั้งสอง network ใช้ routing protocol แบบเดียวกัน (จะเลือกใช้ routing ตัวไหนก็แล้วแต่ความเหมาะสมครับ) แต่ลองนึกดูว่าถ้า network ทั้งสองเป็น network ที่มีขนาดใหญ่ และมีกระจายไปตามต่างจังหวัด ถ้าอย่างนี้วิธีที่ทำให้ network ทั้งหมดใช้ routing protocol เดียวกันนั้นค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลาในการทำ และอาจจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อ configure router ที่อยู่ต่างจังหวัด (หรืออาจจะ remote ได้)

แล้ววิธีไหนล่ะที่เหมาะสม?

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ไม่ต้องไปแก้ routing protocol ของ network ทั้งสองให้เหมือนกันก็ได้ครับ แต่ให้ใช้ command redistribute บน router ตัวกลางที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสอง routing protocol แทนครับ เช่น configure บน R2 ซึ่ง command นี้จะทำให้ router ตัวกลางดังกล่าวทำการ update routing หรือ subnet ข้าม routing protocol กันได้ ท้ายสุด router ทุกตัวก็จะรู้จัก subnet ที่มีอยู่ใน network ทั้งหมด
โดย: AToM IP: 171.98.105.192 วันที่: 5 ตุลาคม 2557 เวลา:20:01:47 น.
  
ขอบคุณครับอาจารย์ ที่มอบความรู้ดีๆให้กับหลายๆคนที่สนใจในทางด้าน Network ครับ
โดย: Apiwat IP: 159.192.219.169 วันที่: 24 มิถุนายน 2562 เวลา:17:38:28 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Likecisco.BlogGang.com

kochaiwat
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]

บทความทั้งหมด