Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
31 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
การใช้ Parabolic SAR , Bollinger Band , เส้นค่าเฉลี่ย

ต่อไป เรามาศึกษาวิธีการใช้ overlays




ที่จริงมีหลายตัว แต่ที่เราใช้บ่อยๆมี 3 ตัวคือ

1. Parabolic SAR

2. Bollinger Band

3. ค่าเส้นเฉลี่ย

............................

รูป 1. Parabolic SAR หน้าตาจะประมาณนี้



หลักการของมันก็คือ ถ้ามีจุดสีเหลืองอยู่ด้านล่างราคามีแนวโน้มที่จะวิ่งขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าจุดสีเหลืองอยู่ด้านบน ราคาก็มีแนวโน้มที่จะวิ่งลง

และที่สำคัญ หากจุดสีเหลือง วิ่งเข้าใกล้ราคาหุ้น (ราคาเฉลี่ย) ราคามีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนในระยะเวลาอันใกล้

และถ้าจุดสีเหลืองกับราคา ยังห่างกันอยู่ ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นแนวโน้มเดิมต่อไป




Parabolic SAR อาจจะไม่ใช่ตัวบอกสัญญาณที่ดีที่สุด เพราะว่ามันค่อนข้างจะช้า การกลับตัวของแนวโน้ม มันค่อนข้างจะช้าไป 1 จังหวะ สังเกตุดีๆ


...........................

ต่อไปเรามาดู 2. Bollinger Band



รูปร่างหน้าตาของมันจะเป็นประมาณนี้

คนที่พัฒนา Bollinger Band คือ Mr. John Bollinger เขาได้ใส่ตัวเลขค่าเบี่ยงแบนมาตรฐานลงไปบนเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (อะไรฟ๊ะ โครตงง) กินข้างก่อนดีกว่า งง

กล่าวโดยสรุป Bollinger Band ไม่ค่อยจะเข้าใจ แต่ได้รู้เพิ่มเติมคือ การวิเคราะห์ ใช้เครื่องมืออย่างใดยอ่างหนึ่งในการวิเคราะห์ไม่ได้ ต้องประกอบๆกัน และต้องฝึกวิเคราะห์ให้ชำนาญ

หลังจากที่ดูรูป 2 ได้ข้อมูลมาอีกอย่างคือ หากเส้นราคาทะลุเส้นใดเส้นหนึ่ง มันมีโอกาสที่จะปรับเข้าจุดเดิมของมัน ประมาณว่า กลับเข้าหาสมดุล


.................................


ต่อไป คือ 3. เส้นค่าเฉลี่ย



เส้นค่าเฉลี่ยก็มีหลายตัว แต่เห็นว่า EMA จะแม่นยำที่สุด แล้วสังเกตุดูดีๆ EMA ก็มีหลายคลื่นความถี่ซะด้วย

หลักการของมันคือ เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น เช่นเส้น 5 วัน 10 วัน ตัดขึ้นเหนือ เส้นค่าเฉลี่ยนระยะยาว มันเป็นสัญญาณราคาหุ้นขึ้น ตามรูปข้างล่าง








และตรงกันข้าม เมื่อเส้นระยะสั้นตัดลงกับเส้นระยะยาว มันเป็น ราคาหุ้นลง ตามรูปข้างล่าง




...........................

การใช้เส้น EMA ดูว่า เข้าเขตซื้อ หรือเขตขายมากเกินไปหรือไม่ โดยดูว่าเส้นราคา พ้นเส้น ค่าเฉลี่ยมากเกินไปหรือไม่ แต่ถ้าจะให้ชัดเจน ให้ใช้อินดิเคเตอร์ ตัวอื่นๆช่วยยืนยันด้วย
และต้องสังเกตุดีๆว่า เส้นค่าเฉลี่ย เกือบเป็นเส้นตรง แต่เส้นราคา ชันมาก นั้นแสดงให้เห็นว่า ราคาขึ้นเร็วเกินไป และมีแนวโน้มว่า ราคาจะกลับเข้าหาเส้นค่าเฉลี่ยนในเวลาอีกไม่นาน





..........................

รูปต่อไป เป็นการใช้เส้น EMA ดูสภาวะตลาด กล่าวคือ ถ้าเส้น EMA ระยะสั้น ขึ้นไปแตะ หรือลงไปแตะ แต่ไม่สามารถผ่านทะลุเส้นระยะยาว เป็นการยืนยันแนวโน้มเดิม




.....................................

เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดลง เส้นระยะยาว แต่ไม่สามารถตัดเส้น 200 ได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ ราคาหุ้นตัวนั้น จากรูปเป็นหุ้นของ ปตท. จะเห้นได้ว่า แค่ EMA 75 ก็เก็บอยู่หมดแล้ว แสดงใหญ่ เห็นว่า หุ้นมันแค่พักตัว แล้วมันก็จะขึ้นต่อ




จบแว้วววววววววว เดียวไปต่อเรื่องใหม่


Create Date : 31 พฤษภาคม 2553
Last Update : 29 มิถุนายน 2553 14:51:46 น. 0 comments
Counter : 10524 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tunsystem
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




Friends' blogs
[Add tunsystem's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.