◐◑↔นกแสก บินมายืนรอหน้าวัดตอนเช้า


เครดิตภาพเฮดบล็อก..เรือนเรไร
เครดิตภาพไลน์..ญามี่
เครดิตภาพไอคอน โดย oranuch_sri
* สีแต่งบล็อก..โดย Zairill
กรอบแต่งบล็อก..โดย  goffymew

นกแสก ของบล็อกนี้มาจาก... คือว่าผมเป็นแปนเพจติดตาม พระอาจารย์รูปหนึ่ง ที่ท่านไปประจำอยู่ที่นราธิวาส ... ท่านชื่อว่า พระอำพล


และเมื่อสามวันก่อนหากผมจำไม่ผิด ท่านบอกว่ากำลังจะออกจากวัดเพื่อไปบิณฑบาต ก็ต้องจังงังอย่างจังกับเจ้านกแสก



เครดิตภาพ เพจ พอจ


ผมเห็นว่าแปลก ประกอบกับผมเองก็ไม่เคยเห็นตัวเป็นของนกชนิดมาก่อน

เลยเก็บลิ้งเพจของท่านพระอาจารย์ เรื่องนกแสกไว้

เพื่อว่าจะนำมาเล่าต่อ..ให้คนที่สนใจเรื่องนก...ว่านกแแสก หน้าตามันเป็นแบบนี้...ครับ




เครดิตภาพ เพจ พอจ


ด้วยความไม่เคยรู้เรื่องของนกแสก ผมเลยต้องไปค้นหา เรื่องราของนกแสกจาก เวบ วิกิพีเดีย  ...



เครดิตภาพ เพจ พอจ


นกแสก หรือ นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง (อังกฤษ: Barn owl, Common barn owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในวงศ์นกแสก (Tytonidae) วงศ์ย่อย Tytoninae

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tyto alba จัดเป็น 1 ชนิดในจำนวน 19 ชนิดของนกในอันดับนกเค้าแมวที่พบได้ในประเทศไทย และนับเป็นนกแสกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 1 ชนิดนั้นคือ นกแสกแดง)


134


ลักษณะ

นกแสก มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปหัวใจ ตาใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของหัว คอสั้น ปีกยาว หางค่อนข้างสั้น ขาและนิ้วแข็งแรง มีขนปกคลุมแข้งเกือบถึงนิ้ว ปลายนิ้วเป็นกรงเล็บ โดยกรงเล็บของนิ้วที่ 3 มีลักษณะหยักคล้ายซี่หวีทางด้านขอบด้านใน ทั้ง 2 เพศมีลักษณะเหมือนกัน แต่เพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย สีทางด้านล่างลำตัวและใต้ปีกเป็นสีน้ำตาลอ่อนเกือบเป็นสีขาว มีจุดลักษณะกลมรีสีน้ำตาล หรือสีเทากระจายอยู่ทั่วไป ทางด้านบนลำตัวและขนปกคลุมปีกสีเหลืองทอง มีจุดสีน้ำตาลเข้มกระจายอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกัน บริเวณใบหน้ามีสีขาว ไม่มีจุดใด ๆ มีขนสีน้ำตาลเข้มเป็นขอบอยู่รอบนอก ม่านตาสีดำ ใบหน้าเป็นสีขาว ปากเรียว แหลม และจะงอยปากเป็นปากขอ

ขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 1 ฟุต

137

การกระจายพันธุ์
นกแสกนับได้ว่าเป็นนกที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมาก โดยพบได้แทบทุกมุมโลก ยกเว้นในทวีปอเมริกาเหนือในส่วนของรัฐอะแลสกาและประเทศแคนาดา บางส่วนของทวีปแอฟริกาทางตอนเหนือ และทวีปเอเชียในส่วนของภูมิภาคเอเชียเหนือ, เอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเท่านั้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ในทุกภาค จึงทำให้นกแสกมีชนิดย่อยมากมายถึง 32 ชนิดย่อยด้วยกัน[2] เช่น T. a. alba พบในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์, T. a. javanica พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น


134
ความเชื่อและความสัมพันธ์กับมนุษย์

นกแสกนับว่าเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่อาจนับได้ว่าใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด ด้วยความที่มีถิ่นอาศัยใกล้หรืออยู่ในชุมชนของมนุษย์ จึงทำให้มีความเชื่อในบางวัฒนธรรมว่า เป็นนกที่ส่งสัญญาณเตือนถึงความตาย เช่น ในความเชื่อของไทย เชื่อว่า หากนกแสกบินข้ามหลังคาบ้านผู้ใดหรือไปเกาะที่หลังคาบ้านใคร หรือส่งเสียงร้องด้วย จะต้องมีบุคคลในที่แห่งนั้นถึงแก่ความตาย จึงทำให้เชื่อกันว่าเป็นนกผีหรือนกปีศาจ

ซึ่งในเรื่องนี้ ได้ปรากฏเป็นข่าวครึกโครมผ่านหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ว่าที่วัดแห่งหนึ่งที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านและพระที่จำวัด ณ วัดแห่งนั้น เชื่อว่าเมื่อใดที่นกแสกที่วัดส่งเสียงร้องดัง หรือเสียงแปลก ๆ จะมีคนตายส่งมาฌาปนกิจเสมอ โดยในช่วงเวลาที่เป็นข่าวก็มีคนตายไปแล้วถึง 6 คนด้วยกัน

แต่สำหรับในบางพื้นที่เช่นที่ จังหวัดชุมพร เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันได้ใช้นกแสกในการกำจัดศัตรูพืช คือ หนู โดยเฉพาะหนูท้องขาว โดยจะปลูกรังให้นกแสกอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่สวน ปรากฏว่านกแสกสามารถกำจัดหนูท้องขาวได้ดีกว่าการใช้ยาเบื่อหรือวิธีการทางธรรมชาติใด ๆ ทั้งมวล


138
เครดิตบทความ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



Create Date : 08 มิถุนายน 2563
Last Update : 8 มิถุนายน 2563 8:16:36 น.
Counter : 1908 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Knowledge-dd.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 4149951
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]

บทความทั้งหมด