Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
6 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
แต่งภาพงานภายนอกสไดล์ Nut

ห่างหายจากการเขียนติวเตอร์ไปนาน วันนี้อากาศเย็นสบาย ครึ้มฟ้าครึ้มฝน เลยครึ้มอกครึ้มใจ มาเขียนแนวคิดในการแต่งภาพ(หรือ retouch)สำหรับงาน exterior ให้เพื่อนๆน้องๆได้อ่านกันเพลินๆ จริงๆเรื่องนี้พี่ต้อมได้เคยเขียนไปแล้ว สำหรับผมขอเพิ่มเติมเล็กๆน้อยๆ หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างนะครับ

งาน exterior จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย แต่สิ่งหนึ่งซึ่งมองเห็นได้ค่อนข้างชัดเลยสำหรับคนเขียนภาพ perspective คือ คนเขียนตีฟภายใน(ด้วยคอมฯ) มักจะเขียนตีฟภายนอก(ด้วยคอมฯ)ไม่สวย และในทางกลับกัน คนเขียนตีฟภายนอก(ด้วยคอมฯ) ก็มักจะเขียนตีฟภายใน(ด้วยคอมฯ)ไม่สวย อันนี้พูดถึงส่วนใหญ่นะครับ มันก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางคน ที่ทำได้สวยทั้งสองอย่าง
สาเหตุหลักๆในความคิดเห็นของผม มีสาเหตุมาจาก
1. แนวคิดในการจัดแสง
2. การเลือกเลนส์ของกล้องและความสูงของกล้อง
3. องค์ประกอบ หรือ ของประกอบฉาก


แนวคิดในการจัดแสง
ขอพูดเฉพาะการจัดแสงแบบ scanline นะครับ
คนอินทีเรียพอมาเขียนตีฟภายนอกมักจะลืมว่ากำลังทำตีฟภายนอกอยู่ จึงเผลอตัวใส่แสงสะท้อนแบบ indirect ซะเยอะแยะไปหมด หรือไม่ก็ใส่ scratch ใส่ bump เน้นแมททีเรียลจนโดดเด่นไปซะทุกจุด ซึ่งพอดูรวมๆแล้วแทนที่จะงามก็กลายเป็นทำลายตัวอาคาร เพราะภาพที่เรนเดอร์ออกมาจะดูหลอกๆ

ทีนี้มาว่าถึงคนเอ็กซ์ทีเรีย ไปทำตีฟภายในบ้าง เวลาจัดแสงมักจะไม่ละเอียด ไม่รู้จักเน้น area shadow ไม่รู้จักเน้น highlight ของแมททีเรียล ไม่รู้จัก scratch และ bump หนักๆ ภาพที่ออกมาเลยทื่อๆ แบนๆไร้ซึ่งรายละเอียดที่ควรมีสำหรับงานอินทีเรีย

ขอสรุปง่ายๆดังนี้ งานภายนอกเน้นภาพรวมเป็นหลัก แล้วค่อยเจาะลงดีเทลตามความเหมาะสม งานภายในเน้นดีเทลเพื่อสร้างภาพรวม

หมายเหตุ ไม่ต้องเชื่อผมทั้งหมดนะครับ มันคือความคิดเห็นส่วนตัว

การเลือกเลนส์กล้องและความสูง
งานภายนอกส่วนใหญ่ใช้เลนส์ขนาด 35-50 มม. ถ้าน้อยกว่านี้ใช้เฉพาะสถานการณ์พิเศษ ความสูงของกล้อง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1.70-2.20 ม. สำหรับภาพ normal eye view
ถ้าชินกับงานอินทีเรีย ใช้เลนส์ 20 24 28 ตีฟแรงๆมักจะทำให้อาคารดูไม่นิ่ง ไม่ปึ้ก หรือตั้งกล้องที่ 1.10 - 1.40 ม. มักไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ในการที่จะทำให้ภาพสวย
ไม่ได้หมายความว่าห้ามใช้นะครับ แต่บอกจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า มันทำให้สวยยากและลูกค้ามักจะไม่ปลื้ม ดังนั้นสำหรับมือใหม่หัดขับแนะนำว่างานภายนอก 35 50 1.70 2.20 โลด พอเป็นเซียนแล้วค่อยพลิกแพลง
สำหรับตัวผมเอง ยังท่อง 35 50 1.70 2.20 อยู่เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะทางอีโก้กับลูกค้า

องค์ประกอบหรือของประกอบฉาก
อินทีเรียของประกอบฉากเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต และอยู่นิ่งๆ ดังนั้นผู้เขียนตีฟอินทีเรียจึงต้องสร้างชีวิตชีวาให้กับของเหล่านั้นด้วย การเน้น ไฮไลท์ แมททีเรียล แสงที่ตกกระทบและเงา ให้ดูมีมิติ มีความรู้สึกที่สัมผัสได้
เช่น ความพริ้วของผ้าม่าน ความนุ่มของผ้า ความกิ๊งของแก้ว เป็นต้น หากขาดสิ่งเหล่านี้ภาพจะดูจืดชืดไร้อารมณ์

ส่วนงานภายนอก ส่วนใหญ่ของประกอบฉากเป็นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งที่เคลื่อนที่ได้ ได้แก่ คน รถ ต้นไม้ ดังนั้น การสร้างความสมจริงให้จริงมากที่สุดก็คือการใช้ของจริง(55555) มาประกอบฉาก อันได้แก่ภาพไดคัทต้นไม้ คน และรถ

เกริ่นมาซะยาว ก็เพื่อจะเข้าเรื่อง รีทัช(retouch)

ผมจะยกตัวอย่าง งานเขียนตีฟบ้านก็แล้วกันนะครับ และก็เลือกซีนใกล้ค่ำหรือช่วงเย็นๆเพื่อเอาใจคนอนทีีเรียด้วย เพราะจะใส่แสงได้สนุกกว่า ไม่งั้นใส่โดมไลท์ ไดเร็คไลท์ จบแค่นี้เด็กแนวจะเซ็ง
พอเลือกช่วงเวลาได้แล้ว ทีนี้ผมก็จะกำหนดโทนสีของแสงที่จะใช้ ใน 3dsmax ผมเลือก 4 สี สำหรับงานนี้ ได้แก่สีฟ้าหม่นๆ สีม่วงจางๆ สีเหลืองอ๋อยๆ และสีน้ำตาลจืดๆ พอมันมาผสมกัน มันจะได้อารมณ์ หม่นๆ มัวๆ แต่จะแอบมีแสบๆแต้มในบางจุด
เทคนิคที่ใช้คือ dome light คุมโทนภาพก่อน จากนั้นใส่ดวงอาทิตย์(direct light) ให้เงาเป็น shadow map ประมาณ 2048 และเบลอค่าเงาที่ sample range ประมาณ 16-20 ( อันนี้แล้วแต่ขนาดภาพ output ที่จะเรนเดอร์ออกมา ผมเรนเดอร์ที่ขนาด 3600x2400 -300dpi เซฟเป็น tiff มี alpha chanel เพื่อสะดวกในการ รีทัชในภายภาคหน้า)

ทีนี้เมื่อเราต้องการให้เงามัน soft ตำแน่งการวางดวงอาทิตย์ก็สำคัญ มุมของดวงอาทิตย์ที่ทำมุมกับระนาบพื้นดิน โดยประสบการณ์และการบอกต่อๆกันมา ตัวเลขจะเป็น 30 45 60 องศา งานนี้เป็นช่วงเย็น ผมเลยเลือก 30 องศาโดยประมาณ
จากภาพผมให้ดวงอาทิตย์อยู่ทางซ้าย เพื่อให้ผนังด้านข้างเป็น shade ตัดกับผนังด้านที่รับแสง ( ผมใช้สีน้ำตาลจืดๆสำหรับแสงอาทิตย์) เพื่อเน้น shade ให้ได้น้ำหนัก จึงใส่ omni สีม่วงจางๆไว้ทางขวาเยื้องไปทางด้านหลังบ้านเล็กน้อย จากนั้นใส่ไฟ free spot ตามจุดต่างๆในบ้าน และ ตบไฟไปที่ฝ้าเพดาน เพื่อให้ฝ้าที่มืดนั้นสว่างขึ้น พยายามคุมน้ำหนักให้เกลี่ยกันพอดี
เทคนิคการเกลี่ยแสงของผม เอาไว้มีโอกาสค่อยมาเล่าให้อ่านอีกที วันนี้ขอว่ากันเรื่องรีทัชอย่างเดียวก่อน
เมื่อเทสเรนเดอร์จนเป็นที่พอใจแล้ว สั่งเรนเดอร์ เซฟไฟล์ ปิดโปรแกรม 3dsmax เปิด photoshop จากนั้นไปที่ selection > load selection เลือกไปที่ alpha ติ๊กตรง
invert กด enter ดับเบิ้ลคลิกที่ layer background เพื่อปลดล็อค แล้วกด delete จะได้ภาพที่ background ใสแบบนี้ แล้วเราก็จะได้เริ่มลงมือรีทัชกัน


จริงๆแล้วผมเลือก background ท้องฟ้าสำหรับภาพนี้ไว้แล้วก่อนที่จะจัดแสง ผมจึงเริ่มจากลากภาพท้องฟ้าเข้ามาใส่เลย จะให้ดีเราให้มันเป็น background ใน max ตั้งแต่แรกเพื่อเป็น guide ในการเลือกสีตอนเราจัดแสง
เราปรับขนาดของ layer ท้องฟ้านี้ได้ตามใจชอบ(แต่ระวังภาพแตก) จริงๆแล้วภาพท้องฟ้านี้เกิดจากการผสมท้องฟ้าหลายๆภาพปรับสีแต่งไปแต่งมา จนพอใจแล้วก็เซฟเก็บเอาไว้ใช้
ผมลากมันไปมา ขยับแล้วขยับอีก จนได้ตำแหน่งที่พอใจ


ต่อมาเราก็ใส่ background พวกต้นไม้ต่างๆ พยายามวางคอมโพสให้ดีมีระยะหน้าหลัง แม้มันจะทำหน้าที่แค่เป็น background ก็ตาม ผมจัดน้ำหนักมืดสว่างให้มันด้วย โดยให้ด้านซ้ายสว่าง ด้านขวามืด ซึ่งอิงจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ในฉากของเรานั่นเอง


จากนั้นให้ใช้หลักการนำสายตา สู่ตัวอาคาร
เล่นกันแบบง่ายๆครับ แต่มักจะได้ผลเสมอ
ผมลองลากเส้น เป้นแนวทางให้ดูดังนี้


สามารถใช้ทั้งต้นไม้ ทางเดิน หรือออบเจ็คอื่นๆ เพื่อเป็นตัวชี้ไปที่เป้าของเรา
อันนี้ผมใส่ทางเดินเข้าไป กลางภาพเยื้องมาทางขวานิดๆ เพิ่มลานหน้าบ้านเพื่อให้มันมีที่จบ


เมื่อกำหนดเส้นนำสายตาหลักด้วยทางเดินปูหินแล้ว ผมก็เพิ่มเส้นนำสายตารอง ด้วยไม้พุ่มเตี้ยๆ โดยถือว่ามันเป็น foreground ไปด้วย นอกจากนี้ ไม้พุ่มเหล่านี้สำหรับผม ยังถือว่าเป็นการถมสนามหญ้าหน้าบ้านไปด้วย (ตามแบบพิมพ์นิยมในโฆษณาขายบ้าน)
การเลือกสีหรือปรับสี ควรให้คุมโทนภาพรวมทั้งหมด
เช่นภาพนี้ มีสีม่วง ฟ้า เขียว เหลือง ผมก็จะปรับภาพ layer foreground ด้วย color balance โดยการเลื่อน slide ไปทาง red magenta และ yellow นิดหน่อย พอได้ตามชอบแล้วก็
โอเค


ตอนนี้มาถึงขั้นตอน ใส่ foreground เพิ่มเติม
ถ้าทุกท่านคุ้นเคยกับภาพ tive ภายนอก ท่านมักจะเห็นกิ่งไม้แพลมๆ อยู่ไม่มุมซ้ายก็มุมขวาของภาพ นอกจากทำหน้าที่เป็นออปเจ็คในระยะหน้าแล้ว มันยังทำหน้าที่เป็นตัวชี้เป้าอีกด้วย ( คล้ายๆเวลาเจ้าทุกข์ชี้ตัวผู้ต้องหา ใน นสพ.หัวสี) ส่วนกิ่งไม้นี้จะแพลมออกมามากน้อยแค่ไหน ไม่มีใครกำหนดกฎตายตัวเอาไว้ แต่สำหรับผมแล้วจะไม่ยอมให้ปลายของมันล้ำเกินขอบตัวอาคารในด้านนั้นๆ มากเกินไป
เช่นภาพนี้ กิ่งไม้แพลมอยู่ด้านซ้าย ผมจะไม่ให้ปลายของมันล้ำเขตตัวอาคารมากเกินแนวชายคาซ้ายสุด แต่บังเอิญว่าภาพนี้ อาคารมีการลดหลั่น เป็น step ผมจึงให้กิ่งไม้ล้ำตาม step เข้ามา แต่จะไม่ให้เกินขอบชายคาด้านซ้ายของตัวบนสุด

สรุปว่า อันนี้แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่านแล้วกันครับ

ส่วนด้านขวาก็ใส่ต้นไม้แพลมเข้ามาเล็กน้อยพยายามไม่ให้มันล้ำมาบังตัวอาคาร
ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นแท่งๆอยู่ด้านหน้านี้ ใส่เพื่อเอาใจภรรยาครับ 5555


เรามี foreground (ต้นไม้ ก้อนหิน ทางเดิน)
middleground (ต้วอาคาร)
background (ต้นไม้)
ในแต่ละระยะของภาพเราอาจจะย่อยระยะของมันได้ 3ระยะตามนั้นด้วยก็จะได้ภาพที่ดีขึ้น
เช่น ที่ foreground เราก็แบ่งเป็น 3 ระยะเช่นกัน
ทีนี้จาก foreground ถึงตัวบ้าน ( middleground) ผมจึงใส่ออปเจ็คเพิ่มเข้าไปด้วย
ในภาพนี้ใส่ก้อนขี้หมาเพิ่มเข้าไป แถมด้วยต้นลั่นทมโปร่งๆอีก 1 ต้น ภาพของเราก็จะแน่นขึ้น โดยที่ยังรักษา space บางส่วนเอาไว้เพื่อไม่ให้มันอึดอัดเกินไป


สุดท้ายเพื่อรักษาความเด่นของ ตัวอาคาร ผมจึงลดความสำคัญของ foreground โดยการเพิ่มเงาที่บริเวณด้านหน้าภาพ ในภาพนี้ผมสร้าง layer เปล่าๆขึ้นมาอีก 1 layer จากนั้นใช้ brushสีดำ ปรับน้ำหนักของ brush ให้เหลือประมาณ 30% แล้วปาดลงไป 1 ที เป็นอันเสร็จครับ


หวังว่าขั้นตอนเหล่านี้คงมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ น้องๆสมาชิกทุกท่าน ในการจุดประกายการทำงานสำหรับคนเขียนตีฟมือใหม่ ส่วนท่านที่บรรลุเป็นเซียนแล้ว ถ้ามาช่วยกันเสริมส่วนที่ตกหล่นหรือบกพร่องได้ ก็จะขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ






Create Date : 06 ตุลาคม 2549
Last Update : 6 ตุลาคม 2549 14:22:03 น. 0 comments
Counter : 1932 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nutviz
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add nutviz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.