Takkub
Group Blog
 
<<
กันยายน 2560
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
3 กันยายน 2560
 
All Blogs
 
เลนส์เก่า เล่าใหม่ #7 Pentacon 135mm 2.8 ข้าวหลามเยอรมันสายพันธ์ Meyer



  สวัสดีครับ จริงๆแล้วตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้ในวันจันทร์ที่ 4 แต่ดูทรงแล้วงานจะเข้า ว่างแค่วันนี้ก็เลยเอาซะหน่อยกลัวจะหาเวลาว่างมาเขียนไม่ได้ วันนี้ผมจะมาพูดถึงเลนส์มือหมุนเยอรมันตัวนึง ซึ่งฝรั่งให้ฉายาว่า Bokeh Monster นั่นก็คือ Pentacon 135mm 2.8 M42 ผมอยากจะขอพูดถึงประวัติของเลนส์ตัวนี้สักนิดหน่อยพอเป็นน้ำจิ้ม จะได้รู้ที่มาที่ไปของเลนส์ตัวนี้ ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

[ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากค้นหาและเรียบเรียงใหม่โดยผมเอง โดยจะมีลิ้งค์ข้อมูลอ้างอิง หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขออนุญาตคัดลอกโดยไม่ได้บอกกล่าวกับเจ้าของบทความนะครับ]

Pentacon เป็นชื่อที่ถูกให้กำเนิดโดย Zeiss Ikon โดยในช่วงนั้นในเมือง Dresden ซึ่งเมืองที่มีแหล่งอุตสาหกรรมการผลิต กล้องเลนส์และอื่นๆอีกมากมายในเยอรมันตะวันตก เมืองนี้นี่เองเป็นที่ที่ Pentaprism ถูกพัฒนาครั้งในแรก *Pentaprism จะมีลักษณะแก้วใสๆก้อน เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งในการทำงานของช่องมองภาพในกล้อง

การก่อตั้ง Pentacon นั้นเกิดจากการรวมตัวของหลายๆบริษัทในเมือง Dresden นี้เป็นกลุ่มเดียว และตั้งชื่อว่า VEB Pentacon และหนึ่งในบริษัทที่ถูกรวบเข้าด้วยกันนั้นคือ Meyer Optik และผลิตเลนส์ออกมาในนาม Pentacon เลนส์หลายตัวของ Pentacon ถูกพัฒนามาจาก Meyer Optik ฉะนั้นไม่แปลกเลยที่หลายคนจะมองว่าเป็นเลนส์เครือญาติกันนั่นเอง [บางรุ่นฟ้อนวงแหวนปรับรูรับแสงถอดออกมาจาก Meyer Optik เป๊ะqเลย] Pentacon ยังผลิตอุปกรณ์กล้องอย่างอื่นด้วยไม่ใช่แค่กล้องและเลนส์เท่านั้น เช่นเครื่องโปรเจคเตอร์



Pentacon มีชื่อเสียงในด้านการผลิตเลนส์ให้กับกล้องฟิลม์ SLR ในรุ่น Praktica-series และกล้องฟิลม์ Medium Format นามว่า Pentacon Six และ ปัจจุบัน Pentacon ได้กลายเป็นส่วนนึงของ Schneider Kreuznach ไปแล้ว



กลัับมาเข้าเรื่องของเราคือ Pentacon 135mm 2.8 อย่างที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้นว่า เลนส์ Pentacon นั้นก้คือเอาเลนส์ Meyer Optik มาพัฒนาต่อ ซึ่งเลนส์ Meyer นั้นก็มีเลนส์ระยะเดียวกันนี้เช่นกัน มาลองดูรูปเลนส์ Meyer ต้นแบบของเลนส์ตัวนี้กันครับ
[แนะนำให้ดมยาดมก่อนชมสักหน่อย เพราะม้าลายกำลังมา อาจจะตาลายสักนิดนึง ^_^]











ซึ่ง Pentacon ตัวโฉมแรกออกมาหน้าตาเหมือนกับ Meyer ตัวต้นฉบับเป๊ะ ไม่ว่าจะ Body หรือ Optic Design



เปรียบเทียบ


ลองดูใบโบรชัวร์กันครับ ผมเห็นครั้งแรกตกใจมาก เพราะอ่านไม่ออกอีกเช่นเคยภาษาเยอรมัน









เลนส์ Pentacon ระยะ 135mm 2.8 นั้นจริงๆแล้วมีหลายโฉมมากๆครับ มี 3 Mount คือ
- M42 [ที่กระทู้นี้พูดถึงคือเม้าท์นี้]
- Exakta
- Praktica B-System 
เท่าที่พอจะแบ่งเป็นเวอร์ชั่นได้ ก็จะเป็นสองเวอร์ชั่นใหญ่ ดังนี้ครับ

ตัวแรกก่อน Version 1 เป็นบอดี้ม้าลายเหมือนกับ Meyer Optik 135mm 2.8 เป๊ะ


จากนั้นก็เป็น Version แรก ที่มีหลายโฉมมาก










รายละเอียดของ Version 1 คือ
- Single Coat เคลือบโค้ดเลนส์ชั้นเดียว 
- มีใบเบลด 15 ใบ
- รูรับแสงปรับที่ด้านบน และมีรูรับแสงแคบสุดที่ F32
- มี Hood ในตัว
- มีระยะเข้าใกล้แบบ [Close Focus] อยู่ที่ 150Cm ถือว่าใกล้กว่าตัว Version 2

หลังจากนั้นก็มาเป็น Version 2 สังเกตุที่ตรงปรับค่ารูรับแสงจะเหมือน Meyer Optik เลย








รายละเอียดของ Version 2 คือ
- มีใบเบลดรูรับแสง หกใบ เมื่อหร่จะเป็น หกเหลี่ยมเหมือน Meyer Optik
- มีค่ารูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F22 และปรับค่ารูรับแสงด้านล่างของเลนส์ สังเกตุตฟ้อนเหมือนยก Meyer มาใส่เลย
- เคลือบเลนส์แบบ Multicoat ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก Version 1 นั่นเอง
- ระยะเข้าใกล้แบบ [Close Focus] อยู่ที่ 170Cm

มาดูเลนส์ตัวนี้ที่ผมนำมาพูดถึงกันครับ Pentacon 135mm 2.8 M42 Version 1 โฉมตัวหนังสือเขียว


G.D.R คือเยอรมันตะวันตก


ระยะเข้าใกล้แบบมากที่สุดคือ 5ฟุต หรือ 1.5 เมตร




Mount แบบ M42


Hood อยู่ด้านบนสามารถหมุนถอดได้เลย


ลักษณะเมื่อถอดและใส่


รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F32


เลนส์ตัวนี้ใบเบลดเคยผ่านการซ่อมมาจากเจ้าของเก่า ซึ่งเมื่อหรี่มันจะไม่กลมเหมือนใบเบลดต้นฉบับสักเท่าไหร่ แต่ผมถ่ายโบเก้จากค่ารูรับแสงกว้างสุด ฉะนั้นผลจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ ใบเบลดจะมีน้ำมันหล่อลื่นเป็นเรื่องปกติของเลนส์ตัวนี้



มาลองดูโบเก้กันก่อน




ย้อนแสงมี Flare มากพอสมควร




มาดูภาพตัวอย่างที่ได้จากเลนส์ตัวนี้กันครับ ภาพไม่ได้แต่งนะครับหลังกล้องมาย่อใส่ลายน้ำเท่านั้น *ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 , OMD EM5 และ Panasonic GX7 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m4/3 ภาพจากเลนส์ตัวเดียวกันนี้หากถ่ายด้วยกล้องที่เซนเซอร์ต่างขนาดกันไปเช่น APSC หรือ FullFrame อาจจะได้ลักษณะโบเก้ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ เรียกว่าต่างเซนเซอร์โบเก้ไม่เหมือนกัน แต่โทนของภาพจะเคียงกันครับ*




























มาลองดูภาพบุคคลบ้าง




ยก Snap ไปเรื่อยล่ะครับ






































ถ่ายภาพขาวดำได้ดี












คลิบบ่นๆ


ข้อดี
- เป็นเลนส์ที่สีเข้มจัด ถ่ายดีก็สีจัด ถ่ายขาวดำก็สวยงาม
- คอนทราสจัดตามสไตล์เลนส์เยอรมัน ซึ่งส่วนตัวชอบเลนส์เยอรมันถ่ายขาวดำคอนทราสจัดมา ไม่ต้องแต่งก็ถูกใจผมแล้ว อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับผม
- โบเก้กำลังงาม ไม่คมขึ้นขอบไม่เด่นเกินแบบ
- ให้ SkinTone สวยงามถ่ายคนรับรองว่าไม่ผิดหวัง

ข้อเสีย
- ขนาดใหญ่แต่ไม่ใช่ประเด็นเท่า น้ำหนัก!! เลนส์ทำจากเหล็กทั้งดุ้น ก่อนจะใช้งานแนะนำฝึกยกดัมเบลไว้ก่อนจะดีมากๆ
- ระยะ 135 หากใช้บนกล้อง Fullframe คงจะถอยหลังสักสามสี่เก้า แต่ผมใช้บน M43 อย่าถอยหลังครับ ให้กลับหลังหันแล้วเดินไปสัก 8-10 ก้าว ถึงจะได้มุมกำลังดี แต่อย่างว่าครับ องศารับภาพเมื่ออยู่บน m43 มันคูณสอง เท่ากับ 270 อีกนิดนึงถ่ายนกได้แล้วนะนั่น

สรุปเป็นเลนส์ระยะ 135mm ของเยอรมันที่มีราคาไม่แพง ให้ภาพดีสีสวยขาวดำงาม โบเก้ไม่คมขึ้นขอบ

หวังว่าข้อมูลส่วนนี้คงจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังสนใจเลนส์ตัวนี้อยู่ ขอบคุณมากครับที่อ่านกันมาจนถึงตรงนี้ ลากันเท่านี้ สวัสดีครับ 

[อย่าลืมกด Like&Share Page Hudlenklong และกด Subscribe Youtube ด้วยนะครับ ]
========================================================
Facebook: ***
Subscribe Youtube: ***
Main Blog:



Create Date : 03 กันยายน 2560
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2560 19:49:04 น. 0 comments
Counter : 3306 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

takkub
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




就算千里万里
一路千难万险
吾心坚定不移
向前不愿放弃.

jiu suan qian li wan li แม้หนทางจะยาวไกลเป็นหมื่นพันลี้
yi lu qian nan wan xian หรือจะมีขวากหนามภัยพาลใดๆ
wu xin jian ding bu yi ใจข้ายังยืนหยัดไม่เปลี่ยนไป
xiang qian bu yuan fang qi และจะไม่มีวันยอมเลิกรา

ไว้เตือนสติตัวเอง
จงระวังความคิด เพราะมันจะกลายเป็นคำพูด
จงระวังคำพูด เพราะมันจะกลายเป็นการกระทำ
จงระวังการกระทำ เพราะมันจะกลายเป็นเป็นอุปนิสัย
จงระวังอุปนิสัย เพราะมันจะกลายเป็นโชคชะตา




Friends' blogs
[Add takkub's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.