space
space
space
 
เมษายน 2567
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
5 เมษายน 2567
space
space
space

Home Alone หนังคริสต์มาสสุดฮา ที่อาจทำให้เสียน้ำตา หากเกิดขึ้นจริง

หากพูดถึงหนังคริสต์มาส คงไม่มีใครไม่รู้จักภาพยนตร์เรื่อง Home Alone โดยเฉพาะคนที่เติบโตมาในยุค 80-90 ก็น่าจะต้องเคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างน้อยสักครั้งในชีวิต 

Home Alone หรือชื่อไทยว่า ‘โดดเดี่ยวผู้น่ารัก’ (https://sg246.com/)
เป็นเรื่องราวของหนูน้อยที่ตื่นขึ้นมาพบกับบ้านที่ว่างเปล่า เขาหลงคิดไปว่าคำอธิษฐานให้สมาชิกในครอบครัวหายไป ได้กลายเป็นความจริง เพราะคืนก่อนหน้านั้น เขามีปากเสียงกับครอบครัวและถูกแม่ทำโทษให้นอนในห้องใต้หลังคา ด้วยความงอนแบบเด็กๆ เขาจึงขอให้ตัวเองได้อยู่บ้านเพียงลำพัง ไม่ต้องเจอกับสมาชิกในครอบครัวอีก 

แต่สิ่งที่หนูน้อยไม่รู้ ก็คือ จริงๆ แล้ว ครอบครัวของเขาไม่ได้หายไปตามคำอธิษฐาน แต่พวกเขากำลังอยู่บนเครื่องบินเพื่อไปเที่ยวในช่วงคริสต์มาสต่างหาก ซึ่งแม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่ดูเหมือนว่าทุกคนในบ้านจะลืมเด็กน้อยคนนี้ไปเสียสนิท และนี่เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการผจญภัยภายในบ้านเพียงลำพังของเด็กน้อย และการปกป้องบ้านจากวายร้ายหัวขโมย
 

แม้พล็อตเรื่องคร่าวๆ จะฟังดูชวนหัว เป็นหนังคริสต์มาสฟีลกู๊ด ดูง่าย ที่ใครๆ ก็มักนึกถึงเมื่อเข้าสู่เทศกาล แต่จะว่าไปแล้ว ภายใต้กลิ่นอายความอบอุ่นของการเป็นหนังคริสต์มาส ที่ถูกจัดประเภทเป็นหนังตลกสำหรับครอบครัว แต่หลายฉากใน Home Alone ก็เต็มไปด้วยความรุนแรง และอาจเข้าข่ายเป็น Dark Comedy หรือหนังตลกสายหม่นที่ไม่ได้เหมาะกับเด็กทุกคน 

ทั้งนี้ สมาคมภาพยนตร์แห่งอเมริกา (MPAA) จัดเรตของ Home Alone ไว้ที่ PG13 คือเนื้อหาบางส่วนอาจไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปี จึงต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ร่วมชม และคอยให้คำแนะนำ 

จึงอาจกล่าวได้ว่า ไม่ใช่หนังทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเด็ก จะเหมาะกับผู้ชมที่เป็นเด็ก  
 

อีกทั้งการ ‘ถูกลืม’ ไว้ที่บ้านเพียงลำพัง ยังอาจเป็นความรุนแรงทางจิตใจอย่างหนึ่ง ซึ่งหากเกิดกับเด็กสักคนในโลกความเป็นจริง ก็อาจไม่ใช่เรื่องน่าขำนัก – บทความนี้ จึงขอชวนผู้อ่านค้นหามุมอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ในหนังคริสต์มาสฟีลกู๊ดอย่าง Home Alone เพราะไม่แน่ว่านอกจากเสียงหัวเราะและความบันเทิงแล้ว ภาพยนตร์ระดับตำนานเรื่องนี้อาจแฝงบทเรียนที่ทำให้เราเข้าใจคนรอบข้างได้มากขึ้น
 

Verbal Abuse ความรุนแรงทางวาจา กับจุดเริ่มต้นความฮาระดับตำนาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า แม็กคอเลย์ คัลกิน ผู้รับบท เควิน แม็กคัลลิสเตอร์ หนูน้อยวัย 8 ปี ที่ต้องสู้รบปรบมือกับขโมยในบ้านของตัวเองนั้น ตีบทได้แตกกระจุย จนทำให้แฟรนไชส์ Home Alone ที่มีถึงสี่ภาค กลายเป็นหนังคริสต์มาสที่ถูก IMDb ฐานข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับภาพยนตร์ จัดให้เป็นอันดับหนึ่งของหนังประจำเทศกาลนี้ที่คนนึกถึงมากที่สุด แม้ว่าในสองภาคสุดท้ายจะไม่ปังเท่ากับสองภาคแรกก็ตาม     

ในบทความนี้ เราจะมุ่งไปยัง Home Alone ภาคแรก ที่เป็นจุดเริ่มต้นความฮาระดับตำนาน โดยเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้น เมื่อครอบครัวของเควินและญาติของพวกเขามารวมตัวกัน เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปฝรั่งเศสในช่วงคริสต์มาส ตามธรรมดาของวันรวมญาติ ที่แม้จะอบอุ่น แต่ก็มักอบอวลไปด้วยความอลหม่านเช่นกัน

ขณะที่ทุกคนกำลังสาละวนกับการเตรียมตัวเดินทางในวันรุ่งขึ้น เควินก็กำลังมองหา ‘ใครสักคน’ ที่จะช่วยเขาจัดกระเป๋าเดินทาง

“ฉันตัวเล็กกว่านายตั้งเยอะ ฉันจะจัดกระเป๋าเองได้ยังไง” เขาบอกกับลูกพี่ลูกน้องที่โตกว่า 

“นายมันไร้ประโยชน์” ลูกพี่ลูกน้องของเขาพูดใส่หน้า ก่อนเดินหนีไป
 

เพียง 10 นาทีแรกของหนัง เราพบว่า หนูน้อยเควินถูกต่อว่าด้วยถ้อยคำรุนแรงหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น You’re an idiot. (นายมันโง่เง่า), You are helpless. (นายมันไร้ประโยชน์), You’re a little jerk. (นายมันเป็นแค่ไอ้เปี๊ยกงี่เง่า) หรือกระทั่ง You such a disease. (นายมันตัวเชื้อโรค) – ทั้งหมดนี้เริ่มต้นขึ้นเพียงเพราะเขาแค่ต้องการให้ใครสักคน ‘ช่วย’ จัดกระเป๋าเดินทางเท่านั้นเอง 

ความรุนแรงทางคำพูด เป็นสิ่งที่เราพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ข้อมูลจาก มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยฯ ระบุว่า ความรุนแรงทางวาจา ถือเป็นข้อหนึ่งของการละเมิดสิทธิเด็ก ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อ คือ ละเมิดทางร่างกาย, ละเมิดทางเพศ, ละเมิดทางวาจาและอารมณ์ รวมถึงละเมิดด้วยการปล่อยปละละเลย
 

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย New Hampshire สหรัฐอเมริกา พบว่ากว่า 63% ของพ่อแม่จำนวน 3,000 รายที่ร่วมการสำรวจ เคยใช้ความรุนแรงทางคำพูดอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อผู้เยาว์ในครัวเรือนเดียวกัน ทั้งนี้การกระทำที่เข้าข่ายว่าเป็นการใช้ความรุนแรงทางคำพูด ได้แก่ การเรียกด้วยคำหยาบคาย (เช่น แกมันตัวเชื้อโรค) หรือใช้ปมด้อยของเด็กมาเป็นคำเรียก (เช่น ไอ้เตี้ย, ไอ้จอมยุ่ง, ฯลฯ) รวมถึงการล้อเลียน และดูถูก (เช่น แกมันไร้ประโยชน์, เด็กดื้อ) รวมถึงการขู่ให้กลัว ขู่ทำร้ายร่างกาย ขู่ว่าจะทำโทษรุนแรง การกล่าวโทษให้เป็นแพะรับบาป นอกจากนี้ การวิจารณ์เด็กในแง่ลบให้คนอื่นฟัง โดยที่เด็กได้ยินคำพูดดังกล่าว ก็เข้าข่ายความรุนแรงทางวาจาเช่นกัน

เมื่อพิจารณาการกระทำที่เข้าข่ายความรุนแรงทางวาจา แล้วกลับไปดู Home Alone อีกรอบ จะพบว่าเควินที่อายุเพียง 8 ขวบ เป็นเหยื่อของทุกความรุนแรงทางวาจาที่กล่าวมาแทบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะถูกเรียกด้วยคำหยาบ ดูถูก ขู่ กล่าวโทษ และในฉากที่เควินถูกแม่พาขึ้นบันไดเพื่อไปทำโทษ เขาถึงกับกล่าวออกมาเองว่า “ผมเป็นแพะรับบาป”

จริงอยู่ว่าแต่ละวันผู้ใหญ่มีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบมากมายไปหมด และสิ่งที่ต้องสะสางนั้นอาจเพิ่มเป็นสองเท่าในช่วงเทศกาลที่ต้องเตรียมตัวเดินทาง หรือพบปะสังสรรค์กับญาติสนิทมิตรสหาย แต่ท่ามกลางสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมากมายนั้น ‘ผู้เยาว์’ ในปกครองของเรา ก็เป็นอีกหนึ่งความรับผิดชอบที่เราต้องดูแลเอาใจใส่มิใช่หรือ?

เรื่องราวอาจต่างไปจากนี้ เพียงแค่มีใครสักคนรับฟังว่า เควินต้องการอะไร แม้อาจทำให้ไม่ได้ในทันที แต่ถ้าสื่อสารอย่างถูกวิธี เพื่อบอกกับเขาว่า “พ่อแม่เข้าใจว่าลูกต้องการคนช่วยจัดกระเป๋า เดี๋ยวถ้าเสร็จธุระแล้ว ก่อนนอน เรามาจัดกระเป๋ากันนะ” เพียงเท่านี้ เควินอาจไม่ต้องถูกลงโทษให้นอนในห้องใต้หลังคา จนถูกลืมไว้ที่บ้านเพียงลำพัง
 

คนที่ถูกทิ้ง เรื่องจริงมันเจ็บ

เรื่องราวดำเนินมาถึงฉากที่ทุกคนภายในบ้านรีบแต่งตัว ขนของขึ้นรถ เพื่อให้ไปถึงสนามบินทันเวลา ด้วยความเร่งรีบ ทำให้การนับสมาชิกก่อนเดินทางเกิดความผิดพลาด เหตุนี้เอง เควินจึงถูกลืมไว้ในห้องใต้หลังคาเพียงลำพัง

หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงกับชีวิตของเด็กสักคน มันคงกลายเป็นปมในจิตใจไม่น้อย ว่าพ่อแม่ ครอบครัว ลืมเราไว้ที่บ้านได้อย่างไร

แต่หนังก็ฉลาดพอที่จะทำให้ เควินไม่รู้สึกว่าเขาถูกทิ้ง ด้วยการให้เขาระเบิดอารมณ์ใส่แม่ว่า ทุกคนในครอบครัวนี้เกลียดเขา และเขาไม่อยากมีครอบครัวอีกแล้ว โดยก่อนนอน เขาก็ยังอธิษฐานว่าขอให้ทุกคนในบ้านหายไป เมื่อทุกคนหายไปจริงๆ จึงไม่ได้เป็นเรื่องน่าตกใจสำหรับหนูน้อยผู้โดดเดี่ยวเท่าไรนัก – วิธีนี้ทำให้หนังสามารถตัดเรื่องที่อาจเป็นบาดแผลทางใจ (Trauma) ในเด็ก จากการที่รู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้งก็เป็นได้ 

แม้ในความจริง จะมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ถูกปล่อยปละละเลย โดย 1 ใน 7 ของเด็กในสหรัฐฯ เคยถูกทอดทิ้งหรือละเลยมาแล้ว
 

สำหรับในประเทศไทย ข้อมูลจาก กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุว่าในแต่ละปี จำนวนเด็กวัยแรกเกิด ถึงอายุ 6 ปี ที่ถูกทอดทิ้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้น เฉลี่ยปีละ 100 ราย

ข้อมูลจาก องค์การยูนิเซฟ ยังระบุด้วยว่า ในประเทศไทย มีเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงในรูปแบบต่างๆ รวมถึงถูกละเลยทอดทิ้ง (Child Neglect) เฉลี่ย 52 คนต่อวัน หรือเฉลี่ย 2 คนในทุกๆ ชั่วโมง ซึ่งการละเลยทอดทิ้งอาจเกิดขึ้นในรูปของการละเลยทางอารมณ์ (เช่น ไม่อุ้ม ไม่ปลอบโยนเมื่อลูกร้องไห้, ไม่สนใจความรู้สึกของเด็กๆ) หรือ การทอดทิ้งทางร่างกาย (คือ ไม่ดูแลให้เด็กได้รับปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างครบถ้วน) 

เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลย มีแนวโน้มเผชิญกับปมบาดแผลในจิตใจ ทำให้มีปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น PTSD หรืออาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์รุนแรง ไปจนถึงโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า การถูกละเลยในวัยเด็กส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองในระบบลิมบิก (Limbic System) ที่ทำหน้าที่รับรู้เกี่ยวกับอารมณ์และพฤติกรรมด้วย – ซึ่งสำหรับเควิน โชคดีที่เขาไม่รู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง แต่เป็นเพราะคำอธิษฐานของเขาเองที่ทำให้ครอบครัวหายไป

 

อย่างไรก็ตาม การปล่อยเด็กไว้เพียงลำพัง ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย โดยประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 306 บัญญัติว่า ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุยังไม่เกินเก้าปีไว้ ณ ที่ใด เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน โดยประการที่ทำให้เด็กนั้น ปราศจากผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 25 ยังบัญญัติไว้ว่าผู้ปกครองต้องไม่กระทําการ ดังต่อไปนี้

(1) ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาล หรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือ สถานที่ใดๆ โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน

(2) ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใดๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม

ทั้งนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก แนะนำว่า ไม่ควรปล่อยเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปีอยู่เพียงลำพัง ไม่ว่าจะในบ้าน, ในรถ, หน้าบ้าน หรือสนามเด็กเล่น ไม่ว่าจะเพียงครู่เดียวก็ตาม, สำหรับอายุ 8-10 ปี ไม่ควรปล่อยให้อยู่ลำพังเกิน 1.30 ชั่วโมง และควรเป็นช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์ตกเท่านั้น, เด็กอายุ 11-12 ปี อาจอยู่ลำพังได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง แต่ต้องไม่ใช่เวลากลางคืน, เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป อาจปล่อยให้อยู่คนเดียวทั้งวันได้ แต่ไม่ควรข้ามคืน 

อย่างไรก็ดี พ่อแม่จำเป็นต้องประเมินความพร้อมของลูกควบคู่กันไปด้วย
 

Holiday Spirit กับความผิดที่ได้รับการอภัย

หลังจากใช้ความกล้าหาญและความฉลาดหัวไว จัดการวายร้ายได้สำเร็จ เควินก็ได้พบกับแม่ที่พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้กลับมาหาลูกชายอย่างรวดเร็วที่สุด

“แม่ขอโทษ” เธอกล่าวขณะกอดลูกชายไว้ในอ้อมแขน
 

สำหรับคนเป็นแม่ การลืมลูกทิ้งไว้ แม้ไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็อาจกลายเป็นปมความผิดที่ติดตัวไปตลอดชีวิตได้เช่นกัน

แม้ว่าการลืมลูกอาจเป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัย แต่สำหรับคนดูทั่วโลก โดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อแม่ เราเชื่อว่าทุกคนพร้อมให้อภัย เคต แม่ของเควิน นั่นเป็นเพราะ เธอแสดงให้คนดูเห็นถึงการยอมรับความผิดพลาด ลงมือแก้ไข และกล้ากล่าวคำขอโทษ
 

ในความเป็นพ่อแม่ บางครั้ง เราก็เผลอยึดถือความอาวุโส จนไม่กล้ายอมรับว่าตัวเองทำผิดพลาด เมื่อไม่กล้ายอมรับ จึงไม่มีการขอโทษและไม่เกิดการแก้ไข สิ่งที่เคตทำ ไม่ว่าจะสำนึกผิด พยายามทำทุกทางเพื่อกลับมาหาลูกให้เร็วที่สุด และกล่าวขอโทษแม้ว่าลูกจะเด็กกว่า ทำให้ทุกอย่างคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น 

สิ่งนี้น่าจะทำให้เราเห็นว่า บางครั้งเรื่องยากๆ ในชีวิต ก็อาจจบลงด้วยดีได้ เพียงแค่เราไม่ยึดถือความอาวุโสของตนเองมากเกินไป เพราะพ่อแม่ก็ผิดได้ ร้องไห้เป็น การเรียนรู้ ปรับปรุง ไปพร้อมๆ กับลูก อาจไม่ใช่เรื่องเสียศักดิ์ศรี แต่กลับเป็นเรื่องที่ดีต่อความสัมพันธ์ จุดเด่นของหนังคริสต์มาสที่ไม่เหมือนหนังประเภทอื่น ก็คือ ไม่ว่าเรื่องราวจะดำเนินมาอย่างไร เมื่อถึงตอนท้าย เรามั่นใจได้ว่าจุดจบจะเป็นเรื่องดีๆ ที่อบอุ่นหัวใจ เพราะนี่คือ Holiday Spirit หรือจิตวิญญาณที่เป็นเสน่ห์ของเทศกาลนี้
 

ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน ในปีที่ผ่านมา เราอาจผิดพลาด มีเรื่องบาดหมางเคืองใจกัน แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงเทศกาล นี่อาจเป็น ‘โอกาส’ อันดี ที่จะละทิ้งทิฐิ ตัวตน และความบาดหมางใดๆ เพื่อกล่าวขอโทษ และให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายที่หลงลืม หรือฝ่ายที่ถูกลืม 

ลองให้เทศกาลนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการปรับความเข้าใจและเริ่มต้นใหม่ เพราะสุดท้ายแล้ว ความโดดเดี่ยวอาจไม่ได้ ‘น่ารัก’ เสมอไป
(https://sg246.com/)
อ้างอิง: 
consumer.healthday.comdosomething.orgunicef.orgdana.orgfindlaw.comkrisdika.go.thratchakitcha.soc.go.th




Create Date : 05 เมษายน 2567
Last Update : 5 เมษายน 2567 13:50:16 น. 0 comments
Counter : 68 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 8071869
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 8071869's blog to your web]
space
space
space
space
space