Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
11 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 

บทสัมภาษณ์พิเศษกับจอน สคัลลี่(อดีตผู้บริหาร Apple) เรื่องเคล็ดลับในความสำเร็จของสตีฟ จ็อบส์

โดย Leander Kahney (14 ตุลาคม 2010)

ถอดความโดย : แมวน้อย Smiley เอ่อ! ผมแมวน้อยต้องขอ-ออกตัวสัก 700 เมตรก่อนนะครับว่า ผมบ่แม่นนักแปลมืออาชีพ ดังนั้นอาจมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าโดยรวมแล้ว ผมสามารถถอดความได้ในระดับนึงง่ะครับ


จอน สคัลลี่ อดีตผู้บริหารสูงสุดของ Apple ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสติฟ จ็อบเป็นครั้งแรก

ในปี 1983 สติฟ จ็อบได้พยายามดึงตัวจอน สคัลลี่ ผู้บริหารของ Pepsi ให้มาทำงานกับ Apple ด้วยประโยคนึงซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลกธุรกิจ  " คุณอยากจะขายน้ำผสมน้ำตาลไปทั้งชาติ หรือคุณอยากจะได้โอกาสในการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ "

สำหรับท่านที่ต้องการอ่านต้นฉบับที่ผมถอดความมา ก็ไปดูได้ที่ link ข้างล่างน่ะครับ"
//www.cultofmac.com/john-sculley-the-secrets-of-steve-jobs-success-exclusive

ส่วนฉบับเต็มแบบไม่มีการตัดทอน ก็ตาม link ข้างล่างครับ
//www.cultofmac.com/john-sculley-on-steve-jobs-the-full-interview-transcript/63295



ข้างบนเป็นวีดีโอสัมภาษณ์จอน สคัลลี่ของสำนักข่าว Bloomberg ในรายการพิเศษ Game Changers สคัลลี่ได้พูดถึงประโยคที่สตีฟใช้ในการดึงเขาเข้ามาทำงานด้วย  " You want to sell sugar water for the rest of your life or you want to come with me and change the world. "  ประโยคนี้อยู่ประมาณวินาทีที่ 0:30 น่ะครับ  ถ้าจะแปลอีกทีก็ประมาณ  " คุณอยากจะขายน้ำผสมน้ำตาลไปทั้งชาติ หรือคุณจะไปทำงานกับผม เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ "


จ็อบส์กับสคัลลี่ ได้ช่วยกันบริหาร Apple ในรูปแบบของการเป็น CEO ร่วมกัน ได้ทำการผสมผสานเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างเครื่องแมคอินทอชรุ่นแรกกับสุดยอดแคมเปญโฆษณาอย่าง 1984 ที่โด่งดัง แล้วก็ยังรวมถึงการออกแบบผลิดภัณฑ์ในระดับโลก แต่ในอีกไม่นานนัก ก็มีความขัดแย้งเกิดขึ้น คนรู้จักชื่อเสียงของสคัลลี่ดีที่สุด  ในฐานะคนที่บังคับให้จ็อบส์ลาออกจากบริษัท Apple หลังจากที่เกิดความขัดแย้งในปอร์ดบริหารของบริษัท ในเรื่องการให้เลือกข้างระหว่างสคัลลี่กับจ็อบส์ว่า ใครจะมีอำนาจควบคุมบริษัทอย่างแท้จริง

นี่ถือเป็นครั้งแรกที่สคัลลี่ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับเรื่องราวของสตีฟ จ็อบส์กับเคล็ดลับในความสำเร็จของเขาสู่สาธารณะชน มันเป็นการให้สัมภาษณ์ครั้งแรกของเขา ในเรื่องเกี่ยวกับสตีฟ จ็อบส์ ตั้งแต่ตัวสคัลลี่เองก็ได้ถูกบังคับให้ลาออกจากบริษัท Apple ในปี 1993

สคัลลี่บอกว่า " มันมีหลายบทเรียนในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณ์และการตลาด ที่ผมได้เรียนรู้ในขณะที่ทำงานร่วมกับสติฟในช่วงแรกๆ สิ่งที่ผมประทับใจคือ ในหลายๆปีหลังจากนั้น สตีฟก็ยังคงยึดมั่นกับหลักการในแบบที่เขาเคยใช้ในช่วงเริ่มต้น "

สคัลลี่พูดอีกว่า " ถึงปัจจุบันนี้ ผมก็ไม่คิดว่าสตีฟได้เปลี่ยนแปลงหลักการต่างๆของเขาจากในช่วงที่เริ่มต้นแต่อย่างใด เพียงแต่ว่า เขาทำมันได้ดีขึ้นเท่านั้นเอง "

ผมเจอกับสคัลลี่ในล็อบบี้ของโรงแรมใกล้ๆกับสนามบินโอ๊คแลนด์ สคัลลี่มาประชุมเกี่ยวกับเรื่องกองทุนของบริษัทเค้า กำลังรอเที่ยวบินกลับบ้านในฝั่งตะวันออกของประเทศอยู่

ในตอนแรกที่ผมขอสัมภาษณ์ สคัลลี่ไม่ค่อยอยากพูดเรื่องเกี่ยวกับสตีฟ จ็อบส์ อดีตเพื่อนร่วมงานของเขาที่ Apple เท่าไหร่ ซึ่งสคัลลี่ถือว่า จ็อบส์เป็นทั้งลูกศิษย์และอาจารย์ของเขา

ในอีเมล์ที่ผมติดต่อกับสคัลลี่ก่อนจะนัดขอสัมภาษณ์ สคัลลี่บอกผมว่า  " ทุกวันนี้ผมไม่ได้ติดต่อกับสตีฟเลย สตีฟยังโกรธที่ผมบังคับให้เขาลาออกจากบริษัท Apple เมื่อ 22 ปีก่อน ผมแม่มก็ไม่อยากจะไปทำให้เขาเคืองผมมากไปกว่านี้ ประสบการณ์ของผมในบริษัท Apple กลายเป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ชาติที่แล้ว ผมก็เดินหน้ากับชีวิตต่อไป แล้วผมก็ไม่คิดอยากจะดัง หรือว่ามีความคับแค้นใจอะไรที่จะต้องออกมาพูดถึงเรื่องนี้ "

ผมก็พยายามโน้มน้าวสคัลลี่ ด้วยการบอกว่า ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ของสตีฟ จ็อบส์ แล้วก็ไม่มีความประสงค์ที่จะไปขุดคุ้ยเรื่องฉาวฉุ่ยของชาวบ้าน สิ่งที่ผมอยากจะรู้คือ เบื้องหลังแห่งความสำเร็จ สตีฟ จ็อบส์เค้ามีวิธีการอย่างไร ?

ผมคุยกับสคัลลี่ ซึ่งใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง สคัลลี่ได้เปิดเผยถึงหลักการต่างๆที่จ็อบส์ใช้ในช่วงแรกๆ สคัลลี่บอกว่า มันคือหลักการของสตีฟ จ็อบส์ในการสร้างสินค้าระดับสุดยอด


01. การออกแบบที่งดงาม

เราทั้งคู่เชื่อในเรื่องการออกแบบที่งดงาม โดยเฉพาะสตีฟที่คิดว่า เราต้องเริ่มออกแบบจากมุมมองในเรื่องของประสบการณ์ในการใช้งานของผู้บริโภค เราได้ทำการศึกษาวิธีการของนักออกแบบชาวอิตาลีหลายๆคน ศึกษาเรื่องการออกแบบรถยนต์ของพวกเขา เรียนรู้ตัวรถยนต์ที่พวกเขาออกแบบ ดูวิธีการสร้างทั้งรูปแบบของการประกอบและรูปแบบที่ทำเสร็จแล้ว วัสดุ สีที่ใช้ แล้วก็สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในตอนนั้น ไม่มีแมวที่ไหนในซิลิคอน แวลลี่ ที่ทำแบบเรา เพราะสิ่งที่เราทำ ในช่วงปี 80 มันเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากสิ่งที่ทำๆกันในซิลิคอน แวลลี่ มากที่สุด เรื่องนี้ไม่ใช่ความคิดของผม แต่ผมก็สามารถเชื่อมโยงกับมันได้ เพราะผมมีพื้นฐานด้านการออกแบบมาก่อน(แมวน้อยผู้ถอดความ : สคัลลี่เรียนจบสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม) สตีฟพยายามผลักดันแนวคิดนี้มากที่สุด สิ่งที่หลายๆคนไม่ได้ตระหนักคือว่า Apple ไม่ได้แค่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่มันยังเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบการตลาด และการวางตำแหน่งสินค้า


02. ประสบการณ์ในการใช้งานของผู้บริโภค

สตีฟจะดูในมุมมองของประสบการณ์ในการใช้งานของผู้บริโภคอยู่ตลอดว่า ผู้บริโภคจะรู้สึกยังไง ประสบการณ์การใช้งานของผู้บริโภคจะต้องเป็นแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขบวนการในการพิมพ์ (desktop publishing) หรือเรื่องของเพลงอย่าง iTunes มันเป็นส่วนหนึ่งในระบบที่ครบวงจร ซึ่งรวมทั้งเรื่องการผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ การตลาด ร้านขายปลีก


03. ไม่มีกลุ่มตัวอย่าง (No focus groups)

สตีฟบอกว่า  " คุณคงจะไปถามคนๆนึงไม่ได้หรอกว่า คอมพิวเตอร์ที่มีระบบกราฟฟิคหรือรูปภาพเป็นตัวแทนการใช้งานควรจะเป็นยังไง? เพราะแม่มยังไม่มีใครเคยเห็นคอมพิวเตอร์ที่มีระบบกราฟิคเป็นตัวแทนการใช้งานเลย " สตีฟเชื่อว่า ถ้าเอาเครื่องคิดเลขไปให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้ มันก็คงไม่สามารถใช้วิเคราะห์ได้ว่า พวกเขาอยากจะใช้งานคอมพิวเตอร์แบบไหน เพราะว่า สองสิ่งนี้ ระหว่างคอมพิวเตอร์กับเครื่องคิดเลข มันไม่ได้ใกล้เคียงกันเลย


04. ผู้ที่ชื่นชมในความสมบูรณ์แบบ

สตีฟเป็นคนที่ยึดมั่นในเรื่องของรายละเอียดทุกขั้นตอน เขาเป็นคนที่มีระบบระเบียบ รวมทั้งมีความรอบคอบในทุกเรื่องที่ทำ เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่ชื่นชมในความสมบูรณ์แบบตัวจริง


05. วิสัยทัศน์

สตีฟเชื่อว่า ในที่สุดแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะกลายเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภค ซึ่งเป็นความคิดที่ในช่วงต้นทศวรรษ 80 ไม่ค่อยมีใครจะเห็นด้วย เพราะคนในตอนนั้นคิดว่า PC หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ก็เป็นเพียงแค่เวอร์ชั่นที่เล็กลงของคอมพิวเตอร์ในแบบ MainFrame ที่ใช้กันในบริษัทใหญ่ๆ บริษัทอย่าง IBM ก็คิดแบบนี้ บางคนก็คิดว่า PC มันน่าจะเป็นคล้ายๆกับเครื่องเล่นเกม เพราะในช่วงนั้นก็เริ่มมีเครื่องเล่นเกมแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องเล่นเกมแบบไม่ซับซ้อน แล้วก็ใช้ต่อเล่นกับทีวี แต่สตีฟคิดในสิ่งที่แตกต่างออกไปเลย เขาเชื่อว่า คอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ แล้วก็จะกลายเป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า " จักรยานของความคิด " มันจะช่วยให้คนทั่วไปมีศักยภาพในการทำในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยฝันมาก่อนเลยว่าจะทำได้ มันจะไม่ใช่แค่เครื่องเล่นเกม ไม่ใช่แค่เครื่อง Mainframe ที่ย่อขนาดลง สตีฟเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมาก


06. ความเรียบง่าย (Minimalism)

สิ่งที่ทำให้หลักการของสตีฟแตกต่างจากคนอื่นๆก็คือ สตีฟเชื่ออยู่ตลอดว่า การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดไม่ใช่สิ่งที่คุณคิดว่าจะทำ แต่เป็นสิ่งที่คุณคิดว่าจะไม่ทำ เขาเป็นคนที่เน้นความเรียบง่าย (minimalist)

สตีฟเป็นคนที่เน้นความเรียบง่าย (minimalist) แล้วก็พยายามที่จะลดความซับซ้อนของสิ่งต่างๆให้ลงมาอยู่ในระดับที่ง่ายที่สุดตลอด มันไม่ใช่แค่ความเรียบง่ายอย่างเดียว แต่มันเป็นการทำให้ง่ายขึ้น สตีฟเป็นนักออกแบบระบบ เขาทำให้ความซับซ้อนต่างๆลดลงมาอยู่ในระดับที่ง่ายที่สุด


07. จ้างคนที่เก่งสุด

สตีฟมีความสามารถในการเอื้อมไปขว้าหาคนที่เก่งที่สุด ฉลาดที่สุด ที่เขาคิดว่ามีอยู่ข้างนอก สตีฟเป็นคนที่มีทั้งแรงดึงดูดใจและความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ในการจูงใจให้คนเก่งๆอยากมาทำงานด้วย เขาสามารถทำให้คนเชื่อในวิสัยทัศน์ของเขา แม้ว่าผลิตภัณฑ์ที่เขาพูดถึงจะยังไม่เคยมีใครเคยทำมาก่อน เขาพยายามออกไปหาคนเก่งในแต่ละสาขาให้เข้ามาทำงานด้วยตลอด ในเรื่องของการรับคนเข้าร่วมทีมงานของเค้า สตีฟจะต้องเป็นคนเลือกเอง ไม่เคยปล่อยให้คนอื่นจัดการแทน


08. ใส่ใจในรายละเอียด

ในด้านนึง สตีฟจะทำงานในระดับใหญ่ อย่างแนวความคิดในระดับที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ แต่ในอีกด้านนึง เขาจะทำงานในระดับที่ลงรายละเอียดว่า มันจะต้องใช้อะไรบ้างในการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวนึง ซึ่งรวมถึงการออกแบบ software การออกแบบ hardware การออกแบบระบบ ไปจนถึงโปรแกรมต่างๆที่จะให้ไปกับ Hardware อุปกรณ์ที่จะใช้เชื่อมต่อ เขาจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของการโฆษณา การออกแบบ แล้วก็ทุกๆอย่างอยู่ตลอด


09. พยายามให้เล็กเข้าไว้

อีกด้านนึงเกี่ยวกับสตีฟคือ เขาไม่นับถือในวิธีการขององค์กรใหญ่ๆ เขารู้สึกว่า มันเหมือนกับระบบราชการและไม่มีประสิทธิภาพ เขาเรียกคนเหล่านี้ว่า "พวกงี่เง่า(bozos)" ซึ่งเป็นคำที่สตีฟใช้เรียกพวกองค์กรใหญ่ๆที่เขาไม่ได้ให้ความเคารพ

สตีฟมีกฏข้อนึงคือ จะไม่มีบุคลากรมาก-กว่า 100 คนในทีมที่ร่วมสร้าง Macintosh รุ่นแรก(แมวน้อยผู้ถอดความ : Macintosh รุ่นแรกคือคอมพิวเตอร์สำหรับตลาดผู้บริโภครุ่นแรก ที่ใช้เมาส์และรูปกราฟฟิคเป็นตัวแทนการใช้งาน ตัวอย่างที่เห็นได้คือระบบปฏิบัติการณ์ Windows และ Mac OS X ในปัจจุบัน) ดังนั้นถ้าอยากจะเพิ่มใครไปในทีมงาน ก็จะต้องมีคนออกจากทีม แนวคิดแบบนี้เกิดจากการที่สตีฟสังเกตุว่า "ผมไม่สามารถจำชื่อของคนที่ทำงานด้วยได้เกิน 100 ชื่อ แล้วผมก็อยากทำงานกับคนที่ผมรู้จักเป็นการส่วนตัว ถ้าทีมงานดันมีมาก-กว่า 100 คน โครงสร้างขององค์กรเราก็ต้องเปลี่ยนเป็นแบบอื่น ซึ่งผมทำงานแบบนั้นไม่ได้ แนวทางที่ผมอยากทำคือ ผมสามารถจะดูแลได้ในทุกรายละเอียด"  สคัลลี่บอกว่า นี่คือวิธีการที่เขาเห็นสตีฟดูแลทีมงาน ในขณะเขาที่ทำงานกับสตีฟที่ Apple


10. ปฏิเสธงานห่วย

มันเหมือนกับสถานที่ผลิตงานของช่างฝีมือ สตีฟเป็นหัวหน้าช่างที่คอยเดินตรวจตรารอบๆ ดูช่างทำงาน ประเมินผลงาน แล้วในหลายๆครั้งก็คอยตัดสินใจว่า งานชิ้นไหนที่ต้องปฏิเสธ

วิศวกรด้าน Software จะเอา code ที่เขียนล่าสุดมาให้สตีฟดู สตีฟก็จะดูมัน โยนกลับไปยังคนเขียน แล้วบอกว่า "ยังไม่ดีพอ" สตีฟพยายามที่จะบังคับให้คนที่เค้าทำงานด้วยมีความคาดหวังในความสามารถของตัวเองสูงขึ้นอยู่ตลอด ดังนั้น มันก็เลยทำให้คนที่ทำงานกับเขา สามารถผลิตงานออกมาได้ในแบบที่พวกเขาไม่คิดว่าจะสามารถทำได้มาก่อน สตีฟสามารถเล่นได้สองบทบาท บทบาทนึงก็เป็นคนที่มีแรงดึงดูด แรงผลักดัน และสามารถทำให้ทีมงานตื่นเต้นที่จะส่วนหนึ่งของการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ แต่ในอีกบทบาทนึง เขาจะเป็นคนที่ไม่มีความเกรงใจในเรื่องของการปฏิเสธงานห่วยๆของทีมงาน จนกระทั่งพวกเขาสามารถปรับปรุงให้งานสมบูรณ์แบบ และดีพอในมาตราฐานของสตีฟได้ ในกรณีที่ผมพูดถึงคือ เครื่อง Macintosh รุ่นแรก


11. ความสมบูรณ์แบบ

สิ่งที่ทำให้สตีฟแตกต่างจากคนอื่น อย่างบิล เกตส์ ซึ่งบิลก็เป็นคนที่เก่งมากคนนึง แต่บิลไม่เคยให้ความสนใจในเรื่องของการมีรสนิยมที่ดี เขามักจะสนใจในเรื่องของการครอบครองส่วนแบ่งหลักของตลาดอยู่ตลอดเวลา เขาจะผลิตสินค้าแบบไหนก็ได้ ที่สามารถทำได้ในตอนนั้น เพื่อครอบครองส่วนแบ่งของตลาด แต่สตีฟจะไม่ทำอย่างนั้น สตีฟเป็นคนที่เชื่อในเรื่องของความสมบูรณ์แบบ


12. นักคิดแบบครบวงจร

iPod เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในวิธีการคิดของสตีฟ เริ่มจากการคิดในมุมมองของผู้ใช้งาน แล้วก็มองไปให้ครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่ต้นจนจบ สำหรับสตีฟแล้ว เขาจะคิดในแบบที่ครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่ต้นจนจบอยู่ตลอด เขาไม่ใช่นักออกแบบ แต่เขาเป็นนักคิดในแบบครบวงจรที่เก่งมาก ซึ่งสิ่งแบบนี้คุณจะไม่ได้เห็นในบริษัทอีกหลายๆแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทเหล่านั้นจะสนใจเฉพาะสิ่งที่พวกเขาถนัด แล้วก็เอางานส่วนอื่นๆไปจ้างบริษัทข้างนอกทำ

ยกตัวอย่างของสินค้าอย่าง iPod ในเรื่องระบบของการจัดซื้อส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตจากทั่วโลกไปยังโรงงานผลิตในประเทศจีน ระบบการสั่งซื้อส่วนประกอบก็เจ๋งพอๆกับกระบวนการที่ใช้ออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ มาตราฐานของความสมบูรณ์แบบในเรื่องของการจัดซื้อ ก็เป็นในระดับเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ผู้ใช้งาน ซึ่งมันเป็นมุมมองที่โค-ตะ-ระแตกต่างจากคนอื่นๆ

ก็เป็นอันจบการถอดความในเรื่องบทสัมภาษณ์พิเศษกับจอน สคัลลี่(อดีตผู้บริหาร Apple) เรื่องเคล็ดลับในความสำเร็จของสตีฟ จ็อบส์ แล้วครับ

ขอขอบคุณ Leander Kahney สำหรับบทความที่ผมขโมยมาถอดความ ส่วนความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการถอดความ ผม แมวน้อยขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ หวังว่าบทความนี้อาจจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามาอ่านบ้าง ถ้าไม่มีประโยชน์อันใด อย่างน้อยผมก็หวังว่า น่าจะพออ่านเพลินๆได้นะครับ

ท้ายสุดนี้ สำหรับผู้ที่สนใจวิธีการทำเว็บไซด์โดยใช้ระบบ CMS อย่าง Joomla! ในแบบที่สอนเป็นวีดีโอ เรียนรู้ได้ง่าย คุณสามารถไปดูรายละเอียดได้ที่เว็ปไซด์นี้ Tutorcat.Com แผ่นนี้เป็นในรูปแบบของดีวีดี-รอมสอนการใช้งาน Joomla! 1.5 โดยลินดาดอทคอม - Featuring(ร่วมด้วย) Tutorcat ซึ่งก็คือผมเอง พูดเป็นภาษาไทยทั้งหมดน่ะครับ ขายราคาเพียงแผ่นละ 175 บาท ซึ่งรวมค่าส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด้วยครับ ถ้าคุณอยากจะทำเว็บไซด์ในแบบที่สามารถ Update ข้อมูลได้ง่าย มีระบบสมัครสมาชิก มีระบบที่สามารถให้คนเข้ามาดูแสดงความเห็นได้ ฯลฯ คุณสามารถใช้ Joomla! สร้างได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาพวก PHP, CSS ฯลฯ คุณสามารถไปดูรายละเอียดตาม Link ที่ให้ไว้น่ะครับ




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553
0 comments
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2553 8:26:32 น.
Counter : 3518 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


tutorcat
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add tutorcat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.