การขายหนังไทยไปต่างประเทศ


เครื่องกำลังร้อนค่ะ และเพื่อให้เข้ากับงานเทศกาลหนังที่เมืองไทย ขอเริ่มกันเลยค่ะ
เทศกาลหนังในความรู้สึกของคนที่ชอบดูหนังคือ งานที่ตัดสินว่าหนังเรื่องไหนดีหรือไม่
ก็ถูกส่วนหนึ่งค่ะ เพราะงานเทศกาลหนังแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนการประกวด และส่วนการตลาดที่มีการซื้อขายหนังกัน ซึ่ง อย่างหลังคือตัวทำเงินให้กับเทศกาลนั้นๆ


เทศกาล เบอร์ลิน ที่ประเทศ เยอรมัน , เทศกาลหนัง เวนิซ ที่ อิตาลี พวกนี้เป็นงานประกวดหนัง
เทศกาลหนัง บูซาน ฟิล์มเฟสติเวล ที่เกาหลี เป็นตลาดที่ มีทั้งประกวดและอื่นๆ
ที่เมืองคานส์ เป็น ทั้งสองอย่างและใหญ่มาก


Busan Film Festival ที่เกาหลี จัดช่วงเดือน ตุลา ถึง พย. ของทุกปี คนทีร่วมงาน หวังหาทุนมาสร้างหนังกัน เพราะที่นั่นมีโครงการ PPP ที่คุณอุ๋ยได้มา ทำเรื่อง อารณ์ อาถรรพ์ อาฆาต หลังๆไม่ทราบแล้วค่ะว่าใครได้ แต่ที่นี่ก็มีการประกวด ตลาดซื้อขายหนัง ด้วยค่ะ แต่ไม่เด่นเท่า การให้ทุนค่ะ

ที่นี่ สุริโยไทไปสร้างความฮือฮา เมื่อ 2 ปีก่อน

American Film Market ที่นี่เน้นการซื้อขายกันเลย จัดที่ ซานตาโมนิก้า ช่วงเดือน กพ. จะเป็นหนัง ที่ เตรียมไปเมืองคานส์ หรือว่าจะเปิดที่เมืองคานส์ จะมีการมา โปรโมทที่ตลาดนี้ และมีหนังสำหรับหนังวีซีดีเยอะ

Mache du film เทศกาลหนังเมืองคานส์ เป็นงานที่ใหญ่ที่สุด ในบรรดาเทศกาลหนังทั้งหมดในโลกนี้ รางวัล ปาล์มทองคำ มีแต่คนหมายปอง 2ปีที่แล้ว หนังเรื่อง สุดเสน่ห์หา ได้รับรางวัลด้วย แต่ทุนสร้างไม่ใช่ของไทย คนกำกับได้รับทุน มาสร้าง

ภาพที่คุ้นตาคือ พรหมแดง ที่มีดารามาเปิดตัวหนังกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ต้องมาเปิด เพราะจะทำให้ขายหนังได้มากกว่าไม่มา ปีที่แล้ว มีเฉินหลง มาโปรโมท 80 วันรอบโลก อ้อ ตอนที่ซานด้า บลูดอก เขาทำหนังเรื่องหนึ่ง เขาก็มาโปรโมท ก็ขายดี ถึงแม้หนังจะไม่ได้เรื่อง เท่าไหร่นัก

หนังที่เทศกาลนี้มักจะเป็นหนังใหญ่ จะมีการยื้อแย่ง เพื่อมาจัดจำหน่ายในเมืองไทยเยอะมาก
ที่นี่ คนไทยเดินในตลาด เหมือนเดินในห้างเลย ตอนของลดราคา 80%

ตอนเย็น จะมีงานเลี้ยง ทุกคืน สนุกมาก ทั้งชายหาด ร้านอาหาร เรืองยอร์ช หรือว่า เรือสำราญใหญ่ๆ

สุดท้ายที่จะพูดถึงคือ Milan Film Mart ที่นี่ เขามักจะขายหนังที่จะเกิน 2 ปีให้หมด เพราะถ้าเลย 2 ปี จะกลายเป็นหนังเก่า ราคา ตก ดังนั้น พวกบริษัท วีดีโอ ทั้งหลาย จะไปกว้านซื้อมากัน


แต่ไม่พูด ถึง ฮ่องกงคงจะเชย เป็นกำเนิดที่คนไทยทำตาม ก็ว่าได้

จัดขึ้นหลังจาก คานส์ ไม่กี่อาทิตย์ อันนี้ ยังไม่โดเด่น ส่วนใหญ่ จะไป เที่ยวกันมากกว่า เพราะว่าให้ ฟรี ที่ฮามากคือ มีบูธ หนังเอ็กซ์ด้วย ฮิอฮากันมาก เพราะที่ตลาด MIFED มีแต่ไม่โจ๋งครึ่ม ขนาดนี้

ที่เมืองไทย ปีที่แล้ว อย่างทำทั้งสอง อย่างแต่ยังไม่เข้าใจรูปแบบ คิดว่า เหมือนงานขายสินค้าทั่วไปเลยให้เปิดบู้ธที่ ถนนสยาม ก็เลยไม่มีการซื้อขายกัน

เทศกาลปีนี้ จัดคล้ายๆที่อเมริกา AFMคือใช้ ห้องในโรงแรม แชงฯ มาเป็นห้องขาย ซึ่งสะดวกดีค่ะ ปีนี้ ยอมรับว่าดีกว่าปีก่อน

และมีการให้รางวัลภาพยนตร์

แต่ปีนี้ดารามาน้อย อาจมาจากส่วนหนึ่งคือ ปีที่แล้ว ที่งานไม่ดี มีแต่คนด่า

ธุรกิจหนังไม่เหมือนธุรกิจอื่น บางทีการคุยกันในวงเหล้า คือการค้าขาย บางทีนั่งคุยกันเรื่อยๆ เป็นปีกว่าจะซื้อขายกัน มีความซับซ้อนมาก

ที่เล่ามาคือภาพรวมของเทศกาลค่ะ



การขายหนัง ทำอย่างไร

การขายหนัง ที่จริงไม่ต่างจากการขายสินค้าอื่นๆเลย แต่ ที่ ต่างกันคือ วิธีการ เท่านั้นเอง

ขั้นตอนคือ

1. ต้องมีหนังอยู่ในมือ
2.รู้ว่าเป็นหนังประเภทไหน
3.หาจุดขายของหนัง
4. ตั้งราคา
5.เงื่อนไขการซื้อขาย อื่น ๆเช่นระยะเวลา ในการได้รับสิทธิ์ และส่วนแบ่งอื่นๆ
6.เตรียมสัญญาการซื้อขาย
7.ศึกษากฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น อินโด ห้าม หนังโป๊
8.ตัวอย่างหนัง ทำสองระบบ PAL กับ NTSC ต้องเป็น วีดีโอเท่านั้นถึงจะดี วีซีดี ไม่ค่อยจะใช้ได้
9.เอกสาร การขาย โบชัวร์ ที่ต้องมี เรื่องย่อ คำโปรย

เท่านี้ ก่อนที่จะมีตัวอื่นตามมา

แล้วเราจะขายใคร

คนที่จะมาซื้อหนังเรานั้น มีหลายกลุ่ม แต่ คนนั้นมักจะคาดหวังว่า ซื้อแล้วต้องเอาไปฉายที่บ้านเขา เพราะว่า บ้านเรา มักเอาหนังเขามาเข้าโรงง่ายๆ

เฮ้ย พูดแล้วยาวอีกแล้ว มาต่อ เมื่อว่างนะคะ แบบว่า ตอนนี้ ยุ่งกับ market นี้มากเลยค่ะ

ไม่ได้มีอะไรขายหรอกค่ะแต่ ไปหาเพื่อนๆ ไปช่วยเขาขายสนุกดี ไปเอางานแปล Sub มาได้หลายงานเหมือนกัน แต่เป็น ไทย อังกฤษนะคะ แต่ไม่ใช่ข้าพเจ้าแปล คนอื่นทำ ความสามารถไม่ถึง

เอาเป็นว่า คราวหน้า เป็นการซื้อหนัง ก็แล้วกันค่ะ แล้วก็ต่อด้วยการจัดจำหน่ายหนังในประเทศ

ก็มาที่การทำหนัง ขั้นตอนการเลือกบทมาทำหนัง การเขียนบทอย่างงัยให้น่าสนใจ ให้ดี

การตัดต่อ การเลือกตัวแสดง


หวังว่าคงยังไม่เบื่อที่จะติดตามกันนะคะ
จะพยายามมาเขียนให้เยอะที่สุดค่ะ และบ่อยที่สุดค่ะ เพราะ อยากให้คนไทยได้รู้เรื่อง ที่หลายคนคิดว่าเป็นแดนสนธยา แล้วจะได้ไม่ต้องโดนฝรั่งมาหลอกเรา

มาต่อที่การขายหนังไทยไปต่างประเทศบ้างดีกว่า

ไม่ใช่ว่าคนไทย จะไปซื้อหนังอย่างเดียวไม่ แต่คนไทยก็เริ่มทำให้หนังไทยเป็นสินค้าส่งออกบ้างเหมือนกัน

ถ้าจำกันได้ หนังไทยเรื่องแรกที่ไปขายต่างประเทศคือเรื่องฟ้าทะลายโจร โดยบริษัท Fortissiomo เป็นตัวแทนในการจัดจำหน่าย ซึ่งขายได้ ราคา 4 แสนเหรียญสหรัฐ ให้กับประเทศญี่ปุ่น และตามมาด้วย บางกอกเดนเจอรัส ถามว่าหนังื้งสองเรื่องขายได้ไหม

ตอบเลยว่าได้ แต่การขายของเขาใช่เป็นการเปิดตลาดหนังไทยสู่ตลาดโลกใช่หรือไม่

คำตอบคือว่าไม่
เพราะหนังทั้งสองเรื่องทำให้คนที่ซื้อหนังไปขาดทุน

ถ้าหากมองกันในแง่ธุรกิจ ถ้าคุณซื้อหนังไปแล้วไม่ได้ทำกำไร คุรยังอยากซื้อต่อไปไหม

แน่นอนพวกคุณคงตอบว่าไม่

เช่นเดียวกัน คนที่ซื้อหนังไทยไป ต่างเข็ดกับหนังไทยในเรื่องต่อๆมาว่าจะเป็นอย่างไร ราคาคงไม่ได้เท่าเดิมแล้ว

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนซื้อหนัง ย่อมระมัดระวังกับการเลือกซื้อหนังไทย

มักมีคำถามว่าหนังเรื่องนี้จะขายได้เหรอ

จากประสบการณ์ที่ได้ไปออกบูธขายหนัง อย่างเป็นทางการบริษัทเดียวในประเทศไทย ที่กล้าพูดเช่นนี้เพราะว่าบริษัทอื่น ไปกับเอเย่นต์ ต่างประเทศ และเรียนรู้กันเอง

แต่ ข้าพเจ้าได้ไปเริ่มขายเอง ที่บูธ คนไทย

อยากจะบอกกับคนไทย ทั้ง กว่า 60ล้านคนว่า หนังไทยยังคงขายได้ในต่างประเทศ ไม่ว่าคุณจะทำหนังอะไรออกมา ขายได้หมด

แต่ปํยหาคืออะไร

ปัญหาคือการยอมรับ คนไทยมักไม่ยอมรับในมูลค่าที่ตลาดตีมา

ไม่แปลกที่เราจะเชิดชูงานของเราว่าเลิศขนาดไหน แต่เราลืมมองไปว่าเราคือใครในสายตาตลาดโลก

เรามักมองตัวเองว่าเป็น หลุย วิคตอง หรือปราด้า ที่เห็นประเทศอื่นขายได้ราคา เราก็อยากได้ราคาอย่างนั้นบ้าง หรือบางทีคิดไปว่าทีเรายังซื้อเขาได้ราคาแพงเลยทำไมเราจะขายราคาอย่างนั้นบ้างไม่ได้

คำตอบคือ ชาสวต่างชาติ มองเราที่เราเป็นหลุย วิคตอง หรือปราด้า ที่ขายตามสวนจตุจักร

เขามองว่าเราไม่ใช่ตัวจริง

ดังนั้น ราคาของแท้กับของเทียมย่อมต้องต่างกัน


อะไรที่เป็นปัจจัยในการกำหนดราคาหนังไทย

คุณภาพหนัง

ยิ่งเราใหม่ในวงการตลาดหนังโลก เราต้องยอมรับว่าเรายังใหม่ อีกทั้งการรวมตัว และการสนับสนุนจากภาครัฐถ้าเปรียบบกับระเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลี บอกได้เลยว่าเราล้าหลังมาก

ที่สำคัญ คนไทยไม่ยอมรับความเป็นจริง ไม่ยอมรับว่างานเรายังไม่ดีพอ ไปใช่สื่อสากลเหมือนยังหนัง ฮอล์ลี่วูด

อย่างหนังไกรทองที่คนไทยบอกว่าไม่ได้เรือง แต่เชื่อไหมว่าเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ได้เงินเต็มๆ เพราะอะไรน่ะเหรอ ก็เพราะว่า เจ้าของหนังรู้ดีว่าตัวเองต้องขายราคาที่เท่าไหร่

ราคาอาจไม่สูงนัก แต่ไม่ได้ขายให้ประเทศเดียว แต่ขายไม่ต่ำวก่า 10 ประเทศ นั่นหมายถึงตัวเลขที่น่าสนใจทีเดียว


ยิ่งเขียนยิ่งมันส์

จะมาต่อ ว่า หนังไทยที่จะไปขายต่างประเทศต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง และการขายผ่านเอเย่นต์ ต่างกับขายเองตรงไหน นะเจ้าคะ

การเตรียมตัวสำหรับหนังไทยที่จะไปต่างประเทศนั้น อย่างแรกนั่นคือตัวสินค้าเอง

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดนั่นคือ Subtitle ของหนัง ที่บางเรื่องมีปัญหาในการสื่อสารมาก นั่นเพราะการใช้ทีมงานแปล ซึ่งถ้าไม่ได้พูดถึงเรื่องหลักไวยกรณ์ ปัญหาที่เจอคือการแปลแบบตรงตัวมากไป ทำให้การตีความของคนดูที่ชาวต่างชาติ ไม่ค่อยจะตรงกัน

ที่เห็นได้ชัดนั่นก็คือ มุข ตลก ที่ตลกฝรั่งกับเราต่างกัน

ถ้าจะสังเกตให้ดี เวลาที่เราไปดูหนังจากฮอล์ลี่วูด เราจะพบว่าคนที่แปลเป็นไทยนั้นไม่ได้แปลตรงตัวไปสะหมดแต่แปลอิงจากวัฒนธรรมบ้านเรา เข้าไปด้วย มำให้เราดูแล้วสนุกยิ่งขึ้น

ดังนั้นถ้าเราทำให้ฝรั่งเข้าใจได้เราก็จะสามารถขายได้ง่ายขึ้น

ที่เอาฝรั่งเป็นมาตรฐาน เพราะว่า ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับหนังฮอลล์วูด มากกว่าจะมาจากหนังประเทศอื่น


สำหรับท่านที่รู้เรื่องการแปลจะพอเข้าใจได้เป็นอย่างดีถึงปัญหาในการแปลให้สองภาษาให้มีความพอดีกันได้

บางค่ายใช้ ช่าวต่างชาติมาขัดเกลาอีกครั้ง อย่าง มนต์รักด ทรานซิสเตอร์ เป็นต้น
มาต่อกันเลยดีกว่าค่ะ หลังจากดูฤกษ์ยามว่าแล้ว (ว่าไปนั่น)

หนังก็เป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่การตลาดไม่แตกต่างจากสินค้าทั่วไป

ท่านที่รู้เรื่องการตลาด จะทราบดีกว่า ควร ทำ 4 P ให้ดี นั่นคือ

1. Product สินค้า ในที่นี่ คือหนัง

คุณภาพของหนังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การเริ่มสร้างหนังที่ต้องพูดกันถึงพล็อตเรื่อง การทำสคริป ซึ่งบ้านเรายังอ่อนมาก การคัดเลือกตัวแสดง การตัดต่อ อื่นๆอีกมากมายกว่าที่จะออกมาเป็นหนัง สักเรื่องให้พวกเราได้วิจารณ์ว่าห่วยเพียงไหน ทีพูดอย่างนี้เพราะว่า เท่าที่ผ่านมา ยังไม่เห็นว่าหนังเรื่องไหน ได้รับคำชมโดยไม่มีคำติเลย เห็นมีแต่คนจ้องแต่ที่จะตำหนิหนังอย่างเดียว ชักจะนอกเรื่องไปแล้ว กลับเข้าเรื่องต่อดีกว่า

มีได้หนังเรื่องหนึ่งแล้ว ต้องถามว่าอะไรคือจุดขายของหนังเรื่องนี้ ซึ่งจุดขายนี้ เป็นสากลไหม คนต่างชาติจะมองจุดเดียวกันไหม นี่แหละคือสิ่งที่คนทำหนังไทยปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะหนังตลก ที่ต้องหาแก๊ก ที่เป็นสากล

นอกจากนี้ เรื่องเกี่ยวกับที่เราจะต้องส่งให้เขาหลังการขาย เช่น เราส่งเป็นเทปเบต้า หรือส่งฟิล์มที่ใช้แล้ว บางครั้ง อุปกรณ์ ของเราไม่ครบ ตามที่เขาต้องการ เช่น เรื่องระบบเสียง ประเทศทางยุโรป ใช้ต่างจากเรา

บางประเทศ ไม่นิยมอ่านSubttitle ต้องการที่พากย์แล้ว

2. Price ราคา การตั้งราคา เป็นสิ่งที่หนังทำการตลาดโดยทั่วไปปวดหัวกันมาก ตั้งสูงไปก็ขายยาก ตั้ง ต่ำไป อาจจะขาดทุน

การตั้งราคาหนัง ให้กับแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน ปัจจัยที่นำมาคิดราคา ได้แก่

1. ยอด Box office ของแต่ละประเทศ ที่ทำไว้สูงสุด และหนังที่เป็นประเภทเดียวกันว่าเคยทำรายได้เท่าไหร่
2.GPA ของแต่ละประเทศ ว่าเขามีค่าครองชีพเท่าไหร่ และ ราคาตั๋ว เป็นราคาเท่าไหร่
3.หนังประกวดได้รางวัลที่ไหนมาบ้าง
4.ยอดทำเงินในประเทศ ดีไหม
5.มูลค่าของหนัง ในสายตาของคนซื้อหนัง ที่มองว่าเราควรอยู่ที่เท่าไหร่

ส่วนใหญ่ผู้หลิตหนังไทย มักจะมองว่า ราคาหนังไทย ต้องแพง เพราะ ดูอย่างเกาหลี สิ เรายังไปซื้อเขามาหลักแสนเหรียญ สหรัฐ ทำไม เราจะขายไม่ได้

พวกเขาอาจลืมไปว่า ความแตกต่างระหว่างหนังของบ้านเรากับเขาอยู่ที่ P ตัวที่หนึ่ง นั่นคือ Product ที่ ยังมีความแตกต่างจากเขามาก รวมทั้งการให้การสนับสนุน จากภาครัฐที่ยังห่างไกล

3.Place ที่ขาย

หนังจะขายที่ไหนได้บ้าง บางท่านเคยบอกกับข้าพเจ้าว่าขายทาง อีเมลล์ก็ได้แล้ว ไม่เห็นจำเป็นต้องไปออกบู้ธ ให้เปลืองสตางค์กันเลย

ข้าพเจ้าได้เถียง เพียงแต่ตั้งคำถามในใจว่า แล้วทำไม บริษัทที่ใหญ่ ๆในเมกา เช่น มิราแม็กซ์ ถึงยังต้องจ่ายเงิน
ออกบู้ธ อยู่อีก

จากประสบการณ์ที่ไปมา ทั้ง 5 ตลาด ที่กล่าวมาข้างต้น เชื่อไหมว่า ตลาดแรกๆ เราแทบไม่ได้มีการซื้อขายอะไรเลย ได้เพียงแค่ทำความรู้จัก และแนะนำตัวว่าเรานี่แหละคือคนขายหนังไทยนะ

กว่าจะมีการซื้อขายกัน ร่วมปี

เพราะอะไร ก็เพราะว่า เรากำลังซื้อขาย ที่ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ในการที่จะสร้างขึ้นมา

4. Promotion การโปรโมท หนังนั้น จะเป็นสิ่งที่จะสร้างมูลค่าให้กับหนังมากที่สุด และง่ายที่สุด เริ่มง่ายๆจากการทำประชาสัมพันธ์ ในประเทศ เพื่อให้เกิดกระแส และเข้าดู เหมือนอย่างเช่นสุริโยไท ที่ มีกระแส ข่าวที่ดี ในประเทศ ทำให้ ต่งประเทศ สนใจ และติดต่อไปแสดงที่เทศกาลหนังต่างๆ

การทำประชาสัมพันธ์ ในต่างประเทศ นอกจากการที่มีข่าวลงในหนังสือพิมพ์ ระดับ สากล ที่ดังๆ มี 3 เล่ม คือ Hollywood Reporter , Variety และ Screen. ทั้ง 3 เป็นหนังสือที่ ผู้ซื้อหนังอ่านกันมากที่สุด เมื่อมีข่าวลงนั่นหมายความว่า โอกาสที่จะขายหนังเรามีมากขึ้น เพราะคนซื้อได้รับทาบข้อมูลในระดับหนึ่งแล้ว

และ ต่อมานั่นคือเทศกาลหนัง ที่มีทั้งการประกวดและการฉายโชว์ ซึ่งเป็นเครดิตที่ดีของหนัง เลยที่เดียว ทำให้ราคา หนังเพิ่มได้อย่างทันตาเห็น

แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายนักนะที่จะเอาหนังเข้า เทศกาลได้ง่ายๆ

จบ 4 P ก่อน สำหรับวันนี้
หลังจากที่ได้อู้มาเป็นเวลานาน คราวนี้มาต่อกันต่อในการขายหนังละกันค่ะ

หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการขายหนังเป็นกันอย่างไร ต่างจากสินค้าแบบอื่นไหม

ทีนี้มาถึงว่าเขาขายกันอย่างไร

ในประเทศไทยแรกเริ่มนั้นมีการขายโดยผ่านตัวแทน หรือที่เรียกกัยว่า Sales Agent ซึ่ที่ผ่านมานั้น ที่เราได้ทราบว่าหนังเรื่องฟ้าทลายโจร ขายได้ในต่างประเทศ นั้น ผ่านตัวแทนชื่อ Frotissimo คนที่ดูแลประเทศไทย ชื่อว่า วอลเตอร์ ซึ่งมักจะนำหนังที่เรียกว่าเกรดเอ หนังที่คนไทยยอมรับว่าเป็นหังคุณภาพไปขาย เช่น Bangkok dangerous , มนต์รักทรานซิสเตอร์

ส่วนหนังที่เรียกว่าเป็หนังตลาดนั้น จะส่งให้ Golden Network จัดจำหน่าย ซึ่งล่าสุด ทาง บริษัทสหมงคลฟิล์ม ผู้ผลิตหนังยักษ์ใหญ่ในเมืองไทยก็ส่งหนังให้เขาขายเกือบหมด

ค่าใช้จ่ายในการให้เขาขายนั้น ก็จะมี

1. ค่าโทรศัพท์ ในการติดต่อประสานงาน
2.ค่าส่งเทป วีดีโอต่างๆ
3.ค่าเช่าฐู้ธ เวลาออกงาน เทศกาลหนังแต่ละครั้ง
4.ค่าคอมมิชชั่น

ค่าใช้จ่ายๆต่างๆนั้นไม่ว่าจะขายได้หรือไม่ก็ต้องจ่าย

ส่วนค่ายหนังที่จะจัดจำหน่ายเอง ก็ มี สหมงคลฟิล์มที่นำร่องด้วยสุริโยไท ก่อตั้งบริษัทหนึ่งขึ้นมา แต่ภายหลังได้ยกเลิก และใช้บริการ Sales Agent อย่าที่บอก

ส่วนค่ายหนังที่เริ่มจะทำเอง หนังจากใช้บริการมาแล้วก็มี อาร์เอส ที่กำลังเริ่มต้น หลังจากเกือบจะไปได้ดีในระยะหนึ่ง แล้วก็ต้องกลับมานับที่ ศูนย์ อีกครั้ง ที่บอกว่านับศูนญ์นั้นมาจากบุคลลากร เปลี่ยนบท ฐานข้อมูล ที่หายากยิ่งยากเข้าไปใหญ่

นอกจากนี้ก็มีไฟว์สตาร์ ที่เริ่มๆ เหมือนกัน

สำหรับคนที่กำลังถามถึง SSI ละก็ เขาให้บริษัท Golden Sun ซึ่งเป็นตัวแทนเพื่อนกับซ้อเป็นคนขายให้

นอกจากนี้ยังมีตัวแทนอื่นๆ เช่น Han Media ที่มีความชำราญด้านตลาดเมืองจีนมาก

ถ้าคนที่เข้าใจตลาดเมืองจีนจะทราบว่า ที่เมืองจีนเจาะตลาดยากมาก

ส่วนบริษัท Sun master จะถนัดตลาด อินโดนีเซีย ,มาเล มากกว่า

แต่ละบริษัทถนัดตลาดที่ต่างกัน อย่างหนัง ประกวดนี่ต้องยกให้ Fortissimo เขาเลย เป็นคนที่ทำให้ฟ้าทะลายโจรได้รางวัลที่เมืองคานส์

การส่งหนังเข้าประกวดนี่ เส้นสายต้องหนาจริงนะจะบอกให้
ที่จริงไม่ต่างอะไรจากประเทศไทยสักเท่าไหร่


สำหรับบริษัท จัดจำหน่ายที่เป็นของคนไทย ยังมีเพียงแค่ คนทำอิสระ

ส่วนคนที่อยากจะตั้งบริษัทขายหนังบ้างจะต้องทำอย่างไร เอาไว้ ตอนหน้าดีกว่า






Create Date : 07 พฤษภาคม 2548
Last Update : 7 พฤษภาคม 2548 4:12:30 น.
Counter : 2233 Pageviews.

3 comments
๏ ... รามคำแหง แรงคำหาม ... ๏ นกโก๊ก
(2 ม.ค. 2567 14:22:51 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
โดย: wbj วันที่: 27 กรกฎาคม 2548 เวลา:22:24:36 น.
  
เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ หายากจริงๆ
search ใน google เป็นแรมเดือน พึ่งมาเจอเอาที่นี่
ขอบคุณครับ
โดย: ตั้ม IP: 101.108.113.233 วันที่: 29 กันยายน 2554 เวลา:12:37:57 น.
  
ชอบจัง มาต่อเรื่องการเปิดบริษัทฯ ขายหนังอีกนะครับ
โดย: TJ IP: 171.100.225.222 วันที่: 10 สิงหาคม 2557 เวลา:0:57:22 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Enjung.BlogGang.com

เอ็นจัง
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]