Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
4 พฤศจิกายน 2557
 
All Blogs
 

มะเร็งผิวหนัง BCC อันตรายที่ต้องระวังจากแสงแดดจัด

  มาทำความรู้จักกับมะเร็งผิวหนังชนิด BCC ที่เกิดขึ้นจากการตากแดดจัดเป็นเวลานาน ๆ ให้มากขึ้น เพื่อหาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงค่ะ


          ในปัจจุบันนี้มะเร็งผิวหนังเริ่มเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวมากขึ้น สืบเนื่องมากจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และแสงแดดที่ดูเหมือนจะร้อนแรงขึ้นทุกวัน ๆ โดยมะเร็งผิวหนังถูกแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งชนิดที่คนไทยสามารถพบได้บ่อยก็คือ Basal Cell Carcinoma (BCC) และ Squamous Cell Careinoma (SCC) แต่ในวันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปรู้จักกับมะเร็งผิวหนังชนิด BCC หรือ Basal Cell Carcinoma กันให้มากขึ้น ว่ากันว่ามะเร็งผิวหนังชนิดนี้เกิดจากการตากแดดแรง ๆ เป็นเวลานาน ซึ่งคนที่อยู่เมืองร้อนอย่างประเทศไทยก็มีความเสี่ยงไม่น้อยเลย 

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังชนิด Basal Cell Carcinoma (BCC) คืออะไร

          มะเร็งผิวหนังชนิด Basal Cell Carcinoma หรือที่มีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า มะเร็งผิวหนังชนิด BCC เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถพบได้ในผู้ที่อายุน้อยกว่านี้เช่นเดียวกัน มะเร็งผิวหนังชนิดนี้จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย โดยสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ 

           Nodular BCC
           Pigmented BCC
            Superficial BCC
           Morpheaform BCC
           Fibroepithelioma of Pinkus (FEP)

          มะเร็งผิวหนังชนิด BCC นี้เป็นโรคมะเร็งชนิดที่มีความรุนแรงต่ำและไม่มีการแพร่กระจายเข้าสู่ระบบโลหิต จึงไม่ทำให้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่อาจจะลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองได้ จึงไม่ควรจะชะล่าใจและรีบทำการรักษาก่อนจะลุกลามนะคะ

 สาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง BCC

          มะเร็งผิวหนังชนิด BCC มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาจากการตากแสงแดดจัดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีประวัติผิวไหม้แดดในวัยเด็กและวัยรุ่น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ คนที่มีผิวขาว คนที่มีผมสีแดงหรือมีกระ หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เคยมีประวัติเป็นโรคผิวหนัง แม้แต่ผู้ที่ได้รับการฉายรังสีหรือได้รับสารหนูเป็นเวลานานก็ทำให้เสี่ยงได้เช่นกันค่ะ โดยโรคนี้เกิดจากการที่ Basal Cell ในชั้นล่างสุดของหนังกำพร้าเจริญเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้ จนทำให้เกิดแผลเรื้อรังที่บริเวณผิวหนัง 

มะเร็งผิวหนัง

กลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนัง BCC

          โรคนี้สามารถเกิดได้กับคนที่ต้องสัมผัสแสงแดดบ่อย ๆ แต่คนเอเชียที่มีผิวสีเข้มมีโอกาสเป็นน้อยกว่าคนยุโรปผิวสีอ่อน โดยที่มีรายงานว่า แม้โรคมะเร็งผิวหนังชนิดนี้จะไม่ค่อยพบในเด็ก แต่ก็สามารถพบได้บ้างในวัยรุ่น และคนไข้ในกลุ่มอายุ 20-30 ปี ก็เริ่มมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมะเร็งชนิด BCC ก็มักจะเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนที่รับแสงแดดมาก โดยเฉพาะใบหน้า หู คอ หนังศีรษะ ไหล่ และหลัง แต่บางทีก็เกิดกับแผลเปิดที่เรื้อรัง หรือในบริเวณที่ผิวอักเสบเป็นเวลานานค่ะ

 อาการของโรค

          อาการของมะเร็งผิวหนังชนิด BCC โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการเกิดบริเวณใบหน้า มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อสีคล้ำ เริ่มแรกอาจจะมองดูเหมือนกระ แต่จะมีการเติบโตเร็วและแตกเป็นแผลเรื้อรังได้ นอกจากนี้ลักษณะของมะเร็งผิวหนัง BCC ยังมีแบ่งย่อยออกไปได้อีกดังนี้

           Nodular BCC เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่พบบ่อยที่สุด โดยแผลจะเป็นก้อนนูนขรุขระ มีขอบนูนม้วน ตรงกลางอาจแตกเป็นแผล 

           Pigmented BCC เป็นชนิดย่อยลงมาจาก nodular BCC แผลมีสีดำสนิทที่สุด เป็นก้อนนูนขรุขระ มีขอบนูน

           Superficial BCC มะเร็งชนิดนี้มักจะพบตามลำตัว มีแผลลักษณะเป็นผื่นแดงนูนหนาขอบเขตชัดเจน มองผิวเผินคล้ายผื่นผิวหนังอักเสบ 

           Morpheaform BCC เป็น มะเร็งผิวหนังชนิด BCC ที่ลุกลามและอันตรายที่สุด โดยแผลมองคล้ายแผลเป็นแบนๆ หรือนูนเล็กน้อย มีสีออกขาวคล้ายสีงาช้าง 

           Fibroepithelioma of Pinkus (FEP) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็งสีออกชมพู ส่วนใหญ่มักพบที่หลัง ต้องวินิจฉัยแยกโรคจากมะเร็งเซลล์สร้างเม็ดสีที่ไม่มีสี





 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2557
0 comments
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2557 17:17:52 น.
Counter : 563 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


สมาชิกหมายเลข 1025194
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1025194's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.