ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม..............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.......ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม..........ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.........ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม...........ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม..........ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม..........ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม..........ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม...........ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม.................ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพเวียดนาม..............เพลงเวียดนาม.............ภาพถ่ายเวียดนาม...............ภาพเที่ยวเวียดนาม................ภาพถ่ายเวียดนาม
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
5 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
เรื่องเล่า..แด่..ชาวพุทธ...

บ่าย 3 โมงกว่า บนถนนลอยฟ้าสาย บรมราชชนนี ผมขับรถกลับบ้านที่ศาลายา จากสะพานปิ่นเกล้า บ่ายหน้าออกสู่ทิศตะวันตกของกรุงเทพ มุ่งหน้าสู่นครปฐม..อาศัยเส้นทางสายปิ่นเกล้า-นครชัยศรี....รถยนต์ทำความเร็วได้ดีทีเดียว อาจเพราะส่วนหนึ่งหลายคนยังอยู่ในที่ทำงาน ยังไม่ออกมาร่วมใช้ถนน แต่ถึงจะเป็นช่วงเย็นที่รถราคับคั่ง ก็ไม่ได้ทำให้เส้นทางสายนี้สะดุดหยุดนิ่งเป็นชั่วโมงให้น่าเบื่อหน่าย ช่างแตกต่างจากเมื่อประมาณ 10กว่าปีก่อนอย่างมากทีเดียว อดไม่ได้ที่ต้องเทอดพระเกียรติขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราที่ทรงอัจฉริยภาพ และเมตตามองเห็นปัญหาจราจรส่วนนี้ของฝั่งธน ทรงดำริให้สร้างสะพานลอยฟ้าเป็นแนวคู่ขนานคร่อมบนถนน ปิ่นเกล้าเดิม ในเส้นทางทั้งขาไปและขากลับ เพื่อส่งให้รถที่จะออกนอกเมืองระบายออกได้อย่างรวดเร็ว ผมมักเรียกว่าเป็น “ ทางด่วนของในหลวง “ ...เป็นบุญแก่เราโดยแท้ซึ่งเกิดมาเป็นพสกนิกรของพระองค์....ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ...

แก้ไข ทำเป็น สไลด์ โชว์ มี 11 รูป ครับ




Create Date : 05 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 2 ตุลาคม 2553 18:29:43 น. 20 comments
Counter : 1771 Pageviews.

 
วันนี้ช่างโชคดี งานเสร็จแต่หัววัน ทางฟ้าก็เปิดด้วย แสงแดดสีส้มเวลานี้ไม่แรงเกินไปนัก ทั้งวันนี้เมฆปุยๆสีขาว ลอยล่องเป็นรูปต่างๆมีให้เห็นเต็มท้องฟ้าไปหมด ต่างจากหลายๆวันที่ผ่านมาซึ่งอึมครึมไม่มีสีสันเอาซะเลย บรรยากาศเป็นใจแบบนี้ ยังไม่ควรจะรีบกลับบ้าน ขณะพลางนึก สายตาก็เหลือบดูป้ายบอกทางว่า ผ่านถนนวงแหวนรอบนอกไปซะแล้ว


Photobucket - Video and Image Hosting


โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:06:25 น.  

 
พุทธมณฑลสถาน น่าจะเป็นตัวเลือกที่ ฟรี และใกล้ที่สุด อยู่ต้นถนนพุทธมณฑลสายสี่ ทางฝั่งศาลายานี่เอง หากเข้าจากทางถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรีก็จะถึงเลย แต่ถ้ามาจาก ถนนเพชรเกษม พอมาถึงเพชรเกษม 81 ให้เตรียมเลี้ยวขวาเข้า ถนนพุทธมณฑลสายสี่ และขึ้นมาอีกประมาณ 8 กิโลเมตร หรือจะเข้าจากทาง ถนนเลียบคลองทวีวัฒนาหรือพุทธมณฑลสาย 3 แล้วตัดเข้า ถนนอุทยาน หรืออักษะที่มีเสารูปหงส์ 999 ตัว ก็ถึงพุทธมณฑลสถานเหมือนกัน ถนนหนทางย่านนี้ 4-8 ช่องจราจรครับ

Photobucket - Video and Image Hosting


โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:07:31 น.  

 
ถามว่า ความสำคัญหรือวัตถุประสงค์ของพุทธมณฑล คืออะไร ก็ตอบได้ว่า ไม่ทราบครับ แต่สมัย 25ปีก่อน คุณแม่เคยคิดจะมาซื้อที่ปลูกบ้านและย้ายมาอยู่ย่านนี้ แต่ก็ต้องเปลื่ยนใจ ไปอยู่นนทบุรีแทน ด้วยว่าสมัยนั้นพุทธมณฑลต้องเรียกว่า ไกลปืนเที่ยงทีเดียว แต่เพื่อชาวทริปแกงค์ ผมจึงลองไปค้นข้อมูลจาก//www.dhammathai.org/buddhamonthon/buddhamonthon.php
ดู พบว่า
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ รัฐบาลที่มี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยความพร้อมใจของชาวพุทธทั้งประเทศได้ร่วมกันจัดสร้างปูชนียสถานขึ้นเป็นพุทธบูชาและเป็นพุทธานุสรณีย์ ในวโรกาสที่พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติไทย เจริญรุ่งเรืองมาจนครบ ๒,๕๐๐ ปีซึ่งจะครบในวันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๐๐

Photobucket - Video and Image Hosting


โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:08:40 น.  

 
ดังนั้นเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๙๘ รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ไปทรงประกอบรัฐพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล ณ บริเวณที่จะก่อสร้างพระพุทธรูปประธานพุทธมณฑล ปัจจุบันคือ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พุทธมณฑลสมัยนั้นก็เป็นเสมือนป่าเราดี ๆ นี่เอง ยังไม่เกิดเป็นอำเภอ จุดที่อยู่ใกล้และมีชื่อเสียงให้รู้จักกันคือตำบลศาลายา ซึ่งปัจจุบันก็ยังเป็นตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี การก่อสร้างเริ่มไปได้ไม่เท่าไร รัฐบาลท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็หมดอำนาจ เป็นผลให้การก่อสร้างพุทธมณฑลหยุดชะงักไป จนถึง พ.ศ.๒๕๒๑ คณะรัฐมนตรีสมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการรับมอบงานก่อสร้างต่อจากกระทรวงมหาดไทย มาดำเนินการจัดสร้าง คราวนี้ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฝ่ายฆราวาส สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์

Photobucket - Video and Image Hosting


โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:09:48 น.  

 
การก่อสร้างดำเนินการต่อไปแต่ก็ดูจะไม่รวดเร็วนัก มาสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้ให้หน่วยทหารเป็นหน่วยหลัก แม้แต่หน่วยที่อยู่ใกล้ ๆ เช่นกองทัพภาคที่ ๔ และให้หน่วยทหารทั้งที่เป็นหน่วยกำลังรบ หน่วยโรงเรียนทหาร เช่น ร.ร.นายร้อย จปร. หน่วยฝ่ายเสนาธิการเช่นกรมฝ่ายเสนาธิการต่าง ๆ ให้มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบันต่าง ๆ ที่เต็มใจจะช่วยเหลือแม้แต่ตระกูลสำคัญ ๆ ที่มีสตางค์แยะมาช่วยกันสร้างตกแต่งให้เกิดเป็นสวนขึ้นในพุทธมณฑล และได้มีการสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ขึ้น

Photobucket - Video and Image Hosting


โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:11:01 น.  

 
หากเข้าไปในพุทธมณฑลในเวลานี้ เข้าประตูที่อยู่เลยร้านลูกชิ้นปลานายเงี๊ยบไปหน่อย ผ่านป้อมยามรับบัตรไม่เสียค่าผ่านประตู พื้นที่ สถานที่จะงดงามสุดพรรณนา ร่มรื่นไปทั่วบริเวณที่มีหน่วยงานต่าง ๆ มาช่วยกันสร้างสวนไว้ ๒๐ ปีเศษผ่านไป ต้นไม้ต่าง ๆ เติบโต สูงใหญ่ให้ความร่มรื่นหมดแล้ว สวยจริงๆ และพื้นหญ้าข้างล่างก็ตัดแต่งโล่งเตียน จุดนี้สำคัญมาก หากต้นไม้โตใหญ่ แต่ข้างล่างหญ้ารกรุงรังก็หมดความงามกลายเป็นป่าไป แต่นี้ตัดแต่งหญ้าเรียบตลอดทั้งพื้นที่ "๒,๕๐๐ ไร" ไม่มีส่วนไหนเลยที่หญ้าจะไม่ได้รับการตัดแต่งจึงงดงามมาก และทั่วบริเวณด้านชายสวนจะมีสระน้ำขนาดใหญ่ที่มีปลาตัวโต ๆ รอรับอาหารจากผู้มาเที่ยวจะซื้ออาหารโยนไปให้กิน ฤดูฝนน้ำจะเต็มขอบสระน้ำใสสะอาด จะนั่งริมน้ำหรือนั่งใต้ร่มไม้ จะเอาอาหารไปกินก็ได้ แต่อย่าลืมนึกถึงเรื่องความสะอาดของสถานที่ คนไปนั่งกินอาหารขอให้มีวัฒนธรรมที่ดีงามติดไปด้วย เศษอาหารและภาชนะขอให้เก็บทิ้งให้หมด ขอให้เสียดายสถานที่นี้กันมาก ๆ ว่างดงามสงบเพียงใด
จากจำนวนพื้นที่ทั้งหมด ๒,๕๐๐ ไร่นั้น ส่วนพื้นน้ำของพุทธมณฑลนั้นจัดวางคล้ายบึงน้ำขนาดใหญ่งดงามยิ่ง น้ำเต็มเปี่ยม สนามหญ้าขอบสระน้ำเรียบเขียวชอุ่ม โล่งเตียน เนื้อที่พื้นน้ำมีมากถึง ๖๐๐ ไร่ สนามหญ้าและสวนต้นไม้มี ๑,๕๖๒ ไร่ เป็นถนนและทางเท้า ๒๔๔ ไร่ เป็นอาคาร และสิ่งก่อสร้างเพียง ๙๔ ไร่


Photobucket - Video and Image Hosting


โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:11:59 น.  

 
ที่ใจกลางพุทธมณฑล องค์พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า "พระศรีศากยะทศพลญานประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" ซึ่งสร้างขึ้นตาม ต้นแบบที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ออกแบบไว้นั้นสูงเพียง ๒.๑๔ เมตร แต่ต้องการให้มีความหมายจึงได้ขยายแบบออกไป เพื่อให้ได้ ๒,๕๐๐ กระเบียด จึงต้องขยายออกไปอีก ๗.๕ เท่า เป็นความสูง ๑๕.๘๗๕ เมตร เมื่อขยายแบบเสร็จแล้วการสร้างต้องแบ่งพระพุทธรูปออกเป็น ๖ ส่วนคือ พระเศียร พระอุระ และพระพาหาข้างซ้าย พระนาภี และพระพาหาข้างขวา พระเพลา พระบาท และฐานบัวรองพระบาท พระกรซ้ายและขวา มีโลหะมาตรฐานเดียวกัน ๑๓๗ ชิ้น มีสูตรของส่วนผสมที่แน่นอนเรียกว่า "โลหะสำริด" เริ่มสร้าง เดือนมิถุนายน ๒๕๒๓ โดยมี อาจารย์ สาโรช จารักษ์ อำนวยการสร้าง แล้วเสร็จในปี ๒๕๒๕

Photobucket - Video and Image Hosting


โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:14:47 น.  

 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ ได้เสด็จทรงเททองพระเกตุมาลาไว้เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๔ ได้ประกอบพิธีเชื่อมประกอบพระเศียร กับองค์พระพุทธรูป เมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๒๕ โดยสมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี ระหว่างกำลังดำเนินการสร้างอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทอดพระเนตรการสร้างองค์พระพุทธรูป เป็นระยะๆ จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ เสด็จประกอบพิธีสมโภช เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๒๕ ...

Photobucket - Video and Image Hosting


โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:15:47 น.  

 
ภายในบริเวณยังก่อสร้างอาคารต่างๆขึ้นหลายจุดและมี "สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล" ซึ่งต้องตระเวนไปหาให้พบ หาไม่ยากเพราะมีป้ายนำคือ
"ตำบลประสูติ" ประดิษฐานหินรูปดอกบัว ๗ ดอก แกะสลักหินเป็นรูปดอกบัวกำลังแย้มบาน ช่วงบนแกะสลักลายนูนรูปพระพุทธบาท กลางฝ่าพระบาทสลักชื่อแคว้นต่างๆ ๗ แคว้น ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมคำสั่งสอน รวม ๗ แคว้นคือ กาสี-โกศล,มคธ-อังคะ,สักกะ วัชชี,มัลละ,วังสะ,กุรุ
"ตำบลตรัสรู้" ประดิษฐานหินรูปโพธิบัลลังก์ ช่วงบนแกะสลักนูนเป็นลายบัวคว่ำและบัวหงาย มีรัศมีล้อมรอบช่วงล่าง
"ตำบลปฐมเทศนา" ประดิษฐานหินเป็นรูปธรรมจักร และรูปแท่นที่นั่งของปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
"ตำบลปรินิพพาน" ประดิษฐานหินสัญลักษณ์ รูปแท่นไสยาสน์ ทุกตำบลมีพื้นที่ ๕๐ ไร่ อยู่ท่ามกลางสนามหญ้า สวนไม้ดอก ไม้ประดับที่งดงาม

Photobucket - Video and Image Hosting


โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:18:39 น.  

 
อยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ ลองมาเยี่ยมชม ด้วยสถานที่ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนักและบริเวณใกล้เคียง ก็มีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น หุ่นขี้ผึ้ง วัดไร่ขิง ตลาดน้ำตลิ่งชัน สนามหลวง2 สวนสามพราน ฟาร์มจระเข้ ตลาดดอนหวาย เป็นต้น สำหรับข้อมูลที่มากกว่านี้ของพุทธมณฑล ซึ่งผมนำมากล่าวถึงได้ไม่หมด ขอให้เพื่อนสมาชิกคลิกเข้าไปอ่านได้ที่เวปไซด์ซึ่งผมแนะนำไว้ข้างต้น.

...ทริปใกล้ๆในวันนี้...ขอจบลงแต่เพียงนี้นะครับ...เดี๋ยวกลับบ้าน..ผิดเวลาไป..จะโดนสอบสวน...

Photobucket - Video and Image Hosting




โดย: ตี๋265 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:21:38 น.  

 
ภาพสวย เนื้อหาสาระยอดเยี่ยม มีคุณค่ามากครับ

ขอบคุณหลายๆ

ผมเซฟลิ้งค์ไว้ส่งให้เพื่อนๆ น้องๆ ชมแล้วครับ



โดย: DZL Die Another Day (DZL ) วันที่: 6 พฤศจิกายน 2549 เวลา:2:13:47 น.  

 
เยี่ยมเลยคร่า




โดย: กำปงพิราเทวี วันที่: 6 พฤศจิกายน 2549 เวลา:5:52:50 น.  

 
ขอบคุณ น้าป๊อป และ หม่อมป้ากำปง ครับ...ดีใจมากๆที่ได้รับคอมเมนท์ จากทั้งสองท่านครับ...


โดย: ตี๋265 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2549 เวลา:9:19:00 น.  

 
งดงามจังเลยค่ะ


โดย: prncess วันที่: 11 พฤศจิกายน 2549 เวลา:6:30:18 น.  

 
เยี่ยมเลยค่ะ คุณตี๋
ภาพสวยและเนื้อหาก็น่าอ่าน


โดย: filmgus วันที่: 11 พฤศจิกายน 2549 เวลา:16:55:27 น.  

 
ดูได้แต่ร่วมกิจกรรมไม่ได้


โดย: โจ๋ (red_fox_jo ) วันที่: 13 พฤศจิกายน 2549 เวลา:22:50:33 น.  

 
ขอบคุณครับ เจ้าหญิง..คุณนัน และ คุณโจ๋ ครับ ที่แวะมา

คุณโจ๋...ไม่ได้ถือ พุทธใช่ไม๊ครับ..จึงว่าร่วมกิจกรรมไม่ได้


โดย: ตี๋265 (ตี๋265 ) วันที่: 14 พฤศจิกายน 2549 เวลา:15:40:09 น.  

 
เนื้อหาเยอะดี
ผมก็ไปบ่อย บ้านผมอยู่ สาย 3 นี่เอง
คุณตี๋กลับจากเวียดนามแล้วเหรอครับ


โดย: Noumy วันที่: 15 พฤศจิกายน 2549 เวลา:8:43:58 น.  

 
สวยค่ะ...(อีกแล้ว)

แวะเข้ามากี่ที ไม่เคยผิดหวัง
ขอบคุณเนื้อหาที่เอามาฝากกันด้วยนะคะ


ปล. หนิงว่าจะเรียนถ่ายรูปดิจิตอล คุณตี๋265 พอจะแนะนำได้บ้างมั้ยคะ ว่าไปที่ไหนดี ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ



โดย: Ning_999 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2549 เวลา:16:49:44 น.  

 
สีสวย

ได้หลากหลายอารมร์ดีจัง


โดย: canx วันที่: 19 พฤศจิกายน 2549 เวลา:9:10:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตี๋265
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ผ่อนคลาย แบบไม่ไร้สาระ จริงใจและรักความยุติธรรม ชอบอ่านหนังสือ และรักการถ่ายภาพ

ภาพถ่ายส่วนใหญ่ที่นำมาฝากเพื่อนๆ จะเป็นภาพที่ได้จากการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในเมืองไทย และที่เวียดนาม( ซึ่งปัจจุบัน ผมยังทำงานอยู่) ในส่วน " ภาพถ่ายเวียดนาม " จะใส่ " เพลงเวียดนาม " ไว้ด้วย เมื่อชม ภาพถ่ายเวียดนาม พร้อมฟังเพลงเวียดนามด้วย แล้ว ดูจะได้อารมณ์เต็มอิ่ม ทำให้ต้องเก็บมันไว้เป้นความทรงจำ อีกส่วนถือเป็น ฝึกฝนฝีมือใช้การถ่ายภาพ เป็นงานอดิเรก....นึกถึงเมือไรก็เปิดขึ้นมาดู ความสุขสนุกในวันที่ผ่านมาก็ refresh อีกครั้ง...และ อีกครั้ง และอีกครั้ง...


มาใหม่.... เพลง Vang trang Khoc ที่นี่........... เพลง Vang trang Khoc ที่นี่....

ฟังเพลง กดที่นี่ครับ






Blog Preview




Friends' blogs
[Add ตี๋265's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.