สุขกับสิ่งที่มีและเป็น...


<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
15 มกราคม 2554
 

การกำหนดกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย (1)


การวิจัยเชิงปริมาณจะเก็บข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างกี่คนดีนะSmiley (ตอนที่ 1)


  หากกำลังจะเริ่มต้นวางแผนการวิจัยแล้วมีคำถามว่าจะใช้กลุ่มตัวอย่าง หรือ พูดภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ว่า "จะแจกแบบสอบถามให้คนกรอกกี่คนดีนะ" อันนี้คงไม่สามารถตอบเองได้ว่า เท่านั้นคนเท่านี้คน เพราะการทำวิจัย สิ่งที่ยืนยันได้ว่าผลการวิจัยของเรานั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ ตัวแรกที่จะมองก็คือ "การกำหนดขนาดตัวอย่าง" หรือก็คือ กลุ่มตัวอย่างกี่คนนั่นเอง


    วิธีแรก ก็คือ ไม่ต้องใช้กลุ่มตัวอย่าง เราเรียกว่า "ประชากร" ซึ่งหมายถึงเอาทุกคน (หากไม่มากเกินไป และมีเท่านี้จริง ๆ เช่น จำนวนพนักงานในบริษัท ของเรามี 215 คน ก็เอาหมดเลยไม่ต้องเอามาบางคนเป็นกลุ่มตัวอย่าง อันนี้เรียกประชากร คือเอามาหมด แต่บางทีก็ไม่เหมาะ เช่นมี 500 คนก็ไม่ต้องเอา 500 ไม่จำเป็น ต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่าง หรือบางทีบอกไม่ได้ เช่น คนที่มาใช้บริการที่ห้าง... เราก็ไม่รู้ว่ามากี่คนอันนี้ก็ต้องหากลุ่มตัวอย่าง


   วิธีที่สอง ก็คือ ใช้กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งหมายถึงเลือกบางคน (ตรงนี้สำคัญจะเลือกอย่างไร) วิธีการที่เรานิยมใช้ก็คือการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง หรือ การกำหนดจำนวนคนที่จะให้ข้อมูล ซึ่งจะต้องใช้วิธีการทางสถิติ 


      วันนี้เรามาบอกวิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแรกก่อนนะคะวิธีง่าย ๆ ก็คือ ใช้สูตรของคุณทาโร ยามาเน (ไม่ใช่ปลาหมึกเส้นนะคะ) Taro Yamane วิธีการก็คือ


       1. เราตั้งระดับนัยสำคัญเท่าไร เช่น .05    หรือ .01   หรือ .10 (ไม่ควรใช้ .10 ดูจะอ่อนเกินไปค่ะ) หากวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็นิยม .05 วิจัยทางศึกษาศาสตร์นิยม .01 หากทางแพทย์ ต้อง .001 ดีกว่านะ ยิ่ง .0001 ยิ่งท้าทายกว่า


      2. ต้องรู้จำนวนประชากร หมายถึง จำนวนคนทั้งหมด เช่น พนักงานในบริษัทมี 500 คน


      3. นำจำนวนประชากร มาคูณกับ ระดับนัยสำคัญยกกำลังสอง (กล่าวคือ ระดับนัยนำคัญ .05 ก็ยกกำลังสองได้ .0025 เป็นต้น) ตัวอย่าง 500 คูณ 0.0025


     4. ได้เท่าไหร่นำมาบวกด้วย 1


      5. ได้คำตอบเอาไปหารจำนวนประชากร ตัวอย่างก็คือ 500


 มาดูตัวอย่างการทำนะคะSmiley


500 คูณกับ .0025  ได้เท่ากับ 1.250  บวก 1 เท่ากับ 2.250


500 หารกับ 2.250 ได้เท่ากับ 222.22 หมายความว่า กลุ่มตัวอย่างที่เราต้องเก็บข้อมูลก็คือ 223 คนค่ะ (ทำไมไม่เป็น 222.22 ก็เพราะ 222 คนพอได้ แต่อีกไม่ถึงคน คือ 0.22 จะไปหาที่ไหนคนไม่เต็มคนอาจเป็นคนบ้าก็ได้) ก็ปัดขึ้น เป็น 223 ทำไมไม่ปัดลง ก็เพราะ


สูตรทาโร ยามาเน บอกว่า ประชากร 500 คน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากรได้ต้องไม่ต่ำกว่า 222.22 ดังนั้น 223 ก็ไม่ต่ำกว่า หากเป็น 222 ก็ต่ำกว่า


ถามว่าทำไมไม่เอา 333 เพราะไม่ต่ำกว่า 223 ก็เพราะสูตรทาโร ยามาเน บอกว่า ตัวเลขที่คำนวณได้ถือว่าเท่านี้เพียงพอ เก็บมากกว่านี้ก็ได้ค่าที่ไม่แตกต่างกันค่ะ


หากใครไม่ชอบแบบคำนวณ คราวหน้าจะมาบอกวิธีการเปิดตารางค่ะ ง่ายดีเนาะ Smiley 


บ้ายบาย นอนหลับฝันดีนะคะ หากสงสัยอะไร เมลล์ถาม หรือ หลังไมค์ได้นะคะ


  



Free TextEditor




 

Create Date : 15 มกราคม 2554
12 comments
Last Update : 15 มกราคม 2554 21:27:34 น.
Counter : 19149 Pageviews.

 
 
 
 
สูตรของ Yamane มีข้อจำกัดหลายอย่าง
เช่น ค่า 1.96 ก็ใช้ 2 แทน
และยัง Assume p=0.5

ใช้ คำนวนกลุ่มตัวอย่างการทำ Study แบบ Survey
ถ้าเป็น Study แบบ Cohort, Case Control, หรือ Cluster
จะใช้สูตรคำนวณที่ต่างออกไปครับ

อ้างอิง
//pubnet.moph.go.th/pubnet2/e_doc.php?id=1981
อรุณ จิรวัฒน์กุล. การใช้ตารางคำนวณขนาดตัวอย่างของ Yamane อย่างถูกต้อง. มุมสถิติ; Statistics Conner. วารสารวิชาการสาธารณสุข
ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน ,2550
 
 

โดย: ืnopadol33 IP: 223.206.81.227 วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:16:56:11 น.  

 
 
 
อยากทราบสูตรการคำนวนแบบไม่รู้กลุ่มประชากร
 
 

โดย: วิราวรรณ IP: 202.125.84.121 วันที่: 27 มิถุนายน 2554 เวลา:10:15:14 น.  

 
 
 
-v- ขอบคุณค่ะ
 
 

โดย: Lockie IP: 1.2.215.90 วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:19:01:27 น.  

 
 
 
ถ้าหากเค้าถามว่า...ถ้ารู้จำนวนประชากรแล้วการจะเลือกใช้สูตรของยามาเน่ กับมอร์แกน ต่างกันอย่างไรครับ
 
 

โดย: เอก IP: 113.53.42.252 วันที่: 27 สิงหาคม 2555 เวลา:14:58:17 น.  

 
 
 
ขอบคุงคับ
 
 

โดย: ู^^ IP: 113.53.169.121 วันที่: 24 เมษายน 2556 เวลา:22:04:39 น.  

 
 
 
การศึกษาปัจจัยทำนาย เหมาะกับการใช้ yamaneไหมค่ะ และควรใช้ สูตรไหนค่ะ
 
 

โดย: เครียด IP: 110.49.243.34 วันที่: 4 พฤษภาคม 2556 เวลา:11:58:13 น.  

 
 
 
ขอบคุณนะค้าาาา
 
 

โดย: apy IP: 1.46.96.20 วันที่: 12 สิงหาคม 2557 เวลา:19:02:37 น.  

 
 
 
ขอคุณนะ ที่ทำให้คนที่ไม่เอาใจได้เข้าใจเเบบง
 
 

โดย: ก้อย IP: 58.11.50.250 วันที่: 17 มีนาคม 2558 เวลา:21:45:38 น.  

 
 
 
ทำไมวิจัยส่วนใหญ่ถึงต้องเลือกใช้ Taro Yamane ค่ะ
 
 

โดย: nuneruthai IP: 114.109.94.115 วันที่: 26 เมษายน 2558 เวลา:17:41:20 น.  

 
 
 
ขอคุณค่ะ
 
 

โดย: ุ6098 IP: 180.180.112.194 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา:14:18:45 น.  

 
 
 
ทำให้หน่อยคะ จำนวนประชากร2,033คน ขอบคุณคะ
 
 

โดย: อะไรดี IP: 122.155.35.36 วันที่: 28 ตุลาคม 2560 เวลา:0:24:41 น.  

 
 
 
ืั้ืั
 
 

โดย: ี่ึี่ีึ่ะ้ื IP: 203.158.231.137 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2560 เวลา:13:10:37 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Rjaantick
 
Location :
มหาสารคาม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




ชีวิต คือการแสวงหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะอยู่และเป็นอย่างเป็นสุขบนสิ่งที่มีและเป็น
[Add Rjaantick's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com