พระราชวงศ์ทิพจักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)
พระราชวงศ์ทิพจักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ได้สถาปนาขึ้นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งพระนครกรุงศรีอยุธยา โดย "หนานทิพช้าง" ควาญช้างและพรานป่าผู้มีความสามารถ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองนครลำปาง มีพระนามว่า พระเจ้าทิพจักรสุลวฤๅไชยสงคราม (พระญาสุลวฤๅไชยสงคราม) ถือเป็นนครรัฐอิสระ
ใน ปี พ.ศ. 2275 เมื่อเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒ ได้ขึ้นครองนครต่อมา ซึ่งในห้วงดังกล่าวนครลำปางมีฐานะเป็นประเทศราชของพม่า โดยพระเจ้ากรุงอังวะ ได้โปรดฯ สถาปนาพระอิสริยยศให้เป็น เจ้าฟ้าสิงหราชธานีหลวงชายแก้ว, เจ้าฟ้าหลวงนครลำปาง
ต่อมา เจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระโอรสพระองค์ใหญ่ของ เจ้าฟ้าสิงหราชธานีหลวงชายแก้ว ได้ร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 พระองค์ และ "พระยาจ่าบ้าน" ขุนนางนครเชียงใหม่ กอบกู้ล้านนาภายใต้การสนับสนุนทัพหลวงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ในปี (พ.ศ. 2317)
ซึ่งในครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้ "เจ้าพระยาจักรี (ร.1)" และ "เจ้าพระยาสุรสีห์ (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)" ยกกองทัพไปช่วยปราบพม่า เมื่อยึดนครเชียงใหม่และนครลำปางได้แล้ว จึงโปรดฯ ให้ "พระยาจ่าบ้าน" ครองนครเชียงใหม่ และ "เจ้ากาวิละ" ครองนครลำปาง
ในการรบครั้งนั้น "เจ้าพระยาสุรสีห์ (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)" ได้พบรักกับ เจ้าฟ้านางหลวงศรีอโนชา พระขนิษฐาของเจ้ากาวิละ และได้ทูลขอจาก เจ้าฟ้าสิงหราชธานีหลวงชายแก้ว ซึ่งต่อมา เจ้าหญิงศรีอโนชา ได้สร้างวีรกรรมสำคัญยิ่งในการปกป้องพระนครจากพระยาสรรค์ ซึ่งก่อการกบฎต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ซึ่งขณะนั้น "เจ้าพระยาจักรี" และ "เจ้าพระยาสุรสีห์" พระสวามีติดการสงครามที่เขมร หลังจากปกป้องพระนครเสร็จ ได้ทูลเชิญเสด็จ "เจ้าพระยาจักรี" นิวัติพระนครและปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์พระปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในคราเดียวกันนั้นได้โปรดฯ สถาปนา "เจ้าพระยาสุรสีห์" พระอนุชาขึ้นเป็น สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดฯให้ เจ้ากาวิละ ขึ้นครองนครเชียงใหม่ (ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นเมืองร้าง เนื่องจากพม่าได้เข้ามารุกรานจน "พระยาจ่าบ้าน" ต้องพาประชาชนอพยพหนี)
โปรดฯ ให้ เจ้าคำโสม พระอนุชาพระองค์ที่ ๒ ขึ้นครองนครลำปาง และ โปรดฯ ให้ เจ้าคำฝั้น พระอนุชาพระองค์ที่ ๓ ขึ้นครองนครลำพูน ตลอดต้นรัชสมัยที่ครองนคร เจ้ากาวิละ ได้ร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 พระองค์ กระทำการสงครามเพื่อขยายขอบเขตขัณฑสีมาออกไปอย่างขจรขจาย
ได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินจากหัวเมืองต่างๆ เพื่อนำกลับมาสร้างบ้านแปงเมือง รวมทั้งได้ทรงรื้อฟื้นโบราณราชประเพณีทุกอย่าง ให้กลับมายิ่งใหญ่เหมือนสมัย ราชวงศ์เม็งราย ครองอาณาจักรล้านนา ด้วยพระปรีชาสามารถและความจงรักภักดีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดฯ เฉลิมพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละฯ พระเจ้านครเชียงใหม่ เป็นใหญ่ในล้านนา 57 หัวเมือง
พระราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ถือเป็นพระราชวงศ์ล้านนาที่เชื่อมความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ล้านนาอันเก่าแก่เดิม อันได้แก่ พระราชวงศ์เม็งราย อันมี พระเจ้าเม็งรายมหาราช เป็นองค์ปฐมวงศ์ และ พระราชวงศ์เชียงแสน อันมี พ่อขุนงำเมือง เป็นองค์ปฐมวงศ์ ด้วยระบบความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ
นอกจากนั้น เจ้านายใน พระราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ยังได้อภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ใน พระบรมราชวงศ์จักรี หลายพระองค์ พระองค์ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ พระอัครชายาเธอ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา ในสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท และ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสองพระราชวงศ์ ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้พระราชอาณาจักรล้านนาเดิม ได้เข้ารวมกับสยามประเทศอย่างสมบูรณ์
ชั้น 1 องค์ปฐมวงศ์
พระเจ้าทิพจักรสุลวฤๅไชยสงคราม, ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองนครเขลางค์ (ลำปาง) นครรัฐอิสระ (2275 - 2302)
ชั้น 2 พระราชโอรส พระราชธิดา ใน "พระเจ้าทิพจักรสุลวฤๅไชยสงคราม" เจ้าฟ้าหลวงชายอ้าย เจ้าฟ้าสิงหราชธานีหลวงชายแก้ว, พระเจ้าผู้ครองนครเขลางค์ (ลำปาง) ประเทศราชของพม่า (2302 - 2317), ทรงเป็นพระราชบิดา ใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ" ด้วยพระราชโอรสทั้ง 7 พระองค์ ทรงมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ราชอาณาจักรล้านนาจากพม่า และต่อมาเจ้านายบุตรหลานได้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จึงเป็นที่มาของราชสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน" หรือ "เจ้าเจ็ดองค์" เจ้าฟ้านางหลวงคำทิพ เจ้าฟ้าหลวงชายคำปา เจ้าฟ้าหลวงชายปอเฮือน (พ่อเรือน), พระราชบิดาใน "เจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 4" เจ้าฟ้านางหลวงกม
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (2325 - 2482) ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 1 พ.ศ. 2325 - 2356 (31 ปี) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
2 พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 2 พ.ศ. 2356 - 2365 (11 ปี)
3 เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 3 พ.ศ. 2366 - 2368 (2 ปี)
4 เจ้าหลวงพุทธวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 4 พ.ศ. 2369 - 2389 (20 ปี)
5 พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 5 พ.ศ. 2390 - 2397 (7 ปี)
6 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 6 พ.ศ. 2399 - 2413 (14 ปี)
7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 7 พ.ศ. 2416 - 2439 (23 ปี)
8 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 8 พ.ศ. 2444 - 2452 (8 ปี)
9 พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 9 พ.ศ. 2454 - 2482 (28 ปี)
เจ้าผู้ครองนครลำปาง (2275 - 2465) ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 พระเจ้าทิพจักรสุลวฤๅไชยสงคราม, กษัตริย์นครเขลางค์ (ลำปาง) พระองค์ที่ 1 พ.ศ. 2275 - 2306 (31 ปี) สมัยกรุงศรีอยุธยา
2 เจ้าฟ้าสิงหราชธานีหลวงชายแก้ว, กษัตริย์นครเขลางค์ (ลำปาง) พระองค์ที่ 2 พ.ศ. 2306 - 2317 (11 ปี) สมัยกรุงศรีอยุธยา
3 พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้านครลำปาง พระองค์ที่ 3 พ.ศ. 2317 - 2325 (8 ปี) สมัยกรุงธนบุรี
4 พระเจ้าลครคำโสม, พระเจ้านครลำปาง พระองค์ที่ 4 พ.ศ. 2325 - 2337 (12 ปี) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
5 พระเจ้าหอคำดวงทิพย์, พระเจ้านครลำปาง พระองค์ที่ 5 พ.ศ.2337 - 2349 (12 ปี)
6 เจ้าฟ้าหลวงมหาขนานไชยวงศ์, เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระองค์ที่ 6 พ.ศ. 2349 - 2361 (12 ปี)
7 เจ้าฟ้าหลวงขัตติยะ, เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระองค์ที่ 7 พ.ศ. 2361 - 2361 (6 เดือน)
8 เจ้าฟ้าหลวงน้อยอินทร์, เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระองค์ที่ 8 พ.ศ.2361 - 2372 (11 ปี)
9 เจ้าฟ้าหลวงวรญาณรังษี, เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระองค์ที่ 9 พ.ศ. 2372 - 2378 (6 ปี)
10 พระเจ้าพรหมาภิพงศ์ธาดา, พระเจ้านครลำปาง พระองค์ที่ 10 พ.ศ. 2378 - 2430 (52 ปี)
11 เจ้าหลวงนรนันท์ไชยชวลิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระองค์ที่ 11 พ.ศ. 2430 - 2440 (10 ปี)
12 มหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระองค์ที่ 12 พ.ศ. 2440 - 2465 (25 ปี)
13 เจ้าราชบุตร, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 พ.ศ. 2465 - 2468 (3 ปี) รั้งนคร
เจ้าผู้ครองนครลำพูน (2348 - 2486) ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 เจ้าฟ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ 1 พ.ศ. 2348 - 2358 (10 ปี) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
2 พระเจ้าบุญมาเมือง, พระเจ้านครลำพูน พระองค์ที่ 2 พ.ศ. 2358 - 2370 (12 ปี)
3 เจ้าฟ้าหลวงน้อยอินทร์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ 3 พ.ศ. 2370 - 2380 (10 ปี)
4 เจ้าฟ้าหลวงคำตัน, เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ 4 พ.ศ. 2381 - 2384 (3 ปี)
5 เจ้าฟ้าหลวงธรรมลังกา, เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ 5 พ.ศ. 2384 - 2386 (2 ปี)
6 เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ, เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ 6 พ.ศ. 2391 - 2414(23 ปี)
7 เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ 7 พ.ศ. 2414 - 2431 (17 ปี)
8 เจ้าหลวงเหมพินธุ์ไพจิตร, เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ 8 พ.ศ. 2431 - 2438 (7 ปี)
9 เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ, เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ 9 พ.ศ. 2438 - 2454 (16 ปี)
10 พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน พระองค์ที่ 10 พ.ศ. 2454 - 2486 (32 ปี)
ตราประทับ
ตราประทับของเจ้าพ่อขุนอนุสารสุภกร วิรัตน์เกษม เป็นตราประทับประจำราชสกุล ณ ลำปาง ที่ได้สืบทอดจากเจ้าพ่อขุนอนุสารสุภกร วิรัตน์เกษม ซึ่งตราประทับทำด้วยงาช้าง เป็นตราประทับที่มีอายุ 100 กว่าปี และในตราประทับมีลักษณะเป็นรูปไก่ขาวยืนอยู่บนแท่น ห้อมล้อมด้วยบุปผาต่างๆ
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิริสวัสดิ์จันทรวาร สิริมานรมณีย์ค่ะ
Create Date : 24 กันยายน 2553 |
Last Update : 30 กันยายน 2553 17:19:49 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1470 Pageviews. |
 |
|
|
|
|