"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
1 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑


พระชประวัติ


สมเด็จพระรามาธิบดีสมภพเมื่อ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล จุลศักราช ๖๗๖ พ.ศ. ๑๘๕๗

เรื่องสร้างกรุงศรีอยุธยา มีในจดหมายเหตุของโหรว่า พระเจ้าอู่ทองสร้าง ๒ ครั้ง ครั้งหนึ่งเมื่อปีขาล จุลศักราช ๗๑๒ อีกครั้งหนึ่งเมื่อปีกุน จุลศักราช ๗๒๑

สร้างทีหลังนี้ดูไม่มีมูลในเรื่องพงศาวดารทีเดียว ข้าพเจ้าเข้าใจว่าโหรวางศักราชปีกุนนั้นผิด ถ้าปีกุนจุลศักราช ๗๐๙ จึงจะได้ความ คือพระเจ้าอู่ทองย้ายมาจากเมืองอู่ทองมาสร้างเวียงเหล็กในแขวงเมืองอโยธยา เมื่อปีกุน จุลศักราช ๗๐๙ พ.ศ. ๑๘๙๐ อยู่ ๓ ปีจึงสร้างกรุงศรีอยุธยา

ซึ่งหนังสือพงศาวดารทุฉบับ และจดหมายเหตุของโหรยุติต้องกันว่า ฝังหลักเมืองเมื่อ ณ วันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ เพลาเช้า ๓ นาฬิกา ๙ บาท ปีขาล (น่าจะเป็นปีเถาะยังเป็นโทศก) จุลศักราช ๗๑๒ พ.ศ. ๑๘๙๒

นับอายุกรุงศรีอยุธยาแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างกรุงศรีอยุธยา พระชันษาได้ ๓๖ พรรษา สมเด็จพระรามาธิบดีเสวยราชสมบัติอยู่กรุงศรีอยุธยา ๑๙ ปี สวรรคตเมื่อปีระกา จุลศักราช ๗๑๓ พ.ศ. ๑๙๑๒ พระชันษาได้ ๕๕ ปี


ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาที่สมเด็จพระรามาธิบดีสร้าง ขนานนามโดยพิสดารว่า กรุงเทพมหานคร (บวร) ทวาราวดีศรีอยุธยา หนังสือพระราชพงศาวดารอธิบายนามทั้งปวงนี้ว่า ที่เรียกว่า กรุงเทพมหานคร เพราะเอาชื่อเมืองเทพนครเดิมของพระเจ้าอู่ทองมาใช้

ข้อนี้ข้าพเจ้าเข้าใจว่ายังไม่ตรงดี ที่จริงชื่อกรุงเทพมหานครนั้น เห็นจะหมายความว่าเป็นราชธานี เมืองใดเป็นราชธานีเมืองนั้นก็มีชื่อว่ากรุงเทพมหานคร ชื่อนี้ยังได้เอาลงใช้จนกรุงเทพฯ มหานครอมรรัตนโกสินทร์นี้ ชื่อ ทวาราวดี

ที่อธิบายว่าเพราะมีลำแม่น้ำล้อมรอบนั้นถูกต้อง กรุงศรีอยุธยาที่พระเจ้าอู่ทองสร้างมีลำแม่น้ำล้อมรอบจริง ด้านเหนือซึ่งเรียกว่าคลองเมืองเดี๋ยวนี้ เวลานั้นสายน้ำลำแม่น้ำลพบุรียังไหลลงมาทางนั้นเป็นลำน้ำใหญ่

ด้านตะวันออกมีลำแม่น้ำสัก แต่เวลานั้นสายน้ำยังลงมาทางบ้านม้า ด้านใต้ ด้านตะวันตก ลำแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาทางหัวแหลม ออกบางกระจะวัดพระเจ้าพนัญเชิงอย่างทุกวันนี้ ที่เรียกนามว่า ศรีอยุธยานั้น เอาชื่อเมืองอโยธยาเดิมมาใช้มิใช่คิดขึ้นใหม่

ตัวเมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีสร้าง เข้าใจว่ากำแพงเมืองยังใช้เพียงหลักไม่ระเนียดปักบนเชิงเทินดิน เพราะได้ความในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า พึ่งมาก่อกำแพงด้วยอิฐเมืองแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

แนวกำแพงเมืองสร้างครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีนั้น ด้านเหนือ ด้านตะวันตก ด้านใต้ ตั้งลงมาถึงริมลำน้ำทั้ง ๓ ด้าน แต่ด้านตะวันออกลำน้ำสักยังอยู่ห่างมาก แนวกำแพงเมืองอยู่หลังวัดจันทรเกษมเข้าไป

ลำน้ำแต่หัวรอลงมาจนวัดพระเจ้าพนัญเชิง ในเวลานั้นขุดเป็นแต่คูเมืองเรียกว่า ขื่อหน้า พึ่งมาขุดขยายเป็นลำน้ำใหญ่เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระธรรมราชาธิราช

พระราชวังที่สร้างครั้งสมเด็จพระรามาธิบดี สร้างริมหนองโสนคือ บึงพระราม ห่างแม่น้ำ อยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญเดี๋ยวนี้ ปราสาทราชมณเฑียรสร้างด้วยไม้ทั้งนั้น พระราชมณเฑียรย้ายลงมาตั้งริมน้ำ เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปราสาทก็เห็นจะพึ่งมาก่อเป็นตึกเมื่อย้ายพระราชมณเฑียรคราวนั้น


พระนามพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยา

ในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้ว (เมื่อทำพระราชพิธีราชาภิเษก) ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร เหมือนด้วยพระนามสมเด็จพระนารายณ์อวตารอันผ่านกรุงศรีอยุธยาแต่ก่อนนั้น

หนังสือเก่าทุกเรื่องบรรดาที่ได้พบ ทั้งที่แต่งในภาษาไทยและภาษามคธ ใช้พระนามรามาธิบดีนี้เป็นพระนามของพระเจ้าอู่ทองที่สร้างกรุงศรีอยุธยาทุกเรื่อง แต่สร้อยพระนามเขียนแปลกๆ กัน ยาวบ้างสั้นบ้าง ข้าพเจ้าคัดตามที่ได้พบในที่ต่างๆ ลงมาไว้ต่อไปนี้

๑. ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง สมเด็จพระรามาธิบดีบดินทรศรีสุนทรบรมมหาจักรพรรดิ บวรธรรมิกมหาราชาธิราช ชาติหริหรินทร์ อินทรเดโชชัยมไหสุริยศวรรยาเทพาดิเทพตรีภูวนาถ บรมบาทบพิตร

๒. ในกฎหมายลักษณะโจร สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสฤษดิรักษจักรพรรดิราชาธิราช ตรีภูวนาถธิเบศร์บรมบพิตร

๓. ในกฎหมายลักษณะรับฟ้อง สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรจะกรพรรดิราชาธิราช ราเมศวรธรรมิกราชเดโชชัย เทพตรีภูวนาธิเบศร์ บรมบพิตร

๔. ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมจักรพรรดิราชาธิราชบรมบพิตร

๕. ในกฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมจักรพัตราธิราช

๖. ในโองการแช่งน้ำที่พราหมณ์อ่านในพระราชพิธีศรีสัจปานการ สมเด็จพระรามธิบดีศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิศรราชาธิราช

พระนามรามาธิบดีนี้ ไม่ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดในประเทศทางนี้ได้ใช้เป็นพระนามก่อนพระเจ้าอู่ทอง แต่ต่อมาภายหลังปรากฏในศิลาจารึกกัลยาณีที่เมืองหงสาวดีว่า

พระเจ้าหงสาวดีพระองค์ที่เรียกพระนามในหนังสือราชาธิราชว่า พระเจ้าศรีสากยวงศ์ธรรมเจดีย์ คือพระมหาปิฎกธรนั้น ได้ใช้นามรามาธิบดีเป็นพระนามในจารึกพระองค์หนึ่ง พระเจ้ากรุงกัมพูชาที่ใช้นามรามาธิบดีก็มีแต่ในสมัยภายหลังมาทั้งนั้น

เรื่องพระนามพระเจ้าแผ่นดิน ทั้งไทยทั้งพม่ารามัญ ตามที่เรียกกันแต่ก่อนมา ลัทธิของชาวประเทศทางนี้ มีวิธีเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นเดินถึง ๕ อย่างต่างกันคือ

๑. พระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ
๒. พระนามพิเศษถวายเพิ่มพระเกียรติยศ
๓. พระนามที่เรียกกันในเวลาเมื่อเสด็จดำรงพระชนม์อยู่
๔. พระนามตามที่ปากตลาดเรียกกันเมืองล่วงรัชกาลไปแล้ว
๕. พระนามที่เรียกกันในราชการในเวลาเมื่อล่วงรัชกาลไปแล้ว

๑. พระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏนั้น ตามราชประเพณีอันมีมาแต่โบราณ เมื่อจะทำการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ขึ้นผ่านพิภพ

สมณพราหมณาจารย์และเสนาพฤฒามาตย์ที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ประชุมปรึกษากันถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น จารึกลงในแผ่นทองถวายเมื่อทำพระราชพิธีราชาภิเษก มักเป็นพระนามมีสร้อยยืดยาวมาก

๒. พระนามพิเศษที่ถวายเพิ่มพระเกียรติยศนั้น คือถ้าในแผ่นดินของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอันเป็นพระเกียรติยศพิเศษ จึงถวายพระนามพิเศษเฉลิมพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น เช่น พระเจ้าแผ่นดินองค์ใดได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมี จึงถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นว่า “พระเจ้าช้างเผือก” นี้เป็นต้น

ประเพณีถวายพระนามพิเศษที่ว่านี้ เห็นจะมีมาแต่โบราณมาก พระเจ้าอโศกในมคธราฐที่เรียกพระนามในหนังสือว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกก็ดี ที่จารึกพระนามไว้ว่าพระเจ้าปิยทัสสีก็ดี พระเจ้าดิศผู้เป็นพระพุทธศาสนูปถัมภกพระองค์แรกในลังกาทวีป ที่ใช้พระนามในหนังสือว่าพระเจ้าเทวานัมปิยดิศก็ดี เหล่านี้น่าจะเป็นพระนามที่ถวายพิเศษ

พระนามถวายพิเศษแรกปรากฏในประเทศนี้ มีเมื่อพระมหาธรรมราชาลิไทย พระเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงพระราชศรัทธาสละราชสมบัติออกทรงผนวชคราวหนึ่ง เมื่อลาผนวชแล้วพระมหาสวามีสังฆราช ซึ่งมาแต่ลังกา ถวายพระนามว่า พระเจ้าศรีตรีภพธรณีชิต สุริยโชติมหาธรรมิกราชาธิราช ดังนี้

มาในชั้นกรุงเก่า ข้าพเจ้าเห็นว่าพระนามพระเจ้าแผ่นดินที่เรียกในหนังสือพระราชพงศาวดาร ว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็ดี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ดี พระเจ้าทรงธรรมก็ดี พระเจ้าปราสาททองก็ดี พระนารายณ์ก็ดี เหล่านี้น่าจะเป็นพระนามถวายพิเศษ ด้วยเหตุดังกล่าวต่อไปนี้คือ

พระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เห็นจะมาแต่ศรีตรีภพธรณีชิต ที่พระมหาสวามีสังฆราชถวายแด่พระเจ้าลิไทยกรุงสุโขทัย จะถวายพระนามนี้แด่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อใดทราบไม่ได้

เห็นในบานแผนกกฎหมายตั้งครั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถใช้พระนามนี้แล้ว ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนาถ ยังมีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่นที่ใช้พระนามนี้ คือ มหาราชท้าวลก ที่ครองราชย์สมบัติเมืองเชียงใหม่ในคราวเดียวกัน และเป็นคู่รบกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

หนังสือข้างฝ่ายเหนือเรียกว่าติโลกราช ที่เป็นพุทธศาสนูปถัมภกเมืองทำสังคายนา ซึ่งนับในตำนานของเราว่าเป็นครั้งที่ ๗ นั้น ต่อมาพระเจ้าทรงธรรมได้ใช้พระนามปรากฏในที่บางแห่งว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม ดังนี้ จึงเห็นได้ว่าพระนามบรมไตรโลกนาถนั้นเป็นพระนามพิเศษพระนามหนึ่ง

พระนามที่เรียกว่า พระมหาจักรพรรดิ นั้น รู้ได้แน่ว่าเป็นพระนามพิเศษ แม้ต้นตำราพราหมณ์หรือตำราที่มาในพระพุทธศาสนา ก็ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินต่อบางพระองค์จึงจะเป็นจักรพัตราธิราช พระนามนี้ชั้นกรุงเก่าเห็นจะถวายเมื่อมีช้างเผือกถึง ๗ ช้าง วิเศษกว่าที่จะเรียกเพียงพระเจ้าช้างเผือก

พระนามที่เรียกว่า พระเจ้าทรงธรรมนั้น มาแต่คำว่า ธรรมราชา แน่ พระนามที่เรียกว่า “ธรรมราชา” มูลเหตุเดิมน่าจะเกิดขึ้นแต่ครั้งพระเจ้าอโศก ด้วยเหตุแสดงพระองค์เป็นธรรมราชาดังกล่าวมาแล้วในตอนอธิบายเหตุการณ์เมื่อก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา

พระนามนี้พระเจ้าแผ่นดินในลังกาทวีปคงจะเอามาใช้ และพวกลังกาพาเข้ามาในประเทศนี้ ยกย่องว่าคู่กับจักรพรรดิราชา ปรากฏว่าได้ถวายพระนามนี้แก่พระเจ้าลิไทยกรุงสุโขทัยเป็นครั้งแรก

เห็นจะถวายพระนามนี้แก่พระเจ้าทรงธรรมกรุงศรีอยุธยา เนื่องในเหตุที่พบรอยพระพุทธบาท ได้พบในหนังสือจดหมายเหตุของวันวลิตวิลันดา ว่าเรียกกันมาแต่ยังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่

พระนามที่เรียกว่า พระเจ้าปราสาททอง นั้น ที่จริงพม่าเขาใช้ก่อน ดังจะแลเห็นได้ในหนังสือราชาธิราช ที่เขาเรียกพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องว่าพระเจ้ามณเฑียรทอง

พระนามนี้เห็นจะเอาอย่างพม่ามาถวาย เมื่อสร้างพระวิหารสมเด็จเป็นปราสาทปิดทองมีขึ้นองค์แรก มีปรากฏในจดหมายเหตุของวิลันดา ว่าใช้แต่ยังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่เหมือนกัน

ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าพระนามนี้จะเกิดขึ้นเพราะขุดปราสาททองได้ในจอมปลวก ดังกล่าวในหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า

พระนามที่เรียกว่า พระนารายณ์ นั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเป็นพระนามพิเศษ ด้วยได้พบในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ซึ่งเป็นฉบับหลวงครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกพระนามสมเด็จพระนเรศวรว่า “สมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า” ทุกแห่ง

และพบหนังสือตำนานแต่งกรุงเก่า ราวแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศอีกเรื่องหนึ่งที่เมืองนครศรีธรรมราช เรียกสมเด็จพระนเรศวรว่า “สมเด็จพระนารายณ์เมืองหาง” หมายความว่าสมเด็จพระนารายณ์พระองค์ที่สวรรคตที่เมืองหาง

หนังสือนี้ทำให้เข้าใจว่า เวลาเมื่อจะแต่งจะมีพระเจ้าแผ่นดินที่เรียกว่าพระนารายณ์มากกว่าพระองค์เดียว (คือมีพระนารายณ์ลพบุรีขึ้นอีกองค์หนึ่ง) จึงเรียกพระนารายณ์เดิมว่า พระนารายณ์เมืองหาง ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงเข้าใจว่าพระนามที่เรียกพระนารายณ์นั้นเป็นพระนามพิเศษ

ครั้งหลังที่ถวายพระนามพิเศษอย่างอธิบายมานี้ คงยังจำกันได้อยู่โดยมาก คือที่ได้ถวายพระนาม “ปิยมหาราชาธิราช” แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติยืนนานยิ่งกว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่นๆ ในสยามประเทศ

ครั้งทำพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ เพราะพระองค์เป็นที่รักของประชาชนทั่วไป พระนามนี้จารึกอยู่ที่ฐานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งประชาชนชาวสยามพร้อมกันทำถวายสนองพระเดชพระคุณ ยังอยู่ที่หน้าพระลานสวนดุสิตจนทุกวันนี้

๓. พระนามพระเจ้าแผ่นดินที่เรียกในเวลาเสด็จดำรงพระชนม์อยู่นั้น มักเรียกเหมือนกันทุกพระองค์ คือผู้ที่เป็นข้าขอบขัณฑสีมาก็เรียกพระเจ้าแผ่นดินของตนว่า ขุนหลวง หรือ พระเป็นเจ้า หรืออย่างเราเรียกกันว่า พระเจ้าอยู่หัว มิได้ออกพระนามเฉพาะพระองค์

ถ้าชาวเมืองอื่นก็มักจะเรียกตามนามเมืองที่พระเจ้าแผ่นดินนั้นๆ ครอง ดังเช่นเรียกว่า พระเจ้าอู่ทอง พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา พระเจ้าหงสาวดี พระเจ้าอังวะ เป็นต้น บางทีก็เรียกตามพระนามเดิมของพระเจ้าแผ่นดินนั้นๆ เช่นเรียกว่า พระร่วง พระยาอู่ พระเจ้ามังลอง ดังนี้ พระนามที่เรียกตามนามเดิมหรือตามพระนามเดิมอย่างนี้ ล้วนเป็นคำของพวกเมืองอื่นเรียก

๔. พระนามที่ปากตลาดเรียกเมื่อเวลาล่วงรัชกาลแล้วนั้น ดังเช่นเรียกว่า ขุนหลวงเพทราชา ขุนหลวงเสือ ขุนหลวงท้ายสระ ขุนหลวงทรงปลา เป็นต้น จนตลอดขุนหลวงบรมโกศ ขุนหลวงหาวัด และพระที่นั่งสุริยามรินทร์

เกิดแต่ไม่รู้ว่าพระนามพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นๆ ที่ล่วงรัชกาลแล้ว พระองค์ใด้เรียกพระนามในราชการว่าอย่างไร ราษฎรก็เรียกเอาตามที่สำเหนียกกำหนดกัน ดังเช่นเรียกว่าขุนหลวงเพทราชา ก็เพราะได้เป็นที่เพทราชาอยู่เมื่อก่อนได้ราชสมบัติ เรียกขุนหลวงทรงปลา ก็เพราะพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นทรงชอบตกปลา

พระนามที่เรียกว่าขุนหลวงบรมโกศนั้น เป็นพระนามที่มักเรียกพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่พึ่งสวรรคตล่วงไปแล้วทุกพระองค์ อย่างเราเรียกกันว่าในพระโกศนี้เอง สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หลัง ในกรุงเก่า ที่ได้ทรงพระโกศ) คนคงเรียกกันว่า พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ หรือ ในพระโกศ มาแต่ครั้งกรุงเก่าแล้ว

ส่วนขุนหลวงหาวัดนั้นพระนามเดิมเรียกในราชการว่า เจ้าฟ้าอุทุมพร ได้เป็นกรมขุนพรพินิต เมื่อเสวยราชย์อยู่ในราชสมบัติไม่ช้าก็สละราชสมบัติออกทรงผนวช คนทั้งหลายจึงเรียกว่า ขุนหลวงหาวัด

หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่วัด มาแต่ครั้งกรุงเก่า ส่วนพระเจ้าสุริยามรินทร์นั้น ครั้งกรุงเก่าคงเรียกกันเพียงว่า ขุนหลวงหรือพระเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่เสวยราชย์พระองค์หลังที่สุด

มาเรียกพระนามอื่นตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี เรียกว่าขุนหลวงพระที่นั่งสุริยามรินทร์ เพราะเสด็จอยู่ที่พระที่นั่งนั้น ครั้นถึงพระเจ้ากรุงธนบุรีเอง ต่อมาชั้นหลังเรียกกันว่า ขุนหลวงตาก ด้วยเหตุได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองตากครั้งกรุงเก่า

ประเพณีเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินตามปากตลาดอย่างนี้ มีตลอดจนเมืองพม่ารามัญ พระเจ้าหงสาวดีชัยสิงห์ซึ่งเป็นราชโอรส รับราชสมบัติต่อพระเจ้าบุเรงนอง พม่าเรียกภายหลังว่า “พระเจ้าเชลยตองอู”

เพราะที่สุดเมื่อหนีสมเด็จพระนเรศวร ถูกเอาไปกักไว้ที่เมืองตองอูจนทิวงคต และพระเจ้าแผ่นดินพม่าพระองค์หนึ่งในราชวงศ์อลองพญา พม่าเรียกว่า พาคยีดอ แปลว่าพระเจ้าอา ดังนี้ก็มี

๕. พระนามที่เรียกในราชการเมื่อล่วงรัชกาลไปแล้ว เกิดแต่ความจำเป็นที่จะต้องเรียกพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลก่อนๆ ในปรากฏพระนามผิดกัน เพราะพระนามตามพระสุพรรณบัฏมักจะเหมือนกันโดยมาก

จึงต้องสมมติพระนามขึ้นสำหรับเรียกเฉพาะพระองค์ เรื่องนี้มีความลำบากเป็นอุทาหรณ์ แม้ในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง คือเมื่อรัชกาลที่ ๒ เรียกรัชกาลที่ ๑ ว่าแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ก็เป็นอันถูกต้องเรียบร้อยมาตลอดรัชกาลที่ ๒ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ มีรัชกาลที่ล่วงแล้วเป็น ๒ รัชกาล เกิดเรียกกันขึ้นว่า แผ่นดินต้น แผ่นดินกลาง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่พอพระราชหฤทัย รับสั่งว่าถ้ารัชกาลที่ ๑ เป็นแผ่นดินต้น รัชกาลที่ ๒ เป็นแผ่นดินกลาง รัชกาลที่ ๓ จะกลายเป็นแผ่นดินสุดท้าย เป็นอัปมงคล

จึงประกาศให้เรียกรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ ตามพระนามพระพุทธรูปซึ่งทรงสร้างขึ้นเป็นพระบรมราชูทิศไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้เรียกพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาจนตราบเท่าทุกวันนี้

มาถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นว่าเรื่องนามแผ่นดินควรจะกำหนดให้เป็นยุติเสียแต่แรกทีเดียว จึงถวายพระนามรัชกาลที่ ๓ ว่า พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนรัชกาลของพระองค์เองให้เรียกว่า พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาจนบัดนี้

พระนามพระเจ้าแผ่นดินที่ล่วงรัชกาลไปแล้ว ซึ่งสมมติเรียกในรัชกาลครั้ง
กรุงเก่า เรียกตามต้นพระนามในพระสุพรรณบัฏบ้าง เรียกตามพระนามพิเศษบ้าง แต่โดยมากนั้นเรียกตามพระนามเดิมที่ปรากฏแก่คนทั้งหลาย เมื่อก่อนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นๆ ได้ผ่านพิภพ

ยกตัวอย่างดังพระนามพระเจ้าแผ่นดินที่เรียกว่า พระราเมศวร พระมหินทร พระนเศวร พระเอกาทศรถ พระรัษฎา พระยอดฟ้า พระเชษฐา พระอาทิตยวงศ์ เจ้าทองจัน เจ้าฟ้าศรีเสาวภาค เจ้าฟ้าชัย

เหล่านี้เป็นพระนามแต่ครั้งยังเป็นลูกหลวงทั้งนั้น พระนามที่เรียกว่า พระบรมราชา พระรามราชา พระอินทรราชา พระไชยราชา พระมหาธรรมราชา พระศรีสุธรรมราชา เหล่านี้บรรดาที่ใช้คำว่า “ราชา” ไว้ท้าย ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเป็นพระนามสำหรับเจ้าครองเมือง

พระนามพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่าที่เรียกพระนามพิเศษ และเรียกอย่างปากตลาดอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดาร มาปรากฏสมมติใช้ในราชการเป็นอย่างอื่น มีอยู่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าหลายพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอนุมัตินำมาใช้ในพระราชนิพนธ์คือ

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ใช้ว่า สมเด็จพระรามาธิเบศร์
สมเด็จพระเพทราชา ใช้ว่า สมเด็จพระธาดาธิเบศร์
สมเด็จพระเจ้าเสือ ใช้ว่า สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี
สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ใช้ว่า สมเด็จพระภูมินทราชาธิราช
สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ใช้ว่า สมเด็จพระมหาบรมราชา


จาก พระนิพนธ์ ในกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หอสมุดแห่งชาติ 2510
ขอขอบพระคุณยิ่ง


Create Date : 01 กันยายน 2552
Last Update : 20 ตุลาคม 2552 17:40:00 น. 0 comments
Counter : 1127 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.