|
|
หญ้าดอกขาว
... หญ้าดอกขาว ...
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyanthillium cinereum (L.) H.Rob. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cacalia cinerea (L.) Kuntze, Conyza cinerea L., Vernonia cinerea (L.) Less.)
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ : Little ironweed, Ash-coloured fleabane, Ash-coloured ironweed, Purple fleabane, Purple-flowered fleabane
ชื่ออื่นๆ : หญ้าละออง หญ้าดอกขาว หญ้าหมอน้อย หมอน้อย (กรุงเทพฯ), หญ้าสามวัน (เชียงใหม่), เสือสามขา (ตราด),ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก (เลย), ก้านธูป ต้นก้านธูป (จันทบุรี), หนาดหนา (ชัยภูมิ), เซียวซัวโห้ว เซียหั่งเช่า (จีนแต้จิ๋ว), เย่เซียงหนิว เซียวซานหู่ เซียวซัวเฮา ซางหางฉ่าว (จีนกลาง), ผ้ำสามวัน, ม่านพระอินทร์, ยาไม่ต้องย่าง | |
| |
" ลักษณะทั่วไปของต้นหญ้าดอกขาว" ต้นหญ้าดอกขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุได้ประมาณ 1-5 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 20-80 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านน้อย กิ่งและก้านเรียว มีลักษณะเป็นร่องและมีขนสีเทาขึ้นปกคลุม มีลายเส้นนูนขึ้นตามข้อ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี พบได้ทั่วไปตามสนามหญ้า ที่รกร้าง ชายป่า ริมทาง ข้างถนน และตามทุ่งนา ต้นหญ้าดอกขาว จัดเป็นพืชในเขตร้อนที่พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ใบหญ้าดอกขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน รูปแถบ หรือรูปใบหอก ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักหรือจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตร หลังใบมีเส้นใบชัดเจน มีสีเขียวเข้ม มีขนทั้งสองด้าน ใบที่บริเวณโคนต้นมีขนาดใหญ่กว่าใบที่อยู่ปลายยอด
ดอกหญ้าดอกขาว ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 20 ดอก ดอกออกรวมกันเป็นช่อแยกแขนง รูปคล้ายช่อเชิงหลั่น กว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-35 เซนติเมตร มีใบประดับลักษณะเป็นรูปคล้ายระฆัง 4 ชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะของดอกย่อยเป็นหลอดยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกเป็นสีม่วงอ่อนอมสีแดง สีม่วง หรือสีชมพู
สีของกลีบดอก จากที่เคยเป็นสีชมพูเข้มหรือม่วง เมื่อดอกบานเต็มที่ กลีบดอกที่เป็นสีชมพูหรือม่วงด้านบนสุดจะค่อยๆหลุดร่วงออก และสีดอกจะจางลงเรื่อยๆ พอดอกแก่และกลีบที่เป็นสีชมพูหรือม่วงหลุดร่วงออกจนหมดแล้ว จะเหลือเพียงกลีบดอกบางๆเป็นเส้นเล็กๆสีขาวหนาแน่นในกลีบเลี้ยงแทน
เมื่อกลีบดอกเริ่มร่วงโรยแล้ว กลีบดอกจะค่อยๆแตกกระจายออก และหลุดร่วงจากกลีบเลี้ยงไปเรื่อยๆ ปลิวไปตามลมจนหมด จนเหลือเพียงแค่กลีบเลี้ยงที่โรยจนกลายเป็นสีน้ำตาล ผลเป็นรูปทรงกระบอกมีกลีบดอกสีขาวติดอยู่ด้วย เมื่อลมพัดไปก็ปลิวไปตามที่ต่างๆ เมื่อได้สภาวะที่เหมาะสม ก็จะงอกขึ้นใหม่อีกมากมาย
... สรรพคุณทางยาสมุนไพรของหญ้าดอกขาว ... หญ้าดอกขาว หรือชื่อที่นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า หญ้าหมอน้อย จัดเป็นวัชพืชชั้นดี มีสรรพคุณรักษาโรคได้ เช่น แก้ไข้ ไข้ทับระดู ไข้หวัด ไข้มาลาเรีย ไอ เจ็บคอ หอบ และสามารถใช้รักษาอาการปวดได้ เช่น ปวดท้องโรคกระเพาะ ปวดเมื่อย ปวดข้อ หญ้าดอกขาวมีข้อเสียนิดหน่อย คือกินแล้วคอแห้ง มีผลคือทำให้ไม่อยากข้าว จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการตัวช่วยควบคุมน้ำหนัก และจากงานวิจัยได้มีการศึกษานำร่อง โดยทีมวิจัย รศ.ดร.ภก.ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ ในกลุ่มคนที่ติดบุหรี่ สามารถช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ ตามระยะเวลาที่ใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และสิ่งสำคัญที่อาจเป็นคำตอบของสมุนไพรหญ้าดอกขาว ในการช่วยเลิกบุหรี่คือ ในสารสกัดหยาบจากใบและดอกที่ได้จากการเคี่ยวมีสารสำคัญคือ นิโคติน (nicotine) ในปริมาณต่ำ ดังนั้นในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ที่ค่อยๆ เลิกบุหรี่ได้ โดยไม่มีอาการข้างเคียงนั้น อาจเป็นผลมาจากมีการทดแทนของสารนิโคตินในกระแสเลือดไม่ให้ขาดหายไปทันที
ด้านสารออกฤทธิ์ พบว่าในแต่ละส่วนของหญ้าดอกขาวมีสารสำคัญที่แตกต่างกัน โดยที่โดดเด่นคือ ใบ จะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยรวม (total antixidant capacity) ที่สูงที่สุด โดยมีสารประเภทฟีนอลิก (total phenolics) และสารกลุ่ม Catechin, Flavonoid, Isoflavone เมื่อเปรียบเทียบกับดอก และก้านสำหรับในเรื่องของความปลอดภัย ได้มีการศึกษาความปลอดภัยแล้วพบว่าหญ้าดอกขาวเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงชนิดหนึ่ง หลายๆแห่งได้มีการพัฒนาทำหญ้าดอกขาวในรูปแบบชาชงให้สามารถใช้ประโยชน์กันได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ชาชงหญ้าดอกขาวถูกบรรจุอยู่ในยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2555
สำหรับวิธีการใช้ประโยชน์จากเจ้าหญ้าดอกขาวขอแนะนำดังนี้ ยาลดอาการอยากบุหรี่ : หญ้าดอกขาวทั้งห้า 2-3 ต้น ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มเดือดนาน 10 นาทีแล้วกินบ่อยๆ หรือใช้ในรูปแบบของชาชงขนาด 3 กรัม วันละ 3 ครั้ง (หลังอาหารทันที) ยารักษาแผลเบาหวาน : หญ้าดอกขาวทั้งต้นและราก 1-2 กำมือ ต้มกับน้ำ 6-8 แก้ว เมื่อยาเดือดปล่อยให้เดือดกรุ่นไปสัก 5-10 นาที ได้น้ำยาสีเหลืองแบบชา หรือจะตากแห้งต้มหรือชงกินต่างน้ำก็ได้ ยาแก้ปวดข้อเข่า ปวดหลัง : หญ้าดอกขาวต้มกิน เช่นเดียวกับแผลเบาหวาน ยาแก้เหน็บชา แขนขาไม่มีแรง : หญ้าดอกขาวทั้ง 5 กิ่งก้านใบทองพันชั่ง ต้มกินแทนน้ำชายาหลอดลมอักเสบ ลำคอมีเสมหะมาก : หญ้าดอกขาวทั้ง 5 ต้มกิน
หมายเหตุ : หญ้าดอกขาวเป็นชื่อที่พ้องกับพืชหลายชนิดทั้งที่อยู่คนละวงศ์ เช่น กระดุมเงิน (Eriocaulon henryanum Ruhland), หญ้ายอนหู (Leptochloa chinensis (L.) Nees), หรือใช้เรียกพืชชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เช่น สาบเสือ (Eupatorium odoratum L.) ดังนั้นการใช้ชื้อ หญ้าดอกขาว ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน โดยต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์กำกับไว้อยู่เสมอ เพราะจากการทบทวนเอกสารข้อมูลการวิจัยส่วนใหญ่จะใช้ชื่อว่า หญ้าดอกขาว แทน หญ้าหมอน้อย มากกว่า
| ... ขอบคุณข้อมูลหญ้าดอกขาว
//www.thairath.co.th/content/653521
https://medthai.com/หญ้าดอกขาว/
https://health.kapook.com/view72457.html
//www.dailynews.co.th/politics/540852
//www.thairath.co.th/content/474043 |
|
Jitigan77.BlogGang.com
NENE77
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [ ?]
|
|
|
|
| |
มาอ่านบล็อกนี้ มีชื่ออื่น ๆ เยอะมากกก แล้วดอกก็สีชมพู้ ชมพู กลับเรียก หญ้าดอกขาว???
อิจฉาชีวิตตอนเด็ก ๆ เนอะ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ ของกินเต็มบ้าน
อยากกินอะไรก็หากินเองในบ้าน ก็เล่นปลูกเองซะแทบทุกอย่าง แถมยังมียายทวดกับยายเป็นเชฟมือหนึ่ง อิอิ
มะพร้าวอ่อนแถวบ้านเรา ขายลูกละ 35 ... 3 ใบ 100 ยังพอหาได้อยู่
เลี้ยง วัว ควาย เป็ด ไก่ ปลา
(หมากับแมวนี่ไม่นับนะเพราะกินไม่ได้ กร๊ากๆๆๆ)
เฮ้ย ... สมัยนี้เปลี่ยนไปแล้ว
วันก่อนยังมีคดีจับหมาเพื่อนบ้านมากินอยู่เลย แหวะ