ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
22 มีนาคม 2554

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน อันตราย และการป้องกัน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน อันตราย และการป้องกัน
โดย นายแพทย์ สามารถ ราชดารา สมาคมเวชศาสตร์นิวเคลียร์แห่งประเทศไทย


สารกัมมันตรังสีคืออะไร

คือ สสารหรือธาตุที่เรารู้จักกันทั่วๆไป เช่น ออกซิเจน คาร์บอน ไอโอดีน โปแตสเซี่ยม ฯลฯ โดยที่อะตอมของธาตุเหล่านี้ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ โปรตอน นิวตรอนและอิเลคตรอน การที่อะตอมของธาตุจะมีเสถียรภาพ ไม่สลายตัวไปส่วนประกอบทั้งสามจะต้องสมดุลย์กัน ถ้าไม่สมดุลย์จะต้องมีวิธีทำให้อยู่ในสภาพเสถียรโดยการปลดปล่อยพลังงานออกมา ในรูปของรังสี อะตอมของธาตุที่มีการปลดปล่อยรังสีเช่นนี้เรียกว่าสารกัมมันตรังสี ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณรังสีก็จะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีลดลงเหลือครึ่งหนึ่งเราเรียกว่าค่าครึ่งชีวิตของ การสลายตัว ซึ่งมีค่าที่แตกต่างกันไปตามชนิดของธาตุต่างๆโดยอาจสั้นเป็นวินาทีหรืออาจจะ นานเป็นล้านๆปีได้ ธาตุต่างๆนั้นสามารถพบได้ทั้งที่อยู่ในสภาวะเสถียรคือไม่มีการปล่อยรังสี และที่มีการปลดปล่อยรังสี เช่นไอโอดีน ซึ่งแม้ว่าสภาวะความเสถียรจะต่างกันแต่มีคุณสมบัติอื่นๆเหมือนกันทุกประการ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน อันตราย และการป้องกัน รูปที่ 1


สารกัมมันตรังสีมีอันตรายหรือไม่และอย่างไร


รังสี มีหลายชนิดและมีแหล่งกำเนิดได้จากหลายๆแหล่งเช่นจากสารกัมมันตรังสีดังกล่าว ข้างต้นหรือจากการผลิตขึ้นโดยมนุษย์เช่นเครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น ถ้าเป็นรังสีชนิดเดียวกันแล้วไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็มีคุณสมบัติเหมือนกัน นั่นคือถ้ารังสีเดินทางผ่านเซลล์ของร่างกายมนุษย์ก็จะทำอันตรายต่อสารพันธุ กรรมในเซลล์ให้ได้รับความเสียหาย แต่โดยทั่วไปแล้วถ้าปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับมีปริมาณน้อย ความเสียหายต่อสารพันธุกรรมก็น้อยร่างกายเราสามารถทำการซ่อมแซมให้กลับมาดี เหมือนเดิม ถ้าปริมาณรังสีมากขึ้นความเสียหายก็จะมากขึ้นจนร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมให้ กลับคืนเหมือนเดิมได้ทั้งหมด และโดยที่สารพันธุกรรมมีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ดังนั้นเมื่อสารพันธุกรรมได้รับความเสียหายการควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ก็ผิดปกติไป เช่นเซลล์เจริญเติบโตโดยไม่สามารถควบคุมได้จนกลายเป็นมะเร็งเป็นต้น แต่มิใช่ว่าจะต้องเกิดมะเร็งเสมอไป โดยปกติถ้าภูมิต้านทานของร่างกายเราแข็งแรงดีและปริมาณเซลล์ที่ผิดปกติเหล่า นั้นมีจำนวนไม่มากภูมิต้านทางของร่างกายก็จะสามารถกำจัดเซลล์เหล่านั้นให้ หมดไปได้ไม่เจริญต่อไปเป็นมะเร็ง ผู้ที่ได้รับปริมาณรังสีในกรณีข้างต้นนั้นจะไม่รู้สึกหรือไม่มีอาการผิดปกติ ใดๆเลย หากร่างกายไม่สามารถกำจัดเซลที่ผิดปกติเหล่านั้นให้หมดไปได้ เซลก็จะค่อยๆเจริญเติบโตอย่างผิดปกติไปเรื่อยๆจนเกิดอาการหรือพบความผิดปกติ ได้ในภายหลังเป็นเดือนเป็นปีหรือเป็นหลายสิบปีได้

ถ้าได้รับรังสีใน ปริมาณมากขึ้นอีกความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลมากจนเซลไม่สามารถมีชีวิตอยู่ ได้และตายไปเอง ในกรณีนี้ผู้ที่ได้รับรังสีก็จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นอย่างทันทีหรือ 2-3 วันหลังได้รับรังสี ทั้งนี้อาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับได้รับรังสีมากน้อยเพียงใด อาการที่อาจพบได้เช่นคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผมร่วง ผิวหนังอักเสบ มึนงง สับสน เซลล์เม็ดเลือดและเกร็ดเลือดถูกทำลาย มีเลือดออกในทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกันบกพร่องไป และสุดท้ายถ้าได้รับรังสีในปริมาณสูงมากผู้นั้นจะเสียชีวิตได้ในทันที


สารกัมมันตรังสีที่รั่วออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดความเสียหายมีอันตรายมากแค่ไหน


สาร กัมมันตรังสีที่รั่วออกมามีหลายชนิดเช่น ไอโอดีน-131 ซีนอน-137 ซีเซี่ยม-137 สตรอนเชี่ยม-90 เป็นต้น การที่จะมีอันตรายมากน้อยแค่ไหนนั้นนอกจากปริมาณที่รั่วออกมามากแค่ไหนแล้ว ยังขึ้นกับคุณสมบัติของสารแต่ละอย่างด้วย สารบางชนิดมีค่าครึ่งชีวิตสั้นเมื่อรั่วออกมาไม่นานก็สลายตัวหมดไปไม่ก่อให้ เกิดอันตรายใดๆเช่นซีนอน-137 มีค่าครึ่งชีวิตเพียง 3.8 นาที ดังนั้นไม่กี่นาทีก็หมดไปเอง บางชนิดเป็นอนุภาคเล็กๆสามารถลอยไปกับลมได้แต่เมื่อลมหยุดพัดก็จะตกลงสู่ เบื้องล่างปนเปื้อนในดินหรือในน้ำเช่นซีเซียมเป็นต้น บางชนิดมีลักษณะเป็นกาซถ้ามีค่าครึ่งชีวิตนานก็จะสามารถลอยไปได้ไกลเช่น ไอโอดีนเป็นต้น แต่ถ้าฝนตกก็จะสามารถละลายไอโอดีนให้ตกลงสู่เบื้องล่างได้เช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าในกรณีการรั่วไหลที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นสารกัมมันตรังสีที่ จะมีความเสี่ยงมากที่สุดต่อประเทศไทยได้แก่ไอโอดีนเนื่องจากเป็นกาซสามารถ ลอยไปได้ไกลและเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจ ส่วนซีเซียมจะมาในลักษณะปนเปื้อนมากับอาหารต่างๆซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการ ตรวจวัดปริมาณรังสีก่อนนำเข้าประเทศ สำหรับไอโอดีนที่ลอยมาจะเป็นอันตรายมากแค่ไหนก็ขึ้นกับปริมาณที่รั่วออกมา ว่ามากน้อยแค่ไหน ลมแรงเพียงใดและพัดไปในทิศทางใด เนื่องจากไอโอดีนมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 8 วัน ดังนั้นถ้าลมไม่แรงก็อาจจะมาไม่ถึงประเทศไทย


สารกัมมันตรังสีไอโอดีนที่รั่วออกมาดังกล่าวมีอันตรายต่อร่างกายอย่างไร


ดัง กล่าวข้างต้นอันตรายที่จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับว่าปริมาณที่มาถึง ประเทศไทยจะมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ดีคงไม่มีโอกาสที่จะมีปริมาณมากถึงระดับที่ก่อให้เกิดอาการเฉียบ พลันหรือเสียชีวิต แต่ความพิเศษของไอโอดีนรังสีก็คือถ้าได้รับเข้าสู่ร่างกายแล้วมันจะเข้าไป สะสมอยู่มากในต่อมไทรอยด์ซึ่งอยู่ที่บริเวณคอ เนื่องจากต่อมไทรอยด์จะต้องใช้ไอโอดีนในการสร้างเป็นไทรอยด์ฮอร์โมนต่อไป ดังนั้นต่อมไทรอยด์จะได้รับปริมาณรังสีมากกว่าอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ถ้าหากได้รับเข้าไปมากต่อมไทรอยด์ก็อาจจะเกิดอาการอักเสบหรือถูกทำลายหมดทำ ให้ร่างกายขาดไอโอดีน ถ้าได้รับเพียงปริมาณน้อยๆความเสียหายต่อสารพันธุกรรมไม่มากร่างกายซ่อมแซม ได้ก็จะไม่เกิดอันตรายแต่อย่างใด แต่ถ้าได้รับในปริมาณปานกลางก็อาจมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมไทยรอยด์ได้ใน ภายหลัง ทั้งนี้มิได้หมายความว่าทุกคนที่ได้รับในปริมาณนี้จะเกิดเป็นมะเร็งทุกคน เพียงแต่มีโอกาสมากขึ้นกว่าผู้ที่ไม่ได้รับรังสีเลยเท่านั้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน อันตราย และการป้องกัน รูปที่ 2



มีวิธีป้องกันไม่ให้ร่างกายรับสารกัมมันตรังสีไอโอดีนหรือไม่


วิธี ป้องกันไม่ให้เข้าสู่ร่างกายที่ทำได้ก็คือไม่เข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีสาร กัมมันตรังสีและไม่รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเท่านั้น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จะมีวิธีป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีไอโอดีนเข้า ไปสะสมอยู่ในต่อมไทรอยด์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีความสามารถจับไอโอดีนได้ในปริมาณจำกัดปริมาณ หนึ่ง ถ้าต่อมไทรอยด์มีปริมาณไอโอดีนในต่อมจะเพียงพอแล้วก็จะไม่จับไอโอดีนที่ได้ รับเข้าไปอีก เราจึงใช้วิธีรับประทานสารไอโอดีนที่ไม่มีรังสีเข้าไปจนทำให้ต่อมไทรอยด์มี ไอโอดีนมากพอที่จะไม่จับไอโอดีนเพิ่มเติมอีก ดังนั้นเมื่อเราได้รับไอโอดีนรังสีก็จะไม่เข้าไปสะสมในต่อมไทรอยด์ต่อไป


จำเป็นที่จะต้องรับประทานสารหรือยาไอโอดีนที่ไม่มีรังสีหรือไม่

จำ เป็นหรือไม่ขึ้นกับ 2 ปัจจัยคือโอกาสที่จะได้รับไอโอดีนรังสีเข้าไปสะสมในต่อมไทรอยด์ในปริมาณที่ มากน้อยแค่ไหน และโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์มากน้อยแค่ไหน เด็กเล็กจะมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าปริมาณไอโอดีนรังสีในบรรยากาศมีน้อยก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับ ประทาน ถ้ามีปริมาณมากขึ้นอีกหน่อยและอายุน้อยก็ควรจะต้องรับประทานแต่ถ้าอายุมาก แล้วก็อาจจะยังไม่จำเป็น มีข้อแนะนำว่าถ้าอายุมากกว่า 40 ปีแล้วโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์จากกรณีนี้น้อยมากไม่มีความจำเป็นที่ จะต้องรับประทานยาแต่อย่างใดนอกเสียจากว่ามีโอกาสที่จะได้รับปริมาณรังสีมาก ในขนาดที่ต่อมไทรอยด์อาจจะถูกรังสีทำลายจนหมดได้


จะรับประทานยาไอโอดีนดังกล่าวป้องกันไว้ก่อนเลยดีหรือไม่

ไม่ แนะนำ เนื่องจากการรับประทานยาไอโอดีนที่ไม่มีรังสีก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้ ที่สำคัญที่สุดคืออาจเกิดอาการแพ้สารไอโอดีน หากรุนแรงมากอาจถึงเสียชีวิต ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นคลื่นไส้ อาเจียน เด็กเล็กๆอาจเกิดต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง ส่วนในผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์อาจทำให้เกิด อาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ แม้ว่าผลข้างเคียงดังกล่าวพบได้ไม่มากนักแต่หากไม่จำเป็นจริงๆก็ไม่ควร เสี่ยง


จะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อใดควรจะรับประทานยาไอโอดีนดังกล่าว

เนื่อง จากประชาชนทั่วไปไม่มีทางทราบได้เลยว่าตัวเองจะมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และการคำนวณความเสี่ยงมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก จึงจำเป็นต้องใช้วิธีฟังข่าวจากหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ปริมาณการปนเปื้อน สำหรับประเทศไทยได้แก่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปญี่ปุ่นก็ควรฟังข่าวจากทางการญี่ปุ่นว่าบริเวณใดมี การปนเปื้อนมากถึงระดับที่ต้องรับประทานยาเพื่อป้องกัน


ถ้าต้องรับประทานยาดังกล่าวจะต้องรับประทานอย่างใด


เนื่อง จากยาไอโอดีนจะสามารถป้องกันไม่ให้ไอโอดีนรังสีเข้าสู่ต่อมไทรอยด์เท่านั้น หากไอโอดีนรังสีเข้าสู่ต่อมไทรอยด์แล้วก็จะไม่ได้ผล เนื่องจากไอโอดีนจะค่อยๆถูกจับเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ดังนั้นยิ่งได้รับยาช้าเท่าใดก็จะมีผลป้องกันน้อยลงเท่านั้น จึงควรรับประทานยาก่อนที่จะได้รับไอโอดีนรังสีอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก็จะได้ผลดีที่สุด และยาจะมีผลป้องกันอยู่เป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จึงจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาดังกล่าวทุกๆ 24 ชั่วโมงหรือวันละครั้งจนกว่าจะออกจากบริเวณที่ปนเปื้อน การรับประทานก็จะต้องรับประทานให้มากพอที่จะทำให้ต่อมไทรอยด์อิ่มตัว โดยแนะนำว่าสำหรับผู้ใหญ่ให้รับประทานยาโปแตสเซี่ยมไอโอไดด์วันละ 130 มิลลิกรัม ส่วนในเด็กก็ละปริมาณลงตามน้ำหนัก


การใช้ยาทาแผลที่มีไอโอดีนทาที่คอหรือรับประทานเกลือผสมไอโอดีนที่มีขายทั่วไปจะช่วยป้องกันได้หรือไม่


ไม่ ได้เลยเนื่องจากปริมาณไอโอดีนที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีนี้น้อยมากไม่ เพียงพอที่จะทำให้ต่อมไทรอยด์อิ่มตัวได้ และถ้ายิ่งได้รับไอโอดีนรังสีเข้าไปแล้วก็ยิ่งไม่มีผลใดๆเลย


ยาไอโอดีนดังกล่าวสามารถป้องกันอันตรายจากรังสีชนิดอื่นๆหรือป้องกันการเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นได้หรือไม่


ไม่ได้เลย

ที่มา : //www.oaep.go.th/




Create Date : 22 มีนาคม 2554
Last Update : 22 มีนาคม 2554 9:05:33 น. 2 comments
Counter : 1817 Pageviews.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน bigeye


โดย: nsk (tewtor ) วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:7:48:29 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน bigeye


โดย: nsk (tewtor ) วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:7:59:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sitcomthai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 53 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add sitcomthai's blog to your web]