ปวดหลัง เมื่อไหร่ควรขอหมอ X-ray ปวดหลัง เมื่อไหร่ควรขอหมอ X-ray มีคนไข้ผมหลายๆคนเลย ที่มาหาผมด้วยอาการปวดหลัง หลายคนขอผม X-ray ดู กลัวว่ากระดูกสันหลังจะผิดปกติหรือเปล่า บางคนผมก็ไม่ได้X-rayให้เนื่องจากเห็นว่าไม่จำเป็น ก็จะมีคำถามตามมาทันทีว่า แล้วเมื่อไหร่ละที่ควรจะถ่ายX-ray ก็เลยถือโอกาสนี้อธิบาย หมอกระดูกส่วนใหญ่จะพิจารณาดังนี้ครับ 1.อายุ : ส่วนใหญ่กลุ่มคนวัยทำงานจะมีอาการปวดหลังได้บ่อย เนื่องจากการใช้งานที่มากกว่าปกติและส่วนใหญ่จะไม่ผิ ดปกติ เพียงทานยา หรือนวดยา และพัก อาการก็จะดีขึ้นได้เอง เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้ไม่ต้องถ่ายX-rayครับ แต่ในทางตรงกันข้าม กลุ่มเด็ก(อายุ< 20 ปี) และกลุ่มคนสูงอายุ(อายุ>55 ปี) เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติในกระดูกมากกว่า ทั้ง 2 กลุ่มนี้ควรจะถ่ายX-ray ครับ 2.ตำแหน่งที่ปวด และ อาการร่วม : ส่วนใหญ่ถ้าเราสังเกตดูจะพบว่า คนที่ปวดหลังส่วนใหญ่จะปวดบริเวณบั้นเอวเป็นหลัก เพราะฉะนั้นในกลุ่มคนที่ปวดตำแหน่งอื่นเช่นกลางหลัง( Thoracic level) หรือปวดร้าวลงสะโพกหรือขา หรือมีอาการอ่อนแรง ชา ร่วมด้วย กลุ่มนี้มักจะมีความผิดปกติในกระดูกสันหลัง ควรถ่ายX-ray ครับ 3.ระยะเวลา : ระยะเวลาที่มีอาการปวดก็เป็นอีกปัจจัย ที่สำคัญในการพิจารณา จากการศึกษาพบว่าอาการปวดหลังเฉียบพลัน(Acute low back pain) 80-90% อาการจะดีขึ้นเองใน 2 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นถ้ามีอาการปวดมานานเรื้อรังนานเกิน 3-4 สัปดาห์ หรือไปหาหมอติดตามการรักษาเกิน 2 ครั้งแล้วไม่ดีขึ้น อย่างนี้ควรหาสาเหตุ และถ่ายX-ray ได้แล้วครับ 4.ความรุนแรงของอาการ : ระดับความรุนแรงของอาการเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญครับ ส่วนใหญ่เราจะดูที่การใช้งานและการรบกวนชีวิตประจำวั นเป็นหลัก เช่นถ้าปวดมากจนทำงานไม่ได้ หรือต้องออกจากงานหรือปวดมากจนนอนไม่หลับ หรือตื่นกลางคืนเพราะปวด อย่างนี้ต้องหาสาเหตุแล้วครับ ควรต้องX-rayครับ 5.โรคประจำตัว และยาที่ใช้ประจำ : เป็นปัจจัยที่สำคัญมากครับ เช่นถ้าคุณมีโรคประจำตัวที่สำคัญ เช่นเป็นโรคมะเร็งแต่เคยรักษาหายนานแล้ว ก็ควรถ่ายX-ray นะครับเพราะบางครั้งตัวเนื้องอกเป็นมาใหม่ แล้วกระจายไปที่กระดูกสันหลังได้ หรือกลุ่มที่ติดเชื้อง่ายเช่น เป็นโรคเอดส์, ทานยาสเตียรอยด์ หรือรับยาเคมีบำบัดอยู่ ก็ควรถ่ายX-rayนะครับ เพราะฉะนั้นอย่าอายที่จะบอกหมอ ว่าคุณมีโรคประจำตัวอะไร เพราะประวัติสามารถเปลี่ยนการรักษา และอาจเปลี่ยนชีวิตคุณได้ 6.อาการอื่นๆ : ถ้าคุณมีอาการอื่นๆดังต่อไปนี้ร่วมด้วย เช่นมีไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด ต้องบอกคุณหมอด้วยครับ เพราะแสดงถึงอาจมีโรคร้ายแรงที่กระดูกสันหลังได้ครับ >>>>ทั้งหมดเป็นหลักการพิจารณา อย่างง่ายๆครับ แต่ต้องเข้าใจด้วยนะครับว่าบางครั้งการดูแลรักษาผู้ป ่วยเป็นเรื่องที่ซับซ้อนเกินกว่าจะสรุปได้ในหน้าเดีย ว ถ้าอย่างไร ถ้าพบแพทย์ท่านใด ให้แพทย์ท่านนั้นใช้ดุลยพินิจของท่านอีกครั้งในการพิ จารณาการรักษาครับ กระดูกดี มีความสุข นายแพทย์อาทิตย์ หงส์วานิช หามานานแล้วค่ะ ความรู้แบบไม่ต้องเห็นหน้าเห็นตาเนี่ย
เป็นกระคูกสันหลังตีบแคบมา16ปีแล้ว โดย: แม่จอยค่ะ (majoyka ) วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:12:13:37 น.
|
อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ ..
มาเชียร์ให้เขียนเยอะๆ ช่วย ๆ กัน ..
ประชาชน ผู้ป่วย ญาติ ยิ่งมีความรู้มากขึ้นเท่าไหร่ หมอก็ยิ่งสบายมากขึ้นเท่านั้น