ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร?

1. ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร?

ความคิดสร้างสรรค์ คือ สมรรถภาพทางสมองที่คิดได้หลายทิศทาง(DivergentThinking) ซึ่งแนวคิดนี้ได้เริ่มมาจากนักจิตวิทยาชาวอเมริกันGuilford(1967) ซึ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ คือ

1) ความคิดคล่องตัว(fluency)

หมายถึง การคิดได้อย่างรวดเร็วโดยเน้นในเชิงปริมาณ คือ จำนวนความคิดที่ไม่ซ้ำกันต่อเรื่องเดียวกัน ซึ่งการคิดคล่องแคล่วนี้ต้องอาศัยความสามารถของสมองในการวิเคราะห์การตีความ การคาดคะเน และการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมาความคิดคล่องแคล่ว แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท

1.1) ด้านการใช้ถ้อยคำ (Word Fluency)

เป็นความสามารถในการบอกคำที่ประกอบด้วยพยัญชนะที่กำหนดให้

วิธีฝึกให้เกิดความคิดคล่องแคล่วด้านการใช้ถ้อยคำได้แก่

- การเล่นผสมคำ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษคุณพ่อคุณแม่อาจจะปริ๊นซ์หรือเขียนตัวอักษรลงในกระดาษแต่ละแผ่น(ถ้าเป็นภาษาไทยก็มีสระและวรรณยุกต์ด้วย) แล้วนำมาให้ลูกลองประสมคำอาจจะเริ่มจากจำนวนตัวน้อยๆ ก่อนทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ว่าลูกรู้จักคำศัพท์มากน้อยแค่ไหนด้วย ไม่งั้นเด็กๆอาจจะท้อและงอแงไม่ยอมเล่นได้ค่ะ เช่น

เด็กวัยอนุบาลจะรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษง่ายยกตัวอย่างเช่น

ant,boy, bird, cat, car, dog, egg, fish, hat และ man

คุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มจากการนำตัวอักษรa,c, n, r, t

จากนั้นค่อยๆเพิ่มตัวอักษรขึ้นเป็น a, b, c, o, n, r, t, y

แต่อย่าลืมนะคะว่าตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ลูกรู้จักเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กเดี๋ยวลูกๆ จะงงเอานะคะ เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มจำตัวพิมพ์ใหญ่ได้ก่อน แต่ว่าข้อสอบ(กลางของกลุ่มโรงเรียนเอกชน) จะเป็นตัวพิมพ์เล็กนะคะ

- การเล่นครอสเวิร์ด เป็นการฝึกคำศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นการเล่นที่มีกติกาเป็นสากลอยู่แล้ว

- เขียนคำที่ลงท้ายด้วยตัวอักษรที่กำหนดให้

ภาษาไทยเช่น

คำที่ลงท้ายด้วย“น้ำ” ได้แก่ ลูกน้ำ ม้าน้ำ แม่น้ำ ต้นน้ำ คูน้ำ

คำที่ลงท้ายด้วย“ใจ” ได้แก่ ดีใจ ตกใจ เสียใจ บาดใจ ภูมิใจ

ภาษาอังกฤษเช่น

คำที่ลงท้ายด้วย“er”ได้แก่ singer, danger, younger, border, cheaper, shorter,etc.

คำที่ลงท้ายด้วย“fy”ได้แก่ simplify, classify, justify, satisfy, verify, etc.

- เขียนคำที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่กำหนดให้

ภาษาไทยเช่น

คำที่ขึ้นต้นด้วย“ต้น” ได้แก่ ต้นน้ำ ต้นตอ ต้นแขน ต้นไม้

คำที่ขึ้นต้นด้วย“หัว” ได้แก่ หัวเข่า หัวไหล่ หัวใจ หัวเราะ หัวมัน

ภาษาอังกฤษเช่น

คำที่ขึ้นต้นด้วย“en” ได้แก่ enable, engineer, encourage, ensure, entertain, etc.

คำที่ขึ้นต้นด้วย“dis” ได้แก่ disable, dislike, disagree, disrupt, distance, discuss,etc.

1.2) ด้านการหาความสัมพันธ์ (Association Fluency)

เป็นความสามารถในการบอกคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือการจับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กันการฝึกความคิดในการบอกคำที่มีความหมายเหมือนกันอาจจะยังยากสำหรับเด็กเพราะคำศัพท์ที่เด็กรู้อาจจะยังไม่มากพอ แต่การอาจจะใช้การเล่นจับคู่แทน ไม่ว่าจะเป็นจับคู่รูปภาพที่เหมือนกันจับคู่ของที่ใช้ด้วยกัน เช่น ช้อน-ส้อม ถุงเท้า-รองเท้า จับคู่ภาพกับเงาจับคู่สิ่งของที่มีรูปร่างเหมือนกัน

1.3) ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)

เป็นความสามารถในการสร้างประโยคจากคำที่กำหนดให้เติมคำในช่องว่างโดยให้ความหมายของประโยคเหมือนเดิม หรือเขียนประโยคที่มีคำ 4คำ ด้วยตัวอักษรเริ่มต้นที่กำหนดให้ อันนี้อาจจะยังยากไปสำหรับเด็กวัยอนุบาลแต่ถ้าเป็นเด็กประถม คุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มสอนได้ค่ะ เพราะสิ่งสำคัญคือเด็กต้องรู้จักคำศัพท์เยอะพอสมควร อาจเริ่มจากการแต่งประโยคที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่กำหนดให้4 คำ เช่น คำที่ขึ้นต้นด้วย ต น ก ด

อาจจะแต่งประโยคได้เป็น“เด็กนอนกอดต้นไม้”

หรือ“น้องดีดแก้วแตก”

แค่คำ 4คำก็สามารถแต่งเป็นประโยคได้หลายความหมาย

คุณพ่อคุณแม่ก็ลองคิดเล่นๆ ดูนะคะ

แต่ถ้าลูกคิดไม่ออกหรือรู้สึกยากเกินไป ไม่อยากทำ คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าบังคับให้ลูกคิดนะคะ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกกดดันควรจะเป็นการชวนเล่นด้วยกันมากกว่า ถ้าลูกไม่อยากคิดแล้วก็ลองเปลี่ยนกิจกรรมไปทำในสิ่งที่เค้าอยากทำดีกว่าค่ะ

1.4) ด้านการคิดคล่อง (Ideational Fluency)

เป็นความสามารถในการคิดตามเงื่อนไขที่กำหนดสามารถบอกชื่อสิ่งของที่มีคุณสมบัติเหมือนกันได้ หรือการเขียนคำหรือความคิดที่เป็นไปได้เกี่ยวกับหัวข้อที่กำหนดให้คุณพ่อคุณแม่อาจจะลองยกตัวอย่างหรือใบ้เกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ ให้ลูกฟังก่อน เช่น

ลองให้ลูกดูรูปทะเลแล้วถามว่า“ในทะเลจะมีอะไรอยู่บ้าง?”

หรือจะลองตั้งเป็น 2เงื่อนไขซึ่งจะยากขึ้นไปอีกนิด เช่น ให้บอกชื่อสิ่งของที่สามารถกินได้และมีสีขาวคุณพ่อคุณแม่อาจจะบอกว่า “อะไรน้าที่เป็นแผ่นสี่เหลี่ยม เวลาหนูกินชอบใส่แยมด้วย”

คำตอบคือ“ขนมปัง” หรือจะลองปล่อยให้ลูกๆ คิดดูก็ได้ค่ะ ยังมีอีกหลายอย่างที่เป็นสีขาวและกินได้เช่น ข้าว ไข่ขาว ปลาหมึก เต้าหู้ ลูกชิ้น หลังจากการถามคำถามนี้แล้วถ้าคุณพ่อคุณแม่เจอคำตอบใหม่ๆ ในแต่ละวันอาจจะชี้ชวนให้ลูกรู้จักเพิ่มเติมก็ได้ค่ะ

2) ความคิดริเริ่ม(originality)

หมายถึง ความสามารถในการคิดที่โดดเด่นแปลกใหม่ไม่ซ้ำกับใคร เช่น ความสามารถในการเขียนชื่อเรื่องจากเนื้อหาที่กำหนดให้การกำหนดสัญลักษณ์แทนสิ่งของหรือการกระทำหรือความสามารถในการคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งความสามารถด้านนี้ต้องอาศัยประสบการณ์และทักษะในหลายๆด้าน เพื่อที่จะนำไอเดียจากความรู้แขนงหนึ่งไปประยุกต์ใช้รวมกับความรู้ในแขนงอื่นๆ

3) ความคิดยืดหยุ่น(flexibility)

หมายถึงความสามารถในการคิดได้หลากหลายแนว

ซึ่งแบ่งออกได้เป็น2ชนิด คือ

3.1ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดในทันที (Spontaneous flexibility)

เป็นความสามารถที่จะคิดได้หลายทางภายใต้เงื่อนไขเล็กน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกฝนได้โดยการตั้งคำถามให้ลูกตอบๆ เช่น

“ก้อนหินใช้ทำอะไรได้บ้าง”

คำตอบที่หลากหลายเช่นใช้เล่นหมากเก็บ ใช้ถ่วงน้ำหนัก ใช้เป็นที่ทับกระดาษ

หรือความสามารถในการบอกชื่อสิ่งของเช่น

“อะไรบ้างที่เป็นของเหลว”

คำตอบ เช่น น้ำ นม น้ำปลา ซีอิ๊วแชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำมัน

3.2ความคิดยืดหยุ่นในการดัดแปลง (Adaptive flexibility)

เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หลายแบบ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น เกมส์เรียงไม้ขีดไฟ





Create Date : 21 พฤษภาคม 2555
Last Update : 21 พฤษภาคม 2555 16:24:09 น.
Counter : 4104 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ichimylove.BlogGang.com

love_is_so_beautiful
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]