โต๊ะก็คือโต๊ะ ไม่ได้เข้ามาเขียนอัพเดจบล๊อคนานมาก จนคิดว่าจะไม่เขียนอยู่แล้ว ทั้งๆที่ความตั้งใจแรกอยากให้บล๊อกนี้เป็นบล๊อคที่เกี่ยวกับหนังสือที่เราอ่านมาแล้วประทับใจ จริงๆแล้วพักหลังมานี้ก็อ่านหนังสือไม่เยอะมากเท่าไหร่เพราะไม่ค่อยมีเวลาให้กับการอ่านหนังสือเลย แต่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเพิ่งอ่านจบไปเล่มนึง คงเนื่องด้วยเล่มบางๆมั้งเลยใช้เวลาอ่านได้อย่างรวดเร็ว และอยากเขียนถึงเหลือเกิน เพราะชอบมาก หนังสือที่ว่าก็คือ โต๊ะก็คือโต๊ะ เขียนโดยนักเขียนสวิตเซอร์แลนด์แต่มีชีวิตและชื่อเสียงที่เยอรมัน เขาเป็นนักเขียนต่างชาติเพียงไม่กี่คนที่เขียนภาษาเยอรมันแล้วโด่งดัง เขาคือ Peter Bichsel แปลโดย ชลิต ดุรงค์พันธ์ จริงๆแล้วก็เป็นหนังสือที่เก่าแล้ว แต่เรามักเป็นคนที่เชยเสมอมักจะชอบอะไรที่ชาวบ้านเขาเลิกสนใจไปแล้ว โต๊ะก็คือโต๊ะ: เป็นเรื่องเล่าสำหรับเด็กใช้ภาษาที่เรียบง่ายใช้คำง่ายๆในการเล่าเรื่อง แต่การตีความหนังสือเล่มนี้ไม่ง่ายนัก อ่านไปแรกๆก็เกิดอาการงงงวยอย่างบอกไม่ถูก ไม่เข้าใจความคิดของตัวละคร เพราะในหนังสือเล่มนี้จะเป็นเรื่องสั้นทั้งหมด 7 ตอน ตัวละครในแต่ละเรื่องเป็นคนเล็กๆในสังคมและเป็นคนที่มีบุคลิกแปลกๆทุกคน แต่ทุกคนมักเป็นคนที่แปลกแยกออกมาจากสังคม เป็นคนแบบแปลกๆ เช่น ในตอนโต๊ะก็คือโต๊ะ ชายแก่คนนึงที่เบื่อกับรูปแบบชีวิตประจำวันที่เป็นอยู่เขาจึงลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง โดยการตั้งข้อสงสัยว่าทำไม เราจึงเรียกโต๊ะว่าโต๊ะ ทำไมไม่เรียกว่าเก้าอี้ จากนั้นมาเขาก็เริ่มเปลี่ยนชื่อของสิ่งรอบๆตัวเขา เช่น โต๊ะเรียกใหม่ว่า พรม กระจกเรียกใหม่ว่า เก้าอี้ และนั่งจดศัพท์ต่างๆไว้ว่าอันนี้เรียกว่าอะไร แกจะหัวเราะทุกครั้งเวลาที่ฟังคนอื่นพูด เพราะแกจะแปลเป็นภาษาที่แกเข้าใจในหัวเองอย่างอัตโนมัติ จนในที่สุดแกไม่สามารถที่จะคุยกับใครได้เลย ได้แต่เก็บตัวพูดคุยแต่กับตัวเอง อ่านแล้วก็งงๆบ้างแต่ก็ทำความเข้าใจได้ว่าผู้เขียนต้องการที่จะสื่อถึงความเปลี่ยวเหงาของคนที่ถูกคนอื่นมองว่าแปลกแยก มีความเป็นปัจเจกสูง บางครั้งการทำอะไรแปลกออกไปจากสังึคมโดยรวม ไม่ได้แปลว่าบ้าซักหน่อย แต่คนพวกนี้มักไม่สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้ เพราะถ้าพวกเขายังแคร์สังคมอยู่ ยังต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นการที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมามากคนอื่นก็จะมองว่าบ้า แปลก คุยด้วยไม่รู้เรื่อง เราเองก็เคยมีความรู้สึกเช่นนี้ ความรู้สึกแปลกแยกตลอดเวลาแม้ว่ารอบกายห้อมล้อมด้วยผู้คนมากมาย บางครั้งอยากทำอะไร อยากพูดอะไรที่ใจต้องการมากกว่านี้แต่ก็ทำไม่ได้เพราะกลัวการไม่เป็นที่ยอมรับ แม้บางครั้งเราคิดว่ามันไม่แปลกเลยซักนิดก็ตาม อะไรคือตัวที่ชี้วัดของคำว่า "ปรกติ" งั้นหรือ ฉันคิดว่าตัวละครที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ทุกคนคงไม่สามารถพูดได้หรอกว่าปรกติ ชายนักจำที่วันๆเสียเวลานั่งจำเรื่องตารางเดินรถไฟโดยที่เขาเองไม่เคยขึ้นรถไฟซักครั้ง ชายที่ไม่อยากจะรู้อะไรต่อไปแล้ว คุณปู่ที่นั่งพูดถึงญาติที่ไม่มีตัวตนตลอดเวลา นักประดิษฐ์คนสุดท้ายของโลกที่ไม่กล้าจะบอกใครเรื่องสิ่งประดิษฐ์ของตัวเองจนลืมมองไปแล้วว่าโลกหมุนไปเร็วแค่ไหน เห็นไหมว่าแต่ละคนไม่ได้อยู่ในมาตรฐานของคำว่า ปรกติ สำหรับคนทั่วไป ไม่มีใครอยากเป็นคนโง่และบ้าในสายตาของคนอื่นหรอกใช่ไหม เพราะฉะนั้นเวลาเห็นใครทำอะไรแปลกๆแตกต่างจากเราไปฉันต้องคอยที่จะเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าทุกคนอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่าง เพราะฉันเองก็ไม่อยากเป็นใครที่เขามองว่าแปลกว่าบ้าเหมือนกัน ชอบหนังสือเล่มนี้มากๆ เช่นกันค่ะ
เป็นหนังสืออีกเล่มที่มีผลต่อทัศนคติและการมองโลกของเราไปเลย โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 12 กรกฎาคม 2549 เวลา:17:19:42 น.
โดยส่วนตัวเราแล้ว แต่ละคน ล้วนแต่มีความ "ไม่ปรกติ"กันทั้งนั้นล่ะค่ะ ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะกล้าแสดงมันออกมาหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน
เท่านั้นเอง อย่างไรก็ตาม การอยู่ร่วมกันในสังคม เราก็ต้องซ่อนความ"ไม่ปรกติ"ของเราไว้ แต่ถ้าโชคดี ได้เจอคนที่จริตตรงกัน โลกของเราก็จะสดใสขึ้นค่ะ (ที่จริงเราว่า เจ้าแบร์วิชตัวแสบเอง ก็ไม่ค่อยจะปรกติเท่าไหร่หรอกเนอะ เพียงแต่ว่า มันคิดเหมือนกับเรา จนอดไม่ได้ที่จะเอ็นดูแกมหมั่นไส้มัน เท่านั้นเอง) โดย: ขบวนการเหมียวเหมียว วันที่: 20 กรกฎาคม 2549 เวลา:9:30:42 น.
Es ist ein gutes Buch
โดย: Ein Tisch ist ein Tisch IP: 118.174.30.254 วันที่: 5 ธันวาคม 2551 เวลา:20:51:42 น.
|
โดยเฉพาะโต๊ะก็คือโต๊ะเนี่ยแหละ
เคยอ่านแบบที่เป็นเรื่องสั้นแปลในนิตยสารตั้งแต่ตอนเด็กๆ
จำเรื่องนี้ติดใจมาตลอดเลย