Takkub
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
26 มีนาคม 2561
 
All Blogs
 
เลนส์เก่า เล่าใหม่ #12 Yashica ML 50mm 1.4 C/Y แฝดเทียม Planar ราคายุวชน



สวัสดีครับ พบกันอีกแล้วเดือนละครั้ง เลนส์เก่า เล่าใหม่ #12 ผมจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับเลนส์สัญชาติญี่ปุ่นแบรนหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของกล้องฟิลม์อีกแบรนหนึ่งก็ว่าได้ นั่นก็คือ Yashica ML 50mm 1.4 C/Y ซึ่งก่อนที่ผมจะเล่าถึงเลนส์ตัวนี้ต้องขอเล่าถึงประวัติที่มาของ Yashica สักนิดหน่อยพอเป็นที่มาที่ไป จุดประสงค์เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับคนรุ่นต่อไปจะได้ไม่เสียเวลาหาเหมือนผมว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลยนะครับ

*ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการค้นหาและรวบรวมด้วยตัวผมเอง ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*




Yashica ถูกก่อตั้งในปี 1949 ในเมือง นาโกยะ ประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท Yashima Seiki โดยทีมช่างฝีมือในยุคแรกนั้นเป็นทีมช่างที่เคยทำนาฬิกาไฟฟ้ามาก่อน [Yashica บริษัทผลิตกล้องสัญชาติญี่ปุ่น แม้ว่าปัจจุบันจะถูกซื้อไปโดย บริษัท Jebsen Group ของฮ่องกงไปแล้วก็ตาม]

กล้องตัวแรกที่ถูกผลิตขึ้นมา ในปี 1953 คือ  Yashimaflex 





Yashimaflex เป็นกล้องฟิลม์ขนาด Medium Format ขนาด 6*6 *รูปกล้อง Yashimaflex แรกเริ่มใช้เลนส์ Tri-Luasar รุ่นต่อๆมาได้ใช้เลนส์ Yashikor กับเลนส์ Yashinon ซึ่งเลนส์ ทั้งหมดนี้ถูกผลิตโดยโรงงาน Tomioka Optical Works [โรงงานนี้มีชื่อเสียงในการผลิตเลนส์ที่มีคุณภาพชั้นยอดจนทั่วโลกยอมรับ] ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำงานร่วมกันกับทาง Yashica ในการผลิตเลนส์ และในปี 1953 Yashima Seiki Company ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Yashima Optical Industry Company, Ltd

ในปี 1957 Yashima ได้ก่อตั้ง Yashica เป็นสาขาที่ New York City เป้าหมายคือพยายามทำการตลาดในประเทศอเมริกา ในปีเดียวกันนี้ Yashica ก็ออกกล้องออกมาเป็นที่นิยมนั่นก็คือ Seires YashicaMat




ถัดมาในปี 1958 Yashica ในสาขาที่ New York City ก็เติบโตขึ้นมากและ กลุ่ม Yashima ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Yashica Company, Ltd ซึ่ง ณ เวลานั้น Yashica ได้ซื้อกิจการ Nicca Camera Company, Ltd ซึ่งองค์ความรู้ของบริษัทนี้เอง ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นกล้อง RF [Rangefinder] 35mm ของ Yashica

ปี 1959 กล้องฟิลม์ SLR 35mm ตัวแรกของ Yashica ก็ถูกผลิตออกมานั่นก็คือ Yashica Pentamatic มาพร้อมกับ Yashinon 50mm 1.8กล้อง Yashica ยังคงใช้เลนส์ที่ผลิตจากโรงงาน Tomioka Optical Works ในช่วงปี 1959 - 1960 Yashica ได้ซื้อบริษัท Zunow ที่เพิ่งล้มละลายมาป็นของตน Zunow เป็นบริษัทขนาดเล็กแต่ขึ้นชื่อในเรื่องของเลนส์ที่มีคุณภาพสูงและไวแสง ที่สำคัญเลนส์ที่ผลิตออกมายังมีจำนวนจำกัดอีกด้วย โดยที่ Zunow นั้นมีทั้งเลนส์ของกล้องฟิลม์ 35mm และ เลนส์ของกล้อง 8mm [Cine Movie] และมีขนาด เม้าท์เลนส์ที่ใกล้เคียงกับกล้อง Yashica Pentamatic 

Yashica จึงปรับเปลี่ยนเลนส์และรูปแบบ Optical Design ของ Zunow ให้กลายเป็นของตนเอง โดยที่มีโรงงาน Tomioka Optical Works ให้ความช่วยเหลือด้านนี้



Yashica พบว่าการทำเลนส์  mount ของตัวเองนั้นเป็นหลักนั้นดูจะเป็นการวงแคบในการใช้งาน จึงออกแบบใหม่และผลิตใหม่ ในเม้าท์  M42 และกล้อง SLR ตัวใหม่ Mount M42 ตัวแรกของ Yashica จึงถูกผลิตออกมาในช่วงปี 1962 - 1964 ก็คือรุ่น Penta J 



และออกกล้อง Mount 42 ออกทีมาทีหลังอีกหลายรุ่น
Yashica Penta J 
Yashica JP 
Yashica J-3 
Yashica J-4 
Yashica J-5 
Yashica J-7 
Yashica TL 
Yashica TL-E 
Yashica TL Electro 
Yashica TL Electro-AX 
Yashica TL Electro-X 
Yashica TL Electro-X ITS 
Yashica TL Super 
Yashica FFT 

ในปี 1965 Yashica ได้เปิดตัวกล้องขนาด 35mm ที่สามารถควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตัวแรกของโลก นั่นก็คือ Yashica Elctro 35mm เป็นกล้องทรง Rangefinder [RF]และประสบผมสำเร็จเป็นอย่างมากจำนวนกล้องที่ขายไปมากถึง 8 ล้านกว่าตัว ช่วงมือกำลังขึ้นนี้ Yashica ได้พยายามเดินหน้าขยายตลาดไปยังต่างประเทศต่อไป

*เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย กล้อง Yashica Electro35 ตัวนี้เป็นกล้องอีกตัวนึงที่ถูกเรียกว่า "Leicaคนจน" เพราะกล้องและเลนส์ชุดนี้ถ่ายภาพขาวดำออกมาได้สวยมากจนสู้กับ Leica ได้สบายเพียง ..แต่ว่าแพ้เท่านั้นเอง..

ในปี 1968  และได้ซื้อโรงงาน Tomioka Optical and Machine Manufacturing Co., Ltd. 
(ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น The Tomioka Optical Co. Ltd.) มาเป็นของตนเองหลังจากร่วมงานกันตอนนี้กลายเป็นเจ้าของไปแล้ว ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า Tomioka นั้นเป็นบริษัทที่ผลิตเลนส์รายใหญ่อีกรายหนึ่งของญี่ปุ่น มีชื่อเสียงการผลิตเลนส์ที่มีคุณภาพสูง ส่งผลให้ยอดขายทั้งกล้องและเลนส์
ของ Yashica เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง และ Yashica จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตกล้องและเลนส์ที่มีคุณภาพสูง

ในปีเดียวกันนี้เอง Yashica ได้พัฒนากล้องตระกูล TLR รุ่น Yashica Mat-124** โดยการนำส่วนดีของกล้อง TLR รุ่นก่อนๆมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น


ปี 1968 นี้ Yashica ได้ออกกล้องรุ่น  TL Electro-X 35mm ออกจำหน่ายมาเรื่อยจนถึงปี 1974 กล้องรุ่นนี้ใช้เม้าท์ M42 และมีความสามารถในด้าน อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ระบบ TTL [ระบบวัดแสงผ่านเลนส์] มีระบบช่วยวัดแสงมีเข็มบอก Shutter Speed ที่เหมาะสม ในช่อง VF และใช้ Plane Shutter จากบริษัท Copal Corporation ควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า ทันสมัยมากขึ้น



ปี 1972 Yashica ได้เปิดตัว Yashica TL Electro 35mm SLR camera *รุ่นนี้ไม่มี X*  ซึ่งมีการทำงานคล้ายๆกับ Pentax Spotmatic มีลักษณะการทำงานเหมือนรุ่นที่มีตัว TL Electro-X แทบทุกประการและใช้เม้าท์  Mount M42 เช่นกัน


ปี 1973 Yashica ได้เริ่มร่วมมือกับ Carl Zeiss ในโครงการที่มีชื่อว่า Secret Project 130
เพื่อผลิตกล้องฟิลม์ 35mm และเลนส์ ระดับมืออาชีพ และควบคุมการทำงานของชัตเตอร์ด้วยบระบบไฟฟ้า กล้องที่ว่านี้ถูกตั้งชื่อว่า "Contax" และระบบ RTS [Real Time System] ส่วนเลนส์ที่ผลิตนั่นคือ Yashica/Contax ถูกออกแบบโดย Carl Zeiss ทำโดย Yashica และใช้เมาท์ C/Y โดยสองแบรนนี้ใช้เม้าท์นี้ร่วมกันในเลนส์ที่รองรับ Mount C/Y ณ เวลานี้เลนส์ทั้งตระกูล Yashica และ Contax Carl Zeiss ได้ถูกกำเนิดขึ้นแล้ว ตัวกล้องถูกออกแบบการจับถือรูปลักษณ์ภายนอกโดย F. Alexander Porsche Group



ปี 1974 กล้อง New Contax RTS ได้ถูกเปิดตัวในงาน Photokina ปี1974 และประสบผลสำเร็จมากๆ [ดังยันปัจจุบัน] แล้วก็ทยอยออกมาอีกหลายรุ่น 


Yashica เองก็ไม่น้อยหน้าเปิดตัวกล้อง SLR 35mm Mount C/Y ตามกันมาอีกหลายต่อหลายรุ่นโดยเริ่มที่ FX1 และ FX2

FX-1 (1975)






FX-2 (1976)




ในปี 1976 นี้ Yashica ได้ออกกล้องเกรด Pro ออกมาชื่อรุ่นว่า Yashica FR โดยมีคุณสมบัติบางประการเหมือนกับ Contax RTS และรองรับระบบการใช้งานเลนส์ร่วมกัน ที่สำคัญมีราคาถูกกว่า จนได้รับฉายาว่า Poor Man's contax RTS [RTS คนจน] แต่แน่นนอนครับว่า Contax RTS ดีกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย แนวคิดการจับคู่กล้องของ Yashica FR กับ Contax RTS นั้นประสบผลสำเร็จมาก


ปี 1977 ทาง Yashica จึงพัฒนาตระกูล FR ออกมารัวๆอีกหลายรุ่น FR1 - FR2





- ด้านขวา Databack เอาไว้พิมพ์วันที่ลงในฟิลม์
- ข้างใต้เหมือนกริบนั่นคือ Winder มอเตอร์หมุนฟิลม์ทำให้ถ่ายได้รัวและต่อเนื่องมากขึ้น

หยิบนู่นยืมนี่มาใส่มี Electronic Shutter ที่ทำงานร่วมกับ โหมด M และ A ในกล้องจนประสบผลสำเร็จ สู้กับ Nikon Canon และ Minolta ในตลาด SLR ได้อย่างสบาย



ปี 1979 Yashica ได้ออกกล้อง FX3 เป็นกล้องระดับ Entry Level มีราคาที่ไม่แพงและรองรับการใช้งาน เม้าท์ C/Y มีน้ำหนักเบา รุ่นนี้ขายดีมาก FX3 ก็ถูกพัฒนาและขายต่อเนื่องไปจนถึงปี 2002 





ในปี 1983 Yashica ถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นนามว่า Kyocera ซื้อโดยช่วงที่้รวมกิจการกันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นพอสมควร โดยที่การตลาดของกล้อง Yashica ทั้งหมดถูก Kyocera จัดการให้ และ Kyocera ก็รับหน้าที่ผลิตกล้อง Contax แทน Yashica

ปี 1985 Contax (Contax 159 mm) ได้ถูกเปิดตัวขึ้น และ Yashica เองก็ออกกล้องมาจับคู่กันแต่ราคาถูกกว่าเช่นเดิมกล้อง Yashica The manual-focus (MF) FX-103 Program ได้ถูกเปิดตัวขึ้นโดยกล้องตัวนี้มีโหมด P [Normal Program Mode] และเป็นกล้อง SLR ตัวแรกของ Yashica ที่มีระบบTTL Flash ซึ่งกล้องนี้ถูกออกมาคู่กับ Contax (Contax 159 mm)คุณสมบัติใกล้เคียงกันมาก เรียกว่าถอดแบบออกมาจาก Contax 159 mm เลยก็ว่าได้โดยกล้อง Contax (Contax 159 mm) นี้ถูกผลิตโดย Kyocera แต่ออกแบบโดย Contax ในขณะที่ Yashica ยังผลิตกล้องของตนเองอยู่แม้จะถูกซื้อไปแล้วแต่ยังทำเอง





ในช่วงปีเดียวกันนี้เอง Yashica ก็ได้ผลิตกล้อง SLR 35mm ออกมาแต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ในขณะที่คู่แข่งคือ Minolta ผลิตกล้องออกมาและประสบผลสำเร็จมากกว่า [ดีกว่าถูกกว่า] Kyocera จึงค่อยๆปรับเปลี่ยนให้ Yashica ผลิตกล้อง Point And Shoot ที่มีราคาไม่แพง และย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นไปผลิตที่ฮ่องกงแทน และทำการยุติสายการผลิตกล้องคุณภาพสูง ของ Yashica ทั้งหมด

ปี 2005 Kyocera ได้ประกาศยุติการผลิตกล้องและผลิตภัณฑ์การถ่ายภาพทั้งหมดของตนได้แก่ Contax,Yashica และกล้องของ Kyocera ทั้งในส่วนของกล้องฟิลม์และกล้องดิจิตอล

ปี 2008 Kyocera ได้ขายลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า Yashica ให้กับบริษัท Jebsen Group.บริษัทจากฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ JNC Datum Tech International ซึ่งลิขสิทธิ์นี้รวมหลายอย่างได้แก่ กล้องฟิลม์ กล้องดิจิตอล กล้องจุลทรรศน์ อุปกรณ์บันทึกเสียง เครื่องเล่น CD โทรศัพท์มือถือ SD Card และอีกมากมาย

ปี 2015 บริษัท Enterprises International Group Co. Ltd.บริษัทจากฮ่องกงได้สิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้า Yashica และคงกำลังซุ่มทำอะไรสักอย่างออกมา ได้ยินแว่วๆว่าคือ Yashica Digifilm รอดูกันไปนะครับว่าจะเป็นอย่างไรกัน



ตบไฟเลี้ยว ติ๊กต็อกๆ วกกลับมาที่เรื่องของเลนส์กันครับ  Yashica ML 50mm 1.4 เม้าท์ C/Y ผลิตออกมาในช่วงปี 1976 - 1985 มีทั้งหมด 2 Versionและเป็นเลนส์ Multi Coat ทั้งคู่ จัดว่าเป็นพี่น้องร่วมสายพานของ Carl Zeiss Planar 50mm 1.4 C/Y แต่มีราคาถูกกว่ากันเกือบครึ่งนึงเลยทีเดียวซึ่งพอจะแจงรายละเอียดดังนี้

1.Version 1 ผมเรียกมันว่าเป็น Version รุงรังเพราะตัวอักษรที่ด้านหน้าของเลนส์จะค่อนข้างติดกันแม้จะมีช่องไฟ แต่ก็ดูแน่นๆ



จุดสังเกตุของเวอรชั่นแรกคือ
- ตัวหนังสือแน่นๆมีช่องไฟแต่ดูแน่น
- จมูกสีเงิน
- F ไม่คลิก

สเปค
ML 50mm 1:1.4
Serial numbers: A1005681 
Focal length : 50mm Nearest focus : 50cm
Aperture blades : Aperture stops : 1.4 - 16
Length/diameter : 42 x 61.5mm Weight : 295g
Lenses / Groups : 7 / 6 Filter diameter : 52mm
Angle of view : 46? Max. magnification :
Remarks:silver front edge


2. Version ที่2 ตัวที่ผมนำมาเล่า


จุดสังเกตุของเวอร์ชั่นที่สองคือ
- ตัวหนังสือหน้าเลนส์มีช่องไฟมากขึ้นเป็นระเบียบมากขึ้น
- จมูกด้านหน้าเป็นสีดำด้าน
- F คลิก
- น้ำหนักเลนส์จะหนักกว่า Version 1 อยู่ 0.5 กรัม

สเปค
ML 50mm 1:1.4 (II)
Serial numbers: A1014190, A1051430, A1063370, A1067869, A1078957, A1104824, A10003144, A10003354, A10003354, A10012546 
Focal length : 50mm Nearest focus : 50cm
Aperture blades : 8 Aperture stops : 1.4 - 2.0 - 2.8 - 4.0 - 5.6 - 8.0 - 11 - 16
Length/diameter : 53.5 x 61,5mm Weight : 300g
Lenses / Groups : 7 / 6 Filter diameter : 52mm
Angle of view : 46? Max. magnification :
Remarks:black front edge

นอกจากรายละเอียดดังกล่าวแล้ว ทุกอย่างเหมือนกันหมดทุกประการรวมทั้ง Optical Design ด้วย


หน้าตาเหมือนกับต้นฉบับ Carl Zeiss Planar 50mm 1.4 C/Y ยังกับแพะกับแพะ



มาดูหน้าตาเลนส์ที่ผมจะนำมาเล่ากันครับ Yashica ML V.2 50mm 1.4 C/Y ใช้ฝาหน้าขนาด 52mm


ระยะเข้าใกล้แบบ เข้าใกล้ได้มากสุดที่ 0.5m [เมตร] หรือ 1.75ft [ฟุต]


เม้าท์ C/Y ใช้ร่วมกันได้ระหว่าง Contax และ Yashica


มี 8 เบลด


เวลาหรี่รูรับแสงจะเป็นแบบนี้




มาดูโบเก้กันครับ เปิดรูรับแสงกว้างสุดโบเก้จะกลม พอหรี่มาก็จะเป็นแปดเหลี่ยม








ย้อนแสงพบแฟลรพอสมควร








มาลองดูภาพตัวอย่างกันครับ 
*ภาพข้างใต้นี้ถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 M43 ทั้งหมด ภาพไม่ได้ปรับแต่งใดๆ เพียงแต่ย่อและใส่ลายน้ำเท่านั้นครับ






































































มาลองดูภาพบุคคลกันบ้าง


















ลองดูภาพขาวดำดูบ้างครับ ถ่ายภาพขาวดำได้ดี *ภาพขาวดำจากหลังกล้องไม่ได้ปรับแต่งใดๆ
































ถ่ายไปเรื่อยล่ะครับ












































ภาพเหล่านี้ถ่ายด้วย OMD EM5 M43 ภาพไม่ได้ตกแต่งย่อแล้วใส่ลายน้ำเท่านั้น




















ภาพเหล่านี้ถ่ายด้วย Sony A7 Full Frame - อาจจะมีการปรับแก้ WB และเพิ่มลดแสงบ้าง ย่อและใส่ลายน้ำ ส่วนอื่นๆผมไม่ได้แตะต้องเพื่อที่จะได้ไม่เสียเอกลักษณ์เดิมๆจากเลนส์ไปครับ














































คลิบบ่นๆ


ข้อดี
- สีสดมาก มาเต็มไม่มีดร๊อบ
- ให้สกินโทนสวยมาก ถ่ายสาวรับรองไม่ผิดหวังแน่นอน
- ถ่ายขาวดำได้ดี ผมชอบเป็นการส่วนตัว

ข้อเสีย
- ย้อนแสง Detail บางส่วนจะเก็บมาไม่ครบ ซึ่งอาการนี้เท่าที่หาข้อมูลในเลนส์ Carl Zeiss Planar 50mm 1.4 C/Y ไม่เป็น
- ที่ F แรกที่ 1.4 จะฟุ้ง แต่ไม่มากเท่า OM 50 1.4 และ Minolta 58 1.4 สองตัวนี้หลังนี้ฟุ้งกว่ามากๆ
- มีแฟลรอยู่พอสมควรแต่พอคุมได้ไม่น่าเกีลยดเท่าไหร่

สรุป เลนส์คมสีสวย ถ่ายสาวสบาย ถ่ายขาวดำได้ดี Sweat Spot อยู่ที่ประมาณ F4 - F5.6 ระวังแฟลรเวลาย้อนแสงขยับดีๆก็หลบกันได้สบายๆ เป็นแฝดเทียบของ Carl Zeiss Planar 50mm 1.4 C/Y แต่ราคาถูกกว่ากันเกือบครึ่งต่อครึ่ง ถ้าใครสนใจอยากลอง Planar แล้วงบไม่พอลองหาตัวนี้มาลองดูก่อนได้ครับ สำหรับคนที่ชอบเอกลักษณ์แบบนี้ไม่ผิดหวังอย่างแน่นอนครับ หวังว่าข้อมูลส่วนนี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังสนใจเลนส์ตัวนี้อยู่นะครับ ลากันไปเท่านี้ สวัสดีครับ

*ขอขอบคุณโกเผ่า เขจรเวหาศน์ ผู้ร่วมทดสอบเลนส์และให้คำปรึกษาที่ดีเสมอมา

[อย่าลืมกด Like&Share Page Hudlenklong และกด Subscribe Youtube ด้วยนะครับ ]
========================================================
Facebook: ***
Subscribe Youtube: ***
Main Blog:




Create Date : 26 มีนาคม 2561
Last Update : 5 เมษายน 2561 22:12:14 น. 1 comments
Counter : 3635 Pageviews.

 
สำรองกันภาพหาย
https://pantip.com/topic/37503665


โดย: takkub วันที่: 27 มีนาคม 2561 เวลา:0:10:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

takkub
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




就算千里万里
一路千难万险
吾心坚定不移
向前不愿放弃.

jiu suan qian li wan li แม้หนทางจะยาวไกลเป็นหมื่นพันลี้
yi lu qian nan wan xian หรือจะมีขวากหนามภัยพาลใดๆ
wu xin jian ding bu yi ใจข้ายังยืนหยัดไม่เปลี่ยนไป
xiang qian bu yuan fang qi และจะไม่มีวันยอมเลิกรา

ไว้เตือนสติตัวเอง
จงระวังความคิด เพราะมันจะกลายเป็นคำพูด
จงระวังคำพูด เพราะมันจะกลายเป็นการกระทำ
จงระวังการกระทำ เพราะมันจะกลายเป็นเป็นอุปนิสัย
จงระวังอุปนิสัย เพราะมันจะกลายเป็นโชคชะตา




Friends' blogs
[Add takkub's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.