กุญแจสู่ความมั่งคั่ง "The Key of Wealth"
Group Blog
 
<<
มกราคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
7 มกราคม 2556
 
All Blogs
 

เล่นหุ้นทางเทคนิคแบบ 2 in 1 ด้วย กลยุทธ์ Volatility Squeeze

Volatility คือค่าความผันผวนของราคาหุ้นหรือเรียกง่ายๆ คือค่าความเสี่ยงในหุ้น (อ่านบทความเรื่อง Volatilityที่ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=topstock&group=5 ซึ่งเราสามารถใช้ค่า Volatility มากำหนดจังหวะการเข้าซื้อได้โดยใช้หลักการพิจารณาร่วมกับทิศทางแนวโน้มของราคาหุ้น และใช้การ Breakout กรอบของราคามาเป็นตัวกำหนดจังหวะการเข้าซื้ออีกชั้นหนึ่ง

กลยุทธ์ Volatility Squeeze เป็นกลยุทธ์ค่อนข้างใหม่ที่สามารถหาจังหวะเข้าซื้อและตรวจสอบสภาวะของตลาด ว่าเป็น “Sideway” หรือ“Trending” ได้พร้อมๆ กัน (2 in 1) โดยใช้Overlay 2 ตัว คือ Bollinger Band และ KeltnerChannel ซึ่ง Overlay ทั้ง 2ชนิดมีลักษณะเป็นแถบหรือช่วงราคาโดยสร้างจาก Volatility (กรณีของKeltner ใช้ ATR เป็นตัว Proxy ของ Volatility)

ทั้ง Bollinger Band และ Keltner Channel ประกอบไปด้วยเส้น 3 เส้น คือ

1.แถบราคาด้านบนหมายถึงหุ้นมีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาในช่วงที่ผ่านมา

2. แถบราคาด้านล่างหมายถึงหุ้นมีราคาต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับราคาในช่วงที่ผ่านมาและ

3. เส้นกลางหมายถึงราคาเฉลี่ยของหุ้นในช่วงที่ผ่านมาโดยปกติแถบราคามีพฤติกรรมดังนี้

ในตลาด Sideway ราคาหุ้นจะวิ่งบริเวณเส้นกลางของแถบราคา

ในตลาดขาขึ้น (Trend Up) ราคาหุ้นจะวิ่งบริเวณแถบด้านบน

ในตลาดขาลง (Trend Down) ราคาหุ้นจะวิ่งบริเวณแถบด้านล่าง

หลักเกณฑ์ของการออกแบบกลยุทธ์ Volatility Squeeze ได้มาจากลักษณะของ Overlay ทั้งสอง นั่นคือ แถบราคาของKeltner Channel สร้างด้วยเส้นค่าเฉลี่ย ExponentialMoving Average (EMA) ดังนั้นแถบราคาของ Keltner จึงเรียบ (smoothing) มากกว่าแถบราคาของ Bollingerแต่แถบราคาของ Bollinger ไวต่อราคาหุ้นมากกว่าดังนั้นแถบราคาของ Bollinger จึงยืดและหดตัวมากกว่าแถบราคาของKeltner โดยสรุปได้ดังนี้ 


(ดูภาพประกอบ)

** ในช่วงที่ตลาดเป็น Sidewayแรงซื้อแรงขายไม่สามารถเอาชนะกันได้เด็ดขาด Volatility จะมีค่าต่ำ การพิจารณาว่าตลาดทำ Sideway หรือไม่ดูจากแถบราคา Bollinger (ฟ้า) ต้องอยู่ภายในแถบราคา Keltner (เขียว)

** เมื่อแรงซื้อหรือแรงขายชนะกันโดยเด็ดขาดตลาดจะเริ่มทำ Trending ค่า Volatility จะมีค่าสูงขึ้นการพิจารณาว่าตลาดทำ Trending หรือไม่ ดูจากแถบราคา Bollinger(ฟ้า) วิ่งออกนอกแถบราคา Keltner (เขียว) บริเวณ Breakout

ดังนั้นจังหวะเข้าซื้อหุ้น คือ ช่วงหลังจากเกิดVolatilitySqueeze จังหวะที่แถบราคา Bollinger วิ่งออกนอกแถบราคาKeltner อย่างชัดเจน (ช่วง Breakout กรอบของราคา)

เมื่อสังเกตบริเวณที่เกิด VolatilitySqueeze จะสังเกตได้ว่า Aroon Indicatorบ่งบอกว่าตลาดกำลังทำ Sideway อยู่ (อ่านรายละเอียดการทดสอบตลาด Sideway/Trending ด้วย Aroon Indicator ที่ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=topstock&month=01-2013&date=04&group=2&gblog=8) ดังนั้นช่วงที่เป็น Volatility Squeeze ก็สามารถยืนยันได้ว่าตลาดทำ Sideway เช่นเดียวกันกับการใช้ AroonIndicator ตรวจสอบครับ

สรุป นักลงทุนสามารถใช้กลยุทธ์แบบ Volatility Squeeze หาทั้งจังหวะการเข้าซื้อ และตรวจสอบสภาวะตลาดได้ นับว่าเป็นเทคนิคเล่นหุ้นแบบ 2 in 1 ที่น่าลองครับ

ถูกใจบทความ คลิ๊ก LIKE Fanpage ได้ที่นี่  

//www.facebook.com/SpyWing.net

ขอบคุณมากๆ ครับ




 

Create Date : 07 มกราคม 2556
0 comments
Last Update : 4 เมษายน 2558 6:54:49 น.
Counter : 11545 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Top Money
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




Google
New Comments
Friends' blogs
[Add Top Money's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.