Image hosting by Photobucket

Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2548
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 พฤษภาคม 2548
 
All Blogs
 
พระพุทธรูปไดบุซึ เมืองคามาคุระ



พระพุทธรูปไดบุซึ 大仏เมืองคามาคุระ จังหวัดคานากาวะ



Image hosted by Photobucket.com


คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในนาม Daibutsu ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า "พระพุทธองค์ใหญ่" แต่น้อยคนที่ทราบว่าชื่อจริงของ Daibutsu ที่ Kamakura องค์นี้คือ Amida Nyourai

มีความสูงและน้ำหนักประมาณ 13.35 เมตร และ 121 ตัน และมีอายุกว่า 800 ปี

Image hosted by Photobucket.com

ด้านหลังขององค์ไดบุซึ และสามารถเข้าไปชมข้างในพระพุทธรูปได้

Image hosted by Photobucket.com


Image hosted by Photobucket.com


การเดินทาง

ถ้าเดินทางโดยรถไฟ JR yokosuka line และ Tokaido Line และลงที่ Kamakura--Enoden และเดินอีกประมาณ 10-15 นาที
แต่รถไฟสาย Tokaido Line ต้องเปลี่ยนที่สถานี Ofuna


จากสถานี Tokyo 1 hr, 890 yen
Shinagawa 40 min, 690 yen
Yohohama 25 min, 330 yen


Visit time
April - September 7:00 - 18:00
October - March 7:00 - 17:30


Admission fee ผู้ใหญ่ 200 เยน เด็ก 150 เยน


Image hosted by Photobucket.com


....และอันที่จริงแล้ว ยังมี Daibutsu อีกองค์หนึ่งที่มีอายุเก่าแก่กว่าและขนาดใหญ่กว่า ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารของวัด Toudaiji จังหวัด Nara ที่อยู่ทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า Nara Daibutsu

แม้ว่า Nara Daibutsu จะเป็นองค์ที่เก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นก็ตาม แต่กลับเป็นที่นิยมน้อยกว่า Daibutsu ที่ Kamakura เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ความงดงามทางประติมากรรมและความอลังการขององค์พระที่อยู่กลางธรรมชาติโดยมีภูเขาเป็นฉากหลังเรื่องราวความเป็นมาที่โดดเด่นน่าสนใจ การเดินทางสะดวกรวมไปถึงค่าเข้าวัดที่ถูกกว่ากันครึ่งต่อครึ่ง

ด้วยภูมิประเทศที่เป็นที่ราบโอบล้อมด้วยขุนเขาทั้งด้านหลังและด้านข้างอีกทั้งมีด้านหน้าที่หันสู่ทะเล ซึ่งเป็นทำเลที่ถูกต้องตามหลักการของฮวงจุ้ยที่รับมาจากจีนทำให้ Yoritomo Minamoto โชกุนคนแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เลือกเมือง Kamakura เป็นที่ตั้งกองบัญชาการปกครองประเทศ อันเป็นการเริ่มต้นของสมัย Kamakura (ค.ศ.1180-1333)

ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาที่พุทธศาสนาได้เผยแผ่มาจากจีนและเกาหลี ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่ยังปรากฏอยู่ในเมือง Kamakura อันบ่งบอก ถึงร่องรอยความเจริญของศาสนาพุทธหลายนิกายวัดวาอารามมากมายสร้างขึ้นตามความศรัทธาของโชกุน หรือผู้มีฐานะในสมัยนั้นตามแต่จะอุปถัมภ์พุทธศาสนานิกายที่ตนนับถือ

แรงบันดาลใจหลังจากการไปร่วมงานบูรณะ Daibutsu ที่เมือง Nara ทำให้โชกุน Yoritomo Minamoto ประสงค์ที่จะสร้าง Daibutsu ในลักษณะเดียวกันที่ Kamakura ตามแบบความเชื่อในลัทธิ Jodo ซึ่งตนให้การอุปถัมภ์อยู่ แต่โชกุนได้เสียชีวิตลงในขณะที่การดำเนินการสร้างเพิ่งจะอยู่ในขั้นเริ่มต้น

จากนั้น Yoriie Minamoto บุตรชายได้ขึ้นดำรง ตำแหน่งโชกุนแต่กลับถูกครอบงำอำนาจจากตระกูล Hojo จากทางฝ่ายมารดาซึ่งให้การสนับสนุนนิกาย Zen ทำให้การสร้าง Daibutsu ในนิกาย Jodo ต้องมีอันล้มเลิกไป

ต่อมา Inada Notsubone สตรีที่เคยรับใช้ในตำหนักของโชกุน Yoritomo Minamoto ต้องการที่จะสานต่อการสร้าง Daibutsu โดยได้รับความช่วยเหลือ จากหลวงพ่อ Joko ที่ได้ร่วมเดินทางไปทั่วญี่ปุ่น เพื่อรับบริจาคเงินสำหรับใช้ในการสร้าง Daibutsu

ในที่สุดงานสร้าง Kamakura Daibutsu พร้อมวิหาร ตามแบบอย่างจาก Nara ก็เสร็จ สมบูรณ์ ในปี 1243 ซึ่งเดิมที Kamakura Daibutsu องค์แรกนั้นแกะสลักจากไม้มีขนาดความสูงถึง 24 เมตรซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว่า Nara Daibutsu (ที่สร้างจากสำริดมีความสูง 14.73 เมตร)

น่าเสียดายที่อีก 4 ปีต่อมาเกิดพายุไต้ฝุ่น พัดผ่าน Kamakura สร้างความเสียหายให้กับ พระวิหารและ Daibutsu ซึ่งตกลงมาแตกหักเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ ทำให้ Inada Notsubone และหลวงพ่อ Joko ต้องออกเดินทางอีกครั้งเพื่อบอกบุญสำหรับการสร้าง Daibutsu องค์ใหม่

เมื่อรวบรวมปัจจัยครบหมดแล้วครั้งนี้จึงเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่คงทนถาวรอย่างสำริดเหมือน กับองค์ที่ Nara ถึงกระนั้นก็ตามการหล่อ Daibutsu องค์ใหม่นี้ก็ประสบความล้มเหลวหลายครั้ง จนกระทั่งได้ช่างฝีมือดี 2 คนชื่อ Tanji Hisatomo และ Goroe-mon Ono มาช่วยหล่อองค์พระได้สำเร็จในปี 1252 และประดิษฐานที่วิหารในวัด Kotoku-in, Kamakura อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

หากเข้าไปดูใกล้ๆ Daibutsu องค์นี้จะเห็นว่ามีเส้นบางๆที่เป็นรอยเชื่อมต่อของโลหะ ที่แนบเนียนทั้ง 8 ชิ้นประกอบขึ้นเป็น Daibutsu ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่มีเทคนิคใดที่สามารถทำเลียนแบบชิ้นงาน ที่ละเอียดเช่นนี้ได้

อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้ Daibutsu ที่ Kamakura นี้แตกต่างจากที่ Nara อย่างมีนัยสำคัญ คืออะมิตะพุทธองค์นี้เกิดจากจิตศรัทธาของประชาชนญี่ปุ่นทั่วประเทศที่มีส่วนร่วมในการสร้าง Daibutsu ถึง 2 ครั้งด้วยกันโดยปราศจากความช่วยเหลือใดๆ จากรัฐ

ระยะเวลา 153 ปีของสมัย Kamakura ต้องมีอันสิ้นสุดลงเนื่องจากความอ่อนแอของโชกุน และการแทรกแซงจากตระกูล Joho (ซึ่งอุปถัมภ์นิกาย Zen และเคยขัดขวางการสร้าง Daibutsu ตั้งแต่แรก) จากนั้นในปี 1335 ก็เกิดพายุไต้ฝุ่นพัดกระหน่ำ Kamakura อีกครั้ง กองกำลังซามูไรกว่า 500 คนของตระกูล Joho ที่กำลังรบอยู่ในสงครามได้หนีเข้าไปหลบพายุในวิหารของวัด Kotoku-in แต่ในที่สุดพระวิหารไม่สามารถต้านความแรงของพายุได้และพังลงมาทับกองทัพซามูไร ของตระกูล Joho เสียชีวิตทั้งหมดและเหลือไว้เพียง Daibutsu องค์เดียวหลังพายุ

จากนั้นในปี 1368 วิหารที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ก็ถูกพายุพัดพังไปอีก จนสุดท้ายวิหารที่สร้างขึ้นมาทดแทน และบริเวณโดยรอบได้ถูก Tsunami พัดลงทะเลไปในปี 1498 ทำให้ Daibutsu ประทับอยู่กลางแจ้งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งเป็นเหตุให้โลหะที่ใช้หล่อองค์ Daibutsu เกิดปฏิกิริยา oxidation กับอากาศและน้ำฝน/หิมะ (ในลักษณะเดียวกันกับปฏิกิริยาการเกิดสนิมของเหล็ก) จนทำให้กลายเป็นสีเขียวอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน สีดั้งเดิมของ Daibutsu องค์นี้สามารถสังเกตได้จากสี ของโลหะภายในรูหูซึ่งอยู่สูงจนมองเห็นได้ค่อนข้างยาก

แรงสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่โตเกียว ในปี 1923 และ 1960 ทำให้ส่วนฐานขององค์พระได้รับ ความเสียหายบางส่วนและในปี 1961 มีการนำเทคโน โลยีสมัยใหม่มาใช้บูรณะส่วนฐานและคอเพื่อให้องค์พระทนต่อแผ่นดินไหวแรงๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

เห็นได้ชัดว่าแม้แต่ภัยธรรมชาติร้ายแรง อย่างเช่น พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และแม้กระทั่ง Tsunami ที่โหมกระหน่ำเข้ามาหลายต่อหลายครั้งก็ไม่สามารถทำความเสียหายต่ออะมิตะพุทธองค์นี้แต่อย่างใด

สัจธรรมจาก Kamakura Daibutsu สอนให้รู้ว่า ความดีต่างหากที่คงทน

Ref. ประวัติและความเป็นมาของพระพุทธรูปไดบุซึ จากเวปนิตยสารผู้จัดการ

ปล. หนึ่ง รูปทั้งหมดถ่ายเมื่อปีที่แล้ว
ช่วงใบไม้เปลี่ยนสี

ปล. สอง เสียดายยังไม่ได้เข้าชมข้างในองค์พระฯ เพราะไปถึงห้าโมงเย็นเค้าปิดไม่ให้เข้าชมข้างในแล้ว
ไว้จะต้องไปอีก...แน่นอน


Create Date : 14 พฤษภาคม 2548
Last Update : 27 ตุลาคม 2552 0:13:48 น. 19 comments
Counter : 1041 Pageviews.

 
^^เปิ้ลมาเยี่ยมคุณแจนนะคะ....ดีขึ้นแร้วค่ะ..ขอบคุณนะที่ไปเยี่ยมเปิ้ลบ่อยๆ...ชอบเรื่องราวของประเทศญี่ปุ่นค่ะ...ไว้ว่างๆ จะมาทะยอยอ่านให้ครบนะจ๊ะ...คิดถึงค่ะ


โดย: เปิ้ล (Mu_in_love ) วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:20:34 น.  

 
ตาม(อ่าน)ไปเที่ยว พระพุทธรูป Daibutsu ด้วยค่ะ


โดย: coffeecandy วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:21:47 น.  

 
คุณแจนจ๋า แบมอยากไปเที่ยวจังเลยค่ะ

เพื่อนแบมที่โตเกียว พึ่งเมลล์มาบอกว่า ไปเที่ยวเมืองไทยนะ

ฉันจะไปเยี่ยมครอบครัวเธอด้วย

พูดให้เราอิจฉา

คิดถึงนะคะ ดูแลสุขภาพค่ะ


โดย: yadegari วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:18:01:26 น.  

 
เข้ามาอ่าน

ไว้จะเก็บตังค์ไปเที่ยวมั่ง


โดย: rebel วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:20:16:29 น.  

 
อมิตา พุทธ เดี๋ยวเก็บตังส์ให้ได้ก่อนนะคะแล้วจะไปเที่ยวมั่งอ่ะ


โดย: อพันตรี (อพันตรี ) วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:21:48:50 น.  

 

เข้ามาได้ความรู้กลับไปเพียบเลยค่า...

นอนหลับฝันดีราตรีสวัสดิ์นะคะ

^ ^


โดย: จ๊ะโอ๋ (ja_opig ) วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:06:26 น.  

 
มิตรภาพที่ยิ่งใหญ่
คือความเข้าใจระหว่างเธอกับฉัน
คือการรู้จักผ่อนปรนแบ่งปัน
คือความจริงใจที่ให้กันโดยไม่อำพราง...

Take careค่ะน้องแจน
ขอให้น้องฝันดีๆๆๆทุกค่ำคืนจ้า :)
จุ๊บๆๆๆๆ คิดถึงๆจ้ะ


โดย: ยอดสน วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:23:38:33 น.  

 

เพียงความคิดถึง

แค่อยากให้รู้ซึ้งและเข้าใจ

ถ้าไม่รัก ก็คงไม่หวั่นไหว

ถ้าไม่ห่วงใย ก็คงไม่คิดถึง


**Have a good day na ja**


โดย: จอมแก่นแสนซน วันที่: 15 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:36:41 น.  

 
อ่านจนจบ...ได้ความรู้และแง่คิดเลยค่ะ
ความดีต่างหากที่คงทน..<<<< โดนค่ะ

สมัยมัธยมมีเพื่อนคนนึงชื่อ นาร่า อะคะ เพื่อนบอกว่าเป็นภาษาญี่ปุ่น เพิ่งทราบวันนี้คะว่าเป็นชื่อจังหวัดทางตะวันตกของญี่ปุ่น อิอิ ^^

ลป.ประวัติของพระพทธรูป Daibutsu ที่ Kamakura น่าสนใจมากค่ะ ... ถ้าได้ไปญี่ปุ่น ก็อยากไปเยือนซักครั้งคะ ^^


โดย: แก้วการะบุหนิง วันที่: 15 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:02:34 น.  

 
สวัสดีค่ะ
ขอบคุณนะคะที่พาเที่ยว


โดย: แม่ยูริค่ะ วันที่: 15 พฤษภาคม 2548 เวลา:17:37:24 น.  

 
สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมนะคะ

พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระพุทธรูปที่เคยเห็นกันบ่อยๆในรายการการท่องเที่ยวเกี่ยวกับญี่ปุ่นใช่มั้ยคะ


โดย: มีน แอนด์ มาร์ช วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:1:33:14 น.  

 
***คิดถึงเธอมากเหลือเกิน***

***คิดถึงเกินจะห้ามใจ***

***อยากมอบความห่วงใย***

***ที่มีทั้งหมดให้..แด่เธอ***

ปล. มีความสุขมากๆๆนะจ้า..


โดย: จอมแก่นแสนซน วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:12:01:07 น.  

 
น้องแจนจ๋า ถ้าน้องติดต่อกับน้องอุ๋ย(แม่โกลเดน)ได้ พี่ฝากความคิดถึงและห่วงใยถึงน้องอุ๋ยด้วยนะจ๊ะ ขอให้น้องเค้าดูแลสุขภาพด้วยน๊า พี่เข้าบล็อคน้องอุ๋ยแต่ก็ยังปิดอยู่หน่ะค่ะ
และน้องแจนก็รักษาสุขภาพด้วยเช่นกันนะจ๊ะ
คิดถึงน้องแจนจ้ะ จุ๊บๆๆๆๆ


โดย: ยอดสน วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:13:04:37 น.  

 
ได้รับเมล์แล้วค่ะพี่แจน.....จ๋า

ขอบคุณพี่แจนคนสวย และพี่ยอดสนที่แสนดี ร่วมทั้งเพื่อน ๆ ร่วมบล็อกทุก ๆ คนเลยจ้า

ตอนนี้พ่ออุ๋ยสบายดีค่ะ พรุ่งนี้ก็เตรียมเมนูที่ย่อยง่าย ๆ ไปให้พ่อค่ะ ทำเองนะคะ ทำอร่อยด้วย (ยังไม่ได้ทำเลย ชมซะงั้นล่ะ) ช่วงนี้พี่สาว อุ๋ย ผลัดกันไปหาบ่อย ๆ พ่อเลยไม่ค่อยเหงาเหมือนที่ผ่านมาค่ะ ดูแข็งแรง และสดใสขึ้นเยอะเลยจ้า เพื่อน ๆ ไม่ต้องห่วงนะจ๊ะ ขอบคุณมาก ๆ เลย

ส่วนหนังสือคลีโอ ออกวางแผงแล้วคะ แต่อุ๋ยไม่ค่อยสวยเลยค่ะพี่แจน ตัวจริงสวยกว่านะคะ 5555555 เห็นพี่แจนใน msn แต่พี่ขึ้นว่า away เลยไม่กล้าทักเลย เลยหันมาที่บล็อกแทนจ้า หนังสือถ้าพี่แจนอยากได้ ค่าส่งไปญี่ปุ่น แพงป่ะคะ 555 ถามหน่อย ๆ ถ้าไม่แพงจะส่งไปให้ค่ะ แต่มันไม่สวยนะคะ เลยไม่ค่อยอยากส่งเลย อิอิ เอาลิงค์มาให้ดูไปพลางๆ ก่อนนะคะ พี่แจนคนสวย รักษาสุขภาพด้วยนะคะ บายๆ ค่ะ
//www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J3460152/J3460152.html

นี่เลยคะ ลงแค่หน้าเดียวเองพี่แจน


โดย: แม่โกลเด้นฯ วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:57:52 น.  

 
คุณแจน สวัสดีคะ สบายดีมั้ยคะ

คิดถึงค่ะ ถ้ายังไง แบมฝากคุณแจน ฝากความคิดถึง ผ่านไปยังพี่อุ๋ยด้วยนะคะ

กู้ดเดย์ค่ะ


โดย: yadegari วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:18:19:40 น.  

 
สวัสดีค่ะ
เป็นสถานที่ที่น่าเที่ยวชมอีกที่ทีเดียวนะคะ
คุณJanสบายดีนะคะ
เห็นคอมเม้นท์จากคุณอุ๋ย ยังไงก็ฝากความ
คิดถึงถึงคุณอุ๋ยด้วยนะคะ
ขอให้คุณพ่อสุขภาพแข็งแรงค่ะ


โดย: journey (thai_friends ) วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:33:35 น.  

 
น้องแจนจ๋า ขอบคุณๆจ้าที่ช่วยพี่ส่งข่าวถึงน้องอุ๋ย ถ้าน้องอุ๋ยพอมีเวลาแล้วบอกให้รีบกลับบ้านที่นี่ด้วยนะจ๊ะ คิดถึงจังเยยจ้า
น้องแจนดูแล รักษาสุขภาพเช่นกันนะจ๊ะ
หลับฝันดีค่ะน้องแจน
จุ๊บๆๆๆๆๆ
ไนท์ๆจ้า :)


โดย: ยอดสน วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:23:59:55 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ค่า...

^ ^


โดย: จ๊ะโอ๋ (ja_opig ) วันที่: 17 พฤษภาคม 2548 เวลา:7:55:55 น.  

 
**สวัสดีตอนเช้าของ ฮอลแลนด์ จ้า**

ไม่รู้จะเอาอะไรมาฝาก

ที่มีค่ามากกว่า..รักได้

นอกจากกำลังใจ

กับความห่วงใยไม่จืดจาง

**มีความสุขมากๆๆนะจ้า**


โดย: จอมแก่นแสนซน วันที่: 17 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:52:50 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

jan_tanoshii
Location :
Japan Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







If you never talk to strangers, you'll never meet anyone.


ถ้าจะฝากข้อความถึงกัน รบกวนหลังไมค์นะคะ
เพราะถ้าฝากไว้ในกระทู้เก่าจะไม่ได้เข้าไปดูค่ะ


ตัวตน
ลึกร้าย
สะท้อน
หลายอักษร
เร้นความรู้สึก
ใส
หยาบฤาละเอียด
อยู่ใต้จิตใจ
ใต้สำนึกใคร
ลืมใคร่ครวญ
(จาก...พราย)



counter
counter
:ย้อนรอยบล็อกเก่า:
::ย้อนรอย ใบไม้เปลี่ยนสี@Shinjiku Gyoen::
::ย้อนรอย ท่าเรือ Osanbashi ๒๐ พ.ย. ๕๓ ::
::...กับอีกวันของฤดูใบไม้ร่วง::
::เดินเล่นชิวๆ ชมวิว (ใบไม้เปลี่ยนสี) ใกล้บ้าน (2)::
::เดินเล่นชิวๆ ชมวิวใบไม้เปลี่ยนสีใกล้บ้าน (1)::
::ออนเซนร้อนๆ ในหน้าร้อนของวันฟ้าใส ตอนจบ::
::ออนเซนร้อนๆ ในหน้าร้อนของวันฟ้าใส::
::รวมมิตรอาหารร้านมิโซะระ (2)::
::รวมมิตรอาหารร้านมิโซะระ (1)::
::อิซาคายะร้านใหม่ที่ไปลิ้มลองแถว Kamioooka::
::Yamashita Park & Minatomirai at Yokohama::
::ความรักและความผูกพันที่จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป::
::ด้วยรักและอาลัย ลูกชายตัวเล็กสี่ขาของบ้านเรา::
::Harbor View Park (Minato-no-mieru-oka-koen)::
::Yamate Italian Garden "Diplomat's House"::
::แสร้งว่า::
::ดอกไม้...ในมุมที่(เลือก)มอง::
::อาหารญี่ปุ่นร้าน Kichijo Dining::
::อาหารจีน คอร์สหูฉลาม::
:: Teppanyaki 鉄板焼き::
::เซตอาหารร้าน Misora และคานินะเบะ(หม้อไฟปู)::
::เมื่อตะวันจะลับฟ้า พรุ่งนี้ใกล้จะมาถึง....::
::จิตฟุ้ง...::
::แพล่ม รำพัน รำลึก::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 4::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 3::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 2::
::ตะลอนเที่ยวลาสเวกัส ตอนที่ 1::
::ย้อนรอย...ใบไม้เปลี่ยนสีที่เกียวโต ตอนที่ 3::
::ย้อนรอย...ใบไม้เปลี่ยนสีที่เกียวโต ตอนที่ 2::
::ย้อนรอย...ใบไม้เปลี่ยนสีที่เกียวโต ตอนที่ 1::
::ใบไม้เปลี่ยนสีที่ Katsunuma จังหวัดYamanashi::
::บรรยากาศแถว Minatomirai ยามค่ำคืน...ที่เก่า เวลาใหม่กับกล้องใหม่::
::There is a difference between knowing the path and walking the path ::
Friends' blogs
[Add jan_tanoshii's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.