สร้างบ้านเผื่อต้านทานแผ่นดินไหว บ้านสูงไม่ถึง ๑๕ เมตร ไม่ต้องออกแบบเผื่อการเกิดแผ่นดินไหว ท่านที่กำลังปลูกสร้างบ้านในเขต กทม. และปริมณทล อาจจะปรับปรุงโครงสร้างให้รองรับแผ่นดินไหวได้ โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายอีกเพียงเล็กน้อย เหล็กเสริมหลัก ณ จุดต่อระหว่างเสาและคาน เหล็กเสริมของเสาและคานในระยะห่างจากขอบคอนกรีตระยะสองเท่าความลึกคาน เช่นคานลึก ๔๐ ซม. ก็ถือระยะ ๘๐ ซม. โดยในระยะนี้ ห้ามไม่ให้ต่อเหล็กเสริม ไม่ว่าจะโดยวิธีใด ปลายเหล็กเสริมหลักของคานหรือเสา ที่มาสิ้นสุดที่จุดนี้ ปลายเหล็กต้องมีระยะฝังในคอนกรีตเสาหรือคานไม่น้อยกว่า ๕๐ เท่าเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กกลม (๖๐ ซม. สำหรับเหล็ก ๑๒ มม.) หรือ ๒๕ เท่าของเหล็กข้ออ้อย (๓๐ ซม. สำหรับ DB12) เหล็กปลอกให้เพิ่มเป็นสองเท่าของเหล็กปลอกตามแบบ โดยเหล็กปลอกวงแรก ห้ามห่างขอบรอยต่อเกิน ๕ ซม. ระยะเพิ่มเหล็กปลอกเป็นสองเท่านี้ ยาวไปถึงระยะ ๘๐ ซม. จากขอบรอยต่อคานและเสา ซึ่งเพิ่มเหล็กปลอกไม่กี่ตัว และเหล็กปลอก ควรดัดเหล็กเหลือปลายไม่น้อยกว่าหกเท่าของ ศก. เหล็ก เช่นปลอกหก มม. ดัดเหล็กเหลือปลายยาวจากจุดงอ ๓๖ มม. (อันนี้ผู้รับเหมาไม่ชอบ บ่นว่าผูกยาก จะขอเงินเพิ่ม) เหล็กเสา ห้ามใส่มากกว่าร้อยละหก จากเดิมให้ร้อยละแปด ถ้าจำเป็นให้เพิ่มขนาดเสาแทน และให้ต่อเหล็กเสริมบริเวณกลางต้น วัตถุประสงค์คือ ให้รอยต่อได้ใช้ความเหนียวของเหล็กเสริม และให้เหล็กปลอกช่วยรัดคอนกรีตภายในไม่ให้แตกเร็ว ซึ่งจะทำให้เหล็กเสริมหมดสมรรถภาพเร็วไป ในกรณีเกิดแผ่นดินไหว ระยะต่างๆ ได้กะประมาณเคร่าๆ และเผื่อทำงานห่วยไว้แล้ว หากคำนวณจริงจัง จะประหยัดกว่านี้ แต่บ้านแค่สองชั้น ค่าจ้างคำนวณแรงแผ่นดินไหว แพงกว่าค่าเหล็กที่จะประหยัดได้ |
บทความทั้งหมด
|